ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สาม

กรฺม-โยค

โศลก 19

tasmād asaktaḥ satataṁ
kāryaṁ karma samācara
asakto hy ācaran karma
param āpnoti pūruṣaḥ
ตสฺมาทฺ อสกฺตห์ สตตํ
การฺยํ กรฺม สมาจร
อสกฺโต หฺยฺ อาจรนฺ กรฺม
ปรมฺ อาปฺโนติ ปูรุษห์
ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, อสกฺตห์ — ไม่ยึดติด, สตตมฺ — สม่ำเสมอ, การฺยมฺ — เป็นหน้าที่, กรฺม — งาน, สมาจร — ปฏิบัติ, อสกฺตห์ — ไม่ยึดติด, หิ — แน่นอน, อาจรนฺ — ปฏิบัติ, กรฺม — งาน, ปรมฺ — สูงสุด, อาปฺโนติ — ได้รับ, ปูรุษห์ — มนุษย์

คำแปล

ฉะนั้น โดยการปราศจากการยึดติดกับผลของงานเราควรปฏิบัติตนตามหน้าที่ เพราะจากการทำงานโดยไม่ยึดติดนั้นเราจะบรรลุถึงองค์ภควานฺ

คำอธิบาย

องค์ภควานฺคือ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าสำหรับสาวก และคือความหลุดพ้นสำหรับผู้ที่ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ ดังนั้นบุคคลผู้ปฏิบัติตนเพื่อองค์กฺฤษฺณ หรืออยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกภายใต้การแนะนำที่ถูกต้อง โดยไม่ยึดติดต่อผลของงานนั้นแน่นอนว่าต้องเจริญก้าวหน้าไปสู่จุดมุ่งหมายสูงสุดแห่งชีวิต อรฺชุน ได้รับคำแนะนำว่าควรต่อสู้ในสนามรบ กุรุกฺเษตฺร เพื่อประโยชน์ขององค์กฺฤษฺณ เพราะว่าองค์กฺฤษฺณทรงปรารถนาให้ อรฺชุน สู้ การเป็นคนดีหรือเป็นคนที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่นเป็นการยึดติดส่วนตัว แต่การปฏิบัติตนเพื่อองค์ภควานฺเป็นการปฏิบัติโดยไม่ยึดติดต่อผลงาน นี่คือการปฏิบัติที่สมบูรณ์สูงสุดที่บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงได้แนะนำ

พิธีกรรมในคัมภีร์พระเวทเป็นพิธีการบวงสรวงบูชา กำหนดให้ปฏิบัติเพื่อชะล้างความไม่บริสุทธิ์อันเนื่องมาจากกิจกรรมที่ไม่เป็นมงคลในการสนองประสาทสัมผัส แต่การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เหนือผลกรรมทั้งดีและชั่ว บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่ยึดติดกับผลของงานแต่ปฏิบัติไปเพื่อองค์กฺฤษฺณเท่านั้น เขาสามารถทำกิจกรรมทุกชนิดแต่ว่าไม่มีความยึดติดใดๆเลย