ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ หก

ธฺยาน-โยค

โศลก 1

śrī-bhagavān uvāca
anāśritaḥ karma-phalaṁ
kāryaṁ karma karoti yaḥ
sa sannyāsī ca yogī ca
na niragnir na cākriyaḥ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
อนาศฺริตห์ กรฺม-ผลํ
การฺยํ กรฺม กโรติ ยห์
ส สนฺนฺยาสี จ โยคี จ
น นิรคฺนิรฺ น จากฺริยห์
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — องค์ภควานฺตรัส, อนาศฺริตห์ — ปราศจากที่พึ่ง, กรฺม-ผลมฺ — ของผลแห่งงาน, การฺยมฺ — หน้าที่, กรฺม — งาน, กโรติ — ปฏิบัติ, ยห์ — ผู้ซึ่ง, สห์ — เขา, สนฺนฺยาสี — ในระดับสละโลก, — เช่นกัน, โยคี — โยคี, — เช่นกัน, — ไม่, นิห์ — ปราศจาก, อคฺนิห์ — ไฟ, — ไม่, — เช่นกัน, อกฺริยห์ — ปราศจากหน้าที่

คำแปล

องค์ภควานฺตรัสว่า ผู้ที่ไม่ยึดติดต่อผลงานของตน และทำงานไปตามหน้าที่เป็นผู้ที่อยู่ในระดับชีวิตสละโลก และเป็นโยคีที่แท้จริงมิใช่ผู้ที่ไม่ก่อไฟและไม่ปฏิบัติหน้าที่

คำอธิบาย

ในบทนี้องค์ภควานฺทรงอธิบายว่าวิธีของระบบโยคะแปดระดับเป็นวิถีทางเพื่อควบคุมจิตใจและประสาทสัมผัส อย่างไรก็ดีมันเป็นสิ่งยากมากสำหรับคนทั่วไปที่จะปฏิบัติได้โดยเฉพาะในกลียุค ถึงแม้ระบบโยคะแปดระดับได้แนะนำไว้ในบทนี้พระองค์ทรงเน้นว่าวิธีของ กรฺม - โยค หรือการปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกดีกว่า ทุกคนปฏิบัติตนในโลกนี้เพื่อค้ำจุนครอบครัวและทรัพย์สมบัติของตน ไม่มีผู้ใดทำงานโดยปราศจากความเห็นแก่ตัวหรือเพื่อสนองตอบส่วนตัวบางประการไม่ว่าในวงแคบหรือวงกว้าง บรรทัดฐานแห่งความสมบูรณ์คือการปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก และไม่ใช่ด้วยแนวคิดที่จะหาความสุขกับผลของงาน การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นหน้าที่ของทุกชีวิตเพราะว่าทุกชีวิตโดยพื้นฐานเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ ส่วนต่างๆของร่างกายปฏิบัติงานเพื่อให้ทั่วทั้งเรือนร่างพึงพอใจ แขนและขามิได้ปฏิบัติเพื่อให้ส่วนของตนเองพึงพอใจแต่เพื่อความพึงพอใจของทั่วทั้งเรือนร่าง ในทำนองเดียวกันสิ่งมีชีวิตผู้ปฏิบัติเพื่อความพึงพอใจของส่วนรวมสูงสุด และไม่ใช่เพื่อความพึงพอใจของตนเองจึงเป็น สนฺนฺยาสี หรือโยคะที่สมบูรณ์

พวก สนฺนฺยาสี บางครั้งคิดอย่างผิดธรรมชาติว่าตนเองได้หลุดพ้นแล้วจากหน้าที่ทางวัตถุทั้งมวล ดังนั้นจึงหยุดการปฏิบัติ อคฺนิโหตฺร ยชฺญ (บูชาไฟ) แต่อันที่จริงพวกนี้เห็นแก่ตัวเพราะจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการมาเป็นหนึ่งเดียวกับ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ ความต้องการเช่นนี้ยิ่งใหญ่กว่าความต้องการใดๆทางวัตถุแต่มิใช่ว่าปราศจากความเห็นแก่ตัว โยคีผู้มีฤทธิ์ก็เช่นเดียวกันได้ฝึกปฏิบัติตามระบบโยคะด้วยการลืมตาครึ่งหนึ่ง หยุดกิจกรรมทางวัตถุทั้งหมดต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจบางอย่างสำหรับตนเอง แต่บุคคลผู้ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกทำงานเพื่อความพึงพอใจของส่วนรวมที่สมบูรณ์โดยไม่เห็นแก่ตัว บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่มีความปรารถนาเพื่อสนองความพึงพอใจของตนเอง บรรทัดฐานแห่งความสำเร็จของท่านจะอยู่ที่ความพึงพอใจขององค์กฺฤษฺณ ดังนั้นท่านจึงเป็น สนฺนฺยาสี หรือโยคีที่สมบูรณ์ องค์ไจตนฺย ผู้ทรงเป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์สูงสุดแห่งความเสียสละทรงภาวนา ดังนี้

น ธนํ น ชนํ น สุนฺทรีํ
กวิตำ วา ชคทฺ-อีศ กามเย
มม ชนฺมนิ ชนฺมนีศฺวเร
ภวตาทฺ ภกฺติรฺ อไหตุกี ตฺวยิ
“โอ้ องค์ภควานฺ ผู้ทรงเดช ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาสะสมทรัพย์ ไม่ปรารถนาหาความสุขกับหญิงงาม และไม่ปรารถนาสานุศิษย์มากมาย สิ่งเดียวที่ปรารถนาคือ พระเมตตาอันหาที่สุดมิได้ที่ให้ข้าพเจ้าได้อุทิศตนเสียสละรับใช้พระองค์ตลอดทุกๆชาติไป”