ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ เจ็ด
ความรู้แห่งสัจธรรม
โศลก 3
manuṣyāṇāṁ sahasreṣu
kaścid yatati siddhaye
yatatām api siddhānāṁ
kaścin māṁ vetti tattvataḥ
kaścid yatati siddhaye
yatatām api siddhānāṁ
kaścin māṁ vetti tattvataḥ
มนุษฺยาณำ สหเสฺรษุ
กศฺจิทฺ ยตติ สิทฺธเย
ยตตามฺ อปิ สิทฺธานำ
กศฺจินฺ มำ เวตฺติ ตตฺตฺวตห์
กศฺจิทฺ ยตติ สิทฺธเย
ยตตามฺ อปิ สิทฺธานำ
กศฺจินฺ มำ เวตฺติ ตตฺตฺวตห์
มนุษฺยาณามฺ — แห่งมนุษย์, สหเสฺรษุ — จากหลายๆพันคน, กศฺจิตฺ — บางคน, ยตติ — พยายาม, สิทฺธเย — เพื่อความสมบูรณ์, ยตตามฺ — ของพวกที่พยายาม, อปิ — แน่นอน, สิทฺธานามฺ — ของพวกที่บรรลุความสมบูรณ์, กศฺจิตฺ — บางคน, มามฺ — ข้า, เวตฺติ — รู้, ตตฺตฺวตห์ — ความเป็นจริง
คำแปล
จากหลายๆพันคนอาจมีหนึ่งคนที่พยายามเพื่อความสมบูรณ์
คำอธิบาย
มีมนุษย์อยู่หลายระดับและจากหลายๆพันคนอาจมีคนหนึ่งที่มีความสนใจในความรู้แจ้งทิพย์และพยายามรู้ว่าตนเองคืออะไร ร่างกายคืออะไร และสัจธรรมที่สมบูรณ์คืออะไร โดยทั่วไปมนุษย์เพียงแต่ปฏิบัติตามนิสัยสัตว์เดรัจฉาน เช่น การกินนอน ป้องกันตัว และเพศสัมพันธ์ จะหาคนที่สนใจความรู้ทิพย์ได้ยาก หกบทแรกของ คีตา มีไว้สำหรับพวกที่สนใจความรู้ทิพย์ในการเข้าใจตนเอง เข้าใจอภิวิญญาณ และวิธีการเพื่อความรู้แจ้งด้วย ชฺญาน-โยค, ธฺยาน-โยค และรู้ข้อแตกต่างระหว่างตนเองกับวัตถุ อย่างไรก็ดีบุคคลผู้อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่านั้นจึงจะสามารถรู้จักองค์กฺฤษฺณ นักทิพย์นิยมอื่นๆอาจบรรลุความรู้แจ้ง พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ซึ่งง่ายกว่าการเข้าใจองค์กฺฤษฺณ องค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแต่ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงอยู่เหนือความรู้แห่ง พฺรหฺมนฺ และ ปรมาตฺมา โยคี และ ชฺญานี สับสนในความพยายามของตนเองที่จะเข้าใจองค์กฺฤษฺณ แม้แต่ ศฺรีปาท ชังคะราชารยะผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดยังยอมรับในคำอธิบาย คีตา ของท่านว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า แต่สาวกของท่านไม่ยอมรับองค์กฺฤษฺณเหมือนกับท่าน เพราะเป็นสิ่งที่ยากมากในการที่จะรู้จักองค์กฺฤษฺณ แม้แต่ผู้ที่รู้แจ้งทิพย์แห่ง พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์แล้วก็เช่นกัน
องค์กฺฤษฺณทรงเป็นองค์ภควานฺแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง ทรงเป็น โควินฺท พระผู้เป็นเจ้าองค์แรก อีศฺวรห์ ปรมห์ กฺฤษฺณห์ สจฺ-จิทฺ-อานนฺท-วิคฺรหห์ / อนาทิรฺ อาทิรฺ โควินฺทห์ สรฺว-การณ-การณมฺ เป็นสิ่งยากมากสำหรับพวกที่ไม่ใช่สาวกที่จะรู้จักองค์กฺฤษฺณ ถึงแม้ประกาศว่าวิถีแห่ง ภกฺติ-โยค หรือการอุทิศตนเสียสละรับใช้นั้นง่ายมากแต่พวกเขาไม่สามารถปฏิบัติได้ หากว่าวิถีแห่ง ภกฺติ-โยค ง่ายเหมือนดังเช่นพวกที่ไม่ใช่สาวกอ้างแล้วทำไมจึงไปปฏิบัติตามวิธีที่ยาก อันที่จริงวิถีแห่ง ภกฺติ-โยค ไม่ง่าย ภกฺติ-โยค ปลอมที่บุคคลผู้เชื่อถือไม่ได้ปฏิบัติกันโดยปราศจากความรู้ที่ถูกต้องแห่ง ภกฺติ-โยค อาจจะง่าย แต่เมื่อปฏิบัติกันจริงๆตามกฎระเบียบต่างๆนักวิชาการและนักปราชญ์ผู้คาดคะเนจะตกลงมาจากวิถีทาง ศฺรีล รูป โคสฺวามี ได้เขียนใน ภกฺติ-รสามฺฤต-สินฺธุ ( 1.2.101) ดังนี้
ศฺรุติ-สฺมฺฤติ-ปุราณาทิ-
ปญฺจราตฺร-วิธึ วินา
ไอกานฺติกี หเรรฺ ภกฺติรฺ
อุตฺปาตาไยว กลฺปเต
ปญฺจราตฺร-วิธึ วินา
ไอกานฺติกี หเรรฺ ภกฺติรฺ
อุตฺปาตาไยว กลฺปเต
“การอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่องค์ภควานฺ และปฏิเสธวรรณกรรมพระเวทที่เชื่อถือได้เช่น อุปนิษทฺสฺ, ปุราณ และ นารท ปญฺจราตฺร ได้แต่สร้างความเดือดร้อนให้สังคมโดยไม่จำเป็นเท่านั้น”
เป็นไปไม่ได้ที่ผู้รู้แจ้ง พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ หรือ โยคีผู้รู้แจ้ง ปรมาตฺมา จะเข้าใจองค์กฺฤษฺณบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าผู้ทรงเป็นโอรสของพระนาง ยโศทา หรือเป็นสารถีของ อรฺชุน แม้แต่เทวดาผู้ยิ่งใหญ่บางครั้งยังสับสนเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณ (มุหฺยนฺติ ยตฺ สูรยห์) มำ ตุ เวท น กศฺจน องค์ภควานฺตรัสว่า “ไม่มีผู้ใดรู้จักข้าตามความเป็นจริง” และหากว่ามีผู้หนึ่งผู้ใดรู้จักพระองค์ ส มหาตฺมา สุ-ทุรฺลภห์ “ดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่เช่นนี้หาได้ยากมาก” ฉะนั้นนอกเสียจากว่าจะปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่องค์ภควานฺมิฉะนั้นเราก็จะไม่สามารถรู้จักองค์กฺฤษฺณตามความเป็นจริง (ตตฺตฺวตห์) ถึงแม้เราจะเป็นนักวิชาการหรือเป็นนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ สาวกผู้บริสุทธิ์เท่านั้นที่สามารถรู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับคุณสมบัติทิพย์อันมองไม่เห็นในองค์กฺฤษฺณ เห็นพระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งมวล เห็นพระเดชและความมั่งคั่งของพระองค์ ความร่ำรวย ชื่อเสียง พลังอำนาจ ความสง่างาม ความรู้ และความเสียสละของพระองค์ เพราะว่าองค์กฺฤษฺณทรงมีแนวโน้มที่จะให้พระเมตตากรุณาต่อสาวก พระองค์ทรงเป็นคำสุดท้ายในความรู้แจ้ง พฺรหฺมนฺ สาวกเท่านั้นที่สามารถรู้แจ้งตามความเป็นจริงได้กล่าวไว้ว่า
อตห์ ศฺรี-กฺฤษฺณ-นามาทิ
น ภเวทฺ คฺราหฺยมฺ อินฺทฺริไยห์
เสโวนฺมุเข หิ ชิหฺวาเทา
สฺวยมฺ เอว สฺผุรตฺยฺ อทห์
น ภเวทฺ คฺราหฺยมฺ อินฺทฺริไยห์
เสโวนฺมุเข หิ ชิหฺวาเทา
สฺวยมฺ เอว สฺผุรตฺยฺ อทห์
“ไม่มีผู้ใดสามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณตามความเป็นจริงด้วยประสาทสัมผัสวัตถุอันหยาบ แต่พระองค์ทรงเปิดเผยตัวพระองค์แด่สาวก เนื่องจากทรงพอพระทัยกับการรับใช้ด้วยความรักทิพย์ที่มีต่อพระองค์” (ภกฺติ-รสามฺฤต-สินฺธุ 1.2.234)