ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ เจ็ด
ความรู้แห่งสัจธรรม
โศลก 20
kāmais tais tair hṛta-jñānāḥ
prapadyante ’nya-devatāḥ
taṁ taṁ niyamam āsthāya
prakṛtyā niyatāḥ svayā
prapadyante ’nya-devatāḥ
taṁ taṁ niyamam āsthāya
prakṛtyā niyatāḥ svayā
กาไมสฺ ไตสฺ ไตรฺ หฺฤต-ชฺญานาห์
ปฺรปทฺยนฺเต ’นฺย-เทวตาห์
ตํ ตํ นิยมมฺ อาสฺถาย
ปฺรกฺฤตฺยา นิยตาห์ สฺวยา
ปฺรปทฺยนฺเต ’นฺย-เทวตาห์
ตํ ตํ นิยมมฺ อาสฺถาย
ปฺรกฺฤตฺยา นิยตาห์ สฺวยา
กาไมห์ — ด้วยความปรารถนา, ไตห์ ไตห์ — ต่างๆ, หฺฤต — แย่งเอาไป, ชฺญานาห์ — ความรู้, ปฺรปทฺยนฺเต — ศิโรราบ, อนฺย — แด่ผู้อื่น, เทวตาห์ — เหล่าเทวดา, ตมฺ ตมฺ — ตรงตาม, นิยมมฺ — กฏเกณฑ์, อาสฺถาย — ปฏิบัติตาม, ปฺรกฺฤตฺยา — โดยธรรมชาติ, นิยตาห์ — ถูกควบคุม, สฺวยา — ด้วยตนเอง
คำแปล
พวกที่ปัญญาถูกความปรารถนาทางวัตถุขโมยไป
คำอธิบาย
บุคคลที่เป็นอิสระจากมลทินทางวัตถุทั้งหมดจะศิโรราบต่อองค์ภควานฺ และปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อพระองค์ ตราบใดที่มลทินทางวัตถุยังชะล้างไม่หมดโดยธรรมชาติพวกนี้ไม่ใช่สาวก แม้แต่บุคคลที่มีความปรารถนาทางวัตถุและอยู่บนวิถีทางขององค์ภควานฺจะไม่หลงใหลอยู่กับธรรมชาติภายนอกมากนัก เนื่องจากมาเข้าหาจุดมุ่งหมายที่ถูกต้องและในไม่ช้าก็จะเป็นอิสระจากราคะทางวัตถุทั้งปวง ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ได้แนะนำไว้ว่าไม่ว่าเราจะเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ ปราศจากความต้องการทางวัตถุทั้งปวง หรือจะเต็มไปด้วยความปรารถนาทางวัตถุ หรือปรารถนาความหลุดพ้นจากมลทินทางวัตถุ ในทุกกรณีเราควรศิโรราบต่อ วาสุเทว และบูชาพระองค์ ได้กล่าวไว้ใน ภาควต (2.3.10) ว่า
อกามห์ สรฺว-กาโม วา
โมกฺษ-กาม อุทาร-ธีห์
ตีเวฺรณ ภกฺติ-โยเคน
ยเชต ปุรุษํ ปรมฺ
โมกฺษ-กาม อุทาร-ธีห์
ตีเวฺรณ ภกฺติ-โยเคน
ยเชต ปุรุษํ ปรมฺ
บุคคลผู้ด้อยปัญญาสูญเสียความสัมผัสทิพย์จะไปพึ่งเทวดาเพื่อได้รับการตอบสนองตามความต้องการทางวัตถุทันที โดยทั่วไปบุคคลเช่นนี้ไม่เข้าหาองค์ภควานฺ เพราะว่าอยู่ในระดับแห่งธรรมชาติที่ต่ำ (อวิชชาและตัณหา) ดังนั้นจึงบูชาเทวดา ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การบูชาและได้รับความพึงพอใจ พวกที่บูชาเทวดาถูกกระตุ้นด้วยความปรารถนาเพียงเล็กน้อย และไม่รู้ว่าจะไปถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดได้อย่างไร แต่สาวกขององค์ภควานฺไม่ถูกนำพาไปในทางที่ผิด ถึงแม้วรรณกรรมพระเวทจะแนะนำให้บูชาเทพต่างๆด้วยจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน (ตัวอย่างเช่น คนเป็นโรคได้รับคำแนะนำให้บูชาพระอาทิตย์) พวกที่ไม่ใช่สาวกขององค์ภควานฺคิดว่าเพื่อจุดประสงค์บางอย่างเทวดาอาจจะดีกว่า แต่สาวกผู้บริสุทธิ์ทราบว่าองค์ภควานฺ กฺฤษฺณทรงเป็นปรมาจารย์ของมวลเทวดา ใน ไจตนฺย-จริตามฺฤต (อาทิ 5.142) กล่าวว่า เอกเล อีศฺวร กฺฤษฺณ, อาร สพ ภฺฤตฺย องค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณเท่านั้นทรงเป็นปรมาจารย์ และองค์อื่นๆทั้งหมดทรงเป็นผู้รับใช้ ดังนั้นสาวกผู้บริสุทธิ์จะไม่เข้าหาเทวดาเพื่อความพึงพอใจในความต้องการทางวัตถุของตนแต่จะขึ้นอยู่กับองค์ภควานฺ สาวกผู้บริสุทธิ์พึงพอใจกับทุกสิ่งทุกอย่างที่พระองค์ทรงประทานให้