ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ หนึ่ง

สำรวจกองทัพที่สมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร

SIMPLE

โศลก 1

dhṛtarāṣṭra uvāca
dharma-kṣetre kuru-kṣetre
samavetā yuyutsavaḥ
māmakāḥ pāṇḍavāś caiva
kim akurvata sañjaya
ธฺฤตราษฺฏฺร อุวาจ
ธรฺม-กฺเษเตฺร กุรุ-กฺเษเตฺร
สมเวตา ยุยุตฺสวห์
มามกาห์ ปาณฺฑวาศฺ ไจว
กิมฺ อกุรฺวต สญฺชย
ธฺฤตราษฺฏฺรห์ อุวาจ — กษัตริย์ ธฺฤตราษฺฏฺร ตรัส, ธรฺม-กฺเษเตฺร — ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์, กุรุ-กฺเษเตฺร — ชื่อ กุรุกฺเษตฺร, สมเวตาห์ — มาชุมนุมกัน, ยุยุตฺสวห์ — ปรารถนาจะสู้รบ, มามกาห์ — ฝ่ายของข้า (เหล่าโอรส), ปาณฺฑวาห์ — โอรสของ ปาณฺฑุ, — และ, เอว — แน่นอน, กิมฺ — อะไร, อกุรฺวต — พวกเขาได้ทำ, สญฺชย — โอ้ สญฺชย

คำแปล

ธฺฤตราษฺฏฺร ตรัสว่า โอ้ สญฺชย หลังจากบรรดาโอรสของข้า และโอรสของ ปาณฺฑุ มาชุมนุมกันยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง กุรุกฺเษตฺร มีความปรารถนาจะสู้รบ พวกเขาทำอะไรกัน

คำอธิบาย

ภควัท-คีตา ศาสตร์แห่งองค์ภควานฺที่สรุปใน คีตา-มาหาตฺมฺย (คำสรรเสริญ ภควัท-คีตา) ที่ได้อ่านกันอย่างแพร่หลายกล่าวไว้ว่าเราควรอ่าน ภควัท-คีตา อย่างละเอียดถี่ถ้วนพร้อมกับการช่วยเหลือจากสาวกของศฺรีกฺฤษฺณ และพยายามเข้าใจโดยปราศจากการตีความจากแรงจูงใจส่วนตัว ตัวอย่างของการทำความเข้าใจอย่างชัดเจนนั้นมีการอธิบายอยู่ใน ภควัท-คีตา เป็นการสอนแบบที่เข้าใจโดย อรฺชุน ซึ่งท่านได้ยิน คีตา จากองค์ภควานฺโดยตรง หากผู้ใดโชคดีพอที่มาเข้าใจ ภควัท-คีตา ตามสาย ปรมฺปรา โดยไม่มีการตีความจากแรงจูงใจของตนเองจะบรรลุถึงการศึกษาปรัชญาพระเวทและพระคัมภีร์ทั้งหมดในโลก ใน ภควัท-คีตา เราจะพบทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในพระคัมภีร์เล่มอื่นๆ ผู้อ่านจะพบสิ่งที่หาจากที่อื่นไม่ได้และนี่คือมาตรฐานโดยเฉพาะของ ภควัท-คีตา ภควัท-คีตา เป็นศาสตร์แห่งองค์ภควานฺที่สมบูรณ์ซึ่งบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าศฺรีกฺฤษฺณทรงเป็นผู้ตรัสโดยตรง

ประเด็นที่สนทนากันระหว่าง ธฺฤตราษฺฏฺร และ สญฺชย ดังที่อธิบายไว้ใน มหาภารต เป็นหลักพื้นฐานแห่งปรัชญาอันยิ่งใหญ่ เป็นที่เข้าใจกันว่าปรัชญานี้เกิดขึ้นที่สมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของนักบุญตั้งแต่ยุคพระเวทโบราณ องค์ภควานฺทรงตรัสในขณะที่ทรงเสด็จลงมาบนโลกนี้ด้วยพระองค์เองเพื่อนำทางมนุษยชาติ

คำว่า ธรฺม-กฺเษตฺร (สถานที่สำหรับทำพิธีกรรมทางศาสนา) มีความสำคัญเพราะว่าที่สมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงปรากฏอยู่ฝ่ายของ อรฺชุน ธฺฤตราษฺฏฺร พระบิดาแห่งราชวงศ์ กุรุ ทรงสงสัยถึงชัยชนะตอนท้ายสุดของโอรสของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง ด้วยความสงสัยนี้จึงตรัสถามเลขา สญฺชย ว่า “พวกเขาทำอะไรกัน” พระองค์ทรงมั่นใจว่าโอรสของพระองค์และโอรสของพระอนุชา ปาณฺฑุ ได้ไปชุมนุมกันที่สมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร ด้วยความมั่นใจในการที่จะร่วมทำศึกสงคราม แต่คำถามนี้สำคัญเพราะพระองค์ทรงไม่ปรารถนาให้ญาติพี่น้องทั้งสองฝ่ายประนีประนอมกัน ทรงประสงค์ที่จะทราบชะตากรรมของเหล่าโอรสอย่างชัดเจนในสนามรบเพราะสงครามนี้ได้มีการเตรียมการให้เกิดขึ้นที่สมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร ซึ่งเป็นที่ที่คัมภีร์พระเวทได้กล่าวว่าเป็นสถานที่สักการะบูชาของเหล่าเทวดาบนสรวงสวรรค์ ธฺฤตราษฺฏฺร ทรงรู้สึกกลัวมากเกี่ยวกับอิทธิพลของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในสมรภูมิ ทรงทราบดีว่าเรื่องนี้จะมีอิทธิพลที่จะช่วยให้ อรฺชุน และบรรดาบุตรของ ปาณฺฑุ ไปในทิศทางบวก เนื่องจากทุกพระองค์ในราชวงค์ปาณฺฑุ ทรงมีคุณธรรมโดยธรรมชาติ สญฺชย เป็นศิษย์ของ วฺยาส ดังนั้นด้วยพระเมตตาของ วฺยาส สญฺชย จึงสามารถมองเห็นสมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร ได้ แม้ขณะที่นั่งอยู่ในห้องของ ธฺฤตราษฺฏฺร ธฺฤตราษฺฏฺร จึงทรงถาม สญฺชย เกี่ยวกับสถานการณ์ที่สนามรบ

ทั้งบรรดา ปาณฺฑว และบรรดาโอรสของ ธฺฤตราษฺฏฺร ทรงอยู่ในราชวงศ์เดียวกันแต่จิตใจของ ธฺฤตราษฺฏฺร ได้ถูกเปิดเผยในนี้ว่าทรงตั้งใจเพียงที่จะอ้างสิทธิ์เหล่าโอรสของพระองค์ว่าเป็น กุรุ เท่านั้น และตัดพวกโอรสของ ปาณฺฑุ ให้ออกจากกองมรดกแห่งราชวงศ์ เราจึงเข้าใจได้ว่าสถานภาพอันแท้จริงของ ธฺฤตราษฺฏฺร เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับโอรสของ ปาณฺฑุ ซึ่งเป็นหลานของพระองค์นั้นเสมือนหนึ่งในทุ่งนาที่วัชพืชต้องถูกกำจัด ดังนั้นจึงเป็นที่คาดหวังตั้งแต่ตอนเริ่มต้นแล้วว่า ศาสนสถานแห่ง กุรุกฺเษตฺร ที่พระบิดาแห่งศาสนาศฺรีกฺฤษฺณทรงปรากฏ ทุโรฺยธน และพรรคพวกเปรียบเสมือนวัชพืชที่จะต้องถูกกำจัดทั้งหมด และผู้ทรงธรรมซึ่งนำโดย ยุธิษฺฐิร จะได้รับการสถาปนาโดยองค์ภควานฺ และนี่คือความสำคัญของคำว่า ธรฺม-กฺเษเตฺร และ กุรุ-กฺเษเตฺร ที่นอกเหนือไปจากความสำคัญทางประวัติศาสตร์และคัมภีร์พระเวท

โศลก 2

sañjaya uvāca
dṛṣṭvā tu pāṇḍavānīkaṁ
vyūḍhaṁ duryodhanas tadā
ācāryam upasaṅgamya
rājā vacanam abravīt
สญฺชย อุวาจ
ทฺฤษฺฏฺวา ตุ ปาณฺฑวานีกํ
วฺยูฒํ ทุโรฺยธนสฺ ตทา
อาจารฺยมฺ อุปสงฺคมฺย
ราชา วจนมฺ อพฺรวีตฺ
สญฺชยห์ อุวาจสญฺชย กล่าว, ทฺฤษฺฏฺวา — หลังจากได้เห็น, ตุ — แต่, ปาณฺฑว-อนีกมฺ — เหล่าทหารของ ปาณฺฑว, วฺยูฒมฺ — จัดทัพเป็นทิวแถว, ทุโรฺยธนห์ — กษัตริย์ ทุโรฺยธน, ตทา — ในเวลานั้น, อาจารฺยมฺ — พระอาจารย์, อุปสงฺคมฺย — เข้าพบ, ราชา — กษัตริย์, วจนมฺ — คำพูด, อพฺรวีตฺ — พูด

คำแปล

สญฺชย กล่าวว่า โอ้ กษัตริย์ หลังจากมองไปที่การจัดทัพของเหล่าโอรสของ ปาณฺฑุ กษัตริย์ ทุโรฺยธน ทรงไปหาพระอาจารย์และตรัสดังต่อไปนี้

คำอธิบาย

ธฺฤตราษฺฏฺร ทรงมีพระเนตรบอดตั้งแต่กำเนิดและทรงมีความอับโชคที่ทรงไร้จักษุทิพย์ด้วย พระองค์ทรงทราบดีว่าโอรสของพระองค์มีพระเนตรบอดในทางศาสนาพอๆกัน และแน่ใจว่าฝ่ายของพระองค์จะไม่มีวันตกลงกับ ปาณฺฑว ผู้ทรงคุณธรรมแต่กำเนิดได้ แต่ว่า ธฺฤตราษฺฏฺร ทรงหวั่นใจเกี่ยวกับอิทธิพลของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และ สญฺชย เข้าใจแนวความคิดนี้เมื่อพระองค์ทรงตรัสถามถึงสภาวะที่สนามรบ ดังนั้น สญฺชย ปราถนาที่จะบำรุงขวัญ กฺษตฺริย ที่กำลังเสียกำลังใจ เพื่อให้ความมั่นใจว่าเหล่าโอรสของพระองค์จะทรงไม่ประนีประนอม เนื่องจากอิทธิพลของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สญฺชย ได้บอกแก่ กฺษตฺริย ว่าหลังจากได้เห็นกำลังทหารของ ปาณฺฑว แล้วโอรสของพระองค์ทุโรฺยธน ทรงไปพบกับขุนพล โทฺรณาจารฺย ทันทีเพื่อบอกถึงสถานการณ์ที่แท้จริง แม้ ทุโรฺยธน ทรงเป็น กฺษตฺริย แต่ยังต้องไปปรึกษาแม่ทัพเนื่องจากสถานการณ์อันตึงเครียด ดังนั้น ทุโรฺยธน ทรงเหมาะที่เป็นนักการเมือง แต่ลีลานักการเมืองของ ทุโรฺยธน ไม่สามารถซ่อนเร้นความกลัวไว้ได้เมื่อเขาได้เห็นการจัดกองทัพของ ปาณฺฑว

โศลก 3

paśyaitāṁ pāṇḍu-putrānām
ācārya mahatīṁ camūm
vyūḍhāṁ drupada-putreṇa
tava śiṣyeṇa dhīmatā
ปไศฺยตำ ปาณฺฑุ-ปุตฺรานามฺ
อาจารฺย มหตีํ จมูมฺ
วฺยูฒำ ทฺรุปท-ปุเตฺรณ
ตว ศิเษฺยณ ธีมตา
ปศฺย — จงดู, เอตามฺ — นี้, ปาณฺฑุ-ปุตฺรานามฺ — เหล่าโอรสของ ปาณฺฑุ, อาจารฺย — โอ้ พระอาจารย์, มหตีมฺ — ยิ่งใหญ่, จมูมฺ — กำลังทหาร, วฺยูฒามฺ — จัด, ทฺรุปท-ปุเตฺรณ — โดยโอรสของ ทฺรุปท, ตว — ของท่าน, ศิเษฺยณ — ศิษย์, ธี-มตา — ฉลาดมาก

คำแปล

โอ้ พระอาจารย์ โปรดดูกองทัพอันยิ่งใหญ่ของเหล่าโอรส ปาณฺฑุ ที่จัดขึ้นด้วยความชำนาญโดยโอรสของ ทฺรุปท ศิษย์ผู้ชาญฉลาดของท่าน

คำอธิบาย

ทุโรฺยธน นักการฑูตผู้ยอดเยี่ยมทรงปรารถนาที่จะชี้ให้เห็นถึงข้อผิดพลาดของ โทฺรณาจารฺย ผู้เป็นแม่ทัพ พฺราหฺมณ โทฺรณาจารฺย มีข้อวิวาททางการเมืองกับ กฺษตฺริย ทฺรุปท พระบิดาของ เทฺราปที ผู้เป็นภรรยาของ อรฺชุน ผลแห่งการทะเลาะวิวาทกันนี้ ทฺรุปท ได้ประกอบพิธีบูชาที่ยิ่งใหญ่ และได้รับพรให้มีบุตรผู้สามารถสังหาร โทฺรณาจารฺย โทฺรณาจารฺย ทราบเรื่องนี้เป็นอย่างดี ในฐานะที่เป็น พฺราหฺมณ ผู้หลุดพ้นแล้วจึงไม่หวงที่จะถ่ายทอดความลับทางวิชาทหารแด่ ธฺฤษฺฏทฺยุมฺน โอรสของ ทฺรุปท เมื่อมาเป็นศิษย์เพื่อศึกษาวิชาทหาร มาบัดนี้ สมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร ธฺฤษฺฏทฺยุมฺน มาอยู่ฝ่ายของ ปาณฺฑว และเป็นผู้จัดทัพ หลังจากที่ได้ศึกษาศิลปะจาก โทฺรณาจารฺย ทุโรฺยธน ทรงชี้ให้เห็นถึงข้อผิดพลาดของ โทฺรณาจารฺย ก็เพื่อให้ท่านระมัดระวัง และไม่ประนีประนอมในการต่อสู้ การกระทำเช่นนี้ต้องการแสดงให้เห็นด้วยว่าท่านไม่ควรอ่อนข้อในการสู้รบที่สมรภูมิให้กับ ปาณฺฑว ผู้เป็นศิษย์รักโดยเฉพาะ อรฺชุน ศิษย์คนโปรดและฉลาดที่สุด ทุโรฺยธน ทรงต้องการเตือนว่าการอ่อนข้อในการสู้รบครั้งนี้จะนำมาซึ่งความพ่ายแพ้

โศลก 4

atra śūrā maheṣv-āsā
bhīmārjuna-samā yudhi
yuyudhāno virāṭaś ca
drupadaś ca mahā-rathaḥ
อตฺร ศูรา มเหษฺวฺ-อาสา
ภีมารฺชุน-สมา ยุธิ
ยุยุธาโน วิราฏศฺ จ
ทฺรุปทศฺ จ มหา-รถห์
อตฺร — ที่นี่, ศูราห์ — วีรบุรุษ, มหา-อิษุ-อาสาห์ — นักยิงธนูผู้ยอดเยี่ยม, ภีม-อรฺชุน — ให้ ภีม และ อรฺชุน, สมาห์ — เท่ากัน, ยุธิ — ในการรบ, ยุยุธานห์ยุยุธาน, วิราฏห์วิราฏ, — เช่นกัน, ทฺรุปทห์ทฺรุปท, — เช่นกัน, มหา-รถห์ — ยอดนักรบ

คำแปล

ในกองทัพนี้มีวีรีบุรุษนักแม่นธนูมากมายที่ฝีมือพอๆกับ ภีม และ อรฺชุน นักรบผู้กล้าหาญเหล่านี้ เช่น ยุยุธาน วิราฏ และ ทฺรุปท

คำอธิบาย

ถึงแม้ว่า ธฺฤษฺฏทฺยุมฺน จะไม่ได้ทรงเป็นสิ่งกีดขวางที่สำคัญเมื่อเผชิญหน้ากับ โทฺรณาจารฺย ผู้มีพลังมหาศาลในศิลปะการทหาร แต่ยังมีผู้ที่น่ากลัวอื่นๆอีกหลายคน ทุโรฺยธน ทรงกล่าวว่าเป็นอุปสรรคอันยิ่งใหญ่บนหนทางแห่งชัยชนะเพราะว่าทุกคนที่กล่าวมาไม่เคยแพ้เช่นเดียวกับ ภีม และ อรฺชุน ทุโรฺยธน ทรงรู้ถึงพลังของ ภีม และ อรฺชุน ดังนั้นจึงทรงนำผู้อื่นไปเปรียบเทียบกับ ภีม และ อรฺชุน

โศลก 5

dhṛṣṭaketuś cekitānaḥ
kāśirājaś ca vīryavān
purujit kuntibhojaś ca
śaibyaś ca nara-puṅgavaḥ
ธฺฤษฺฏเกตุศฺ เจกิตานห์
กาศิราชศฺ จ วีรฺยวานฺ
ปุรุชิตฺ กุนฺติโภชศฺ จ
ไศพฺยศฺ จ นร-ปุงฺควห์
ธฺฤษฺฏเกตุห์ธฺฤษฺฏเกตุ, เจกิตานห์เจกิตาน, กาศิราชห์กาศิราช, — เช่นกัน, วีรฺย-วานฺ — มีพลังมาก, ปุรุชิตฺปุรุชิตฺ, กุนฺติโภชห์กุนฺติโภช, — และ, ไศพฺยห์ไศพฺย, — และ, นร-ปุงฺควห์ — วีรบุรุษในสังคมมนุษย์

คำแปล

ยังมีวีรบุรุษยอดนักรบผู้ทรงพลังอีก เช่น ธฺฤษฺฏเกตุ เจกิตาน กาศิราช ปุรุชิตฺ กุนฺติโภช และ ไศพฺย

โศลก 6

yudhāmanyuś ca vikrānta
uttamaujāś ca vīryavān
saubhadro draupadeyāś ca
sarva eva mahā-rathāḥ
ยุธามนฺยุศฺ จ วิกฺรานฺต
อุตฺตเมาชาศฺ จ วีรฺยวานฺ
เสาภโทฺร เทฺราปเทยาศฺ จ
สรฺว เอว มหา-รถาห์
ยุธามนฺยุห์ยุธามนฺยุ, — และ, วิกฺรานฺตห์ — ยอดเยี่ยม, อุตฺตเมาชาห์อุตฺตเมาชา, — และ, วีรฺย-วานฺ — มีพลังมาก, เสาภทฺรห์ — บุตรของ สุภทฺรา, เทฺราปเทยาห์ — บุตรของ เทฺราปที, — และ, สเรฺว — ทั้งหมด, เอว — แน่นอน, มหา-รถาห์ — ยอดนักรบบนราชรถ

คำแปล

มี ยุธามนฺยุ ผู้ยอดเยี่ยม มี อุตฺตเมาชา ผู้ทรงพลังมาก มีเหล่าโอรสของ สุภทฺรา และเหล่าโอรสของ เทฺราปที ขุนศึกเหล่านี้เป็นนักรบบนราชรถที่ยอดเยี่ยม

โศลก 7

asmākaṁ tu viśiṣṭā ye
tān nibodha dvijottama
nāyakā mama sainyasya
saṁjñārthaṁ tān bravīmi te
อสฺมากํ ตุ วิศิษฺฏา เย
ตานฺ นิโพธ ทฺวิโชตฺตม
นายกา มม ไสนฺยสฺย
สํชฺญารฺถํ ตานฺ พฺรวีมิ เต
อสฺมากมฺ — ของเรา, ตุ — แต่, วิศิษฺฏาห์ — พลังมากเป็นพิเศษ, เย — ใคร, ตานฺ — เขาเหล่านั้น, นิโพธ — ได้โปรดทราบ, ทฺวิช-อุตฺตม — โอ้ พราหมณ์ผู้ดีเลิศ, พฺราหฺมณสฺ, นายกาห์ — ผู้นำทัพ, มม — ของข้า, ไสนฺยสฺย — ของเหล่าทหาร, สํชฺญา-อรฺถมฺ — เพื่อข้อมูล, ตานฺ — เขาเหล่านั้น, พฺรวีมิ — ข้ากำลังพูด, เต — แด่ท่าน

คำแปล

แต่เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ท่าน โอ้ ผู้ดีเลิศในหมู่ พฺราหฺมณ ขอให้ข้าได้บอกท่านเกี่ยวกับเหล่าผู้นำกองทัพ ผู้ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษในการนำกองทัพของข้า

โศลก 8

bhavān bhīṣmaś ca karṇaś ca
kṛpaś ca samitiṁ-jayaḥ
aśvatthāmā vikarṇaś ca
saumadattis tathaiva ca
ภวานฺ ภีษฺมศฺ จ กรฺณศฺ จ
กฺฤปศฺ จ สมิตึ-ชยห์
อศฺวตฺถามา วิกรฺณศฺ จ
เสามทตฺติสฺ ตไถว จ
ภวานฺ — ตัวท่านผู้เป็นคนดี, ภีษฺมห์ — พระอัยกา ภีษฺม, — เช่นเดียวกัน, กรฺณห์กรฺณ, — และ, กฺฤปห์กฺฤป, — และ, สมิติมฺ-ชยห์ — มีชัยชนะในสนามรบเสมอ, อศฺวตฺถามาอศฺวตฺถามา, วิกรฺณห์วิกรฺณ, — พร้อมทั้ง, เสามทตฺติห์ — บุตรของ โสมทตฺต, ตถา — พร้อมทั้ง, เอว — แน่นอน, — เช่นกัน

คำแปล

มีบุคลิกภาพเช่น ภีษฺม กรฺณ กฺฤป อศฺวตฺถามา วิกรฺณ และโอรสของ โสมทตฺต ชื่อ ภูริศฺรวา ผู้ซึ่งมักจะมีชัยชนะในสนามรบเสมอ

คำอธิบาย

ทุโรฺยธน ทรงกล่าวถึงวีรบุรุษพิเศษในสนามรบว่าทั้งหมดเป็นผู้มีชัยชนะเสมอ วิกรฺณ ทรงเป็นพระอนุชาของ ทุโรฺยธน อศฺวตฺถามา เป็นบุตรของ โทฺรณาจารฺย เสามทตฺติ หรือ ภูริศฺรวา ทรงเป็นโอรสของ กฺษตฺริย แห่ง พาหฺลีก กรฺณ ทรงเป็นพระเชษฐาของ อรฺชุน เพราะ กรฺณ เป็นโอรสของพระนาง กุนฺตี ก่อนที่นางจะมาสมรสกับ กฺษตฺริย ปาณฺฑุ น้องสาวคู่แฝดของ กฺฤปาจารฺย แต่งงานกับ โทฺรณาจารฺย

โศลก 9

anye ca bahavaḥ śūrā
mad-arthe tyakta-jīvitāḥ
nānā-śastra-praharaṇāḥ
sarve yuddha-viśāradāḥ
อเนฺย จ พหวห์ ศูรา
มทฺ-อรฺเถ ตฺยกฺต-ชีวิตาห์
นานา-ศสฺตฺร-ปฺรหรณาห์
สเรฺว ยุทฺธ-วิศารทาห์
อเนฺย — คนอื่น, — ด้วยเหมือนกัน, พหวห์ — ในจำนวนมาก, ศูราห์ — วีรบุรุษ, มตฺ-อรฺเถ — เพื่อตัวข้า, ตฺยกฺต-ชีวิตาห์ — พร้อมที่จะเสี่ยงชีวิต, นานา — มากมาย, ศสฺตฺร — อาวุธ, ปฺรหรณาห์ — พร้อมด้วย, สเรฺว — ทั้งหมด, ยุทฺธ-วิศารทาห์ — มีประสบการณ์ในศาสตร์ทางทหาร

คำแปล

มีวีรบุรุษคนอื่นๆอีกมากที่พร้อมจะถวายชีวิตเพื่อข้า ทุกคนเพียบพร้อมไปด้วยอาวุธนานาชนิด และต่างล้วนเป็นผู้มีประสบการณ์ในยุทธศาสตร์ทั้งสิ้น

คำอธิบาย

สำหรับผู้อื่นเช่น ชยทฺรถ กฺฤตวรฺมา และ ศลฺย มีความมั่นใจที่จะถวายชีวิตเพื่อ ทุโรฺยธน กันทั้งสิ้น จึงสรุปเรียบร้อยแล้วว่าทั้งหมดจะเสียชีวิตในสมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร เพราะไปร่วมมือกับฝ่ายอธรรม ทุโรฺยธน แน่นอนว่า ทุโรฺยธน ทรงมีความมั่นใจในชัยชนะของตนเพราะสามารถรวบรวมกำลังของพันธมิตรดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

โศลก 10

aparyāptaṁ tad asmākaṁ
balaṁ bhīṣmābhirakṣitam
paryāptaṁ tv idam eteṣāṁ
balaṁ bhīmābhirakṣitam
อปรฺยาปฺตํ ตทฺ อสฺมากํ
พลํ ภีษฺมาภิรกฺษิตมฺ
ปรฺยาปฺตํ ตฺวฺ อิทมฺ เอเตษำ
พลํ ภีมาภิรกฺษิตมฺ
อปรฺยาปฺตมฺ — วัดไม่ได้, ตตฺ — นั้น, อสฺมากมฺ — ของพวกเรา, พลมฺ — กำลัง, ภีษฺม — โดยพระอัยกา ภีษฺม, อภิรกฺษิตมฺ — ป้องกันอย่างดี, ปรฺยาปฺตมฺ — จำกัด, ตุ — แต่, อิทมฺ — ทั้งหมดนี้, เอเตษามฺ — ของ ปาณฺฑว, พลมฺ — กำลัง, ภีม — โดย ภีม, อภิรกฺษิตมฺ — ปกป้องอย่างระมัดระวัง

คำแปล

กำลังของพวกเรานั้นมหาศาลเกินกว่าจะวัดได้ และพระอัยกา ภีษฺม ทรงปกป้องเราอย่างดี แต่กำลังของ ปาณฺฑว ที่มี ภีม ปกป้องด้วยความระมัดระวังนั้นมีอย่างจำกัด

คำอธิบาย

ที่นี้ ทุโรฺยธน ทรงประเมินเปรียบเทียบกำลัง เขาคิดว่ากำลังกองทัพของตนนั้นยิ่งใหญ่มหาศาลเกินกว่าจะวัดได้ การที่ได้รับการปกป้องเป็นพิเศษจากขุนพลผู้มีประสบการณ์สูงคือพระอัยกา ภีษฺม ส่วนฝ่ายตรงข้ามกำลังของ ปาณฺฑว นั้นมีจำกัด จากการที่จะถูกปกป้องโดยขุนพลผู้ด้อยประสบการณ์คือ ภีม ผู้ทรงไม่คู่ควรเมื่ออยู่ต่อหน้า ภีษฺม ทุโรฺยธน ทรงมีความอิจฉา ภีม ตลอดเวลาเพราะรู้ดีว่าหากตัวเองจะตายก็ด้วยฝีมือของ ภีม แต่ในขณะเดียวกันก็มีความมั่นใจในชัยชนะเพราะมีพระอัยกา ภีษฺม ผู้ที่มีขุนพลที่เหนือกว่าอยู่ฝ่ายตน ทุโรฺยธน ทรงสรุปว่าในที่สุดตนเองจะออกจากสมรภูมิด้วยชัยชนะอย่างแน่นอน

โศลก 11

ayaneṣu ca sarveṣu
yathā-bhāgam avasthitāḥ
bhīṣmam evābhirakṣantu
bhavantaḥ sarva eva hi
อยเนษุ จ สเรฺวษุ
ยถา-ภาคมฺ อวสฺถิตาห์
ภีษฺมมฺ เอวาภิรกฺษนฺตุ
ภวนฺตห์ สรฺว เอว หิ
อยเนษุ — ในจุดยุทธศาสตร์, — เช่นกัน, สเรฺวษุ — ทุกหนทุกแห่ง, ยถา-ภาคมฺ — จัดทัพแตกต่างกัน, อวสฺถิตาห์ — สถิต, ภีษฺมมฺ — แด่พระอัยกา ภีษฺม, เอว — แน่นอน, อภิรกฺษนฺตุ — ควรให้การสนับสนุน, ภวนฺตห์ — ท่าน, สเรฺว — ตามลำดับทั้งหมด, เอว หิ — แน่นอน

คำแปล

บัดนี้พวกท่านทั้งหลายต้องช่วยให้การสนับสนุนพระอัยกา ภีษฺม อย่างเต็มที่ โดยให้พวกท่านอยู่ในตำแหน่งจุดยุทธศาสตร์ของทางเข้าที่จะไปสู่กองทัพ

คำอธิบาย

หลังจากสรรเสริญพลังอำนาจของ ภีษฺม แล้ว ทุโรฺยธน ทรงพิจารณาว่านักรบคนอื่นๆอาจคิดว่าตนเองมีความสำคัญน้อยจึงตรัสแบบนักการทูตเพื่อปรับสถานการณ์ด้วยคำพูดที่กล่าวมาแล้ว โดยเน้นว่า ภีษฺมเทว ทรงเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างไม่มีข้อสงสัย แต่ว่าทรงมีอายุมากแล้ว ฉะนั้นทุกคนต้องตระหนักเป็นพิเศษที่จะปกป้องท่านจากรอบด้าน ขณะที่สู้รบกันอย่างเต็มที่อยู่ด้านหนึ่งศัตรูอาจจะฉวยโอกาสจากด้านอื่น เรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ คือ วีรบุรุษท่านอื่นๆไม่ควรออกห่างจากตำแหน่งยุทธศาสตร์จนให้ศัตรูทะลวงเข้ามาในกองทัพได้ ทุโรฺยธน ทรงมีความรู้สึกอย่างชัดเจนว่าชัยชนะของ กุรุ ขึ้นอยู่กับการปรากฏตัวของ ภีษฺมเทว และมั่นใจในการสนับสนุนอย่างเต็มที่ของ ภีษฺมเทว และ โทฺรณาจารฺย ในสนามรบ เพราะเห็นแล้วว่าทั้งสองท่านมิได้เอ่ยปากแม้แต่คำเดียวเมื่อตอนที่พระนาง เทฺราปที ภรรยาของ อรฺชุน ขอร้องในช่วงที่นางต้องการความช่วยเหลือ นางได้ขอความเป็นธรรมขณะถูกเปลื้องผ้าต่อหน้าที่ชุมนุมกันของเหล่ายอดขุนพลทั้งหลาย แม้ทราบว่าเหล่ายอดขุนพลทั้งสองท่านมีใจรัก ปาณฺฑว แต่ ทุโรฺยธน ทรงยังหวังว่าทั้งสองท่านจะสลัดความรักออกไปทั้งหมดเหมือนกับที่ท่านทั้งสองได้ทำตอนที่เล่นเกมการพนันกัน

โศลก 12

tasya sañjanayan harṣaṁ
kuru-vṛddhaḥ pitāmahaḥ
siṁha-nādaṁ vinadyoccaiḥ
śaṅkhaṁ dadhmau pratāpavān
ตสฺย สญฺชนยนฺ หรฺษํ
กุรุ-วฺฤทฺธห์ ปิตามหห์
สึห-นาทํ วินโทฺยจฺไจห์
ศงฺขํ ทธฺเมา ปฺรตาปวานฺ
ตสฺย — ของเขา, สญฺชนยนฺ — เพิ่มพูนขึ้น, หรฺษมฺ — ความสุข, กุรุ-วฺฤทฺธห์ — บรรพบุรุษของราชวงศ์ กุรุ (ภีษฺม) , ปิตามหห์ — พระอัยกา, สึห-นาทมฺ — เสียงคำรามคล้ายเสียงสิงโต, วินทฺย — เสียงก้องกังวาน, อุจฺไจห์ — ดังมาก, ศงฺขมฺ — หอยสังข์, ทธฺเมา — เป่า, ปฺรตาป-วานฺ — ความกล้าหาญ

คำแปล

จากนั้น ภีษฺม บรรพบุรุษผู้กล้าหาญ ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์ กุรุ พระอัยกาของเหล่านักรบ ทรงเป่าสังข์ด้วยสุรเสียงอันดังดุจดั่งเสียงสิงโตคำรามทำให้ ทุโรฺยธน ดีใจ

คำอธิบาย

บรรพบุรุษแห่งราชวงศ์ กุรุ ทรงเข้าใจความรู้สึกภายในหัวใจของหลานชาย ทุโรฺยธน และด้วยความเมตตาโดยธรรมชาติที่มีต่อเขา ภีษฺม ทรงพยายามให้กำลังใจหลานชายด้วยการเป่าสังข์ด้วยสุรเสียงอันดังประหนึ่งเสียงคำรามของสิงโต ลักษณะการเป่าสังข์เหมือนจะบอกแก่หลานชาย ทุโรฺยธน ผู้มีความกลุ้มใจว่าตัวท่านเองนั้นไม่มีโอกาสชนะในการทำศึกสงครามครั้งนี้ เพราะองค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงอยู่ฝ่ายตรงข้าม แต่ถึงกระนั้นมันก็เป็นหน้าที่ที่จะต้องรบ และจากการกระทำเช่นนี้ท่านจะไม่ได้รับความเจ็บปวดอันใดเลย

โศลก 13

tataḥ śaṅkhāś ca bheryaś ca
paṇavānaka-gomukhāḥ
sahasaivābhyahanyanta
sa śabdas tumulo ’bhavat
ตตห์ ศงฺขาศฺ จ เภรฺยศฺ จ
ปณวานก-โคมุขาห์
สหไสวาภฺยหนฺยนฺต
ส ศพฺทสฺ ตุมุโล ’ภวตฺ
ตตห์ — หลังจากนั้น, ศงฺขาห์ — หอยสังข์, — เหมือนกัน, เภรฺยห์ — กลองใหญ่, — และ, ปณว-อานก — กลองเล็กและกลองใหญ่, โค-มุขาห์ — เขาสัตว์, สหสา — ทันทีทันใด, เอว — แน่นอน, อภฺยหนฺยนฺต — ส่งเสียงพร้อมกัน, สห์ — นั้น, ศพฺทห์ — เสียงรวมกัน, ตุมุลห์ — เสียงกึกก้อง, อภวตฺ — กลายเป็น

คำแปล

หลังจากนั้นเสียงหอยสังข์ กลอง แตร แตรเดี่ยว และเขาสัตว์ต่างๆทั้งหมดต่างก็ได้เริ่มส่งเสียงประสานกันขึ้นมาทำให้กึกก้องไปทั่ว

โศลก 14

tataḥ śvetair hayair yukte
mahati syandane sthitau
mādhavaḥ pāṇḍavaś caiva
divyau śaṅkhau pradadhmatuḥ
ตตห์ เศฺวไตรฺ หไยรฺ ยุกฺเต
มหติ สฺยนฺทเน สฺถิเตา
มาธวห์ ปาณฺฑวศฺ ไจว
ทิเวฺยา ศงฺเขา ปฺรทธฺมตุห์
ตตห์ — หลังจากนั้น, เศฺวไตห์ — สีขาว, หไยห์ — ม้า, ยุกฺเต — เข้าคู่กัน, มหติ — ในความยิ่งใหญ่, สฺยนฺทเน — ราชรถ, สฺถิเตา — สถิต, มาธวห์กฺฤษฺณ (สวามีของเทพธิดาแห่งโชคลาภ), ปาณฺฑวห์อรฺชุน (โอรสของพาณดุ), — ด้วยเหมือนกัน, เอว — แน่นอน, ทิเวฺยา — ทิพย์, ศงฺเขา — หอยสังข์, ปฺรทธฺมตุห์ — ส่งเสียง

คำแปล

ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งทั้งองค์ศรีกฺฤษฺณ และ อรฺชุน ทรงประทับอยู่บนราชรถอันยิ่งใหญ่ที่ลากด้วยม้าขาวก็ทรงเริ่มกันเป่าหอยสังข์ทิพย์

คำอธิบาย

ความแตกต่างของหอยสังข์ที่เป่าโดย ภีษฺมเทว และหอยสังข์ในพระหัตถ์ของศฺรีกฺฤษฺณและ อรฺชุน มีการอธิบายว่าเป็นทิพย์ เสียงของสังข์ทิพย์แสดงให้เห็นว่าฝ่ายตรงข้ามไม่มีหวังที่จะได้รับชัยชนะเพราะองค์กฺฤษฺณทรงอยู่ฝ่ายของ ปาณฺฑว ชยสฺ ตุ ปาณฺฑุ-ปุตฺราณำ เยษำ ปกฺเษ ชนารฺทนห์ ชัยชนะจะเป็นของผู้ที่เหมือนโอรสของ ปาณฺฑุ เสมอเพราะศฺรีกฺฤษฺณทรงอยู่ด้วยกันกับพวกเขา เมื่อใดและสถานที่ใดที่องค์ภควานฺทรงปรากฏเทพธิดาแห่งโชคลาภทรงประทับอยู่ที่นั้นด้วยเช่นกัน เพราะว่าเทพธิดาแห่งโชคลาภทรงไม่ประทับอยู่องค์เดียวโดยปราศจากพระสวามี ฉะนั้นชัยชนะและโชคลาภกำลังรอ อรฺชุน อยู่ ดังที่ได้แสดงออกมาในเสียงทิพย์จากหอยสังข์ของพระวิษณุหรือศฺรี กฺฤษฺณ และมากไปกว่านั้นราชรถที่สหายทั้งสองทรงประทับอยู่ อคฺนิ เทพ (เจ้าแห่งไฟ) ทรงเป็นผู้ถวายให้ อรฺชุน และจุดนี้ได้แสดงให้เห็นว่าราชรถจะนี้สามารถนำชัยชนะมาให้ได้จากทั่วทุกสารทิศไม่ว่าจะถูกขับไปแห่งหนใดภายในสามโลกก็ตาม

โศลก 15

pāñcajanyaṁ hṛṣīkeśo
devadattaṁ dhanañ-jayaḥ
pauṇḍraṁ dadhmau mahā-śaṅkhaṁ
bhīma-karmā vṛkodaraḥ
ปาญฺจชนฺยํ หฺฤษีเกโศ
เทวทตฺตํ ธนญฺ-ชยห์
เปาณฺฑฺรํ ทธฺเมา มหา-ศงฺขํ
ภีม-กรฺมา วฺฤโกทรห์
ปาญฺจชนฺยมฺ — หอยสังข์ชื่อ ปาญฺจชนฺย, หฺฤษีก-อีศห์ — ฮริชีเคช (กฺฤษฺณ องค์ภควานฺผู้กำกับประสาทสัมผัสของสาวก), เทวทตฺตมฺ — หอยสังข์ชื่อ เทวทตฺต, ธนมฺ-ชยห์ธนญฺชย (อารจุนะผู้ชนะความรวย), เปาณฺฑฺรมฺ — หอยสังข์ชื่อ เปาณฺฑฺร, ทธฺเมา — เป่า, มหา-ศงฺขมฺ — หอยสังข์ยอดเยี่ยม, ภีม-กรฺมา — ผู้ปฏิบัติงานที่ใช้พลังมหาศาล, วฺฤก-อุทรห์ — ผู้ที่รับประทานอาหารจุ (ภีม)

คำแปล

องค์ศรีกฺฤษฺณทรงเป่าหอยสังข์ของพระองค์ชื่อ ปาญฺจชนฺย อรฺชุน ทรงเป่าหอยสังข์ชื่อ เทวทตฺต และ ภีม ผู้รับประทานอาหารมากและปฏิบัติงานที่ใช้พลังงานมหาศาลได้ทรงเป่าหอยสังข์อันยอดเยี่ยมชื่อ เปาณฺฑฺร

คำอธิบาย

องค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงถูกเรียกอีกพระนามหนึ่งในโศลกนี้ว่า หฺฤษีเกศ เนื่องจากทรงเป็นเจ้าของประสาทสัมผัสทั้งหมด สิ่งมีชีวิตเป็นละอองอณูของพระองค์ฉะนั้นประสาทสัมผัสของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดก็เป็นละอองอณูของประสาทสัมผัสของพระองค์ด้วยเช่นกัน ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์จะไม่สามารถยอมรับประสาทสัมผัสของสิ่งมีชีวิต ดังนั้นพวกเขาตื่นตัวมากที่จะอธิบายว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดไม่มีประสาทสัมผัสหรือไม่มีรูปลักษณ์ องค์ภควานฺทรงสถิตอยู่ในหัวใจของมวลชีวิตและกำกับประสาทสัมผัสของพวกเขา แต่การกำกับของพระองค์นั้นขึ้นอยู่กับการศิโรราบของสิ่งมีชีวิต และในกรณีของสาวกผู้บริสุทธิ์พระองค์จะทรงควบคุมประสาทสัมผัสเองโดยตรง ที่สมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร นี้องค์ภควานฺทรงควบคุมประสาทสัมผัสทิพย์ของ อรฺชุน โดยตรง ดังนั้น หฺฤษีเกศ ทรงเป็นพระนามของพระองค์โดยเฉพาะ องค์ภควานฺทรงมีพระนามแตกต่างกันแล้วแต่กิจกรรมอันหลากหลายของพระองค์ตัวอย่างเช่น ทรงมีพระนามว่า มธุสูทน เนื่องจากทรงสังหารมารชื่อ มธุ ทรงมีพระนามว่า โควินฺท เนื่องจากทรงให้ความสุขแก่ฝูงวัวและประสาทสัมผัส ทรงมีพระนามว่า วาสุเทว เนื่องจากทรงเป็นบุตรของ วสุเทว ทรงมีพระนามว่า เทวกี - นนฺทน เนื่องจากทรงยอมรับให้พระนาง เทวกี เป็นพระมารดา ทรงมีพระนามว่า ยโศทา - นนฺทน เนื่องจากทรงตอบแทนลีลาวัยเด็กของพระองค์แด่พระนาง ยโศทา ที่ วฺฤนฺทาวน ทรงมีพระนามว่า ปารฺถ - สารถิ เนื่องจากพระองค์ทรงปฏิบัติงานเป็นสารถีของพระสหาย อรฺชุน และในทำนองเดียวกันจึงทรงมีพระนามว่า หฺฤษีเกศ เนื่องจากทรงให้คำชี้แนะแก่ อรฺชุน ที่สนามรบ กุรุกฺเษตฺร

อรฺชุน ทรงได้ชื่อว่า ธนญฺชย ในโศลกนี้ เนื่องจากทรงช่วยพระเชษฐาไปนำเอาทรัพย์สมบัติมาในตอนที่มีความจำเป็นต่อ กฺษตฺริย เพื่อนำมาใช้จ่ายในพิธีบูชาต่างๆ ภีม ก็จึงได้ชื่อว่า วฺฤโกทร ในทำนองเดียวกันนี้เนื่องจากทรงสามารถรับประทานอาหารได้อย่างมากและสามารถปฏิบัติงานที่ใช้พลังมหาศาลได้ เช่น การสังหารมารชื่อ หิฑิมฺพ ฉะนั้นหอยสังข์ที่ฝ่าย ปาณฺฑว แต่ละท่านได้เป่าโดยเริ่มจากศฺรี กฺฤษฺณจึงเป็นการให้ขวัญกำลังใจมากแก่ทหารในการรบ ส่วนฝ่ายตรงข้ามไม่ได้รับความเชื่อมั่นเช่นนี้เพราะผู้กำกับสูงสุดองค์กฺฤษฺณ หรือเทพธิดาแห่งโชคลาภทรงมิได้อยู่ฝ่ายนั้น ดังนั้นชะตากรรมจึงได้ถูกกำหนดไว้แล้วว่าพวก ทุโรฺยธน จะต้องพ่ายแพ้ในสมรภูมินี้ และนี่คือการประกาศสารส์นโดยเสียงของสังข์

โศลก 16-18

anantavijayaṁ rājā
kuntī-putro yudhiṣṭhiraḥ
nakulaḥ sahadevaś ca
sughoṣa-maṇipuṣpakau
อนนฺตวิชยํ ราชา
กุนฺตี-ปุโตฺร ยุธิษฺฐิรห์
นกุลห์ สหเทวศฺ จ
สุโฆษ-มณิปุษฺปเกา
kāśyaś ca parameṣv-āsaḥ
śikhaṇḍī ca mahā-rathaḥ
dhṛṣṭadyumno virāṭaś ca
sātyakiś cāparājitaḥ
กาศฺยศฺ จ ปรเมษฺวฺ-อาสห์
ศิขณฺฑี จ มหา-รถห์
ธฺฤษฺฏทฺยุมฺโน วิราฏศฺ จ
สาตฺยกิศฺ จาปราชิตห์
drupado draupadeyāś ca
sarvaśaḥ pṛthivī-pate
saubhadraś ca mahā-bāhuḥ
śaṅkhān dadhmuḥ pṛthak pṛthak
ทฺรุปโท เทฺราปเทยาศฺ จ
สรฺวศห์ ปฺฤถิวี-ปเต
เสาภทฺรศฺ จ มหา-พาหุห์
ศงฺขานฺ ทธฺมุห์ ปฺฤถกฺ ปฺฤถกฺ
อนนฺต-วิชยมฺ — หอยสังข์ชื่อ อนนฺต-วิชย, ราชา — กษัตริย์, กุนฺตี-ปุตฺรห์ — บุตรของพระนาง กุนฺตี, ยุธิษฺฐิรห์ยุธิษฺฐิร, นกุลห์นกุล, สหเทวห์สหเทว, — และ, สุโฆษ-มณิปุษฺปเกา — หอยสังข์ชื่อ สุโฆษ และ มณิปุษฺปก, กาศฺยห์ — กษัตริย์แห่ง กาศี (วาราณะสี), — และ, ปรม-อิษุ-อาสห์ — ยอดนักยิงธนู, ศิขณฺฑีศิขณฺฑี, — ด้วยเหมือนกัน, มหา-รถห์ — ผู้ซึ่งสามารถต่อสู้กับคนเป็นพันๆโดยลำพัง, ธฺฤษฺฏทฺยุมฺนห์ธฺฤษฺฏทฺยุมฺน (โอรสของกษัตริย์ทฺรุปท), วิราฏห์วิราฏ (เจ้าชายผู้ทรงให้ที่พักพิงแด่ ปาณฺฑว ขณะที่แปลงตัวหลบซ่อน), — ด้วยเหมือนกัน, สาตฺยกิห์สาตฺยกิ (เหมือนกับ ยุยุธาน สารถีของศฺรีกฺฤษฺณ), — และ, อปราชิตห์ — ผู้ไม่เคยถูกทำลาย, ทฺรุปทห์ทฺรุปท กษัตริย์แห่งพานชาละ, เทฺราปเทยาห์ — บุตรของ เทฺราปที, — ด้วยเหมือนกัน, สรฺวศห์ — ทั้งหมด, ปฺฤถิวี-ปเต — โอ้ กษัตริย์, เสาภทฺรห์ — อภิมนฺยุบุตรของ สุภทฺรา, — เช่นกัน, มหา-พาหุห์ — ยอดนักรบ, ศงฺขานฺ — หอยสังข์, ทธฺมุห์ — เป่า, ปฺฤถกฺ ปฺฤถกฺ — ต่างคนต่างเป่า

คำแปล

กษัตริย์ ยุธิษฺฐิร โอรสของพระนาง กุนฺตี ทรงเป่าหอยสังข์ชื่อ อนนฺต วิชย นกุล และ สหเทว ทรงเป่าหอยสังข์ชื่อ สุโฆษ และ มณิปุษฺปก กษัตริย์แห่ง กาศี ยอดนักยิงธนู ยอดนักรบ ศิขณฺฑี ธฺฤษฺฏทฺยุมฺน วิราฏ สาตฺยกิ ผู้ไม่เคยแพ้ ทฺรุปท เหล่าโอรสของ เทฺราปที และองค์อื่นๆ โอ้ พระราชา ดั่งเช่นนักรบผู้เก่งกล้าโอรสของ สุภทฺรา ทั้งหมดทรงได้เป่าหอยสังข์ขึ้นตามลำดับ

คำอธิบาย

สญฺชย บอกแก่กษัตริย์ ธฺฤตราษฺฏฺร อย่างมีไหวพริบเกี่ยวกับนโยบายอันไม่ฉลาดที่ไปโกงพวกโอรส ปาณฺฑุ และพยายามที่จะสถาปนาโอรสของตนขึ้นครองราชสมบัติว่าเป็นสิ่งที่ไม่น่าสรรเสริญ มีลางต่างๆแสดงให้ได้เห็นอย่างชัดเจนว่าราชวงค์กุรุ ทั้งหมดจะถูกสังหารในสมรภูมิอันยิ่งใหญ่นี้ โดยเริ่มต้นจากพระอัยกา ภีษฺม ลงไปถึงพระราชนัดดา เช่น อภิมนฺยุ และองค์อื่นๆ รวมทั้งกษัตริย์จากรัฐต่างๆทั่วโลกที่มาชุมนุมกันที่นี้จะถูกลงโทษทั้งหมด ความหายนะทั้งปวงนี้ก็เนื่องมาจากกษัตริย์ ธฺฤตราษฺฏฺร เพราะทรงสนับสนุนนโยบายที่ฉ้อโกงทำให้เหล่าโอรสของพระองค์ทรงปฏิบัติตาม

โศลก 19

sa ghoṣo dhārtarāṣṭrāṇāṁ
hṛdayāni vyadārayat
nabhaś ca pṛthivīṁ caiva
tumulo ’bhyanunādayan
ส โฆโษ ธารฺตราษฺฏฺราณำ
หฺฤทยานิ วฺยทารยตฺ
นภศฺ จ ปฺฤถิวีํ ไจว
ตุมุโล ’ภฺยนุนาทยนฺ
สห์ — นั้น, โฆษห์ — เสียงสั่นสะเทือน, ธารฺตราษฺฏฺราณามฺ — พระโอรสของ ธฺฤตราษฺฏฺร, หฺฤทยานิ — หัวใจ, วฺยทารยตฺ — สลาย, นภห์ — ท้องฟ้า, — ด้วยเหมือนกัน, ปฺฤถิวีมฺ — ผิวของโลก, — ด้วยเหมือนกัน, เอว — แน่นอน, ตุมุลห์ — เสียงอึกทึกอื้ออึง, อภฺยนุนาทยนฺ — ส่งเสียงกึกก้อง

คำแปล

การเป่าหอยสังข์เหล่านี้ส่งเสียงกึกก้องกัมปนาทสะเทือนไปทั่วท้องฟ้าและทั่วพื้นดิน ทำให้หัวใจเหล่าโอรสของ ธฺฤตราษฺฏฺร สลาย

คำอธิบาย

เมื่อ ภีษฺม และบุคคลอื่นๆทางฝ่ายของ ทุโรฺยธน เป่าหอยสังข์ตามลำดับ ทางฝ่าย ปาณฺฑว หัวใจไม่สะทกสะท้านเพราะไม่ได้กล่าวไว้ แต่โศลกนี้ได้กล่าวถึงหัวใจของเหล่าโอรส ธฺฤตราษฺฏฺร ว่าสลายจากเสียงสนั่นหวั่นไหวของฝ่าย ปาณฺฑว ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก ปาณฺฑว และความมั่นใจของพวกเขาที่มีต่อองค์กฺฤษฺณ ผู้ที่ยึดเอาองค์ภควานฺมาเป็นที่พึ่งจะไม่มีความกลัวอะไรเลย แม้จะอยู่ท่ามกลางความหายนะอันใหญ่หลวงก็ตาม

โศลก 20

atha vyavasthitān dṛṣṭvā
dhārtarāṣṭrān kapi-dhvajaḥ
pravṛtte śastra-sampāte
dhanur udyamya pāṇḍavaḥ
hṛṣīkeśaṁ tadā vākyam
idam āha mahī-pate
อถ วฺยวสฺถิตานฺ ทฺฤษฺฏฺวา
ธารฺตราษฺฏฺรานฺ กปิ-ธฺวชห์
ปฺรวฺฤตฺเต ศสฺตฺร-สมฺปาเต
ธนุรฺ อุทฺยมฺย ปาณฺฑวห์
หฺฤษีเกศํ ตทา วากฺยมฺ
อิทมฺ อาห มหี-ปเต
อถ — จากนั้น, วฺยวสฺถิตานฺ — สถิต, ทฺฤษฺฏฺวา — มองดู, ธารฺตราษฺฏฺรานฺ — เหล่าโอรสของ ธฺฤตราษฺฏฺร, กปิ-ธฺวชห์ — ผู้มีธงหนุมาน, ปฺรวฺฤตฺเต — ขณะกำลังจะปฏิบัติการ, ศสฺตฺร-สมฺปาเต — ในการยิงธน, ธนุห์ — ธนู, อุทฺยมฺย — หยิบขึ้นมา, ปาณฺฑวห์ — โอรสของ ปาณฺฑุ (อรฺชุน) หฺฤษีเกศมฺ — แด่องค์ศฺรีกฺฤษฺณ, ตทา — ในเวลานั้น, วากฺยมฺ — คำพูด, อิทมฺ — เหล่านั้น, อาห — ตรัส, มหี-ปเต — โอ้ กษัตริย์

คำแปล

ในขณะนั้น อรฺชุน โอรสของ ปาณฺฑุ ทรงนั่งอยู่บนราชรถที่มีธงรูป หนุมานฺ และหยิบคันธนูเพื่อเตรียมที่จะยิงศรออกไป โอ้ กษัตริย์หลังจากทรงมองไปที่เหล่าโอรสของ ธฺฤตราษฺฏฺร ซึ่งขับราชรถมาในกองทัพเรียงรายกันเป็นทิวแถว จากนั้น อรฺชุน ก็ทรงตรัสกับองค์ศรีกฺฤษฺณด้วยคำพูดดังต่อไปนี้

คำอธิบาย

สงครามกำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว เป็นที่เข้าใจจากโศลกนี้ว่าเหล่าโอรสของ ธฺฤตราษฺฏฺร ทรงรู้สึกตกใจกลัวในการจัดทัพทหารที่คาดไม่ถึงของ ปาณฺฑว ซึ่งมีองค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงเป็นผู้ชี้แนะโดยตรงที่สนามรบ ธงรูปหนุมานของ อรฺชุน เป็นเครื่องบ่งบอกถึงชัยชนะอีกอย่างหนึ่งเพราะหนุมาน ได้ร่วมมือกับพระรามในการทำสงครามระหว่างพระรามและ ราวณ (ทศกัณฐ์) และพระรามทรงได้รับชัยชนะ ณ ที่นี้ พระรามและหนุมานทรงได้ประทับอยู่บนราชรถเพื่อที่จะช่วย อรฺชุน ศฺรีกฺฤษฺณ คือ พระราม และที่ใดที่พระรามทรงประทับอยู่ ผู้รับใช้นิรันดร หนุมานและมเหสีนิรันดร พระนางสีดาหรือเทพธิดาแห่งโชคลาภจะประทับอยู่ด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่มีเหตุอันใดเลยที่จะทำให้เกิดความรู้สึกกลัวศัตรู ยิ่งไปกว่านั้นศฺรีกฺฤษฺณผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งประสาทสัมผัสก็ทรงเสด็จมาด้วยพระองค์เองเพื่อให้คำแนะนำและมีคำชี้แนะที่ดีทั้งหมดให้กับ อรฺชุน ในการต่อสู้ สภาวะอันเป็นสิริมงคลเช่นนี้นั้นองค์ภควานฺทรงจัดให้เพื่อสาวกนิรันดรของพระองค์ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงชัยชนะ

โศลก 21-22

arjuna uvāca
senayor ubhayor madhye
rathaṁ sthāpaya me ’cyuta
yāvad etān nirīkṣe ’haṁ
yoddhu-kāmān avasthitān
อรฺชุน อุวาจ
เสนโยรฺ อุภโยรฺ มเธฺย
รถํ สฺถาปย เม ’จฺยุต
ยาวทฺ เอตานฺ นิรีกฺเษ ’หํ
โยทฺธุ-กามานฺ อวสฺถิตานฺ
kair mayā saha yoddhavyam
asmin raṇa-samudyame
ไกรฺ มยา สห โยทฺธวฺยมฺ
อสฺมินฺ รณ-สมุทฺยเม
อรฺชุนห์ อุวาจอรฺชุน ตรัส, เสนโยห์ — ของกองทัพ, อุภโยห์ — ทั้งสองฝ่าย, มเธฺย — ระหว่าง, รถมฺ — ราชรถ, สฺถาปย — กรุณารักษา, เม — ของข้า, อจฺยุต — โอ้ ผู้ไร้ความผิดพลาด, ยาวตฺ — นานเท่าที่, เอตานฺ — ทั้งหมดนี้, นิรีกฺเษ — อาจจะมองไป, อหมฺ — ข้าพเจ้า, โยทฺธุ-กามานฺ — มีความปรารถที่จะสู้รบ, อวสฺถิตานฺ — เป็นทิวแถวที่สนามรบ, ไกห์ — กับผู้ซึ่ง, มยา — โดยข้า, สห — ด้วยกัน, โยทฺธวฺยมฺ — ต้องต่อสู้, อสฺมินฺ — ในนี้, รณ — ต่อสู้, สมุทฺยเม — ในความพยายาม

คำแปล

อรฺชุน ตรัสว่า โอ้ องค์ภควานฺผู้ไร้ความผิดพลาด ได้โปรดขับราชรถของข้าไปอยู่ท่ามกลางระหว่างกองทัพทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ข้าได้เห็นผู้ที่อยู่ที่นี้ซึ่งปรารถนาที่จะสู้รบ และข้าต้องต่อสู้กับใครบ้างในการประลองยุทธครั้งยิ่งใหญ่นี้

คำอธิบาย

ถึงแม้ว่าองค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า แต่ด้วยพระเมตตาธิคุณอันหาที่สุดมิได้นี้ทรงปฏิบัติตนรับใช้สหาย พระองค์ไม่เคยที่จะไม่ใยดีที่จะมีความเมตตาต่อสาวกของพระองค์เลย และพระองค์จึงทรงถูกเรียกที่นี้ว่าเป็นผู้ที่ไม่มีความผิดพลาด ในฐานะที่ทรงเป็นสารถีจะต้องรับคำสั่งจาก อรฺชุน พระองค์ทรงไม่ลังเลที่จะทำเช่นนี้จึงทรงถูกเรียกว่าเป็นผู้ไร้ความผิดพลาด ถึงแม้ว่าทรงยอมรับตำแหน่งสารถีให้สาวกของพระองค์เอง แต่สถานภาพอันสูงสุดของพระองค์ก็ไม่ได้ทรงถูกลดให้ต่ำลงไป พระองค์ยังทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า หฺฤษีเกศ เจ้าแห่งประสาทสัมผัสทั้งหมดไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ภควานฺ และผู้รับใช้มีความหวานชื่นและเป็นทิพย์ ผู้รับใช้พร้อมเสมอในการรับใช้องค์ภควานฺ และในทำนองเดียวกันนี้องค์ภควานฺก็จะทรงหาโอกาสที่จะรับใช้สาวกเสมอ พระองค์ทรงมีความสุขเกษมสำราญมากที่สาวกผู้บริสุทธิ์มีสถานภาพที่เหนือกว่า และออกคำสั่งพระองค์มากกว่าที่พระองค์เองจะทรงเป็นผู้ออกคำสั่ง เพราะทรงเป็นเจ้านายทุกคนจึงอยู่ภายใต้คำสั่งของพระองค์ไม่มีใครอยู่เหนือกว่าพอที่จะสั่งพระองค์ได้ แต่เมื่อทรงพบสาวกผู้บริสุทธิ์ออกคำสั่ง พระองค์ทรงรู้สึกว่ามีความสุขเกษมสำราญทิพย์ ถึงแม้ว่าพระองค์จะทรงเป็นเจ้านายผู้ไร้ความผิดพลาดในทุกสถานการณ์ก็ตาม

ในฐานะที่เป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ขององค์ภควานฺ อรฺชุน ทรงไม่ปรารถนาที่จะต่อสู้กับญาติพี่น้อง แต่ทรงถูกบังคับให้มาที่สมรภูมิจากความดื้อรั้นของ ทุโรฺยธน ผู้ไม่ยอมตกลงเจรจาสงบศึก อย่างไรก็ตาม อรฺชุน ก็ยังทรงอยากเห็นมากว่าใครคือผู้นำในการรบที่สมรภูมินี้ ถึงแม้ว่าจะไม่มีประโยชน์ที่จะพยายามสงบศึกในสนามรบ อรฺชุน ทรงปรารถนาจะเห็นพวกเขาอีกครั้ง และดูว่าพวกเขามีความต้องการที่จะทำสงครามที่ตนไม่พึงปรารถนานี้มากเพียงใด

โศลก 23

yotsyamānān avekṣe ’haṁ
ya ete ’tra samāgatāḥ
dhārtarāṣṭrasya durbuddher
yuddhe priya-cikīrṣavaḥ
โยตฺสฺยมานานฺ อเวกฺเษ ’หํ
ย เอเต ’ตฺร สมาคตาห์
ธารฺตราษฺฏฺรสฺย ทุรฺพุทฺเธรฺ
ยุทฺเธ ปฺริย-จิกีรฺษวห์
โยตฺสฺยมานานฺ — พวกที่จะสู้รบ, อเวกฺเษ — ให้ข้าได้เห็น, อหมฺ — ข้าพเจ้า, เย — ผู้ใด, เอเต — เหล่านั้น, อตฺร — ที่นี่, สมาคตาห์ — ชุมนุมกัน, ธารฺตราษฺฏฺรสฺย — เพื่อโอรสของ ธฺฤตราษฺฏฺร, ทุรฺพุทฺเธห์ — จิตใจชั่วร้าย, ยุทฺเธ — ในการสู้รบ, ปฺริย — ดี, จิกีรฺษวห์ — ปรารถนา

คำแปล

ให้ข้าได้เห็นผู้ที่มาอยู่ ที่นี้เพื่อที่จะสู้รบ โดยปรารถนาเพื่อให้โอรสของ ธฺฤตราษฺฏฺร ผู้ที่มีจิตใจชั่วร้ายได้พอพระทัย

คำอธิบาย

เป็นความลับที่ถูกเปิดเผยแล้วว่า ทุโรฺยธน ทรงประสงค์ที่จะยึดครองราชอาณาจักรของ ปาณฺฑว ด้วยแผนการอันชั่วร้ายจากการร่วมมือกับพระบิดา ธฺฤตราษฺฏฺร ดังนั้นทุกคนที่ร่วมมือกับฝ่าย ทุโรฺยธน จะต้องเป็นนกในฝูงเดียวกัน อรฺชุน ทรงปรารถนาจะเห็นคนเหล่านี้ในสมรภูมิก่อนเริ่มทำการรบเพื่อให้ทราบว่าพวกเขาเป็นใครกันบ้าง พระองค์ทรงไม่ตั้งใจที่จะเสนอข้อตกลงสงบศึก อรฺชุน ทรงต้องการที่จะประเมินกำลังของฝ่ายตรงข้ามที่จะต้องเผชิญหน้า ถึงแม้ทรงมีความมั่นใจในชัยชนะเพราะว่าองค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงประทับอยู่เคียงข้างตน

โศลก 24

sañjaya uvāca
evam ukto hṛṣīkeśo
guḍākeśena bhārata
senayor ubhayor madhye
sthāpayitvā rathottamam
สญฺชย อุวาจ
เอวมฺ อุกฺโต หฺฤษีเกโศ
คุฑาเกเศน ภารต
เสนโยรฺ อุภโยรฺ มเธฺย
สฺถาปยิตฺวา รโถตฺตมมฺ
สญฺชยห์ อุวาจสญฺชย กล่าว, เอวมฺ — ดังนั้น, อุกฺตห์ — ตรัส, หฺฤษีเกศห์ — ศฺรีกฺฤษฺณ, คุฑาเกเศน — โดย อรฺชุน, ภารต — โอ้ ผู้สืบราชวงค์ภรต, เสนโยห์ — ของกองทัพ, อุภโยห์ — ทั้งสองฝ่าย, มเธฺย — อยู่ท่ามกลาง, สฺถาปยิตฺวา — วาง, รถ-อุตฺตมมฺ — ราชรถที่สวยที่สุด

คำแปล

สญฺชย กล่าวว่า โอ้ ผู้สืบราชวงศ์ ภรต หลังจากที่ได้ยิน อรฺชุน ตรัสแล้วองค์ศรีกฺฤษฺณทรงขับราชรถอันสง่างามไปอยู่ท่ามกลางกองทัพทั้งสองฝ่าย

คำอธิบาย

โศลกนี้ได้กล่าวถึง อรฺชุน ว่าเป็น คุฑาเกศ คุฑากา หมายถึงการนอนหลับ และผู้ที่ชนะการนอนเรียกว่า คุฑาเกศ การนอนหมายถึงอวิชชา ดังนั้น อรฺชุน ทรงเอาชนะทั้งการนอน และอวิชชา เพราะเนื่องจากมิตรภาพของพระองค์ที่มีต่อองค์กฺฤษฺณ ในฐานะที่เป็นสาวกชั้นเยี่ยมนั้น อรฺชุน ทรงไม่สามารถลืมองค์กฺฤษฺ ได้แม้แต่เสี้ยววินาทีเดียว เพราะนี่เป็นธรรมชาติของสาวก ไม่ว่าในยามตื่นหรือยามหลับสาวกขององค์ภควานฺจะไม่สามารถว่างเว้นจากการระลึกถึงพระนาม รูปลักษณ์ คุณสมบัติ และลีลาขององค์กฺฤษฺณได้เลย ดังนั้นสาวกขององค์กฺฤษฺณจึงสามารถเอาชนะทั้งการนอน และอวิชชาได้ด้วยการระลึกถึงองค์กฺฤษฺณอยู่เสมอ เช่นนี้เรียกว่ากฺฤษฺณจิตสำนึกหรือ สมาธิ ในฐานะที่เป็น หฺฤษีเกศ หรือผู้กำกับประสาทสัมผัสและจิตใจของทุกๆชีวิต ศฺรีกฺฤษฺณทรงเข้าใจจุดมุ่งหมายของ อรฺชุน ที่ทรงให้นำราชรถไปยังท่ามกลางกองทัพทั้งสอง พระองค์ทรงปฏิบัติตามและตรัสดังต่อไปนี้

โศลก 25

bhīṣma-droṇa-pramukhataḥ
sarveṣāṁ ca mahī-kṣitām
uvāca pārtha paśyaitān
samavetān kurūn iti
ภีษฺม-โทฺรณ-ปฺรมุขตห์
สเรฺวษำ จ มหี-กฺษิตามฺ
อุวาจ ปารฺถ ปไศฺยตานฺ
สมเวตานฺ กุรูนฺ อิติ
ภีษฺม — พระอัยกา ภีษฺม, โทฺรณ — พระอาจารย์ โทฺรณ, ปฺรมุขตห์ — อยู่ข้างหน้า, สเรฺวษามฺ — ทั้งหมด, — เช่นกัน, มหี-กฺษิตามฺ — เหล่าผู้นำของโลก, อุวาจ — ตรัส, ปารฺถ — โอ้บุตรของ ปฺฤถา, ปศฺย — โปรดดู, เอตานฺ — พวกเขาทั้งหมด, สมเวตานฺ — ชุมนุมกัน, กุรูนฺ — สมาชิกของราชวงศ์ กุรุ, อิติ — ดังนั้น

คำแปล

ในการปรากฏตัวของ ภีษฺม โทฺรณ และผู้นำของโลกคนอื่นๆ องค์ภควานตรัสว่า โอ้ ปารฺถ จงดูบรรดาสมาชิกของ กุรุ ทั้งหมดที่มาชุมนุมกัน ที่นี้

คำอธิบาย

ในฐานะที่เป็นอภิวิญญาณของมวลชีวิตองค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงเข้าใจ อรฺชุน ว่าทรงคิดอะไรอยู่ การใช้คำว่า หฺฤษีเกศ ในที่นี้หมายความว่าพระองค์ทรงทราบทุกสิ่งทุกอย่าง และคำว่า ปารฺถ โอรสของพระนาง กุนฺตี หรือ ปฺฤถา ก็มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับ อรฺชุน ในฐานะที่ทรงเป็นพระสหายองค์กฺฤษฺณทรงปรารถนาที่จะบอกว่า อรฺชุน ทรงเป็นโอรสของ ปฺฤถา ผู้เป็นพระขนิษฐาของบิดาขององค์กฺฤษฺณแท้ๆ คือ วสุเทว องค์กฺฤษฺณจึงทรงอาสามาเป็นสารถี ขณะนี้องค์กฺฤษฺณจะหมายความว่าอะไรเมื่อตรัสต่อ อรฺชุน ว่า “จงดูพวก กุรุ อรฺชุน ทรงปรารถนาที่จะหยุดแค่นี้และไม่สู้รบเช่นนั้นหรือองค์กฺฤษฺณทรงไม่คาดหวังสิ่งนี้จากโอรสของพระปิตุจฉา ปฺฤถา องค์กฺฤษฺณทรงทำนายจิตใจของ อรฺชุน ในเชิงล้อเล่นฉันสหาย

โศลก 26

tatrāpaśyat sthitān pārthaḥ
pitṝn atha pitāmahān
ācāryān mātulān bhrātṝn
putrān pautrān sakhīṁs tathā
śvaśurān suhṛdaś caiva
senayor ubhayor api
ตตฺราปศฺยตฺ สฺถิตานฺ ปารฺถห์
ปิตฺฤๅนฺ อถ ปิตามหานฺ
อาจารฺยานฺ มาตุลานฺ ภฺราตฺฤๅนฺ
ปุตฺรานฺ เปาตฺรานฺ สขีํสฺ ตถา
ศฺวศุรานฺ สุหฺฤทศฺ ไจว
เสนโยรฺ อุภโยรฺ อปิ
ตตฺร — ที่นั่น, อปศฺยตฺ — ทรงเห็น, สฺถิตานฺ — ยืนอยู่, ปารฺถห์อรฺชุน, ปิตฺฤๅนฺ — พระบิดา, อถ — เช่นกัน, ปิตามหานฺ — พระอัยกา, อาจารฺยานฺ — พระอาจารย์, มาตุลานฺ — พระมาตุลา, ภฺราตฺฤๅนฺ — พี่น้อง, ปุตฺรานฺ — บุตร, เปาตฺรานฺ — หลาน, สขีนฺ — เพื่อน, ตถา — ด้วยเหมือนกัน, ศฺวศุรานฺ — พระสัสสุระ, สุหฺฤทห์ — ผู้ปรารถนาดี, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, เสนโยห์ — ของกองทัพ, อุภโยห์ — ของทั้งสองฝ่าย, อปิ — รวม

คำแปล

ที่นั้น อรฺชุน ทรงเห็นพระบิดา พระอัยกา พระอาจารย์ พระมาตุลา พระเชษฐา พระอนุชา พระโอรส พระราชนัดดา พระสหาย รวมทั้งพระสัสสุระ และผู้ปรารถนาดีท่านอื่นๆท่ามกลางกองทัพทั้งสองฝ่าย

คำอธิบาย

ที่สมรภูมิ อรฺชุน ทรงเห็นญาติทั้งหลาย ท่านได้เห็นบุคคล เช่น ภูริศฺรวา ที่เป็นรุ่นเดียวกับพระบิดา พระอัยกา ภีษฺม และ โสมทตฺต พระอาจารย์ เช่น โทฺรณาจารฺย และ กฺฤปาจารฺย พระมาตุลา ศลฺย และ ศกุนิ พระอนุชา เช่น ทุโรฺยธน พระโอรส เช่น ลกฺษฺมณ สหาย เช่น อศฺวตฺถามา และผู้ปรารถดี เช่น กฺฤตวรฺมา อรฺชุน ทรงเห็นสหายเป็นจำนวนมากอยู่ในกองทัพทั้งสองฝ่าย

โศลก 27

tān samīkṣya sa kaunteyaḥ
sarvān bandhūn avasthitān
kṛpayā parayāviṣṭo
viṣīdann idam abravīt
ตานฺ สมีกฺษฺย ส เกานฺเตยห์
สรฺวานฺ พนฺธูนฺ อวสฺถิตานฺ
กฺฤปยา ปรยาวิษฺโฏ
วิษีทนฺนฺ อิทมฺ อพฺรวีตฺ
ตานฺ — พวกเขาทั้งหมด, สมีกฺษฺย — หลังจากที่ได้เห็น, สห์ — เขา, เกานฺเตยห์ — พระโอรสของพระนาง กุนฺตี, สรฺวานฺ — ทุกชนิด, พนฺธูนฺ — ญาติๆ, อวสฺถิตานฺ — สถิต, กฺฤปยา — ด้วยเมตตา, ปรยา — ในระดับสูง, อาวิษฺฏห์ — ปลาบปลื้ม, วิษีทนฺ — ขณะที่เศร้าโศก, อิทมฺ — ดังนั้น, อพฺรวีตฺ — ตรัส

คำแปล

เมื่อ อรฺชุน โอรสพระนาง กุนฺตี ทรงเห็นบรรดาสหาย และญาติๆที่อยู่ในระดับต่างๆทั้งหมดก็รู้สึกตื้นตันใจด้วยความเมตตาสงสาร และตรัสว่า

โศลก 28

arjuna uvāca
dṛṣṭvemaṁ sva-janaṁ kṛṣṇa
yuyutsuṁ samupasthitam
sīdanti mama gātrāṇi
mukhaṁ ca pariśuṣyati
อรฺชุน อุวาจ
ทฺฤษฺเฏฺวมํ สฺว-ชนํ กฺฤษฺณ
ยุยุตฺสุํ สมุปสฺถิตมฺ
สีทนฺติ มม คาตฺราณิ
มุขํ จ ปริศุษฺยติ
อรฺชุนห์ อุวาจอรฺชุน ตรัส, ทฺฤษฺฏฺวา — หลังจากเห็น, อิมมฺ — ทั้งหมดนี้, สฺว-ชนมฺ — เพื่อนร่วมชาติ, กฺฤษฺณ — โอ้ กฺฤษฺณ, ยุยุตฺสุมฺ — ทั้งหมดอยู่ในจิตวิญญาณแห่งการสู้รบ, สมุปสฺถิตมฺ — ปรากฏอยู่, สีทนฺติ — สั่น, มม — ของข้า, คาตฺราณิ — แขนขา, มุขมฺ — ปาก, — ด้วยเหมือนกัน, ปริศุษฺยติ — แห้งผาก

คำแปล

อรฺชุน ตรัสว่า โอ้ กฺฤษฺณ ที่รัก การที่เห็นเหล่าสหาย และญาติๆยืนอยู่ต่อหน้าข้าด้วยวิญญาณแห่งการสู้รบเช่นนี้ ข้ารู้สึกว่าแขนขาสั่นไปหมด และปากแห้งผากลง

คำอธิบาย

ผู้ใดก็ตามที่อุทิศตนเสียสละอย่างจริงใจต่อองค์ภควานฺจะได้มีคุณสมบัติดีๆทั้งหมดที่มีอยู่ในตัวผู้ที่มีคุณธรรมหรือในตัวเทวดา แต่ผู้ที่ไม่ใช่สาวกไม่ว่าจะมีคุณสมบัติทางวัตถุมากเพียงใดจากการที่ได้รับการศึกษาและได้รับวัฒนธรรมก็ยังจะขาดคุณสมบัติที่ดีๆทั้งหลายอยู่ดีฉะนั้นหลังจากที่ อรฺชุน ทรงเห็นเพื่อนร่วมชาติ สหาย และญาติๆที่สมรภูมิจิตใจรู้สึกตื้นตันไปด้วยความเมตตาสงสารต่อผู้ที่ตัดสินใจมาสู้รบกันเอง สำหรับเหล่าทหารของพระองค์เองนั้น อรฺชุน ก็ทรงรู้สึกมีความสงสารตั้งแต่ต้น และแม้กระทั่งกับเหล่าทหารของฝ่ายตรงข้ามก็ยังทรงมีความเมตตาสงสารที่เห็นความตายของพวกเขาใกล้เข้ามา ขณะทรงคิดเช่นนี้แขนขารู้สึกสั่นรัว ปากแห้งผากลง มีความตื่นตระหนกที่ได้เห็นจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ของพวกเขา ตามจริงแล้วเกือบทั้งกองทัพก็เป็นญาติทางสายเลือดเดียวกับ อรฺชุน ได้มาเพื่อที่จะสู้รบกับเขา ทำให้สาวกผู้ใจดีเช่น อรฺชุน ทรงรู้สึกหวั่นใจ ถึงแม้ว่าไม่ได้กล่าวไว้ที่นี้เราก็ยังจะสามารถเห็นภาพได้อย่างง่ายๆว่าไม่เพียงแต่แขนขาสั่น และปากแห้งผากเท่านั้น แต่ว่ายังทรงร่ำไห้ด้วยความเมตตาสงสาร ลักษณะอาการของ อรฺชุน เช่นนี้ทรงมิใช่เกิดขึ้นจากความอ่อนแอ แต่เนื่องด้วยหัวใจที่อ่อนโยนซึ่งเป็นอาการของสาวกผู้บริสุทธิ์ขององค์ภควานฺ จึงได้มีการกล่าวไว้ว่า

ยสฺยาสฺติ ภกฺติรฺ ภควตฺยฺ อกิญฺจนา
สไรฺวรฺ คุไณสฺ ตตฺร สมาสเต สุราห์
หราวฺ อภกฺตสฺย กุโต มหทฺ-คุณา
มโน-รเถนาสติ ธาวโต พหิห์
“ผู้ที่อุทิศตนเสียสละอย่างแน่วแน่มั่นคงต่อบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าจะมีคุณสมบัติที่ดีทั้งหมดของเหล่าเทวดา แต่ผู้ที่ไม่ใช่สาวกขององค์ภควานฺ ซึ่งมีแต่คุณสมบัติทางวัตถุจะมีคุณค่าเพียงเล็กน้อย เพราะเขาจะวุ่นวายอยู่ในระดับของจิตใจ และแน่นอนว่าจะไปหลงเสน่ห์ยั่วยวนของพลังงานวัตถุ” (ภาควต 5.18.12)

โศลก 29

vepathuś ca śarīre me
roma-harṣaś ca jāyate
gāṇḍīvaṁ sraṁsate hastāt
tvak caiva paridahyate
เวปถุศฺ จ ศรีเร เม
โรม-หรฺษศฺ จ ชายเต
คาณฺฑีวํ สฺรํสเต หสฺตาตฺ
ตฺวกฺ ไจว ปริทหฺยเต
เวปถุห์ — ร่างกายสั่น, — เช่นกัน, ศรีเร — บนร่างกาย, เม — ของข้า, โรม-หรฺษห์ — ขนลุก, — เช่นกัน, ชายเต — เกิดขึ้น, คาณฺฑีวมฺ — ธนูของ อรฺชุน, สฺรํสเต — ลื่นลง, หสฺตาตฺ — จากมือ, ตฺวกฺ — ผิวหนัง, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, ปริทหฺยเต — ร้อนผ่าว

คำแปล

ทั่วทั้งเรือนร่างของข้ารู้สึกสั่นไปหมด ขนลุกตั้งชัน ธนูชื่อ คาณฺฑีว ลื่นหลุดไปจากมือของข้า และผิวกายของข้าร้อนผ่าว

คำอธิบาย

ร่างกายสั่นมีสองประเภท และขนลุกก็มีสองประเภท อาการเช่นนี้เกิดขึ้นได้จากความปลื้มปีติยินดีทิพย์อย่างใหญ่หลวง หรือเกิดขึ้นจากความกลัวมากๆภายใต้สภาวะทางวัตถุ ในความรู้แจ้งทิพย์จะไม่มีความกลัว อาการของ อรฺชุน ในสถานการณ์เช่นนี้ก็เนื่องมาจากความกลัวทางวัตถุ เช่น การสูญเสียชีวิต ยังมีลักษณะอาการอื่นๆที่เป็นหลักฐานคือ อรฺชุน ทรงรู้สึกหมดความอดทนจนกระทั่งคันธนูอันเลื่องชื่อ คาณฺฑีว ได้ลื่นหลุดไปจากมือ เนื่องจากหัวใจที่ถูกเผาไหม้อยู่ภายในจึงทรงรู้สึกว่าร้อนผ่าวที่ผิวกาย ทั้งหมดนี้ก็เกิดขึ้นเนื่องมาจากแนวความคิดชีวิตทางวัตถุ

โศลก 30

na ca śaknomy avasthātuṁ
bhramatīva ca me manaḥ
nimittāni ca paśyāmi
viparītāni keśava
น จ ศกฺโนมฺยฺ อวสฺถาตุํ
ภฺรมตีว จ เม มนห์
นิมิตฺตานิ จ ปศฺยามิ
วิปรีตานิ เกศว
— ไม่, — เช่นกัน, ศกฺโนมิ — ข้าสามารถหรือไม่, อวสฺถาตุมฺ — อยู่, ภฺรมติ — ลืม, อิว — เช่น, — และ, เม — ของข้า, มนห์ — ใจ, นิมิตฺตานิ — สาเหตุ, — เช่นกัน, ปศฺยามิ — ข้าเห็น, วิปรีตานิ — สิ่งตรงกันข้าม, เกศว — โอ้ ผู้สังหารมาร เกศี (กฺฤษฺณ)

คำแปล

บัดนี้ข้าไม่สามารถยืนอยู่ ที่นี้ได้อีกต่อไปรู้สึกลืมตัว จิตใจว้าวุ่น เห็นแต่สาเหตุแห่งความอับโชคเท่านั้น โอ้ กฺฤษฺณ ผู้สังหารมาร เกศี

คำอธิบาย

ด้วยการขาดความอดทน อรฺชุน จึงทรงไม่สามารถที่จะอยู่ที่สมรภูมิได้อีกต่อไป และรู้สึกลืมตัวเองเนื่องจากความอ่อนแอของจิตใจ และความยึดติดในสิ่งของวัตถุอย่างรุนแรงทำให้คนเราอยู่ในสภาวะสับสนเช่นนี้ ภยํ ทฺวิตียาภินิเวศตห์ สฺยาตฺ (ภาควต 11.2.37) ความกลัวและความไม่สมดุลของจิตใจเช่นนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีความยึดติดกับสภาวะวัตถุมากเกินไป อรฺชุน ทรงเห็นเฉพาะผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นที่จะมีแต่ความเจ็บปวดในสมรภูมิเท่านั้น และจะทรงไม่มีความสุขแม้ได้รับชัยชนะจากศัตรู คำว่า นิมิตฺตานิ วิปรีตานิ มีความสำคัญ เมื่อเราเห็นเฉพาะความผิดหวังในสิ่งที่คาดหวังเราก็จะคิดว่า “ข้ามาอยู่ที่นี่ทำไม” ทุกๆคนจะสนใจในตนเองและเรื่องของตนเองเท่านั้น ไม่มีใครสนใจในองค์ภควานฺ ด้วยพระประสงค์ของศฺรีกฺฤษฺณทำให้ อรฺชุน ทรงไม่รู้ถึงผลประโยชน์ที่แท้จริงของตนเอง ผลประโยชน์ที่แท้จริงของเราอยู่ที่พระวิษฺณุหรือองค์กฺฤษฺณ พันธวิญญาณลืมจุดนี้ไปดังนั้นต่างจึงต้องได้รับทุกข์แห่งความเจ็บปวดทางวัตถุ อรฺชุน ทรงคิดว่าชัยชนะของพระองค์ในการรบนั้นจะเป็นเพียงสาเหตุเดียวที่ทำให้พระองค์เศร้าโศกเสียใจ

โศลก 31

na ca śreyo ’nupaśyāmi
hatvā sva-janam āhave
na kāṅkṣe vijayaṁ kṛṣṇa
na ca rājyaṁ sukhāni ca
น จ เศฺรโย ’นุปศฺยามิ
หตฺวา สฺว-ชนมฺ อาหเว
น กางฺกฺเษ วิชยํ กฺฤษฺณ
น จ ราชฺยํ สุขานิ จ
— ไม่, — เช่นกัน, เศฺรยห์ — ดี, อนุปศฺยามิ — ข้าได้เห็นล่วงหน้า, หตฺวา — ด้วยการสังหาร, สฺว-ชนมฺ — สังคญาติของเรา, อาหเว — ในการต่อสู้, — ไม่, กางฺกฺเษ — ข้าปรารถนา, วิชยมฺ — ชัยชนะ, กฺฤษฺณ — โอ้ กฺฤษฺณ, — ไม่, — เช่นกัน, ราชฺยมฺ — อาณาจักร, สุขานิ — ความสุขหลังจากนั้น, — เช่นกัน

คำแปล

ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าจะมีอะไรดีจากการที่ได้สังหารบรรดาญาติในสมรภูมินี้ โอ้ กฺฤษฺณ ที่รัก และข้าก็ไม่สามารถที่จะปรารถนาชัยชนะ ราชอาณาจักร หรือความสุขที่จะตามมา

คำอธิบาย

ด้วยความที่ไม่รู้ว่าผลประโยชน์ของเรานั้นอยู่ในองค์พระวิษฺณุ หรือ ศฺรีกฺฤษฺณ พันธวิญญาณจึงหลงอยู่ในเสน่ห์แห่งความสัมพันธ์ทางร่างกายโดยหวังว่าจะได้รับความสุขในสถานการณ์นี้ แนวความคิดแห่งชีวิตที่มืดมนเช่นนี้ทำให้พวกเราลืมแม้แต่สาเหตุของความสุขทางวัตถุ อรฺชุน ทรงดูเหมือนจะลืมแม้กระทั่งหลักแห่งราชธรรมสำหรับกษัตริย์ ได้กล่าวไว้ว่ามีมนุษย์อยู่สองประเภท คือ กษัตริย์ผู้สิ้นพระชนม์ในสนามรบภายใต้คำสั่งขององค์กฺฤษฺณโดยตรง และผู้สละโลกวัตถุอุทิศชีวิตอยู่ตามลำพังเพื่อวัฒนธรรมทิพย์ ทั้งคู่มีสิทธิ์เข้าไปอยู่ในดวงอาทิตย์ซึ่งมีพลังอำนาจ และรัศมีเจิดจรัสมาก อรฺชุน ทรงปฏิเสธแม้แต่จะสังหารศัตรู และนับประสาอะไรกับญาติๆ โดยคิดว่าจากการสังหารสังคญาตินั้นจะทำให้ชีวิตไม่มีความสุข ฉะนั้นจึงทรงไม่ยินดีที่จะสู้รบเหมือนกับคนที่ไม่รู้สึกหิวก็จะไม่อยากทำอาหารเช่นนั้น และบัดนี้ อรฺชุน ทรงตัดสินใจที่จะเข้าไปอยู่ในป่าใช้ชีวิตสันโดษด้วยความสิ้นหวัง แต่ในฐานะที่เป็นกษัตริย์จึงทรงจำเป็นต้องมีราชอาณาจักรมาปกครอง เนื่องจากเหล่ากษัตริย์จะไม่สามารถทำหน้าที่อื่นได้ แต่ อรฺชุน ทรงไม่มีราชอาณาจักรโอกาสทั้งหมดของ อรฺชุน ที่จะได้รับราชอาณาจักรอยู่ที่การต้องสู้รบกับบรรดาญาติพี่น้อง และยึดครองราชอาณาจักรอันเป็นมรดกจากพระบิดากลับคืนมา ซึ่งพระองค์ทรงไม่ปรารถนาจะทำ ดังนั้นจึงทรงพิจารณาตนเองว่าสมควรที่จะไปใช้ชีวิตอยู่ในป่าอย่างสันโดษด้วยความสิ้นหวัง

โศลก 32-35

kiṁ no rājyena govinda
kiṁ bhogair jīvitena vā
yeṣām arthe kāṅkṣitaṁ no
rājyaṁ bhogāḥ sukhāni ca
กึ โน ราเชฺยน โควินฺท
กึ โภไครฺ ชีวิเตน วา
เยษามฺ อรฺเถ กางฺกฺษิตํ โน
ราชฺยํ โภคาห์ สุขานิ จ
ta ime ’vasthitā yuddhe
prāṇāṁs tyaktvā dhanāni ca
ācāryāḥ pitaraḥ putrās
tathaiva ca pitāmahāḥ
ต อิเม ’วสฺถิตา ยุทฺเธ
ปฺราณำสฺ ตฺยกฺตฺวา ธนานิ จ
อาจารฺยาห์ ปิตรห์ ปุตฺราสฺ
ตไถว จ ปิตามหาห์
mātulāḥ śvaśurāḥ pautrāḥ
śyālāḥ sambandhinas tathā
etān na hantum icchāmi
ghnato ’pi madhusūdana
มาตุลาห์ ศฺวศุราห์ เปาตฺราห์
ศฺยาลาห์ สมฺพนฺธินสฺ ตถา
เอตานฺ น หนฺตุมฺ อิจฺฉามิ
ฆฺนโต ’ปิ มธุสูทน
api trailokya-rājyasya
hetoḥ kiṁ nu mahī-kṛte
nihatya dhārtarāṣṭrān naḥ
kā prītiḥ syāj janārdana
อปิ ไตฺรโลกฺย-ราชฺยสฺย
เหโตห์ กึ นุ มหี-กฺฤเต
นิหตฺย ธารฺตราษฺฏฺรานฺ นห์
กา ปฺรีติห์ สฺยาชฺ ชนารฺทน
กิมฺ — ใช้อะไร, นห์ — แด่เรา, ราเชฺยน — เป็นราชอาณาจักร, โควินฺท — โอ้ กฺฤษฺณ, กิมฺ — อะไร, โภไคห์ — ความสุขสำราญ, ชีวิเตน — มีชีวิต, วา — ไม่ก็, เยษามฺ — ของใคร, อรฺเถ — เพื่อสิ่งนั้น, กางฺกฺษิตมฺ — เป็นสิ่งที่ปรารถนา, นห์ — โดยเรา, ราชฺยมฺ — ราชอาณาจักร, โภคาห์ — ความสุขทางวัตถุ, สุขานิ — ความสุขทั้งหมด, — เช่นกัน, เต — เขาทั้งหมด, อิเม — เหล่านี้, อวสฺถิตาห์ — สถิต, ยุทฺเธ — ในสมรภูมินี้, ปฺราณานฺ — ชีวิต, ตฺยกฺตฺวา — ยกเลิก, ธนานิ — ความร่ำรวย, — เช่นกัน, อาจารฺยาห์ — พระอาจารย์, ปิตรห์ — พระบิดา, ปุตฺราห์ — บุตร, ตถา — ดีเท่ากับ, เอว — แน่นอน, — เช่นกัน, ปิตามหาห์ — พระอัยกา, มาตุลาห์ — พระมาตุลา, ศฺวศุราห์ — พระสัสสุระ เปาตฺราห์ — พระราชนัดดา, ศฺยาลาห์ — พระเชษฐภรรดา พระกนิษฐภคินี, สมฺพนฺธินห์ — สังคญาติ, ตถา — ดีเท่ากับ, เอตานฺ — ทั้งหมดนี้, — ไม่เคย, หนฺตุมฺ — สังหาร, อิจฺฉามิ — ข้าปรารถนา, ฆฺนตห์ — ถูกสังหาร, อปิ — แม้แต่, มธุสูทน — โอ้ ผู้สังหารมาร มธุ (กฺฤษฺณ) , อปิ — ถึงแม้ว่า, ไตฺร-โลกฺย — ของทั้งสามโลก, ราชฺยสฺย — เพื่อราชอาณาจักร, เหโตห์ — ในการแลกเปลี่ยน, กิมฺ นุ — แล้วไปพูดอะไรอีก, มหี-กฺฤเต — เพื่อประโยชน์ของโลก, นิหตฺย — ด้วยการสังหาร, ธารฺตราษฺฏฺรานฺ — เหล่าโอรสของ ธฺฤตราษฺฏฺร, นห์ — ของเรา, กา — อะไร, ปฺรีติห์ — ความสุข, สฺยาตฺ — จะมี, ชนารฺทน — โอ้ ผู้ค้ำจุนมวลชีวิต

คำแปล

โอ้ โควินฺท เราจะได้รับผลประโยชน์อะไรหรือ จะเป็นราชอาณาจักร ความสุข หรือแม้แต่ดวงชีวิตเอง ในเมื่อตอนนี้พวกเขาทั้งหลายที่เราอาจปรารถนาได้มาเรียงรายอยู่ในสมรภูมินี้แล้ว โอ้ มธุสูทน เมื่อพระอาจารย์ พระบิดา บุตร พระอัยกา พระปิตุลา พระสัสสุระ พระราชนัดดา พระเชษฐภรรดา พระกนิษฐภคินี และเหล่าสังคญาติพร้อมถวายชีวิตและทรัพย์สินมายืนอยู่ต่อหน้า แล้วเหตุไฉนข้าต้องปรารถนาที่จะไปสังหารพวกเขาด้วย แม้ว่าพวกเขาอาจมาสังหารข้าก็ตาม โอ้ ผู้ค้ำจุนมวลชีวิต ข้าพเจ้าไม่พร้อมรบกับพวกเขาแม้จะเป็นการแลกเปลี่ยนกันทั้งสามโลก นับประสาอะไรกับแค่โลกนี้โลกเดียว เราจะได้รับความสุขอันใดจากการสังหารเหล่าโอรสของ ธฺฤตราษฺฏฺร

คำอธิบาย

อรฺชุน ทรงเรียกองค์ศฺรี กฺฤษฺณว่า โควินฺท เพราะว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นจุดมุ่งหมายแห่งความสุขทั้งมวลของวัว และประสาทสัมผัส เมื่อใช้คำสำคัญคำนี้ อรฺชุน ทรงแสดงให้เห็นว่าองค์กฺฤษฺณทรงควรที่จะเข้าใจว่าสิ่งใดที่จะทำให้ประสาทสัมผัสของ อรฺชุน พอใจได้ แต่องค์โควินฺท มิได้ทรงหมายไว้เพื่อให้ประสาทสัมผัสของเราได้รับความพอใจเอง หากเราพยายามทำให้ประสาทสัมผัสขององค์โควินฺท พึงพอพระทัยประสาทสัมผัสของพวกเราก็จะได้รับความพึงพอใจด้วยโดยปริยาย ในวิถีทางวัตถุทุกๆคนต้องการที่จะสนองประสาทสัมผัสของตนเองและต้องการให้องค์ภควานฺเป็นผู้รับคำสั่งเพื่อความพึงพอใจของเรา แต่องค์ภควานฺจะทรงสนองประสาทสัมผัสของสิ่งมีชีวิตเท่าที่เขาควรจะได้รับไม่มากจนเกิดเป็นความโลภ หากเราปฏิบัติตรงกันข้ามคือพยายามสนองประสาทสัมผัสขององค์โควินฺท โดยไม่ปรารถนาสนองประสาทสัมผัสของตนเองด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์โควินฺท ความปรารถนาทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตก็จะได้รับสนองตอบ ความรักอันลึกซึ้งที่ อรฺชุน ทรงมีต่อสังคมและสมาชิกในครอบครัวที่แสดงออกมา ที่นี้ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากความสงสารที่มีตามธรรมชาติ ดังนั้นพระองค์จึงทรงไม่เตรียมตัวที่จะสู้รบ ทุกคนต้องการแสดงความมั่งคั่งร่ำรวยให้เพื่อนๆและญาติๆเห็น แต่ อรฺชุน ทรงกลัวว่าบรรดาญาติและเพื่อนทั้งหมดจะถูกสังหารที่สมรภูมิ และตัวพระองค์เองจะทรงไม่สามารถแบ่งปันความร่ำรวยหลังจากที่ได้รับชัยชนะ นี่เป็นความคิดโดยทั่วไปทางชีวิตวัตถุ อย่างไรก็ดีชีวิตทิพย์นั้นแตกต่างออกไป เนื่องจากสาวกต้องการสนองพระราชประสงค์ขององค์ภควานฺ หากองค์ภควานฺ ทรงปรารถนาสาวกจะยอมรับความมั่งคั่งทั้งหลายเพื่อรับใช้พระองค์แต่หากองค์ภควานฺทรงไม่ปรารถนาสาวกจะไม่ยอมรับแม้แต่สตางค์แดงเดียว อรฺชุน ทรงไม่ต้องการสังหารบรรดาญาติ หากจำเป็นต้องสังหารทรงปรารถนาให้องค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้สังหารเอง มาถึงจุดนี้ อรฺชุน ทรงไม่ทราบว่าองค์กฺฤษฺณได้สังหารพวกเขาทั้งหมดเรียบร้อยแล้วก่อนที่จะมาถึงสนามรบ และ อรฺชุน ทรงเพียงแต่มาเป็นเครื่องมือให้องค์กฺฤษฺณเท่านั้นความจริงนี้จะถูกเปิดเผยในบทต่อๆไป ในฐานะที่เป็นสาวกขององค์ภควานฺโดยธรรมชาติ อรฺชุน ทรงไม่ปรารถนาที่จะโต้ตอบกับการกระทำที่ต่ำช้าเลวทรามของสังคญาติ แต่นี่เป็นแผนการขององค์ภควานฺว่าทั้งหมดควรถูกสังหาร สาวกไม่ปรารถนาที่จะตอบโต้ผู้กระทำผิดแต่องค์ภควานฺทรงไม่ยอมอดทนต่อความผิดที่คนชั่วกระทำต่อสาวก องค์ภควานฺทรงให้อภัยกับคนที่ทำผิดต่อพระองค์แต่จะไม่ให้อภัยกับคนที่ทำผิดต่อสาวกของพระองค์ฉะนั้นองค์ภควานฺทรงมุ่งมั่นที่จะสังหารคนเลวทรามเหล่านี้ถึงแม้ว่า อรฺชุน ทรงปรารถนาจะให้อภัยพวกเขาก็ตาม

โศลก 36

pāpam evāśrayed asmān
hatvaitān ātatāyinaḥ
tasmān nārhā vayaṁ hantuṁ
dhārtarāṣṭrān sa-bāndhavān
sva-janaṁ hi kathaṁ hatvā
sukhinaḥ syāma mādhava
ปาปมฺ เอวาศฺรเยทฺ อสฺมานฺ
หไตฺวตานฺ อาตตายินห์
ตสฺมานฺ นารฺหา วยํ หนฺตุํ
ธารฺตราษฺฏฺรานฺ ส-พานฺธวานฺ
สฺว-ชนํ หิ กถํ หตฺวา
สุขินห์ สฺยาม มาธว
ปาปมฺ — ความชั่ว, เอว — แน่นอน, อาศฺรเยตฺ — จะต้องมาถึง, อสฺมานฺ — เรา, หตฺวา — ด้วยการสังหาร, เอตานฺ — ทั้งหมดนี้, อาตตายินห์ — ผู้บุกรุก, ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, — ไม่เคย, อรฺหาห์ — ควรได้รับ, วยมฺ — เรา, หนฺตุมฺ — สังหาร, ธารฺตราษฺฏฺรานฺ — เหล่าโอรสของ ธฺฤตราษฺฏฺร, ส-พานฺธวานฺ — พร้อมกับเพื่อนๆ, สฺว-ชนมฺ — สังคญาติ, หิ — แน่นอน, กถมฺ — อย่างไร, หตฺวา — ด้วยการสังหาร, สุขินห์ — ความสุข, สฺยาม — เราจะกลายเป็น, มาธว — โอ้ กฺฤษฺณ พระสวามีเทพธิดาแห่งโชคลาภ

คำแปล

เราจะสะสมบาปหากเราสังหารผู้บุกรุกดังกล่าว ดังนั้นจึงไม่เหมาะที่จะสังหารเหล่าโอรสของ ธฺฤตราษฺฏฺร และเพื่อนๆของเรา เราจะได้รับอะไร โอ้ กฺฤษฺณ พระสวามีของเทพธิดาแห่งโชคลาภ เราจะได้รับความสุขจากการสังหารสังคญาติของเราได้อย่างไร

คำอธิบาย

ตามหลักคัมภีร์พระเวทมีผู้บุกรุกอยู่หกประเภท (1) ผู้วางยาพิษ (2) ผู้วางเพลิงเผาบ้าน (3) ผู้บุกรุกด้วยอาวุธร้ายแรง (4) ผู้มาปล้นทรัพย์สมบัติ (5) ผู้มายึดแผ่นดินของคนอื่น (6) ผู้มาลักพาตัวภรรยา ผู้มาบุกรุกเหล่านี้ควรถูกสังหารทันที และจะไม่มีบาปในการสังหารบุคคลเหล่านี้ การสังหารพวกบุกรุกนี้นั้นเหมาะสำหรับบุคคลสามัญ แต่ อรฺชุน ทรงไม่ใช่คนธรรมดาสามัญทั่วไป โดยบุคลิกลักษณะท่านเป็นนักบุญ ฉะนั้นจึงทรงปรารถนาจะปฏิบัติต่อพวกเขาแบบนักบุญ อย่างไรก็ดีลักษณะนักบุญเช่นนี้ไม่เหมาะสำหรับกษัตริย์ ถึงแม้ว่าความรับผิดชอบในการบริหารรัฐจำเป็นต้องทำโดยนักบุญ แต่ไม่ควรเป็นคนขลาด ตัวอย่างเช่น พระราม ทรงเป็นนักบุญผู้ยิ่งใหญ่จนกระทั่งปัจจุบันผู้คนยังใฝ่หาที่จะอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรของพระราม (ราม-ราชฺย) เพราะพระรามทรงไม่เคยแสดงความขลาดเลย ราวณ (ทศกัณฐ์) เป็นผู้บุกรุกพระราม เพราะ ราวณ ได้ลักพาตัวพระนางสีดา มเหสีของพระรามไป แต่พระรามทรงให้บทเรียนอย่างสาสมจนหาที่เปรียบไม่ได้ในประวัติศาสตร์โลก อย่างไรก็ดี ในกรณีของ อรฺชุน เราควรถือว่าเหล่าผู้บุกลุกพวกนี้เป็นพวกที่พิเศษคือ เป็นพระอัยกาของท่านเอง เป็นพระอาจารย์ของท่านเอง เป็นเหล่าสหาย เหล่าบุตร หลานๆ ฯลฯ เป็นเพราะพวกเขาเหล่านี้ อรฺชุน จึงทรงคิดว่าไม่ควรกระทำความรุนแรง นอกจากนี้เหล่านักบุญแนะนำให้ให้อภัย สำหรับนักบุญคำสั่งเช่นนี้สำคัญกว่าสถานการณ์ฉุกเฉินทางการเมือง อรฺชุน ทรงพิจารณาว่าแทนที่จะสังหารสังคญาติของตนด้วยเหตุผลทางการเมือง จะดีกว่าไหมถ้าหากเราให้อภัยพวกเขาตามหลักศาสนาและหลักปฏิบัติของนักบุญ ดังนั้นจึงไม่คิดว่าการสังหารเช่นนี้จะได้เป็นการได้รับประโยชน์อันใด มันเป็นเพียงแต่การให้ความสุขทางร่างกายที่ไม่ถาวรนี้เท่านั้น ทั้งราชอาณาจักรและความสุขที่ได้มาก็ไม่ถาวร แล้วเหตุไฉนจึงต้องเสี่ยงชีวิตของตน และเสี่ยงการได้รับความหลุดพ้นด้วยการสังหารสังคญาติของตนเอง อรฺชุน ทรงเรียกองค์กฺฤษฺณว่า มาธว หรือพระสวามีของเทพธิดาแห่งโชคลาภซึ่งเป็นคำสำคัญเช่นกัน เพราะทรงปรารถนาจะชี้ให้องค์กฺฤษฺณเห็นว่าในฐานะที่ทรงเป็นพระสวามีของเทพธิดาแห่งโชคลาภ พระองค์ทรงไม่ควรชักจูง อรฺชุน ให้กระทำบางสิ่งบางอย่างซึ่งในที่สุดจะนำความอับโชคมาให้ อย่างไรก็ดีองค์กฺฤษฺณทรงไม่เคยนำความอับโชคมาให้ผู้ใด แล้วจะนำมาให้สาวกของพระองค์เองได้อย่างไรกัน

โศลก 37-38

yady apy ete na paśyanti
lobhopahata-cetasaḥ
kula-kṣaya-kṛtaṁ doṣaṁ
mitra-drohe ca pātakam
ยทฺยฺ อปฺยฺ เอเต น ปศฺยนฺติ
โลโภปหต-เจตสห์
กุล-กฺษย-กฺฤตํ โทษํ
มิตฺร-โทฺรเห จ ปาตกมฺ
kathaṁ na jñeyam asmābhiḥ
pāpād asmān nivartitum
kula-kṣaya-kṛtaṁ doṣaṁ
prapaśyadbhir janārdana
กถํ น เชฺญยมฺ อสฺมาภิห์
ปาปาทฺ อสฺมานฺ นิวรฺติตุมฺ
กุล-กฺษย-กฺฤตํ โทษํ
ปฺรปศฺยทฺภิรฺ ชนารฺทน
ยทิ — ถ้าหาก, อปิ — ถึงแม้, เอเต — พวกเขา, — ไม่, ปศฺยนฺติ — เห็น, โลภ — ด้วยความโลภ, อุปหต — มีอำนาจมากว่า, เจตสห์ — หัวใจของพวกเขา, กุล-กฺษย — ในการสังหารครอบครัว, กฺฤตมฺ — ทำสำเร็จ, โทษมฺ — ความผิด, มิตฺร-โทฺรเห — ในการทะเลาะกับสหาย, เช่นกัน, ปาตกมฺ — ผลแห่งบาป, กถมฺ — ทำไม, — ไม่ควร, ชฺเญยมฺ — เป็นที่รู้, อสฺมาภิห์ — โดยเรา, ปาปาตฺ — จากความบาป, อสฺมาตฺ เหล่านี้, นิวรฺติตุมฺ — หยุด, กุล-กฺษย — ในการทำลายราชวงศ์, กฺฤตมฺ — ทำเสร็จสิ้น, โทษมฺ — อาชญากรรม, ปฺรปศฺยทฺภิห์ — โดยผู้ที่สามารถเห็น, ชนารฺทน — โอ้ กฺฤษฺณ

คำแปล

โอ้ ชนารฺทน ถึงแม้ว่าบุคคลเหล่านี้ที่หัวใจถูกครอบงำไปด้วยความโลภ มองไม่เห็นความผิดใดๆที่จะสังหารครอบครัวของตนเอง หรือแม้แต่การทะเลาะวิวาทกับเหล่าสหาย แล้วเหตุไฉนเราผู้ที่สามารถเห็นได้ว่าการทำลายครอบครัวเช่นนี้เป็นการอาชญากรรมจะกระทำบาปเช่นนี้ได้เล่า

คำอธิบาย

กฺษตฺริย ไม่ควรที่จะปฏิเสธการรบ หรือการพนันเมื่อได้รับคำท้าทายจากฝ่ายตรงข้าม อรฺชุน ทรงไม่ควรปฏิเสธการสู้รบภายใต้หน้าที่ความรับผิดชอบเช่นนี้เพราะว่าได้ถูกท้าทายจากฝ่าย ทุโรฺยธน ด้วยเหตุนี้ อรฺชุน ทรงพิจารณาว่าฝ่ายตรงข้ามอาจจะตาบอดที่มาท้าทายตนเช่นนี้ อย่างไรก็ดี อรฺชุน ทรงเล็งเห็นผลร้ายที่จะเกิดขึ้นจึงไม่สามารถที่จะยอมรับการท้าทายนี้ได้ ความรับผิดชอบเป็นสิ่งจำเป็นต้องปฏิบัติเมื่อผลจะออกมาดี แต่เมื่อผลจะออกมาตรงกันข้ามก็ไม่มีใครควรถูกผูกมัด เมื่อทรงพิจารณาถึงผลที่จะได้และผลเสียทั้งหมด อรฺชุน จึงทรงตัดสินใจว่าจะไม่สู้รบ

โศลก 39

kula-kṣaye praṇaśyanti
kula-dharmāḥ sanātanāḥ
dharme naṣṭe kulaṁ kṛtsnam
adharmo ’bhibhavaty uta
กุล-กฺษเย ปฺรณศฺยนฺติ
กุล-ธรฺมาห์ สนาตนาห์
ธรฺเม นษฺเฏ กุลํ กฺฤตฺสฺนมฺ
อธรฺโม ’ภิภวตฺยฺ อุต
กุล-กฺษเย — ในการทำลายครอบครัว, ปฺรณศฺยนฺติ — จะถูกลบล้าง, กุล-ธรฺมาห์ — ประเพณีของครอบครัว, สนาตนาห์ — นิรันดร, ธรฺเม — ศาสนา, นษฺเฏ — ถูกทำลาย, กุลมฺ — ครอบครัว, กฺฤตฺสฺนมฺ — ทั้งหมด, อธรฺมห์ — ไร้ศาสนา, อภิภวติ — เปลี่ยนแปลง, อุต — ได้กล่าวไว้

คำแปล

จากการทำลายล้างราชวงศ์ ประเพณีนิรันดรของครอบครัวก็จะถูกทำลายไป ดังนั้นสมาชิกที่เหลือในครอบครัวจะปฏิบัติเยี่ยงคนไร้ศาสนา

คำอธิบาย

ในระบบสถาบัน วรฺณาศฺรม มีหลักธรรมประเพณีทางศาสนามากมายที่จะช่วยให้สมาชิกในครอบครัวเจริญเติบโตอย่างถูกต้องเหมาะสม และมีค่านิยมทิพย์ สมาชิกผู้อาวุโสกว่าจะมีการรับผิดชอบพิธีกรรมต่างๆเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ในครอบครัว เริ่มตั้งแต่เกิดจนตาย แต่เมื่อสมาชิกผู้อาวุโสสิ้นชีพลงประเพณีของครอบครัวเพื่อทำให้บริสุทธิ์นี้นั้นก็อาจต้องหยุดชะงักลง และสมาชิกผู้อ่อนวัยในครอบครัวอาจจะพัฒนานิสัยที่ผิดหลักศาสนา จากนั้นจะสูญเสียโอกาสเพื่อความหลุดพ้นทางจิตวิญญาณ ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลอันใดที่สมาชิกผู้อาวุโสในครอบครัวควรถูกสังหาร

โศลก 40

adharmābhibhavāt kṛṣṇa
praduṣyanti kula-striyaḥ
strīṣu duṣṭāsu vārṣṇeya
jāyate varṇa-saṅkaraḥ
อธรฺมาภิภวาตฺ กฺฤษฺณ
ปฺรทุษฺยนฺติ กุล-สฺตฺริยห์
สฺตฺรีษุ ทุษฺฏาสุ วารฺษฺเณย
ชายเต วรฺณ-สงฺกรห์
อธรฺม — ไร้ศาสนา, อภิภวาตฺ — มีอำนาจมากกว่า, กฺฤษฺณ — โอ้ กฺฤษฺณ, ปฺรทุษฺยนฺติ — ทำให้เสื่อมเสีย, กุล-สฺตฺริยห์ — สุภาพสตรีในครอบครัว, สฺตฺรีษุ — โดยความเป็นสตรี, ทุษฺฏาสุ — มีความเสื่อมเสียมาก, วารฺษฺเณย — โอ้ ผู้สืบสกุลแห่ง วฺฤษฺณิ, ชายเต — มาเป็นอยู่, วรฺณ-สงฺกรห์ — ลูกหลานที่ไม่ต้องการ

คำแปล

เมื่อการทำผิดหลักศาสนามีมากขึ้นในครอบครัว โอ้ กฺฤษฺณ สุภาพสตรีในครอบครัวจะถูกทำให้เสื่อมเสีย และเมื่อสตรีได้รับความเสื่อมเสีย โอ้ ผู้สืบสกุลแห่ง วฺฤษฺณิ ลูกหลานที่ไม่พึงประสงค์ก็จะถือกำเนิด

คำอธิบาย

พลเมืองที่ดีในสังคมมนุษย์เป็นหลักพื้นฐานแห่งความสงบ ความเจริญรุ่งเรือง และความก้าวหน้าในชีวิตทิพย์ หลักธรรมของศาสนา วรฺณาศฺรม ได้ออกแบบไว้ให้มีพลเมืองส่วนใหญ่เป็นพลเมืองที่ดีในสังคมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของรัฐและสังคมในวิถีทิพย์ พลเมืองเช่นนี้นั้นจะขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์และความซื่อสัตย์ของสตรี เหมือนกับเด็กที่มีแนวโน้มไปในทางที่ผิด สตรีก็เช่นกันมีแนวโน้มไปในทางที่เสื่อมได้ ดังนั้นทั้งเด็กและสตรีจำเป็นต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองจากสมาชิกผู้อาวุโสในครอบครัว เมื่อได้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆทางศาสนาสตรีจะไม่ถูกนำไปในทางที่ผิดเรื่องชู้สาว ตามที่ จาณกฺย ปณฺฑิต ได้กล่าวไว้ว่าโดยทั่วไปสตรีไม่ค่อยฉลาดจึงไม่ควรไว้วางใจ ฉะนั้นประเพณีครอบครัว และกิจกรรมทางศาสนาต่างๆตัวสตรีนั้นควรปฏิบัติด้วยความบริสุทธิ์ และการอุทิศตนเสียสละเช่นนี้จะทำให้กำเนิดพลเมืองดีที่สามารถปฏิบัติตามระบบ วรฺณาศฺรม ได้ แต่ที่ วรฺณาศฺรม-ธรฺม ไม่ประสบผลสำเร็จก็เนื่องมาจากสตรีมีอิสระในการคบหากับบุรุษตามธรรมชาติ ดังนั้นความสัมพันธ์ทางชู้สาวจึงเกิดขึ้นซึ่งเสี่ยงในการมีประชากรที่ไม่พึงปรารถนา บุรุษผู้ไม่รับผิดชอบจะชอบมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวในสังคม ดังนั้นจึงจะมีเด็กๆที่ไม่พึงประสงค์ออกมามากมายในสังคมมนุษย์ ซึ่งเป็นการเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดสงครามและโรคระบาด

โศลก 41

saṅkaro narakāyaiva
kula-ghnānāṁ kulasya ca
patanti pitaro hy eṣāṁ
lupta-piṇḍodaka-kriyāḥ
สงฺกโร นรกาไยว
กุล-ฆฺนานำ กุลสฺย จ
ปตนฺติ ปิตโร หฺยฺ เอษำ
ลุปฺต-ปิณฺโฑทก-กฺริยาห์
สงฺกรห์ — เด็กๆผู้ไม่พึงประสงค์, นรกาย — ทำให้ชีวิตเหมือนอยู่ในนรก, เอว — แน่นอน, กุล-ฆฺนานามฺ — สำหรับพวกที่เป็นผู้สังหารครอบครัว, กุลสฺย — เพื่อครอบครัว, — เช่นกัน, ปตนฺติ — ตกต่ำ, ปิตรห์ — บรรพบุรุษ, หิ — แน่นอน, เอษามฺ — ของเขาเหล่านั้น, ลุปฺต หยุด, ปิณฺฑ — การถวายอาหาร, อุทก — และน้ำ, กฺริยาห์ — พิธีปฏิบัติ

คำแปล

แน่นอนว่าการเพิ่มประชากรที่ไม่พึงปราราถนาเป็นสาเหตุแห่งชีวิตเสมือนอยู่ในนรก ทั้งของครอบครัวและของผู้ที่ทำลายประเพณีครอบครัว บรรพบุรุษของครอบครัวที่วิบัติเช่นนี้จะตกต่ำ เพราะพิธีการถวายอาหารและน้ำให้แด่พวกท่านต้องหยุดชะงักลงทั้งหมด

คำอธิบาย

ตามกฎของกิจกรรมเพื่อหวังผลทางวัตถุมีความจำเป็นต้องถวายอาหารและน้ำเป็นครั้งคราวให้แก่บรรพบุรุษของครอบครัว การถวายอาหารเช่นนี้ปฏิบัติด้วยการบูชาพระวิษฺณุ เพราะว่าการรับประทานอาหารที่เหลือจากที่ถวายให้องค์วิษฺณุจะส่งผลให้เราหลุดออกจากการกระทำบาปต่างๆ บางครั้งบรรพบุรุษอาจได้รับทุกข์ทรมานจากผลกรรมต่างๆ และบางครั้งบรรพบุรุษบางคนไม่สามารถแม้กระทั่งไปอยู่ในร่างวัตถุหยาบจึงถูกบังคับให้อยู่ในร่างที่ละเอียด เช่น ร่างผี ดังนั้นเมื่อ ปฺรสาทมฺ (อาหารที่เหลือจากพระวิษฺณุ) ที่เราเอาไปถวายบรรพบุรุษของเราจะให้พวกท่านได้หลุดพ้นจากร่างผีหรือร่างชีวิตที่ทุกข์ทรมานอื่นๆ การช่วยเหลือบรรพบุรุษเป็นประเพณีของครอบครัว และผู้ที่ไม่ได้ใช้ชีวิตอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺจำเป็นต้องปฏิบัติพิธีกรรมเหล่านี้ ผู้ที่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์กฺฤษฺณไม่จำเป็นต้องปฏิบัติพิธีกรรมเหล่านี้ เพียงแต่ปฏิบัติตนรับใช้องค์ภควานฺด้วยความเสียสละเราก็จะสามารถส่งบรรพบุรุษนับร้อยนับพันคนจากความทุกข์ทรมานทั้งปวงได้มีกล่าวไว้ใน ภาควต (11.5.41) ว่า

เทวรฺษิ-ภูตาปฺต-นฺฤณำ ปิตฺฤๅณำ
น กิงฺกโร นายมฺ ฤณี จ ราชนฺ
สรฺวาตฺมนา ยห์ ศรณํ ศรณฺยํ
คโต มุกุนฺทํ ปริหฺฤตฺย กรฺตมฺ
“ผู้ใดที่มาพึ่งพระบาทรูปดอกบัวของ มุกุนฺท ผู้ให้อิสรภาพ ละทิ้งพันธกรณีข้อผูกพันทั้งปวง และยึดเอาวิธีปฏิบัตินี้อย่างจริงจังจะไม่เป็นหนี้ในทางหน้าที่หรือสัญญาข้อผูกมัดใดๆต่อเหล่าเทวดา นักบวช สิ่งมีชีวิตทั่วไป สมาชิกในครอบครัว มนุษยชาติ หรือบรรพบุรุษ”พันธกรณีเหล่านี้ถูกยกเลิกไปโดยปริยายด้วยการปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า

โศลก 42

doṣair etaiḥ kula-ghnānāṁ
varṇa-saṅkara-kārakaiḥ
utsādyante jāti-dharmāḥ
kula-dharmāś ca śāśvatāḥ
โทไษรฺ เอไตห์ กุล-ฆฺนานำ
วรฺณ-สงฺกร-การไกห์
อุตฺสาทฺยนฺเต ชาติ-ธรฺมาห์
กุล-ธรฺมาศฺ จ ศาศฺวตาห์
โทไษห์ — ด้วยความผิดเช่นนี้, เอไตห์ — เขาทั้งหลาย, กุล-ฆฺนานามฺ — ของพวกที่ทำลายครอบครัว, วรฺณ-สงฺกร — เด็กๆที่ไม่พึงประสงค์, การไกห์ — เป็นต้นเหตุ, อุตฺสาทฺยนฺเต — ถูกทำลาย, ชาติ-ธรฺมาห์ — โครงการสังคม, กุล-ธรฺมาห์ — ประเพณีครอบครัว, — เช่นกัน, ศาศฺวตาห์ — นิรันดร

คำแปล

จากการกระทำชั่วของผู้ที่ทำลายล้างประเพณีของครอบครัวจึงทำให้เด็กๆที่ไม่พึงประสงค์กำเนิดขึ้น โครงการเพื่อสังคมและกิจกรรมเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของครอบครัวทั้งหมดก็จะถูกทำลายลง

คำอธิบาย

โครงการเพื่อสังคมมนุษย์สี่ระดับ บวกกับกิจกรรมเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของครอบครัวดังที่ได้กำหนดไว้โดยสถาบัน สนาตน-ธรฺม หรือ วรฺณาศฺรม-ธรฺม ได้ออกแบบไว้เพื่อให้มนุษย์สามารถได้รับความหลุดพ้นขั้นสูงสุด ดังนั้นการฝืนกฎวัฒนธรรมของ สนาตน-ธรฺม โดยผู้นำที่ไม่รับผิดชอบในสังคมจะนำมาซึ่งปัญหาความวุ่นวายในสังคม และจะทำให้เราลืมจุดมุ่งหมายของชีวิตคือ องค์วิษฺณุ ผู้นำเหล่านี้เรียกว่าผู้นำตาบอด ผู้ที่ตามผู้นำตาบอดจะถูกนำไปสู่ความสับสนวุ่นวายแน่นอน

โศลก 43

utsanna-kula-dharmāṇāṁ
manuṣyāṇāṁ janārdana
narake niyataṁ vāso
bhavatīty anuśuśruma
อุตฺสนฺน-กุล-ธรฺมาณำ
มนุษฺยาณำ ชนารฺทน
นรเก นิยตํ วาโส
ภวตีตฺยฺ อนุศุศฺรุม
อุตฺสนฺน — เสีย, กุล-ธรฺมาณามฺ — สำหรับผู้ที่มีประเพณีครอบครัว, มนุษฺยาณามฺ — มนุษย์เช่นนี้, ชนารฺทน — โอ้ กฺฤษฺณ, นรเก — ในนรก, นิยตมฺ — เสมอ, วาสห์ — ที่พัก, ภวติ — กลายมาเป็น, อิติ — ดังนั้น, อนุศุศฺรุม — ข้าได้ยินมาจาก ปรมฺปรา

คำแปล

โอ้ กฺฤษฺณ ผู้ค้ำจุนประชากร ข้าพเจ้าได้ยินมาจากสาย ปรมฺปรา ว่าพวกที่ประเพณีของครอบครัวถูกทำลายนั้นจะต้องตกไปอยู่ในนรก

คำอธิบาย

อรฺชุน ทรงมีหลักพื้นฐานในการโต้แย้งซึ่งไม่ใช่มาจากประสบการณ์ของตนแต่ได้ยินมาจากผู้ที่เชื่อถือได้ นี่คือวิธีการรับความรู้ที่แท้จริง เราไม่สามารถมาถึงจุดที่แท้จริงแห่งความรู้ที่ถูกต้องหากไม่มีผู้ที่มีคุณวุฒิอยู่ในความรู้แห่งสัจธรรมให้การช่วยเหลือ มีระบบในสถาบัน วรฺณาศฺรม ซึ่งก่อนตายเราจะต้องเข้าพิธีชดใช้บาปที่ได้กระทำไว้ ผู้ที่ทำบาปอยู่เสมอจะต้องกระทำพิธีชดใช้เรียกว่า ปฺรายศฺจิตฺต หากไม่ทำเช่นนี้จะต้องถูกส่งไปลงนรกเพื่อรับความทุกข์ทรมานจากผลกรรมที่ได้ก่อไว้อย่างแน่นอน

โศลก 44

aho bata mahat pāpaṁ
kartuṁ vyavasitā vayam
yad rājya-sukha-lobhena
hantuṁ sva-janam udyatāḥ
อโห พต มหตฺ ปาปํ
กรฺตุํ วฺยวสิตา วยมฺ
ยทฺ ราชฺย-สุข-โลเภน
หนฺตุํ สฺว-ชนมฺ อุทฺยตาห์
อโห — อนิจจา, พต — มันแปลกอะไรเช่นนี้, มหตฺ — ยิ่งใหญ่, ปาปมฺ — ความบาป, กรฺตุมฺ — ปฏิบัติ, วฺยวสิตาห์ — ได้ตัดสินใจลงไปแล้ว, วยมฺ — เรา, ยตฺ — เพราะว่า, ราชฺย-สุข-โลเภน — ถูกผลักดันด้วยความโลภเพื่อความสุขอย่างใหญ่หลวง, หนฺตุมฺ — สังหาร, สฺว-ชนมฺ — สังคญาติ, อุทฺยตาห์ — พยามยาม

คำแปล

โอ้ อนิจจา มันแปลกอะไรเช่นนี้ที่เราเตรียมตัวเพื่อกระทำบาปอย่างใหญ่หลวง ด้วยแรงผลักดันจากความปรารถนาเพื่อแสวงหาความสุขอันยิ่งใหญ่นี้ เราจึงตั้งใจสังหารสังคญาติของเราเอง

คำอธิบาย

ด้วยการถูกผลักดันจากแรงกระตุ้นแห่งความเห็นแก่ตัว เราอาจจะเอนเอียงไปทำบาป เช่น สังหารพี่น้อง พ่อแม่ของเราเอง มีตัวอย่างมากมายในประวัติศาสตร์โลก แต่ อรฺชุน ผู้เป็นสาวกใจบุญขององค์ภควานฺ ทรงมีจิตสำนึกในหลักแห่งศีลธรรมอยู่เสมอ ดังนั้นจึงทรงพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการกระทำบาปเช่นนี้

โศลก 45

yadi mām apratīkāram
aśastraṁ śastra-pāṇayaḥ
dhārtarāṣṭrā raṇe hanyus
tan me kṣema-taraṁ bhavet
ยทิ มามฺ อปฺรตีการมฺ
อศสฺตฺรํ ศสฺตฺร-ปาณยห์
ธารฺตราษฺฏฺรา รเณ หนฺยุสฺ
ตนฺ เม เกฺษม-ตรํ ภเวตฺ
ยทิ — ถึงแม้ว่า, มามฺ — ข้าพเจ้า, อปฺรตีการมฺ — ปราศจากการต่อต้าน, อศสฺตฺรมฺ — โดยไม่มีอาวุธ, ศสฺตฺร-ปาณยห์ — ผู้ที่มีอาวุธอยู่ในมือ, ธารฺตราษฺฏฺราห์ — เหล่าโอรสของ ธฺฤตราษฺฏฺร, รเณ — ในสมรภูมิ, หนฺยุห์ — อาจสังหาร, ตตฺ — นั้น, เม — สำหรับข้า, กฺเษม-ตรมฺ — ดีกว่า, ภเวตฺ — อาจเป็น

คำแปล

มันอาจเป็นการดีกว่าถ้าหากว่าเหล่าโอรสของ ธฺฤตราษฺฏฺร ผู้มีอาวุธครบมือมาสังหารข้าพเจ้าขณะที่ข้าพเจ้าไร้อาวุธ และข้าพเจ้าจะไม่ตอบโต้ในสนามรบ

คำอธิบาย

เป็นประเพณีตามหลักการต่อสู้ของ กฺษตฺริย ว่าศัตรูผู้ไม่มีอาวุธ และไม่ยินดีต่อสู้ไม่ควรถูกทำร้าย อย่างไรก็ดี อรฺชุน ทรงตัดสินใจแล้วว่าถึงแม้ศัตรูจะบุกรุกเข้ามาในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสมเช่นนี้พระองค์จะทรงไม่ยอมต่อสู้ โดยมิได้พิจารณาว่าฝ่ายตรงข้ามมีควาปรารถนาจะสู้รบแค่ไหน ลักษณะอาการทั้งหมดนี้ก็เนื่องมาจากหัวใจที่อ่อนโยนจากผลที่ทรงเป็นสาวกผู้ยิ่งใหญ่ขององค์ภควานฺนั้นเอง

โศลก 46

sañjaya uvāca
evam uktvārjunaḥ saṅkhye
rathopastha upāviśat
visṛjya sa-śaraṁ cāpaṁ
śoka-saṁvigna-mānasaḥ
สญฺชย อุวาจ
เอวมฺ อุกฺตฺวารฺชุนห์ สงฺเขฺย
รโถปสฺถ อุปาวิศตฺ
วิสฺฤชฺย ส-ศรํ จาปํ
โศก-สํวิคฺน-มานสห์
สญฺชยห์ อุวาจสญฺชย กล่าว, เอวมฺ — ดังนั้น, อุกฺตฺวา — กล่าวว่า, อรฺชุนห์อรฺชุน, สงฺเขฺย — ในสมรภูมิ, รถ — ของราชรถ, อุปเสฺถ — บนที่นั่ง, อุปาวิศตฺ — นั่งลงอีกครั้ง หนึ่ง, วิสฺฤชฺย — วางลงข้างๆ, ส-ศรมฺ — พร้อมทั้งลูกศร, จาปมฺ — คันธนู, โศก — ความเศร้าโศกเสียใจ, สํวิคฺน — ความทุกข์, มานสห์ — ภายในใจ

คำแปล

สญฺชย กล่าวว่า หลังจาก อรฺชุน ตรัสเช่นนี้ที่สมรภูมิแล้ว ทรงวางคันธนูและลูกศรไว้ข้างๆ และนั่งลงบนราชรถ ภายในจิตใจเต็มไปด้วยความเศร้าโศกเสียใจ

คำอธิบาย

ขณะที่ อรฺชุน ทรงยืนอยู่บนราชรถได้สำรวจสถานการณ์ของฝ่ายศัตรู แต่ว่าพระองค์ทรงถูกครอบงำด้วยความเศร้าโศกเสียใจจึงทรงนั่งลงอีกครั้งพร้อมทั้งวางคันธนูและลูกศรลงข้างๆ ผู้ที่มีจิตสำนึกเมตตาและอ่อนโยนจากการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺเช่นนี้เป็นผู้เหมาะสมที่จะได้รับความรู้แจ้งแห่งตน

ดังนั้นได้จบคำอธิบายโดย ภักดีเวดานตะ บทที่หนึ่งของหนังสือ ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา ในหัวข้อเรื่อง สำรวจกองทัพที่สมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร