ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สี่
ความรู้ทิพย์
โศลก 31
nāyaṁ loko ’sty ayajñasya
kuto ’nyaḥ kuru-sattama
kuto ’nyaḥ kuru-sattama
นายํ โลโก ’สฺตฺยฺ อยชฺญสฺย
กุโต ’นฺยห์ กุรุ-สตฺตม
กุโต ’นฺยห์ กุรุ-สตฺตม
น — ไม่เคย, อยมฺ — นี้, โลกห์ — โลก, อสฺติ — มี, อยชฺญสฺย — สำหรับผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติการถวายบูชา, กุตห์ — มีที่ไหน, อนฺยห์ — ผู้อื่น, กุรุ-สตฺ-ตม — โอ้ ผู้ยอดเยี่ยมในหมู่คุรุ
คำแปล
โอ้
คำอธิบาย
ไม่ว่าเราจะมีชีวิตอยู่ทางวัตถุในรูปลักษณ์ใดก็ตาม เราก็ยังจะอยู่ในอวิชชาเกี่ยวกับสถานภาพอันแท้จริงของเราอย่างถาวร หรืออีกนัยหนึ่งการมีชีวิตอยู่ในโลกวัตถุก็เนื่องมาจากผลกรรมอันมากมายจากความบาปหลายๆชาติของเรา อวิชชาคือต้นเหตุของชีวิตบาป และชีวิตบาปคือต้นเหตุที่ฉุดให้เราอยู่ต่อในชีวิตทางวัตถุ ชีวิตในร่างมนุษย์เป็นหนทางเดียวที่อาจจะออกไปจากพันธนาการเช่นนี้ได้ ฉะนั้นคัมภีร์พระเวทจึงเปิดโอกาสให้เราหลบหนีโดยการชี้วิถีทางแห่งศาสนา ความสะดวกทางเศรษฐกิจ การประมาณการสนองประสาทสัมผัส และในที่สุดวิถีทางที่จะออกจากสภาวะแห่งความทุกข์ทั้งหมด วิถีทางแห่งศาสนาหรือการถวายบูชาต่างๆที่ได้แนะนำมาแล้วข้างต้นจะแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจได้โดยปริยาย ด้วยการปฏิบัติ ยชฺญ เราจะมีอาหาร นม และอื่นๆเพียงพอ แม้จะมีประชากรเพิ่มมากขึ้นเมื่อร่างกายได้รับอาหารเพียงพอโดยธรรมชาติขั้นต่อไปจะสนองประสาทสัมผัส ดังนั้นคัมภีร์พระเวทจึงแนะนำพิธีสมรสอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อประมาณการสนองประสาทสัมผัส จากนั้นเราจะค่อยๆพัฒนามาถึงระดับที่ปล่อยวางจากพันธนาการทางวัตถุและความสมบูรณ์สูงสุดแห่งชีวิต อิสรเสรีคือการมาคบหาสมาคมกับองค์ภควานฺ ความสมบูรณ์บรรลุได้ด้วยการปฏิบัติ ยชฺญ (การถวายบูชา) ดังที่ได้อธิบายมาข้างต้น หากเรายังไม่ชอบการปฏิบัติ ยชฺญ ตามคัมภีร์พระเวท เราก็ยังคาดหวังชีวิตที่มีความสุขแม้ในร่างนี้ไม่ได้ แล้วจะพูดถึงร่างหน้าในโลกหน้าได้อย่างไร มีระดับแห่งความสะดวกสบายทางวัตถุที่แตกต่างกันในโลกสวรรค์ และทั้งหมดมีความสุขอย่างมหาศาลสำหรับผู้ปฏิบัติ ยชฺญ ต่างๆ แต่ความสุขสูงสุดที่มนุษย์สามารถบรรลุได้คือ ได้รับการส่งเสริมให้ไปถึงโลกทิพย์ด้วยการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึก ดังนั้นชีวิตของกฺฤษฺณจิตสำนึกคือผลสรุปในการแก้ปัญหาชีวิตทางวัตถุทั้งปวง