ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ เจ็ด
ความรู้แห่งสัจธรรม
โศลก 21
yo yo yāṁ yāṁ tanuṁ bhaktaḥ
śraddhayārcitum icchati
tasya tasyācalāṁ śraddhāṁ
tām eva vidadhāmy aham
śraddhayārcitum icchati
tasya tasyācalāṁ śraddhāṁ
tām eva vidadhāmy aham
โย โย ยำ ยำ ตนุํ ภกฺตห์
ศฺรทฺธยารฺจิตุมฺ อิจฺฉติ
ตสฺย ตสฺยาจลำ ศฺรทฺธำ
ตามฺ เอว วิทธามฺยฺ อหมฺ
ศฺรทฺธยารฺจิตุมฺ อิจฺฉติ
ตสฺย ตสฺยาจลำ ศฺรทฺธำ
ตามฺ เอว วิทธามฺยฺ อหมฺ
ยห์ ยห์ — ใครก็แล้วแต่, ยามฺ ยามฺ — อะไรก็แล้วแต่, ตนุมฺ — รูปลักษณ์ของเทวดา, ภกฺตห์ — สาวก, ศฺรทฺธยา — ด้วยศรัทธา, อรฺจิตุมฺ — บูชา, อิจฺฉติ — ความปรารถนา, ตสฺย ตสฺย — แด่เขา, อจลามฺ — สม่ำเสมอ, ศฺรทฺธามฺ — ความศรัทธา, ตามฺ — นั้น, เอว — แน่นอน, วิทธามิ — ให้, อหมฺ — ข้า
คำแปล
ข้าอยู่ภายในหัวใจของทุกๆคนในรูปของอภิวิญญาณ
คำอธิบาย
องค์ภควานฺทรงให้อิสรภาพแด่ทุกคน ดังนั้นหากผู้ใดปรารถนาจะได้รับความสุขทางวัตถุและปรารถนาด้วยความจริงใจที่จะได้สิ่งอำนวยความสะดวกทางวัตถุจากเทวดา พระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นอภิวิญญาณประทับอยู่ในหัวใจของทุกๆคนทรงเข้าใจและให้สิ่งอำนวยความสะดวกนั้น ในฐานะที่เป็นพระบิดาสูงสุดของมวลชีวิตทรงไม่รบกวนกับเสรีภาพของเรา แต่ทรงให้สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลายเพื่อเราจะได้รับการสนองตอบจากความต้องการทางวัตถุ บางคนอาจถามว่าทำไมองค์ภควานฺผู้ทรงเดชให้สิ่งอำนวยความสะดวกแด่สิ่งมีชีวิตเพื่อให้เพลิดเพลินอยู่ในโลกวัตถุนี้ และปล่อยให้ตกลงไปอยู่ในกับดักของพลังงานแห่งความหลง คำตอบก็คือ หากพระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นอภิวิญญาณไม่ให้สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้คำว่าเสรีภาพจะไม่มีความหมาย ดังนั้นจึงทรงให้เสรีภาพแด่ทุกคนอย่างสมบูรณ์ไม่ว่าเราจะชอบอะไร แต่คำสั่งสอนสูงสุดของพระองค์พบได้ใน ภควัท-คีตา ว่าเราควรยกเลิกการปฏิบัติรูปแบบอื่นทั้งหมด และศิโรราบโดยดุษฎีต่อพระองค์เช่นนี้จะทำให้มนุษย์มีความสุข
ความปรารถนาขององค์ภควานฺทรงเหนือกว่าทั้งของสิ่งมีชีวิตและเทวดา ดังนั้นสิ่งมีชีวิตไม่สามารถบูชาเทวดาตามความปรารถนาของตนเอง และเทวดาก็ไม่สามารถให้พรใดๆโดยปราศจากความปรารถนาขององค์ภควานฺ ดังที่ได้กล่าวไว้ว่าแม้แต่ใบหญ้าก็ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้หากองค์ภควานฺทรงไม่ปรารถนา โดยทั่วไปบุคคลผู้มีความทุกข์ในโลกวัตถุจะไปพึ่งเทวดา ดังที่คัมภีร์พระเวทแนะนำไว้ บุคคลผู้ต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใดอาจบูชาเทวดาเฉพาะองค์ ตัวอย่างเช่น คนเป็นโรคได้รับคำแนะนำให้บูชาพระอาทิตย์ ผู้ที่ปรารถนาการศึกษาอาจบูชาเจ้าแม่แห่งความรู้ สรสฺวตี และผู้ที่ต้องการภรรยาที่สวยอาจบูชาเจ้าแม่ อุมา มเหสีของพระศิวะ อย่างนี้ได้แนะนำไว้ใน ศาสฺตฺร (คัมภีร์พระเวท) สำหรับคนในระดับต่างกันจะบูชาเทวดาต่างกัน เพราะบางคนต้องการหาความสุขกับสิ่งอำนวยความสะดวกทางวัตถุเฉพาะตน องค์ภควานฺทรงดลใจให้เขามีความปรารถนาอย่างแรงกล้าเพื่อบรรลุถึงพรนั้นๆจากเทวดาเฉพาะองค์ และประสบความสำเร็จในพรนั้นๆ ระดับแห่งท่าทีในการอุทิศตนของสิ่งมีชีวิตที่มีต่อเทวดาเฉพาะองค์ภควานฺก็ทรงจัดเตรียมให้ เทวดาไม่สามารถจัดส่งให้สิ่งมีชีวิตได้รับความพึงพอใจได้เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นองค์ภควานฺ หรืออภิวิญญาณผู้ประทับอยู่ภายในหัวใจของมวลชีวิต องค์กฺฤษฺณทรงให้แรงกระตุ้นแก่มนุษย์ในการบูชาเทวดาเฉพาะองค์ อันที่จริงเหล่าเทวดาคือส่วนต่างๆแห่งรูปลักษณ์จักรวาลขององค์ภควานฺดังนั้นจึงไม่มีอิสรภาพ ได้กล่าวไว้ในวรรณกรรมพระเวทว่า “องค์ภควานฺในฐานะอภิวิญญาณทรงประทับอยู่ภายในหัวใจของเทวดาเช่นเดียวกัน ฉะนั้นพระองค์ทรงจัดการผ่านทางเทวดาเพื่อสนองความต้องการของสิ่งมีชีวิต แต่ทั้งเทวดาและสิ่งมีชีวิตต้องขึ้นอยู่กับความปรารถนาสูงสุดขององค์ภควานฺพวกเขา ไม่มีอิสรภาพ”