ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สี่
ความรู้ทิพย์
โศลก 39
śraddhāvāḻ labhate jñānaṁ
tat-paraḥ saṁyatendriyaḥ
jñānaṁ labdhvā parāṁ śāntim
acireṇādhigacchati
tat-paraḥ saṁyatendriyaḥ
jñānaṁ labdhvā parāṁ śāntim
acireṇādhigacchati
ศฺรทฺธาวาฬฺ ลภเต ชฺญานํ
ตตฺ-ปรห์ สํยเตนฺทฺริยห์
ชฺญานํ ลพฺธฺวา ปรำ ศานฺติมฺ
อจิเรณาธิคจฺฉติ
ตตฺ-ปรห์ สํยเตนฺทฺริยห์
ชฺญานํ ลพฺธฺวา ปรำ ศานฺติมฺ
อจิเรณาธิคจฺฉติ
ศฺรทฺธา-วานฺ — ผู้ที่มีความศรัทธา, ลภเต — ได้รับ, ชฺญานมฺ — ความรู้, ตตฺ-ปรห์ — ยึดติดมากกับมัน, สํยต — ควบคุม, อินฺทฺริยห์ — ประสาทสัมผัส, ชฺญานมฺ — ความรู้, ลพฺธฺวา — ได้รับแล้ว, ปรามฺ — ทิพย์, ศานฺติมฺ — ความสงบ, อจิเรณ — เร็วๆนี้, อธิคจฺฉติ — ได้รับ
คำแปล
ผู้มีความศรัทธาที่อุทิศตนให้กับความรู้ทิพย์
คำอธิบาย
ผู้มีความศรัทธาอย่างแน่วแน่ในองค์กฺฤษฺณสามารถได้รับความรู้นี้ในกฺฤษฺณจิตสำนึก บุคคลที่ได้ชื่อว่ามีความศรัทธาคือผู้ที่คิดว่าความเชื่อคือเพียงแต่ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเขาจะบรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุด ความศรัทธานี้บรรลุได้ด้วยการปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ และด้วยการสวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร ซึ่งทำให้หัวใจเขาบริสุทธิ์จากความสกปรกทางวัตถุทั้งมวล นอกเหนือจากนี้เขาควรควบคุมประสาทสัมผัส บุคคลผู้มีความศรัทธาต่อองค์กฺฤษฺณและควบคุมประสาทสัมผัสได้จะสามารถบรรลุถึงความสมบูรณ์อย่างง่ายดายในความรู้แห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยไม่ล่าช้า