บทที่ สิบสาม
ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก
arjuna uvāca
prakṛtiṁ puruṣaṁ caiva
kṣetraṁ kṣetra-jñam eva ca
etad veditum icchāmi
jñānaṁ jñeyaṁ ca keśava
อรฺชุน อุวาจ
ปฺรกฺฤตึ ปุรุษํ ไจว
กฺเษตฺรํ เกฺษตฺร-ชฺญมฺ เอว จ
เอตทฺ เวทิตุมฺ อิจฺฉามิ
ชฺญานํ เชฺญยํ จ เกศว
śrī-bhagavān uvāca
idaṁ śarīraṁ kaunteya
kṣetram ity abhidhīyate
etad yo vetti taṁ prāhuḥ
kṣetra-jña iti tad-vidaḥ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
อิทํ ศรีรํ เกานฺเตย
กฺเษตฺรมฺ อิตฺยฺ อภิธียเต
เอตทฺ โย เวตฺติ ตํ ปฺราหุห์
กฺเษตฺร-ชฺญ อิติ ตทฺ-วิทห์
อรฺชุนห์ อุวาจ — อรฺชุน ตรัสว่า, ปฺรกฺฤติมฺ — ธรรมชาติ, ปุรุษมฺ — ผู้รื่นเริง, จ — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, กฺเษตฺรมฺ — สนาม, กฺเษตฺร-ชฺญมฺ — ผู้รู้สนาม, เอว — แน่นอน, จ — เช่นกัน, เอตตฺ — ทั้งหมดนี้, เวทิตุมฺ — เข้าใจ, อิจฺฉามิ — ข้าพเจ้าปรารถนา, ชฺญานมฺ — ความรู้, ชฺเญยมฺ — เป้าหมายของความรู้, จ — เช่นกัน, เกศว — โอ้ กฺฤษฺณ, ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — องค์ภควานตรัส, อิทมฺ — นี้, ศรีรมฺ — ร่างกาย, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, กฺเษตฺรมฺ — สนาม, อิติ — ดังนั้น, อภิธียเต — เรียกว่า, เอตตฺ — นี้, ยห์ — ผู้ซึ่ง, เวตฺติ — รู้, ตมฺ — เขา, ปฺราหุห์ — เรียกว่า, กฺเษตฺร-ชฺญห์ — ผู้รู้สนาม, อิติ — ดังนั้น, ตตฺ-วิทห์ — โดยพวกที่รู้สิ่งนี้
คำแปล
อรฺชุน ตรัสว่า โอ้ กฺฤษฺณ ที่รัก ข้าปรารถนาจะรู้เกี่ยวกับ ปฺรกฺฤติ (ธรรมชาติ) ปุรุษ (ผู้รื่นเริง) สนาม และผู้รู้สนาม ความรู้ และจุดมุ่งหมายแห่งความรู้ องค์ภควานตรัสว่า โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี ร่างกายนี้เรียกว่าสนาม และผู้ที่รู้ร่างกายนี้เรียกว่าผู้รู้สนาม
คำอธิบาย
อรฺชุน ทรงถามเกี่ยวกับ ปฺรกฺฤติ (ธรรมชาติ) ปุรุษ (ผู้รื่นเริง) กฺเษตฺร (สนาม) กฺเษตฺร-ชฺญ (ผู้รู้สนาม) ความรู้และจุดมุ่งหมายแห่งความรู้ เมื่อทรงถามทั้งหมดนี้องค์กฺฤษฺณตรัสว่าร่างกายนี้เรียกว่า สนาม และผู้รู้ร่างกายนี้เรียกว่า ผู้รู้สนาม ร่างกายนี้เป็นสนามแห่งกิจกรรมสำหรับพันธวิญญาณ พันธวิญญาณได้มาติดกับอยู่ในความเป็นอยู่ทางวัตถุ พยายามเป็นเจ้าและครอบครองธรรมชาติวัตถุตามกำลังความสามารถของตนจึงได้รับสนามแห่งกิจกรรม สนามแห่งกิจกรรมนี้คือร่างกาย และร่างกายนี้คืออะไร ร่างกายประกอบไปด้วยประสาทสัมผัสต่างๆ พันธวิญญาณปรารถนาจะรื่นเริงอยู่กับการสนองประสาทสัมผัสตามกำลังความสามารถที่จะรื่นเริงกับการสนองประสาทสัมผัส เราจึงได้รับร่างกายหรือสนามแห่งกิจกรรมมา ดังนั้นร่างกายจึงเรียกว่า กฺเษตฺร หรือสนามแห่งกิจกรรมสำหรับพันธวิญญาณ เช่นนี้บุคคลที่สำคัญตนเองกับร่างกายเรียกว่า กฺเษตฺร-ชฺญ หรือผู้รู้สนาม การที่จะเข้าใจข้อแตกต่างระหว่างสนามและผู้รู้สนามมิใช่เป็นสิ่งลำบาก ร่างกายและผู้รู้ร่างกายใครๆก็สามารถพิจารณาได้ ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชราเราได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงของร่างกายมามากมาย แต่เรายังคงเป็นบุคคลเดิม ดังนั้นจึงมีข้อแตกต่างระหว่างผู้รู้สนามแห่งกิจกรรมและตัวสนามแห่งกิจกรรม พันธวิญญาณผู้มีชีวิตสามารถเข้าใจว่าตนเองแตกต่างไปจากร่างกาย ได้อธิบายไว้ในตอนต้นว่า เทหิโน ’สฺมินฺ สิ่งมีชีวิตอยู่ภายในร่างกายและร่างกายเปลี่ยนแปลงจากทารกมาเป็นเด็ก จากเด็กมาเป็นหนุ่มสาว และจากหนุ่มสาวมาเป็นผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นเจ้าของร่างกายรู้ว่าร่างกายนี้เปลี่ยนแปลงเจ้าของคือ กฺเษตฺร-ชฺญ ที่แตกต่างออกไป บางครั้งเราคิดว่า “ฉันมีความสุข” “ฉันเป็นผู้ชาย” “ฉันเป็นผู้หญิง” “ฉันเป็นสุนัข” “ฉันเป็นแมว” เหล่านี้เป็นชื่อระบุทางร่างกายของผู้รู้ แต่ผู้รู้แตกต่างไปจากร่างกายถึงแม้ว่าเราอาจใช้สิ่งของมากมาย เช่น เสื้อผ้าอาภรณ์ต่างๆ แต่เรารู้ว่าตัวเราแตกต่างไปจากสิ่งของที่เราใช้ ในทำนองเดียวกันจากการพิจารณาเพียงเล็กน้อยก็เข้าใจได้ว่าเราแตกต่างไปจากร่างกาย อาตมา ท่าน หรือผู้ใดที่เป็นเจ้าของร่างกายเรียกว่า กฺเษตฺร-ชฺญ หรือผู้รู้สนามแห่งกิจกรรม และร่างกายเรียกว่า กฺเษตฺร หรือตัวสนามแห่งกิจกรรม
ในหกบทแรกของ ภควัท-คีตา ได้อธิบายถึงผู้รู้ร่างกาย (สิ่งมีชีวิต) และตำแหน่งที่เขาสามารถเข้าใจองค์ภควานฺ ในหกบทกลางของ ภควัท-คีตา ได้อธิบายถึงบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าและความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกวิญญาณและอภิวิญญาณซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ได้นิยามสถานภาพที่สูงกว่าขององค์ภควานฺและสถานภาพที่ด้อยกว่าของปัจเจกวิญญาณอย่างชัดเจนในบทเหล่านี้ เนื่องจากลืมไปว่าตนเองด้อยกว่าในทุกๆสถานการณ์สิ่งมีชีวิตจึงได้รับทุกข์ เมื่อสว่างไสวขึ้นด้วยบุญบารมีสิ่งมีชีวิตจึงเข้าพบองค์ภควานฺในสภาวะที่แตกต่างกัน เช่น สภาวะที่มีความทุกข์ สภาวะที่ต้องการเงิน สภาวะชอบถาม และสภาวะที่แสวงหาความรู้ซึ่งได้อธิบายไว้เช่นกัน จากบทที่สิบสามจะอธิบายว่าสิ่งมีชีวิตมาสัมผัสกับธรรมชาติวัตถุได้อย่างไร และองค์ภควานฺทรงจัดส่งเขาด้วยวิธีต่างๆอย่างไรโดยผ่านทางกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ การพัฒนาความรู้และการปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ถึงแม้ว่าสิ่งมีชีวิตแตกต่างจากร่างกายวัตถุโดยสิ้นเชิงแต่ก็มีความสัมพันธ์กัน ประเด็นนี้ได้อธิบายไว้เช่นเดียวกัน
kṣetra-jñaṁ cāpi māṁ viddhi
sarva-kṣetreṣu bhārata
kṣetra-kṣetrajñayor jñānaṁ
yat taj jñānaṁ mataṁ mama
กฺเษตฺร-ชฺญํ จาปิ มำ วิทฺธิ
สรฺว-กฺเษเตฺรษุ ภารต
กฺเษตฺร-กฺเษตฺรชฺญโยรฺ ชฺญานํ
ยตฺ ตชฺ ชฺญานํ มตํ มม
กฺเษตฺร-ชฺญมฺ — ผู้รู้สนาม, จ — เช่นกัน, อปิ — แน่นอน, มามฺ — ข้า, วิทฺธิ — รู้, สรฺว — ทั้งหมด, กฺเษเตฺรษุ — ในสนามแห่งร่างกาย, ภารต — โอ้ โอรสแห่ง ภรต, กฺเษตฺร — สนามแห่งกิจกรรม (ร่างกาย), กฺเษตฺร-ชฺญโยห์ — และผู้รู้สนาม, ชฺญานมฺ — ความรู้แห่ง, ยตฺ — ซึ่ง, ตตฺ — นั้น, ชฺญานมฺ — ความรู้, มตมฺ — ความเห็น, มม — ของข้า
คำแปล
โอ้ ผู้สืบราชวงศ์แห่ง ภรต เธอควรเข้าใจว่าข้าเป็นผู้รู้ร่างกายทั้งหมดเช่นกัน การเข้าใจร่างกายและผู้รู้ร่างกายนี้เรียกว่าความรู้ นั่นคือความเห็นของข้า
คำอธิบาย
ขณะที่สนทนาถึงประเด็นเรื่องร่างกายและผู้รู้ร่างกาย วิญญาณและอภิวิญญาณ เราจะพบสามประเด็นในการศึกษาคือองค์ภควานฺ สิ่งมีชีวิตและวัตถุ ในทุกๆสนามแห่งกิจกรรมหรือในทุกร่างกายจะมีดวงวิญญาณอยู่สองดวงคือ ปัจเจกวิญญาณและอภิวิญญาณ เพราะว่าอภิวิญญาณทรงเป็นภาคแบ่งแยกขององค์ภควานฺ กฺฤษฺณ องค์กฺฤษฺณทรงตรัสว่า “ข้าเป็นผู้รู้เช่นกัน แต่ไม่ใช่ปัจเจกผู้รู้แห่งร่างกาย ข้าคือผู้รอบรู้ ข้าประทับอยู่ในทุกๆร่างกายในรูปของ ปรมาตฺมา หรืออภิวิญญาณ”
ผู้ที่ศึกษาประเด็นของสนามแห่งกิจกรรมและผู้รู้สนามอย่างละเอียดถี่ถ้วนตาม ภควัท-คีตา นี้จะสามารถบรรลุถึงความรู้
องค์ภควานฺทรงตรัสว่า “ข้าคือผู้รู้ของสนามแห่งกิจกรรมในทุกๆปัจเจกร่างกาย” ปัจเจกวิญญาณอาจเป็นผู้รู้ร่างกายของตนเองแต่จะไม่มีความรู้ร่างกายของผู้อื่น องค์ภควานฺทรงประทับอยู่ในทุกๆร่างกายในฐานะอภิวิญญาณ พระองค์ทรงทราบทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับทุกๆร่างกาย และทรงทราบร่างกายที่แตกต่างกันทั้งหมดของเผ่าพันธุ์อันหลากหลายแห่งชีวิตทั้งหลาย ประชาชนอาจรู้ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับผืนแผ่นดินของตนเท่านั้น แต่พระเจ้าแผ่นดินทรงทราบไม่เพียงแต่พระราชวังของพระองค์แต่ยังทรงทราบถึงแผ่นดินในราชอาณาจักรทุกแปลงที่ปัจเจกชนครอบครอง ในทำนองเดียวกันเราอาจเป็นเจ้าของปัจเจกร่างกายแต่องค์ภควานฺทรงเป็นเจ้าของร่างกายทั้งหมด พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นเจ้าขององค์แรกของราชอาณาจักรและประชาชนเป็นเจ้าของรองลงมา ในลักษณะเดียวกันองค์ภควานฺทรงเป็นเจ้าของสูงสุดของร่างกายทั้งหมด
ร่างกายประกอบไปด้วยประสาทสัมผัสต่างๆ องค์ภควานฺคือ หฺฤษีเกศ ซึ่งหมายความว่า “ผู้ควบคุมประสาทสัมผัส” พระองค์ทรงเป็นผู้ควบคุมประสาทสัมผัสองค์แรกเหมือนกับพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงเป็นผู้ควบคุมองค์แรกแห่งกิจกรรมทั้งหลายในรัฐ ประชาชนเป็นผู้ควบคุมรองลงมาองค์ภควานฺตรัสว่า “ข้าคือผู้รู้เช่นกัน” หมายความว่าพระองค์ทรงเป็นผู้รู้สูงสุด ปัจเจกวิญญาณรู้เฉพาะร่างกายของตนเองเท่านั้น ในวรรณกรรมพระเวทได้กล่าวไว้ดังนี้
กฺเษตฺราณิ หิ ศรีราณิ
พีชํ จาปิ ศุภาศุเภ
ตานิ เวตฺติ ส โยคาตฺมา
ตตห์ เกฺษตฺร-ชฺญ อุจฺยเต
ร่างกายนี้เรียกว่า กฺเษตฺร องค์ภควานฺและเจ้าของร่างกายอยู่ภายในร่างกายนี้ พระองค์ทรงทราบทั้งร่างกายและเจ้าของร่างกาย ดังนั้นองค์ภควานฺทรงถูกเรียกว่าเป็นผู้รู้สนามทั้งหมด ข้อแตกต่างระหว่างสนามแห่งกิจกรรม ผู้รู้กิจกรรม และผู้รู้สูงสุดแห่งกิจกรรมได้อธิบายไว้ดังนี้ ความรู้ที่สมบูรณ์แห่งพื้นฐานของร่างกาย พื้นฐานของปัจเจกวิญญาณและพื้นฐานของอภิวิญญาณ วรรณกรรมพระเวทเรียกว่า ชฺญาน นั่นคือความเห็นขององค์กฺฤษฺณ การเข้าใจทั้งดวงวิญญาณและอภิวิญญาณว่าเป็นหนึ่งแต่ก็ไม่เหมือนกันเรียกว่าความรู้ ผู้ที่ไม่เข้าใจสนามแห่งกิจกรรมและผู้รู้กิจกรรมไม่มีความรู้ที่สมบูรณ์ เราต้องเข้าใจสถานภาพของ ปฺรกฺฤติ (ธรรมชาติ) ปุรุษ (ผู้รื่นเริงแห่งธรรมชาติ) และ อีศฺวร (ผู้รู้ที่ครอบครองหรือควบคุมธรรมชาติและปัจเจกวิญญาณ) เราไม่ควรสับสนกับศักยภาพที่แตกต่างกันของทั้งสามนี้ เราไม่ควรสับสนเกี่ยวกับจิตรกร ภาพวาด และขาตั้งภาพโลกวัตถุซึ่งเป็นสนามแห่งกิจกรรมนี้คือธรรมชาติ ผู้รื่นเริงกับธรรมชาติคือสิ่งมีชีวิตและเหนือไปกว่าทั้งสองคือผู้ควบคุมสูงสุดองค์ภควานฺ ได้กล่าวไว้ในภาษาพระเวท (เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ 1.12) ว่า โภกฺตา โภคฺยํ เปฺรริตารํ จ มตฺวา / สรฺวํ โปฺรกฺตํ ตฺริ-วิธํ พฺรหฺมมฺ เอตตฺ มีสามแนวคิดเกี่ยวกับ พฺรหฺมนฺ คือ ปฺรกฺฤติ เป็น พฺรหฺมนฺ ของสนามแห่งกิจกรรมและ ชีว (ปัจเจกวิญญาณ) เป็น พฺรหฺมนฺ เช่นกัน และเขาพยายามควบคุมธรรมชาติวัตถุและผู้ควบคุมทั้งสองก็เป็น พฺรหฺมนฺ แต่องค์ภควานฺคือผู้ควบคุมที่แท้จริง
ในบทนี้จะอธิบายว่าทั้งสองคือผู้รู้ ผู้หนึ่งมีข้อผิดพลาดและอีกผู้หนึ่งไร้ข้อผิดพลาด ผู้หนึ่งเหนือกว่าและอีกผู้หนึ่งด้อยกว่า ผู้เข้าใจผู้รู้แห่งสนามทั้งสองว่าเป็นหนึ่งเดียวกันและเหมือนกันเป็นผู้ที่ขัดแย้งกับบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ซึ่งตรัสไว้อย่างชัดเจน ณ ที่นี้ว่า “ข้าคือผู้รู้ของสนามแห่งกิจกรรมเช่นกัน” ผู้เข้าใจผิดว่าเชือกคืองูเป็นผู้ไม่มีความรู้ มีร่างกายแตกต่างกันและมีเจ้าของร่างกายที่แตกต่างกัน เนื่องจากแต่ละปัจเจกวิญญาณมีปัจเจกศักยภาพในการเป็นเจ้าเหนือธรรมชาติวัตถุจึงมีร่างกายที่แตกต่างกัน แต่องค์ภควานฺทรงประทับอยู่ภายในพวกเขาในฐานะผู้ควบคุม คำว่า จ มีความสำคัญและแสดงถึงจำนวนของร่างกายทั้งหมด นั่นคือความเห็นของ ศฺรีล วิทฺยาภูษณ วิทฺยาภูษณ องค์กฺฤษฺณทรงเป็นอภิวิญญาณปรากฏในทุกๆร่างกายซึ่งแตกต่างไปจากปัจเจกวิญญาณ พระองค์ตรัสอย่างชัดเจน ณ ที่นี้ว่าอภิวิญญาณทรงเป็นผู้ควบคุมทั้งสนามแห่งกิจกรรมและผู้รื่นเริงที่มีขีดจำกัด
tat kṣetraṁ yac ca yādṛk ca
yad-vikāri yataś ca yat
sa ca yo yat-prabhāvaś ca
tat samāsena me śṛṇu
ตตฺ เกฺษตฺรํ ยจฺ จ ยาทฺฤกฺ จ
ยทฺ-วิการิ ยตศฺ จ ยตฺ
ส จ โย ยตฺ-ปฺรภาวศฺ จ
ตตฺ สมาเสน เม ศฺฤณุ
ตตฺ — นั้น, กฺเษตฺรมฺ — สนามแห่งกิจกรรม, ยตฺ — อะไร, จ — เช่นกัน, ยาทฺฤกฺ — เหมือนเดิม, จ — เช่นกัน, ยตฺ — มีอะไร, วิการิ — เปลี่ยนแปลง, ยตห์ — จากอะไร, จ — เช่นกัน, ยตฺ — อะไร, สห์ — เขา, จ — เช่นกัน, ยห์ — ผู้ซึ่ง, ยตฺ — มีอะไร, ปฺรภาวห์ — อิทธิพล, จ — เช่นกัน, ตตฺ — นั้น, สมาเสน — โดยสรุป, เม — จากข้า, ศฺฤณุ — เข้าใจ
คำแปล
บัดนี้จงฟังคำอธิบายโดยย่อจากข้าเกี่ยวกับสนามแห่งกิจกรรมนี้ว่าประกอบขึ้นอย่างไร เปลี่ยนแปลงอย่างไร ผลิตมาจากไหน ใครคือผู้รู้สนามแห่งกิจกรรมและอิทธิพลของมันเป็นอย่างไร
คำอธิบาย
องค์ภควานฺทรงอธิบายถึงสนามแห่งกิจกรรมและผู้รู้สนามแห่งกิจกรรมในสถานภาพเดิมแท้ เราต้องรู้ถึงวัตถุที่ผลิตร่างกายนี้ขึ้นมา รู้ว่าร่างกายนี้ประกอบขึ้นอย่างไร ใครคือผู้ควบคุมร่างกายนี้ให้ทำงาน การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้อย่างไร การเปลี่ยนแปลงมาจากไหน อะไรคือสาเหตุ อะไรคือเหตุผล อะไรคือจุดมุ่งหมายสูงสุดของปัจเจกวิญญาณ และรูปลักษณ์อันแท้จริงของปัจเจกวิญญาณคืออะไร เราควรรู้ข้อแตกต่างระหว่างปัจเจกวิญญาณและอภิวิญญาณ อิทธิพลและศักยภาพที่แตกต่างของทั้งสอง เราเพียงแต่ต้องเข้าใจ ภควัท-คีตา นี้โดยตรงจากดำรัสของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าและทั้งหมดนี้จะชัดเจนขึ้น แต่เราต้องระวังที่จะไม่พิจารณาว่าองค์ภควานฺผู้ทรงประทับในทุกๆร่างเป็นหนึ่งเดียวกับ ชีว หรือปัจเจกวิญญาณ เช่นนี้เหมือนกับการเปรียบเทียบผู้มีอำนาจและผู้ไม่มีอำนาจว่าเท่าเทียมกัน
ṛṣibhir bahudhā gītaṁ
chandobhir vividhaiḥ pṛthak
brahma-sūtra-padaiś caiva
hetumadbhir viniścitaiḥ
ฤษิภิรฺ พหุธา คีตํ
ฉนฺโทภิรฺ วิวิไธห์ ปฺฤถกฺ
พฺรหฺม-สูตฺร-ปไทศฺ ไจว
เหตุมทฺภิรฺ วินิศฺจิไตห์
ฤษิภิห์ — โดยปราชญ์ผู้มีปัญญา, พหุธา — ในหลายทาง, คีตมฺ — อธิบาย, ฉนฺโทภิห์ — โดยบทมนต์พระเวท, วิวิไธห์ — ต่างๆ, ปฺฤถกฺ — แตกต่างกัน, พฺรหฺม-สูตฺร — ของ เวทานฺต, ปไทห์ — โดยคำพังเพย, จ — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, เหตุ-มทฺภิห์ — ด้วยเหตุและผล, วินิศฺจิไตห์ — แน่นอน
คำแปล
ความรู้สนามแห่งกิจกรรมและผู้รู้กิจกรรมนั้นนักปราชญ์หลายท่านได้อธิบายไว้ในบทความพระเวทต่างๆ ได้แสดงไว้โดยเฉพาะใน เวทานฺต - สูตฺร ด้วยวิจารณญาณทั้งหมดของเหตุและผล
คำอธิบาย
องค์ภควานฺ กฺฤษฺณทรงเป็นผู้เชื่อถือได้สูงสุดในการอธิบายความรู้นี้ ถึงกระนั้นเพื่อเป็นการศึกษานักวิชาการผู้คงแก่เรียนและผู้เชื่อถือได้ที่มีมาตรฐานจะอ้างอิงหลักฐานจากผู้เชื่อถือได้ในอดีตเสมอ องค์กฺฤษฺณทรงอธิบายถึงประเด็นที่ขัดแย้งกันมากที่สุดนี้ซึ่งเกี่ยวกับปัจเจกวิญญาณและอภิวิญญาณว่าเป็นหนึ่งดวงหรือสองดวง โดยอ้างอิงคัมภีร์ เวทานฺต ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเชื่อถือได้ก่อนอื่นพระองค์ตรัสว่า “เช่นนี้ตามนักปราชญ์ต่างๆ” เกี่ยวกับนักปราชญ์ต่างๆนอกจากตัวพระองค์เอง วฺยาสเทว (ผู้เขียน เวทานฺต-สูตฺร) เป็นนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ และใน เวทานฺต-สูตฺร ความเป็นสิ่งคู่นี้ได้อธิบายไว้อย่างดี และ ปราศร ผู้เป็นบิดาของ วฺยาสเทว ก็เป็นนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ได้เขียนในหนังสือศาสนาของท่านว่า อหมฺ ตฺวํ จ ตถาเนฺย… “พวกเรา ท่าน ข้าพเจ้าและสิ่งมีชีวิต ทั้งหมดเป็นทิพย์แม้อยู่ในร่างกายวัตถุ บัดนี้เราตกลงมาอยู่ในวิถีทางของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุตามกรรมที่แตกต่างกันไป ดังนั้นบางคนอยู่ในระดับที่สูงกว่าและบางคนอยู่ในธรรมชาติที่ต่ำกว่า ธรรมชาติที่สูงกว่า และต่ำกว่าดำเนินไปก็เนื่องมาจากอวิชชา และจะปรากฏอยู่ในจำนวนสิ่งมีชีวิตที่นับไม่ถ้วนแต่อภิวิญญาณผู้ไม่มีความผิดพลาด ไม่มีมลทินจากสามระดับแห่งธรรมชาติ พระองค์ทรงเป็นทิพย์” ทำนองเดียวกันในคัมภีร์พระเวทฉบับเดิมได้กล่าวถึงข้อแตกต่างระหว่างดวงวิญญาณ อภิวิญญาณและร่างกาย โดยเฉพาะใน กฐ อุปนิษทฺ มีนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่มากมายได้อธิบายไว้ และ ปราศร พิจารณาว่าเป็นบุคคลสำคัญในบรรดานักปราชญ์เหล่านี้
คำว่า ฉนฺโทภิห์ หมายถึง วรรณกรรมพระเวทต่างๆ ตัวอย่างเช่น ไตตฺติรีย อุปนิษทฺ ซึ่งแยกออกมาจาก ยชุรฺ เวท อธิบายถึงธรรมชาติ สิ่งมีชีวิต และองค์ภควานฺ
ดังที่กล่าวไว้แล้วว่า กฺเษตฺร คือสนามแห่งกิจกรรม และมีสอง กฺเษตฺร-ชฺญ คือ ปัจเจกดวงชีวิตและดวงชีวิตสูงสุด ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ไตตฺติรีย อุปนิษทฺ (2.5) พฺรหฺม ปุจฺฉํ ปฺรติษฺฐา มีปรากฎการณ์แห่งพลังงานขององค์ภควานฺเรียกว่า อนฺน-มย ซึ่งขึ้นอยู่กับอาหารเพื่อดำรงอยู่ เช่นนี้เป็นความรู้แจ้งแห่งองค์ภควานฺทางวัตถุ จากนั้นใน ปฺราณ-มย หลังจากรู้แจ้งสัจธรรมสูงสุดในอาหารเราสามารถรู้แจ้งสัจธรรมในอาการชีวิตหรือรูปลักษณ์ชีวิต ใน ชฺญาน-มย การรู้แจ้งขยายไปสูงกว่าอาการชีวิตโดยมาถึงจุดแห่งความคิด ความรู้สึก และความเต็มใจ จากนั้นก็มีความรู้แจ้ง พฺรหฺมนฺ เรียกว่า วิชฺญาน-มย ซึ่งจิตใจและอาการชีวิตของสิ่งมีชีวิตแตกต่างไปจากตัวสิ่งมีชีวิตเอง ถัดไปเป็นระดับสูงสุดคือ อานนฺท-มย รู้แจ้งแห่งธรรมชาติความปลื้มปีติสุขทั้งหมด ดังนั้นมีความรู้แจ้งแห่ง พฺรหฺมนฺ ห้าระดับเรียกว่า พฺรหฺม ปุจฺฉํ ทั้งหมดนี้สามระดับแรก อนฺน-มย, ปฺราณ-มย และ ชฺญาน-มย เกี่ยวข้องกับสนามแห่งกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตผู้ที่เป็นทิพย์เหนือสนามแห่งกิจกรรมทั้งหมดเหล่านี้คือ องค์ภควานฺสูงสุดซึ่งเรียกว่า อานนฺท-มย เวทานฺต-สูตฺร ยังอธิบายถึงพระองค์ด้วยการกล่าวว่า อนฺน-มย ปฺราณ-มย องค์ภควานฺโดยธรรมชาติทรงเปี่ยมไปด้วยความรื่นเริงเพื่อเสวยสุขกับความสุขเกษมสำราญทิพย์ของพระองค์ พระองค์ทรงแบ่งแยกมาเป็น วิชฺญาน-มย, ปฺราณ-มย, ชฺญาน-มย และ อนฺน-มย ในสนามแห่งกิจกรรมสิ่งมีชีวิตถือว่าเป็นผู้รื่นเริงที่แตกต่างไปจากตัวเขาคือ อานนฺท-มย นั่นหมายความว่าหากสิ่งมีชีวิตตัดสินใจจะเสวยสุขด้วยการประสานตนเองกับ อานนฺท-มย จะทำให้เขาสมบูรณ์นี่คือภาพอันแท้จริงขององค์ภควานฺในฐานะที่เป็นผู้รู้สนามสูงสุด สิ่งมีชีวิตในฐานะที่เป็นผู้รู้ที่รองลงมาและธรรมชาติของสนามแห่งกิจกรรมเราต้องค้นหาความจริงนี้ ใน เวทานฺต-สูตฺร หรือ พฺรหฺม-สูตฺร
ได้กล่าวไว้ ณ ที่นี้ว่าการประมวล พฺรหฺม-สูตฺร ได้เรียบเรียงไว้อย่างดีตามเหตุและผล บาง สูตฺร หรือคำพังเพยต่างๆ เช่น น วิยทฺ อศฺรุเตห์ (2.3.2) นาตฺมา ศฺรุเตห์ (2.3.18) และ ปราตฺ ตุ ตจฺ-ฉฺรุเตห์ (2.3.40) คำพังเพยแรกแสดงถึงสนามแห่งกิจกรรม คำพังเผยที่สองแสดงถึงสิ่งมีชีวิต และคำพังเผยที่สามแสดงถึงองค์ภควานฺผู้สูงสุดอย่างสมบูรณ์แบบในปรากฏการณ์ทั้งหลายแห่งชีวิตอันหลากหลาย
mahā-bhūtāny ahaṅkāro
buddhir avyaktam eva ca
indriyāṇi daśaikaṁ ca
pañca cendriya-gocarāḥ
มหา-ภูตานฺยฺ อหงฺกาโร
พุทฺธิรฺ อวฺยกฺตมฺ เอว จ
อินฺทฺริยาณิ ทไศกํ จ
ปญฺจ เจนฺทฺริย-โคจราห์
icchā dveṣaḥ sukhaṁ duḥkhaṁ
saṅghātaś cetanā dhṛtiḥ
etat kṣetraṁ samāsena
sa-vikāram udāhṛtam
อิจฺฉา เทฺวษห์ สุขํ ทุห์ขํ
สงฺฆาตศฺ เจตนา ธฺฤติห์
เอตตฺ เกฺษตฺรํ สมาเสน
ส-วิการมฺ อุทาหฺฤตมฺ
มหา-ภูตานิ — ธาตุที่ยิ่งใหญ่, อหงฺการห์ — อหังการ, พุทฺธิห์ — ปัญญา, อวฺยกฺตมฺ — ไม่ปรากฏ, เอว — แน่นอน, จ — เช่นกัน, อินฺทฺริยาณิ — ประสาทสัมผัสต่างๆ, ทศ-เอกมฺ — สิบเอ็ด, จ — เช่นกัน, ปญฺจ — ห้า, จ — เช่นกัน, อินฺทฺริย-โค-จราห์ — อายตนะภายนอก, อิจฺฉา — ความปรารถนา, เทฺวษห์ — ความเกลียด, สุขมฺ — ความสุข, ทุห์ขมฺ — ความทุกข์, สงฺฆาตห์ — การรวมกัน, เจตนา — อาการแห่งชีวิต, ธฺฤติห์ — ความมั่นใจ, เอตตฺ — ทั้งหมดนี้, กฺเษตฺรมฺ — สนามแห่งกิจกรรม, สมาเสน — โดยสรุป, ส-วิการมฺ — มีผลกระทบซึ่งกันและกัน, อุทาหฺฤตมฺ — ให้ตัวอย่างเพื่อแสดง
คำแปล
ธาตุยิ่งใหญ่ทั้งห้า อหังการ ปัญญา สิ่งที่ไม่ปรากฏ ประสาทสัมผัสทั้งสิบและจิตใจ อายตนะภายนอกทั้งห้า ความต้องการ ความเกลียดชัง ความสุข ความทุกข์ ผลรวม อาการแห่งชีวิต และความมั่นใจ ทั้งหมดนี้โดยสรุปพิจารณาว่าเป็นสนามแห่งกิจกรรม และผลกระทบซึ่งกันและกันของมัน
คำอธิบาย
จากคำกล่าวของนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่เชื่อถือได้ทั้งหลายบทมนต์พระเวทและคำพังเพยของ เวทานฺต-สูตฺร ในส่วนต่างๆของโลกนี้สามารถเข้าใจได้ดังนี้ ก่อนอื่นมีดิน น้ำ ไฟ ลม และอากาศ เหล่านี้คือธาตุยิ่งใหญ่ทั้งห้า (มหา-ภูต) จากนั้นมีอหังการ ปัญญา และสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุในสภาวะที่ไม่ปรากฏ จากนั้นมีประสาทสัมผัสทั้งห้าที่รับความรู้ เช่น ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง จากนั้นมีประสาทสัมผัสที่ทำงานทั้งห้าคือ เสียง ขา มือ ทวารหนัก และอวัยวะสืบพันธุ์ จากนั้นที่เหนือไปกว่าประสาทสัมผัสมีจิตใจซึ่งอยู่ภายใน และอาจเรียกว่าประสาทสัมผัสภายใน ฉะนั้นเมื่อรวมจิตใจเข้าไปด้วยจะมีประสาทสัมผัสทั้งหมดสิบเอ็ด จากนั้นมีอายตนะภายนอกทั้งห้าคือ กลิ่น รส รูป สัมผัส และเสียง ตอนนี้ผลรวมของธาตุทั้งยี่สิบสี่นี้เรียกว่า สนามแห่งกิจกรรม หากผู้ใดทำการศึกษาวิเคราะห์ยี่สิบสี่สาขาวิชานี้เขาจะสามารถเข้าใจสนามแห่งกิจกรรมได้เป็นอย่างดี จากนั้นก็มีความต้องการ ความเกลียดชัง ความสุข และความทุกข์ซึ่งเป็นผลกระทบซึ่งกันและกันและเป็นผู้แทนของธาตุยิ่งใหญ่ทั้งห้าในร่างกายอันหยาบ ลักษณะอาการของชีวิตแสดงออกมาทางจิตสำนึก และความมั่นใจเป็นปรากฏการณ์ของร่างที่ละเอียด เช่น จิตใจ อหังการ และปัญญา ธาตุอันละเอียดนี้รวมอยู่ในสนามแห่งกิจกรรม
ธาตุยิ่งใหญ่ทั้งห้าเป็นตัวแทนของอหังการซึ่งเป็นตัวแทนของระดับพื้นฐานของอหังการเรียกทางเทคนิคว่า แนวความคิดทางวัตถุ หรือ ตามส-พุทฺธิ หรือปัญญาในอวิชชา ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นตัวแทนระดับที่ไม่ปรากฏของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ ระดับที่ไม่ปรากฏของธรรมชาติวัตถุเรียกว่า ปฺรธาน
ผู้ปรารถนาจะรู้ธาตุทั้งยี่สิบสี่โดยละเอียดพร้อมทั้งผลกระทบซึ่งกันและกันควรศึกษาปรัชญาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ภควัท-คีตา นี้ให้ไว้แต่เพียงบทสรุปเท่านั้น
ร่างกายเป็นตัวแทนของปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้และมีการเปลี่ยนแปลงหกขั้นตอนคือ ร่างกายเกิดขึ้นมา เจริญเติบโต คงอยู่ชั่วขณะหนึ่ง สืบพันธุ์ จากนั้นเริ่มเสื่อมลง และในที่สุดก็สูญสลายไป ดังนั้นสนามจึงเป็นวัตถุที่ไม่ถาวร อย่างไรก็ดี กฺเษตฺร-ชฺญ ผู้รู้สนามหรือตัวเจ้าของสนามนั้นแตกต่างกัน
amānitvam adambhitvam
ahiṁsā kṣāntir ārjavam
ācāryopāsanaṁ śaucaṁ
sthairyam ātma-vinigrahaḥ
อมานิตฺวมฺ อทมฺภิตฺวมฺ
อหึสา กฺษานฺติรฺ อารฺชวมฺ
อาจาโรฺยปาสนํ เศาจํ
ไสฺถรฺยมฺ อาตฺม-วินิคฺรหห์
indriyārtheṣu vairāgyam
anahaṅkāra eva ca
janma-mṛtyu-jarā-vyādhi-
duḥkha-doṣānudarśanam
อินฺทฺริยารฺเถษุ ไวราคฺยมฺ
อนหงฺการ เอว จ
ชนฺม-มฺฤตฺยุ-ชรา-วฺยาธิ-
ทุห์ข-โทษานุทรฺศนมฺ
asaktir anabhiṣvaṅgaḥ
putra-dāra-gṛhādiṣu
nityaṁ ca sama-cittatvam
iṣṭāniṣṭopapattiṣu
อสกฺติรฺ อนภิษฺวงฺคห์
ปุตฺร-ทาร-คฺฤหาทิษุ
นิตฺยํ จ สม-จิตฺตตฺวมฺ
อิษฺฏานิษฺโฏปปตฺติษุ
mayi cānanya-yogena
bhaktir avyabhicāriṇī
vivikta-deśa-sevitvam
aratir jana-saṁsadi
มยิ จานนฺย-โยเคน
ภกฺติรฺ อวฺยภิจาริณี
วิวิกฺต-เทศ-เสวิตฺวมฺ
อรติรฺ ชน-สํสทิ
adhyātma-jñāna-nityatvaṁ
tattva-jñānārtha-darśanam
etaj jñānam iti proktam
ajñānaṁ yad ato ’nyathā
อธฺยาตฺม-ชฺญาน-นิตฺยตฺวํ
ตตฺตฺว-ชฺญานารฺถ-ทรฺศนมฺ
เอตชฺ ชฺญานมฺ อิติ โปฺรกฺตมฺ
อชฺญานํ ยทฺ อโต ’นฺยถา
อมานิตฺวมฺ — การถ่อมตน, อทมฺภิตฺวมฺ — ไม่หยิ่งยะโส, อหึสา — ไม่เบียดเบียน, กฺษานฺติห์ — อดทน, อารฺชวมฺ — เรียบง่าย, อาจารฺย-อุปาสนมฺ — เข้าพบพระอาจารย์ทิพย์ผู้มีความจริงใจ, เศาจมฺ — ความสะอาด, ไสฺถรฺยมฺ — ความมั่นคง, อาตฺม-วินิคฺรหห์ — ควบคุมตนเองได้, อินฺทฺริย-อรฺเถษุ — ในเรื่องของประสาทสัมผัสต่างๆ, ไวราคฺยมฺ — การเสียสละ, อนหงฺการห์ — ไม่มีอหังการ, เอว — แน่นอน, จ — เช่นกัน, ชนฺม — แห่งการเกิด, มฺฤตฺยุ — การตาย, ชรา — ความชรา, วฺยาธิ — และโรคภัยไข้เจ็บ, ทุห์ข — แห่งความทุกข์, โทษ — ความผิด, อนุทรฺศนมฺ — การสังเกต, อสกฺติห์ — ไม่ยึดติด, อนภิษฺวงฺคห์ — ไม่คบหาสมาคม, ปุตฺร — สำหรับบุตร, ทาร — ภรรยา, คฺฤห-อาทิษุ — บ้านและอื่นๆ, นิตฺยมฺ — เสมอ, จ — เช่นกัน, สม-จิตฺตตฺวมฺ — เสมอภาค, อิษฺฏ — สิ่งที่ต้องการ, อนิษฺฏ — และสิ่งที่ไม่ต้องการ, อุปปตฺติษุ — ได้รับ, มยิ — แด่ข้า, จ — เช่นกัน, อนนฺย-โยเคน — ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์, ภกฺติห์ — การอุทิศตนเสียสละ, อวฺยภิจาริณี — ไม่ขาดตอน, วิวิกฺต — สันโดษ, เทศ — สถานที่, เสวิตฺวมฺ — ปรารถนา, อรติห์ — ไม่ยึดติด, ชน-สํสทิ — ต่อผู้คนโดยทั่วไป, อธฺยาตฺม — เกี่ยวกับชีวิต, ชฺญาน — ในความรู้, นิตฺยตฺวมฺ — เสมอ, ตตฺตฺว-ชฺญาน — ความรู้แห่งสัจจะ, อรฺถ — เพื่อจุดมุ่งหมาย, ทรฺศนมฺ — ปรัชญา, เอตตฺ — ทั้งหมดนี้, ชฺญานมฺ — ความรู้, อิติ — ดังนั้น, โปฺรกฺตมฺ — ประกาศ, อชฺญานมฺ — อวิชชา, ยตฺ — ซึ่ง, อตห์ — จากนี้, อนฺยถา — ผู้อื่น
คำแปล
ความถ่อมตน ความไม่หยิ่งยะโส ความไม่เบียดเบียน ความอดทน ความเรียบง่าย การเข้าพบพระอาจารย์ทิพย์ผู้ที่เชื่อถือได้ ความสะอาด ความมั่นคง การควบคุมตนเองได้ การละทิ้งอายตนะภายนอกเพื่อสนองประสาทสัมผัส การปราศจากอหังการ การมองเห็นโทษภัยแห่งการเกิด แก่ เจ็บ และตาย ความไม่ยึดติด การเป็นอิสระจากพันธนาการกับลูกหลาน ภรรยา บ้าน ฯลฯ ความเสมอภาคท่ามกลางเหตุการณ์ที่ชื่นชอบและไม่ชื่นชอบ การอุทิศตนเสียสละแก่ข้าด้วยความบริสุทธิ์ ความสม่ำเสมอ ความปรารถนาอยู่ในสถานที่สันโดษ ความไม่ยึดติดกับฝูงชนโดยทั่วไป การยอมรับความสำคัญในการรู้แจ้งแห่งตนและแสวงหาสัจธรรมทางปรัชญา ข้าประกาศว่าทั้งหมดนี้คือ ความรู้ อะไรที่นอกเหนือไปจากนี้คือ อวิชชา
คำอธิบาย
วิธีการแห่งความรู้นี้บางครั้งมนุษย์ผู้ด้อยปัญญาเข้าใจผิดคิดว่าเป็นผลกระทบซึ่งกันและกันของสนามแห่งกิจกรรม แต่อันที่จริงนี่คือวิธีการที่แท้จริงแห่งความรู้ หากเรายอมรับวิธีการนี้แล้วนั้นความเป็นไปได้ในการเข้าพบสัจธรรมก็จะบังเกิดขึ้น นี่ไม่ใช่เป็นผลกระทบซึ่งกันและกันของยี่สิบสี่ธาตุดังที่ได้อธิบายมาแล้ว อันที่จริงนี่คือวิถีทางที่จะออกไปจากพันธนาการของธาตุเหล่านี้ วิญญาณในร่างติดกับอยู่ในร่างกายซึ่งเป็นกล่องที่ทำด้วยธาตุทั้งยี่สิบสี่ และวิธีการแห่งความรู้ที่ได้อธิบายไว้ที่นี้นั้นเป็นหนทางเพื่อที่จะออกไปจากมัน จากวิธีการแห่งความรู้ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น จุดสำคัญที่สุดได้กล่าวไว้ในบรรทัดแรกของโศลกสิบเอ็ด มยิ จานนฺย-โยเคน ภกฺติรฺ อวฺยภิจาริณี วิธีการแห่งความรู้สิ้นสุดลงที่การอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺด้วยความบริสุทธิ์ใจ ฉะนั้นหากเราเข้าไปไม่ถึงหรือไม่สามารถเข้าถึงการรับใช้ทิพย์แห่งองค์ภควานฺอีกสิบเก้ารายการก็ไม่มีคุณค่าใดๆ แต่ถ้าหากเรารับเอาการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกมาปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ อีกสิบเก้ารายการจะพัฒนาขึ้นภายในตัวเราโดยปริยาย ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (5.18.12) ยสฺยาสฺติ ภกฺติรฺ ภควตฺยฺ อกิญฺจนา สไรฺวรฺ คุไณสฺ ตตฺร สมาสเต สุราห์ คุณสมบัติดีๆทั้งหลายแห่งความรู้จะมีการพัฒนาในบุคคลที่บรรลุถึงระดับแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ หลักการในการยอมรับพระอาจารย์ทิพย์ดังที่ได้กล่าวไว้ในโศลกแปดนั้นสำคัญมาก แม้สำหรับผู้ที่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้อยู่ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ชีวิตทิพย์เริ่มจากที่เรายอมรับพระอาจารย์ทิพย์ผู้ที่เชื่อถือได้ องค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณตรัสอย่างชัดเจน ณ ที่นี้ว่า วิธีการแห่งความรู้นี้คือ วิถีทางที่แท้จริงสิ่งใดที่คาดคะเนนอกเหนือไปจากนี้เป็นสิ่งไร้สาระ
สำหรับความรู้ที่สรุปไว้นี้อาจวิเคราะห์ตามรายการได้ดังนี้ ความถ่อมตน หมายความว่าเราไม่ควรกระตือรือร้นที่จะได้รับความพึงพอใจในการได้รับเกียรติจากผู้อื่น แนวความคิดทางชีวิตวัตถุทำให้เรากระตือรือร้นมากที่จะได้รับเกียรติจากผู้อื่น แต่จากสายตาของผู้มีความรู้ที่สมบูรณ์ ผู้ที่รู้ว่าตนเองไม่ใช่ร่างกายนี้ไม่ว่าจะได้เกียรติหรือเสียเกียรติที่เกี่ยวกับร่างกายนี้ก็ไม่มีประโยชน์อันใด เราไม่ควรทะเยอทะยานอยากได้ภาพลวงตาทางวัตถุนี้ ผู้คนกระตือรือร้นมากที่จะมีชื่อเสียงเพื่อศาสนาของตน ดังนั้นบางครั้งจะพบว่าแม้ปราศจากความเข้าใจหลักธรรมแห่งศาสนาแล้วเราเข้าไปร่วมกับบางกลุ่ม ซึ่งอันที่จริงมิได้ปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาและต้องการโฆษณาตนเองว่าเป็นผู้ให้คำแนะนำทางศาสนา สำหรับความเจริญก้าวหน้าในศาสตร์ทิพย์อย่างแท้จริงควรตรวจสอบว่าตัวเราเจริญก้าวหน้าไปมากเพียงใด ซึ่งสามารถพิจารณาตามรายการดังต่อไปนี้
การไม่เบียดเบียน โดยทั่วไปคิดว่าหมายความถึงไม่ฆ่าหรือไม่ทำลายร่างกาย แต่อันที่จริงการไม่เบียดเบียนหมายความถึงไม่ทำให้ผู้อื่นได้รับความทุกข์ ผู้คนโดยทั่วไปติดกับอยู่ในอวิชชาอยู่ในแนวคิดชีวิตทางวัตถุและได้รับความเจ็บปวดทางวัตถุตลอดเวลา เราจะเป็นผู้เบียดเบียนหากเราไม่พัฒนาความรู้ทิพย์ให้พวกเขา เราควรพยายามอย่างดีที่สุดในการแจกจ่ายความรู้อันแท้จริงแก่ผู้อื่น เพื่ออาจได้รับแสงสว่างและหลุดออกไปจากพันธนาการทางวัตถุนี้ นี่คือการไม่เบียดเบียน
ความอดทน หมายความว่าเราควรฝึกความอดทนต่อการดูถูกเหยียดหยามจากผู้อื่น หากเราปฏิบัติเพื่อความเจริญก้าวหน้าแห่งความรู้ทิพย์จะโดนดูถูกเหยียดหยามจากผู้อื่นมากมาย จึงเป็นเรื่องธรรมดาเพราะว่าเป็นองค์ประกอบของธรรมชาติวัตถุ แม้แต่เด็กน้อยเช่น ปฺรหฺลาท มีอายุเพียงห้าขวบ ปฏิบัติในการพัฒนาความรู้ทิพย์ยังได้รับอันตรายเมื่อบิดาของตนเองมาเป็นปรปักษ์ต่อการอุทิศตนเสียสละของ ปฺรหฺลาท บิดาพยายามฆ่าบุตรน้อยด้วยวิธีการต่างๆแต่ ปฺรหฺลาท ก็ยังอดทน ดังนั้นอาจมีอุปสรรคกีดขวางมากมายในการที่จะเจริญก้าวหน้าในความรู้ทิพย์ แต่เราต้องอดทนและก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่องด้วยความมั่นใจ
ความเรียบง่าย หมายความว่าไม่มีชั้นเชิงทางการทูต เราควรปฏิบัติตนอย่างตรงไปตรงมาจนสามารถเปิดเผยความจริงใจให้แม้กระทั่งศัตรู ในเรื่องการยอมรับพระอาจารย์ทิพย์เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะว่าหากปราศจากคำสั่งสอนของพระอาจารย์ทิพย์ผู้ที่เชื่อถือได้เราจะไม่สามารถเจริญก้าวหน้าในศาสตร์ทิพย์ เราควรเข้าพบพระอาจารย์ทิพย์ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนด้วยประการทั้งปวง และถวายการรับใช้ต่างๆเพื่อให้ท่านยินดีและให้พรแก่ลูกศิษย์ของท่าน เนื่องจากพระอาจารย์ทิพย์ผู้ที่เชื่อถือได้เป็นผู้แทนองค์กฺฤษฺณหากท่านให้พรแก่ลูกศิษย์ของท่านจะทำให้ลูกศิษย์นั้นเจริญก้าวหน้าทันที ถึงแม้ว่าลูกศิษย์ยังไม่ปฏิบัติติตามหลักธรรมก็ตาม หลักธรรมจะเป็นสิ่งที่ง่ายดายสำหรับผู้ที่รับใช้พระอาจารย์ทิพย์อย่างเต็มที่
ความสะอาด มีความสำคัญเพื่อความก้าวหน้าในชีวิตทิพย์ มีความสะอาดอยู่สองอย่างคือ ภายนอกและภายใน ความสะอาดภายนอกคือ การอาบน้ำ แต่สำหรับความสะอาดภายในนั้นเราต้องระลึกถึงองค์กฺฤษฺณอยู่เสมอ และสวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร / หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร วิธีนี้จะชะล้างฝุ่นแห่งกรรมเก่าในอดีตที่สะสมอยู่ภายในจิตใจ
ความแน่วแน่มั่นคง หมายความว่าเราควรหนักแน่นมากที่จะเจริญก้าวหน้าในชีวิตทิพย์ หากปราศจากความมุ่งมั่นเช่นนี้เราจะไม่สามารถทำความเจริญก้าวหน้าได้อย่างเป็นรูปธรรม การควบคุมตนเอง หมายความว่า เราไม่ควรยอมรับสิ่งใดที่จะมาเป็นอุปสรรคต่อหนทางเพื่อความก้าวหน้าในวิถีทิพย์ เราควรคุ้นเคยกับสิ่งเหล่านี้และปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่างที่ขัดต่อวิถีทางเพื่อความก้าวหน้าในชีวิตทิพย์ นี่คือการเสียสละที่แท้จริง ประสาทสัมผัสนั้นแข็งแกร่งมากจะคอยกระตุ้นเพื่อให้เราสนองความต้องการของมันอยู่ตลอดเวลา เราไม่ควรสนองตอบความต้องการที่ไม่จำเป็นเหล่านี้ ประสาทสัมผัสควรได้รับการสนองตอบเพียงเพื่อรักษาร่างกายนี้ให้พอเหมาะเพื่อสามารถปฏิบัติหน้าที่ให้เจริญก้าวหน้าในชีวิตทิพย์ ประสาทสัมผัสที่สำคัญและควบคุมยากที่สุดคือ ลิ้น หากเราสามารถควบคุมลิ้นของเราได้ก็เป็นไปได้ที่จะควบคุมประสาทสัมผัสอื่นๆ หน้าที่ของลิ้นคือรับรสและเปล่งเสียง ฉะนั้นด้วยการควบคุมอย่างเป็นระบบลิ้นควรใช้ในการรับรสอาหารที่เป็นส่วนเหลือหลังจากถวายให้องค์กฺฤษฺณและสวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ อยู่เสมอ สำหรับดวงตาไม่ควรปล่อยให้ดูสิ่งอื่นใดนอกจากรูปลักษณ์อันสง่างามขององค์กฺฤษฺณ เช่นนี้คือการควบคุมดวงตา ในทำนองเดียวกันหูควรใช้ไปในการสดับฟังเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณ และจมูกควรดมกลิ่นดอกไม้ที่ถวายให้องค์กฺฤษฺณ นี่คือวิธีการอุทิศตนเสียสละรับใช้ และเป็นที่เข้าใจ ณ ที่นี้ว่า ภควัท-คีตา เพียงแต่ส่งเสริมศาสตร์แห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้นี้เท่านั้น การอุทิศตนเสียสละรับใช้เป็นจุดมุ่งหมายหลักและเป็นจุดมุ่งหมายเดียว นักตีความ ภควัท-คีตา ผู้ด้อยปัญญาพยายามเบี่ยงเบนจิตใจของผู้อ่านไปในประเด็นอื่น แต่ ภควัท-คีตา ไม่มีประเด็นอื่นใดนอกจาการอุทิศตนเสียสละรับใช้เท่านั้น
อหังการ หมายถึง การยอมรับร่างกายนี้ว่าเป็นตนเอง เมื่อเราเข้าใจว่าตัวเราไม่ใช่ร่างกายนี้แต่เป็นจิตวิญญาณเท่ากับว่าเราเข้าใจตนเองหรือสำคัญตนเองอย่างถูกต้อง อหังการนั้นมีอยู่จริง การสำคัญตนเองที่ผิดหรือมีอหังการควรถูกยกเลิกและควรสำคัญตนเองให้ถูกต้อง ในวรรณกรรมพระเวท (พฺฤหทฺ-อารณฺยก อุปนิษทฺ 1.4.10) กล่าวไว้ว่า อหํ พฺรหฺมาสฺมิ ข้าคือ พฺรหฺมนฺ ข้าคือดวงวิญญาณ คำว่า “ข้าคือ” นี้มีความหมายว่าตัวเอง และจะมีอยู่แม้ในระดับที่หลุดพ้นในความรู้แจ้งแห่งตนแล้ว ความรู้สึกว่า “ข้าคือ” คือการสำคัญตัว แต่เมื่อความรู้สึกว่า “ข้าคือ” ใช้กับร่างกายที่ผิดนี้จึงเป็นอหังการ หรือการสำคัญตัวผิด เมื่อความรู้สึกแห่งตัวเองใช้กับความเป็นจริงนั่นเป็นการสำคัญตัวที่ถูกต้องอย่างแท้จริง มีนักปราชญ์บางคนกล่าวว่าเราควรยกเลิกการสำคัญตัวของเรา แต่เราไม่สามารถยกเลิกการสำคัญตัวของเราได้เพราะว่าการสำคัญตัวหมายถึงบุคลิกลักษณะ แน่นอนว่าเราควรยกเลิกการให้ความสำคัญที่ผิดๆกับร่างกาย
เราควรพยายามเข้าใจความทุกข์ในการยอมรับการเกิด การตาย ความแก่ และโรคภัยไข้เจ็บ มีคำอธิบายในวรรณกรรมพระเวทมากมายเกี่ยวกับการเกิด ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ซึ่งเป็นโลกที่ไม่มีการเกิดได้อธิบายถึงทารกน้อยที่อยู่ในครรภ์มารดา และความทุกข์ทรมานของเด็กน้อยต่างๆอย่างเห็นภาพได้ชัด เราควรเข้าใจอย่างชัดเจนว่าการเกิดเป็นความทุกข์ เนื่องจากลืมไปว่าเราได้รับความทุกข์และเจ็บปวดมากเพียงใดขณะอยู่ในครรภ์มารดาเราจึงไม่หาทางออกจากการเกิดและการตายซ้ำซาก ในลักษณะเดียวกันขณะตายก็มีความทุกข์ทรมานมากมายซึ่งได้อธิบายไว้ในพระคัมภีร์ที่เชื่อถือได้เช่นกัน ประเด็นเหล่านี้ควรนำมาเจรจากัน สำหรับโรคภัยไข้เจ็บและความชราภาพนั้นทุกๆคนเคยมีประสบการณ์ ไม่มีผู้ใดต้องการโรคภัยไข้เจ็บ และไม่มีผู้ใดต้องการความชราภาพ แต่ก็ไม่มีผู้ใดสามารถหลีกเลี่ยงได้ นอกเสียจากว่าเราจะมองเห็นชีวิตวัตถุในแง่ร้ายและพิจารณาเห็นความทุกข์ทรมานในการเกิด การแก่ การเจ็บ และการตายมิฉะนั้นเราก็จะไม่มีแรงกระตุ้นเพื่อทำความเจริญก้าวหน้าในชีวิตทิพย์
สำหรับการไม่ยึดติดกับลูกหลาน ภรรยา และบ้านนั้นมิได้หมายความว่าเราไม่ควรมีความรู้สึกใดๆเลย บุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่เราให้ความรักและความเอ็นดูตามธรรมชาติ แต่ถ้าหากไม่เอื้ออำนวยกับความก้าวหน้าในชีวิตทิพย์เราก็ไม่ควรยึดติด วิธีที่ดีที่สุดในการทำให้บ้านมีความสุขคือ การมีกฺฤษฺณจิตสำนึก หากอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ก็จะสามารถทำให้บ้านของเรามีความสุขมาก เนื่องจากวิธีแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกนี้ง่ายมาก โดยเราเพียงแต่สวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร / หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร รับประทานอาหารที่เหลือหลังจากถวายให้องค์กฺฤษฺณ สนทนาเกี่ยวกับหนังสือ ภควัท-คีตา และ ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ และปฏิบัติบูชาพระปฏิมา การทำสี่อย่างนี้จะทำให้เรามีความสุข เราควรฝึกฝนสมาชิกในครอบครัวแบบนี้ สมาชิกในครอบครัวสามารถนั่งรวมกันในตอนเช้าและตอนเย็นแล้วสวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร / หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร ด้วยกันหากสามารถหล่อหลอมชีวิตครอบครัวของเรา เช่นนี้เพื่อพัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึกและปฏิบัติตามหลักธรรมสี่ประการนี้ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนจากชีวิตครอบครัวมาเป็นสันนยาสีหรือผู้สละโลก แต่หากไปด้วยกันไม่ได้หรือไม่เอื้ออำนวยต่อความเจริญก้าวหน้าในชีวิตทิพย์ชีวิตครอบครัวนั้นก็ควรจะสละทิ้ง เราต้องสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความรู้แจ้งหรือรับใช้องค์กฺฤษฺณเหมือนกับที่ อรฺชุน ปฏิบัติ อรฺชุน ทรงไม่ปรารถนาสังหารสมาชิกในครอบครัวแต่เมื่อเข้าใจว่าสมาชิกในครอบครัวเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อความรู้แจ้งแห่งองค์กฺฤษฺณ ท่านจึงยอมรับคำสั่งสอนขององค์กฺฤษฺณลุกขึ้นต่อสู้และสังหารพวกเขา เราไม่ควรยึดติดกับทั้งความสุขอย่างสมบูรณ์หรือความทุกข์ในชีวิตครอบครัวในทุกๆกรณี เพราะว่าในโลกนี้เราไม่สามารถมีความสุขอย่างสมบูรณ์หรือมีความทุกข์อย่างบริบูรณ์ได้
ความสุขและความทุกข์เป็นของคู่กันกับชีวิตวัตถุ เราควรฝึกฝนความอดทน ดังที่ได้แนะนำไว้ใน ภควัท-คีตา เราไม่สามารถห้ามไม่ให้ความสุขและความทุกข์ให้มันไปหรือมาได้ ดังนั้นเราจึงไม่ควรยึดติดกับวิถีชีวิตทางวัตถุและมีความเสมอภาคกับทั้งสองกรณีโดยปริยาย โดยทั่วไปเมื่อเราได้รับบางสิ่งบางอย่างที่เราปรารถนาเราก็จะมีความสุขมาก และเมื่อเราได้รับบางสิ่งบางอย่างที่เราไม่ปรารถนาเราก็จะมีความทุกข์ แต่ถ้าหากว่าเราอยู่ในสถานภาพทิพย์จริงสิ่งเหล่านี้จะไม่รบกวนจิตใจเรา ในการบรรลุถึงระดับนี้เราจะต้องฝึกปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้โดยไม่ขาดตอน การอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์กฺฤษฺณโดยไม่เบี่ยงเบนหมายถึง ปฏิบัติตนในเก้าวิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้คือ การสวดภาวนา การสดับฟัง การบูชา การถวายความเคารพ เป็นต้น ดังที่ได้อธิบายไว้ในโศลกสุดท้ายของบทที่เก้า วิธีนี้เราควรปฏิบัติตาม
โดยธรรมชาติเมื่อเราปรับตัวกับวิถีชีวิตทิพย์เราจะไม่ต้องการไปมั่วสุมกับนักวัตถุนิยมเพราะจะเป็นการสวนทางกัน เราอาจทดสอบตัวเองว่ามีแนวโน้มที่จะอยู่อย่างสันโดษมากเพียงไรโดยไม่คบหาสมาคมกับผู้ไม่พึงปรารถนา โดยธรรมชาติแล้วสาวกไม่ชอบกีฬาหรือไปโรงภาพยนตร์โดยไม่จำเป็น หรือหรรษาไปกับงานรื่นเริงทางสังคมเพราะเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้เป็นการเสียเวลา มีนักวิชาการและนักปราชญ์มากมายที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับชีวิตเพศสัมพันธ์หรือประเด็นอื่นๆ แต่ตาม ภควัท-คีตา งานศึกษาวิจัยและคาดคะเนทางปรัชญาเหล่านี้ไม่มีคุณค่าใดๆเลยและเป็นสิ่งที่ไร้สาระทั้งสิ้น ตาม ภควัท-คีตา เราควรศึกษาวิจัยด้วยการใคร่ครวญพิจารณาทางปรัชญาอย่างรอบคอบเกี่ยวกับธรรมชาติของดวงวิญญาณ เราควรค้นคว้าเพื่อให้เข้าใจดวงชีวิตนี่คือคำแนะนำที่ให้ไว้ ณ ที่นี้
สำหรับความรู้แจ้งแห่งตนได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนตรงนี้ว่า ภกฺติ-โยค ปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมได้โดยเฉพาะ ทันทีที่มีคำถามเกี่ยวกับการอุทิศตนเสียสละเราจะต้องพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างอภิวิญญาณและปัจเจกวิญญาณ ปัจเจกวิญญาณและอภิวิญญาณไม่สามารถเป็นหนึ่งได้ อย่างน้อยที่สุดก็ไม่ใช่แนวคิดของ ภกฺติ หรือแนวคิดแห่งการอุทิศตนเสียสละของชีวิต การรับใช้ของปัจเจกวิญญาณต่ออภิวิญญาณผู้สูงสุดเป็นอมตะ นิตฺยมฺ ดังที่ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น ภกฺติ หรือการอุทิศตนเสียสละรับใช้เป็นอมตะเราควรสถิตอย่างมั่นใจในปรัชญาเช่นนั้น
ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (1.2.11) อธิบายไว้ดังนี้ วทนฺติ ตตฺ ตตฺตฺว-วิทสฺ ตตฺตฺวํ ยชฺ ชฺญานมฺ อทฺวยมฺ “พวกที่เป็นผู้รู้สัจธรรมโดยแท้จริงรู้ว่าองค์ภควานฺทรงรู้แจ้งได้ในสามระดับที่ไม่เหมือนกันคือ พฺรหฺมนฺ ปรมาตฺมา และ ภควานฺ” ภควานฺ เป็นคำสุดท้ายแห่งการรู้แจ้งสัจธรรม ฉะนั้นเราควรไปถึงระดับแห่งการเข้าใจองค์ภควานฺและปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อพระองค์ นั่นคือความสมบูรณ์แห่งความรู้
เริ่มต้นจากการฝึกปฏิบัติความอ่อนน้อมถ่อมตนจนมาถึงจุดแห่งการรู้แจ้งสัจธรรมสูงสุด องค์ภควานฺผู้สมบูรณ์ วิธีนี้เหมือนกับขั้นบันไดเริ่มต้นจากพื้นฐานขั้นแรกและขึ้นไปจนถึงขั้นสูงสุด บนขั้นบันไดนี้มีหลายคนที่มาถึงชั้นหนึ่ง ชั้นสอง หรือชั้นสาม ฯลฯ แต่นอกเสียจากว่าเราจะไปถึงชั้นสูงสุดซึ่งเป็นการเข้าใจองค์กฺฤษฺณมิฉะนั้นเราก็ยังจะอยู่ในความรู้ระดับที่ต่ำ หากผู้ใดต้องการแข่งขันกับองค์ภควานฺและในขณะเดียวกันพยายามเจริญก้าวหน้าในความรู้ทิพย์จะไม่สมหวัง ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าหากปราศจากความอ่อนน้อมถ่อมตนจะไม่มีทางเข้าใจ การคิดว่าตนเองเป็นพระเจ้าเป็นการผยองที่สุด ถึงแม้ว่าสิ่งมีชีวิตถูกกฎอันเหนียวแน่นแห่งธรรมชาติวัตถุเตะอยู่ตลอดเวลา เรายังคิดว่า “ข้าคือพระเจ้า” เนื่องมาจากอวิชชา ฉะนั้นจุดเริ่มต้นของความรู้คือ อมานิตฺว หรือความอ่อนน้อมถ่อมตน เราควรถ่อมตนและรู้ว่าตัวเราต่ำกว่าองค์ภควานฺ เนื่องจากเราฝ่าฝืนพระองค์เราจึงต้องมาอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของธรรมชาติวัตถุ เราควรรู้และมั่นใจในความจริงเช่นนี้
jñeyaṁ yat tat pravakṣyāmi
yaj jñātvāmṛtam aśnute
anādi mat-paraṁ brahma
na sat tan nāsad ucyate
ชฺเญยํ ยตฺ ตตฺ ปฺรวกฺษฺยามิ
ยชฺ ชฺญาตฺวามฺฤตมฺ อศฺนุเต
อนาทิ มตฺ-ปรํ พฺรหฺม
น สตฺ ตนฺ นาสทฺ อุจฺยเต
ชฺเญยมฺ — สิ่งควรรู้, ยตฺ — ซึ่ง, ตตฺ — นั้น, ปฺรวกฺษฺยามิ — บัดนี้ข้าจะอธิบาย, ยตฺ — ซึ่ง, ชฺญาตฺวา — รู้, อมฺฤตมฺ — น้ำทิพย์, อศฺนุเต — เขาได้รับรส, อนาทิ — ไม่มีจุดเริ่มต้น, มตฺ-ปรมฺ — เป็นรองข้า, พฺรหฺม — วิญญาณ, น — ไม่, สตฺ — เหตุ, ตตฺ — นั้น, น — ไม่, อสตฺ — ผล, อุจฺยเต — กล่าวไว้ว่า
คำแปล
บัดนี้ข้าจะอธิบายถึงสิ่งที่ควรรู้ เมื่อรู้แล้วเธอจะได้รับรสอมตะว่า พฺรหฺมนฺ หรือดวงวิญญาณไม่มีจุดเริ่มต้น เป็นรองข้า อยู่เหนือเหตุและผลของโลกวัตถุนี้
คำอธิบาย
องค์ภควานฺทรงอธิบายถึงสนามแห่งกิจกรรมและผู้รู้สนาม พระองค์ยังได้อธิบายถึงวิธีการเพื่อรู้ผู้รู้สนามแห่งกิจกรรม บัดนี้ทรงเริ่มอธิบายถึงสิ่งที่ควรรู้ ครั้งแรกทรงอธิบายถึงดวงวิญญาณ จากนั้นอธิบายถึงอภิวิญญาณด้วยความรู้ของผู้รู้ทั้งดวงวิญญาณและอภิวิญญาณทำให้เราสามารถได้รับรสน้ำทิพย์แห่งชีวิต ดังที่ได้อธิบายไว้ในบทที่สองว่าสิ่งมีชีวิตเป็นอมตะ ได้ยืนยันไว้ ณ ที่นี้โดยเฉพาะเช่นกันว่า ชีว ไม่มีวันเกิดและไม่มีผู้ใดสามารถสืบร่องรอยประวัติศาสตร์การปรากฏออกมาของ ชีวาตฺมา จากองค์ภควานฺ ดังนั้น ชีว จึงไม่มีจุดเริ่มต้น วรรณกรรมพระเวทได้ยืนยันว่า น ชายเต มฺริยเต วา วิปศฺจิตฺ (กฐ อุปนิษทฺ 1.2.18) ผู้รู้ร่างกายไม่เคยเกิด ไม่เคยตาย และเปี่ยมไปด้วยความรู้
ได้กล่าวไว้ในวรรณกรรมพระเวท (เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ 6.16) ว่าองค์ภควานฺในฐานะอภิวิญญาณทรงเป็น ปฺรธาน-กฺเษตฺรชฺญ-ปติรฺ คุเณศห์ ผู้รู้สูงสุดของร่างกาย และเป็นเจ้านายของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ ใน สฺมฺฤติ ได้กล่าวไว้ว่า ทาส-ภูโต หเรรฺ เอว นานฺยไสฺวว กทาจน สิ่งมีชีวิตเป็นผู้รับใช้องค์ภควานฺนิรันดร องค์ ไจตนฺย ทรงยืนยันในคำสอนของพระองค์เช่นกัน ฉะนั้นคำว่า พฺรหฺมนฺ ที่กล่าวไว้ในโศลกนี้สัมพันธ์กับปัจเจกวิญญาณ และเมื่อคำว่า พฺรหฺมนฺ ใช้กับสิ่งมีชีวิตเข้าใจได้ว่าเขาคือ วิชฺญาน-พฺรหฺม ซึ่งตรงข้ามกับ อานนฺท-พฺรหฺม อานนฺท-พฺรหฺม คือ พฺรหฺมนฺ สูงสุด องค์ภควานฺ
sarvataḥ pāṇi-pādaṁ tat
sarvato ’kṣi-śiro-mukham
sarvataḥ śrutimal loke
sarvam āvṛtya tiṣṭhati
สรฺวตห์ ปาณิ-ปาทํ ตตฺ
สรฺวโต ’กฺษิ-ศิโร-มุขมฺ
สรฺวตห์ ศฺรุติมลฺ โลเก
สรฺวมฺ อาวฺฤตฺย ติษฺฐติ
สรฺวตห์ — ทุกหนทุกแห่ง, ปาณิ — พระกร, ปาทมฺ — พระเพลา, ตตฺ — นั้น, สรฺวตห์ — ทุกหนทุกแห่ง, อกฺษิ — พระเนตร, ศิรห์ — พระเศียร, มุขมฺ — พระพักตร์, สรฺวตห์ — ทุกหนทุกแห่ง, ศฺรุติ-มตฺ — พระกรรณ, โลเก — ในโลก, สรฺวมฺ — ทุกสิ่ง, อาวฺฤตฺย — ปกคลุม, ติษฺฐติ — เป็นอยู่
คำแปล
ทุกแห่งหนล้วนเป็นพระกร พระเพลา พระเนตร พระเศียร และพระพักตร์ของพระองค์ พระองค์ทรงมีพระกรรณอยู่ทุกหนทุกแห่ง องค์อภิวิญญาณทรงเป็นเช่นนี้ ทรงแผ่กระจายอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง
คำอธิบาย
เสมือนดังดวงอาทิตย์ที่แผ่กระจายรัศมีของตนเองไปโดยไม่มีขีดจำกัด อภิวิญญาณหรือองค์ภควานฺก็เช่นเดียวกันทรงมีรูปลักษณ์ที่แผ่กระจายไปทั่ว และปัจเจกชีวิตทั้งหมดอยู่ในพระองค์ เริ่มต้นจากปฐมบรมครูคือพระพรหมลงมาจนถึงมดตัวเล็กๆ มีพระเศียร พระเพลา พระกร และพระเนตรนับจำนวนไม่ถ้วน และมีสิ่งมีชีวิตนับจำนวนไม่ถ้วน ทั้งหมดล้วนอยู่ทั้งภายในและบนอภิวิญญาณ ฉะนั้นอภิวิญญาณทรงแผ่กระจายไปทั่ว อย่างไรก็ดีปัจเจกวิญญาณไม่สามารถกล่าวได้ว่าตนเองมีมือ มีขา และมีตาอยู่ทุกหนทุกแห่ง หากภายใต้อวิชชาโดยไม่รู้สึกตัวคิดว่ามือและขาของตนแผ่กระจายไปทั่วซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ แต่เมื่อได้รับความรู้ที่ถูกต้องก็จะมาถึงระดับที่เข้าใจว่าความคิดของตนเองขัดแย้งกัน เช่นนี้หมายความว่าปัจเจกวิญญาณผู้มาอยู่ภายใต้สภาวะของธรรมชาติวัตถุมิใช่เป็นผู้สูงสุด องค์ภควานฺไม่เหมือนกับปัจเจกวิญญาณ พระองค์ทรงสามารถยื่นพระหัตถ์ของพระองค์ออกไปโดยไร้เขตจำกัดซึ่งปัจเจกวิญญาณทำไม่ได้ ใน ภควัท-คีตา พระองค์ตรัสว่าหากผู้ใดถวายดอกไม้ ผลไม้ หรือน้ำเพียงเล็กน้อยแด่พระองค์ พระองค์จะทรงรับไว้ หากพระองค์ทรงอยู่ไกลมากแล้วจะสามารถรับสิ่งของไว้ได้อย่างไร นี่คือพระเดชของพระองค์ ถึงแม้ว่าจะทรงสถิตที่พระตำหนักซึ่งอยู่ห่างไกลจากโลกนี้มากก็ยังทรงสามารถยื่นพระหัตถ์มารับสิ่งของที่เราถวาย นั่นคือพระเดชขององค์ภควานฺ ใน พฺรหฺม-สํหิตา (5.37) กล่าวไว้ว่า โคโลก เอว นิวสตฺยฺ อขิลาตฺม-ภูตห์ แม้ว่าทรงแสดงลีลาอยู่ในโลกทิพย์เสมอพระองค์ก็ยังทรงแผ่กระจายไปทั่ว ปัจเจกวิญญาณไม่สามารถอ้างว่าตนเองแผ่กระจายไปทั่ว ดังนั้นโศลกนี้ได้อธิบายถึงดวงวิญญาณสูงสุดซึ่งเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าไม่ใช่ปัจเจกวิญญาณ
sarvendriya-guṇābhāsaṁ
sarvendriya-vivarjitam
asaktaṁ sarva-bhṛc caiva
nirguṇaṁ guṇa-bhoktṛ ca
สเรฺวนฺทฺริย-คุณาภาสํ
สเรฺวนฺทฺริย-วิวรฺชิตมฺ
อสกฺตํ สรฺว-ภฺฤจฺ ไจว
นิรฺคุณํ คุณ-โภกฺตฺฤ จ
สรฺว — ทั้งหมด, อินฺทฺริย — ประสาทสัมผัส, คุณ — ของคุณสมบัติ, อาภาสมฺ — แหล่งกำเนิดเดิม, สรฺว — ทั้งหลาย, อินฺทฺริย — ประสาทสัมผัส, วิวรฺชิตมฺ — ปราศจาก, อสกฺตมฺ — ไม่ยึดติด, สรฺว-ภฺฤตฺ — ผู้ค้ำจุนทุกคน, จ — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, นิรฺคุณมฺ — ไม่มีคุณสมบัติทางวัตถุ, คุณ-โภกฺตฺฤ — เจ้านายของคุณ, จ — เช่นกัน
คำแปล
องค์อภิวิญญาณทรงเป็นแหล่งกำเนิดเดิมของประสาทสัมผัสทั้งหมด ถึงกระนั้นพระองค์ทรงไม่มีประสาทสัมผัส ถึงแม้ว่าทรงเป็นผู้ค้ำจุนมวลชีวิตพระองค์ก็ทรงไม่ยึดติด ทรงเป็นทิพย์อยู่เหนือระดับธรรมชาติ และในขณะเดียวกันทรงเป็นเจ้านายของระดับแห่งธรรมชาติวัตถุทั้งหมด
คำอธิบาย
องค์ภควานฺแม้จะทรงเป็นแหล่งกำเนิดของประสาทสัมผัสทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตพระองค์ทรงไม่มีประสาทสัมผัสวัตถุเหมือนพวกเรา อันที่จริงปัจเจกวิญญาณมีประสาทสัมผัสทิพย์แต่ในพันธชีวิตพวกเราถูกปกคลุมด้วยธาตุวัตถุต่างๆ ดังนั้นกิจกรรมของประสาทสัมผัสแสดงออกผ่านทางวัตถุ ประสาทสัมผัสขององค์ภควานฺไม่ถูกปกคลุม ประสาทสัมผัสของพระองค์ทรงเป็นทิพย์ฉะนั้นจึงเรียกว่า นิรฺคุณ คุณ หมายความว่าระดับวัตถุ แต่ประสาทสัมผัสของพระองค์ทรงไม่ถูกวัตถุปกคลุม ควรเข้าใจว่าประสาทสัมผัสของพระองค์ไม่เหมือนกับของพวกเรา ถึงแม้ว่าพระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดแห่งกิจกรรมทางประสาทสัมผัสของพวกเราทั้งหมด พระองค์ทรงมีประสาทสัมผัสทิพย์ซึ่งไม่มีวันเป็นมลทิน เรื่องนี้ได้อธิบายไว้อย่างสวยงามใน เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ (3.19) โศลก อปาณิ-ปาโท ชวโน คฺรหีตา องค์ภควานฺทรงไม่มีพระกรที่แปดเปื้อนมลทินทางวัตถุแต่พระองค์ทรงมีพระกร และทรงรับเครื่องบวงสรวงที่ถวายให้พระองค์ นั่นคือข้อแตกต่างระหว่างพันธวิญญาณและอภิวิญญาณ พระองค์ทรงไม่มีพระเนตรวัตถุแต่ทรงมีพระเนตรทิพย์ไม่เช่นนั้นจะทรงเห็นได้อย่างไร พระองค์ทรงเห็นทุกสิ่งทุกอย่างในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต พระองค์ประทับอยู่ภายในหัวใจของมวลชีวิตและทรงทราบว่าเราได้ทำอะไรไว้ในอดีต เรากำลังทำอะไรอยู่ในปัจจุบัน และอะไรที่รอคอยเราอยู่ในอนาคต ได้ยืนยันไว้ใน ภควัท-คีตา เช่นกันว่า พระองค์ทรงรู้ทุกสิ่งทุกอย่างแต่ไม่มีผู้ใดรู้ถึงพระองค์ กล่าวไว้ว่าองค์ภควานฺทรงไม่มีพระเพลาเหมือนพวกเรา แต่พระองค์ทรงสามารถเดินทางไปในอวกาศเพราะว่าทรงมีพระเพลาทิพย์ อีกนัยหนึ่งมิใช่ว่าจะไม่มีรูปลักษณ์ พระองค์ทรงมีพระเนตร พระเพลา พระกร และทุกสิ่งทุกอย่าง เนื่องจากเราเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺเราก็มีสิ่งเหล่านี้เช่นกัน แต่พระกรพระเพลา พระเนตร และประสาทสัมผัสของพระองค์ทรงไม่เปื้อนมลทินจากธรรมชาติวัตถุ
ภควัท-คีตา ยืนยันไว้เช่นกันว่าเมื่อทรงปรากฏ พระองค์ทรงปรากฏในรูปลักษณ์เดิมด้วยพลังงานเบื้องสูงของพระองค์โดยไม่แปดเปื้อนมลทินจากพลังงานทางวัตถุเนื่องจากทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าของพลังงานวัตถุ ในวรรณกรรมพระเวทเราพบว่าทั่วทั้งพระวรกายของพระองค์ทรงเป็นทิพย์ ทรงมีรูปลักษณ์อมตะเรียกว่า สจฺ-จิทฺ-อานนฺท-วิคฺรห พระองค์ทรงเปี่ยมไปด้วยความมั่งคั่งทั้งหลาย พระองค์ทรงเป็นเจ้าของความร่ำรวยทั้งหมดและทรงเป็นเจ้าของพลังงานทั้งหมด ทรงเป็นผู้มีปัญญาสูงสุดและเปี่ยมไปด้วยความรู้ สิ่งเหล่านี้คือลักษณะบางประการขององค์ภควานฺ พระองค์ทรงเป็นผู้ค้ำจุนมวลชีวิตและทรงเป็นพยานของกิจกรรมทั้งหลาย เท่าที่เราสามารถเข้าใจจากวรรณกรรมพระเวทว่าองค์ภควานฺทรงเป็นทิพย์เสมอ ถึงแม้ว่าเราไม่เห็นพระเศียร พระพักตร์ พระกร หรือพระเพลาของพระองค์ พระองค์ก็ทรงมีสิ่งเหล่านี้ และเมื่อเราพัฒนาไปถึงสภาวะทิพย์เราก็จะสามารถเห็นรูปลักษณ์ขององค์ภควานฺ เนื่องจากประสาทสัมผัสแปดเปื้อนไปด้วยมลทินทางวัตถุเราจึงไม่สามารถเห็นรูปลักษณ์ของพระองค์ ดังนั้นพวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์ที่ยังมีเชื้อโรคทางวัตถุอยู่จะไม่สามารถเข้าใจองค์ภควานฺได้
bahir antaś ca bhūtānām
acaraṁ caram eva ca
sūkṣmatvāt tad avijñeyaṁ
dūra-sthaṁ cāntike ca tat
พหิรฺ อนฺตศฺ จ ภูตานามฺ
อจรํ จรมฺ เอว จ
สูกฺษฺมตฺวาตฺ ตทฺ อวิชฺเญยํ
ทูร-สฺถํ จานฺติเก จ ตตฺ
พหิห์ — ข้างนอก, อนฺตห์ — ข้างใน, จ — เช่นกัน, ภูตานามฺ — ของมวลชีวิต, อจรมฺ — ไม่เคลื่อนที่, จรมฺ — เคลื่อนที่, เอว — เช่นกัน, จ — และ, สูกฺษฺมตฺวาตฺ — เนื่องจากมีความละเอียดอ่อน, ตตฺ — นั้น, อวิชฺเญยมฺ — ไม่สามารถรู้ได้, ทูร-สฺถมฺ — ไกลมาก, จ — เช่นกัน, อนฺติเก — ใกล้, จ — และ, ตตฺ — นั้น
คำแปล
สัจธรรมสูงสุดทรงอยู่ภายนอกและภายในของมวลชีวิต ทั้งที่เคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่ เนื่องจากพระองค์ทรงมีความละเอียดอ่อนจึงทรงอยู่เหนือพลังอำนาจของประสาทสัมผัสวัตถุที่จะเห็นหรือจะรู้ได้ ถึงแม้ว่าทรงอยู่ไกลแสนไกลพระองค์ก็ทรงอยู่ใกล้กับมวลชีวิต
คำอธิบาย
ในวรรณกรรมพระเวทเราเข้าใจว่าองค์ภควานฺ นารายณ ทรงประทับอยู่ทั้งภายนอกและภายในของทุกๆชีวิต พระองค์ทรงประทับอยู่ทั้งในโลกทิพย์และในโลกวัตถุ ถึงแม้ว่าทรงอยู่ห่างไกลจากเรามากแต่ก็ทรงอยู่ใกล้กับพวกเราเช่นกัน นี่คือข้อความจากวรรณกรรมพระเวท อาสีโน ทูรํ วฺรชติ ศยาโน ยาติ สรฺวตห์ (กฐ อุปนิษทฺ 1.2.21) เนื่องจากพระองค์ทรงมีความสุขเกษมสำราญทิพย์เสมอ เราไม่สามารถเข้าใจว่าทรงรื่นเริงอยู่กับความมั่งคั่งอันสมบูรณ์ของพระองค์ได้อย่างไร เราไม่สามารถเห็นหรือเข้าใจด้วยประสาทสัมผัสวัตถุเหล่านี้ ดังนั้นในภาษาพระเวท กล่าวไว้ว่า ในการเข้าใจพระองค์นั้นจิตใจและประสาทสัมผัสวัตถุของเราใช้ไม่ได้ แต่ผู้ที่มีจิตใจและประสาทสัมผัสที่บริสุทธิ์ด้วยการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกในการอุทิศตนเสียสละรับใช้จะสามารถเห็นพระองค์อยู่ตลอดเวลา ได้ยืนยันไว้ใน พฺรหฺม-สํหิตา ว่าสาวกผู้พัฒนาความรักต่อองค์ภควานฺจะสามารถเห็นพระองค์ตลอดเวลา และได้ยืนยันไว้ใน ภควัท-คีตา (11.54) ว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้เท่านั้นที่สามารถทำให้เข้าใจองค์ภควานฺได้ ภกฺตฺยา ตฺวฺ อนนฺยยา ศกฺยห์
avibhaktaṁ ca bhūteṣu
vibhaktam iva ca sthitam
bhūta-bhartṛ ca taj jñeyaṁ
grasiṣṇu prabhaviṣṇu ca
อวิภกฺตํ จ ภูเตษุ
วิภกฺตมฺ อิว จ สฺถิตมฺ
ภูต-ภรฺตฺฤ จ ตชฺ เชฺญยํ
คฺรสิษฺณุ ปฺรภวิษฺณุ จ
อวิภกฺตมฺ — โดยไม่แบ่งแยก, จ — เช่นกัน, ภูเตษุ — ในมวลชีวิต, วิภกฺตมฺ — แบ่งแยก, อิว — ประหนึ่ง, จ — เช่นกัน, สฺถิตมฺ — สถิต, ภูต-ภรฺตฺฤ — ผู้ค้ำจุนมวลชีวิต, จ — เช่นกัน, ตตฺ — นั้น, ชฺเญยมฺ — เข้าใจ, คฺรสิษฺณุ — กลืน, ปฺรภวิษฺณุ — พัฒนา, จ — เช่นกัน
คำแปล
ถึงแม้ว่าองค์อภิวิญญาณดูเหมือนจะแบ่งแยกในชีวิตทั้งหลาย พระองค์ทรงไม่เคยแบ่งแยก ทรงสถิตเสมือนเป็นหนึ่ง ถึงแม้ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ค้ำจุนทุกๆชีวิต เข้าใจว่าพระองค์ทรงกลืนและพัฒนาทั้งหมด
คำอธิบาย
องค์ภควานฺทรงสถิตในหัวใจของทุกๆคนในฐานะอภิวิญญาณ เช่นนี้พระองค์ทรงแบ่งแยกใช่หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ใช่ อันที่จริงพระองค์ทรงเป็นหนึ่ง ได้ให้ตัวอย่างดวงอาทิตย์ไว้ว่าดวงอาทิตย์อยู่ที่เส้นทางโคจรของตนเอง แต่หากว่าเราไปห้าพันไมล์ทุกๆทิศทางและถามว่า “ดวงอาทิตย์อยู่ที่ไหน” ทุกคนจะกล่าวว่าดวงอาทิตย์กำลังส่องแสงอยู่เหนือศีรษะ ตัวอย่างในวรรณกรรมพระเวทนี้แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ว่าพระองค์ทรงไม่แบ่งแยกแต่ดูเหมือนกับแบ่งแยก ได้กล่าวไว้ในวรรณกรรมพระเวทเช่นกันว่าองค์วิษณุองค์เดียวทรงปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่งด้วยพระเดชของพระองค์ เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ที่ปรากฏอยู่ในหลายๆแห่งสำหรับหลายๆคน และองค์ภควานฺถึงแม้ว่าทรงเป็นผู้ค้ำจุนมวลชีวิตพระองค์ทรงกลืนทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อถึงเวลาทำลายล้าง ได้ยืนยันไว้เช่นนี้ในบทที่สิบเอ็ดเมื่อตรัสว่าพระองค์เสด็จมาเพื่อกลืนนักรบทั้งหลายที่มาชุมนุมกันที่ กุรุกฺเษตฺร ทรงกล่าวด้วยว่าพระองค์ทรงกลืนพวกเขาในรูปของกาลเวลาเช่นกัน ทรงเป็นผู้ทำลายและผู้สังหารทั้งหมด เมื่อมีการสร้างพระองค์ทรงพัฒนาทุกสิ่งจากระดับพื้นฐานเดิมของพวกเขา และเมื่อถึงเวลาทำลายล้างพระองค์ทรงกลืนพวกเขา บทมนต์พระเวทยืนยันความจริงว่าพระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของมวลชีวิต และส่วนอื่นๆทั้งหมดหลังจากการสร้างทุกสิ่งทุกอย่างพำนักอยู่ในพลังอำนาจของพระองค์ และหลังจากการทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างก็กลับเข้าไปพำนักอยู่ในพระองค์อีกครั้งหนึ่ง มีคำยืนยันของบทมนต์พระเวทดังนี้ ยโต วา อิมานิ ภูตานิ ชายนฺเต เยน ชาตานิ ชีวนฺติ ยตฺ ปฺรยนฺตฺยฺ อภิสํ วิศนฺติ ตทฺ พฺรหฺม ตทฺ วิชิชฺญาสสฺว (ไตตฺติรีย อุปนิษทฺ 3.1)
jyotiṣām api taj jyotis
tamasaḥ param ucyate
jñānaṁ jñeyaṁ jñāna-gamyaṁ
hṛdi sarvasya viṣṭhitam
โชฺยติษามฺ อปิ ตชฺ โชฺยติสฺ
ตมสห์ ปรมฺ อุจฺยเต
ชฺญานํ เชฺญยํ ชฺญาน-คมฺยํ
หฺฤทิ สรฺวสฺย วิษฺฐิตมฺ
โชฺยติษามฺ — ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เจิดจรัส, อปิ — เช่นกัน, ตตฺ — นั้น, โชฺยติห์ — แหล่งกำเนิดของแสง, ตมสห์ — ความมืด, ปรมฺ — เหนือ, อุจฺยเต — กล่าวไว้ว่า, ชฺญานมฺ — ความรู้, ชฺเญยมฺ — ตัวรู้, ชฺญาน-คมฺยมฺ — เข้าพบได้ด้วยความรู้, หฺฤทิ — ในหัวใจ, สรฺวสฺย — ของทุกคน, วิษฺฐิตมฺ — สถิต
คำแปล
พระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแสงในสิ่งที่เจิดจรัสทั้งหลาย ทรงอยู่เหนือความมืดแห่งวัตถุ และทรงไม่ปรากฏ พระองค์คือความรู้ พระองค์คือตัวแห่งความรู้ และพระองค์คือจุดมุ่งหมายแห่งความรู้ พระองค์ทรงสถิตอยู่ภายในหัวใจของทุกๆชีวิต
คำอธิบาย
อภิวิญญาณ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแสงในสิ่งที่เจิดจรัสทั้งหมด เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และหมู่ดวงดาว ในวรรณกรรมพระเวทเราพบว่าในอาณาจักรทิพย์ไม่มีความจำเป็นต้องมีดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ เพราะว่ามีรัศมีขององค์ภควานฺอยู่ที่นั่น ในโลกวัตถุ พฺรหฺม-โชฺยติรฺ หรือรัศมีทิพย์ของพระองค์ถูก มหตฺ-ตตฺตฺว หรือธาตุวัตถุต่างๆปกคลุมอยู่ ดังนั้นในโลกวัตถุนี้จึงจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ไฟฟ้า ฯลฯ เพื่อให้แสงสว่างแต่ในโลกทิพย์ไม่มีความจำเป็นกับสิ่งเหล่านี้ ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนในวรรณกรรมพระเวทว่า เนื่องจากรัศมีอันเจิดจรัสของพระองค์ทุกสิ่งทุกอย่างจึงสว่างไสว เป็นที่ชัดเจนว่าสถานภาพของพระองค์มิได้อยู่ในโลกวัตถุ พระองค์ทรงสถิตในโลกทิพย์ซึ่งอยู่ในท้องฟ้าทิพย์ที่ห่างไกลมาก ได้ยืนยันไว้ในวรรณกรรมพระเวทเช่นกันว่า อาทิตฺย-วรฺณํ ตมสห์ ปรสฺตาตฺ (เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ 3.8) พระองค์ทรงเหมือนดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงอยู่ตลอดเวลา แต่ทรงอยู่เหนือจากความมืดแห่งโลกวัตถุนี้มากมายนัก
ความรู้ของพระองค์ทรงเป็นทิพย์ และวรรณกรรมพระเวทยืนยันว่า พฺรหฺมนฺ คือความรู้ทิพย์ที่มารวมกัน สำหรับผู้ที่กระตือรือร้นจะย้ายไปยังโลกทิพย์องค์ภควานฺผู้สถิตในหัวใจของทุกๆคนจะทรงให้ความรู้ มนต์พระเวทบทหนึ่ง (เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ 6.18) กล่าวว่า ตํ ห เทวมฺ อาตฺม-พุทฺธิ-ปฺรกาศํ มุมุกฺษุรฺ ไว ศรณมฺ อหํ ปฺรปเทฺย หากต้องการความหลุดพ้น เราต้องศิโรราบต่อบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ได้ยืนยันไว้ในวรรณกรรมพระเวทเช่นกันเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายสูงสุดแห่งความรู้ ตมฺ เอว วิทิตฺวาติ มฺฤตฺยุมฺ เอติ “ด้วยการรู้ถึงพระองค์เท่านั้นที่เราสามารถข้ามพ้นอาณาเขตแห่งการเกิดและการตายได้” (เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ 3.8)
องค์ภควานฺทรงสถิตในหัวใจของทุกๆชีวิตในฐานะผู้ควบคุมสูงสุด ทรงมีพระเพลา และพระกรที่กระจายไปทุกหนทุกแห่ง เราจะกล่าวเช่นนี้ไม่ได้กับปัจเจกวิญญาณ ดังนั้นจึงมีสองผู้รู้สนามแห่งกิจกรรมคือปัจเจกวิญญาณและอภิวิญญาณ เช่นนี้ต้องยอมรับว่าแขนและขาของเราอยู่เฉพาะที่ตัวเราเท่านั้น แต่พระหัตถ์และพระเพลาขององค์กฺฤษฺณทรงกระจายไปทุกหนทุกแห่ง ได้ยืนยันไว้ใน เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ (3.17) ว่า สรฺวสฺย ปฺรภุมฺ อีศานํ สรฺวสฺย ศรณํ พฺฤหตฺ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์อภิวิญญาณทรงเป็น ปฺรภุ หรือพระอาจารย์ของมวลชีวิต ทรงเป็นที่พักพิงสูงสุดของมวลชีวิต ดังนั้นจึงเป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าองค์อภิวิญญาณและปัจเจกวิญญาณจะแตกต่างกันเสมอ
iti kṣetraṁ tathā jñānaṁ
jñeyaṁ coktaṁ samāsataḥ
mad-bhakta etad vijñāya
mad-bhāvāyopapadyate
อิติ เกฺษตฺรํ ตถา ชฺญานํ
ชฺเญยํ โจกฺตํ สมาสตห์
มทฺ-ภกฺต เอตทฺ วิชฺญาย
มทฺ-ภาวาโยปปทฺยเต
อิติ — ดังนั้น, กฺเษตฺรมฺ — สนามแห่งกิจกรรม (ร่างกาย), ตถา — เช่นกัน, ชฺญานมฺ — ความรู้, ชฺเญยมฺ — สิ่งรู้, จ — เช่นกัน, อุกฺตมฺ — อธิบาย, สมาสตห์ — โดยสรุป, มตฺ-ภกฺตห์ — สาวกของข้า, เอตตฺ — ทั้งหมดนี้, วิชฺญาย — หลังจากเข้าใจ, มตฺ-ภาวาย — ธรรมชาติของข้า, อุปปทฺยเต — บรรลุ
คำแปล
ดังนั้นข้าได้อธิบายโดยสรุปถึงสนามแห่งกิจกรรม (ร่างกาย) ความรู้ และสิ่งที่รู้ได้ บรรดาสาวกของข้าเท่านั้นที่สามารถเข้าใจโดยตลอด และบรรลุถึงธรรมชาติของข้า
คำอธิบาย
องค์ภควานฺทรงอธิบายโดยสรุปถึงร่างกาย ความรู้ และสิ่งรู้ ความรู้นี้ประกอบด้วยสามสิ่งคือ ผู้รู้ สิ่งที่รู้ได้ และวิธีที่จะรู้ ทั้งหมดนี้รวมกันเข้าเรียกว่า วิชฺญาน หรือศาสตร์แห่งความรู้ สาวกผู้บริสุทธิ์ขององค์ภควานฺโดยตรงจึงสามารถเข้าใจความรู้โดยสมบูรณ์ บุคคลอื่นไม่สามารถเข้าใจได้ พวกที่เชื่อว่าเป็นหนึ่งเดียวกันกล่าวว่าในระดับท้ายสุดทั้งสามสิ่งนี้กลายมาเป็นหนึ่ง แต่เหล่าสาวกไม่ยอมรับเช่นนี้ ความรู้และการพัฒนาความรู้หมายความว่าเข้าใจตนเองในกฺฤษฺณจิตสำนึก เราได้ถูกวัตถุจิตสำนึกนำพาไปแต่ทันทีที่เราย้ายจิตสำนึกทั้งหมดมาที่กิจกรรมขององค์กฺฤษฺณ และรู้แจ้งว่าองค์กฺฤษฺณคือทุกสิ่งทุกอย่างตรงนี้จะทำให้เราบรรลุถึงความรู้ที่แท้จริง อีกนัยหนึ่งความรู้มิใช่อะไรอื่นใดนอกจากระดับพื้นฐานแห่งความเข้าใจการอุทิศตนเสียสละรับใช้โดยสมบูรณ์ ในบทที่สิบห้าจะอธิบายประเด็นนี้อย่างชัดเจน
โดยสรุปเราอาจเข้าใจว่าโศลก 6 และโศลก 7 เริ่มจาก มหา-ภูตานิ มาจนถึง เจตนา ธฺฤติห์ ได้วิเคราะห์ธาตุวัตถุต่างๆ และปรากฏการณ์บางอย่างของลักษณะอาการแห่งชีวิตรวมกันเข้าเป็นร่างกายหรือสนามแห่งกิจกรรม และโศลก 8 ถึงโศลก 12 จาก อมานิตฺวมฺ จนถึง ตตฺตฺว-ชฺญานารฺถ-ทรฺศนมฺ ได้อธิบายถึงกระบวนการเพื่อทำความเข้าใจผู้รู้ทั้งสองประเภท คือปัจเจกวิญญาณและอภิวิญญาณ จากนั้นโศลก 13 ถึงโศลก 18 เริ่มจาก อนาทิ มตฺ-ปรมฺ มาจนถึง หฺฤทิ สรฺวสฺย วิษฺฐิตมฺ ได้อธิบายถึงดวงวิญญาณและองค์ภควานฺหรืออภิวิญญาณ
ได้อธิบายถึงสามประเด็นดังนี้ สนามแห่งกิจกรรม (ร่างกาย) วิธีแห่งการเข้าใจทั้งดวงวิญญาณ และอภิวิญญาณ ตรงนี้ได้อธิบายโดยเฉพาะว่าเหล่าสาวกผู้บริสุทธิ์ของพระองค์เท่านั้นจึงสามารถเข้าใจสามประเด็นนี้อย่างชัดเจน ดังนั้นสาวกเหล่านี้จะได้รับประโยชน์จาก ภควัท-คีตา อย่างสมบูรณ์ และสามารถบรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดนั่นคือธรรมชาติขององค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณ อีกนัยหนึ่งสาวกเท่านั้นที่จะสามารถเข้าใจ ภควัท-คีตา และได้รับผลสมดังใจปรารถนามิใช่บุคคลอื่น
prakṛtiṁ puruṣaṁ caiva
viddhy anādī ubhāv api
vikārāṁś ca guṇāṁś caiva
viddhi prakṛti-sambhavān
ปฺรกฺฤตึ ปุรุษํ ไจว
วิทฺธฺยฺ อนาที อุภาวฺ อปิ
วิการำศฺ จ คุณำศฺ ไจว
วิทฺธิ ปฺรกฺฤติ-สมฺภวานฺ
ปฺรกฺฤติมฺ — ธรรมชาติวัตถุ, ปุรุษมฺ — สิ่งมีชีวิต, จ — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, วิทฺธิ — เธอต้องรู้, อนาที — ไม่มีจุดเริ่มต้น, อุเภา — ทั้งคู่, อปิ — เช่นกัน, วิการานฺ — การเปลี่ยนแปลง, จ — เช่นกัน, คุณานฺ — สามระดับของธรรมชาติ, จ — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, วิทฺธิ — รู้, ปฺรกฺฤติ — ธรรมชาติวัตถุ, สมฺภวานฺ — ผลิตจาก
คำแปล
ควรเข้าใจว่าธรรมชาติวัตถุและสิ่งมีชีวิตไม่มีจุดเริ่มต้น การเปลี่ยนแปลงและระดับของวัตถุเป็นผลผลิตของธรรมชาติวัตถุ
คำอธิบาย
จากความรู้ที่ให้ไว้ในบทนี้เราจะสามารถเข้าใจร่างกาย (สนามแห่งกิจกรรม) และผู้รู้ร่างกาย (ทั้งปัจเจกวิญญาณและอภิวิญญาณ) ร่างกายเป็นสนามแห่งกิจกรรมซึ่งประกอบไปด้วยธรรมชาติวัตถุ ปัจเจกวิญญาณที่ถูกร่างกายปกคลุมและรื่นเริงไปกับกิจกรรมของร่างกายคือ ปุรุษ หรือสิ่งมีชีวิต เราเป็นผู้รู้ผู้หนึ่งและผู้รู้อีกผู้หนึ่งคืออภิวิญญาณ เข้าใจว่าทั้งอภิวิญญาณและปัจเจกวิญญาณเป็นปรากฏการณ์ที่ต่างกันของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า สิ่งมีชีวิตอยู่ในกลุ่มของพลังงานของพระองค์และอภิวิญญาณอยู่ในกลุ่มของภาคที่แบ่งแยกส่วนมาจากองค์ภควานฺ
ทั้งธรรมชาติวัตถุและสิ่งมีชีวิตเป็นอมตะหมายความว่าทั้งคู่มีอยู่ก่อนการสร้างปรากฏการณ์ทางวัตถุมาจากพลังงานขององค์ภควานฺ สิ่งมีชีวิตก็เช่นเดียวกันแต่สิ่งมีชีวิตเป็นพลังงานที่สูงกว่า ทั้งสิ่งมีชีวิตและธรรมชาติวัตถุมีอยู่ก่อนที่จักรวาลนี้จะปรากฏ ธรรมชาติวัตถุถูกซึมซาบอยู่ในองค์ภควานฺ มหา-วิษฺณุ และเมื่อถึงเวลาจำเป็นจะปรากฏออกมาผ่านทางผู้แทน มหตฺ-ตตฺตฺว ในทำนองเดียวกันสิ่งมีชีวิตก็อยู่ในพระองค์เนื่องจากอยู่ภายใต้พันธสภาวะจึงไม่ชอบรับใช้องค์ภควานฺ ดังนั้นจึงไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในท้องฟ้าทิพย์ แต่จากการที่ธรรมชาติวัตถุปรากฏออกมาสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จึงได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติการในโลกวัตถุ และเตรียมตัวเพื่อเข้าไปในโลกทิพย์ นั่นคือความเร้นลับแห่งการสร้างทางวัตถุนี้ อันที่จริงสิ่งมีชีวิตโดยเนื้อแท้เดิมทีเป็นละอองอณูทิพย์ขององค์ภควานฺ แต่เนื่องจากธรรมชาติที่ชอบต่อต้านจึงได้มาอยู่ในพันธสภาวะภายใต้ธรรมชาติวัตถุ ไม่สำคัญว่าสิ่งมีชีวิตหรือชีวิตที่สูงกว่าขององค์ภควานฺมาสัมผัสกับธรรมชาติวัตถุได้อย่างไร อย่างไรก็ดีบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงทราบว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไมมันจึงเกิดขึ้น ในพระคัมภีร์พระองค์ตรัสว่าผู้ที่หลงใหลอยู่กับธรรมชาติวัตถุนี้จะต้องเผชิญกับการดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอดด้วยความยากลำบาก แต่จากไม่กี่โศลกนี้เราควรรู้อย่างแน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงและอิทธิพลทั้งหลายของธรรมชาติวัตถุทั้งสามระดับก็เป็นผลผลิตของธรรมชาติวัตถุเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงและความหลากหลายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตก็เนื่องมาจากร่างกาย สำหรับดวงวิญญาณแล้วสิ่งมีชีวิตทั้งหมดเหมือนกัน
kārya-kāraṇa-kartṛtve
hetuḥ prakṛtir ucyate
puruṣaḥ sukha-duḥkhānāṁ
bhoktṛtve hetur ucyate
การฺย-การณ-กรฺตฺฤเตฺว
เหตุห์ ปฺรกฺฤติรฺ อุจฺยเต
ปุรุษห์ สุข-ทุห์ขานำ
โภกฺตฺฤเตฺว เหตุรฺ อุจฺยเต
การฺย — ของผล, การณ — และเหตุ, กรฺตฺฤเตฺว — ในเรื่องของการสร้าง, เหตุห์ — เครื่องมือ, ปฺรกฺฤติห์ — ธรรมชาติวัตถุ, อุจฺยเต — กล่าวว่า, ปุรุษห์ — สิ่งมีชีวิต, สุข — ความสุข, ทุห์ขานามฺ — และความทุกข์, โภกฺตฺฤเตฺว — ในความรื่นเริง, เหตุห์ — เครื่องมือ, อุจฺยเต — กล่าวว่า
คำแปล
กล่าวไว้ว่าธรรมชาติเป็นแหล่งกำเนิดของเหตุและผลทางวัตถุทั้งหลาย ขณะที่สิ่งมีชีวิตเป็นแหล่งกำเนิดของความทุกข์และความสุขต่างๆ ในโลกนี้
คำอธิบาย
ปรากฏการณ์ที่ไม่เหมือนกันของร่างกายและประสาทสัมผัสในสิ่งมีชีวิตต่างๆก็เนื่องมาจากธรรมชาติวัตถุ มี 8,400,000 เผ่าพันธุ์ชีวิตที่แตกต่างกัน ความหลากหลายเหล่านี้เป็นการสร้างของธรรมชาติวัตถุ มันเกิดขึ้นมาจากความสุขทางประสาทสัมผัสที่ไม่เหมือนกันของสิ่งมีชีวิตผู้ปรารถนาจะอยู่ในร่างนี้หรือร่างนั้น เมื่อถูกส่งไปอยู่ในร่างกายต่างๆเขารื่นเริงอยู่กับความสุขและความทุกข์ที่ไม่เหมือนกัน ความสุขและความทุกข์ทางวัตถุก็เนื่องมาจากร่างกายซึ่งตามความเป็นจริงไม่ใช่ตัวเขา ในระดับเดิมแท้ของตัวเขาความรื่นเริงนั้นเป็นสิ่งแน่นอน เพราะนั่นคือสถานภาพอันแท้จริงของเขาเนื่องจากความปรารถนาที่จะเป็นเจ้าเหนือธรรมชาติวัตถุเขาจึงมาอยู่ในโลกวัตถุ ในโลกทิพย์ไม่มีสิ่งเหล่านี้ โลกทิพย์นั้นบริสุทธิ์แต่ในโลกวัตถุทุกคนดิ้นรนด้วยความยากลำบากเพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขทางร่างกาย อาจทำให้ชัดเจนขึ้นที่กล่าวว่าร่างกายนี้คือผลของประสาทสัมผัสต่างๆ ประสาทสัมผัสเป็นเครื่องมือเพื่อสนองความต้องการบัดนี้ผลมวลรวมคือร่างกาย และประสาทสัมผัสที่เป็นเครื่องมือธรรมชาติวัตถุเป็นผู้ให้จะชัดเจนยิ่งขึ้นในโศลกต่อไป สิ่งมีชีวิตได้รับพรหรือถูกสาปในสถานการณ์ต่างๆตามความปรารถนาและตามกรรมในอดีตของตน ธรรมชาติวัตถุได้วางเขาลงในที่ต่างๆตามความต้องการและตามกรรมของเขา สิ่งมีชีวิตเองเป็นต้นเหตุที่ทำให้ได้สถานที่พำนักเช่นนี้ และได้รับความสุขหรือความทุกข์ซึ่งเป็นผลที่ตามมา เมื่อถูกจับให้มาอยู่ในร่างกายโดยเฉพาะนี้เขาได้มาอยู่ภายใต้การควบคุมของธรรมชาติ เพราะว่าร่างกายเป็นวัตถุซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎแห่งธรรมชาติ ในขณะนั้นสิ่งมีชีวิตไม่มีอำนาจที่จะไปเปลี่ยนกฎเกณฑ์ สมมติว่าสิ่งมีชีวิตถูกจับให้ไปอยู่ในร่างสุนัขเขาต้องทำตัวให้เหมือนกับสุนัขทันที จะทำตัวเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ และหากว่าสิ่งมีชีวิตถูกจับให้ไปอยู่ในร่างสุกรเขาก็จะถูกบังคับให้กินอุจจาระและทำตัวเหมือนกับสุกร ในทำนองเดียวกันหากสิ่งมีชีวิตถูกจับไปอยู่ในร่างเทวดาเขาจะต้องทำตัวตามสถานภาพทางร่างกายของเขา นี่คือกฎแห่งธรรมชาติ แต่ในทุกๆกรณีอภิวิญญาณทรงอยู่กับปัจเจกวิญญาณ ได้อธิบายไว้ในคัมภีร์พระเวท (มุณฺฑก อุปนิษทฺ 3.1.1) ดังนี้ ทฺวา สุปรฺณา สยุชา สขายห์ องค์ภควานฺทรงมีพระเมตตาต่อสิ่งมีชีวิตจึงทรงอยู่ร่วมกับปัจเจกวิญญาณเสมอ และในทุกๆสถานการณ์พระองค์ทรงปรากฏในฐานะอภิวิญญาณหรือ ปรมาตฺมา
puruṣaḥ prakṛti-stho hi
bhuṅkte prakṛti-jān guṇān
kāraṇaṁ guṇa-saṅgo ’sya
sad-asad-yoni-janmasu
ปุรุษห์ ปฺรกฺฤติ-โสฺถ หิ
ภุงฺกฺเต ปฺรกฺฤติ-ชานฺ คุณานฺ
การณํ คุณ-สงฺโค ’สฺย
สทฺ-อสทฺ-โยนิ-ชนฺมสุ
ปุรุษห์ — สิ่งมีชีวิต, ปฺรกฺฤติ-สฺถห์ — สถิตในพลังงานวัตถุ, หิ — แน่นอน, ภุงฺกฺเต — รื่นเริง, ปฺรกฺฤติ-ชานฺ — ผลิตโดยธรรมชาติวัตถุ, คุณานฺ — ระดับของธรรมชาติ, การณมฺ — แหล่งกำเนิด, คุณ-สงฺคห์ — คบหาสมาคมกับระดับต่างๆของธรรมชาติ, อสฺย — ของสิ่งมีชีวิต, สตฺ-อสตฺ — ในความดีและความชั่ว, โยนิ — เผ่าพันธุ์แห่งชีวิต, ชนฺมสุ — ในการเกิด
คำแปล
สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติวัตถุปฏิบัติตามวิถีแห่งชีวิต รื่นเริงกับสามระดับของธรรมชาติ ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากการมาคบหาสมาคมกับธรรมชาติวัตถุนั้น ดังนั้นเขาจึงพบกับความดีและความชั่วในเผ่าพันธุ์ต่างๆ
คำอธิบาย
โศลกนี้สำคัญมากในการที่จะเข้าใจว่าสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนจากร่างหนึ่งไปสู่ร่างหนึ่งได้อย่างไร ได้อธิบายไว้ในบทที่สองว่าสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่งเหมือนกับการเปลี่ยนเสื้อผ้า การเปลี่ยนเสื้อผ้านี้เนื่องมาจากการยึดติดกับความเป็นอยู่ทางวัตถุ ตราบใดที่ยังหลงอยู่ในเสน่ห์แห่งการปรากฏที่ผิดๆนี้ เขาจะต้องเปลี่ยนจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่งต่อไปเรื่อยๆ เนื่องจากความปรารถนาที่จะเป็นเจ้าเหนือธรรมชาติวัตถุจึงถูกจับให้มาอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาเช่นนี้ ภายใต้อิทธิพลแห่งความปรารถนาทางวัตถุบางครั้งสิ่งมีชีวิตเกิดมาเป็นเทวดา บางครั้งเป็นมนุษย์ บางครั้งเป็นสัตว์ นก หนอน สัตว์น้ำ เป็นนักปราชญ์ หรือแมลง จะดำเนินต่อไปเช่นนี้เรื่อยๆ และในทุกๆกรณีสิ่งมีชีวิตคิดว่าตนเองเป็นเจ้านายแห่งสถานการณ์ของตน แต่เขาอยู่ภายใต้อิทธิพลของธรรมชาติวัตถุ
เขาถูกจับให้มาอยู่ภายในร่างกายต่างๆเหล่านี้ได้อย่างไรนั้นได้อธิบาย ณ ที่นี้ เนื่องจากมาคบหาสมาคมกับระดับต่างๆของธรรมชาติ ฉะนั้นเขาจะต้องทำความเจริญขึ้นให้อยู่เหนือสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุและสถิตในสถานภาพทิพย์เช่นนี้ เรียกว่ากฺฤษฺณจิตสำนึก นอกเสียจากว่าเขาจะสถิตในกฺฤษฺณจิตสำนึกมิฉะนั้นวัตถุจิตสำนึกของตัวเองจะบังคับให้ย้ายจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง เนื่องจากมีความปรารถนาทางวัตถุตั้งแต่กาลสมัยดึกดำบรรพ์จึงจำต้องเปลี่ยนแนวความคิดนั้น การเปลี่ยนแปลงจะเป็นผลดีก็จากการสดับฟังจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือ อรฺชุน ทรงสดับฟังศาสตร์แห่งองค์ภควานฺจากองค์กฺฤษฺณ หากสิ่งมีชีวิตยอมรับวิธีการสดับฟังนี้เขาจะละทิ้งความปรารถนาที่หวังไว้เป็นเวลายาวนานว่าจะครอบครองธรรมชาติวัตถุ และจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงอย่างมีดุลยภาพ ในขณะที่ตัดทอนความปรารถนาอันยาวนานที่จะครอบครองธรรมชาติเขาจะรื่นเริงกับความสุขทิพย์ บทมนต์พระเวทกล่าวไว้ว่าขณะที่ได้รับความรู้ในการมาใกล้ชิดกับองค์ภควานฺ เขาได้รับรสชีวิตแห่งความปลื้มปีติสุขอมตะตามสัดส่วนนั้นๆ
upadraṣṭānumantā ca
bhartā bhoktā maheśvaraḥ
paramātmeti cāpy ukto
dehe ’smin puruṣaḥ paraḥ
อุปทฺรษฺฏานุมนฺตา จ
ภรฺตา โภกฺตา มเหศฺวรห์
ปรมาตฺเมติ จาปฺยฺ อุกฺโต
เทเห ’สฺมินฺ ปุรุษห์ ปรห์
อุปทฺรษฺฏา — ผู้ดูแล, อนุมนฺตา — ผู้ให้อนุญาต, จ — เช่นกัน, ภรฺตา — เจ้านาย, โภกฺตา — ผู้มีความรื่นเริงสูงสุด, มหา-อีศฺวรห์ — องค์ภควานฺสูงสุด, ปรม-อาตฺมา — อภิวิญญาณ, อิติ — เช่นกัน, จ — และ, อปิ — แน่นอน, อุกฺตห์ — กล่าวว่า, เทเห — ในร่างกาย, อสฺมินฺ — นี้, ปุรุษห์ — ผู้รื่นเริง, ปรห์ — ทิพย์
คำแปล
ในร่างกายนี้มีผู้รื่นเริงทิพย์อีกองค์หนึ่งซึ่งเป็นองค์ภควานฺ ทรงเป็นเจ้าของสูงสุด ทรงประทับอยู่ในฐานะผู้ดูแล และผู้ให้อนุญาต และผู้ที่รู้จักในฐานะองค์อภิวิญญาณ
คำอธิบาย
ได้กล่าวไว้ตรงนี้ว่าองค์อภิวิญญาณผู้ประทับอยู่กับปัจเจกวิญญาณเสมอ ทรงเป็นผู้แทนขององค์ภควานฺ ทรงมิใช่สิ่งมีชีวิตธรรมดา เพราะว่าเหล่านักปราชญ์ผู้เชื่อว่าเป็นหนึ่งเดียวกันคิดว่าผู้รู้ร่างกายเป็นหนึ่ง โดยไม่มีข้อแตกต่างระหว่างอภิวิญญาณและปัจเจกวิญญาณ เพื่อให้ประเด็นนี้กระจ่างขึ้นทรงตรัสว่าพระองค์ทรงมีผู้แทนในฐานะ ปรมาตฺมา อยู่ในทุกๆร่าง พระองค์ทรงแตกต่างจากปัจเจกวิญญาณ ทรงเป็น ปรมาตฺมา หรือเป็นทิพย์ ปัจเจกวิญญาณได้รับความสุขกับสนามเฉพาะของตน แต่อภิวิญญาณทรงปรากฏไม่ใช่ในฐานะผู้มีความสุขที่มีขีดจำกัด หรือผู้ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางร่างกาย แต่ในฐานะพยานผู้ดูแล ผู้ให้อนุญาต และผู้มีความสุขสูงสุด พระองค์ทรงพระนามว่า ปรมาตฺมา ไม่ใช่อาทมาและทรงเป็นทิพย์ ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า อาตฺมา และ ปรมาตฺมา แตกต่างกัน อภิวิญญาณ ปรมาตฺมา มีพระเพลาและพระกรทุกหนทุกแห่งแต่ปัจเจกวิญญาณไม่มี และเนื่องจาก ปรมาตฺมา ทรงเป็นองค์ภควานผู้ประทับอยู่ภายในเพื่ออนุมัติความสุขทางวัตถุตามที่ปัจเจกวิญญาณปรารถนา หากปราศจากการอนุมัติของอภิวิญญาณปัจเจกวิญญาณจะไม่สามารถทำอะไรได้เลย ปัจเจกวิญญาณเป็น ภุกฺต หรือผู้ได้รับการอนุเคราะห์ และพระองค์คือ โภกฺตา หรือผู้อนุเคราะห์ มีสิ่งมีชีวิตจำนวนนับไม่ถ้วนและพระองค์ทรงประทับอยู่ภายในร่างกายของพวกเขาในฐานะสหาย
ความจริงคือทุกๆปัจเจกชีวิตเป็นละอองอณูนิรันดรขององค์ภควานฺ และทั้งคู่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกันมากในฐานะเพื่อน แต่สิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มที่จะปฏิเสธการอนุมัติของพระองค์ และทำไปโดยพลการเพื่อพยายามที่จะครอบครองธรรมชาติ เนื่องจากมีแนวโน้มเช่นนี้เขาจึงถูกเรียกว่าเป็นพลังงานพรมแดนของพระองค์ สิ่งมีชีวิตสามารถสถิตในพลังงานวัตถุหรือในพลังงานทิพย์ตราบใดที่ยังอยู่ภายใต้พันธสภาวะของพลังงานวัตถุ องค์ภควานฺหรืออภิวิญญาณในฐานะสหายจะอยู่กับเขาเพื่อให้เขากลับคืนสู่พลังงานทิพย์ พระองค์ทรงมีความกระตือรือร้นที่จะนำเขากลับไปยังพลังงานทิพย์เสมอ แต่เนื่องจากเสรีภาพเพียงนิดเดียวทำให้ปัจเจกชีวิตปฏิเสธการมาอยู่ใกล้ชิดกับประทีปทิพย์อยู่ตลอดเวลา การใช้เสรีภาพไปในทางที่ผิดเช่นนี้จึงทำให้ต้องดิ้นรนทางวัตถุในสภาวะธรรมชาติ ดังนั้นพระองค์ทรงให้คำสั่งสอนทั้งจากภายในและภายนอกเสมอ จากภายนอกทรงให้คำสั่งสอนดังที่ตรัสไว้ใน ภควัท-คีตา และจากภายในทรงพยายามทำให้สิ่งมีชีวิตมั่นใจว่ากิจกรรมของเขาในสนามวัตถุจะไม่นำมาซึ่งความสุขอันแท้จริง โดยตรัสว่า “จงยกเลิกมันเสียและหันความศรัทธามาที่ข้า แล้วเจ้าจะมีความสุข” ดังนั้นปัญญาชนผู้มอบความศรัทธาให้แก่ ปรมาตฺมา หรือองค์ภควานฺจะเริ่มเจริญก้าวหน้าไปสู่ชีวิตแห่งความปลื้มปีติสุข ที่เป็นอมตะ และเปี่ยมไปด้วยความรู้
ya evaṁ vetti puruṣaṁ
prakṛtiṁ ca guṇaiḥ saha
sarvathā vartamāno ’pi
na sa bhūyo ’bhijāyate
ย เอวํ เวตฺติ ปุรุษํ
ปฺรกฺฤตึ จ คุไณห์ สห
สรฺวถา วรฺตมาโน ’ปิ
น ส ภูโย ’ภิชายเต
ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, เอวมฺ — ดังนั้น, เวตฺติ — เข้าใจ, ปุรุษมฺ — สิ่งมีชีวิต, ปฺรกฺฤติมฺ — ธรรมชาติวัตถุ, จ — และ, คุไณห์ — ระดับต่างๆของธรรมชาติวัตถุ, สห — กับ, สรฺวถา — ในทุกๆวิธี, วรฺตมานห์ — สถิต, อปิ — ถึงแม้ว่า, น — ไม่เคย, สห์ — เขา, ภูยห์ — อีกครั้งหนึ่ง, อภิชายเต — เกิด
คำแปล
ผู้เข้าใจปรัชญาเกี่ยวกับธรรมชาติวัตถุ สิ่งมีชีวิต และผลกระทบซึ่งกันและกันของระดับต่างๆแห่งธรรมชาตินี้ แน่นอนว่าจะได้รับอิสรภาพ เขาจะไม่มาเกิดที่นี่อีกไม่ว่าสถานภาพปัจจุบันจะเป็นเช่นไรก็ตาม
คำอธิบาย
การเข้าใจธรรมชาติวัตถุ อภิวิญญาณ ปัจเจกวิญญาณ และผลกระทบซึ่งกันและกันของทั้งหมดนี้อย่างชัดเจนนั้นจะทำให้มีสิทธิ์ได้รับเสรีภาพ และกลับคืนสู่บรรยากาศทิพย์โดยไม่ต้องถูกบังคับให้กลับคืนมาสู่ธรรมชาติวัตถุนี้อีก นั่นคือผลแห่งความรู้ จุดมุ่งหมายแห่งความรู้คือการเข้าใจอย่างชัดเจนว่า โดยบังเอิญแล้วนั้นสิ่งมีชีวิตได้ตกลงมามีความเป็นอยู่ทางวัตถุนี้ แต่ด้วยความพยายามส่วนตัวที่มาคบหาสมาคมกับบุคคลผู้เชื่อถือได้ เช่น นักบุญและพระอาจารย์ทิพย์ทำให้เข้าใจสถานภาพของตนเอง จากนั้นก็กลับคืนไปสู่จิตสำนึกทิพย์ หรือกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยการเข้าใจ ภควัท-คีตา ตามที่องค์ภควานฺทรงอธิบาย จึงจะเป็นที่แน่นอนว่าเราจะไม่กลับมามีความเป็นอยู่ทางวัตถุนี้อีกครั้ง และจะถูกย้ายไปยังโลกทิพย์เพื่อชีวิตอมตะที่มีความปลื้มปีติสุขและเปี่ยมไปด้วยความรู้
dhyānenātmani paśyanti
kecid ātmānam ātmanā
anye sāṅkhyena yogena
karma-yogena cāpare
ธฺยาเนนาตฺมนิ ปศฺยนฺติ
เกจิทฺ อาตฺมานมฺ อาตฺมนา
อเนฺย สางฺเขฺยน โยเคน
กรฺม-โยเคน จาปเร
ธฺยาเนน — ด้วยการทำสมาธิ, อาตฺมนิ — ภายในตนเอง, ปศฺยนฺติ — เห็น, เกจิตฺ — บางคน, อาตฺมานมฺ — อภิวิญญาณ, อาตฺมนา — ด้วยจิต, อเนฺย — ผู้อื่น, สางฺเขฺยน — ของการสนทนาปรัชญา, โยเคน — ด้วยระบบโยคะ, กรฺม-โยเคน — ด้วยกิจกรรมที่ปราศจากความต้องการผลทางวัตถุ, จ — เช่นกัน, อปเร — ผู้อื่น
คำแปล
บางคนสำเหนียกองค์อภิวิญญาณภายในตนเองด้วยการทำสมาธิ บางคนสำเหนียกด้วยการพัฒนาความรู้ และยังมีผู้อื่นที่สำเหนียกด้วยการทำงานโดยไม่ต้องการผลทางวัตถุ
คำอธิบาย
องค์ภควานฺทรงให้ข้อมูลแด่ อรฺชุน ว่าพันธวิญญาณผู้เสาะแสวงหาความรู้แจ้งแห่งตนแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ไม่เชื่อในองค์ภควานฺ ไม่เชื่อว่ามีนรกสวรรค์ และมีความเคลือบแคลงสงสัย บุคคลเหล่านี้ความเข้าใจวิถีทิพย์อยู่เหนือความรู้สึกนึกคิดของพวกตน และมีอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความศรัทธาในการเข้าใจชีวิตทิพย์เรียกว่า สาวกผู้ใคร่ครวญ นักปราชญ์ และผู้ที่ทำงานสละผลทางวัตถุ ผู้ที่พยายามสถาปนาลัทธิความเชื่อว่าเป็นหนึ่งเดียวกันก็นับอยู่ในกลุ่มที่ไม่เชื่อในองค์ภควานฺและไม่เชื่อในนรกสวรรค์ อีกนัยหนึ่งบรรดาสาวกของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าเท่านั้นที่สถิตดีที่สุดในการเข้าใจวิถีทิพย์ เพราะมีความเข้าใจว่าสูงกว่าธรรมชาติวัตถุนี้ยังมีโลกทิพย์และองค์ภควานฺผู้ทรงแบ่งภาคมาเป็น ปรมาตฺมา หรือองค์อภิวิญญาณภายในหัวใจของทุกๆคน ผู้ทรงแผ่กระจายไปทั่ว แน่นอนว่ามีบุคคลที่พยายามเข้าใจสัจธรรมสูงสุดด้วยการพัฒนาความรู้ซึ่งนับว่าอยู่ในกลุ่มของผู้มีศรัทธา บรรดานักปราชญ์ สางฺขฺย วิเคราะห์โลกวัตถุนี้ว่ามียี่สิบสี่ธาตุ และจัดปัจเจกวิญญาณว่าเป็นรายการที่ยี่สิบห้า เมื่อสามารถเข้าใจธรรมชาติของปัจเจกวิญญาณว่าเป็นทิพย์เหนือธาตุวัตถุต่างๆพวกนี้ ก็สามารถเข้าใจเช่นกันว่าเหนือไปกว่าปัจเจกวิญญาณยังมีบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า พระองค์ทรงเป็นธาตุที่ยี่สิบหก ดังนั้นพวกนี้จะค่อยๆมาถึงมาตรฐานแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึก พวกที่ทำงานโดยไม่หวังผลทางวัตถุก็มีความสมบูรณ์ในท่าทีของตนเองเช่นกัน และได้รับโอกาสที่จะเจริญก้าวหน้ามาสู่ระดับแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึก ตรงนี้ได้กล่าวไว้ว่ามีบางคนที่มีจิตสำนึกบริสุทธิ์พยายามค้นหาอภิวิญญาณด้วยการทำสมาธิ และเมื่อค้นพบอภิวิญญาณภายในตนเองแล้วจะสถิตในระดับทิพย์ ในลักษณะเดียวกันมีผู้พยายามเข้าใจดวงวิญญาณสูงสุดด้วยการพัฒนาความรู้ และยังมีผู้ที่พัฒนาระบบ หฐ-โยค และพยายามทำให้บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงพอพระทัยด้วยกิจกรรมแบบเด็กๆ
anye tv evam ajānantaḥ
śrutvānyebhya upāsate
te ’pi cātitaranty eva
mṛtyuṁ śruti-parāyaṇāḥ
อเนฺย ตฺวฺ เอวมฺ อชานนฺตห์
ศฺรุตฺวาเนฺยภฺย อุปาสเต
เต ’ปิ จาติตรนฺตฺยฺ เอว
มฺฤตฺยุํ ศฺรุติ-ปรายณาห์
อเนฺย — ผู้อื่น, ตุ — แต่, เอวมฺ — ดังนั้น, อชานนฺตห์ — โดยปราศจากความรู้ทิพย์, ศฺรุตฺวา — ด้วยการสดับฟัง, อเนฺยภฺยห์ — จากผู้อื่น, อุปาสเต — เริ่มบูชา, เต — พวกเขา, อปิ — เช่นกัน, จ — และ, อติตรนฺติ — ข้ามพ้น, เอว — แน่นอน, มฺฤตฺยุมฺ — วิถีทางแห่งความตาย, ศฺรุติ-ปรายณาห์ — ชอบวิธีการสดับฟัง
คำแปล
ยังมีพวกที่ถึงแม้ไม่ชำนาญในความรู้ทิพย์ แต่เมื่อสดับฟังเกี่ยวกับองค์ภควานจากผู้อื่นก็เริ่มบูชาพระองค์ เนื่องจากมีแนวโน้มชอบสดับฟังจากผู้ที่เชื่อถือได้ พวกเขาจะข้ามพ้นวิถีแห่งการเกิดและการตายเช่นเดียวกัน
คำอธิบาย
โศลกนี้เหมาะสมกับสังคมปัจจุบันโดยเฉพาะ เพราะว่าสังคมปัจจุบันเกือบไม่มีการศึกษาในเรื่องทิพย์เลย บางคนอาจดูเหมือนว่าเป็นผู้ไม่เชื่อในพระผู้เป็นเจ้า หรือไม่เชื่อในนรกสวรรค์ หรือไม่เชื่อในปรัชญา แต่อันที่จริงไม่มีความรู้ปรัชญา สำหรับคนธรรมดาทั่วไปหากผู้ใดเป็นดวงวิญญาณที่ดีก็จะมีโอกาสเจริญก้าวหน้าด้วยการสดับฟัง วิธีการสดับฟังนี้สำคัญมาก องค์ ไจตนฺย ผู้ตรัสสอนกฺฤษฺณจิตสำนึกในโลกปัจจุบันทรงเน้นการสดับฟังเป็นอย่างมาก หากคนธรรมดาเพียงแต่สดับฟังจากแหล่งที่เชื่อถือได้เขาก็สามารถเจริญก้าวหน้าโดยเฉพาะ หากสดับฟังคลื่นเสียงทิพย์ หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร / หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร ตามที่องค์ ไจตนฺย ตรัส ดังนั้นจึงกล่าวไว้ว่ามนุษย์ทั้งหลายควรถือโอกาสในการสดับฟังจากจิตวิญญาณผู้รู้แจ้ง เมื่อค่อยๆเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างการบูชาองค์ภควานฺจะบังเกิดขึ้นโดยไม่ต้องสงสัย องค์ ไจตนฺย ตรัสว่าในยุคนี้ไม่มีผู้ใดจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานภาพของตนเอง แต่เราควรยกเลิกความพยายามที่จะเข้าใจสัจธรรมด้วยเหตุผลจากการคาดคะเน เราควรเรียนรู้และมาเป็นผู้รับใช้ของผู้ที่มีความรู้แห่งองค์ภควานฺ หากโชคดีพอที่ได้มาพึ่งสาวกผู้บริสุทธิ์ ได้สดับฟังจากท่านเกี่ยวกับความรู้แจ้งแห่งตนและปฏิบัติตามรอยพระบาทของท่านเราจะค่อยๆ พัฒนามาสู่สถานภาพของสาวกผู้บริสุทธิ์ ในโศลกนี้ได้แนะนำวิธีการสดับฟังมากเป็นพิเศษซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าคนธรรมดาทั่วไปส่วนใหญ่จะไม่มีความสามารถเทียบเท่านักปราชญ์ แต่ด้วยความศรัทธาในการสดับฟังจากบุคคลที่เชื่อถือได้จะช่วยเราให้ข้ามพ้นไปจากความเป็นอยู่ทางวัตถุนี้ และกลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควานฺ
yāvat sañjāyate kiñcit
sattvaṁ sthāvara-jaṅgamam
kṣetra-kṣetrajña-saṁyogāt
tad viddhi bharatarṣabha
ยาวตฺ สญฺชายเต กิญฺจิตฺ
สตฺตฺวํ สฺถาวร-ชงฺคมมฺ
กฺเษตฺร-กฺเษตฺรชฺญ-สํโยคาตฺ
ตทฺ วิทฺธิ ภรตรฺษภ
ยาวตฺ — อะไรก็แล้วแต่, สญฺชายเต — มามีชีวิต, กิญฺจิตฺ — สิ่งใด, สตฺตฺวมฺ — เป็นอยู่, สฺถาวร — ไม่เคลื่อนที่, ชงฺคมมฺ — เคลื่อนที่, กฺเษตฺร — ของร่างกาย, กฺเษตฺร-ชฺญ — และผู้รู้ร่างกาย, สํโยคาตฺ — จากการรวมกันระหว่าง, ตตฺ วิทฺธิ — เธอต้องรู้, ภรต-ฤษภ — โอ้ ผู้นำแห่ง ภารต
คำแปล
โอ้ ผู้นำแห่ง ภารต จงรู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เธอเห็นปรากฏอยู่ ทั้งเคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่ เป็นเพียงการรวมตัวของสนามแห่งกิจกรรมและผู้รู้สนาม
คำอธิบาย
ทั้งธรรมชาติวัตถุและสิ่งมีชีวิตซึ่งมีอยู่ก่อนการสร้างจักรวาลได้อธิบายไว้ในโศลกนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่สร้างขึ้นมาเป็นเพียงการผสมผสานระหว่างสิ่งมีชีวิตและธรรมชาติวัตถุ มีปรากฏการณ์มากมาย เช่น ต้นไม้ ภูเขา และเนินเขาซึ่งไม่เคลื่อนที่ และมีสิ่งที่ปรากฏอยู่มากมายที่เคลื่อนที่ ทั้งหมดเป็นเพียงการผสมผสานของธรรมชาติวัตถุและสิ่งมีชีวิตจะดำเนินต่อไปชั่วกัลปวสาน องค์ภควานฺทรงทำให้การผสมผสานกันนี้เกิดเป็นผล ดังนั้นพระองค์ทรงเป็นผู้ควบคุมทั้งธรรมชาติที่สูงกว่าต่ำกว่า พระองค์ทรงเป็นผู้สร้างธรรมชาติวัตถุและธรรมชาติที่สูงกว่าถูกวางลงไปในธรรมชาติวัตถุนี้ ดังนั้นกิจกรรมและปรากฏการณ์ทั้งหลายเหล่านี้จึงบังเกิดขึ้น
samaṁ sarveṣu bhūteṣu
tiṣṭhantaṁ parameśvaram
vinaśyatsv avinaśyantaṁ
yaḥ paśyati sa paśyati
สมํ สเรฺวษุ ภูเตษุ
ติษฺฐนฺตํ ปรเมศฺวรมฺ
วินศฺยตฺสฺวฺ อวินศฺยนฺตํ
ยห์ ปศฺยติ ส ปศฺยติ
สมมฺ — เสมอภาค, สเรฺวษุ — ในทั้งหมด, ภูเตษุ — สิ่งมีชีวิต, ติษฺฐนฺ ตมฺ — อาศัยอยู่, ปรม-อีศฺวรมฺ — องค์อภิวิญญาณ, วินศฺยตฺสุ — ในการทำลาย, อวินศฺยนฺตมฺ — ไม่ถูกทำลาย, ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, ปศฺยติ — เห็น, สห์ — เขา, ปศฺยติ — เห็นโดยแท้จริง
คำแปล
ผู้เห็นองค์อภิวิญญาณพร้อมกับปัจเจกวิญญาณในทุกๆร่าง และเข้าใจว่าทั้งดวงวิญญาณและอภิวิญญาณภายในร่างกายที่สูญสลายนี้ไม่มีวันถูกทำลาย เป็นผู้เห็นโดยแท้จริง
คำอธิบาย
ผู้ใดคบกัลยาณมิตรจะสามารถเห็นสามสิ่งรวมกันคือ ร่างกาย เจ้าของร่างกายหรือปัจเจกวิญญาณ และสหายของปัจเจกวิญญาณ ผู้เห็นเช่นนี้เป็นผู้มีความรู้ที่แท้จริงนอกจากมาคบหาสมาคมกับผู้รู้วิชาทิพย์โดยแท้จริง มิฉะนั้นเราก็จะไม่สามารถเห็นสามสิ่งนี้ ผู้ที่ไม่มีการคบหาสมาคมเช่นนี้อยู่ในอวิชชา เพราะเห็นแต่เพียงร่างกายและคิดว่าเมื่อร่างกายถูกทำลายทุกสิ่งทุกอย่างก็จบลง อันที่จริงไม่เป็นเช่นนั้น หลังจากร่างกายถูกทำลายลงทั้งดวงวิญญาณและอภิวิญญาณยังคงอยู่ทั้งคู่ยังคงดำเนินต่อไปในร่างต่างๆมากมาย ทั้งเคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่ คำสันสกฤต ปรเมศฺวร บางครั้งแปลเป็น “ปัจเจกวิญญาณ” เพราะว่าดวงวิญญาณเป็นเจ้าของร่างกายและหลังจากร่างกายถูกทำลายลงดวงวิญญาณจะย้ายไปสู่อีกร่างหนึ่ง เช่นนี้เขาจะเป็นเจ้านายแต่มีผู้อื่นแปลคำว่า ปรเมศฺวร นี้เป็นอภิวิญญาณ ทั้งสองกรณี ทั้งอภิวิญญาณ และปัจเจกวิญญาณยังคงดำเนินต่อไป ทั้งคู่ไม่ถูกทำลายผู้สามารถเห็นเช่นนี้เป็นผู้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง
samaṁ paśyan hi sarvatra
samavasthitam īśvaram
na hinasty ātmanātmānaṁ
tato yāti parāṁ gatim
สมํ ปศฺยนฺ หิ สรฺวตฺร
สมวสฺถิตมฺ อีศฺวรมฺ
น หินสฺตฺยฺ อาตฺมนาตฺมานํ
ตโต ยาติ ปรำ คติมฺ
สมมฺ — เสมอภาค, ปศฺยนฺ — เห็น, หิ — แน่นอน, สรฺวตฺร — ทุกหนทุกแห่ง, สมวสฺถิตมฺ — สถิตเสมอภาค, อีศฺวรมฺ — อภิวิญญาณ, น — ไม่, หินสฺติ — ตกต่ำ, อาตฺมนา — ด้วยจิต, อาตฺมานมฺ — ดวงวิญญาณ, ตตห์ — จากนั้น, ยาติ — มาถึง, ปรามฺ — ทิพย์, คติมฺ — จุดมุ่งหมาย
คำแปล
ผู้เห็นอภิวิญญาณปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่งอย่างเสมอภาคภายในทุกๆชีวิต ไม่ปล่อยให้จิตของตนทำให้ตัวเองตกลงต่ำ ดังนั้นเขาจึงบรรลุถึงจุดมุ่งหมายทิพย์
คำอธิบาย
จากการยอมรับความเป็นอยู่ทางวัตถุนั้นสิ่งมีชีวิตจึงมาสถิตแตกต่างจากความเป็นอยู่ทิพย์ของตน แต่เมื่อเข้าใจว่าองค์ภควานฺทรงสถิตในรูป ปรมาตฺมา อยู่ทุกหนทุกแห่ง นั่นหมายความว่าหากสามารถเห็นว่าบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงปรากฏอยู่ภายในทุกๆชีวิต เราจะไม่ทำตัวเองให้ตกต่ำด้วยความคิดในการทำลายจากนั้นจะค่อยๆพัฒนาไปสู่โลกทิพย์ โดยทั่วไปจิตใจจะเสพติดอยู่กับวิธีกรรมเพื่อสนองประสาทสัมผัส แต่เมื่อจิตใจหันไปหาองค์อภิวิญญาณเขาจะก้าวหน้าในความเข้าใจวิถีทิพย์
prakṛtyaiva ca karmāṇi
kriyamāṇāni sarvaśaḥ
yaḥ paśyati tathātmānam
akartāraṁ sa paśyati
ปฺรกฺฤไตฺยว จ กรฺมาณิ
กฺริยมาณานิ สรฺวศห์
ยห์ ปศฺยติ ตถาตฺมานมฺ
อกรฺตารํ ส ปศฺยติ
ปฺรกฺฤตฺยา — โดยธรรมชาติวัตถุ, เอว — แน่นอน, จ — เช่นกัน, กรฺมาณิ — กิจกรรม, กฺริยมาณานิ — ปฏิบัติ, สรฺวศห์ — ในทุกๆด้าน, ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, ปศฺยติ — เห็น, ตถา — เช่นกัน, อาตฺมานมฺ — ตัวเขา, อกรฺตารมฺ — ไม่ใช่ผู้ทำ, สห์ — เขา, ปศฺยติ — เห็นโดยสมบูรณ์
คำแปล
ผู้สามารถเห็นว่ากิจกรรมทั้งหลายที่ร่างกายกระทำซึ่งธรรมชาติวัตถุเป็นผู้สร้าง และเห็นว่าตนเองไม่ได้ทำอะไรเลยนั้นเป็นผู้เห็นที่แท้จริง
คำอธิบาย
ร่างกายนี้ถูกสร้างมาจากธรรมชาติวัตถุภายใต้การกำกับของอภิวิญญาณ และกิจกรรมใดๆที่ดำเนินไปเกี่ยวกับร่างกายไม่ใช่เป็นการกระทำของตัวเรา สิ่งที่ทำไม่ว่าจะเพื่อความสุขหรือความทุกข์เราถูกบังคับให้ทำเนื่องมาจากพื้นฐานของร่างกาย อย่างไรก็ดีตัวเราเองอยู่ภายนอกกิจกรรมทั้งหลายเหล่านี้ ร่างกายนี้ได้มาตามความปรารถนาของเราในอดีตเพื่อสนองกับความต้องการเราจึงได้ร่างกายซึ่งแสดงออกไปตามนั้น อันที่จริงร่างกายคือเครื่องจักรที่องค์ภควานฺทรงออกแบบให้เพื่อสนองความต้องการ เนื่องมาจากความต้องการเราจึงถูกจับให้มาอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากเพื่อให้ได้รับความทุกข์หรือความสุข วิสัยทัศน์ทิพย์ของสิ่งมีชีวิตเมื่อพัฒนาขึ้นจะทำให้เราแยกออกมาจากกิจกรรมทางร่างกาย ผู้มีวิสัยทัศน์เช่นนี้เป็นผู้เห็นโดยแท้จริง
yadā bhūta-pṛthag-bhāvam
eka-stham anupaśyati
tata eva ca vistāraṁ
brahma sampadyate tadā
ยทา ภูต-ปฺฤถคฺ-ภาวมฺ
เอก-สฺถมฺ อนุปศฺยติ
ตต เอว จ วิสฺตารํ
พฺรหฺม สมฺปทฺยเต ตทา
ยทา — เมื่อ, ภูต — ของสิ่งมีชีวิต, ปฺฤถกฺ-ภาวมฺ — ลักษณะที่แยกออก, เอก-สฺถมฺ — สถิตเป็นหนึ่ง, อนุปศฺยติ — ผู้พยายามเห็นผ่านทางผู้เชื่อถือได้, ตตห์ เอว — หลังจากนั้น, จ — เช่นกัน, วิสฺตารมฺ — ภาคแบ่งแยก, พฺรหฺม — สมบูรณ์, สมฺปทฺยเต — เขาบรรลุ, ตทา — ในขณะนั้น
คำแปล
เมื่อมนุษย์ผู้มีเหตุผลหยุดการเห็นลักษณะที่แตกต่างกันอันเนื่องมาจากร่างกายที่ไม่เหมือนกัน และเห็นว่าสิ่งมีชีวิตแผ่กระจายไปทุกหนทุกแห่งได้อย่างไร เขาบรรลุถึงแนวคิด พฺรหฺมนฺ
คำอธิบาย
เมื่อเห็นว่าร่างกายต่างๆของสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาได้เนื่องมาจากความต้องการที่แตกต่างกันของปัจเจกวิญญาณ และแท้ที่จริงไม่ใช่เป็นของดวงวิญญาณ เราจะเป็นผู้เห็นที่แท้จริง ในแนวคิดชีวิตทางวัตถุเราพบบางคนเป็นเทวดา บางคนเป็นมนุษย์ เป็นสุนัข เป็นแมว ฯลฯ นี่คือวิสัยทัศน์ทางวัตถุซึ่งไม่ใช่วิสัยทัศน์ที่แท้จริง ความแตกต่างทางวัตถุนี้เนื่องมาจากแนวคิดชีวิตทางวัตถุ หลังจากร่างวัตถุถูกทำลายลงดวงวิญญาณเป็นหนึ่ง เนื่องจากมาสัมผัสกับธรรมชาติวัตถุดวงวิญญาณจึงได้รับร่างกายที่แตกต่างกัน เมื่อเห็นเช่นนี้เขาบรรลุถึงวิสัยทัศน์ทิพย์ เมื่อเป็นอิสระจากความแตกต่าง เช่น มนุษย์สัตว์ สูง ต่ำ ฯลฯ จิตสำนึกของเราบริสุทธิ์ขึ้นและจะพัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึกในบุคลิกทิพย์แห่งตนเอง เขาเห็นสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้อย่างไรนั้นจะอธิบายในโศลกต่อไป
anāditvān nirguṇatvāt
paramātmāyam avyayaḥ
śarīra-stho ’pi kaunteya
na karoti na lipyate
อนาทิตฺวานฺ นิรฺคุณตฺวาตฺ
ปรมาตฺมายมฺ อวฺยยห์
ศรีร-โสฺถ ’ปิ เกานฺเตย
น กโรติ น ลิปฺยเต
อนาทิตฺวาตฺ — เนื่องจากความเป็นอมตะ, นิรฺคุณตฺวาตฺ — เนื่องจากเป็นทิพย์, ปรม — เหนือธรรมชาติวัตถุ, อาตฺมา — ดวงวิญญาณ, อยมฺ — นี้, อวฺยยห์ — ไม่รู้จักหมด, ศรีร-สฺถห์ — อาศัยอยู่ในร่างกาย, อปิ — ถึงแม้ว่า, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, น กโรติ — ไม่เคยทำสิ่งใด, น ลิปฺยเต — ไม่ถูกพันธนาการ
คำแปล
พวกที่มีวิสัยทัศน์แห่งความเป็นอมตะสามารถเห็นว่าดวงวิญญาณที่ไม่มีวันสูญสลาย เป็นทิพย์ เป็นอมตะ และอยู่เหนือระดับต่างๆ ของธรรมชาติ ถึงแม้มาสัมผัสกับร่างวัตถุ โอ้ อรฺชุน ดวงวิญญาณมิได้ทำอะไร และไม่ได้ถูกพันธนาการ
คำอธิบาย
สิ่งมีชีวิตดูเหมือนเกิดเนื่องมาจากการเกิดของร่างวัตถุแต่อันที่จริงสิ่งมีชีวิตเป็นอมตะ ไม่มีการเกิดถึงแม้สถิตในร่างวัตถุ แต่เป็นทิพย์และเป็นอมตะ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตจึงไม่มีวันถูกทำลายโดยธรรมชาติจะเปี่ยมไปด้วยความปลื้มปีติสุข และไม่ปฏิบัติตนเองในกิจกรรมทางวัตถุใดๆทั้งสิ้น ดังนั้นกิจกรรมที่กระทำไปอันเนื่องจากมาสัมผัสกับร่างกายวัตถุจะไม่สามารถพันธนาการตัวเขาได้
yathā sarva-gataṁ saukṣmyād
ākāśaṁ nopalipyate
sarvatrāvasthito dehe
tathātmā nopalipyate
ยถา สรฺว-คตํ เสากฺษฺมฺยาทฺ
อากาศํ โนปลิปฺยเต
สรฺวตฺราวสฺถิโต เทเห
ตถาตฺมา โนปลิปฺยเต
ยถา — เหมือนกับ, สรฺว-คตมฺ — แผ่กระจายไปทั่ว, เสากฺษฺมฺยาตฺ — เนื่องจากความละเอียดอ่อน, อากาศมฺ — ท้องฟ้า, น — ไม่เคย, อุปลิปฺยเต — ผสม, สรฺวตฺร — ทุกหนทุกแห่ง, อวสฺถิตห์ — สถิต, เทเห — ในร่างกาย, ตถา — ดังนั้น, อาตฺมา — ตัวเขา, น — ไม่เคย, อุปลิปฺยเต — ผสม
คำแปล
เนื่องด้วยธรรมชาติที่ละเอียดอ่อนท้องฟ้ามิได้ผสมกับสิ่งใดถึงแม้ว่าจะแผ่กระจายไปทั่ว ในทำนองเดียวกันดวงวิญญาณผู้สถิตในวิสัยทัศน์ พฺรหฺมนฺ ก็มิได้ผสมกับร่างกาย ถึงแม้สถิตในร่างกายนั้น
คำอธิบาย
ลมเข้าไปในน้ำ เข้าไปในดิน ในอุจจาระ และในทุกสิ่งทุกอย่าง ถึงกระนั้นลมก็มิได้ผสมกับสิ่งใด ในทำนองเดียวกันสิ่งมีชีวิตถึงแม้สถิตในร่างกายต่างๆแต่ก็อยู่ห่างจากร่างกายเหล่านี้เนื่องจากธรรมชาติอันละเอียดอ่อน ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นด้วยดวงตาวัตถุว่าสิ่งมีชีวิตมาสัมผัสกับร่างนี้ได้อย่างไร และเราจะออกจากร่างนี้ได้อย่างไรหลังจากร่างนี้ถูกทำลายลง ไม่มีนักวิทยาศาสตร์ผู้ใดสามารถยืนยันเรื่องนี้ได้
yathā prakāśayaty ekaḥ
kṛtsnaṁ lokam imaṁ raviḥ
kṣetraṁ kṣetrī tathā kṛtsnaṁ
prakāśayati bhārata
ยถา ปฺรกาศยตฺยฺ เอกห์
กฺฤตฺสฺนํ โลกมฺ อิมํ รวิห์
กฺเษตฺรํ เกฺษตฺรี ตถา กฺฤตฺสฺนํ
ปฺรกาศยติ ภารต
ยถา — เหมือน, ปฺรกาศยติ — ส่องแสง, เอกห์ — หนึ่ง, กฺฤตฺสฺนมฺ — ทั้งหมด, โลกมฺ — จักรวาล, อิมมฺ — นี้, รวิห์ — ดวงอาทิตย์, กฺเษตฺรมฺ — ร่างกายนี้, กฺเษตฺรี — ดวงวิญญาณ, ตถา — ในทำนองเดียวกัน, กฺฤตฺสฺนมฺ — ทั้งหมด, ปฺรกาศยติ — ส่องแสง, ภารต — โอ้ โอรสแห่ง ภรต
คำแปล
โอ้ โอรสแห่ง ภรต ดังเช่นดวงอาทิตย์ดวงเดียวส่องแสงสว่างไปทั่วทั้งจักรวาลนี้ สิ่งมีชีวิตภายในร่างกายก็เช่นเดียวกัน แผ่กระจายไปทั่วร่างกายด้วยจิตสำนึก
คำอธิบาย
มีทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับจิตสำนึก ใน ภควัท-คีตา ได้ให้ตัวอย่างดวงอาทิตย์และแสงอาทิตย์ เสมือนดังดวงอาทิตย์สถิต ณ ที่นี้แต่ส่องแสงไปทั่วทั้งจักรวาล ละอองเล็กๆของดวงวิญญาณก็เช่นเดียวกันถึงแม้สถิตในหัวใจของร่างกายนี้แต่ส่องแสงไปทั่วร่างกายด้วยจิตสำนึก ฉะนั้นจิตสำนึกคือข้อพิสูจน์การปรากฏของดวงวิญญาณ เช่นเดียวกับรัศมีหรือแสงอาทิตย์ พิสูจน์ให้เห็นถึงการปรากฏของดวงอาทิตย์เนื่องจากดวงวิญญาณอยู่ในร่างจึงทำให้มีจิตสำนึกไปทั่วร่างกาย ทันทีที่ดวงวิญญาณออกจากร่างจะไม่มีจิตสำนึกอีกต่อไป ผู้ใดมีปัญญาจะสามารถเข้าใจประเด็นนี้ได้โดยง่าย ฉะนั้นจิตสำนึกไม่ใช่ผลผลิตจากการมารวมตัวกันของวัตถุแต่เป็นลักษณะอาการของสิ่งมีชีวิตจิตสำนึกของสิ่งมีชีวิต ถึงแม้ว่ามีคุณสมบัติเป็นหนึ่งเดียวกันกับจิตสำนึกสูงสุดตัวเขาไม่ใช่จิตสำนึกสูงสุด เพราะว่าจิตสำนึกของร่างหนึ่งโดยเฉพาะไม่ได้แบ่งความรู้สึกไปให้อีกร่างหนึ่ง แต่องค์อภิวิญญาณผู้สถิตในทุกๆร่างในฐานะที่เป็นสหายของปัจเจกวิญญาณมีจิตสำนึกของทุกๆร่าง นั่นคือข้อแตกต่างระหว่างจิตสำนึกสูงสุดและปัจเจกจิตสำนึก
kṣetra-kṣetrajñayor evam
antaraṁ jñāna-cakṣuṣā
bhūta-prakṛti-mokṣaṁ ca
ye vidur yānti te param
กฺเษตฺร-กฺเษตฺรชฺญโยรฺ เอวมฺ
อนฺตรํ ชฺญาน-จกฺษุษา
ภูต-ปฺรกฺฤติ-โมกฺษํ จ
เย วิทุรฺ ยานฺติ เต ปรมฺ
กฺเษตฺร — ของร่างกาย, กฺเษตฺร-ชฺญโยห์ — ของเจ้าของร่างกาย, เอวมฺ — ดังนั้น, อนฺตรมฺ — แตกต่าง, ชฺญาน-จกฺษุษา — ด้วยวิสัยทัศน์แห่งความรู้, ภูต — ของสิ่งมีชีวิต, ปฺรกฺฤติ — จากธรรมชาติวัตถุ, โมกฺษมฺ — ความหลุดพ้น, จ — เช่นกัน, เย — พวกซึ่ง, วิทุห์ — รู้, ยานฺติ — เข้าพบ, เต — พวกเขา, ปรมฺ — องค์ภควาน
คำแปล
พวกที่เห็นด้วยดวงตาแห่งความรู้ถึงข้อแตกต่างระหว่างร่างกาย และผู้รู้ร่างกาย และยังสามารถเข้าใจวิธีกรรมแห่งความหลุดพ้นจากพันธนาการในธรรมชาติวัตถุ บรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุด
คำอธิบาย
คำอธิบายของบทที่สิบสามนี้คือ เราควรรู้ข้อแตกต่างระหว่างร่างกาย เจ้าของร่างกาย และองค์อภิวิญญาณ เราควรรู้วิธีการเพื่อความหลุดพ้น ดังที่ได้อธิบายไว้ในโศลกแปดถึงโศลกสิบสองจากนั้นเราจะสามารถไปถึงจุดมุ่งหมายสูงสุด
บุคคลผู้มีความศรัทธานั้นก่อนอื่นควรคบหากัลยาณมิตรเพื่อสดับฟังเกี่ยวกับองค์ภควานฺและค่อยๆได้รับแสงสว่าง หากยอมรับพระอาจารย์ทิพย์เราจะเรียนรู้ข้อแตกต่างระหว่างวัตถุและดวงวิญญาณ และความรู้นี้จะกลายมาเป็นขั้นบันไดเพื่อความรู้แจ้งทิพย์ต่อไป คำสั่งสอนมากมายจากพระอาจารย์ทิพย์เพื่อให้เราเป็นอิสระจากแนวคิดชีวิตทางวัตถุ ตัวอย่างเช่นใน ภควัท-คีตา เราพบว่าองค์กฺฤษฺณทรงสั่งสอน อรฺชุน ให้เป็นอิสระจากการพิจารณาทางวัตถุ
เราสามารถเข้าใจว่าร่างกายนี้เป็นวัตถุซึ่งวิเคราะห์ได้ว่ามียี่สิบสี่ธาตุ ร่างกายเป็นปรากฏการณ์ที่หยาบ ปรากฏการณ์ที่ละเอียดคือจิตใจ และผลกระทบทางจิตวิทยาลักษณะอาการของชีวิตคือผลกระทบซึ่งกันและกันของปัจจัยเหล่านี้ แต่เหนือไปจากนี้มีดวงวิญญาณและยังมีอภิวิญญาณ ดวงวิญญาณ และอภิวิญญาณเป็นสอง โลกวัตถุนี้ทำงานด้วยการร่วมกันของดวงวิญญาณและธาตุวัตถุทั้งยี่สิบสี่ ผู้ที่สามารถเห็นหลักพื้นฐานของปรากฏการณ์ทางวัตถุทั้งหมดว่าเป็นการรวมกันของดวงวิญญาณและธาตุวัตถุ และยังสามารถเห็นสถานภาพของดวงวิญญาณสูงสุดได้กลายมาเป็นผู้มีสิทธิ์เพื่อโอนย้ายไปสู่โลกทิพย์ สิ่งเหล่านี้มีไว้เพื่อการเพ่งพิจารณาดูเพื่อความรู้แจ้ง และเราควรเข้าใจบทนี้โดยสมบูรณ์ด้วยการช่วยเหลือจากพระอาจารย์ทิพย์
ดังนั้นได้จบคำอธิบายโดย ภักดีเวดานตะ บทที่สิบสามของหนังสือ ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา ในหัวข้อเรื่อง ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก