ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ เจ็ด
ความรู้แห่งสัจธรรม
โศลก 22
sa tayā śraddhayā yuktas
tasyārādhanam īhate
labhate ca tataḥ kāmān
mayaiva vihitān hi tān
tasyārādhanam īhate
labhate ca tataḥ kāmān
mayaiva vihitān hi tān
ส ตยา ศฺรทฺธยา ยุกฺตสฺ
ตสฺยาราธนมฺ อีหเต
ลภเต จ ตตห์ กามานฺ
มไยว วิหิตานฺ หิ ตานฺ
ตสฺยาราธนมฺ อีหเต
ลภเต จ ตตห์ กามานฺ
มไยว วิหิตานฺ หิ ตานฺ
สห์ — เขา, ตยา — ด้วยสิ่งนั้น, ศฺรทฺธยา — แรงดลใจ, ยุกฺตห์ — ให้, ตสฺย — ของเทวดาองค์นั้น, อาราธนมฺ — เพื่อการบูชา, อีหเต — เขาปรารถนา, ลภเต — ได้รับ, จ — และ, ตตห์ — จากนั้น, กามานฺ — ความปรารถนาของเขา, มยา — โดยข้า, เอว — ผู้เดียว, วิหิตานฺ — จัด, หิ — แน่นอน, ตานฺ — เขาเหล่านั้น
คำแปล
เมื่อมีความศรัทธาเช่นนี้
คำอธิบาย
เหล่าเทวดาไม่สามารถประทานพรแด่สาวกของตนหากไม่ได้รับอนุญาตจากองค์ภควานฺ สิ่งมีชีวิตอาจลืมไปว่าทุกสิ่งทุกอย่างคือทรัพย์สมบัติของพระองค์แต่เทวดาทรงไม่ลืม ดังนั้นการบูชาเทวดาและบรรลุถึงผลที่ตนปรารถนามิได้เนื่องมาจากเทวดา แต่เนื่องมาจากการจัดการขององค์ภควานฺสิ่งมีชีวิตผู้ด้อยปัญญาไม่ทราบเรื่องนี้ ดังนั้นจึงเข้าไปหาเทวดาด้วยความโง่เขลาเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง หากสาวกผู้บริสุทธิ์ต้องการบางสิ่งบางอย่างเพียงแต่ภาวนาต่อองค์ภควานฺเท่านั้น อย่างไรก็ดีการขอผลประโยชน์ทางวัตถุไม่ใช่เป็นเครื่องหมายของสาวกผู้บริสุทธิ์ สิ่งมีชีวิตโดยทั่วไปเข้าหาเทวดาเพราะความบ้าคลั่งที่จะสนองตอบราคะของตน ที่เป็นเช่นนี้เพราะสิ่งมีชีวิตปรารถนาบางสิ่งบางอย่างที่ไม่สมควร องค์ภควานฺจึงทรงไม่ตอบสนองความต้องการของเขา ใน ไจตนฺย-จริตามฺฤต กล่าวไว้ว่าผู้ที่บูชาองค์ภควานฺ และในขณะเดียวกันปรารถนาความสุขทางวัตถุเป็นการขัดแย้งกันในความปรารถนาของตนเอง การอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺ และการบูชาเทวดามิใช่อยู่ในระดับเดียวกันเพราะการบูชาเทวดาเป็นวัตถุ และการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺเป็นทิพย์โดยสมบูรณ์
สำหรับสิ่งมีชีวิตผู้ปรารถนาจะกลับคืนสู่องค์ภควานฺความต้องการทางวัตถุจะเป็นอุปสรรค สาวกผู้บริสุทธิ์ของพระองค์จะไม่ได้รับรางวัลผลประโยชน์ทางวัตถุเหมือนกับสิ่งมีชีวิตผู้ด้อยปัญญาปรารถนา ดังนั้นคนโง่เขลาจึงนิยมการบูชาเทวดาในโลกวัตถุมากกว่าที่จะปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺ