ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ หก
ธฺยาน-โยค
โศลก 38
kaccin nobhaya-vibhraṣṭaś
chinnābhram iva naśyati
apratiṣṭho mahā-bāho
vimūḍho brahmaṇaḥ pathi
chinnābhram iva naśyati
apratiṣṭho mahā-bāho
vimūḍho brahmaṇaḥ pathi
กจฺจินฺ โนภย-วิภฺรษฺฏศฺ
ฉินฺนาภฺรมฺ อิว นศฺยติ
อปฺรติษฺโฐ มหา-พาโห
วิมูโฒ พฺรหฺมณห์ ปถิ
ฉินฺนาภฺรมฺ อิว นศฺยติ
อปฺรติษฺโฐ มหา-พาโห
วิมูโฒ พฺรหฺมณห์ ปถิ
กจฺจิตฺ — ไม่ว่า, น — ไม่, อุภย — ทั้งสอง, วิภฺรษฺฏห์ — เบี่ยงเบนจาก, ฉินฺน — ขาด, อภฺรมฺ — เมฆ, อิว — เหมือน, นศฺยติ — สูญสิ้น, อปฺรติษฺฐห์ — ไม่มีตำแหน่ง, มหา-พาโห — โอ้ กฺฤษฺณ ยอดนักรบ, วิมูฒห์ — สับสน, พฺรหฺมณห์ — แห่งความเป็นทิพย์, ปถิ — บนวิถีทาง
คำแปล
โอ้
คำอธิบาย
มีอยู่สองทางในความเจริญก้าวหน้า พวกวัตถุนิยมไม่สนใจในวิถีทิพย์ดังนั้นจึงสนใจในความก้าวหน้าทางวัตถุด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจ หรือการส่งเสริมให้ไปอยู่บนดาวเคราะห์ที่สูงกว่าจากการปฏิบัติที่เหมาะสม เมื่อบุคคลรับเอาวิถีทิพย์มาปฏิบัติเราต้องหยุดกิจกรรมทางวัตถุทั้งปวง และถวายสิ่งที่เรียกว่าความสุขทางวัตถุทุกรูปแบบ หากผู้ที่ปรารถนาวิถีทิพย์ล้มเหลวในเรื่องนี้ดูเหมือนว่าจะสูญเสียทั้งสองทาง อีกนัยหนึ่งเขาไม่สามารถได้รับทั้งความสุขทางวัตถุหรือความสำเร็จในวิถีทิพย์ เขาไม่มีตำแหน่ง เหมือนกับก้อนเมฆที่สูญสลายหายจากกันไป ก้อนเมฆในท้องฟ้าบางครั้งแยกออกจากเมฆก้อนเล็กและไปรวมตัวกับเมฆก้อนใหญ่ได้แล้วถูกลมพัดพาไปจนไม่เหลือบุคลิกของตนเองในท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ พฺรหฺมณห์ ปถิ คือวิถีทิพย์ซึ่งรู้แจ้งผ่านทางความรู้ที่ว่าตัวเขาคือดวงวิญญาณโดยเนื้อแท้และเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ ผู้ทรงปรากฏมาในรูปของ พฺรหฺมนฺ ปรมาตฺมา และ ภควานฺ องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็นปรากฏการณ์ที่สมบูรณ์แห่งสัจธรรมอันสมบูรณ์สูงสุด ดังนั้นผู้ที่ศิโรราบแด่องค์ภควานฺจึงเป็นนักทิพย์นิยมที่ประสบผลสำเร็จ การบรรลุถึงเป้าหมายความรู้แจ้งแห่งชีวิตนี้โดยผ่านทาง พฺรหฺมนฺ และ ปรมาตฺมา จะใช้เวลาหลายต่อหลายชาติ (พหูนำ ชนฺมนามฺ อนฺเต ) ฉะนั้นวิถีทางสูงสุดแห่งการรู้แจ้งทิพย์คือ ภกฺติ-โยค หรือกฺฤษฺณจิตสำนึกซึ่งเป็นวิธีโดยตรง