ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ เจ็ด

ความรู้แห่งสัจธรรม

โศลก 2

jñānaṁ te ’haṁ sa-vijñānam
idaṁ vakṣyāmy aśeṣataḥ
yaj jñātvā neha bhūyo ’nyaj
jñātavyam avaśiṣyate
ชฺญานํ เต ’หํ ส-วิชฺญานมฺ
อิทํ วกฺษฺยามฺยฺ อเศษตห์
ยชฺ ชฺญาตฺวา เนห ภูโย ’นฺยชฺ
ชฺญาตวฺยมฺ อวศิษฺยเต
ชฺญานมฺ — ความรู้ที่ปรากฏตามธรรมชาติ, เต — แด่ท่าน, อหมฺ — ข้า, — กับ, วิชฺญานมฺ — ความรู้เหนือธรรมชาติ, อิทมฺ — นี้, วกฺษฺยามิ — จะอธิบาย, อเศษตห์ — อย่างสมบูรณ์, ยตฺ — ซึ่ง, ชฺญาตฺวา — เมื่อรู้, — ไม่, อิห — ในโลกนี้, ภูยห์ — กว่านี้, อนฺยตฺ — มากกว่า, ชฺญาตวฺยมฺ — ควรรู้, อวศิษฺยเต — คงเหลือ

คำแปล

บัดนี้ข้าจะประกาศความรู้อย่างสมบูรณ์แก่เธอ ทั้งที่ปรากฏตามธรรมชาติและเหนือธรรมชาติ เมื่อรู้แล้วจะไม่มีสิ่งใดเหลือให้เธอรู้อีกต่อไป

คำอธิบาย

ความรู้อันสมบูรณ์รวมทั้งความรู้ทางโลกที่ปรากฏตามธรรมชาติ จิตวิญญาณที่อยู่เบื้องหลัง และแหล่งกำเนิดของทั้งสองสิ่งนี้นี่คือความรู้ทิพย์ องค์ภควานฺทรงปรารถนาที่จะอธิบายระบบแห่งความรู้ที่กล่าวไว้เบื้องต้นเพราะ อรฺชุน ทรงเป็นทั้งสาวกและสหายที่ใกล้ชิดขององค์กฺฤษฺณ ในตอนต้นของบทที่สี่องค์ภควานฺได้ทรงอธิบายไว้แล้วและทรงยืนยันอีกครั้ง ที่นี้ ความรู้อันสมบูรณ์สามารถบรรลุได้โดยสาวกของพระองค์ในสาย ปรมฺปรา จากองค์ภควานฺโดยตรงเท่านั้น ดังนั้นเราควรมีปัญญาพอที่จะรู้ถึงแหล่งกำเนิดแห่งความรู้ทั้งหลายผู้ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง และทรงเป็นเพียงเป้าหมายเดียวในการทำสมาธิฝึกปฏิบัติโยคะทุกรูปแบบ เมื่อเรารู้แหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งหลายแล้วสิ่งที่ต้องรู้ทั้งหมดก็ได้รู้เรียบร้อยแล้ว และไม่มีสิ่งใดที่ยังไม่รู้ในคัมภีร์พระเวท (มุณฺฑก อุปนิษทฺ 1.3) กล่าวว่า กสฺมินฺนฺ อุ ภคโว วิชฺญาเต สรฺวมฺ อิทํ วิชฺญาตํ ภวตีติ