บทที่ สิบห้า
โยคะแห่งองค์ภควานฺ
śrī-bhagavān uvāca
ūrdhva-mūlam adhaḥ-śākham
aśvatthaṁ prāhur avyayam
chandāṁsi yasya parṇāni
yas taṁ veda sa veda-vit
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
อูรฺธฺว-มูลมฺ อธห์-ศาขมฺ
อศฺวตฺถํ ปฺราหุรฺ อวฺยยมฺ
ฉนฺทำสิ ยสฺย ปรฺณานิ
ยสฺ ตํ เวท ส เวท-วิตฺ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัส, อูรฺธฺว-มูลมฺ — ด้วยรากอยู่ข้างบน, อธห์ — ลงข้างล่าง, ศาขมฺ — แยกแขนง, อศฺวตฺถมฺ — ต้นไทร, ปฺราหุห์ — กล่าวไว้ว่า, อวฺยยมฺ — อมตะ, ฉนฺทำสิ — ในบทมนต์พระเวท, ยสฺย — ซึ่ง, ปรฺณานิ — ใบ, ยห์ — ผู้ใด ซึ่ง, ตมฺ — นั้น, เวท — รู้, สห์ — เขา, เวท-วิตฺ — ผู้รู้พระเวท
คำแปล
บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงตรัสว่า มีการกล่าวไว้ว่ามีต้นไทรที่ไม่มีวันตาย มีรากขึ้นข้างบน และกิ่งก้านสาขาลงข้างล่าง มีใบคือ บทมนต์พระเวท ผู้รู้ต้นไม้นี้คือ ผู้รู้คัมภีร์พระเวท
คำอธิบาย
หลังจากที่ได้สนทนากันถึงความสำคัญของ ภกฺติ-โยค อาจมีคำถามขึ้นมาว่า “คัมภีร์พระเวทคืออะไร” ได้อธิบายในบทนี้ว่า จุดมุ่งหมายของการศึกษาคัมภีร์พระเวทคือการมาเข้าใจองค์กฺฤษฺณ ดังนั้นผู้ที่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึก หรือผู้ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้เป็นผู้รู้คัมภีร์พระเวทเรียบร้อยแล้ว
การพันธนาการของโลกวัตถุนี้เปรียบเทียบกับต้นไทรไว้ ณ ที่นี้ สำหรับผู้ปฏิบัติกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุต้นไทรนี้ไม่มีที่สิ้นสุด เขาจะเดินทางจากกิ่งก้านหนึ่งไปสู่อีกกิ่งก้านหนึ่งและไปยังอีกกิ่งก้านหนึ่ง ต้นไม้แห่งธรรมชาติวัตถุนี้ไม่มีจุดจบ และผู้ที่ยึดติดกับต้นไม้นี้จะไม่มีทางหลุดพ้นออกไปได้ บทมนต์พระเวทที่หมายไว้เพื่อพัฒนาตัวเราเป็นใบของต้นไม้นี้ รากของต้นงอกขึ้นข้างบน เนื่องจากรากเหล่านี้เริ่มจากสถานที่ที่พระพรหมทรงประทับอยู่ซึ่งเป็นดาวเคราะห์สูงสุดแห่งจักรวาลนี้ หากผู้ใดสามารถเข้าใจต้นไม้แห่งความหลงที่ไม่มีวันถูกทำลายนี้ เขาจึงสามารถออกไปจากมันได้
เราควรเข้าใจวิธีการแก้เพื่อให้หลุดพ้น ในบทก่อนๆได้มีการอธิบายไว้ว่ามีหลายวิธีที่จะทำให้เราหลุดออกไปจากพันธนาการทางวัตถุจนกระทั่งมาถึงบทที่สิบสามเราพบว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺเป็นวิธีที่ดีที่สุด บัดนี้หลักพื้นฐานแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้คือการไม่ยึดติดกับกิจกรรมทางวัตถุและมายึดมั่นกับการรับใช้ทิพย์ต่อพระองค์ วิธีการที่จะตัดการยึดติดกับโลกวัตถุได้กล่าวไว้ในตอนต้นของบทนี้ รากแห่งความเป็นอยู่ทางวัตถุนี้งอกขึ้นข้างบนเช่นนี้หมายความว่า เริ่มจากแก่นสารทางวัตถุมวลรวมจากดาวเคราะห์สูงสุดแห่งจักรวาล และจากที่นั่นจักรวาลทั้งหมดขยายออกด้วยสาขาที่แยกแขนงออกมากมายซึ่งมาเป็นระบบดาวเคราะห์ต่างๆ ผลทางวัตถุที่ได้รับคือผลลัพธ์แห่งกิจกรรมต่างๆของสิ่งมีชีวิต เช่น การศาสนา การพัฒนาเศรษฐกิจ การสนองประสาทสัมผัส และความหลุดพ้น
ในโลกนี้ไม่มีประสบการณ์โดยตรงเกี่ยวกับต้นไม้ที่มีกิ่งก้านสาขาแยกแขนงลงข้างล่างและมีรากขึ้นข้างบน ต้นไม้ชนิดนี้พบได้ที่ขอบสระน้ำ เราสามารถเห็นต้นไม้นี้สะท้อนอยู่ในน้ำมีกิ่งก้านสาขาแยกลงข้างล่างและรากขึ้นข้างบน อีกนัยหนึ่งต้นไม้แห่งโลกวัตถุนี้เป็นเพียงภาพสะท้อนของต้นไม้จริงในโลกทิพย์ การสะท้อนของโลกทิพย์นี้สถิตอยู่ในความปรารถนาเหมือนกับการสะท้อนของต้นไม้สถิตอยู่ในน้ำ ความปรารถนาหรือความต้องการเป็นต้นเหตุของสิ่งต่างๆที่สถิตในแสงแห่งวัตถุที่สะท้อนมานี้ ผู้ที่ปรารถนาจะออกไปจากความเป็นอยู่ทางวัตถุต้องรู้ถึงต้นไม้นี้อย่างละเอียดถี่ถ้วน ด้วยการวิเคราะห์ศึกษาเราจึงสามารถตัดความสัมพันธ์จากมันออกไปได้
ต้นไม้ที่เป็นภาพสะท้อนจากของจริงนี้ถอดแบบออกมาเหมือนกันทุกอย่าง มีทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกทิพย์ พวกที่ไม่เชื่อในรูปลักษณ์คิดว่า พฺรหฺมนฺ เป็นรากของต้นไม้วัตถุนี้ ตามปรัชญา สางฺขฺย กล่าวว่าจากรากนี้ ปฺรกฺฤติ, ปุรุษ ออกมา จากนั้นสาม คุณ ออกมา จากนั้นธาตุหยาบทั้งห้า (ปญฺจ-มหา-ภูต) ออกมา จากนั้นประสาทสัมผัสทั้งสิบ (ทเศนฺทฺริย) จิตใจ ฯลฯ เช่นนี้พวกเขาแบ่งโลกวัตถุทั้งหมดเป็นยี่สิบสี่ธาตุหาก พฺรหฺมนฺ เป็นศูนย์กลางของปรากฏการณ์ทั้งหมดโลกวัตถุนี้ก็เป็นปรากฏการณ์ของศูนย์กลาง 180 องศา และอีก 180 องศาเป็นโลกทิพย์ โลกวัตถุเป็นภาพสะท้อนที่กลับตาลปัตร ดังนั้นโลกทิพย์จะต้องมีความหลากหลายเช่นเดียวกัน แต่ในความเป็นจริง ปฺรกฺฤติ เป็นพลังงานเบื้องต่ำขององค์ภควานฺ และ ปุรุษ คือตัวองค์ภควานฺ นั่นคือคำอธิบายใน ภควัท-คีตา เนื่องจากปรากฏการณ์นี้เป็นวัตถุจึงไม่ถาวรภาพสะท้อนไม่ถาวรเพราะว่าบางครั้งมองเห็น และบางครั้งมองไม่เห็นแต่ของแท้ที่ทำให้ได้ภาพสะท้อนมานั้นเป็นอมตะ ภาพสะท้อนวัตถุจากต้นไม้จริงจะต้องถูกตัดออก เมื่อกล่าวว่าบุคคลรู้คัมภีร์พระเวทหมายความว่าเขารู้ว่า จะตัดการยึดติดกับโลกวัตถุนี้ให้ออกไปได้อย่างไร หากรู้วิธีการนี้เขาเป็นผู้รู้คัมภีร์พระเวทโดยแท้จริง ผู้ที่หลงใหลอยู่กับสูตรพิธีกรรมต่างๆของพระเวทเท่ากับหลงอยู่กับใบสีเขียวอันสวยงามของต้นไม้โดยไม่รู้จุดมุ่งหมายของคัมภีร์พระเวทอย่างแท้จริง จุดมุ่งหมายของคัมภีร์พระเวทเหมือนดังที่บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงเปิดเผยคือ ให้ตัดภาพสะท้อนของต้นไม้นี้ออกและบรรลุถึงต้นไม้ที่แท้จริงแห่งโลกทิพย์
adhaś cordhvaṁ prasṛtās tasya śākhā
guṇa-pravṛddhā viṣaya-pravālāḥ
adhaś ca mūlāny anusantatāni
karmānubandhīni manuṣya-loke
อธศฺ โจรฺธฺวํ ปฺรสฺฤตาสฺ ตสฺย ศาขา
คุณ-ปฺรวฺฤทฺธา วิษย-ปฺรวาลาห์
อธศฺ จ มูลานฺยฺ อนุสนฺตตานิ
กรฺมานุพนฺธีนิ มนุษฺย-โลเก
อธห์ — ลงข้างล่าง, จ — และ, อูรฺธฺวมฺ — ขึ้นข้างบน, ปฺรสฺฤตาห์ — ขยายออก, ตสฺย — ของมัน, ศาขาห์ — แยกแขนง, คุณ — โดยระดับต่างๆของธรรมชาติวัตถุ, ปฺรวฺฤทฺธาห์ — พัฒนา, วิษย — อาตยนะภายนอก, ปฺรวาลาห์ — กิ่งก้าน, อธห์ — ลงข้างล่าง, จ — และ, มูลานิ — ราก, อนุสนฺตตานิ — ขยาย, กรฺม — งาน, อนุพนฺธีนิ — ผูกมัด, มนุษฺย-โลเก — ในโลกของสังคมมนุษย์
คำแปล
สาขาของต้นไม้นี้แตกแขนงลงข้างล่างและขึ้นข้างบน บำรุงเลี้ยงด้วยสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ กิ่งก้านคืออายตนะภายนอก ต้นไม้นี้มีรากลงข้างล่างเช่นเดียวกัน และถูกพันธนาการอยู่ในการกระทำเพื่อผลทางวัตถุของสังคมมนุษย์
คำอธิบาย
ได้อธิบายถึงต้นไทรนี้ต่อไปอีกว่ามีสาขาแยกแขนงออกไปทุกทิศทาง ในส่วนล่างมีปรากฏการณ์อันหลากหลายของสิ่งมีชีวิต เช่น มนุษย์ สัตว์ ม้า วัว สุนัข แมว ฯลฯ ชีวิตเหล่านี้สถิตในส่วนล่างขณะที่ส่วนบนเป็นรูปของสิ่งมีชีวิตที่สูงกว่า เช่น เทวดา คนฺธรฺว และเผ่าพันธุ์ชีวิตอื่นๆที่สูงกว่ามากมาย เหมือนกับต้นไม้ที่ได้รับการบำรุงเลี้ยงจากน้ำต้นไม้นี้ก็จะได้รับการบำรุงเลี้ยงจากสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ บางครั้งเราพบว่าที่ดินผืนนี้แห้งแล้งเนื่องจากมีน้ำไม่เพียงพอ และบางครั้งเราพบว่าที่ดินอีกผืนหนึ่งมีความเขียวชอุ่มมาก ในทำนองเดียวกันสถานที่ที่ระดับแห่งธรรมชาติวัตถุใดมีอัตราส่วนในปริมาณมากกว่าเผ่าพันธุ์ชีวิตต่างๆในระดับนั้นก็ปรากฏ
กิ่งก้านของต้นไม้พิจารณาว่าเป็นอายตนะภายนอก จากการพัฒนาระดับต่างๆแห่งธรรมชาติเราจะพัฒนาประสาทสัมผัสต่างๆ และจากประสาทสัมผัสเราได้รับความสุขอันหลากหลายจากอายตนะภายนอก ยอดของสาขาต่างๆคือ ประสาทสัมผัส เช่น หู จมูก ตา ฯลฯ ซึ่งยึดติดอยู่กับความเพลิดเพลินกับอายตนะภายนอก กิ่งก้านคืออายตนะภายนอก เช่น เสียง รูป สัมผัส ฯลฯ รากรองคือความยึดติดและความเกลียดชัง ซึ่งเป็นผลพลอยได้ของความทุกข์และความสุขทางประสาทสัมผัสอันหลากหลาย แนวโน้มที่จะเป็นคนใจบุญหรือเป็นคนใจบาปพิจารณาว่าพัฒนาจากรากรองเหล่านี้ซึ่งแผ่ขยายไปทุกทิศทาง รากอันแท้จริงมาจาก พฺรหฺมโลก และรากอื่นๆอยู่ในระบบดาวเคราะห์มนุษย์ หลังจากรื่นเริงกับผลบุญที่ได้ไปอยู่ในระบบดาวเคราะห์ที่สูงกว่าแล้วเขาจะตกลงมาในโลกนี้ และสร้างกรรมหรือกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุต่อไปเพื่อความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ ดาวเคราะห์ของมนุษย์นี้พิจารณาว่าเป็นสนามแห่งกิจกรรม
na rūpam asyeha tathopalabhyate
nānto na cādir na ca sampratiṣṭhā
aśvattham enaṁ su-virūḍha-mūlam
asaṅga-śastreṇa dṛḍhena chittvā
น รูปมฺ อเสฺยห ตโถปลภฺยเต
นานฺโต น จาทิรฺ น จ สมฺปฺรติษฺฐา
อศฺวตฺถมฺ เอนํ สุ-วิรูฒ-มูลมฺ
อสงฺค-ศเสฺตฺรณ ทฺฤเฒน ฉิตฺตฺวา
tataḥ padaṁ tat parimārgitavyaṁ
yasmin gatā na nivartanti bhūyaḥ
tam eva cādyaṁ puruṣaṁ prapadye
yataḥ pravṛttiḥ prasṛtā purāṇī
ตตห์ ปทํ ตตฺ ปริมารฺคิตวฺยํ
ยสฺมินฺ คตา น นิวรฺตนฺติ ภูยห์
ตมฺ เอว จาทฺยํ ปุรุษํ ปฺรปเทฺย
ยตห์ ปฺรวฺฤตฺติห์ ปฺรสฺฤตา ปุราณี
น — ไม่, รูปมฺ — รูปลักษณ์, อสฺย — ของต้นไม้นี้, อิห — ในโลกนี้, ตถา — เช่นกัน, อุปลภฺยเต — สามารถสำเหนียกได้, น — ไม่เคย, อนฺตห์ — จบ, น — ไม่เคย, จ — เช่นกัน, อาทิห์ — เริ่มต้น, น — ไม่เคย, จ — เช่นกัน, สมฺปฺรติษฺฐา — รากฐาน, อศฺวตฺถมฺ — ต้นไทร, เอนมฺ — นี้, สุ-วิรูฒ — แข็งแรง, มูลมฺ — ราก, อสงฺค-ศเสฺตฺรณ — ด้วยอาวุธแห่งความไม่ยึดติด, ทฺฤเฒน — แข็งแรง, ฉิตฺตฺวา — ตัด, ตตห์ — หลังจากนั้น, ปทมฺ — สถานการณ์, ตตฺ — นั้น, ปริมารฺคิตวฺยมฺ — ต้องค้นหา, ยสฺมินฺ — ที่ซึ่ง, คตาห์ — ไป, น — ไม่เคย, นิวรฺตนฺติ — พวกเขากลับมา, ภูยห์ — อีกครั้ง, ตมฺ — ถึงพระองค์, เอว — แน่นอน, จ — เช่นกัน, อาทฺยมฺ — แหล่งกำเนิด, ปุรุษมฺ — องค์ภควาน, ปฺรปเทฺย — ศิโรราบ, ยตห์ — จากผู้ซึ่ง, ปฺรวฺฤตฺติห์ — เริ่มต้น, ปฺรสฺฤตา — ขยายออกไป, ปุราณิ — โบราณมาก
คำแปล
รูปลักษณ์อันแท้จริงของต้นไม้นี้สำเหนียกไม่ได้ในโลกนี้ ไม่มีผู้ใดสามารถเข้าใจว่ามันจบลงที่ใด เริ่มต้นจากที่ใด หรือรากฐานอยู่ที่ไหนแต่ด้วยความมุ่งมั่น เขาต้องตัดต้นไม้ที่ฝังรากลึกอย่างแข็งแกร่งนี้ด้วยอาวุธแห่งการไม่ยึดติด ดังนั้นเขาต้องแสวงหาสถานที่ที่เมื่อไปถึงแล้วจะไม่กลับมาอีก ณ ที่นั้นเขาศิโรราบต่อบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าซึ่งเป็นผู้เริ่มต้นทุกสิ่งทุกอย่าง และทุกสิ่งทุกอย่างขยายออกมาจากพระองค์ตั้งแต่กาลสมัยดึกดำบรรพ์
คำอธิบาย
บัดนี้ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่ารูปลักษณ์อันแท้จริงของต้นไทรนี้ไม่สามารถเข้าใจได้ในโลกวัตถุ เนื่องจากรากของมันขึ้นข้างบนและการแผ่ขยายของต้นไม้จริงอยู่อีกด้านหนึ่ง เมื่อถูกพันธนาการด้วยการแพร่ขยายทางวัตถุของต้นไม้เราจึงไม่สามารถเห็นได้ว่าต้นไม้นี้ขยายออกไปไกลเท่าใด และก็ไม่สามารถเห็นจุดเริ่มต้นของต้นไม้นี้ ถึงกระนั้นเราต้องค้นหาสาเหตุว่า “ข้าเป็นบุตรของบิดา บิดาข้าเป็นบุตรของบุคคลคนนี้ เป็นต้น” จากการค้นหาเช่นนี้จะมาถึงพระพรหมผู้ซึ่ง ครฺโภทก-ศายี วิษฺณุ ทรงเป็นผู้ให้กำเนิด ในที่สุดเมื่อมาถึงองค์ภควานฺงานวิจัยก็เสร็จสิ้น เราต้องค้นหาบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าผู้ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของต้นไม้นี้ด้วยการคบหาสมาคมกับบุคคลผู้มีความรู้แห่งองค์ภควานฺนั้น จากความเข้าใจจะทำให้เราค่อยๆไม่ยึดติดกับภาพสะท้อนที่ผิดซึ่งไม่ใช่ของจริง จากความรู้นี้จึงสามารถตัดขาดความสัมพันธ์กับมันและสถิตอย่างแท้จริงในต้นไม้จริง
คำว่า อสงฺค มีความสำคัญมากในประเด็นนี้เพราะว่าการยึดติดกับความรื่นเริงทางประสาทสัมผัส และความเป็นเจ้าเหนือธรรมชาติวัตถุมีความแข็งแกร่งมาก ฉะนั้นเราต้องเรียนรู้การไม่ยึดติดด้วยการสนทนาศาสตร์ทิพย์ซึ่งมีพื้นฐานอยู่ที่พระคัมภีร์ที่เชื่อถือได้ และต้องสดับฟังจากบุคคลผู้อยู่ในความรู้จริงๆ จากผลของการสนทนาในการคบหาสมาคมกับเหล่าสาวกเช่นนี้เราจะมาถึงบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า สิ่งแรกที่ต้องกระทำคือศิโรราบต่อพระองค์ การบรรยายถึงสถานที่ซึ่งเมื่อไปถึงแล้วจะไม่กลับมายังภาพสะท้อนของต้นไม้ที่ผิดๆนี้อีก ได้บอกไว้ ณ ที่นี้ว่าองค์ภควานฺ กฺฤษฺณทรงเป็นรากเดิมแท้ที่ทุกสิ่งทุกอย่างปรากฏออกมา เพื่อให้พระองค์ทรงพระกรุณาเราต้องศิโรราบอย่างเดียว และนี่คือผลแห่งการปฏิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้ ด้วยการสดับฟัง การสวดภาวนา ฯลฯ พระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดแห่งการแผ่ขยายของโลกวัตถุซึ่งพระองค์ทรงอธิบายไว้แล้วว่า อหํ สรฺวสฺย ปฺรภวห์ “ข้าคือแหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง” ฉะนั้นในการออกจากพันธนาการของต้นไทรแห่งชีวิตวัตถุที่แข็งแกร่งนี้ เราต้องศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณ ทันทีที่ศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณเราจะไม่ยึดติดกับการแผ่ขยายทางวัตถุนี้โดยปริยาย
nirmāna-mohā jita-saṅga-doṣā
adhyātma-nityā vinivṛtta-kāmāḥ
dvandvair vimuktāḥ sukha-duḥkha-saṁjñair
gacchanty amūḍhāḥ padam avyayaṁ tat
นิรฺมาน-โมหา ชิต-สงฺค-โทษา
อธฺยาตฺม-นิตฺยา วินิวฺฤตฺต-กามาห์
ทฺวนฺไทฺวรฺ วิมุกฺตาห์ สุข-ทุห์ข-สํชฺไญรฺ
คจฺฉนฺตฺยฺ อมูฒาห์ ปทมฺ อวฺยยํ ตตฺ
นิห์ — ปราศจาก, มาน — เกียรติยศที่ผิด, โมหาห์ — และความหลง, ชิต — เอาชนะ, สงฺค — การคบหาสมาคม, โทษาห์ — ความผิด, อธฺยาตฺม — ในความรู้ทิพย์, นิตฺยาห์ — ในความเป็นอมตะ, วินิวฺฤตฺต — ไม่คบหาสมาคม, กามาห์ — จากราคะ, ทฺวนฺไทฺวห์ — จากสิ่งคู่, วิมุกฺตาห์ — หลุดพ้น, สุข-ทุห์ข — ความสุขและความทุกข์, สํชฺไญห์ — ชื่อ, คจฺฉนฺติ — บรรลุ, อมูฒาห์ — ไม่สับสน, ปทมฺ — สถานการณ์, อวฺยยมฺ — อมตะ, ตตฺ — นั้น
คำแปล
พวกที่เป็นอิสระจากเกียรติยศที่ผิด ความหลง และการคบหาสมาคมที่ผิด ผู้ที่เข้าใจความเป็นอมตะ จบสิ้นกับราคะทางวัตถุ ผู้เป็นอิสระจากสิ่งคู่แห่งความสุขและความทุกข์ ไม่สับสน รู้ว่าจะศิโรราบต่อองค์ภควานอย่างไร จะบรรลุถึงอาณาจักรอมตะนั้น
คำอธิบาย
วิธีการศิโรราบได้อธิบายไว้อย่างสวยงาม ณ ที่นี้ว่า เราไม่ควรหลงอยู่กับความหยิ่งยะโส เนื่องจากพันธวิญญาณผยองคิดว่าตัวเองเป็นเจ้าแห่งธรรมชาติวัตถุจึงเป็นการยากมากที่จะศิโรราบต่อบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า จากการพัฒนาความรู้ที่แท้จริงเราควรรู้ว่าตัวเราไม่ใช่เจ้าแห่งธรรมชาติวัตถุ องค์ภควานฺทรงเป็นเจ้าของ เมื่อเป็นอิสระจากความหลงอันเนื่องมาจากความหยิ่งยะโสเราจะสามารถเริ่มวิธีการศิโรราบ สำหรับผู้ที่คาดหวังเกียรติยศบางอย่างในโลกวัตถุนี้เสมอจะเป็นไปไม่ได้ที่จะศิโรราบต่อองค์ภควานฺ ความหยิ่งยะโสก็เนื่องมาจากความหลง ถึงแม้ว่าเรามาที่นี่อยู่เพียงระยะเวลาสั้นแล้วต้องจากไปเราก็ยังมีความเห็นอย่างโง่ๆว่า เราคือเจ้าแห่งโลกนี้ ดังนั้นจึงทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นที่สับสนและมีปัญหาเสมอ โลกทั้งโลกหมุนไปภายใต้ความรู้สึกเช่นนี้ ผู้คนพิจารณาว่าแผ่นดินและโลกนี้เป็นของสังคมมนุษย์ และได้แบ่งที่ดินภายใต้ความรู้สึกผิดๆว่าพวกตนเป็นเจ้าของ เราต้องออกจากความเห็นที่ผิดนี้ว่าสังคมมนุษย์เป็นเจ้าของโลกใบนี้ เมื่อเป็นอิสระจากความเห็นผิดเช่นนี้เขาจึงจะเป็นอิสระจากการคบหาสมาคมจอมปลอมทั้งหลายที่เกิดมาจากความรักใคร่กับครอบครัว สังคม และประเทศชาติ การคบหาสมาคมที่ผิดเหล่านี้ผูกมัดเราให้อยู่ในโลกวัตถุ หลังจากระดับนี้เราต้องพัฒนาความรู้ทิพย์ ซึ่งต้องพัฒนาความรู้ว่าอะไรเป็นของตนที่แท้จริงและอะไรไม่ใช่ของตนที่แท้จริง และเมื่อเข้าใจสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงก็จะเป็นอิสระจากแนวคิดที่เป็นสิ่งคู่ทั้งหลาย เช่น ความสุขและความทุกข์ ความรื่นเริงและความเจ็บปวด เราจะเปี่ยมไปด้วยความรู้ จากนั้นจึงจะเป็นไปได้ที่จะศิโรราบต่อบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า
na tad bhāsayate sūryo
na śaśāṅko na pāvakaḥ
yad gatvā na nivartante
tad dhāma paramaṁ mama
น ตทฺ ภาสยเต สูโรฺย
น ศศางฺโก น ปาวกห์
ยทฺ คตฺวา น นิวรฺตนฺเต
ตทฺ ธาม ปรมํ มม
น — ไม่, ตตฺ — นั้น, ภาสยเต — ส่องแสง, สูรฺยห์ — ดวงอาทิตย์, น — ไม่, ศศางฺกห์ — ดวงจันทร์, น — ไม่, ปาวกห์ — ไฟ, ไฟฟ้า, ยตฺ — ที่ไหน, คตฺวา — ไป, น — ไม่, นิวรฺตนฺเต — พวกเขากลับมา, ตตฺ ธาม — สถานที่นั้น, ปรมมฺ — สูงสุด, มม — ของข้า
คำแปล
พระตำหนักสูงสุดของข้านั้นมิใช่สว่างไสวด้วยดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ไฟ หรือไฟฟ้า ผู้ที่ไปถึงที่นั่นจะไม่กลับมายังโลกวัตถุนี้อีก
คำอธิบาย
โลกทิพย์หรือพระตำหนักขององค์กฺฤษฺณบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้ามีชื่อว่า กฺฤษฺณโลก โคโลก วฺฤนฺทาวน ได้อธิบายไว้ ณ ที่นี้ว่า ในท้องฟ้าทิพย์ไม่จำเป็นต้องมีแสงอาทิตย์ แสงจันทร์ แสงไฟ หรือไฟฟ้า เพราะว่าดาวเคราะห์ทั้งหมดมีแสงสว่างอยู่ในตัว ในจักรวาลนี้มีดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่มีแสงอยู่ในตัวคือ ดวงอาทิตย์ แต่ดาวเคราะห์ในท้องฟ้าทิพย์ทั้งหมดมีแสงสว่างอยู่ในตัว รัศมีที่ส่องออกมาจากดาวเคราะห์ทั้งหมด (ไวกุณฺฐ) ประกอบกันเป็นท้องฟ้าที่เจิดจรัสเรียกว่า พฺรหฺม-โชฺยติรฺ อันที่จริงรัศมีได้สาดส่องออกมาจากดาวเคราะห์ขององค์กฺฤษฺณคือ โคโลก วฺฤนฺทาวน ส่วนหนึ่งของรัศมีที่สาดส่องออกมานั้นถูก มหตฺ-ตตฺตฺว หรือโลกวัตถุปกคลุม นอกนั้นส่วนใหญ่ของท้องฟ้าที่สาดแสงจะเต็มไปด้วยดาวเคราะห์ทิพย์เรียกว่า ไวกุณฺฐ ดวงที่สำคัญที่สุดคือ โคโลก วฺฤนฺทาวน
ตราบใดที่สิ่งมีชีวิตยังอยู่ในโลกวัตถุอันมืดมนนี้ เขาต้องติดอยู่ในชีวิตที่ถูกพันธนาการ แต่ทันทีที่ไปถึงท้องฟ้าทิพย์ด้วยการตัดต้นไม้ไม่จริงที่กลับตาลปัตรแห่งโลกวัตถุนี้ เขาจะเป็นอิสระและไม่มีโอกาสกลับมาที่นี่อีก ในชีวิตที่ถูกพันธนาการสิ่งมีชิวิตพิจารณาว่าตนเองเป็นเจ้าของแห่งโลกวัตถุนี้ แต่ในระดับหลุดพ้นเขาเข้าไปในอาณาจักรทิพย์และอยู่ใกล้ชิดกับองค์ภควานฺ ณ ที่นั้นเขารื่นเริงอยู่กับความปลื้มปีติสุขนิรันดร มีชีวิตเป็นอมตะ และเปี่ยมไปด้วยความรู้
เราควรยินดีกับข้อมูลนี้และควรปรารถนาที่จะย้ายตนเองไปยังโลกอมตะนั้น เราควรแก้ไขตนเองให้หลุดพ้นจากภาพสะท้อนที่ผิดไปจากความจริงนี้ สำหรับผู้ที่ยึดติดมากอยู่กับโลกวัตถุการตัดจากความยึดติดนั้นเป็นสิ่งที่ยากมาก ถ้าหากว่าเราปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกก็จะค่อยๆทำให้เรายึดติดน้อยลง เราต้องคบหาสมาคมกับสาวกผู้อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึก และควรแสวงหาสมาคมที่อุทิศตนให้แก่กฺฤษฺณจิตสำนึก และเรียนรู้การปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ เช่นนี้จะทำให้สามารถตัดความยึดติดกับโลกวัตถุนี้ได้ หากครองผ้าเหลืองเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถทำให้เราตัดความยึดติดกับความหลงใหลในโลกวัตถุได้ เราต้องยึดมั่นกับการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺ และควรปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างจริงจัง ดังที่ได้อธิบายไว้ในบทที่สิบสอง ซึ่งเป็นวิถีทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้เราออกไปจากตัวแทนจอมปลอมของต้นไม้จริงนี้ ในบทที่สิบสี่ได้อธิบายถึงวิธีการทั้งหลายของธรรมชาติวัตถุที่ทำให้มีมลทิน ได้กล่าวไว้ว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้เท่านั้นที่เป็นทิพย์อย่างบริสุทธิ์
คำว่า ปรมํ มม มีความสำคัญมากตรงนี้ อันที่จริงทุกซอกทุกมุมเป็นสมบัติขององค์ภควานฺ แต่โลกทิพย์เป็น ปรมมฺ ซึ่งเต็มไปด้วยความมั่งคั่งหกประการ กฐ อุปนิษทฺ (2.2.15) ยืนยันไว้เช่นกันว่าในโลกทิพย์ไม่จำเป็นต้องมีแสงอาทิตย์ แสงจันทร์ หรือหมู่ดวงดาว (น ตตฺร สูโรฺย ภาติ น จนฺทฺร-ตารกมฺ) เนื่องจากพลังงานเบื้องสูงขององค์ภควานฺส่องแสงสว่างไสวไปทั่วท้องฟ้าทิพย์ทั้งหมด พระตำหนักสูงสุดจะบรรลุได้ด้วยการศิโรราบเท่านั้น ใช่ไม่ด้วยวิธีอื่นใดทั้งสิ้น
mamaivāṁśo jīva-loke
jīva-bhūtaḥ sanātanaḥ
manaḥ-ṣaṣṭhānīndriyāṇi
prakṛti-sthāni karṣati
มไมวำโศ ชีว-โลเก
ชีว-ภูตห์ สนาตนห์
มนห์-ษษฺฐานีนฺทฺริยาณิ
ปฺรกฺฤติ-สฺถานิ กรฺษติ
มม — ของข้า, เอว — แน่นอน, อํศห์ — ละอองน้อยๆ, ชีว-โลเก — ในโลกแห่งชีวิตพันธนาการ, ชีว-ภูตห์ — พันธชีวิต, สนาตนห์ — อมตะ, มนห์ — ด้วยจิตใจ, ษษฺฐานิ — หก, อินฺทฺริยาณิ — ประสาทสัมผัส, ปฺรกฺฤติ — ธรรมชาติวัตถุ, สฺถานิ — สถิต, กรฺษติ — ดิ้นรนด้วยความยากลำบาก
คำแปล
สิ่งมีชีวิตในโลกแห่งพันธนาการนี้เป็นละอองน้อยๆนิรันดรของข้า เนื่องจากชีวิตที่ถูกพันธนาการพวกเขาจึงต้องดิ้นรนด้วยความยากลำบากมากกับประสาทสัมผัสทั้งหกซึ่งรวมทั้งจิตใจ
คำอธิบาย
โศลกนี้บุคลิกลักษณะของสิ่งมีชีวิตได้ให้ไว้อย่างชัดเจน สิ่งมีชีวิตเป็นละอองน้อยๆขององค์ภควานฺชั่วกัลปวสาน ไม่ใช่ว่าเราเป็นปัจเจกบุคคลในพันธชีวิตและเมื่อหลุดพ้นแล้วจะมาเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ เรายังคงเป็นละอองน้อยๆชั่วนิรันดร ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าเป็น สนาตนห์ ตามความเห็นของพระเวทองค์ภควานฺทรงปรากฏและแบ่งภาคเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ภาคที่แบ่งแยกครั้งแรกเรียกว่า วิษฺณุ-ตตฺตฺว และภาคแบ่งแยกครั้งที่สองคือสิ่งมีชีวิต อีกนัยหนึ่ง วิษฺณุ-ตตฺตฺว คือภาคแบ่งแยกส่วนพระองค์และสิ่งมีชีวิตเป็นภาคแบ่งแยกที่แยกออกไปจากภาคแบ่งแยกส่วนพระองค์ พระองค์ทรงปรากฏในรูปลักษณ์ต่างๆ เช่น พระราม, นฺฤสึห-เทว, วิษฺณุมูรฺติ และพระปฏิมาผู้ปกครองสูงสุดในดาวเคราะห์ ไวกุณฺฐ ทั้งหมด สิ่งมีชีวิตผู้เป็นภาคแบ่งแยกที่แยกออกมาเป็นผู้รับใช้นิรันดร ภาคแบ่งแยกส่วนพระองค์ของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าซึ่งเป็นปัจเจกบุคคลแห่งองค์ภควานฺทรงปรากฏอยู่เสมอ ในทำนองเดียวกันภาคแบ่งแยกที่แยกออกไปแห่งสิ่งมีชีวิตก็มีบุคลิกลักษณะของตนเองเช่นกัน ในฐานะที่เป็นละอองอณูขององค์ภควานฺสิ่งมีชีวิตก็มีคุณสมบัติส่วนน้อยๆของพระองค์ ดังเช่นอิสรภาพก็เป็นหนึ่งในคุณสมบัติ ทุกๆชีวิตในฐานะที่เป็นปัจเจกวิญญาณมีบุคลิกลักษณะส่วนตัว และมีรูปแบบแห่งความเป็นอิสระอยู่เล็กน้อย จากการใช้อิสระภาพไปในทางที่ผิดทำให้กลายมาเป็นพันธวิญญาณ และจากการใช้อิสรภาพไปในทางที่ถูกจะทำให้เขาหลุดพ้นอยู่เสมอ ไม่ว่าในกรณีใดปัจเจกวิญญาณมีคุณสมบัติเหมือนกับองค์ภควานฺชั่วนิรันดร ในสภาวะหลุดพ้นเขาเป็นอิสระจากสภาวะทางวัตถุ และอยู่ภายใต้การปฏิบัติรับใช้ทิพย์ต่อองค์ภควานฺ ในพันธชีวิตเขาถูกสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุครอบงำจนทำให้ลืมการรับใช้ด้วยความรักทิพย์ต่อพระองค์ ผลก็คือต้องดิ้นรนด้วยความยากลำบากเพื่อดำรงไว้ซึ่งความเป็นอยู่ในโลกวัตถุ
สิ่งมีชีวิตไม่เฉพาะแต่มนุษย์ แมว และสุนัข แม้แต่บรรดาผู้ควบคุมโลกวัตถุผู้ยิ่งใหญ่ เช่น พระพรหม พระศิวะ หรือแม้แต่พระวิษฺณุทั้งหมดล้วนเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ ทั้งหมดเป็นอมตะ ไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ชั่วคราว คำว่า กรฺษติ (“ดิ้นรน” หรือ “ต่อสู้อย่างหนัก”) มีความสำคัญมาก พันธวิญญาณถูกพันธนาการเหมือนถูกล่ามด้วยโซ่ตรวน ถูกอหังการล่ามโซ่ และจิตใจเป็นหัวหน้าผู้แทนซึ่งผลักให้เขามีความเป็นอยู่ทางวัตถุนี้ เมื่อจิตใจอยู่ในระดับความดีกิจกรรมนั้นก็ดีตาม แต่เมื่อจิตใจอยู่ในระดับตัณหากิจกรรมนั้นก็จะสร้างปัญหา และเมื่อจิตใจอยู่ในระดับอวิชชาเขาก็จะเดินทางอยู่ในเผ่าพันธุ์ชีวิตที่ต่ำกว่า อย่างไรก็ดีในโศลกนี้มีความชัดเจนว่า พันธวิญญาณพร้อมทั้งจิตใจและประสาทสัมผัสต่างๆถูกร่างวัตถุปกคลุม และเมื่อหลุดพ้นแล้วสิ่งปกคลุมทางวัตถุนี้จะสูญสลายไป แต่ร่างทิพย์ของเขาจะปรากฏปัจเจกศักยภาพในตัวเอง มีข้อมูลนี้ใน มาธฺยนฺทินายน-ศฺรุติ ดังนั้น ส วา เอษ พฺรหฺม-นิษฺฐ อิทํ ศรีรํ มรฺตฺยมฺ อติสฺฤชฺย พฺรหฺมาภิสมฺปทฺย พฺรหฺมณา ปศฺยติ พฺรหฺมณา ศฺฤโณติ พฺรหฺมไณเวทํ สรฺวมฺ อนุภวติ ได้กล่าวตรงนี้ว่า เมื่อสิ่งมีชีวิตยกเลิกร่างวัตถุนี้และเข้าไปในโลกทิพย์เขาฟื้นฟูร่างทิพย์ของตนเอง ในร่างทิพย์เขาสามารถเห็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าซึ่งๆหน้า สามารถสดับฟังและพูดกับพระองค์ซึ่งๆหน้า และสามารถเข้าใจองค์ภควานฺตามความเป็นจริง จาก สฺมฺฤติ ก็เช่นกัน เข้าใจว่า วสนฺติ ยตฺร ปุรุษาห์ สเรฺว ไวกุณฺฐ-มูรฺตยห์ ในดาวเคราะห์ทิพย์ทุกๆชีวิตอยู่ในร่างกายที่มีลักษณะคล้ายพระวรกายขององค์ภควานฺ สำหรับโครงสร้างของร่างกายไม่มีข้อแตกต่างระหว่างละอองอณู สิ่งมีชีวิต และภาคแบ่งแยกของ วิษฺณุ-มูรฺติ อีกนัยหนึ่งเมื่อเป็นอิสรภาพสิ่งมีชีวิตจะได้รับร่างทิพย์ด้วยพระกรุณาธิคุณของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า
คำว่า มไมวำศห์ (“ละอองอณูขององค์ภควานฺ”) มีความสำคัญมากเช่นเดียวกัน ส่วนน้อยๆขององค์ภควานฺไม่เหมือนกับส่วนที่แตกหักของวัตถุบางอย่าง เราทราบจากบทที่สองว่าดวงวิญญาณถูกตัดเป็นชิ้นๆไม่ได้ ละอองน้อยๆนี้ไม่สามารถสำเหนียกได้ในเชิงวัตถุ ไม่เหมือนกับวัตถุที่ถูกตัดเป็นชิ้นๆและนำมาต่อเข้าด้วยกันอีกครั้งได้ แนวคิดนั้นใช้ไม่ได้ตรงนี้ เพราะว่าคำสันสฤต สนาตน (“อมตะ”) หมายความว่าละอองอณูเป็นอมตะ ได้กล่าวไว้ในตอนต้นของบทที่สองเช่นกันว่า ในแต่ละปัจเจกร่างกายมีละอองอณูขององค์ภควานฺปรากฏอยู่ (เทหิโน ’สฺมินฺ ยถา เทเห) ละอองอณูนั้นเมื่อหลุดพ้นจากพันธนาการทางร่างกายแล้วจะฟื้นฟูร่างทิพย์เดิมแท้ของตนในท้องฟ้าทิพย์ภายในดาวเคราะห์ทิพย์ และรื่นเริงในการอยู่ใกล้ชิดกับพระองค์ อย่างไรก็ดีเข้าใจได้ ณ ที่นี้ว่า สิ่งมีชีวิตเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺมีคุณภาพเช่นเดียวกับพระองค์ เปรียบเสมือนเศษทองก็เป็นทองเช่นเดียวกัน
śarīraṁ yad avāpnoti
yac cāpy utkrāmatīśvaraḥ
gṛhītvaitāni saṁyāti
vāyur gandhān ivāśayāt
ศรีรํ ยทฺ อวาปฺโนติ
ยจฺ จาปฺยฺ อุตฺกฺรามตีศฺวรห์
คฺฤหีไตฺวตานิ สํยาติ
วายุรฺ คนฺธานฺ อิวาศยาตฺ
ศรีรมฺ — ร่างกาย, ยตฺ — ประหนึ่ง, อวาปฺโนติ — ได้รับ, ยตฺ — ประหนึ่ง, จ อปิ — เช่นกัน, อุตฺกฺรามติ — ยกเลิก, อีศฺวรห์ — เจ้าแห่งร่างกาย, คฺฤหีตฺวา — ได้รับ, เอตานิ — ทั้งหมดนี้, สํยาติ — ไป, วายุห์ — ลม, คนฺธานฺ — กลิ่น, อิว — เหมือน, อาศยาตฺ — จากแหล่งของพวกเขา
คำแปล
สิ่งมีชีวิตในโลกวัตถุนำเอาแนวคิดแห่งชีวิตที่ไม่เหมือนกันจากร่างหนึ่งไปยังอีกร่างหนึ่ง เหมือนกับลมที่นำพาเอากลิ่นไป ดังนั้นเขาจึงรับเอาร่างหนึ่งมา แล้วออกไปเพื่อรับเอาอีกร่างหนึ่ง
คำอธิบาย
ณ ที่นี้ได้อธิบายว่าสิ่งมีชีวิตเป็น อีศฺวร หรือผู้ควบคุมร่างกายของตนเอง หากปรารถนาเขาสามารถเปลี่ยนร่างกายให้ได้คุณภาพที่สูงกว่า ในลักษณะเดียวกันนั้นก็สามารถย้ายลงไปในชั้นที่ต่ำกว่า เขามีอิสรภาพเพียงเล็กน้อย การเปลี่ยนร่างกายขึ้นอยู่กับตัวเขาเอง ในขณะตายจิตสำนึกที่สร้างขึ้นมาจะนำพาเขาไปยังร่างต่อไป หากทำให้จิตสำนึกเหมือนกับแมวหรือสุนัข แน่นอนว่าต้องเปลี่ยนเป็นร่างแมวหรือร่างสุนัข และหากตั้งมั่นจิตสำนึกในคุณสมบัติเทพเขาจะเปลี่ยนร่างเป็นเทพ และหากอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเขาจะย้ายไปยัง กฺฤษฺณโลก ในโลกทิพย์และจะอยู่ใกล้กับองค์กฺฤษฺณ เป็นการกล่าวอ้างที่ผิดๆที่ว่าหลังจากร่างกายนี้ถูกทำลายไปทุกสิ่งทุกอย่างจะจบสิ้นลง อันที่จริงปัจเจกวิญญาณย้ายจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง ร่างกายและกิจกรรมปัจจุบันเป็นพื้นฐานสำหรับร่างต่อไป เราได้รับร่างกายที่ไม่เหมือนกันตามกรรม และต้องออกจากร่างนี้ไปตามกาลเวลา ได้กล่าวไว้ ณ ที่นี้ว่าร่างละเอียดจะนำพาแนวคิดไปยังร่างต่อไป และพัฒนาอีกร่างหนึ่งในชาติหน้า กรรมวิธีแห่งการเปลี่ยนจากร่างหนึ่งไปยังอีกร่างหนึ่งและดิ้นรนต่อสู้ขณะอยู่ในร่างกายเรียกว่า กรฺษติ หรือการดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด
śrotraṁ cakṣuḥ sparśanaṁ ca
rasanaṁ ghrāṇam eva ca
adhiṣṭhāya manaś cāyaṁ
viṣayān upasevate
โศฺรตฺรํ จกฺษุห์ สฺปรฺศนํ จ
รสนํ ฆฺราณมฺ เอว จ
อธิษฺฐาย มนศฺ จายํ
วิษยานฺ อุปเสวเต
โศฺรตฺรมฺ — หู, จกฺษุห์ — ตา, สฺปรฺศนมฺ — สัมผัส, จ — เช่นกัน, รสนมฺ — ลิ้น, ฆฺราณมฺ — อำนาจในการดมกลิ่น, เอว — เช่นกัน, จ — และ, อธิษฺฐาย — สถิตใน, มนห์ — จิตใจ, จ — เช่นกัน, อยมฺ — เขา, วิษยานฺ — อายตะนภายนอก, อุปเสวเต — รื่นเริง
คำแปล
ดังนั้นสิ่งมีชีวิตได้ร่างหยาบอีกร่างหนึ่ง มีชนิดของหู ตา ลิ้น จมูก และความรู้สึกในการสัมผัสโดยเฉพาะซึ่งรวมกันอยู่รอบๆจิตใจ จากนั้นเขาก็รื่นเริงกับอายตนะภายนอกอีกชุดหนึ่งโดยเฉพาะ
คำอธิบาย
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ หากสิ่งมีชีวิตเจือปนจิตสำนึกของตนเองกับคุณสมบัติของแมวและสุนัข ในชาติหน้าจะได้รับร่างแมวหรือร่างสุนัขและรื่นเริงกับมัน เดิมทีจิตสำนึกบริสุทธิ์เหมือนน้ำแต่ถ้าเราผสมน้ำกับสีมันจะเปลี่ยนสี เช่นเดียวกับจิตสำนึกบริสุทธิ์เพราะว่าดวงวิญญาณนั้นบริสุทธิ์ แต่จิตสำนึกเปลี่ยนไปตามที่เรามาใกล้ชิดกับคุณลักษณะทางวัตถุ จิตสำนึกที่แท้จริงคือกฺฤษฺณจิตสำนึก ดังนั้นเมื่อสถิตในกฺฤษฺณจิตสำนึกเราจะอยู่ในชีวิตที่บริสุทธิ์แห่งตนเอง แต่หากว่าจิตสำนึกเจือปนกับแนวคิดทางวัตถุบางอย่างในชาติหน้าเขาจะได้รับร่างกายตามนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องได้รับร่างมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง เขาอาจได้รับร่างแมว สุนัข สุกร เทวดา หรือหนึ่งในหลายๆร่างเพราะมีถึง 8,4000,000 เผ่าพันธุ์
utkrāmantaṁ sthitaṁ vāpi
bhuñjānaṁ vā guṇānvitam
vimūḍhā nānupaśyanti
paśyanti jñāna-cakṣuṣaḥ
อุตฺกฺรามนฺตํ สฺถิตํ วาปิ
ภุญฺชานํ วา คุณานฺวิตมฺ
วิมูฒา นานุปศฺยนฺติ
ปศฺยนฺติ ชฺญาน-จกฺษุษห์
อุตฺกฺรามนฺตมฺ — ออกจากร่างกาย, สฺถิตมฺ — สถิตในร่างกาย, วา อปิ — ทั้งสอง, ภุญฺชานมฺ — รื่นเริง, วา — หรือ, คุณ-อนฺวิตมฺ — ภายใต้มนต์สะกดของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ, วิมูฒาห์ — คนโง่, น — ไม่เคย, อนุปศฺยนฺติ — สามารถเห็น, ปศฺยนฺติ — สามารถเห็น, ชฺญาน-จกฺษุษห์ — พวกที่มีจักษุแห่งความรู้
คำแปล
คนโง่เขลาไม่สามารถเข้าใจว่าสิ่งมีชีวิตจะออกจากร่างกายของตนเองได้อย่างไร และก็ไม่สามารถเข้าใจว่าร่างกายชนิดไหนที่เขาจะรื่นเริงภายใต้มนต์สะกดของระดับแห่งธรรมชาติ แต่ผู้มีสายตาที่ได้รับการฝึกฝนในความรู้จะสามารถเห็นทั้งหมดนี้
คำอธิบาย
คำว่า ชฺญาน-จกฺษุษห์ สำคัญมาก หากปราศจากความรู้ก็จะไม่สามารถเข้าใจว่าสิ่งมีชีวิตออกจากร่างปัจจุบันได้อย่างไร ร่างกายชนิดไหนที่เขาจะได้รับในชาติหน้า และทำไมจึงมาอยู่ในร่างนี้โดยเฉพาะ สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องมีความรู้มากพอสมควรที่เข้าใจมาจาก ภควัท-คีตา และวรรณกรรมคล้ายกันนี้ รวมทั้งสดับฟังมาจากพระอาจารย์ทิพย์ผู้ที่เชื่อถือ ผู้ใดที่ได้รับการฝึกฝนให้สำเหนียกสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นผู้โชคดี ทุกๆชีวิตออกจากร่างของตนภายใต้สถานการณ์เฉพาะซึ่งอยู่ภายใต้มนต์สะกดของธรรมชาติวัตถุ ผลก็คือเราได้รับความทรมานต่างๆจากความสุขและความทุกข์ ภายใต้ความหลงแห่งการรื่นรมณ์ในประสาทสัมผัสคนที่โง่อยู่กับราคะและความต้องการอยู่ตลอดเวลา เขาได้สูญเสียพลังอำนาจในการเข้าใจทั้งหมดเกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนร่างและการที่ตนเองมาอยู่ในร่างเฉพาะนี้ บุคคลเหล่านี้ไม่สามารถทำความเข้าใจได้ อย่างไรก็ดีพวกที่ได้พัฒนาความรู้ทิพย์จะสามารถเห็นว่าดวงวิญญาณนั้นแตกต่างจากร่างกาย ดวงวิญญาณเปลี่ยนร่าง และรื่นเริงในวิถีทางต่างๆ ผู้ที่มีความรู้เช่นนี้สามารถเข้าใจว่าชีวิตที่ถูกพันธนาการนั้นได้รับความทุกข์ทรมานในความเป็นอยู่ทางวัตถุนี้ได้อย่างไร ดังนั้นบุคคลผู้ที่พัฒนาในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างจริงจังจะพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อแจกจ่ายความรู้นี้แก่ผู้คนโดยทั่วไป เนื่องจากพันธชีวิตมีปัญหามากเราจึงควรออกไปจากมันและมีกฺฤษฺณจิตสำนึก ซึ่งจะทำให้ตนเองได้รับอิสรภาพและย้ายไปอยู่โลกทิพย์
yatanto yoginaś cainaṁ
paśyanty ātmany avasthitam
yatanto ’py akṛtātmāno
nainaṁ paśyanty acetasaḥ
ยตนฺโต โยคินศฺ ไจนํ
ปศฺยนฺตฺยฺ อาตฺมนฺยฺ อวสฺถิตมฺ
ยตนฺโต ’ปฺยฺ อกฺฤตาตฺมาโน
ไนนํ ปศฺยนฺตฺยฺ อเจตสห์
ยตนฺตห์ — ความพยายาม, โยคินห์ — นักทิพย์นิยม, จ — เช่นกัน, เอนมฺ — นี้, ปศฺยนฺติ — สามารถเห็น, อาตฺมนิ — ในตัว, อวสฺถิตมฺ — สถิต, ยตนฺตห์ — พยายาม, อปิ — ถึงแม้, อกฺฤต-อาตฺมานห์ — พวกที่ไม่มีความรู้แจ้งแห่งตน, น — ไม่, เอนมฺ — นี้, ปศฺยนฺติ — เห็น, อเจตสห์ — มีจิตใจที่ไม่พัฒนา
คำแปล
นักทิพย์นิยมผู้มีความพยายามสถิตในความรู้แจ้งแห่งตน สามารถเห็นทั้งหมดนี้อย่างชัดเจน แต่พวกที่จิตใจไม่พัฒนา และไม่สถิตในความรู้แจ้งแห่งตน ไม่สามารถเห็นว่าอะไรเกิดขึ้นแม้อาจพยายาม
คำอธิบาย
มีนักทิพย์นิยมมากมายบนหนทางแห่งความรู้แจ้งแห่งตน แต่ผู้ที่ไม่สถิตในความรู้แจ้งแห่งตนจะไม่สามารถเห็นว่าสิ่งต่างๆในร่างกายของสิ่งมีชีวิตนั้นเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไร คำว่า โยคินห์ มีความสำคัญในประเด็นนี้ ปัจจุบันมีพวกที่สมมติว่าเป็นโยคีมากมายและมีสถานที่ที่สมมติว่าเป็นสมาคมของพวกโยคีมากมาย เช่นกันแต่อันที่จริงเป็นที่มืดมนเกี่ยวกับเรื่องความรู้แจ้งแห่งตน พวกเขาเพียงแต่มัวเมาอยู่กับท่าบริหารยิมนาสติกต่างๆ และมีความพึงพอใจหากร่างกายสวยงามและสุขภาพดีโดยไม่มีข้อมูลอื่น พวกนี้เรียกว่า ยตนฺโต ’ปฺยฺ อกฺฤตาตฺมานห์ ถึงแม้ว่าพยายามในสิ่งที่สมมติว่าเป็นระบบโยคะแต่จะไม่รู้แจ้งตนเอง และไม่สามารถเข้าใจวิธีการเปลี่ยนร่างของดวงวิญญาณ พวกที่อยู่ในระบบโยคะที่แท้จริงเท่านั้นจึงรู้แจ้งตนเอง รู้แจ้งโลกและรู้แจ้งองค์ภควานฺ อีกนัยหนึ่งพวก ภกฺติ-โยคี ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างบริสุทธิ์จึงจะเข้าใจว่าสิ่งต่างๆเกิดขึ้นได้อย่างไร
yad āditya-gataṁ tejo
jagad bhāsayate ’khilam
yac candramasi yac cāgnau
tat tejo viddhi māmakam
ยทฺ อาทิตฺย-คตํ เตโช
ชคทฺ ภาสยเต ’ขิลมฺ
ยจฺ จนฺทฺรมสิ ยจฺ จาคฺเนา
ตตฺ เตโช วิทฺธิ มามกมฺ
ยตฺ — ซึ่ง, อาทิตฺย-คตมฺ — ในแสงอาทิตย์, เตชห์ — วิเศษ, ชคตฺ — ทั่วทั้งโลก, ภาสยเต — สว่างไสว, อขิลมฺ — ทั้งหมด, ยตฺ — ซึ่ง, จนฺทฺรมสิ — ในดวงจันทร์, ยตฺ — ซึ่ง, จ — เช่นกัน, อคฺเนา — ในไฟ, ตตฺ — นั้น, เตชห์ — วิเศษ, วิทฺธิ — เข้าใจ, มามกมฺ — จากข้า
คำแปล
ความวิเศษของดวงอาทิตย์ที่ขจัดความมืดแห่งโลกนี้ทั้งหมด มาจากข้า ความวิเศษของดวงจันทร์ และความวิเศษของไฟก็มาจากข้าเช่นกัน
คำอธิบาย
ผู้ไม่มีปัญญาไม่สามารถเข้าใจว่าสิ่งต่างๆเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เริ่มสถิตในความรู้ด้วยการเข้าใจสิ่งที่องค์ภควานฺทรงอธิบายตรงนี้ ทุกๆคนเห็นดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ คบเพลิง และไฟฟ้า เราควรพยายามเข้าใจว่าความวิเศษของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ไฟฟ้า หรือคบเพลิงมาจากองค์ภควานฺ แนวคิดแห่งชีวิตเช่นนี้ทำให้จุดเริ่มต้นของกฺฤษฺณจิตสำนึกเจริญก้าวหน้าอย่างมหาศาลสำหรับพันธวิญญาณในโลกวัตถุนี้ สิ่งมีชีวิตเป็นละอองอณูโดยแน่แท้ขององค์ภควานฺ และพระองค์ทรงชี้แนะ ณ ที่นี้ว่า พวกเราสามารถกลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควานฺได้อย่างไร
จากโศลกนี้เราสามารถเข้าใจว่าดวงอาทิตย์ส่องแสงไปทั่วทั้งระบบสุริยะ มีจักรวาลและระบบสุริยะต่างๆ มีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์หลายดวง และมีดาวเคราะห์มากมายเช่นกัน ซึ่งในแต่ละจักรวาลมีดวงอาทิตย์เพียงดวงเดียว ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา (10.21) ว่าดวงจันทร์เป็นหนึ่งในหมู่ดวงดาว (นกฺษตฺราณามฺ อหํ ศศี) ที่มีแสงอาทิตย์ก็เนื่องมาจากรัศมีทิพย์ในท้องฟ้าทิพย์ขององค์ภควานฺ เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นกิจกรรมของมนุษย์จึงเริ่มดำเนินขึ้น เราจุดไฟเพื่อปรุงอาหาร จุดไฟเพื่อเริ่มปฏิบัติงานในโรงงาน เป็นต้น ดังนั้นหลายสิ่งหลายอย่างดำเนินไปเนื่องจากการช่วยเหลือของไฟ ฉะนั้นแสงอาทิตย์ แสงไฟ และแสงจันทร์เป็นที่น่าชื่นชมยินดีอย่างมากมายสำหรับสิ่งมีชีวิต หากไม่ได้รับการช่วยเหลือจากสิ่งเหล่านี้สิ่งมีชีวิตไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ดังนั้นหากสามารถเข้าใจว่าแสงและความวิเศษของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และไฟออกมาจากองค์กฺฤษฺณบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าจากตรงนี้กฺฤษฺณจิตสำนึกของเราก็เริ่มต้นขึ้น จากแสงจันทร์พืชผักทั้งหลายได้รับการบำรุงเลี้ยง แสงจันทร์เป็นที่ชื่นชมยินดีมากจนผู้คนสามารถเข้าใจได้โดยง่ายว่าพวกเรามีชีวิตอยู่ได้ก็เนื่องจากพระเมตตาของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์กฺฤษฺณ หากปราศจากพระเมตตาของพระองค์แล้วจะไม่มีดวงอาทิตย์ ปราศจากพระเมตตาของพระองค์จะไม่มีดวงจันทร์ ปราศจากพระเมตตาของพระองค์จะไม่มีไฟ และปราศจากการช่วยเหลือของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และไฟจะไม่มีผู้ใดสามารถมีชีวิตอยู่ได้ แนวคิดเหล่านี้เป็นแนวคิดบางประการที่จะช่วยกระตุ้นกฺฤษฺณจิตสำนึกในพันธวิญญาณ
gām āviśya ca bhūtāni
dhārayāmy aham ojasā
puṣṇāmi cauṣadhīḥ sarvāḥ
somo bhūtvā rasātmakaḥ
คามฺ อาวิศฺย จ ภูตานิ
ธารยามฺยฺ อหมฺ โอชสา
ปุษฺณามิ เจาษธีห์ สรฺวาห์
โสโม ภูตฺวา รสาตฺมกห์
คามฺ — ดาวเคราะห์, อาวิศฺย — เข้าไป, จ — เช่นกัน, ภูตานิ — สิ่งมีชีวิต, ธารยามิ — ค้ำจุน, อหมฺ — ข้า, โอชสา — ด้วยพลังงานของข้า, ปุษฺณามิ — บำรุงเลี้ยง, จ — และ, เอาษธีห์ — พวกผัก, สรฺวาห์ — ทั้งหมด, โสมห์ — ดวงจันทร์, ภูตฺวา — มาเป็น, รส-อาตฺมกห์ — ส่งน้ำให้
คำแปล
ข้าเข้าไปในแต่ละดาวเคราะห์ ด้วยพลังงานของข้าทั้งหมดมันจึงโคจรไปรอบตัวข้า กลายมาเป็นดวงจันทร์ที่ส่งน้ำแห่งชีวิตไปให้พืชผักทั้งหลาย
คำอธิบาย
เป็นที่เข้าใจได้ว่าดาวเคราะห์ทั้งหมดลอยอยู่ในอากาศได้ก็เนื่องด้วยพลังงานขององค์ภควานฺเท่านั้น พระองค์เสด็จเข้าไปในทุกๆอณู ทุกๆดาวเคราะห์ และทุกๆชีวิต ได้อธิบายไว้ใน พฺรหฺม-สํหิตา ว่าหนึ่งในภาคแบ่งแยกอันสมบูรณ์ของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ปรมาตฺมา ได้เสด็จเข้าไปในดาวเคราะห์ ในจักรวาล ในสิ่งมีชีวิต และแม้แต่ในอณู เนื่องจากพระองค์เสด็จเข้าไปทุกสิ่งทุกอย่างจึงปรากฏอย่างเหมาะสม เมื่อมีดวงวิญญาณอยู่ในร่างแล้วมนุษย์จึงสามารถลอยอยู่ในน้ำได้ แต่เมื่อละอองชีวิตออกไปจากร่างร่างกายก็จะตายและจมน้ำ แน่นอนว่าเมื่อร่างกายเน่าเปื่อยก็จะลอยขึ้นมาเหมือนกับฟางและสิ่งอื่นๆ แต่ทันทีที่คนตายศพก็จะจมลงไปในน้ำ ลักษณะเดียวกันดาวเคราะห์ทั้งหมดลอยอยู่ในอวกาศ ที่เป็นเช่นนี้ได้ก็เนื่องจากพลังงานเบื้องสูงขององค์ภควานฺได้เข้าไป พลังงานของพระองค์ทรงค้ำจุนแต่ละดาวเคราะห์เหมือนกับฝุ่นในกำมือ หากผู้ใดกำฝุ่นอยู่ในมือฝุ่นก็จะไม่หลุดลอยไป แต่หากปาออกไปในอากาศฝุ่นก็จะกระจายตกลงพื้นดิน ทำนองเดียวกันดาวเคราะห์เหล่านี้ที่ลอยอยู่ในอากาศอันที่จริงอยู่ในกำมือของรูปลักษณ์จักรวาลแห่งองค์ภควานฺ ด้วยพลังและอำนาจของพระองค์สิ่งต่างๆทั้งหมดทั้งเคลื่อนที่และไม่เคลื่อนจึงอยู่ในตำแหน่งของตนเอง ได้กล่าวไว้ในบทมนต์พระเวทว่า เนื่องมาจากบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าดวงอาทิตย์จึงส่องแสงและดาวเคราะห์ต่างๆจึงเคลื่อนไปอย่างมั่นคง หากพระองค์ทรงไม่ทำเช่นนี้ดาวเคราะห์ทั้งหมดจะกระจัดกระจายเหมือนกับฝุ่นในอากาศและสูญสลายไป ในทำนองเดียวกันเนื่องจากพระองค์ที่ทำให้ดวงจันทร์บำรุงเลี้ยงพืชผักต่างๆทั้งหมด และด้วยอิทธิพลของดวงจันทร์พืชผักต่างๆจึงมีรสอร่อย หากปราศจากแสงจันทร์พืชผักต่างๆก็จะเจริญเติบโตไม่ได้และจะไม่มีรสชุ่มฉ่่ำ สังคมมนุษย์ดำเนินต่อไปมีชีวิตอยู่อย่างสะดวกสบายและรื่นเริงไปกับอาหารทั้งหมดนี้เนื่องมาจากองค์ภควานฺทรงเป็นผู้จัดส่งให้ มิฉะนั้นมนุษยชาติก็จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ คำว่า รสาตฺมกห์ มีความสำคัญมาก ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นที่อร่อยปากก็เนื่องมาจากผู้แทนขององค์ภควานฺโดยผ่านทางอิทธิพลของดวงจันทร์
ahaṁ vaiśvānaro bhūtvā
prāṇināṁ deham āśritaḥ
prāṇāpāna-samāyuktaḥ
pacāmy annaṁ catur-vidham
อหํ ไวศฺวานโร ภูตฺวา
ปฺราณินำ เทหมฺ อาศฺริตห์
ปฺราณาปาน-สมายุกฺตห์
ปจามฺยฺ อนฺนํ จตุรฺ-วิธมฺ
อหมฺ — ข้า, ไวศฺวานรห์ — ส่วนอันสมบูรณ์ของข้าที่เป็นไฟสำหรับย่อยอาหาร, ภูตฺวา — มาเป็น, ปฺราณินามฺ — ของมวลชีวิต, เทหมฺ — ในร่างกาย, อาศฺริตห์ — สถิต, ปฺราณ — ลมหายใจออก, อปาน — ลมลงข้างล่าง, สมายุกฺตห์ — รักษาดุลยภาพ, ปจามิ — ข้าย่อย, อนฺนมฺ — อาหาร, จตุห์-วิธมฺ — สี่ชนิด
คำแปล
ข้าคือไฟในการย่อยอาหารภายในร่างกายของมวลชีวิต และข้าได้ร่วมกับลมปราณแห่งชีวิตทั้งออกและเข้า เพื่อย่อยอาหารสี่ชนิด
คำอธิบาย
ตาม อายุรฺ เวท ศาสฺตฺร เราเข้าใจว่ามีไฟในท้องซึ่งย่อยอาหารทั้งหมดที่ถูกส่งไป เมื่อไฟไม่ร้อนจะไม่มีความหิว เมื่อไฟทำงานเป็นปกติเราจะรู้สึกหิว บางครั้งไฟไม่ทำงานจำเป็นต้องรักษา ในทุกๆกรณีไฟนี้คือผู้แทนของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า มนฺตฺร พระเวท (พฺฤหทฺ-อารณฺยก อุปนิษทฺ 5.9.1) ได้ยืนยันไว้เช่นกันว่าองค์ภควานฺหรือ พฺรหฺมนฺ ทรงสถิตในรูปของไฟภายในท้องและย่อยอาหารทุกชนิด (อยมฺ อคฺนิรฺ ไวศฺวานโร โย ’ยมฺ อนฺตห์ ปุรุเษ เยเนทมฺ อนฺนํ ปจฺยเต) เนื่องจากพระองค์ทรงช่วยในการย่อยอาหารทั้งหมดสิ่งมีชีวิตจึงไม่เป็นอิสระในกรรมวิธีของการรับประทานอาหาร หากพระองค์ไม่ทรงช่วยเหลือในการย่อยเราจะไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ดังนั้นพระองค์ทรงเป็นผู้ผลิตและทรงเป็นผู้ย่อยอาหาร และด้วยพระกรุณาของพระองค์พวกเราจึงได้รื่นเริงกับชีวิต ใน เวทานฺต-สูตฺร (1.2.27) ได้ยืนยันไว้เช่นกันดังนี้ ศพฺทาทิโภฺย ’นฺตห์ ปฺรติษฺฐานาจฺ จ องค์ภควานฺทรงสถิตภายในเสียงและภายในร่างกาย ภายในอากาศ และแม้แต่ภายในท้องในรูปของพลังแห่งการย่อย มีอาหารอยู่สี่ชนิดคือ ชนิดกลืน ชนิดเคี้ยว ชนิดเลีย และชนิดดูด พระองค์ทรงเป็นพลังในการย่อยอาหารทั้งหมด
sarvasya cāhaṁ hṛdi sanniviṣṭo
mattaḥ smṛtir jñānam apohanaṁ ca
vedaiś ca sarvair aham eva vedyo
vedānta-kṛd veda-vid eva cāham
สรฺวสฺย จาหํ หฺฤทิ สนฺนิวิษฺโฏ
มตฺตห์ สฺมฺฤติรฺ ชฺญานมฺ อโปหนํ จ
เวไทศฺ จ สไรฺวรฺ อหมฺ เอว เวโทฺย
เวทานฺต-กฺฤทฺ เวท-วิทฺ เอว จาหมฺ
สรฺวสฺย — ของมวลชีวิต, จ — และ, อหมฺ — ข้า, หฺฤทิ — ในหัวใจ, สนฺนิวิษฺฏห์ — สถิต, มตฺตห์ — จากข้า, สฺมฺฤติห์ — ความจำ, ชฺญานมฺ — ความรู้, อโปหนมฺ — การลืม, จ — และ, เวไทห์ — โดยคัมภีร์พระเวท, จ — เช่นกัน, สไรฺวห์ — ทั้งหมด, อหมฺ — ข้าเป็น, เอว — แน่นอน, เวทฺยห์ — สิ่งรู้, เวทานฺต-กฺฤตฺ — ผู้รวบรวม เวทานฺต, เวท-วิตฺ — ผู้รู้คัมภีร์พระเวท, เอว — แน่นอน, จ — และ, อหมฺ — ข้า
คำแปล
ข้าประทับอยู่ภายในหัวใจของทุกคน ความจำ ความรู้ และการลืมมาจากข้า คัมภีร์พระเวททั้งหมดสอนให้รู้จักข้า แน่นอนว่าข้าคือผู้รวบรวม เวทานฺต และข้าคือผู้รู้คัมภีร์พระเวท
คำอธิบาย
องค์ภควานฺทรงสถิตในหัวใจของทุกคนในฐานะ ปรมาตฺมา จากพระองค์กิจกรรมทั้งหลายจึงเริ่มต้นขึ้น สิ่งมีชีวิตลืมทุกสิ่งทุกอย่างในอดีตชาติของตนเองแต่ต้องปฏิบัติตามการชี้นำขององค์ภควานฺผู้ทรงเป็นพยานในกิจกรรมทั้งหลาย เขาจึงสามารถเริ่มกิจกรรมตามกรรมเก่าได้ ทั้งความรู้และความจำที่จำเป็นได้ให้แก่เขา แล้วเขาก็ลืมเกี่ยวกับอดีตชาติของตนเอง ดังนั้นพระองค์ไม่ทรงเป็นเพียงผู้แผ่กระจายไปทั่วเท่านั้น แต่ยังทรงประทับอยู่ภายในหัวใจของทุกคน พระองค์ทรงให้ผลทางวัตถุต่างๆเป็นรางวัล ไม่เพียงทรงได้รับการบูชาในฐานะ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์องค์ภควานฺและ ปรมาตฺมา ในหัวใจของทุกคนเท่านั้น แต่ยังทรงได้รับการบูชาในรูปลักษณ์ของอวตารต่างๆในคัมภีร์พระเวทด้วยเช่นกัน คัมภีร์พระเวทให้ทิศทางที่ถูกต้องแก่ผู้คนเพื่อสามารถหล่อหลอมชีวิตของตนเองอย่างถูกต้องในการกลับคืนสู่องค์ภควานฺคืนสู่เหย้า คัมภีร์พระเวทให้ความรู้แห่งบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์กฺฤษฺณ และองค์กฺฤษฺณในรูปอวตาร วฺยาสเทว ทรงเป็นผู้รวบรวม เวทานฺต-สูตฺร คำอธิบาย เวทานฺต-สูตฺร โดย วฺยาสเทว ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ได้ให้ความเข้าใจที่แท้จริงของ เวทานฺต-สูตฺร องค์ภควานฺทรงมีความบริบูรณ์ในการจัดส่งพันธวิญญาณ พระองค์ทรงเป็นผู้ส่งอาหารและย่อยอาหาร ทรงเป็นพยานในกิจกรรม และทรงให้ความรู้ในรูปของพระเวท และในฐานะที่เป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าศฺรี กฺฤษฺณทรงสอน ภควัท-คีตา พระองค์ทรงเป็นที่เคารพบูชาของพันธวิญญาณ ดังนั้นพระองค์ทรงดีไปหมด และทรงมีพระเมตตาธิคุณด้วยประการทั้งปวง
อนฺตห์-ปฺรวิษฺฏห์ ศาสฺตา ชนานามฺ สิ่งมีชีวิตจะลืมทันทีที่ออกจากร่างปัจจุบันไป แต่จะเริ่มทำงานอีกครั้งหนึ่งซึ่งองค์ภควานฺทรงเป็นผู้ริเริ่ม ถึงแม้ว่าตนเองลืมพระองค์ก็จะทรงให้ปัญญาเพื่อสานต่องานที่จบลงจากชาติก่อน ดังนั้นสิ่งมีชีวิตไม่เพียงแต่รื่นเริงหรือได้รับความทุกข์ในโลกนี้ตามคำสั่งจากองค์ภควานฺผู้ทรงสถิตในหัวใจ แต่ยังได้รับโอกาสเพื่อเข้าใจคัมภีร์พระเวทจากพระองค์ หากเขาจริงจังเกี่ยวกับการเข้าใจความรู้พระเวท องค์กฺฤษฺณจะทรงให้ปัญญาที่จำเป็น ทำไมพระองค์จะทรงให้ความรู้พระเวทเพื่อการเข้าใจ เพราะว่าปัจเจกชีวิตจำเป็นต้องเข้าใจองค์กฺฤษฺณ วรรณกรรมพระเวทได้ยืนยันไว้ดังนี้ โย ’เสา สไรฺวรฺ เวไทรฺ คียเต ในวรรณกรรมพระเวททั้งหมดเริ่มจากพระเวททั้งสี่เล่ม เวทานฺต-สูตฺร, อุปนิษทฺ และ ปุราณ พระบารมีขององค์ภควานฺทรงได้รับการสรรเสริญ ด้วยการปฏิบัติพิธีกรรมทางพระเวท สนทนาปรัชญาพระเวท และบูชาองค์ภควานฺด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้แล้วจะบรรลุถึงพระองค์ ดังนั้นจุดมุ่งหมายของคัมภีร์พระเวทคือ ให้เข้าใจองค์กฺฤษฺณ คัมภีร์พระเวทให้ทิศทางแก่เราเพื่อเข้าใจองค์กฺฤษฺณและวิธีการเพื่อรู้แจ้งพระองค์ จุดมุ่งหมายสูงสุดคือ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า เวทานฺต-สูตฺร (1.1.4) ยืนยันดังนี้ ตตฺ ตุ สมนฺวยาตฺ เราสามารถบรรลุถึงความสมบูรณ์ในสามระดับ จากการเข้าใจวรรณกรรมพระเวทเราจะเข้าใจความสัมพันธ์ของเรากับองค์ภควานฺ จากการปฏิบัติตามวิธีต่างๆเราจะสามารถเข้าถึงพระองค์และในที่สุดเราสามารถบรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดซึ่งมิใช่ผู้ใดอื่นนอกจากองค์ภควานฺ โศลกนี้จุดมุ่งหมายของคัมภีร์พระเวท การเข้าใจคัมภีร์พระเวท และเป้าหมายของคัมภีร์พระเวทได้ให้คำนิยามไว้อย่างชัดเจน
dvāv imau puruṣau loke
kṣaraś cākṣara eva ca
kṣaraḥ sarvāṇi bhūtāni
kūṭa-stho ’kṣara ucyate
ทฺวาวฺ อิเมา ปุรุเษา โลเก
กฺษรศฺ จากฺษร เอว จ
กฺษรห์ สรฺวาณิ ภูตานิ
กูฏ-โสฺถ ’กฺษร อุจฺยเต
เทฺวา — สอง, อิเมา — เหล่านี้, ปุรุเษา — สิ่งมีชีวิต, โลเก — ในโลก, กฺษรห์ — ผิดพลาด, จ — และ, อกฺษรห์ — ไม่ผิดพลาด, เอว — แน่นอน, จ — และ, กฺษรห์ — ผิดพลาด, สรฺวาณิ — ทั้งหมด, ภูตานิ — สิ่งมีชีวิต, กูฏ-สฺถห์ — ในความเป็นหนึ่ง, อกฺษรห์ — ไม่ผิดพลาด, อุจฺยเต — ได้กล่าวไว้
คำแปล
มีชีวิตอยู่สองประเภท ผิดพลาด และไม่ผิดพลาด ในโลกวัตถุทุกชีวิตผิดพลาด และในโลกทิพย์ทุกชีวิตไม่ผิดพลาด
คำอธิบาย
ดังที่ได้อธิบายไว้แล้วว่าองค์ภควานฺในรูปอวตาร วฺยาสเทว ทรงรวบรวม เวทานฺต-สูตฺร ณ ที่นี้ พระองค์ทรงให้ข้อสรุปของ เวทานฺต-สูตฺร โดยตรัสว่า สิ่งมีชีวิตซึ่งมีจำนวนนับไม่ถ้วนแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่ผิดพลาด และกลุ่มที่ไม่ผิดพลาด สิ่งมีชีวิตเป็นละอองอณูที่แยกออกมาจากบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้านิรันดรเมื่อมาสัมผัสกับโลกวัตถุเรียกว่า ชีว-ภูต ได้ให้คำสันสกฤตตรงนี้ กฺษรห์ สรฺวาณิ ภูตานิ หมายความว่าพวกนี้ผิดพลาด อย่างไรก็ดีพวกที่เป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควานฺเรียกว่าไม่ผิดพลาด ความเป็นหนึ่งเดียวกันมิได้หมายความว่าไม่ได้เป็นปัจเจกบุคคลแต่ไม่มีความแตกแยกกัน ทั้งหมดนั้นยอมรับจุดมุ่งหมายแห่งการสร้าง แน่นอนว่าในโลกทิพย์ไม่มีการสร้าง แต่เนื่องจากบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงเป็นแหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่างที่ออกมา ดังที่ได้กล่าวไว้ใน เวทานฺต-สูตฺร จึงได้อธิบายแนวคิดนั้น
ตามข้อความของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์ศฺรี กฺฤษฺณว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่สองกลุ่ม คัมภีร์พระเวทให้หลักฐานนี้จึงไม่มีข้อสงสัย สิ่งมีชีวิตดิ้นรนต่อสู้ในโลกนี้ด้วยจิตใจและประสาทสัมผัสทั้งห้า มีร่างกายวัตถุที่มีการเปลี่ยนแปลง ตราบใดที่สิ่งมีชีวิตอยู่ในพันธสภาวะร่างกายของเขาเปลี่ยนแปลงเนื่องจากมาสัมผัสกับวัตถุเพราะวัตถุเปลี่ยนแปลง ดังนั้นสิ่งมีชีวิตจึงดูเหมือนว่าเปลี่ยนแปลง แต่ในโลกทิพย์ร่างกายมิได้ทำมาจากวัตถุดังนั้นจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในโลกวัตถุสิ่งมีชีวิตผ่านการเปลี่ยนแปลงหกขั้นตอน คือ เกิด เจริญเติบโต คงอยู่ระยะเวลาหนึ่ง สืบพันธุ์ หดตัวลง และสูญสลายไป ขั้นตอนเหล่านี้คือการเปลี่ยนแปลงของร่างวัตถุ แต่ในโลกทิพย์ร่างกายไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีความชรา ไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย ทั้งหมดเป็นอยู่ในความเป็นหนึ่ง กฺษรห์ สรฺวาณิ ภูตานิ สิ่งมีชีวิตใดๆที่มาสัมผัสกับวัตถุเริ่มต้นจากดวงชีวิตแรกคือ พระพรหมลงไปจนถึงมดตัวเล็กๆร่างกายต้องเปลี่ยนแปลง ฉะนั้นพวกเขาทั้งหมดจึงมีความผิดพลาด อย่างไรก็ดีในโลกทิพย์ทุกชีวิตเป็นอิสระในความเป็นหนึ่งอยู่เสมอ
uttamaḥ puruṣas tv anyaḥ
paramātmety udāhṛtaḥ
yo loka-trayam āviśya
bibharty avyaya īśvaraḥ
อุตฺตมห์ ปุรุษสฺ ตฺวฺ อนฺยห์
ปรมาตฺเมตฺยฺ อุทาหฺฤตห์
โย โลก-ตฺรยมฺ อาวิศฺย
พิภรฺตฺยฺ อวฺยย อีศฺวรห์
อุตฺตมห์ — ดีที่สุด, ปุรุษห์ — บุคลิกภาพ, ตุ — แต่, อนฺยห์ — อีกผู้หนึ่ง, ปรม-อาตฺมา — พระองค์เองสูงสุด, อิติ — ดังนั้น, อุทาหฺฤตห์ — กล่าวไว้ว่า, ยห์ — ผู้ซึ่ง, โลก — ของจักรวาล, ตฺรยมฺ — สามส่วน, อาวิศฺย — เข้าไป, พิภรฺติ — ค้ำจุน, อวฺยยห์ — ไม่มีที่สิ้นสุด, อีศฺวรห์ — องค์ภควาน
คำแปล
นอกจากสองกลุ่มนี้แล้วยังมีบุคลิกภาพผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด ที่เป็นดวงวิญญาณสูงสุด องค์ภควานฺผู้ทรงไม่มีวันสูญสลาย ทรงเสด็จเข้าไป และทรงค้ำจุนทั้งสามโลก
คำอธิบาย
แนวคิดจักรวาลนี้ได้แสดงไว้อย่างสวยงามมากใน กฐ อุปนิษทฺ (2.2.13) และ เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ (6.13) กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า เหนือกว่าสิ่งมีชีวิตที่นับจำนวนไม่ถ้วนซึ่งบ้างอยู่ในพันธภาวะและบ้างก็หลุดพ้นยังมีบุคลิกภาพสูงสุดผู้ทรงเป็น ปรมาตฺมา โศลกใน อุปนิษทฺ กล่าวดังนี้ นิโตฺย นิตฺยานำ เจตนศฺ เจตนานามฺ คำอธิบายคือ ในมวลชีวิตทั้งในพันธสภาวะและทั้งหลุดพ้นยังมีอีกหนึ่งบุคลิกภาพสูงสุดองค์ภควานฺผู้ทรงค้ำจุนพวกเขา และทรงให้สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลายเพื่อความรื่นเริงตามแต่กรรมที่ต่างกันไป บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงสถิตในหัวใจของทุกคนในรูป ปรมาตฺมา ผู้มีปัญญาที่สามารถเข้าใจพระองค์มีสิทธิ์ที่จะบรรลุถึงความสงบอย่างสมบูรณ์ มิใช่บุคคลอื่นใด
yasmāt kṣaram atīto ’ham
akṣarād api cottamaḥ
ato ’smi loke vede ca
prathitaḥ puruṣottamaḥ
ยสฺมาตฺ กฺษรมฺ อตีโต ’หมฺ
อกฺษราทฺ อปิ โจตฺตมห์
อโต ’สฺมิ โลเก เวเท จ
ปฺรถิตห์ ปุรุโษตฺตมห์
ยสฺมาตฺ — เพราะว่า, กฺษรมฺ — ผู้ผิดพลาด, อตีตห์ — เป็นทิพย์, อหมฺ — ข้าเป็น, อกฺษราตฺ — เหนือผู้ไม่ผิดพลาด, อปิ — เช่นกัน, จ — และ, อุตฺตมห์ — ดีที่สุด, อตห์ — ดังนั้น, อสฺมิ — ข้าเป็น, โลเก — ในโลก, เวเท — ในวรรณกรรมพระเวท, จ — และ, ปฺรถิตห์ — มีชื่อเสียง, ปุรุษ-อุตฺตมห์ — ในฐานะบุคลิกภาพสูงสุด
คำแปล
เพราะว่าข้าเป็นทิพย์อยู่เหนือทั้งผู้ผิดพลาดและผู้ไม่ผิดพลาด และเนื่องจากข้ายิ่งใหญ่ที่สุด ข้าจึงมีชื่อเสียงทั้งในโลกและในคัมภีร์พระเวทในฐานะที่เป็นองค์ภควาน
คำอธิบาย
ไม่มีผู้ใดมีความสามารถเกินไปกว่าองค์กฺฤษฺณบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าไม่ว่าจะเป็นพันธวิญญาณหรืออิสรวิญญาณ ดังนั้นพระองค์ทรงเป็นบุคลิกภาพผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด ตรงนี้ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าทั้งสิ่งมีชีวิตและองค์ภควานฺเป็นปัจเจกบุคคล ข้อแตกต่างคือ สิ่งมีชีวิตไม่ว่าอยู่ในระดับที่ถูกพันธนาการหรือในระดับที่มีอิสรภาพก็ไม่สามารถมีปริมาณเหนือกว่าพลังอำนาจที่ไม่สามารถมองเห็นได้ของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า จึงเป็นการไม่ถูกต้องที่คิดว่าองค์ภควานฺและสิ่งมีชีวิตอยู่ในระดับเดียวกัน หรือเท่าเทียมกันในทุกๆด้าน มักจะมีคำถามเกี่ยวกับความสูงกว่าและต่ำกว่าระหว่างบุคลิกภาพเหล่านี้เสมอ คำว่า อุตฺตม มีความสำคัญมาก ไม่มีผู้ใดสามารถอยู่เหนือองค์ภควานฺ
คำว่า โลเก แสดงถึง “ใน เปารุษ อาคม (พระคัมภีร์ สฺมฺฤติ) ” ดังที่ยืนยันไว้ในพจนานุกรม นิรุกฺติ ว่า โลกฺยเต เวทารฺโถ ’เนน “จุดมุ่งหมายของคัมภีร์พระเวท พระคัมภีร์ สฺมฺฤติ ได้อธิบายไว้”
องค์ภควานฺในรูปลักษณ์ ปรมาตฺมา ภายในหัวใจทุกคนได้มีการอธิบายไว้ในคัมภีร์พระเวทเช่นกัน โศลกเหล่านี้ปรากฏในคัมภีร์พระเวท (ฉานฺโทคฺย อุปนิษทฺ 8.12.3) ตาวทฺ เอษ สมฺปฺรสาโท ’สฺมาจฺ ฉรีราตฺ สมุตฺถาย ปรํ โชฺยติ-รูปํ สมฺปทฺย เสฺวน รูเปณาภินิษฺปทฺยเต ส อุตฺตมห์ ปุรุษห์ “องค์อภิวิญญาณที่ทรงออกมาจากร่างกายแล้วจึงเสด็จเข้าไปใน พฺรหฺม-โชฺยติรฺ ที่ไร้รูปลักษณ์ จากนั้นด้วยรูปลักษณ์ของพระองค์ พระองค์ทรงไว้ซึ่งบุคลิกลักษณะทิพย์ ผู้ที่สูงสุดองค์นั้นเรียกว่า บุคลิกภาพสูงสุด” เช่นนี้หมายความว่าบุคลิกภาพสูงสุดทรงแสดงและทรงแพร่กระจายรัศมีทิพย์ของพระองค์ซึ่งเป็นแสงอันเจิดจรัสสูงสุด บุคลิกภาพสูงสุดพระองค์นั้นทรงมีรูปลักษณ์อยู่ภายในหัวใจของทุกๆคนด้วยเช่นกันในรูปของ ปรมาตฺมา จากการอวตารมาเป็นบุตรของ สตฺยวตี และ ปราศร องค์ วฺยาสเทว ทรงอธิบายความรู้พระเวท
yo mām evam asammūḍho
jānāti puruṣottamam
sa sarva-vid bhajati māṁ
sarva-bhāvena bhārata
โย มามฺ เอวมฺ อสมฺมูโฒ
ชานาติ ปุรุโษตฺตมมฺ
ส สรฺว-วิทฺ ภชติ มำ
สรฺว-ภาเวน ภารต
ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, มามฺ — ข้า, เอวมฺ — ดังนั้น, อสมฺมูฒห์ — ปราศจากความสงสัย, ชานาติ — รู้, ปุรุษ-อุตฺตมมฺ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า, สห์ — เขา, สรฺว-วิตฺ — ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, ภชติ — ถวายการอุทิศตนเสียสละรับใช้, มามฺ — แด่ข้า, สรฺว-ภาเวน — ในทุกๆด้าน, ภารต — โอ้ โอรสแห่งบาระทะ
คำแปล
ผู้ใดรู้จักข้าในฐานะองค์ภควานโดยไม่มีความสงสัย เป็นผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง ฉะนั้นเขาปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่ข้าอย่างสมบูรณ์ โอ้ โอรสแห่ง ภรต
คำอธิบาย
มีการคาดคะเนทางปรัชญามากมายเกี่ยวกับสถานภาพเดิมแท้ของสิ่งมีชีวิตและสัจธรรมสูงสุด โศลกนี้บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงอธิบายอย่างชัดเจนว่า ผู้ใดรู้ว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดเป็นผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่างโดยแท้จริง ผู้รู้ที่ไม่สมบูรณ์ได้แต่คาดคะเนเกี่ยวกับสัจธรรมเรื่อยไป ผู้รู้ที่สมบูรณ์จะไม่เสียเวลาอันมีค่าไปแต่จะปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺโดยตรง ตลอดทั้งเล่มของ ภควัท-คีตา ความจริงนี้ได้เน้นทุกๆขั้นตอน แต่ยังมีนักตีความ ภควัท-คีตา ที่หัวรั้นมากมายพิจารณาว่าสัจธรรมสูงสุดและสิ่งมีชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกันและเหมือนกัน
ความรู้พระเวทเรียกว่า ศฺรุติ เรียนรู้ด้วยการสดับฟัง เราควรรับสาส์นพระเวทจากผู้ที่เชื่อถือได้อย่างแท้จริง เช่น จากองค์กฺฤษฺณ และผู้แทนของพระองค์ ณ ที่นี้องค์กฺฤษฺณทรงแยกแยะทุกสิ่งทุกอย่างได้งดงามมาก และเราควรสดับฟังจากแหล่งนี้ เพียงแต่สดับฟังเหมือนกับสุกรนั้นไม่เพียงพอเราต้องเข้าใจจากผู้ที่เชื่อถือได้อีกด้วย ไม่ใช่เพียงคาดคะเนเชิงวิชาการแต่เราควรสดับฟัง ภควัท-คีตา ด้วยยอมจำนนว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้เป็นรององค์ภควานฺเสมอ ผู้ใดเข้าใจเช่นนี้ตามบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าศฺรี กฺฤษฺณนั้นเป็นผู้รู้จุดมุ่งหมายของคัมภีร์พระเวท นอกเหนือจากนั้นไม่มีใครรู้จุดมุ่งหมายของคัมภีร์พระเวท
คำว่า ภชติ สำคัญมาก มีหลายแห่งได้เน้นคำ ภชติ ในความสัมพันธ์กับการรับใช้องค์ภควานฺ หากบุคคลปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกในการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺอย่างสมบูรณ์เข้าใจได้ว่าเขาได้เข้าใจความรู้พระเวททั้งหมด ใน ไวษฺณว ปรมฺปรา กล่าวไว้ว่าหากผู้ใดปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่องค์กฺฤษฺณก็ไม่มีความจำเป็นกับวิถีทิพย์อื่นใดเพื่อให้เข้าใจสัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุด เพราะได้มาถึงจุดหมายปลายทางเรียบร้อยแล้ว จากการปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺทำให้เสร็จสิ้นวิธีการพื้นฐานเพื่อความเข้าใจทั้งหมด แต่หากผู้ใดหลังจากคาดคะเนเป็นเวลาร้อยๆพันๆชาติและมาไม่ถึงจุดที่ว่าองค์กฺฤษฺณคือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า และตัวเขาต้องศิโรราบต่อพระองค์ จากตรงนี้การคาดคะเนทั้งหมดเป็นเวลาหลายปีและหลายชาติจะเป็นการเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
iti guhya-tamaṁ śāstram
idam uktaṁ mayānagha
etad buddhvā buddhimān syāt
kṛta-kṛtyaś ca bhārata
อิติ คุหฺย-ตมํ ศาสฺตฺรมฺ
อิทมฺ อุกฺตํ มยานฆ
เอตทฺ พุทฺธฺวา พุทฺธิมานฺ สฺยาตฺ
กฺฤต-กฺฤตฺยศฺ จ ภารต
อิติ — ดังนั้น, คุหฺย-ตมมฺ — ลับสุด, ศาสฺตฺรมฺ — พระคัมภีร์ที่เปิดเผย, อิทมฺ — นี้, อุกฺตมฺ — เปิดเผย, มยา — โดยข้า, อนฆ — โอ้ ผู้ไร้บาป, เอตตฺ — นี้, พุทฺธฺวา — เข้าใจ, พุทฺธิ-มานฺ — ปัญญา, สฺยาตฺ — เขามาเป็น, กฺฤต-กฺฤตฺยห์ — ผู้สมบูรณ์ที่สุดในความพยายามของเขา, จ — และ, ภารต — โอ้ โอรสแห่งบาระทะ
คำแปล
โอ้ ผู้ไร้บาป บัดนี้ข้าจะเปิดเผยส่วนลับที่สุดของคัมภีร์พระเวท ผู้ใดเข้าใจจะเป็นผู้มีปัญญา และความพยายามของเขาจะบรรลุผลโดยสมบูรณ์
คำอธิบาย
องค์ภควานฺทรงอธิบายอย่างชัดเจน ณ ที่นี้ว่านี่คือแก่นสารสาระของพระคัมภีร์ที่เปิดเผยทั้งหลาย เราควรเข้าใจตามที่บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงประทานให้แล้วเราจะมีปัญญา และมีความสมบูรณ์ในความรู้ทิพย์ อีกนัยหนึ่งจากการเข้าใจปรัชญาขององค์ภควานฺนี้และปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อพระองค์ทำให้ทุกคนเป็นอิสระจากมลทินทั้งหลายของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ การอุทิศตนเสียสละรับใช้เป็นวิธีการเพื่อความเข้าใจวิถีทิพย์ ที่ใดที่มีการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่นั้นก็จะไม่มีมลทินทางวัตถุคู่กัน การอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺและองค์ภควานฺเองเป็นหนึ่งเดียวกัน และเหมือนกันเนื่องจากทั้งคู่เป็นทิพย์ การอุทิศตนเสียสละรับใช้เกิดขึ้นภายในพลังงานเบื้องสูงของพระองค์ กล่าวไว้ว่าองค์ภควานฺทรงเป็นดวงอาทิตย์ และอวิชชาคือความมืด ที่ใดที่ดวงอาทิตย์ปรากฏจะไม่มีความมืด ดังนั้นเมื่อใดที่มีการอุทิศตนเสียสละรับใช้ภายใต้การนำทางที่ถูกต้องของพระอาจารย์ทิพย์ผู้ที่เชื่อถือได้ก็จะไม่มีอวิชชา
ทุกๆคนต้องปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกและอุทิศตนเสียสละรับใช้เพื่อให้เกิดปัญญาซึ่งจะทำให้ตนเองบริสุทธิ์ นอกเสียจากว่าเราจะมาถึงสถานภาพแห่งการเข้าใจองค์กฺฤษฺณและปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้นี้ไม่อย่างนั้นถึงแม้ว่าเราจะชาญฉลาดเพียงใดในการประเมินของสามัญชนทั่วไปเราก็จะไม่เป็นผู้มีปัญญาโดยสมบูรณ์
คำว่า อนฆ ที่ทรงเรียก อรฺชุน มีความสำคัญ อนฆ “โอ้ ผู้ไร้บาป” หมายความว่านอกเสียจากว่าเราจะเป็นอิสระจากผลบาปทั้งปวงไม่อย่างนั้นก็จะเป็นการยากมากที่จะเข้าใจองค์กฺฤษฺณ เราต้องเป็นอิสระจากมลทินทั้งหลายและกิจกรรมบาปทั้งปวงจึงจะสามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณได้ แต่การอุทิศตนเสียสละรับใช้จะมีความบริสุทธิ์และมีพลังอำนาจมากจนกระทั่งเมื่อผู้ใดปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้เท่ากับผู้นั้นได้มาถึงระดับแห่งความเป็นผู้ไร้บาปโดยปริยายในทันที
ขณะที่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างใกล้ชิดกับเหล่าสาวกผู้บริสุทธิ์ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ จะมีบางสิ่งบางอย่างจำเป็นที่จะต้องขจัดไปให้หมดสิ้น สิ่งสำคัญที่สุดที่เราต้องข้ามให้พ้นคือ ความอ่อนแอของหัวใจ การตกลงต่ำประการแรกเนื่องมาจากความปรารถนาที่จะเป็นเจ้าเหนือธรรมชาติวัตถุ ที่ทำให้เรายกเลิกการรับใช้ด้วยความรักทิพย์ต่อองค์ภควานฺ ความอ่อนแอของหัวใจประการที่สองคือ เมื่อแนวโน้มที่อยากเป็นเจ้าเหนือธรรมชาติวัตถุเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้นเราจะยึดติดกับวัตถุ และการเป็นเจ้าของวัตถุ ปัญหาแห่งความเป็นอยู่ทางวัตถุก็เนื่องมาจากความอ่อนแอของหัวใจเช่นนี้ ในบทนี้ห้าโศลกแรกอธิบายถึงวิธีการที่จะทำให้เราเป็นอิสระจากความอ่อนแอของหัวใจเช่นนี้ จากโศลกที่หกถึงโศลกสุดท้ายได้อธิบายเรื่อง ปุรุโษตฺตม-โยค
ดังนั้นได้จบคำอธิบายโดย ภักดีเวดานตะ บทที่สิบห้าของหนังสือ ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา ในหัวข้อเรื่อง ปุรุโษตฺตม-โยค หรือ โยคะแห่งองค์ภควาน