ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ หก
ธฺยาน-โยค
โศลก 37
arjuna uvāca
ayatiḥ śraddhayopeto
yogāc calita-mānasaḥ
aprāpya yoga-saṁsiddhiṁ
kāṁ gatiṁ kṛṣṇa gacchati
ayatiḥ śraddhayopeto
yogāc calita-mānasaḥ
aprāpya yoga-saṁsiddhiṁ
kāṁ gatiṁ kṛṣṇa gacchati
อรฺชุน อุวาจ
อยติห์ ศฺรทฺธโยเปโต
โยคาจฺ จลิต-มานสห์
อปฺราปฺย โยค-สํสิทฺธึ
กำ คตึ กฺฤษฺณ คจฺฉติ
อยติห์ ศฺรทฺธโยเปโต
โยคาจฺ จลิต-มานสห์
อปฺราปฺย โยค-สํสิทฺธึ
กำ คตึ กฺฤษฺณ คจฺฉติ
อรฺชุนห์ อุวาจ — อรฺชุน ตรัส, อยติห์ — นักทิพย์นิยมผู้ไม่ประสบผลสำเร็จ, ศฺรทฺธยา — ด้วยความศรัทธา, อุเปตห์ — ปฏิบัติ, โยคาตฺ — จากการเชื่อมสัมพันธ์ที่เร้นลับ, จลิต — เบี่ยงเบน, มานสห์ — ผู้มีจิตใจเช่นนี้, อปฺราปฺย — ล้มเหลวในการบรรลุ, โยค-สํสิทฺธิมฺ — ความสมบูรณ์สูงสุดในโยคะ, กามฺ — ซึ่ง, คติมฺ — จุดมุ่งหมาย, กฺฤษฺณ — โอ้ กฺฤษฺณ, คจฺฉติ — บรรลุ
คำแปล
อรฺชุน
คำอธิบาย
วิถีทางเพื่อความรู้แจ้งแห่งตนหรือระบบโยคะได้อธิบายใน ภควัท-คีตา หลักธรรมพื้นฐานเพื่อความรู้แจ้งแห่งตนคือความรู้ที่ว่าสิ่งมีชีวิตไม่ใช่ร่างกายวัตถุนี้แต่ว่าแตกต่างไปจากร่างวัตถุ และความสุขของเขาอยู่ในชีวิตอมตะ เปี่ยมไปด้วยความปลื้มปีติสุข และความรู้ สิ่งเหล่านี้เป็นทิพย์อยู่เหนือทั้งร่างกายและจิตใจ ความรู้แจ้งแห่งตนค้นพบได้ด้วยวิถีแห่งความรู้ ด้วยการฝึกปฏิบัติแปดระบบหรือด้วย ภกฺติ-โยค ในแต่ละวิธีนี้จะต้องรู้แจ้งสถานภาพพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับองค์ภควานฺ กิจกรรมซึ่งทำให้เขาสามารถสถาปนาความสัมพันธ์ที่สูญหายไปให้กลับมาอีกครั้ง และบรรลุถึงระดับสมบูรณ์สูงสุดแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึก การปฏิบัติตามทางใดทางหนึ่งในสามวิธีที่กล่าวไว้ข้างต้นแน่นอนว่าจะต้องบรรลุเป้าหมายสูงสุดในไม่ช้าก็เร็ว องค์ภควานฺทรงยืนยันไว้เช่นนี้ในบทที่สองว่าแม้ความพยายามเพียงเล็กน้อยบนวิถีทิพย์จะให้ความหวังอย่างสูงเพื่อการจัดส่ง จากสามวิธีนี้วิธีของ ภกฺติ-โยค เหมาะสมโดยเฉพาะสำหรับยุคนี้ เพราะเป็นวิธีตรงที่สุดเพื่อความรู้แจ้งองค์ภควานฺ เพื่อให้มั่นใจยิ่งขึ้นไปอีก อรฺชุน ทรงถามองค์กฺฤษฺณเพื่อให้ทรงยืนยันคำดำรัสที่เคยกล่าวไว้ เราอาจยอมรับวิธีเพื่อความรู้แจ้งอย่างจริงใจแต่วิธีแห่งการเพิ่มพูนความรู้ การฝึกปฏิบัติของระบบโยคะแปดระดับโดยทั่วไปเป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับยุคนี้ ฉะนั้นแม้จะพยายามอย่างสม่ำเสมอแต่อาจประสบความล้มเหลวเนื่องจากเหตุผลมากมาย ประการแรกเขาอาจไม่มีความจริงจังเพียงพอในการปฏิบัติตามวิธี การก้าวเดินไปบนวิถีทิพย์คล้ายกับการประกาศสงครามกับพลังงานแห่งความหลง ฉะนั้นเมื่อไรที่เราพยายามที่จะหนีไปจากเงื้อมมือของพระนางมายา พระนางจะพยายามเอาชนะผู้ฝึกปฏิบัติด้วยการหลอกล่อให้หลงมากมาย พันธวิญญาณถูกหลอกล่อให้หลงอยู่แล้วด้วยระดับแห่งพลังงานวัตถุ จึงเป็นไปได้เสมอที่จะถูกหลอกล่อให้หลงอีกครั้งหนึ่ง แม้ขณะฝึกปฏิบัติตามระเบียบวินัยทิพย์เช่นนี้เรียกว่า โยคาจฺ จลิต-มานสห์ การเบี่ยงเบนจากวิถีทิพย์ อรฺชุน ทรงตั้งคำถามเพื่อให้ทราบถึงผลแห่งการเบี่ยงเบนจากวิถีเพื่อความรู้แจ้งแห่งตน