ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สี่

ความรู้ทิพย์

โศลก 30

sarve ’py ete yajña-vido
yajña-kṣapita-kalmaṣāḥ
yajña-śiṣṭāmṛta-bhujo
yānti brahma sanātanam
สเรฺว ’ปฺยฺ เอเต ยชฺญ-วิโท
ยชฺญ-กฺษปิต-กลฺมษาห์
ยชฺญ-ศิษฺฏามฺฤต-ภุโช
ยานฺติ พฺรหฺม สนาตนมฺ
สเรฺว — ทั้งหมด, อปิ — แม้ว่าดูเหมือนแตกต่างกัน, เอเต — เหล่านี้, ยชฺญ-วิทห์ — รอบรู้กับจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติพิธีบวงสรวง, ยชฺญ-กฺษปิต — บริสุทธิ์ขึ้นจากผลของการปฏิบัติเช่นนี้, กลฺมษาห์ — ของผลบาป, ยชฺญ-ศิษฺฏ — ของผลแห่งการปฏิบัติ ยชฺญ เช่นนี้, อมฺฤต-ภุชห์ — ผู้ที่ได้รับรสน้ำทิพย์นี้, ยานฺติ — เข้าพบ, พฺรหฺม — สูงสุด, สนาตนมฺ — บรรยากาศนิรันดร

คำแปล

ผู้ปฏิบัติทั้งหลายที่รู้ความหมายของการถวายบูชาทำให้บริสุทธิ์จากผลบาป และได้รับรสน้ำทิพย์จากผลแห่งการถวายบูชา พวกเขาพัฒนาไปสู่บรรยากาศสูงสุดนิรันดร

คำอธิบาย

การอธิบายวิธีการถวายบูชาต่างๆข้างต้นนี้ (เช่น การถวายบูชาสิ่งของของตน การศึกษาคัมภีร์พระเวท หรือคำสอนปรัชญา และการปฏิบัติตามระบบโยคะ) เราได้พบว่าจุดมุ่งหมายทั้งหมดนี้เพื่อควบคุมประสาทสัมผัส การสนองประสาทสัมผัสคือสาเหตุแห่งการเป็นอยู่ทางวัตถุ ฉะนั้นนอกจากเราจะสถิตในระดับที่ปลีกตัวออกห่างจากการสนองประสาทสัมผัสมิฉะนั้นจะไม่มีโอกาสพัฒนามาถึงระดับอมตะแห่งความรู้อันสมบูรณ์ เต็มไปด้วยความปลื้มปีติสุข และเต็มไปด้วยชีวิตทิพย์ ระดับนี้อยู่ในบรรยากาศนิรันดรหรือบรรยากาศแห่ง พฺรหฺมนฺ การถวายบูชาที่กล่าวมาทั้งหมดช่วยให้เราบริสุทธิ์จากผลบาปแห่งการเป็นอยู่ทางวัตถุ ด้วยการพัฒนาชีวิตเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้เรามีความสุขและมั่งคั่งในชีวิตนี้ แต่ในที่สุดเราจะบรรลุถึงอาณาจักรนิรันดรแห่งองค์ภควานฺด้วย ไม่ว่าจะกลืนเข้าไปใน พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ หรือไปคบหาสมาคมกับบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์ศฺรี กฺฤษฺณ