บทที่ หก
ธฺยาน-โยค
śrī-bhagavān uvāca
anāśritaḥ karma-phalaṁ
kāryaṁ karma karoti yaḥ
sa sannyāsī ca yogī ca
na niragnir na cākriyaḥ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
อนาศฺริตห์ กรฺม-ผลํ
การฺยํ กรฺม กโรติ ยห์
ส สนฺนฺยาสี จ โยคี จ
น นิรคฺนิรฺ น จากฺริยห์
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — องค์ภควานฺตรัส, อนาศฺริตห์ — ปราศจากที่พึ่ง, กรฺม-ผลมฺ — ของผลแห่งงาน, การฺยมฺ — หน้าที่, กรฺม — งาน, กโรติ — ปฏิบัติ, ยห์ — ผู้ซึ่ง, สห์ — เขา, สนฺนฺยาสี — ในระดับสละโลก, จ — เช่นกัน, โยคี — โยคี, จ — เช่นกัน, น — ไม่, นิห์ — ปราศจาก, อคฺนิห์ — ไฟ, น — ไม่, จ — เช่นกัน, อกฺริยห์ — ปราศจากหน้าที่
คำแปล
องค์ภควานฺตรัสว่า ผู้ที่ไม่ยึดติดต่อผลงานของตน และทำงานไปตามหน้าที่เป็นผู้ที่อยู่ในระดับชีวิตสละโลก และเป็นโยคีที่แท้จริงมิใช่ผู้ที่ไม่ก่อไฟและไม่ปฏิบัติหน้าที่
คำอธิบาย
ในบทนี้องค์ภควานฺทรงอธิบายว่าวิธีของระบบโยคะแปดระดับเป็นวิถีทางเพื่อควบคุมจิตใจและประสาทสัมผัส อย่างไรก็ดีมันเป็นสิ่งยากมากสำหรับคนทั่วไปที่จะปฏิบัติได้โดยเฉพาะในกลียุค ถึงแม้ระบบโยคะแปดระดับได้แนะนำไว้ในบทนี้พระองค์ทรงเน้นว่าวิธีของ กรฺม - โยค หรือการปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกดีกว่า ทุกคนปฏิบัติตนในโลกนี้เพื่อค้ำจุนครอบครัวและทรัพย์สมบัติของตน ไม่มีผู้ใดทำงานโดยปราศจากความเห็นแก่ตัวหรือเพื่อสนองตอบส่วนตัวบางประการไม่ว่าในวงแคบหรือวงกว้าง บรรทัดฐานแห่งความสมบูรณ์คือการปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก และไม่ใช่ด้วยแนวคิดที่จะหาความสุขกับผลของงาน การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นหน้าที่ของทุกชีวิตเพราะว่าทุกชีวิตโดยพื้นฐานเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ ส่วนต่างๆของร่างกายปฏิบัติงานเพื่อให้ทั่วทั้งเรือนร่างพึงพอใจ แขนและขามิได้ปฏิบัติเพื่อให้ส่วนของตนเองพึงพอใจแต่เพื่อความพึงพอใจของทั่วทั้งเรือนร่าง ในทำนองเดียวกันสิ่งมีชีวิตผู้ปฏิบัติเพื่อความพึงพอใจของส่วนรวมสูงสุด และไม่ใช่เพื่อความพึงพอใจของตนเองจึงเป็น สนฺนฺยาสี หรือโยคะที่สมบูรณ์
พวก สนฺนฺยาสี บางครั้งคิดอย่างผิดธรรมชาติว่าตนเองได้หลุดพ้นแล้วจากหน้าที่ทางวัตถุทั้งมวล ดังนั้นจึงหยุดการปฏิบัติ อคฺนิโหตฺร ยชฺญ (บูชาไฟ) แต่อันที่จริงพวกนี้เห็นแก่ตัวเพราะจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการมาเป็นหนึ่งเดียวกับ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ ความต้องการเช่นนี้ยิ่งใหญ่กว่าความต้องการใดๆทางวัตถุแต่มิใช่ว่าปราศจากความเห็นแก่ตัว โยคีผู้มีฤทธิ์ก็เช่นเดียวกันได้ฝึกปฏิบัติตามระบบโยคะด้วยการลืมตาครึ่งหนึ่ง หยุดกิจกรรมทางวัตถุทั้งหมดต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจบางอย่างสำหรับตนเอง แต่บุคคลผู้ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกทำงานเพื่อความพึงพอใจของส่วนรวมที่สมบูรณ์โดยไม่เห็นแก่ตัว บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่มีความปรารถนาเพื่อสนองความพึงพอใจของตนเอง บรรทัดฐานแห่งความสำเร็จของท่านจะอยู่ที่ความพึงพอใจขององค์กฺฤษฺณ ดังนั้นท่านจึงเป็น สนฺนฺยาสี หรือโยคีที่สมบูรณ์ องค์ ไจตนฺย ผู้ทรงเป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์สูงสุดแห่งความเสียสละทรงภาวนา ดังนี้
น ธนํ น ชนํ น สุนฺทรีํ
กวิตำ วา ชคทฺ-อีศ กามเย
มม ชนฺมนิ ชนฺมนีศฺวเร
ภวตาทฺ ภกฺติรฺ อไหตุกี ตฺวยิ
“โอ้ องค์ภควานฺ ผู้ทรงเดช ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาสะสมทรัพย์ ไม่ปรารถนาหาความสุขกับหญิงงาม และไม่ปรารถนาสานุศิษย์มากมาย สิ่งเดียวที่ปรารถนาคือ พระเมตตาอันหาที่สุดมิได้ที่ให้ข้าพเจ้าได้อุทิศตนเสียสละรับใช้พระองค์ ตลอดทุกๆชาติไป”
yaṁ sannyāsam iti prāhur
yogaṁ taṁ viddhi pāṇḍava
na hy asannyasta-saṅkalpo
yogī bhavati kaścana
ยํ สนฺนฺยาสมฺ อิติ ปฺราหุรฺ
โยคํ ตํ วิทฺธิ ปาณฺฑว
น หฺยฺ อสนฺนฺยสฺต-สงฺกลฺโป
โยคี ภวติ กศฺจน
ยมฺ — อะไร, สนฺนฺยาสมฺ — การเสียสละ, อิติ — ดังนั้น, ปฺราหุห์ — พวกเขากล่าว, โยคมฺ — เชื่อมกับองค์ภควานฺ, ตมฺ — นั้น, วิทฺธิ — เธอต้องรู้, ปาณฺฑว — โอ้ โอรสของ ปาณฺฑุ, น — ไม่เคย, หิ — แน่นอน, อสนฺนฺยสฺต — ปราศจากการยกเลิก, สงฺกลฺปห์ — ปรารถนาเพื่อความพึงพอใจแห่งตน, โยคี — นักทิพย์นิยมผู้มีฤทธิ์, ภวติ — มาเป็น, กศฺจน — ผู้ใด
คำแปล
เธอควรรู้ว่าสิ่งที่เรียกว่าการเสียสละเป็นสิ่งเดียวกับโยคะ หรือการเชื่อมสัมพันธ์ตนเองกับองค์ภควานฺ โอ้ โอรสแห่ง ปาณฺฑุ ไม่มีผู้ใดสามารถเป็นโยคีได้นอกจากว่าเขาผู้นั้นจะสละความต้องการเพื่อสนองประสาทสัมผัส
คำอธิบาย
สนฺนฺยาส-โยค หรือ ภกฺติ ที่แท้จริงหมายความว่า เขาควรรู้สถานภาพพื้นฐานของตนในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตและควรปฏิบัติตามนั้น สิ่งมีชีวิตไม่มีบุคลิกอิสระที่แยกออกไปแต่เป็นพลังงานพรมแดนขององค์ภควานฺ เมื่อถูกกักขังโดยพลังงานวัตถุเขาจึงอยู่ในสภาวะวัตถุ และเมื่อมีกฺฤษฺณจิตสำนึกหรือตระหนักถึงพลังงานทิพย์ตอนนั้นเขาอยู่ในระดับธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิต ฉะนั้นเมื่อมีความรู้ที่สมบูรณ์เขาจะหยุดสนองประสาทสัมผัสวัตถุทั้งหมด หรือสละกิจกรรมเพื่อสนองประสาทสัมผัสทั้งปวงเช่นนี้ โยคีผู้ควบคุมประสาทสัมผัสจากการยึดติดทางวัตถุปฏิบัติกัน แต่บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่มีโอกาสที่จะใช้ประสาทสัมผัสของตนไปในสิ่งอื่นใดที่ไม่ใช่จุดมุ่งหมายขององค์กฺฤษฺณ ดังนั้นบุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นทั้ง สนฺนฺยาสี และโยคีในเวลาเดียวกัน จุดมุ่งหมายของความรู้และการควบคุมประสาทสัมผัส ดังที่ได้อธิบายในวิธีการ ชฺญาน และโยคะก็บรรลุถึงได้โดยปริยายในกฺฤษฺณจิตสำนึก หากผู้ใดไม่สามารถยกเลิกกิจกรรมแห่งธรรมชาติความเห็นแก่ตัวของตนเอง ชฺญาน และโยคะก็ไม่มีประโยชน์อันใด จุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือเพื่อให้สิ่งมีชีวิตยกเลิกความพึงพอใจที่เห็นแก่ตัวทั้งหมด และเตรียมตัวเพื่อให้องค์ภควานฺทรงพอพระทัย บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่มีความปรารถนาเพื่อความสุขส่วนตัวใดๆทั้งสิ้น เขาจะปฏิบัติตนเพื่อความสุขขององค์ภควานฺอยู่เสมอ ฉะนั้นผู้ที่ไม่มีข้อมูลความรู้ขององค์ภควานฺจึงต้องปฏิบัติเพื่อความพึงพอใจของตนเอง เพราะว่าไม่มีผู้ใดสามารถยืนหยัดอยู่ในระดับที่ไร้กิจกรรมได้ จุดมุ่งหมายทั้งหมดบรรลุได้โดยสมบูรณ์ด้วยการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึก
ārurukṣor muner yogaṁ
karma kāraṇam ucyate
yogārūḍhasya tasyaiva
śamaḥ kāraṇam ucyate
อารุรุกฺโษรฺ มุเนรฺ โยคํ
กรฺม การณมฺ อุจฺยเต
โยคารูฒสฺย ตไสฺยว
ศมห์ การณมฺ อุจฺยเต
อารุรุกฺโษห์ — ผู้ที่เพิ่งเริ่มโยคะ, มุเนห์ — ของนักปราชญ์, โยคมฺ — ระบบโยคะแปดระดับ, กรฺม — งาน, การณมฺ — วิถีทาง, อุจฺยเต — กล่าวว่า, โยค — โยคะแปดระดับ, อารูฒสฺย — ของผู้ได้รับแล้ว, ตสฺย — ของเขา, เอว — แน่นอน, ศมห์ — หยุดกิจกรรมทางวัตถุทั้งหมด, การณมฺ — วิถีทาง, อุจฺยเต — กล่าวว่า
คำแปล
สำหรับผู้เริ่มต้นในระบบโยคะแปดระดับกล่าวไว้ว่า การทำงานคือวิถีทาง และสำหรับผู้ที่พัฒนาในโยคะแล้วกล่าวไว้ว่า การหยุดกิจกรรมทางวัตถุทั้งหมดคือวิถีทาง
คำอธิบาย
วิธีการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างตัวเรากับองค์ภควานฺเรียกว่า โยคะ อาจเปรียบเทียบได้กับขั้นบันไดเพื่อบรรลุถึงความรู้แจ้งทิพย์สูงสุด ขั้นบันไดนี้เริ่มต้นจากสภาวะวัตถุต่ำสุดของสิ่งมีชีวิต และสูงขึ้นไปจนถึงความรู้แจ้งแห่งตนอย่างสมบูรณ์ในชีวิตทิพย์ที่บริสุทธิ์ ตามระดับแห่งความเจริญก้าวหน้าส่วนต่างๆของขั้นบันไดมีชื่อเรียกต่างกัน แต่รวมกันทั้งหมดเป็นขั้นบันไดที่สมบูรณ์เรียกว่าโยคะ และอาจแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ ชฺญาน-โยค, ธฺยาน-โยค และ ภกฺติ-โยค ขั้นแรกของบันไดเรียกว่าระดับ โยคารุรุกฺษุ และขั้นสูงสุดเรียกว่า โยคารูฒ
เกี่ยวกับระบบโยคะแปดระดับนั้นเป็นการพยายามขั้นต้นเพื่อเข้าไปสู่สมาธิด้วยหลักธรรมแห่งชีวิต และฝึกปฏิบัติท่านั่งต่างๆ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการบริหารร่างกาย) ถือว่าเป็นกิจกรรมทางวัตถุเพื่อหวังผล กิจกรรมเช่นนี้ทั้งหมดจะนำให้บรรลุความสมดุลทางจิตใจอย่างสมบูรณ์เพื่อควบคุมประสาทสัมผัส เมื่อประสบความสำเร็จในการฝึกสมาธิเขาจะหยุดกิจกรรมทั้งหมดที่รบกวนจิตใจ
อย่างไรก็ดีบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกสถิตในระดับสมาธิตั้งแต่ตอนเริ่มต้น เนื่องจากเขาระลึกถึงองค์กฺฤษฺณเสมอ และปฏิบัติรับใช้องค์กฺฤษฺณอยู่ตลอดเวลาซึ่งพิจารณาว่าหยุดกิจกรรมทางวัตถุทั้งหมดโดยปริยาย
yadā hi nendriyārtheṣu
na karmasv anuṣajjate
sarva-saṅkalpa-sannyāsī
yogārūḍhas tadocyate
ยทา หิ เนนฺทฺริยารฺเถษุ
น กรฺมสฺวฺ อนุษชฺชเต
สรฺว-สงฺกลฺป-สนฺนฺยาสี
โยคารูฒสฺ ตโทจฺยเต
ยทา — เมื่อ, หิ — แน่นอน, น — ไม่, อินฺทฺริย-อรฺเถษุ — ในการสนองประสาทสัมผัส, น — ไม่เคย, กรฺมสุ — ในกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ, อนุษชฺชเต — ผู้จำเป็นปฏิบัติ, สรฺว-สงฺกลฺป — ของความต้องการทางวัตถุทั้งปวง, สนฺนฺยาสี — ผู้สละทางโลก, โยค-อารูฒห์ — เจริญในโยคะ, ตทา — ในเวลานั้น, อุจฺยเต — กล่าวว่า
คำแปล
กล่าวได้ว่าบุคคลผู้นี้เจริญในโยคะแล้วหากเขาได้สละความต้องการทางวัตถุทั้งปวง และไม่ปฏิบัติตนเพื่อสนองประสาทสัมผัส หรือได้ปฏิบัติในกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ
คำอธิบาย
เมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างเต็มที่ในการรับใช้ทิพย์ด้วยความรักต่อองค์ภควานฺเขาจะมีความสุขอยู่ในตัว ดังนั้นจึงไม่ปฏิบัติเพื่อสนองประสาทสัมผัส หรือปฏิบัติในกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุอีกต่อไป มิเช่นนั้นเราต้องปฏิบัติเพื่อสนองประสาทสัมผัสเพราะว่าไม่มีผู้ใดสามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่มีกิจกรรมใดๆเลย หากปราศจากกฺฤษฺณจิตสำนึกเราต้องแสวงหากิจกรรมที่มีตนเองเป็นศูนย์กลาง หรือกิจกรรมที่เห็นแก่ตัวในวงกว้าง แต่บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกสามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความพึงพอพระทัยขององค์กฺฤษฺณ ดังนั้นจึงไม่ยึดติดกับการสนองประสาทสัมผัสโดยสมบูรณ์ ผู้ที่ไม่มีความรู้แจ้งเช่นนี้จะต้องพยายามหลบหนีความต้องการทางวัตถุอย่างผิดธรรมชาติก่อนที่จะพัฒนาไปถึงขั้นบันไดสูงสุดแห่งโยคะ
uddhared ātmanātmānaṁ
nātmānam avasādayet
ātmaiva hy ātmano bandhur
ātmaiva ripur ātmanaḥ
อุทฺธเรทฺ อาตฺมนาตฺมานํ
นาตฺมานมฺ อวสาทเยตฺ
อาตฺไมว หฺยฺ อาตฺมโน พนฺธุรฺ
อาตฺไมว ริปุรฺ อาตฺมนห์
อุทฺธเรตฺ — เราต้องส่ง, อาตฺมนา — ด้วยจิตใจ, อาตฺมานมฺ — พันธวิญญาณ, น — ไม่เคย, อาตฺมานมฺ — พันธวิญญาณ, อวสาทเยตฺ — ทำให้ตกต่ำลง, อาตฺมา — จิตใจ, เอว — แน่นอน, หิ — อันที่จริง, อาตฺมนห์ — ของพันธวิญญาณ, พนฺธุห์ — เพื่อน, อาตฺมา — จิตใจ, เอว — แน่นอน, ริปุห์ — ศัตรู, อาตฺมนห์ — ของพันธวิญญาณ
คำแปล
เราต้องจัดส่งตนเองด้วยความช่วยเหลือจากจิตใจของตัวเอง มิใช่ทำตัวให้ตกต่ำลง จิตใจเป็นได้ทั้งเพื่อนและศัตรูของพันธวิญญาณ
คำอธิบาย
คำว่า อาตฺมา หมายถึง ร่างกาย จิตใจ และวิญญาณ ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ในระบบโยคะนั้นจิตใจของพันธวิญญาณสำคัญมากเพราะว่าจิตใจเป็นศูนย์กลางของการฝึกปฏิบัติโยคะ ณ ที่นี้ อาตฺมา หมายถึง จิตใจ จุดมุ่งหมายของระบบโยคะก็เพื่อควบคุมจิตใจและดึงให้จิตใจออกห่างจากการยึดติดกับอายตนะภายนอก ได้เน้นไว้ที่นี้ว่าจิตใจจะต้องได้รับการฝึกฝนเพื่อจัดส่งพันธวิญญาณให้พ้นจากโคลนตมแห่งอวิชชา ในความเป็นอยู่ทางวัตถุเราอยู่ภายใต้อำนาจอิทธิพลของจิตใจและประสาทสัมผัส อันที่จริงดวงวิญญาณบริสุทธิ์ถูกพันธนาการอยู่ในโลกวัตถุ เพราะว่าจิตใจถูกอหังการพัวพันซึ่งทำให้ต้องการเป็นเจ้าครอบครองธรรมชาติวัตถุ ฉะนั้นจิตใจควรได้รับการฝึกฝนเพื่อไม่ให้ไปหลงใหลกับแสงสีของธรรมชาติวัตถุ ด้วยวิธีนี้พันธวิญญาณอาจได้รับความปลอดภัย เราไม่ควรทำตัวเองให้ตกต่ำลงด้วยการไปหลงใหลกับอายตนะภายนอก หากเราไปหลงใหลกับอายตนะภายนอกมากเท่าไรเราก็จะถูกพันธนาการในความเป็นอยู่ทางวัตถุมากเท่านั้น วิธีที่ดีที่สุดที่จะไม่ให้ตนเองถูกพันธนาการคือให้จิตใจปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เสมอ คำว่า หิ ใช้เพื่อเน้นจุดนี้ ตัวอย่างเช่น เราต้องทำเช่นนี้ ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า
มน เอว มนุษฺยาณำ
การณํ พนฺธ-โมกฺษโยห์
พนฺธาย วิษยาสงฺโค
มุกฺไตฺย นิรฺวิษยํ มนห์
“สำหรับมนุษย์นั้นจิตใจเป็นต้นเหตุแห่งพันธนาการ และจิตใจก็เป็นต้นเหตุแห่งความหลุดพ้น จิตใจที่ซึมซาบอยู่กับอายตนะภายนอกเป็นต้นเหตุแห่งพันธนาการ และจิตใจที่ไม่ยึดติดกับอายตนะภายนอกเป็นต้นเหตุแห่งความหลุดพ้น” (อมฺฤต-พินฺทุ อุปนิษทฺ 2) ฉะนั้นจิตใจที่ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เสมอเป็นต้นเหตุแห่งความหลุดพ้นสูงสุด
bandhur ātmātmanas tasya
yenātmaivātmanā jitaḥ
anātmanas tu śatrutve
vartetātmaiva śatru-vat
พนฺธุรฺ อาตฺมาตฺมนสฺ ตสฺย
เยนาตฺไมวาตฺมนา ชิตห์
อนาตฺมนสฺ ตุ ศตฺรุเตฺว
วรฺเตตาตฺไมว ศตฺรุ-วตฺ
พนฺธุห์ — เพื่อน, อาตฺมา — จิตใจ, อาตฺมนห์ — ของสิ่งมีชีวิต, ตสฺย — ของเขา, เยน — ผู้ซึ่ง, อาตฺมา — จิตใจ, เอว — แน่นอน, อาตฺมนา — โดยสิ่งมีชีวิต, ชิตห์ — ได้รับชัยชนะ, อนาตฺมนห์ — ของผู้ที่ไม่สามารถควบคุมจิตใจได้, ตุ — แต่, ศตฺรุเตฺว — เพราะศัตรู, วรฺเตต — ยังคง, อาตฺมา เอว — จิตใจนั้น, ศตฺรุ-วตฺ — ในฐานะศัตรู
คำแปล
สำหรับผู้ที่เอาชนะจิตใจตนเองได้นั้นจิตใจถือเป็นเพื่อนที่ดีที่สุด แต่สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเอาชนะจิตใจของตนเองได้ จิตใจของเขายังคงเป็นศัตรูที่ร้ายกาจที่สุด
คำอธิบาย
จุดมุ่งหมายของการฝึกปฏิบัติโยคะแปดระดับก็เพื่อควบคุมจิตใจในการปฏิบัติภารกิจของมนุษย์ นอกจากว่าจิตใจจะอยู่ภายใต้การควบคุมมิฉะนั้นแล้วการฝึกปฏิบัติโยคะ (เพื่อโอ้อวด) นั้นเป็นการเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมจิตใจของตนเองได้มีชีวิตอยู่กับศัตรูที่ร้ายกาจเสมอ ดังนั้นทั้งชีวิตและจุดมุ่งหมายของชีวิตของเขาจะถูกทำลายลง สถานภาพพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตคือการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ที่สูงกว่า ตราบใดที่จิตใจยังคงเป็นศัตรูที่เอาชนะไม่ได้เขาจะต้องรับใช้ตามคำสั่งของราคะ ความโกรธ ความโลภ ความหลง ฯลฯ แต่เมื่อเอาชนะจิตใจได้แล้วเขาอาสาที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าผู้ทรงสถิตในหัวใจของทุกๆคนในรูปของ ปรมาตฺมา การปฏิบัติโยคะที่แท้จริงนั้นจะนำเราไปพบ ปรมาตฺมา ภายในหัวใจ จากนั้นก็ปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ สำหรับผู้ที่รับเอากฺฤษฺณจิตสำนึกไปปฏิบัติโดยตรง การศิโรราบอย่างสมบูรณ์ต่อคำสั่งขององค์ภควานฺจะตามตัวเขาไปด้วยโดยปริยาย
jitātmanaḥ praśāntasya
paramātmā samāhitaḥ
śītoṣṇa-sukha-duḥkheṣu
tathā mānāpamānayoḥ
ชิตาตฺมนห์ ปฺรศานฺตสฺย
ปรมาตฺมา สมาหิตห์
ศีโตษฺณ-สุข-ทุห์เขษุ
ตถา มานาปมานโยห์
ชิต-อาตฺมนห์ — ของผู้ที่เอาชนะจิตใจตนเองได้แล้ว, ปฺรศานฺตสฺย — ผู้ได้รับความสงบด้วยการควบคุมจิตใจ, ปรม-อาตฺมา — อภิวิญญาณ, สมาหิตห์ — เข้าพบอย่างสมบูรณ์, ศีต — ในความเย็น, อุษฺณ — ความร้อน, สุข — ความสุข, ทุห์เขษุ — และความทุกข์, ตถา — เช่นกัน, มาน — ในเกียรติยศ, อปมานโยห์ — และไร้เกียรติยศ
คำแปล
สำหรับผู้ที่เอาชนะจิตใจตนเองได้นั้น ได้บรรลุถึงองค์อภิวิญญาณเรียบร้อยแล้ว และได้รับความสงบ สำหรับบุคคลเช่นนี้นั้นความสุขและความทุกข์ ความร้อนและความเย็น การได้เกียรติและการเสียเกียรติ ทั้งหมดมีค่าเท่ากัน
คำอธิบาย
อันที่จริงทุกชีวิตมีจุดมุ่งหมายเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าผู้ทรงประทับอยู่ภายในหัวใจของทุกคนในรูป ปรมาตฺมา เมื่อจิตใจได้ถูกพลังงานแห่งความหลงภายนอกนำไปในทางที่ผิดเขาจะถูกพันธนาการอยู่ในกิจกรรมทางวัตถุ ฉะนั้นทันทีที่ควบคุมจิตใจได้ด้วยหนึ่งในวิธีของระบบโยคะจึงพิจารณาได้ว่าเขาบรรลุถึงจุดหมายปลายทางแล้ว เขาต้องปฏิบัติตามคำสั่งจากผู้ที่สูงกว่า เมื่อจิตใจตั้งมั่นอยู่ที่ธรรมชาติที่สูงกว่าจะไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากปฏิบัติตามคำสั่งขององค์ภควานฺ จิตใจต้องยอมรับคำสั่งที่สูงกว่าและปฏิบัติตามนั้นผลแห่งการควบคุมจิตใจได้คือปฏิบัติตามคำสั่งของ ปรมาตฺมา หรือองค์อภิวิญญาณโดยปริยาย เพราะว่าผู้ที่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกบรรลุถึงสถานภาพทิพย์นี้ได้โดยทันที สาวกขององค์ภควานฺไม่ได้รับผลกระทบจากสิ่งคู่ที่มีอยู่ทางวัตถุ เช่น ความทุกข์และความสุข ความเย็นและความร้อน เป็นต้น ระดับนี้คือการปฏิบัติ สมาธิ หรือซึมซาบอยู่ในองค์ภควานฺ
jñāna-vijñāna-tṛptātmā
kūṭa-stho vijitendriyaḥ
yukta ity ucyate yogī
sama-loṣṭrāśma-kāñcanaḥ
ชฺญาน-วิชฺญาน-ตฺฤปฺตาตฺมา
กูฏ-โสฺถ วิชิเตนฺทฺริยห์
ยุกฺต อิตฺยฺ อุจฺยเต โยคี
สม-โลษฺฏฺราศฺม-กาญฺจนห์
ชฺญาน — ด้วยความรู้ที่เรียนมา, วิชฺญาน — และความรู้แจ้งจากการปฏิบัติ, ตฺฤปฺต — พึงพอใจ, อาตฺมา — สิ่งมีชีวิต, กูฏ-สฺถห์ — สถิตในระดับทิพย์, วิชิต-อินฺทฺริยห์ — ควบคุมประสาทสัมผัส, ยุกฺตห์ — สามารถรู้แจ้งตนเอง, อิติ — ดังนั้น, อุจฺยเต — กล่าวว่า, โยคี — โยคี, สม — เที่ยงตรง, โลษฺฏฺร — กรวด, อศฺม — หิน, กาญฺจนห์ — ทอง
คำแปล
ผู้ที่สถิตในความรู้แจ้งแห่งตนเรียกว่า โยคี (หรือผู้มีอิทฤทธิ์) เมื่อเขามีความพึงพอใจอย่างเต็มเปี่ยมในบุญบารมีแห่งความรู้และความรู้แจ้งที่ได้รับ บุคคลเช่นนี้สถิตในระดับทิพย์เป็นผู้ควบคุมตนเองได้ เขาเห็นทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นก้อนกรวด ก้อนหิน หรือทองคำมีค่าเท่ากัน
คำอธิบาย
ความรู้จากหนังสือโดยปราศจากความรู้แจ้งแห่งสัจธรรมสูงสุดนั้นไร้ประโยชน์ ได้กล่าวไว้ดังต่อไปนี้
อตห์ ศฺรี-กฺฤษฺณ-นามาทิ
น ภเวทฺ คฺราหฺยมฺ อินฺทฺริไยห์
เสโวนฺมุเข หิ ชิหฺวาเทา
สฺวยมฺ เอว สฺผุรตฺยฺ อทห์
“ไม่มีผู้ใดสามารถเข้าใจธรรมชาติทิพย์แห่งพระนาม พระวรกาย คุณสมบัติ และลีลาขององค์ศฺรี กฺฤษฺณด้วยประสาทสัมผัสวัตถุของตนที่มีมลทินได้ จะได้ก็ต่อเมื่อเขามีความอิ่มเอิบทิพย์ด้วยการรับใช้ทิพย์แด่องค์ภควานฺ พระนามทิพย์ พระวรกายทิพย์ คุณสมบัติทิพย์ และลีลาทิพย์ของพระองค์จึงจะปรากฏแก่เขา” (ภกฺติ-รสามฺฤต-สินฺธุ 1.2.234)
หนังสือ ภควัท-คีตา นี้เป็นศาสตร์แห่งกฺฤษฺณจิตสำนึก ไม่มีผู้ใดสามารถมาเป็นกฺฤษฺณจิตสำนึกได้ด้วยการศึกษาทางโลก เขาต้องโชคดีพอที่ได้มาคบหาสมาคมกับบุคคลผู้อยู่ในจิตสำนึกที่บริสุทธิ์ บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกมีความรู้แจ้งด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์กฺฤษฺณ เพราะเขาพึงพอใจต่อการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์ ด้วยความรู้แจ้งทำให้เขาสมบูรณ์ด้วยความรู้ทิพย์ทำให้เขาสามารถดำรงอยู่อย่างมั่นคงในความมุ่งมั่น หากเพียงแต่เป็นความรู้ทางวิชาการเพียงอย่างเดียวอาจทำให้หลงผิดได้โดยง่ายดาย และเกิดสับสนจากการปรากฏที่ขัดกัน ดวงวิญญาณผู้รู้แจ้งสามารถควบคุมตนเองได้อย่างแท้จริงเพราะเขาศิโรราบองค์กฺฤษฺณผู้ทรงอยู่ในระดับทิพย์ และเขาไม่มีอะไรไปเกี่ยวข้องกับการศึกษาทางโลก การศึกษาทางโลกและการคาดคะเนทางจิตอาจดีเท่ากับทองคำสำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีคุณค่ามากไปกว่าก้อนกรวดหรือก้อนหินสำหรับบุคคลผู้นี้
suhṛn-mitrāry-udāsīna-
madhyastha-dveṣya-bandhuṣu
sādhuṣv api ca pāpeṣu
sama-buddhir viśiṣyate
สุหฺฤนฺ-มิตฺรารฺยฺ-อุทาสีน-
มธฺยสฺถ-เทฺวษฺย-พนฺธุษุ
สาธุษฺวฺ อปิ จ ปาเปษุ
สม-พุทฺธิรฺ วิศิษฺยเต
สุ-หฺฤตฺ — แด่ผู้ปรารถนาดีโดยธรรมชาติ, มิตฺร — ผู้มีบุญคุณด้วยความรัก, อริ — ศัตรู, อุทาสีน — เป็นกลางระหว่างคู่ปรปักษ์, มธฺย-สฺถ — ผู้ปรองดองระหว่างคู่ปรปักษ์, เทฺวษฺย — ผู้อิจฉา, พนฺธุษุ — และญาติหรือผู้ปรารถนาดี, สาธุษุ — แด่นักบุญ, อปิ — รวมทั้ง, จ — และ, ปาเปษุ — แด่คนบาป, สม-พุทฺธิห์ — มีปัญญาเสมอภาค, วิศิษฺยเต — สูงขึ้นไปอีก
คำแปล
พิจารณาได้ว่าบุคคลเจริญสูงขึ้นไปอีก เมื่อเขาเห็นผู้ปรารถนาดีที่ซื่อสัตย์ ผู้มีบุญคุณด้วยความรัก ผู้เป็นกลาง ผู้ปรองดอง ผู้อิจฉา มิตรและศัตรู นักบุญและคนบาป ทั้งหมดนี้ด้วยจิตใจที่เสมอภาค
yogī yuñjīta satatam
ātmānaṁ rahasi sthitaḥ
ekākī yata-cittātmā
nirāśīr aparigrahaḥ
โยคี ยุญฺชีต สตตมฺ
อาตฺมานํ รหสิ สฺถิตห์
เอกากี ยต-จิตฺตาตฺมา
นิราศีรฺ อปริคฺรหห์
โยคี — นักทิพย์นิยม, ยุญฺชีต — ต้องทำสมาธิในกฺฤษฺณจิตสำนึก, สตตมฺ — ตลอดเวลา, อาตฺมานมฺ — ตัวเขา (ด้วยร่างกาย จิตใจ และชีวิต), รหสิ — ในที่สันโดษ, สฺถิตห์ — สถิต, เอกากี — คนเดียว, ยต-จิตฺต-อาตฺมา — ระวังอยู่ในจิตใจเสมอ, นิราศีห์ — ไม่ถูกสิ่งใดยั่วยวน, อปริคฺรหห์ — ปราศจากความรู้สึกเป็นเจ้าของ
คำแปล
นักทิพย์นิยมควรปฏิบัติด้วยร่างกาย จิตใจ และชีวิตในความสัมพันธ์กับองค์ภควานฺเสมอ เขาควรอยู่คนเดียวในที่สันโดษ ควรควบคุมจิตใจของตนเองด้วยความระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา และควรเป็นอิสระจากความต้องการและความรู้สึกเป็นเจ้าของ
คำอธิบาย
ศฺรี กฺฤษฺณ ทรงรู้แจ้งได้ในระดับต่างๆกัน เช่น พฺรหฺมนฺ ปรมาตฺมา และ ภควานฺ กฺฤษฺณจิตสำนึกหมายความอย่างตรงประเด็นว่าปฏิบัติตนในการรับใช้ทิพย์ด้วยความรักแด่องค์ภควานฺอยู่เสมอ แต่พวกที่ยึดติดกับ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ หรือองค์อภิวิญญาณผู้ทรงประทับอยู่ภายในหัวใจก็เป็นส่วนหนึ่งของกฺฤษฺณจิตสำนึกเช่นกัน เพราะ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์เป็นรัศมีทิพย์ขององค์กฺฤษฺณ และอภิวิญญาณทรงเป็นส่วนที่แยกออกมาจากองค์กฺฤษฺณซึ่งแผ่กระจายไปทั่ว ดังนั้นผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์และนักปฏิบัติสมาธิก็มีกฺฤษฺณจิตสำนึกทางอ้อมเช่นกัน บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรงเป็นนักทิพย์นิยมสูงสุดเพราะสาวกเช่นนี้ทราบว่า พฺรหฺมนฺ และ ปรมาตฺมา หมายความว่าอย่างไร ความรู้แห่งสัจธรรมของเขานั้นสมบูรณ์ ในขณะที่ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์และโยคีผู้ทำสมาธิมีกฺฤษฺณจิตสำนึกที่ไม่สมบูรณ์
อย่างไรก็ดีได้มีการแนะนำไว้ที่นี้ทั้งหมดว่าให้เราปฏิบัติในสายงานอาชีพของตนเองอยู่เสมอ เพื่อเราอาจไปถึงจุดสมบูรณ์สูงสุดได้ในไม่ช้าก็เร็ว ภารกิจข้อแรกของนักทิพย์นิยมคือตั้งจิตอยู่ที่องค์กฺฤษฺณเสมอ เขาควรระลึกถึงองค์กฺฤษฺณอยู่เสมอและไม่ลืมพระองค์แม้แต่เสี้ยววินาทีเดียว การตั้งจิตอยู่ที่องค์ภควานฺเรียกว่า สมาธิ เพื่อให้จิตตั้งมั่นเขาควรดำรงอยู่อย่างสันโดษเสมอและหลีกเลี่ยงการรบกวนจากอายตนะภายนอก เขาควรระมัดระวังอย่างยิ่งในการรับเอาสภาวะที่เอื้อประโยชน์ และปฏิเสธสภาวะที่ไม่เอื้อประโยชน์ที่จะมีผลกระทบต่อความรู้แจ้งแห่งตน และด้วยความมั่นใจอย่างสมบูรณ์เขาไม่ควรทะเยอทะยานกับสิ่งของวัตถุที่ไม่จำเป็น ซึ่งจะพันธนาการตนเองด้วยความรู้สึกเป็นเจ้าของ
ความสมบูรณ์และข้อควรระวังทั้งหมดนี้ปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์เมื่ออยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรง เพราะว่ากฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรงหมายถึงการสละทิ้งตนเอง เช่นนี้จึงเปิดโอกาสน้อยมากที่จะเป็นเจ้าของวัตถุ ศฺรีล รูป โคสฺวามี แสดงลักษณะของกฺฤษฺณจิตสำนึกไว้ดังนี้
อนาสกฺตสฺย วิษยานฺ ยถารฺหมฺ อุปยุญฺชตห์
นิรฺพนฺธห์ กฺฤษฺณ-สมฺพนฺเธ, ยุกฺตํ ไวราคฺยมฺ อุจฺยเต
ปฺราปญฺจิกตยา พุทฺธฺยา
หริ-สมฺพนฺธิ-วสฺตุนห์
มุมุกฺษุภิห์ ปริตฺยาโค
ไวราคฺยํ ผลฺคุ กถฺยเต
“เมื่อเขาไม่ยึดติดกับสิ่งใด แต่ในขณะเดียวกันยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างในความสัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณ เขาสถิตอย่างถูกต้องเหนือความเป็นเจ้าของ อีกด้านหนึ่งผู้ที่ปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่างโดยไม่รู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างทุกสิ่งทุกอย่างกับองค์กฺฤษฺณนั้น การเสียสละของบุคคลนี้ถือว่าไม่สมบูรณ์” (ภกฺติ-รสามฺฤต-สินฺธุ 1.2.255-256)
บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกทราบดีว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นขององค์กฺฤษฺณ ดังนั้นเขาจึงเป็นอิสระจากความรู้สึกเป็นเจ้าของส่วนตัวอยู่เสมอ เขาไม่มีความทะเยอทะยานไม่ว่าสิ่งใดๆสำหรับส่วนตัว เขาทราบว่าควรรับเอาสิ่งต่างๆมาส่งเสริมในกฺฤษฺณจิตสำนึกได้อย่างไร และทราบว่าควรปฏิเสธกับสิ่งที่ไม่ส่งเสริมในกฺฤษฺณจิตสำนึก เขาปลีกตัวออกห่างจากสิ่งของวัตถุเสมอเพราะว่าเขาจะอยู่ในระดับทิพย์เสมอ เขาจะอยู่อย่างสันโดษเสมอโดยไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับบุคคลผู้ที่ไม่มีกฺฤษฺณจิตสำนึก ฉะนั้นบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงเป็นโยคีที่สมบูรณ์
śucau deśe pratiṣṭhāpya
sthiram āsanam ātmanaḥ
nāty-ucchritaṁ nāti-nīcaṁ
cailājina-kuśottaram
ศุเจา เทเศ ปฺรติษฺฐาปฺย
สฺถิรมฺ อาสนมฺ อาตฺมนห์
นาตฺยฺ-อุจฺฉฺริตํ นาติ-นีจํ
ไจลาชิน-กุโศตฺตรมฺ
tatraikāgraṁ manaḥ kṛtvā
yata-cittendriya-kriyaḥ
upaviśyāsane yuñjyād
yogam ātma-viśuddhaye
ตไตฺรกาคฺรํ มนห์ กฺฤตฺวา
ยต-จิตฺเตนฺทฺริย-กฺริยห์
อุปวิศฺยาสเน ยุญฺชฺยาทฺ
โยคมฺ อาตฺม-วิศุทฺธเย
ศุเจา — ในความถูกต้อง, เทเศ — แผ่นดิน, ปฺรติษฺฐาปฺย — วาง, สฺถิรมฺ — มั่นคง, อาสนมฺ — ที่นั่ง, อาตฺมนห์ — ตัวเขา, น — ไม่, อติ — เกินไป, อุจฺฉฺริตมฺ — สูง, น — ไม่, อติ — เกินไป, นีจมฺ — ต่ำ, ไจล-อชิน — ผ้านุ่มและหนังกวาง, กุศ — และหญ้า กุศ, อุตฺตรมฺ — คลุม, ตตฺร — ข้างบน, เอก-อคฺรมฺ — ตั้งใจเป็นหนึ่ง, มนห์ — จิตใจ, กฺฤตฺวา — ทำ, ยต-จิตฺต — ควบคุมจิตใจ, อินฺทฺริย — ประสาทสัมผัส, กฺริยห์ — และกิจกรรม, อุปวิศฺย — นั่ง, อาสเน — บนที่นั่ง, ยุญฺชฺยาตฺ — ควรปฏิบัติ, โยคมฺ — ฝึกปฏิบัติโยคะ, อาตฺม — หัวใจ, วิศุทฺธเย — เพื่อให้บริสุทธิ์
คำแปล
ในการฝึกปฏิบัติโยคะเขาควรไปที่สถานที่สันโดษและควรวางหญ้า กุศ บนพื้น จากนั้นคลุมด้วยหนังกวางและผ้านุ่ม ที่นั่งไม่ควรสูงหรือต่ำเกินไป และควรอยู่ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ จากนั้นโยคีควรนั่งบนที่นั่งนี้ด้วยความแน่วแน่มั่นคง ฝึกปฏิบัติโยคะเพื่อให้หัวใจสะอาดบริสุทธิ์ด้วยการควบคุมจิตใจ ประสาทสัมผัส และกิจกรรมของตนเอง ตั้งมั่นจิตอยู่ที่จุดเดียว
คำอธิบาย
“สถานที่ศักดิ์สิทธิ์” หมายถึงสถานที่ที่ควรเคารพสักการะ ในประเทศอินเดียโยคีนักทิพย์นิยม หรือสาวกนั้นทั้งหมดจะออกจากบ้านและไปพำนักอยู่ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ปฺรยาค, มถุรา, วฺฤนฺทาวน, หฺฤษีเกศ และ หรฺทฺวรฺ ในความสันโดษจะฝึกปฏิบัติโยคะ ณ สถานที่ที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น ยะมุนาและคงคาไหลผ่าน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นไปไม่ได้โดยเฉพาะชาวตะวันตก สิ่งที่เรียกว่าสมาคมโยคะในเมืองใหญ่ๆอาจประสบความสำเร็จในผลกำไรทางวัตถุ แต่ว่าไม่เหมาะสมเลยในการฝึกปฏิบัติโยคะที่แท้จริง ผู้ที่ควบคุมตนเองไม่ได้และผู้ที่จิตใจไม่สงบไม่สามารถฝึกปฏิบัติสมาธิได้ ฉะนั้นใน พฺฤหนฺ-นารทีย ปุราณ ได้กล่าวไว้ว่าใน กลิ-ยุค (ยุคปัจจุบัน) เมื่อคนทั่วไปมีอายุสั้น เฉื่อยชาในความรู้ทิพย์ และถูกรบกวนจากความวิตกกังวลต่างๆอยู่เสมอ วิธีที่ดีที่สุดในการรู้แจ้งทิพย์คือ การสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานฺ
หเรรฺ นาม หเรรฺ นาม
หเรรฺ นาไมว เกวลมฺ
กเลา นาสฺตฺยฺ เอว นาสฺตฺยฺ เอว
นาสฺตฺยฺ เอว คติรฺ อนฺยถา
“ในยุคแห่งการทะเลาะวิวาทและมือถือสากปากถือศีลนี้ วิธีแห่งความหลุดพ้นคือ การร้องเพลงสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานฺ ไม่มีหนทางอื่นใด ไม่มีหนทางอื่นใด และไม่มีหนทางอื่นใด”
samaṁ kāya-śiro-grīvaṁ
dhārayann acalaṁ sthiraḥ
samprekṣya nāsikāgraṁ svaṁ
diśaś cānavalokayan
สมํ กาย-ศิโร-คฺรีวํ
ธารยนฺนฺ อจลํ สฺถิรห์
สมฺเปฺรกฺษฺย นาสิกาคฺรํ สฺวํ
ทิศศฺ จานวโลกยนฺ
praśāntātmā vigata-bhīr
brahmacāri-vrate sthitaḥ
manaḥ saṁyamya mac-citto
yukta āsīta mat-paraḥ
ปฺรศานฺตาตฺมา วิคต-ภีรฺ
พฺรหฺมจาริ-วฺรเต สฺถิตห์
มนห์ สํยมฺย มจฺ-จิตฺโต
ยุกฺต อาสีต มตฺ-ปรห์
สมมฺ — ตรง, กาย — ร่างกาย, ศิรห์ — ศีรษะ, คฺรีวมฺ — และคอ, ธารยนฺ — รักษา, อจลมฺ — ไม่เคลื่อน, สฺถิรห์ — นิ่ง, สมฺเปฺรกฺษฺย — มอง, นาสิกา — ของจมูก, อคฺรมฺ — ที่ปลาย, สฺวมฺ — ตน, ทิศห์ — รอบด้าน, จ — เช่นกัน, อนวโลกยนฺ — ไม่มอง, ปฺรศานฺต — ไม่เร่าร้อน, อาตฺมา — จิตใจ, วิคต-ภีห์ — ปราศจากความกลัว, พฺรหฺมจาริ-วฺรเต — ในการปฏิญาณพรหมจรรย์, สฺถิตห์ — สถิต, มนห์ — จิตใจ, สํยมฺย — กำราบอย่างสมบูรณ์, มตฺ — แด่ข้า (องค์กฺฤษฺณ), จิตฺตห์ — ตั้งสมาธิจิต, ยุกฺตห์ — โยคีที่แท้จริง, อาสีต — ควรนั่ง, มตฺ — ข้า, ปรห์ — เป้าหมายสูงสุด
คำแปล
เขาควรตั้งร่างกาย คอ และศีรษะให้เป็นเส้นตรง จ้องไปที่ปลายจมูกอย่างแน่วแน่ และด้วยจิตใจที่สงบนิ่งไม่หวั่นไหว ปราศจากความกลัว เป็นอิสระจากชีวิตเพศสัมพันธ์โดยสมบูรณ์ ภายในหัวใจเขาควรทำสมาธิอยู่ที่ข้า และให้ข้าเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดแห่งชีวิต
คำอธิบาย
จุดมุ่งหมายแห่งชีวิตคือรู้จักองค์กฺฤษฺณ ผู้ทรงประทับอยู่ภายในหัวใจของทุกๆชีวิตในรูปของ ปรมาตฺมา หรือพระวิษณุสี่กร วิธีปฏิบัติโยคะก็เพื่อค้นหาและพบเห็นพระวิษณุภายในตัวเรานี้ มิใช่เพื่อจุดมุ่งหมายอย่างอื่น วิษฺณุ-มูรฺติ ภายในร่างกายทรงเป็นผู้แทนที่แยกมาจากองค์กฺฤษฺณ และทรงประทับอยู่ในหัวใจของทุกคน ผู้ที่ไม่มีแผนเพื่อรู้แจ้ง วิษฺณุ-มูรฺติ นี้ได้ฝึกปฏิบัติโยคะแบบหลอกๆ ไร้ประโยชน์ และสูญเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์อย่างแน่นอน องค์กฺฤษฺณทรงเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต และ วิษฺณุ-มูรฺติ ทรงสถิตภายในหัวใจของทุกคน ทรงเป็นเป้าหมายแห่งการฝึกปฏิบัติโยคะ การรู้แจ้ง วิษฺณุ-มูรฺติ ภายในหัวใจนี้ต้องถือเพศพรหมจรรย์อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นเขาต้องออกจากบ้านไปอยู่คนเดียวในสถานที่สันโดษและนั่งเหมือนดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่จะไปหาความสุขประจำวันกับเรื่องเพศสัมพันธ์ที่บ้านหรือที่ใดก็ตาม จากนั้นก็ไปห้องเรียนที่เขาเรียกว่าโยคะแล้วเขาจะกลายไปเป็นโยคี เขาต้องฝึกปฏิบัติควบคุมจิตใจและหลีกเลี่ยงการสนองประสาทสัมผัสทั้งหมดซึ่งมีเพศสัมพันธ์เป็นตัวนำ ในกฎแห่งเพศพรหมจรรย์นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ยาชฺญวลฺกฺย ได้เขียนไว้ดังนี้
กรฺมณา มนสา วาจา
สรฺวาวสฺถาสุ สรฺวทา
สรฺวตฺร ไมถุน-ตฺยาโค
พฺรหฺมจรฺยํ ปฺรจกฺษเต
“คำปฏิญาณของ พฺรหฺมจรฺย เพื่อช่วยให้หลีกเลี่ยงการปล่อยตัวทางเพศ ในการทำงาน ในคำพูด และในจิตใจอย่างสมบูรณ์ตลอดเวลาภายใต้ทุกสถานการณ์และทุกสถานที่” ไม่มีใครสามารถฝึกปฏิบัติได้อย่างถูกต้องด้วยการไม่ควบคุมเรื่องเพศ ดังนั้น พฺรหฺมจรฺย ได้ถูกสั่งสอนตั้งแต่เด็กตอนที่เขายังไม่มีความรู้เกี่ยวกับชีวิตเพศสัมพันธ์ เด็กๆอายุห้าขวบจะถูกส่งไปที่ คุรุ-กุล หรือสถานที่ของพระอาจารย์ทิพย์ และพระอาจารย์จะฝึกฝนเด็กน้อยเหล่านี้ให้มีระเบียบวินัยเคร่งครัดมาเป็น พฺรหฺมจารี หากไม่ได้รับการฝึกปฏิบัติเช่นนี้ก็จะไม่มีผู้ใดสามารถทำความเจริญก้าวหน้าได้ไม่ว่าจะเป็นโยคะประเภท ธฺยาน, ชฺญาน หรือ ภกฺติ ก็ตาม อย่างไรก็ดีผู้ที่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ชีวิตสมรสจะมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาของตนเองเท่านั้น (และอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เช่นเดียวกัน) เรียกว่า พฺรหฺมจารี เหมือนกัน คฤหัสถ์ พฺรหฺมจารี ที่ควบคุมได้เช่นนี้สถาบัน ภกฺติ ยอมรับแต่สถาบัน ชฺญาน และ ธฺยาน ไม่ยอมรับ แม้แต่คฤหัสถ์ พฺรหฺมจารี พวกเขาต้องการพรหมจรรย์อย่างสมบูรณ์โดยไม่มีการประนีประนอม ในสถาบัน ภกฺติ อนุญาตคฤหัสถ์ พฺรหฺมจารี ที่ควบคุมชีวิตเพศสัมพันธ์ได้เพราะวัฒนธรรม ภกฺติ-โยค มีพลังอำนาจมาก ซึ่งจะทำให้สูญเสียความหลงใหลทางเพศสัมพันธ์ไปโดยปริยายด้วยการปฏิบัติรับใช้ต่อองค์ภควานฺที่สูงกว่า ได้กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา (2.59) ว่า
วิษยา วินิวรฺตนฺเต
นิราหารสฺย เทหินห์
รส-วรฺชํ รโส ’ปฺยฺ อสฺย
ปรํ ทฺฤษฺฏฺวา นิวรฺตเต
“ขณะที่ผู้อื่นถูกบังคับให้ควบคุมตนเองจากการสนองประสาทสัมผัส สาวกขององค์ภควานฺละเว้นได้โดยปริยาย เพราะได้รับรสที่สูงกว่า นอกจากสาวกแล้วไม่มีผู้ใดมีข้อมูลเกี่ยวกับรสที่สูงกว่านี้”
วิคต-ภีห์ บุคคลจะปราศจากความกลัวไม่ได้นอกจากเขานั้นจะมีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ พันธวิญญาณมีความกลัวเนื่องมาจากความจำที่กลับตาลปัตร หรือลืมความสัมพันธ์นิรันดรของตนกับองค์กฺฤษฺณ ภาควต (11.2.37) กล่าวว่า ภยํ ทฺวิตียาภินิเวศตห์ สฺยาทฺ อีศาทฺ อเปตสฺย วิปรฺยโย ’สฺมฺฤติห์ กฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นพื้นฐานเดียวที่ไร้ความกลัว ฉะนั้นการปฏิบัติที่สมบูรณ์จึงเป็นไปได้สำหรับบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึก เพราะว่าจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติโยคะก็เพื่อเห็นองค์ภควานฺอยู่ภายใน บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงเป็นโยคีที่ดีที่สุดในบรรดาโยคีทั้งหลาย หลักธรรมของระบบโยคะที่กล่าว ณ ที่นี้แตกต่างจากสิ่งที่เรียกว่าสมาคมโยคะที่ได้รับความนิยมกันอยู่ในปัจจุบัน
yuñjann evaṁ sadātmānaṁ
yogī niyata-mānasaḥ
śāntiṁ nirvāṇa-paramāṁ
mat-saṁsthām adhigacchati
ยุญฺชนฺนฺ เอวํ สทาตฺมานํ
โยคี นิยต-มานสห์
ศานฺตึ นิรฺวาณ-ปรมำ
มตฺ-สํสฺถามฺ อธิคจฺฉติ
ยุญฺชนฺ — ปฏิบัติ, เอวมฺ — ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว, สทา — อยู่เสมอ, อาตฺมานมฺ — ร่างกายจิตใจและวิญญาณ, โยคี — นักทิพย์นิยมผู้มีฤทธิ์, นิยต-มานสห์ — ด้วยจิตใจที่ประมาณได้, ศานฺติมฺ — ความสงบ, นิรฺวาณ-ปรมามฺ — หยุดความเป็นอยู่ทางวัตถุ, มตฺ-สํสฺถามฺ — ท้องฟ้าทิพย์ (อาณาจักรแห่งองค์ภควาน), อธิคจฺฉติ — บรรลุ
คำแปล
จากการฝึกปฏิบัติการควบคุมร่างกาย จิตใจ และกิจกรรมอยู่เสมอ นักทิพย์นิยมผู้มีฤทธิ์สามารถประมาณจิตใจของตนเองได้ และบรรลุถึงอาณาจักรแห่งองค์ภควานฺ (หรือพระตำหนักขององค์กฺฤษฺณ) ด้วยการยุติความเป็นอยู่ทางวัตถุ
คำอธิบาย
จุดมุ่งหมายสูงสุดในการฝึกปฏิบัติโยคะได้อธิบายอย่างชัดเจน ณ ที่นี้ การฝึกปฏิบัติโยคะมิใช่เพื่อบรรลุผลประโยชน์ทางวัตถุใดๆ แต่เพื่อให้สามารถหยุดความเป็นอยู่ทางวัตถุทั้งปวง ตาม ภควัท-คีตา ผู้ที่แสวงหาการพัฒนาสุขภาพหรือมุ่งหวังความสมบูรณ์ทางวัตถุไม่ใช่โยคี การหยุดความเป็นอยู่ทางวัตถุก็มิใช่การนำให้เข้าไปสู่ “ความว่างเปล่า” ซึ่งเป็นเพียงความเร้นลับเท่านั้น ไม่มีความว่างเปล่าที่ใดภายในการสร้างขององค์ภควานฺ แต่การหยุดความเป็นอยู่ทางวัตถุจะนำให้เข้าไปสู่ท้องฟ้าทิพย์พระตำหนักขององค์ภควานฺ ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนใน ภควัท-คีตา เช่นกันว่าเป็นสถานที่ที่ไม่จำเป็นต้องมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือไฟฟ้า ดาวเคราะห์ทั้งหลายในอาณาจักรทิพย์มีรัศมีในตัวเอง เหมือนดวงอาทิตย์ในท้องฟ้าวัตถุ อาณาจักรขององค์ภควานฺจะอยู่ทุกหนทุกแห่ง แต่ท้องฟ้าทิพย์และดาวเคราะห์ที่นั่นเรียกว่า ปรํ ธาม หรือที่พำนักพักพิงที่สูงกว่า
โยคีผู้บรรลุที่เข้าใจองค์ศฺรี กฺฤษฺณอย่างสมบูรณ์ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน ณ ที่นี้โดยองค์ภควานฺเองว่า (มตฺ-จิตฺตห์, มตฺ-ปรห์, มตฺ-สฺถานมฺ) เขาสามารถได้รับความสงบอย่างแท้จริง และในที่สุดจะสามารถบรรลุถึงพระตำหนักสูงสุดขององค์ภควานฺ กฺฤษฺณโลก มีนามว่า โคโลก วฺฤนฺทาวน ใน พฺรหฺม-สํหิตา (5.37) ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า โคโลก เอว นิวสตฺยฺ อขิลาตฺม-ภูตห์ ถึงแม้ว่าองค์ภควานฺ ทรงประทับอยู่ที่พระตำหนัก ส ไว มนห์ กฺฤษฺณ-ปทารวินฺทโยห์ ของพระองค์อยู่เสมอ แต่พระองค์ทรงเป็น พฺรหฺมนฺ ที่แผ่กระจายไปทั่วและทรงเป็น ปรมาตฺมา ผู้ทรงประทับอยู่ในทุกร่างเช่นกันด้วยพลังงานทิพย์ที่สูงกว่าของพระองค์ ไม่มีใครสามารถบรรลุถึงท้องฟ้าทิพย์ (ไวกุณฺฐ) หรือเข้าไปในพระตำหนักอมตะของพระองค์ (โคโลก วฺฤนฺทาวน) ได้โดยปราศจากความเข้าใจองค์กฺฤษฺณและอวตารในรูปพระวิษณุของพระองค์อย่างถูกต้อง ฉะนั้นบุคคลผู้ทำงานในกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงเป็นโยคีที่สมบูรณ์ เพราะว่าจิตใจของเขาซึบซาบอยู่ในกิจกรรมขององค์กฺฤษฺณเสมอ (ส ไว มนห์ กฺฤษฺณ-ปทารวินฺทโยห์) ในคัมภีร์พระเวท (เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ 3.8) เราได้เรียนรู้เช่นกันว่า ตมฺ เอว วิทิตฺวาติ มฺฤตฺยุมฺ เอติ “เขาสามารถข้ามพ้นวิถีแห่งการเกิดและการตายด้วยการเข้าใจบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์กฺฤษฺณเท่านั้น” หรืออีกนัยหนึ่งความสมบูรณ์ของระบบโยคะก็คือการบรรลุถึงเสรีภาพจากความเป็นอยู่ทางวัตถุ ไม่ใช่มายากลหรือการแสดงท่ากายกรรมเพื่อหลอกลวงประชาชนผู้พาซื่อ
nāty-aśnatas tu yogo ’sti
na caikāntam anaśnataḥ
na cāti-svapna-śīlasya
jāgrato naiva cārjuna
นาตฺยฺ-อศฺนตสฺ ตุ โยโค ’สฺติ
น ไจกานฺตมฺ อนศฺนตห์
น จาติ-สฺวปฺน-ศีลสฺย
ชาคฺรโต ไนว จารฺชุน
น — ไม่เคย, อติ — มากไป, อศฺนตห์ — ของผู้รับประทาน, ตุ — แต่, โยคห์ — เชื่อมสัมพันธ์กับองค์ภควานฺ, อสฺติ — มี, น — ไม่, จ — เช่นกัน, เอกานฺตมฺ — มากไป, อนศฺนตห์ — ไม่ฟุ่มเฟือยในการกิน, น — ไม่, จ — เช่นกัน, อติ — มากไป, สฺวปฺน-ศีลสฺย — ของผู้นอน, ชาคฺรตห์ — หรือผู้ที่ตื่นตอนกลางคืนมากเกินไป, น — ไม่, เอว — แน่นอน, จ — และ, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน
คำแปล
โอ้ อรฺชุน เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลจะมาเป็นโยคี หากเขากินมากเกินไป หรือกินน้อยเกินไป นอนมากเกินไป หรือนอนไม่พอ
คำอธิบาย
การประมาณการกินและการนอนได้แนะนำไว้ ณ ที่นี้ สำหรับโยคีการกินมากเกินไปนั้นหมายถึงกินเกินความจำเป็นที่จะดำรงรักษาร่างกายและวิญญาณไว้ด้วยกัน ไม่มีความจำเป็นที่มนุษย์ต้องกินสัตว์เพราะมีอาหารมากมาย เช่น เมล็ดข้าวต่างๆ ผัก ผลไม้ และนม อาหารง่ายๆเหล่านี้จัดอยู่ในระดับแห่งความดีตาม ภควัท-คีตา อาหารที่ทำจากสัตว์จัดอยู่ในระดับอวิชชา ฉะนั้นพวกที่ชอบกินเนื้อสัตว์ ชอบดื่มสุรา ชอบเสพสิ่งเสพติด และกินอาหารที่ไม่ถวายให้องค์กฺฤษฺณก่อนจะได้รับความทุกข์จากวิบากกรรม เพราะกินแต่ของที่เป็นพิษทั้งนั้น ภุญฺชเต เต ตฺวฺ อฆํ ปาปา เย ปจนฺตฺยฺ อาตฺม-การณาตฺ ผู้ใดที่กินเพื่อความสุขของประสาทสัมผัส หรือปรุงอาหารสำหรับตนเองไม่ถวายอาหารให้องค์กฺฤษฺณจะกินแต่ความบาปเท่านั้น ผู้ที่กินความบาปและกินเกินกว่าที่กำหนดไว้สำหรับตนไม่สามารถปฏิบัติโยคะได้อย่างสมบูรณ์ วิธีที่ดีที่สุดคือกินเฉพาะ ปฺรสาทมฺ อาหารที่เหลือหลังจากการถวายให้องค์กฺฤษฺณแล้ว บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่กินอะไรที่ไม่ถวายให้องค์กฺฤษฺณก่อน ฉะนั้นบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงสามารถบรรลุถึงความสมบูรณ์ในการปฏิบัติโยคะ ผู้ที่อดอาหารแบบฝืนธรรมชาติ คิดค้นวิธีการอดอาหารขึ้นมาเองไม่สามารถฝึกปฏิบัติโยคะได้ บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกอดอาหารตามที่พระคัมภีร์ได้แนะนำไว้ และไม่อดอาหารหรือกินมากเกินความจำเป็น ดังนั้นเขาจึงสามารถฝึกปฏิบัติโยคะได้ ผู้ที่กินมากเกินความจำเป็นจะฝันมากในขณะหลับ ดังนั้นจึงต้องนอนมากเกินความจำเป็น เราไม่ควรนอนมากกว่าหกชั่วโมงต่อวัน ผู้ที่นอนมากกว่าหกชั่วโมงในยี่สิบสี่ชั่วโมงแน่นอนว่าจะถูกอิทธิพลของระดับอวิชชาครอบงำ บุคคลผู้อยู่ในระดับอวิชชาจะมีความเกียจคร้านและชอบนอนมาก บุคคลเช่นนี้จะไม่สามารถปฏิบัติโยคะได้
yuktāhāra-vihārasya
yukta-ceṣṭasya karmasu
yukta-svapnāvabodhasya
yogo bhavati duḥkha-hā
ยุกฺตาหาร-วิหารสฺย
ยุกฺต-เจษฺฏสฺย กรฺมสุ
ยุกฺต-สฺวปฺนาวโพธสฺย
โยโค ภวติ ทุห์ข-หา
ยุกฺต — ประมาณ, อาหาร — การกิน, วิหารสฺย — การพักผ่อนหย่อนใจ, ยุกฺต — ประมาณ, เจษฺฏสฺย — ของผู้ทำงานเพื่อการดำรงชีวิต, กรฺมสุ — ในการปฏิบัติหน้าที่, ยุกฺต — ประมาณ, สฺวปฺน-อวโพธสฺย — นอนและตื่น, โยคห์ — ฝึกปฏิบัติโยคะ, ภวติ — มาเป็น, ทุห์ข-หา — ความเจ็บปวดหายไป
คำแปล
ผู้ที่ประมาณนิสัยในการกิน การนอน การพักผ่อนหย่อนใจ และการทำงานจะสามารถขจัดความเจ็บปวดทางวัตถุทั้งปวงได้ด้วยการฝึกปฏิบัติตามระบบโยคะ
คำอธิบาย
ความสุรุ่ยสุร่ายในเรื่องของการกิน การนอน การป้องกันตัว และเพศสัมพันธ์ซึ่งเป็นความต้องการของร่างกายจะขวางกั้นความเจริญก้าวหน้าในการฝึกปฏิบัติโยคะ เกี่ยวกับการกินนั้นเราสามารถประมาณได้เมื่อเราฝึกยอมรับและกินเฉพาะ ปฺรสาทมฺ อาหารทิพย์เท่านั้น ตาม ภควัท-คีตา (9.26) องค์กฺฤษฺณทรงรับการถวายพวกผัก แป้ง ผลไม้ ข้าว นม ฯลฯ เช่นนี้บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกได้รับการฝึกฝนให้ไม่กินอาหารที่ไม่ใช่เป็นอาหารของมนุษย์ หรืออาหารที่ไม่อยู่ในประเภทแห่งความดีโดยปริยาย เกี่ยวกับการนอนนั้นบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะตื่นอยู่เสมอกับการปฏิบัติหน้าที่ในกฺฤษฺณจิตสำนึก ดังนั้นเวลาที่สูญเสียไปในการนอนโดยไม่จำเป็นถือว่าเป็นการสูญเสียอย่างใหญ่หลวง อวฺยรฺถ-กาลตฺวมฺ บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่สามารถทนได้ต่อเวลาแม้เพียงหนึ่งนาทีของชีวิตที่ผ่านไปโดยไม่ปฏิบัติตนรับใช้องค์ภควานฺ ฉะนั้นการนอนจึงจำกัดไว้ให้น้อยที่สุด ตัวอย่างที่ดีเลิศในเรื่องนี้ได้แก่ ศฺรีล รูป โคสฺวามี ผู้ปฏิบัติตนรับใช้แด่องค์กฺฤษฺณอยู่เสมอและไม่สามารถนอนเกินสองชั่วโมงต่อวันบางครั้งก็น้อยกว่านี้ ฐากุร หริทาส จะไม่รับประทาน ปฺรสาทมฺ และไม่นอนแม้แต่นาทีเดียวหากไม่เสร็จสิ้นการสวดมนต์ภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ประจำวันถึงสามแสนพระนามบนประคำ เกี่ยวกับเรื่องงานนั้นบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่ทำอะไรที่ไม่สัมพันธ์กับจุดประสงค์ขององค์กฺฤษฺณ ดังนั้นงานของเขาจึงพอประมาณอยู่เสมอและไร้มลทินจากการสนองประสาทสัมผัสเนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับการสนองประสาทสัมผัสบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงไม่มีเวลาปล่อยสบายทางวัตถุ เพราะว่าเขาประมาณในการทำงาน การพูด การนอน การตื่นและกิจกรรมอื่นๆของร่างกายทั้งหมด สำหรับเขาจึงไม่ได้รับความทุกข์ทางวัตถุ
yadā viniyataṁ cittam
ātmany evāvatiṣṭhate
nispṛhaḥ sarva-kāmebhyo
yukta ity ucyate tadā
ยทา วินิยตํ จิตฺตมฺ
อาตฺมนฺยฺ เอวาวติษฺฐเต
นิสฺปฺฤหห์ สรฺว-กาเมโภฺย
ยุกฺต อิตฺยฺ อุจฺยเต ตทา
ยทา — เมื่อ, วินิยตมฺ — มีระเบียบวินัย, จิตฺตมฺ — จิตใจและกิจกรรมของจิต, อาตฺมนิ — ในความเป็นทิพย์, เอว — แน่นอน, อวติษฺฐเต — สถิต, นิสฺปฺฤหห์ — ปราศจากความต้องการ, สรฺว — สำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง, กาเมภฺยห์ — การสนองประสาทสัมผัสวัตถุ, ยุกฺตห์ — สถิตอย่างดีในโยคะ, อิติ — ดังนั้น, อุจฺยเต — กล่าวว่า, ตทา — ในขณะนั้น
คำแปล
เมื่อโยคีได้ฝึกปฏิบัติโยคะทำให้กิจกรรมจิตใจมีระเบียบวินัย และสถิตในความเป็นทิพย์ ปราศจากความต้องการทางวัตถุทั้งปวง กล่าวได้ว่าเขานั้นได้สถิตอย่างดีในโยคะ
คำอธิบาย
กิจกรรมของโยคีจะแตกต่างจากบุคคลธรรมดาทั่วไปด้วยลักษณะที่หยุดจากความต้องการทางวัตถุทั้งปวงซึ่งมีเพศสัมพันธ์เป็นตัวนำ โยคีผู้สมบูรณ์มีระเบียบวินัยอย่างดีในกิจกรรมของจิตใจที่ทำให้ตัวเขาไม่ถูกรบกวนจากความต้องการทางวัตถุใดๆทั้งสิ้น ระดับอันสมบูรณ์เช่นนี้บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกบรรลุได้โดยปริยาย ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (9.4.18-20)
ส ไว มนห์ กฺฤษฺณ-ปทารวินฺทโยรฺ
วจำสิ ไวกุณฺฐ-คุณานุวรฺณเน
กเรา หเรรฺ มนฺทิร-มารฺชนาทิษุ
ศฺรุตึ จการาจฺยุต-สตฺ-กโถทเย
มุกุนฺท-ลิงฺคาลย-ทรฺศเน ทฺฤเศา
ตทฺ-ภฺฤตฺย-คาตฺร-สฺปรฺเศ ’งฺค-สงฺคมมฺ
ฆฺราณํ จ ตตฺ-ปาท-สโรช-เสารเภ
ศฺรีมตฺ-ตุลสฺยา รสนำ ตทฺ-อรฺปิเต
ปาเทา หเรห์ เกฺษตฺร-ปทานุสรฺปเณ
ศิโร หฺฤษีเกศ-ปทาภิวนฺทเน
กามํ จ ทาเสฺย น ตุ กาม-กามฺยยา
ยโถตฺตม-โศฺลก-ชนาศฺรยา รติห์
“ครั้งแรกพระราชา อมฺพรีษ ทรงใช้พระจิตของพระองค์ตั้งอยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวขององค์ศฺรี กฺฤษฺณ จากนั้นทรงใช้พระดำรัสในการอธิบายคุณสมบัติทิพย์ขององค์กฺฤษฺณ ทรงใช้พระหัตถ์ทำความสะอาดวัดขององค์กฺฤษฺณ ทรงใช้พระกรรณในการสดับฟังกิจกรรมขององค์กฺฤษฺณ ทรงใช้พระเนตรในการมองรูปลักษณ์ทิพย์ขององค์กฺฤษฺณ ทรงใช้พระวรกายในการสัมผัสร่างกายของสาวก ทรงใช้ประสาทสัมผัสในการดมกลิ่นหอมจากดอกบัวที่ถวายให้องค์กฺฤษฺณ ทรงใช้พระชิวหาในการลิ้มรสใบทุละสีที่ถวายแด่พระบาทรูปดอกบัวขององค์กฺฤษฺณ ทรงใช้พระบาทในการเสด็จไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และวัดขององค์กฺฤษฺณ ทรงใช้พระเศียรในการถวายความเคารพแด่องค์กฺฤษฺณ และทรงใช้พระราชดำริในการปฏิบัติพระภารกิจขององค์กฺฤษฺณ กิจกรรมทิพย์ทั้งหลายเหล่านี้เหมาะสมสำหรับสาวกผู้บริสุทธิ์”
ระดับทิพย์นี้ผู้ปฏิบัติตามวิถีทางที่ไร้รูปลักษณ์ไม่สามารถแสดงออกให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ แต่เป็นสิ่งที่ง่ายและปฏิบัติได้สำหรับบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นที่ มหาราช อมฺพรีษ ทรงปฏิบัติ นอกเสียจากว่าจิตเราจะตั้งมั่นอยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานฺด้วยการระลึกถึงพระองค์อยู่เสมอไม่เช่นนั้นการปฏิบัติทิพย์เช่นนี้ก็จะเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นในการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺกิจกรรมที่ได้กล่าวไว้เหล่านี้เรียกว่า อรฺจน หรือการใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดไปในการรับใช้พระองค์ ประสาทสัมผัสและจิตใจจำเป็นต้องทำงาน การทำเป็นละเลยไม่สนใจไม่ให้มันทำงานเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นสำหรับผู้คนทั่วไปโดยเฉพาะบุคคลที่ไม่อยู่ในระดับสละโลกวัตถุ การใช้ประสาทสัมผัสและจิตใจปฏิบัติรับใช้ทิพย์ดังที่ได้อธิบายแล้วข้างต้นจึงเป็นวิธีที่สมบูรณ์ในการบรรลุถึงวิถีทิพย์ ซึ่งเรียกว่า ยุกฺต ใน ภควัท-คีตา
yathā dīpo nivāta-stho
neṅgate sopamā smṛtā
yogino yata-cittasya
yuñjato yogam ātmanaḥ
ยถา ทีโป นิวาต-โสฺถ
เนงฺคเต โสปมา สฺมฺฤตา
โยคิโน ยต-จิตฺตสฺย
ยุญฺชโต โยคมฺ อาตฺมนห์
ยถา — ดังเช่น, ทีปห์ — ตะเกียง, นิวาต-สฺถห์ — ในสถานที่ไม่มีลม, น — ไม่, อิงฺคเต — แกว่งไกว, สา — นี้, อุปมา — เปรียบเทียบ, สฺมฺฤตา — พิจารณาว่า, โยคินห์ — ของโยคี, ยต-จิตฺตสฺย — ผู้ที่จิตใจควบคุมได้, ยุญฺชตห์ — ปฏิบัติอยู่เสมอ, โยคมฺ — ในสมาธิ, อาตฺมนห์ — ที่องค์ภควานฺ
คำแปล
ดังเช่นตะเกียงในสถานที่ที่ไม่มีลมจะไม่หวั่นไหว นักทิพย์นิยมผู้ควบคุมจิตใจของตนเองได้จะดำรงรักษาความมั่นคงในการทำสมาธิอยู่ที่รูปลักษณ์ทิพย์เสมอ
คำอธิบาย
บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างแท้จริงจะซึมซาบอยู่ในความเป็นทิพย์ ด้วยการปฏิบัติสมาธิอย่างไม่หวั่นไหวอยู่ที่องค์ภควานฺ ผู้ทรงเป็นที่เคารพบูชาของเขาอยู่เสมอ และมีความมั่นคงเสมือนดังเช่นตะเกียงที่อยู่ในสถานที่ที่ไม่มีลม
yatroparamate cittaṁ
niruddhaṁ yoga-sevayā
yatra caivātmanātmānaṁ
paśyann ātmani tuṣyati
ยโตฺรปรมเต จิตฺตํ
นิรุทฺธํ โยค-เสวยา
ยตฺร ไจวาตฺมนาตฺมานํ
ปศฺยนฺนฺ อาตฺมนิ ตุษฺยติ
sukham ātyantikaṁ yat tad
buddhi-grāhyam atīndriyam
vetti yatra na caivāyaṁ
sthitaś calati tattvataḥ
สุขมฺ อาตฺยนฺติกํ ยตฺ ตทฺ
พุทฺธิ-คฺราหฺยมฺ อตีนฺทฺริยมฺ
เวตฺติ ยตฺร น ไจวายํ
สฺถิตศฺ จลติ ตตฺตฺวตห์
yaṁ labdhvā cāparaṁ lābhaṁ
manyate nādhikaṁ tataḥ
yasmin sthito na duḥkhena
guruṇāpi vicālyate
ยํ ลพฺธฺวา จาปรํ ลาภํ
มนฺยเต นาธิกํ ตตห์
ยสฺมินฺ สฺถิโต น ทุห์เขน
คุรุณาปิ วิจาลฺยเต
taṁ vidyād duḥkha-saṁyoga-
viyogaṁ yoga-saṁjñitam
ตํ วิทฺยาทฺ ทุห์ข-สํโยค-
วิโยคํ โยค-สํชฺญิตมฺ
ยตฺร — ธุระในระดับนั้นที่, อุปรมเต — หยุด (เพราะเขารู้สึกได้รับความสุขทิพย์), จิตฺตมฺ — กิจกรรมทางจิต, นิรุทฺธมฺ — หักห้ามจากวัตถุ, โยค-เสวยา — ด้วยการปฏิบัติโยคะ, ยตฺร — ซึ่ง, จ — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, อาตฺมนา — ด้วยจิตที่บริสุทธิ์, อาตฺมานมฺ — ตัว, ปศฺยนฺ — รู้แจ้งสถานภาพของ, อาตฺมนิ — ในตัว, ตุษฺยติ — เขาพึงพอใจ, สุขมฺ — ความสุข, อาตฺยนฺติกมฺ — สูงสุด, ยตฺ — ซึ่ง, ตตฺ — นั้น, พุทฺธิ — ด้วยปัญญา, คฺราหฺยมฺ — เข้าถึงได้, อตีนฺทฺริยมฺ — ทิพย์, เวตฺติ — เขาทราบ, ยตฺร — ในที่, น — ไม่เคย, จ — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, อยมฺ — เขา, สฺถิตห์ — สถิต, จลติ — เคลื่อน, ตตฺตฺวตห์ — จากความจริง, ยมฺ — ที่ซึ่ง, ลพฺธฺวา — ด้วยการบรรลุ, จ — เช่นกัน, อปรมฺ — ใดๆ, ลาภมฺ — กำไร, มนฺยเต — พิจารณา, น — ไม่เคย, อธิกมฺ — มากกว่า, ตตห์ — กว่านั้น, ยสฺมินฺ — ซึ่งใน, สฺถิตห์ — สถิต, น — ไม่เคย, ทุห์เขน — ด้วยความทุกข์, คุรุณา อปิ — ถึงแม้ว่ายากมาก, วิจาลฺยเต — สั่น, ตมฺ — นั้น, วิทฺยาตฺ — เธอต้องรู้, ทุห์ข-สํโยค — ของความทุกข์จากการมาสัมผัสกับวัตถุ, วิโยคมฺ — ถอนราก, โยค-สํชฺญิตมฺ — เรียกว่าสมาธิในโยคะ
คำแปล
ในระดับแห่งความสมบูรณ์เรียกว่าสมาธิ จิตของเขาจะถูกควบคุมอย่างสมบูรณ์ให้ออกจากกิจกรรมตามแนวคิดทางวัตถุด้วยการฝึกปฏิบัติโยคะ ความสมบูรณ์เช่นนี้มีลักษณะคือเขาสามารถเห็นตนเองด้วยจิตที่บริสุทธิ์ และมีความร่าเริงยินดีอยู่ในตนเอง ในระดับแห่งความร่าเริงนั้นเขาสถิตในความสุขทิพย์ที่ไร้ขอบเขต รู้แจ้งผ่านทางประสาทสัมผัสทิพย์ เมื่อสถิตเช่นนี้จะไม่มีวันออกห่างจากความจริง และจากการได้รับสิ่งนี้เขาคิดว่าไม่มีอะไรที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่า เมื่อสถิตในสถานภาพนี้จะไม่มีวันสั่นคลอนแม้จะอยู่ท่ามกลางความยากลำบากอย่างใหญ่หลวง นี่คือเสรีภาพอันแท้จริงจากความทุกข์ทั้งปวงที่เกิดขึ้นจากการมาสัมผัสกับวัตถุ
คำอธิบาย
จากการฝึกปฏิบัติโยคะทำให้เริ่มไม่ยึดติดกับความคิดเห็นทางวัตถุทีละน้อย นี่คือลักษณะพื้นฐานของหลักโยคะ และหลังจากนี้เขาสถิตในสมาธิ ซึ่งหมายความว่าโยคีรู้แจ้งองค์อภิวิญญาณผ่านทางจิตและปัญญาทิพย์โดยปราศจากความเข้าใจผิดไปสำคัญตนเองว่าเป็นอภิวิญญาณ การฝึกปฏิบัติโยคะมีพื้นฐานอยู่ที่หลักธรรมของระบบ ปตญฺชลิ มีผู้อธิบายบางท่านที่เชื่อถือไม่ได้พยายามบอกว่าปัจเจกวิญญาณเหมือนกับอภิวิญญาณ พวกที่ไม่เชื่อในองค์ภควานฺคิดว่าสิ่งนี้คือความหลุดพ้นแต่ไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของโยคะ ระบบ ปตญฺชลิ มีการยอมรับความสุขทิพย์ในระบบ ปตญฺชลิ แต่พวกที่เชื่อว่าเป็นหนึ่งเดียวกันจะไม่ยอมรับความสุขทิพย์นี้เนื่องจากกลัวอันตรายที่จะมีต่อทฤษฏีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ความเป็นสิ่งคู่ระหว่างความรู้และผู้รู้พวกนี้ไม่ยอมรับ แต่ในโศลกนี้ความสุขทิพย์ซึ่งรู้แจ้งผ่านทางประสาทสัมผัสทิพย์เป็นที่ยอมรับ และ ปตญฺชลิ มุนิ ผู้อธิบายระบบโยคะที่มีชื่อเสียงได้ยืนยันสนับสนุนจุดนี้ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ได้ประกาศใน โยค-สูตฺร (4.34) ของท่านว่า ปุรุษารฺถ-ศูนฺยานำ คุณานำ ปฺรติปฺรสวห์ ไกวลฺยํ สฺวรูป-ปฺรติษฺฐา วา จิติ-ศกฺติรฺ อิติ
จิติ-ศกฺติ หรือกำลังภายในนี้เป็นทิพย์ ปุรุษารฺถ หมายถึงศาสนาวัตถุ การพัฒนาเศรษฐกิจ การสนองประสาทสัมผัส ในที่สุดจะพยายามมาเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควานฺ “ความเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควานฺ” นี้เรียกว่า ไกวลฺยมฺ โดยผู้ที่เชื่อว่าเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่ ปตญฺชลิ กล่าวว่า ไกวลฺยมฺ นี้เป็นกำลังภายในหรือพลังทิพย์ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตสำเหนียกถึงสถานภาพพื้นฐานของตน ในคำดำรัสขององค์ ศฺรี ไจตนฺย ระดับของสภาวะนี้เรียกว่า เจโต-ทรฺปณ-มารฺชนมฺ หรือการทำความสะอาดกระจกแห่งจิตใจที่สกปรก “ความใสบริสุทธิ์” นี้อันที่จริงคือความหลุดพ้นหรือ ภว-มหา-ทาวาคฺนิ-นิรฺวาปณมฺ ทฤษฏี นิรฺวาณ โดยพื้นฐานมีลักษณะเช่นเดียวกันกับหลักนี้ ใน ภาควต (2.10.6) สิ่งนี้เรียกว่า สฺวรูเปณ วฺยวสฺถิติห์ โศลกใน ภควัท-คีตา ได้ยืนยันสถานการณ์นี้ไว้เช่นกัน
หลังจาก นิรฺวาณ หรือการจบสิ้นทางวัตถุจะมีปรากฏการณ์แห่งกิจกรรมทิพย์หรือการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺเรียกว่า กฺฤษฺณจิตสำนึก ในคำพูดของ ภาควตมฺ สฺวรูเปณ วฺยวสฺถิติห์ นี่คือ “ชีวิตอันแท้จริงของสิ่งมีชีวิต” มายา หรือความหลงคือสภาวะของชีวิตทิพย์ที่มีมลทินจากเชื้อโรคทางวัตถุ ความหลุดพ้นจากเชื้อโรคทางวัตถุนี้มิได้หมายความว่าทำลายสถานภาพพื้นฐานนิรันดรของสิ่งมีชีวิต ปตญฺชลิ ยอมรับเช่นเดียวกันนี้ด้วยคำพูดของท่านว่า ไกวลฺยํ สฺวรูป-ปฺรติษฺฐา วา จิติ-ศกฺติรฺ อิติ คำว่า จิติ-ศกฺติ หรือความสุขทิพย์นี้คือชีวิตที่แท้จริง ได้ยืนยันไว้ใน เวทานฺต-สูตฺร (1.1.12) ว่า อานนฺท-มโย ’ภฺยาสาตฺ ความสุขทิพย์ตามธรรมชาตินี้คือจุดมุ่งหมายสูงสุดของโยคะ และบรรลุได้โดยง่ายดายด้วยการปฏิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้หรือ ภกฺติ-โยค จะอธิบาย ภกฺติ-โยค อย่างชัดเจนในบทที่เจ็ดของ ภควัท-คีตา
ระบบโยคะที่อธิบายในบทนี้จะมี สมาธิ อยู่สองประเภทเรียกว่า สมฺปฺรชฺญาต - สมาธิ และ สมฺปฺรชฺญาต-สมาธิ เมื่อสถิตในตำแหน่งทิพย์ด้วยการศึกษาวิจัยทางปรัชญาต่างๆ กล่าวไว้ว่าเขาได้บรรลุ สมฺปฺรชฺญาต-สมาธิ ใน อสมฺปฺรชฺญาต-สมาธิ จะไม่มีความสัมพันธ์กับความสุขทางโลกอีกต่อไปเพราะอยู่เหนือความสุขต่างๆที่ได้รับจากประสาทสัมผัส เมื่อโยคีสถิตในสถานภาพนี้จะไม่มีวันสั่นคลอนนอกจากโยคะจะสามารถบรรลุถึงสถานภาพนี้ได้มิฉะนั้นจะถือว่าไม่สำเร็จ การปฏิบัติโยคะที่เรียกกันในปัจจุบันนี้ประกอบไปด้วยความสุขทางประสาทสัมผัสต่างๆนานาซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดกัน โยคีที่ปล่อยตัวไปในเพศสัมพันธ์และสิ่งเสพติดเป็นโยคีจอมปลอม แม้แต่พวกโยคีที่หลงใหลไปกับ สิทฺธิ (อิทธิฤทธิ์) ในระบบโยคะก็มิได้สถิตอย่างสมบูรณ์ หากโยคีหลงใหลไปกับผลข้างเคียงของโยคะจะไม่สามารถบรรลุถึงระดับแห่งความสมบูรณ์ดังที่ได้กล่าวไว้ในโศลกนี้ ฉะนั้นบุคคลที่ปล่อยตัวไปในการอวดวิธีปฏิบัติท่ากายกรรมต่างๆ หรือ สิทฺธิ ควรรู้ไว้ว่าจุดมุ่งหมายของโยคะได้สูญหายไปในทางนั้นแล้ว
การฝึกปฏิบัติโยคะที่ดีที่สุดในยุคนี้คือ กฺฤษฺณจิตสำนึกซึ่งไม่ยุ่งยาก บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกมีความสุขในอาชีพของตน และไม่ปรารถนาความสุขอื่นใด มีอุปสรรคมากมายในการปฏิบัติ หฐ-โยค, ธฺยาน-โยค และ ชฺญาน-โยค โดยเฉพาะในยุคแห่งความขัดแย้งนี้ แต่จะไม่มีปัญหาในการปฏิบัติ กรฺม-โยค หรือ ภกฺติ-โยค
ตราบเท่าที่ยังมีร่างวัตถุอยู่เราจะต้องสนองตอบอุปสงค์ของร่างกาย เช่น การกิน การนอน การป้องกันตัว และเพศสัมพันธ์ แต่ผู้ที่อยู่ใน ภกฺติ-โยค ที่บริสุทธิ์ หรือในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่กระตุ้นประสาทสัมผัสขณะที่สนองตอบความต้องการของร่างกาย แต่ยอมรับสิ่งจำเป็นที่สุดของชีวิตโดยพยายามจะใช้สิ่งไม่ดีที่ได้รับมาให้ได้ดีที่สุด และเพลิดเพลินกับความสุขทิพย์ในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะมีอุปสรรคต่อเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น อุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ ความขาดแคลน แม้กระทั่งความตายของญาติสุดที่รัก แต่จะตื่นตัวอยู่เสมอในการปฏิบัติหน้าที่ของตนในกฺฤษฺณจิตสำนึกหรือ ภกฺติ-โยค อุบัติเหตุไม่เคยทำให้เขาบ่ายเบี่ยงไปจากหน้าที่ ดังที่กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา (2.14) อาคมาปายิโน ’นิตฺยาสฺ ตำสฺ ติติกฺษสฺว ภารต เขาอดทนต่อเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นเพราะทราบว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาแล้วจะดับไป มันไม่มีผลกระทบต่อหน้าที่ของตน ด้วยวิธีนี้จะทำให้บรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุดในการฝึกปฏิบัติโยคะ
sa niścayena yoktavyo
yogo ’nirviṇṇa-cetasā
saṅkalpa-prabhavān kāmāṁs
tyaktvā sarvān aśeṣataḥ
ส นิศฺจเยน โยกฺตโวฺย
โยโค ’นิรฺวิณฺณ-เจตสา
สงฺกลฺป-ปฺรภวานฺ กามำสฺ
ตฺยกฺตฺวา สรฺวานฺ อเศษตห์
manasaivendriya-grāmaṁ
viniyamya samantataḥ
มนไสเวนฺทฺริย-คฺรามํ
วินิยมฺย สมนฺตตห์
สห์ — นั้น, นิศฺจเยน — ด้วยความมั่นใจอย่างแน่วแน่, โยกฺตวฺยห์ — ต้องฝึกปฏิบัติ, โยคห์ — ระบบโยคะ, อนิรฺวิณฺณ-เจตสา — ปราศจากการเบี่ยงเบน, สงฺกลฺป — การคาดคะเนทางจิตใจ, ปฺรภวานฺ — เกิดจาก, กามานฺ — ความปรารถนาทางวัตถุ, ตฺยกฺตฺวา — ยกเลิก, สรฺวานฺ — ทั้งหมด, อเศษตห์ — อย่างสมบูรณ์, มนสา — ด้วยจิตใจ, เอว — แน่นอน, อินฺทฺริย-คฺรามมฺ — ประสาทสัมผัสครบชุด, วินิยมฺย — ประมาณ, สมนฺตตห์ — จากรอบด้าน
คำแปล
เราควรปฏิบัติตนในการฝึกปฏิบัติโยคะด้วยความมั่นใจและศรัทธาโดยไม่เบี่ยงเบนจากวิถีทาง เราควรละทิ้งความปรารถนาทางวัตถุทั้งมวลอันเกิดมาจากการคาดคะเนทางจิตใจโดยไม่มีข้อยกเว้น และควบคุมประสาทสัมผัสทั้งหมดจากรอบด้านด้วยจิตใจ
คำอธิบาย
ผู้ฝึกปฏิบัติโยคะควรมีความมั่นใจ ควรฝึกปฏิบัติด้วยความอดทนโดยไม่เบี่ยงเบน เขาควรมั่นใจในความสำเร็จในขั้นสุดท้าย และดำเนินตามหลักการด้วยความพากเพียรอย่างมั่นคง ไม่มีการหมดกำลังใจหากบรรลุความสำเร็จล่าช้า ความสำเร็จนั้นแน่นอนสำหรับผู้ที่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด รูป โคสฺวามี ได้กล่าวเกี่ยวกับ ภกฺติ-โยค ไว้ดังนี้
อุตฺสาหานฺ นิศฺจยาทฺ ไธรฺยาตฺ
ตตฺ-ตตฺ-กรฺม-ปฺรวรฺตนาตฺ
สงฺค-ตฺยาคาตฺ สโต วฺฤตฺเตห์
ษฑฺภิรฺ ภกฺติห์ ปฺรสิธฺยติ
“เราสามารถปฏิบัติตามวิธีของ ภกฺติ-โยค ให้สำเร็จได้ด้วยหัวใจที่เปี่ยมไปด้วยความกระตือรือร้น พากเพียร และมั่นใจ ด้วยการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ คบหาสมาคมกับสาวกด้วยการปฏิบัติกิจกรรมแห่งความดีโดยสมบูรณ์” (อุปเทศามฺฤต 3)
สำหรับความมั่นใจเราควรปฏิบัติตามตัวอย่างของนกกระจอกผู้สูญเสียไข่ของตนไปกับคลื่นในมหาสมุทร นกกระจอกน้อยวางไข่อยู่ที่ชายหาดมหาสมุทรแต่มหาสมุทรอันยิ่งใหญ่ได้พัดพาเอาไข่ไปกับคลื่น นกกระจอกน้อยโมโหมากและขอร้องให้มหาสมุทรคืนไข่ มหาสมุทรไม่สนใจแม้แต่จะพิจารณาคำร้องของเธอ นกกระจอกจึงน้อยตัดสินใจที่จะทำให้มหาสมุทรนี้แห้งลงจึงเริ่มตักน้ำด้วยจงอยปากอันน้อยนิดของมัน ทุกๆคนหัวเราะเยาะต่อความมุ่งมั่นที่เป็นไปไม่ได้ ข่าวการกระทำของนกกระจอกน้อยนี้ได้แพร่สะพัดไป ในที่สุด ครุฑ (พญาครุฑ) พญานกที่เป็นพาหนะของพระวิษณุได้ยินเข้าจึงมีความเมตตาสงสารต่อนกน้อยผู้ซึ่งเปรียบเสมือนน้องสาว พญาครุฑจึงมาพบนกกระจอกน้อย พญาครุฑรู้สึกยินดีมากในความมุ่งมั่นของนกกระจอกน้อยจึงรับปากว่าจะช่วย ดังนั้นพญาครุฑจึงได้ขอร้องให้มหาสมุทรนำไข่ของนกกระจอกน้อยมาคืนทันทีไม่อย่างนั้นท่านจะจัดการกับงานของนกกระจอกน้อยนี้เอง มหาสมุทรรู้สึกตกใจจึงนำไข่ทั้งหมดมาคืน จึงทำให้นกกระจอกน้อยได้รับความสุขด้วยพระกรุณาของพญาครุฑ
ในลักษณะเดียวกันการฝึกปฏิบัติโดยโยคะเฉพาะ ภกฺติ-โยค ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอาจดูเหมือนว่าเป็นงานที่ยากมาก แต่หากผู้ใดปฏิบัติตามหลักธรรมด้วยความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่องค์กฺฤษฺณจะทรงช่วยอย่างแน่นอน เพราะว่าพระองค์ทรงช่วยคนที่ช่วยตนเอง
śanaiḥ śanair uparamed
buddhyā dhṛti-gṛhītayā
ātma-saṁsthaṁ manaḥ kṛtvā
na kiñcid api cintayet
ศไนห์ ศไนรฺ อุปรเมทฺ
พุทฺธฺยา ธฺฤติ-คฺฤหีตยา
อาตฺม-สํสฺถํ มนห์ กฺฤตฺวา
น กิญฺจิทฺ อปิ จินฺตเยตฺ
ศไนห์ — ทีละน้อย, ศไนห์ — ทีละขั้น, อุปรเมตฺ — เขาควรระงับ, พุทฺธฺยา — ด้วยปัญญา, ธฺฤติ-คฺฤหีตยา — ปฏิบัติด้วยความมั่นใจ, อาตฺม-สํสฺถมฺ — วางอยู่ในความเป็นทิพย์, มนห์ — จิตใจ, กฺฤตฺวา — ทำ, น — ไม่, กิญฺจิตฺ — สิ่งอื่นใด, อปิ — แม้, จินฺตเยตฺ — ควรคิดถึงมัน
คำแปล
ค่อยๆเป็นค่อยๆไปทีละขั้น เขาควรสถิตในสมาธิด้วยวิถีทางแห่งปัญญา และมีความมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยม ดังนั้นจิตใจควรตั้งมั่นอยู่ที่ตนเองเท่านั้น และไม่ควรคิดถึงสิ่งอื่นใด
คำอธิบาย
ด้วยความมั่นใจและสติปัญญาที่ถูกต้องเราควรค่อยๆหยุดกิจกรรมทางประสาทสัมผัส เช่นนี้เรียกว่า ปฺรตฺยาหาร จิตใจถูกควบคุมด้วยความมั่นใจ สมาธิ และหยุดกิจกรรมทางประสาทสัมผัส ทำให้สามารถที่จะควบคุมจิตใจได้ และควรสถิตในสมาธิหรือ สมาธิ ในขณะนั้นจะไม่มีอันตรายใดๆเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวคิดชีวิตทางวัตถุอีกต่อไป อีกนัยหนึ่งคือถึงแม้ว่าจะพัวพันอยู่กับวัตถุตราบที่ยังมีร่างวัตถุอยู่ก็ไม่ควรคิดถึงการสนองประสาทสัมผัส เราไม่ควรคิดถึงความสุขอื่นใดนอกจากความสุขแห่งองค์ภควานฺ ระดับนี้บรรลุได้โดยง่ายดายด้วยการฝึกปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรง
yato yato niścalati
manaś cañcalam asthiram
tatas tato niyamyaitad
ātmany eva vaśaṁ nayet
ยโต ยโต นิศฺจลติ
มนศฺ จญฺจลมฺ อสฺถิรมฺ
ตตสฺ ตโต นิยไมฺยตทฺ
อาตฺมนฺยฺ เอว วศํ นเยตฺ
ยตห์ ยตห์ — ที่ใด, นิศฺจลติ — ถูกรบกวน, มนห์ — จิตใจ, จญฺจลมฺ — ไม่นิ่ง, อสฺถิรมฺ — ไม่มั่นคง, ตตห์ ตตห์ — จากนั้น, นิยมฺย — ประมาณ, เอตตฺ — นี้, อาตฺมนิ — ในตัว, เอว — แน่นอน, วศมฺ — ควบคุม, นเยตฺ — ต้องนำมาอยู่ภายใต้
คำแปล
จิตใจที่ล่องลอยไปยังแห่งหนใดก็แล้วแต่นั้น เป็นผลมาจากธรรมชาติที่ไม่หยุดนิ่งและไม่มั่นคงของมันเอง เราต้องเอามันออกและดึงมันให้กลับมาอยู่ภายใต้การควบคุมของตัวเราให้ได้
คำอธิบาย
ธรรมชาติของจิตใจนั้นไม่หยุดนิ่งและไม่มั่นคง แต่โยคีผู้รู้แจ้งแห่งตนต้องควบคุมจิตใจ จิตใจนั้นไม่ควรเป็นตัวที่ควบคุมตัวเขา ผู้ที่ควบคุมจิตใจ (รวมทั้งประสาทสัมผัส) ได้เรียกว่า โคสฺวามี หรือ สฺวามี ผู้ที่ถูกจิตใจควบคุมเรียกว่า โค-ทาส หรือเป็นทาสของประสาทสัมผัส โคสฺวามี รู้ถึงมาตรฐานของความสุขทางประสาทสัมผัส ในความสุขทางประสาทสัมผัสทิพย์ประสาทสัมผัสจะต้องปฏิบัติในการรับใช้องค์ หฺฤษีเกศ หรือเจ้าของสูงสุดแห่งประสาทสัมผัสคือองค์กฺฤษฺณ การรับใช้องค์กฺฤษฺณด้วยประสาทสัมผัสที่บริสุทธิ์เรียกว่า กฺฤษฺณจิตสำนึก นี่คือวิธีที่จะนำประสาทสัมผัสมาอยู่ภายใต้การควบคุม และเป็นความสมบูรณ์สูงสุดแห่งการฝึกปฏิบัติโยคะ ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้
praśānta-manasaṁ hy enaṁ
yoginaṁ sukham uttamam
upaiti śānta-rajasaṁ
brahma-bhūtam akalmaṣam
ปฺรศานฺต-มนสํ หฺยฺ เอนํ
โยคินํ สุขมฺ อุตฺตมมฺ
อุไปติ ศานฺต-รชสํ
พฺรหฺม-ภูตมฺ อกลฺมษมฺ
ปฺรศานฺต — สงบ, ตั้งมั่นอยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวขององค์กฺฤษฺณ, มนสมฺ — จิตใจของเขา, หิ — แน่นอน, เอนมฺ — นี้, โยคินมฺ — โยคี, สุขมฺ — ความสุข, อุตฺตมมฺ — สูงสุด, อุไปติ — ได้รับ, ศานฺต-รชสมฺ — ตัณหาสงบลง, พฺรหฺม-ภูตมฺ — หลุดพ้นด้วยการแสดงตัวกับสัจธรรม, อกลฺมษมฺ — เป็นอิสระจากวิบากกรรมในอดีตทั้งมวล
คำแปล
โยคีผู้มีจิตใจตั้งมั่นอยู่ที่ข้า บรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุดแห่งความสุขทิพย์อย่างแท้จริง เขาอยู่เหนือระดับตัณหา รู้แจ้งคุณสมบัติอันแท้จริงของตนเองกับองค์ภควานฺ ดังนั้นจึงเป็นอิสระจากผลกรรมในอดีตทั้งปวง
คำอธิบาย
พฺรหฺม-ภูต คือระดับที่เป็นอิสระจากมลทินทางวัตถุ และสถิตในการรับใช้ทิพย์แด่องค์ภควานฺ มทฺ-ภกฺตึ ลภเต ปรามฺ (ภควัท-คีตา 18.54) เขาไม่สามารถดำรงรักษาอยู่ในคุณสมบัติของ พฺรหฺมนฺ สัจธรรมที่สมบูรณ์ได้จนกว่าจิตใจจะตั้งมั่นอยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานฺ ส ไว มนห์ กฺฤษฺณ-ปทารวินฺทโยห์ การปฏิบัติอยู่ในการรับใช้ด้วยความรักทิพย์แด่องค์ภควานฺ หรือการดำรงรักษาอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกคือการได้รับเสรีภาพความหลุดพ้นจากระดับตัณหาและมลทินทางวัตถุทั้งปวงอย่างแท้จริง
yuñjann evaṁ sadātmānaṁ
yogī vigata-kalmaṣaḥ
sukhena brahma-saṁsparśam
atyantaṁ sukham aśnute
ยุญฺชนฺนฺ เอวํ สทาตฺมานํ
โยคี วิคต-กลฺมษห์
สุเขน พฺรหฺม-สํสฺปรฺศมฺ
อตฺยนฺตํ สุขมฺ อศฺนุเต
ยุญฺชนฺ — ปฏิบัติฝึกฝนโยคะ, เอวมฺ — ดังนั้น, สทา — เสมอ, อาตฺมานมฺ — ตัวเขา, โยคี — ผู้ที่สัมผัสอยู่กับองค์ภควานฺ, วิคต — เป็นอิสระจาก, กลฺมษห์ — มลทินทางวัตถุทั้งมวล, สุเขน — ในความสุขทิพย์, พฺรหฺม-สํสฺปรฺศมฺ — สัมผัสกับองค์ภควานฺอยู่เสมอ, อตฺยนฺตมฺ — สูงสุด, สุขมฺ — ความสุข, อศฺนุเต — ได้รับ
คำแปล
ดังนั้นโยคีผู้ที่ควบคุมตนเองได้ปฏิบัติตนฝึกฝนอยู่ในโยคะเสมอ เป็นอิสรเสรีจากมลทินทางวัตถุทั้งปวง และบรรลุระดับสูงสุดแห่งความสุขที่สมบูรณ์ในการรับใช้องค์ภควานด้วยความรักทิพย์
คำอธิบาย
การรู้แจ้งตนเอง หมายถึง รู้สถานภาพพื้นฐานของตนในความสัมพันธ์กับองค์ภควานฺ ปัจเจกวิญญาณเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ และสถานภาพของตนคือการถวายการรับใช้ทิพย์แด่พระองค์ การเชื่อมสัมพันธ์ทิพย์กับองค์ภควานฺนี้ เรียกว่า พฺรหฺม-สํสฺปรฺศ
sarva-bhūta-stham ātmānaṁ
sarva-bhūtāni cātmani
īkṣate yoga-yuktātmā
sarvatra sama-darśanaḥ
สรฺว-ภูต-สฺถมฺ อาตฺมานํ
สรฺว-ภูตานิ จาตฺมนิ
อีกฺษเต โยค-ยุกฺตาตฺมา
สรฺวตฺร สม-ทรฺศนห์
สรฺว-ภูต-สฺถมฺ — สถิตในมวลชีวิต, อาตฺมานมฺ — อภิวิญญาณ, สรฺว — ทั้งหมด, ภูตานิ — สิ่งมีชีวิต, จ — เช่นกัน, อาตฺมนิ — ในตนเอง, อีกฺษเต — เห็น, โยค-ยุกฺต-อาตฺมา — ผู้ที่ประสานในกฺฤษฺณจิตสำนึก, สรฺวตฺร — ทุกหนทุกแห่ง, สม-ทรฺศนห์ — เห็นด้วยความเสมอภาค
คำแปล
โยคีที่แท้จริงจะเห็นข้าอยู่ในทุกๆชีวิต และเห็นทุกๆชีวิตอยู่ในข้า อันที่จริงบุคคลผู้รู้แจ้งแห่งตนเห็นข้าภควานฺองค์เดียวกันทุกหนทุกแห่ง
คำอธิบาย
โยคีผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นผู้เห็นที่สมบูรณ์เพราะเขาเห็นองค์กฺฤษฺณ องค์ภควานฺ ทรงสถิตภายในหัวใจของทุกคนในรูปอภิวิญญาณ (ปรมาตฺมา) อีศฺวรห์ สรฺว-ภูตานำ หฺฤทฺ-เทเศ ’รฺชุน ติษฺฐติ องค์ภควานฺในรูปของ ปรมาตฺมา ทรงสถิตภายในหัวใจของทั้งสุนัขและ พฺราหฺมณ โยคีผู้สมบูรณ์รู้ว่าพระองค์ทรงเป็นทิพย์อยู่เสมอ และไม่มีผลกระทบทางวัตถุในการที่ทรงประทับอยู่ทั้งในสุนัขและใน พฺราหฺมณ นี่คือความเสมอภาคสูงสุดขององค์ภควานฺ ปัจเจกวิญญาณสถิตในหัวใจเฉพาะของตนเองเท่านั้นมิได้สถิตอยู่ในหัวใจของผู้อื่นทั้งหมด นี่คือข้อแตกต่างระหว่างปัจเจกวิญญาณและอภิวิญญาณ ผู้ที่มิไวราคฺยได้ฝึกปฏิบัติโยคะอย่างแท้จริงจะไม่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกสามารถเห็นองค์กฺฤษฺณทั้งในหัวใจของผู้ที่เชื่อและผู้ที่ไม่เชื่อ ใน สฺมฺฤติ ได้ยืนยันไว้ดังต่อไปนี้ อาตตตฺวาจฺ จ มาตฺฤตฺวาจฺ จ อาตฺมา หิ ปรโม หริห์ องค์ภควานฺทรงเป็นแหล่งกำเนิดของมวลชีวิต ทรงเปรียบเทียบเสมือนกับพระมารดาและผู้ค้ำจุน เฉกเช่นมารดาเป็นกลางกับลูกๆที่ไม่เหมือนกันทุกคน บิดาสูงสุด (หรือมารดา) ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นองค์อภิวิญญาณจึงทรงประทับอยู่ในทุกๆชีวิตเสมอ
ดูจากภายนอกทุกๆชีวิตสถิตในพลังงานขององค์ภควานฺเช่นกัน ดังจะอธิบายในบทที่เจ็ดพระองค์ทรงมีพลังงานพื้นฐานสองพลังงานคือ พลังงานทิพย์(สูงกว่า) และพลังงานวัตถุ(ต่ำกว่า) สิ่งมีชีวิตถึงแม้ว่าจะเป็นส่วนของพลังงานเบื้องสูงแต่อยู่ในสภาวะของพลังงานเบื้องต่ำ ฉะนั้นสิ่งมีชีวิตจะอยู่ในพลังงานขององค์ภควานฺเสมอ ทุกๆชีวิตสถิตในพระองค์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
โยคีจะเห็นด้วยความเสมอภาคเพราะเขาเห็นมวลชีวิตต่างๆถึงแม้จะอยู่ในสภาวะที่แตกต่างกันตามแต่ผลกรรม เขาก็ยังคงเป็นผู้รับใช้ขององค์ภควานฺอยู่ดี ขณะที่อยู่ในพลังงานวัตถุสิ่งมีชีวิตรับใช้ประสาทสัมผัสวัตถุ และขณะที่อยู่ในพลังงานทิพย์เขาจะรับใช้องค์ภควานฺโดยตรง ไม่ว่าในกรณีใดสิ่งมีชีวิตก็เป็นผู้รับใช้ของพระองค์ วิสัยทัศน์แห่งความเสมอภาคนี้มีอย่างสมบูรณ์ในบุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึก
yo māṁ paśyati sarvatra
sarvaṁ ca mayi paśyati
tasyāhaṁ na praṇaśyāmi
sa ca me na praṇaśyati
โย มำ ปศฺยติ สรฺวตฺร
สรฺวํ จ มยิ ปศฺยติ
ตสฺยาหํ น ปฺรณศฺยามิ
ส จ เม น ปฺรณศฺยติ
ยห์ — ผู้ใดที่, มามฺ — ข้า, ปศฺยติ — เห็น, สรฺวตฺร — ทุกหนทุกแห่ง, สรฺวมฺ — ทุกสิ่งทุกอย่าง, จ — และ, มยิ — ในข้า, ปศฺยติ — เห็น, ตสฺย — สำหรับเขา, อหมฺ — ข้า, น — ไม่, ปฺรณศฺยามิ, สห์ — เขา, จ — เช่นกัน, เม — แด่ข้า, น — ไม่, ปฺรณศฺยติ — หาย
คำแปล
สำหรับผู้ที่เห็นข้าทุกหนทุกแห่ง และเห็นทุกสิ่งทุกอย่างในข้า ข้าไม่เคยหายไปจากเขา และเขาก็ไม่เคยหายไปจากข้า
คำอธิบาย
บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกเห็นองค์ศฺรี กฺฤษฺณทุกหนทุกแห่งอย่างแน่นอน และเห็นทุกสิ่งทุกอย่างในองค์กฺฤษฺณ บุคคลเช่นนี้อาจดูเหมือนว่าเห็นปรากฏการณ์ที่แยกจากกันทั้งหมดของธรรมชาติวัตถุ แต่ในทุกๆโอกาสเขาจะมีจิตสำนึกขององค์กฺฤษฺณ และทราบว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นปรากฏการณ์แห่งพลังงานของพระองค์ไม่มีอะไรสามารถอยู่ได้โดยปราศจากองค์กฺฤษฺณ และองค์กฺฤษฺณทรงเป็นองค์ภควานฺของทุกสิ่งทุกอย่าง นี่คือหลักธรรมพื้นฐานของกฺฤษฺณจิตสำนึก กฺฤษฺณจิตสำนึกคือการพัฒนาความรักต่อองค์กฺฤษฺณเป็นสถานภาพที่เหนือกว่าแม้กระทั่งความหลุดพ้นทางวัตถุ ในระดับของกฺฤษฺณจิตสำนึกที่เหนือกว่าความรู้แจ้งแห่งตนนี้สาวกจะกลายเป็นหนึ่งเดียวกับองค์กฺฤษฺณ ในความรู้สึกที่ว่าองค์กฺฤษฺณทรงกลายมาเป็นทุกสิ่งทุกอย่างสำหรับสาวก และสาวกมีความเปี่ยมล้นไปด้วยความรักต่อองค์กฺฤษฺณ ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดสนิทสนมระหว่างองค์ภควานฺและสาวกจึงเกิดขึ้น ในระดับนั้นสิ่งมีชีวิตไม่มีวันถูกทำลาย และองค์ภควานฺทรงไม่เคยคลาดไปจากสายตาของสาวก การกลืนหายเข้าไปในองค์กฺฤษฺณเป็นการทำลายดวงวิญญาณสาวกจะไม่เสี่ยงที่จะทำเช่นนั้น กล่าวไว้ใน พฺรหฺม-สํหิตา (5.38) ว่า
เปฺรมาญฺชน-จฺฉุริต-ภกฺติ-วิโลจเนน
สนฺตห์ สไทว หฺฤทเยษุ วิโลกยนฺติ
ยํ ศฺยามสุนฺทรมฺ อจินฺตฺย-คุณ-สฺวรูปํ
โควินฺทมฺ อาทิ-ปุรุษํ ตมฺ อหํ ภชามิ
“ข้าขอบูชาพระผู้เป็นเจ้าองค์แรก โควินฺท ผู้ที่สาวกมองเห็นด้วยดวงตาที่ชโลมไปด้วยเยื่อใยแห่งความรักตลอดเวลา สาวกเห็นพระองค์ในรูปอมตะแห่ง ศฺยามสุนฺทร ผู้ทรงสถิตภายในหัวใจของสาวก”
ในระดับนี้องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงไม่มีวันคลาดสายตาไปจากสาวก และสาวกก็จะไม่คลาดสายตาไปจากพระองค์ ในกรณีที่โยคีเห็นองค์ภควานฺในรูป ปรมาตฺมา ผู้ทรงประทับอยู่ภายในหัวใจก็เช่นเดียวกัน โยคีผู้นั้นจะกลายมาเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ และทนไม่ได้ที่จะมีชีวิตอยู่แม้แต่นาทีเดียวโดยที่ไม่ได้เห็นพระองค์ทรงประทับอยู่ในตนเอง
sarva-bhūta-sthitaṁ yo māṁ
bhajaty ekatvam āsthitaḥ
sarvathā vartamāno ’pi
sa yogī mayi vartate
สรฺว-ภูต-สฺถิตํ โย มำ
ภชตฺยฺ เอกตฺวมฺ อาสฺถิตห์
สรฺวถา วรฺตมาโน ’ปิ
ส โยคี มยิ วรฺตเต
สรฺว-ภูต-สฺถิตมฺ — ทรงสถิตในหัวใจของทุกคน, ยห์ — ผู้ซึ่ง, มามฺ — ข้า, ภชติ — ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้, เอกตฺวมฺ — ในหนึ่งเดียวกัน, อาสฺถิตห์ — สถิต, สรฺวถา — ในทุกกรณี, วรฺตมานห์ — สถิต, อปิ — ถึงแม้ว่า, สห์ — เขา, โยคี — นักทิพย์นิยม, มยิ — ในข้า, วรฺตเต — ดำรง
คำแปล
โยคีผู้ฏิบัติในการรับใช้องค์อภิวิญญาณด้วยความเคารพบูชาเช่นนี้ รู้ว่าข้าและอภิวิญญาณเป็นหนึ่งเดียวกันจะดำรงอยู่ในข้าเสมอในทุกๆสถานการณ์
คำอธิบาย
โยคีผู้ฝึกปฏิบัติสมาธิอยู่ที่อภิวิญญาณเห็นภาคแบ่งแยกขององค์กฺฤษฺณภายในตัวเขาในรูปพระวิษณุสี่กร ทรงหอยสังข์ กงจักร คทา และดวกบัว โยคีควรรู้ว่าพระวิษณุทรงไม่แตกต่างจากองค์กฺฤษฺณ องค์กฺฤษฺณในรูปของอภิวิญญาณนี้ทรงสถิตในหัวใจของทุกๆคน ยิ่งไปกว่านั้นคือไม่มีข้อแตกต่างระหว่างอภิวิญญาณที่มีจำนวนนับไม่ถ้วนผู้ทรงปรากฏอยู่ภายในหัวใจอันนับไม่ถ้วนของสิ่งมีชีวิต ไม่มีข้อแตกต่างระหว่างบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกผู้ปฏิบัติรับใช้ด้วยความรักทิพย์แด่องค์กฺฤษฺณอยู่เสมอ และโยคีผู้สมบูรณ์ปฏิบัติสมาธิอยู่ที่อภิวิญญาณ โยคีในกฺฤษฺณจิตสำนึกถึงแม้อาจจะปฏิบัติกิจกรรมต่างๆขณะที่อยู่ในโลกวัตถุ แต่จะดำรงสถิตในองค์กฺฤษฺณเสมอ ได้ยืนยันไว้ใน ภกฺติ-รสามฺฤต-สินฺธุ (1.2.187) ของ ศฺรีล รูป โคสฺวามี ว่า นิขิลาสฺวฺ อปฺยฺ อวสฺถาสุ ชีวนฺ-มุกฺตห์ ส อุจฺยเต สาวกขององค์ภควานฺผู้ปฏิบัติอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเสมอได้รับความหลุดพ้นโดยปริยาย ใน นารท ปญฺจราตฺร ได้ยืนยันไว้ดังนี้
ทิกฺ-กาลาทฺยฺ-อนวจฺฉินฺเน
กฺฤษฺเณ เจโต วิธาย จ
ตนฺ-มโย ภวติ กฺษิปฺรํ
ชีโว พฺรหฺมณิ โยชเยตฺ
“จากการตั้งสมาธิจิตอยู่ที่พระวรกายทิพย์ขององค์กฺฤษฺณ ผู้ทรงแผ่กระจายไปทั่ว ผู้ทรงอยู่เหนือเวลาและอวกาศ เขาซึมซาบอยู่ในการระลึกถึงองค์กฺฤษฺณ จากนั้นจะบรรลุถึงระดับแห่งความสุขในการมาคบหาสมาคมทิพย์กับพระองค์”
กฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นระดับสูงสุดแห่งสมาธิในการปฏิบัติโยคะ การเข้าใจอย่างแท้จริงว่าองค์กฺฤษฺณทรงปรากฏในรูป ปรมาตฺมา อยู่ภายในหัวใจของทุกๆคนทำให้โยคีไม่มีความผิดพลาด คัมภีร์พระเวท (โคปาล-ตาปนี อุปนิษทฺ 1.21) ได้ยืนยันพลังอำนาจขององค์ภควานฺที่ไม่สามารถมองเห็นได้ไว้ดังนี้ เอโก ’ปิ สนฺ พหุธา โย ’วภาติ “ถึงแม้ว่าองค์ภควานฺทรงเป็นหนึ่งแต่พระองค์ทรงปรากฏอยู่ภายในหัวใจจำนวนที่นับไม่ถ้วนอย่างมากมาย” ในทำนองเดียวกัน สฺมฺฤติ-ศาสฺตฺร ได้กล่าวไว้ว่า
เอก เอว ปโร วิษฺณุห์
สรฺว-วฺยาปี น สํศยห์
ไอศฺวรฺยาทฺ รูปมฺ เอกํ จ
สูรฺย-วตฺ พหุเธยเต
“พระวิษณุทรงเป็นหนึ่งถึงกระนั้นพระองค์ยังทรงแผ่กระจายไปทั่วด้วยพลังอำนาจที่มองไม่เห็น ถึงแม้ว่าทรงมีรูปลักษณ์เดียวพระองค์ยังทรงปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่งเสมือนดังดวงอาทิตย์ที่ปรากฏอยู่หลายๆแห่งในขณะเดียวกัน”
ātmaupamyena sarvatra
samaṁ paśyati yo ’rjuna
sukhaṁ vā yadi vā duḥkhaṁ
sa yogī paramo mataḥ
อาตฺเมาปเมฺยน สรฺวตฺร
สมํ ปศฺยติ โย ’รฺชุน
สุขํ วา ยทิ วา ทุห์ขํ
ส โยคี ปรโม มตห์
อาตฺม — ด้วยตัวเขา, เอาปเมฺยน — ด้วยการเปรียบเทียบ, สรฺวตฺร — ทุกหนทุกแห่ง, สมมฺ — เท่าเทียมกัน, ปศฺยติ — เห็น, ยห์ — เขาผู้ซึ่ง, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน, สุขมฺ — ความสุข, วา — หรือ, ยทิ — ถ้า, วา — หรือ, ทุห์ขมฺ — ความทุกข์, สห์ — เช่นนี้, โยคี — นักทิพย์นิยม, ปรมห์ — สมบูรณ์, มตห์ — พิจารณา
คำแปล
จากการเปรียบเทียบกับตัวเขาเอง โยคีผู้สมบูรณ์เห็นสิ่งมีชีวิตทั้งหลายด้วยความเสมอภาคอย่างแท้จริง ทั้งในขณะที่พวกเขามีความสุขและในขณะที่มีความทุกข์ โอ้ อรฺชุน
คำอธิบาย
ผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นโยคีที่สมบูรณ์ เขารู้ถึงความสุขและความทุกข์ของทุกๆคนโดยอาศัยประสบการณ์ส่วนตัว สาเหตุแห่งความทุกข์ของสิ่งมีชีวิตคือการลืมความสัมพันธ์ของตนเองกับองค์ภควานฺ และสาเหตุแห่งความสุขคือรู้ว่าองค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญสูงสุดในกิจกรรมทั้งหลายของมนุษย์ องค์กฺฤษฺณทรงเป็นเจ้าของแผ่นดินและดาวเคราะห์ทั้งหมด และองค์กฺฤษฺณทรงเป็นเพื่อนผู้มีความจริงใจที่สุดของมวลชีวิต โยคีที่สมบูรณ์รู้ว่าสิ่งมีชีวิตผู้อยู่ในสภาวะของระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ อยู่ภายใต้อำนาจของความทุกข์ทางวัตถุสามคำรบอันเนื่องมาจากการลืมความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับองค์กฺฤษฺณ เนื่องจากผู้ที่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกมีความสุขจึงพยายามแจกจ่ายความรู้แห่งองค์กฺฤษฺณนี้ไปทั่วทุกหนทุกแห่ง เพราะว่าโยคีที่สมบูรณ์พยายามประกาศความสำคัญในการมาเป็นกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงเป็นคนใจบุญที่ดีที่สุดในโลก และเป็นคนรับใช้ที่น่ารักที่สุดขององค์ภควานฺ น จ ตสฺมานฺ มนุเษฺยษุ กศฺจินฺ เม ปฺริย-กฺฤตฺตมห์ (ภค.18.69) อีกนัยหนึ่งสาวกของพระองค์มุ่งบำรุงสุขแด่มวลชีวิตอยู่เสมอด้วยเหตุนี้จึงเป็นมิตรแท้ของทุกๆคน เขาเป็นโยคีที่ดีที่สุดเพราะว่าไม่ปรารถนาความสมบูรณ์ในโยคะเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวแต่พยายามเพื่อคนอื่น เขาไม่อิจฉาเพื่อนสิ่งมีชีวิตด้วยกัน นี่คือข้อแตกต่างระหว่างสาวกผู้บริสุทธิ์ขององค์ภควานฺ และโยคีผู้ที่สนใจเพียงแต่ความเจริญก้าวหน้าของตนเองเท่านั้น โยคีผู้ที่ถอนตัวไปอยู่อย่างสันโดษเพื่อทำสมาธิโดยสมบูรณ์อาจไม่สมบูรณ์บริบูรณ์เท่ากับสาวกผู้ที่พยายามอย่างดีที่สุดเพื่อให้ทุกๆคนได้มีกฺฤษฺณจิตสำนึก
arjuna uvāca
yo ’yaṁ yogas tvayā proktaḥ
sāmyena madhusūdana
etasyāhaṁ na paśyāmi
cañcalatvāt sthitiṁ sthirām
อรฺชุน อุวาจ
โย ’ยํ โยคสฺ ตฺวยา โปฺรกฺตห์
สาเมฺยน มธุสูทน
เอตสฺยาหํ น ปศฺยามิ
จญฺจลตฺวาตฺ สฺถิตึ สฺถิรามฺ
อรฺชุนห์ อุวาจ — อรฺชุน ตรัส, ยห์ อยมฺ — ระบบนี้, โยคห์ — โยคะ, ตฺวยา — โดยพระองค์, โปฺรกฺตห์ — อธิบาย, สาเมฺยน — โดยทั่วไป, มธุ-สูทน — โอ้ ผู้สังหารมาร มธุ, เอตสฺย — ของสิ่งนี้, อหมฺ — ข้า, น — ไม่, ปศฺยามิ — เห็น, จญฺจลตฺวาตฺ — เนื่องจากไม่สงบนิ่ง, สฺถิติมฺ — สภาวะ, สฺถิรามฺ — มั่นคง
คำแปล
อรฺชุน ตรัสว่า โอ้ มธุสูทน ระบบโยคะที่พระองค์ทรงสรุปให้นี้ดูเหมือนจะปฏิบัติไม่ได้ และข้าไม่มีความอดทนพอเพราะว่าจิตใจไม่สงบนิ่งและไม่มั่นคง
คำอธิบาย
ระบบโยคะที่องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงอธิบายให้ อรฺชุน เริ่มด้วยคำว่า ศุเจา เทเศ และจบด้วยคำว่า โยคี ปรมห์ ได้ทรงถูก อรฺชุน ปฏิเสธตรงนี้จากความรู้สึกที่ว่าไม่สามารถปฏิบัติได้ เป็นไปไม่ได้สำหรับคนธรรมดาทั่วไปที่จะจากบ้านไปยังป่าเขาลำเนาไพรและอยู่อย่างสันโดษเพื่อฝึกปฏิบัติโยคะ ในกลียุคยุคปัจจุบันนี้มีลักษณะที่ดิ้นรนอย่างขมขื่นเพื่อความอยู่รอดด้วยชีวิตอันสั้น ผู้คนไม่จริงจังเกี่ยวกับความรู้แจ้งแห่งตนแม้จะด้วยวิธีที่ง่ายและปฏิบัติได้ จึงไม่จำเป็นต้องพูดถึงระบบโยคะที่ยากลำบากเช่นนี้ซึ่งต้องควบคุมชีวิตการเป็นอยู่ในเรื่องของการนั่ง การเลือกสถานที่ และการทำให้จิตใจไม่ยึดติดกับการปฏิบัติทางวัตถุ ในฐานะที่เป็นนักปฏิบัติ อรฺชุน ทรงคิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะปฏิบัติตามระบบโยคะนี้ ถึงแม้ว่าทรงมีคุณสมบัติที่เอื้ออำนวยอยู่หลายประการ อรฺชุน ประสูติอยู่ในตระกูล กฺษตฺริย ทรงมีความเจริญมากในคุณสมบัติหลายๆด้าน เช่น เป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่ มีพระชนมายุยืนยาว และยิ่งไปกว่าสิ่งอื่นใดยังเป็นสหายสนิทที่สุดขององค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณ เมื่อห้าพันปีก่อนนี้ อรฺชุน ทรงมีสิ่งเอื้ออำนวยที่ดีกว่าพวกเราที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้อย่างมากมายถึงกระนั้นก็ยังปฏิเสธระบบโยคะนี้ อันที่จริงเราไม่พบบันทึกใดๆในประวัติศาสตร์ที่เห็น อรฺชุน ฝึกปฏิบัติโยคะนี้ไม่ว่าในตอนใด ฉะนั้นระบบนี้ต้องพิจารณาว่าโดยทั่วไปแล้วจะเป็นไปไม่ได้ที่จะปฎิบัติในกลียุคนี้ แน่นอนว่าอาจจะเป็นไปได้สำหรับคนบางคนที่หาได้ยากมาก แต่สำหรับผู้คนโดยทั่วไปเป็นข้อเสนอที่เป็นไปไม่ได้ เพราะหากเป็นเช่นนั้นเมื่อห้าพันปีก่อนแล้วปัจจุบันนี้จะเป็นอย่างไร พวกที่เลียนแบบระบบโยคะนี้ซึ่งอยู่ในสถานที่ที่เรียกว่าสถาบันและสมาคมต่างๆ ถึงแม้ว่าจะได้รับความอิ่มเอิบใจแต่เป็นการสูญเสียเวลาไปอย่างแน่นอน พวกนี้อยู่ในอวิชชาอย่างสมบูรณ์เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายที่ตนปรารถนา
cañcalaṁ hi manaḥ kṛṣṇa
pramāthi balavad dṛḍham
tasyāhaṁ nigrahaṁ manye
vāyor iva su-duṣkaram
จญฺจลํ หิ มนห์ กฺฤษฺณ
ปฺรมาถิ พลวทฺ ทฺฤฒมฺ
ตสฺยาหํ นิคฺรหํ มเนฺย
วาโยรฺ อิว สุ-ทุษฺกรมฺ
จญฺจลมฺ — ไม่สงบนิ่ง, หิ — แน่นอน, มนห์ — จิตใจ, กฺฤษฺณ — โอ้ กฺฤษฺณ, ปฺรมาถิ — ว้าวุ่น, พล-วตฺ — มีพลังมาก, ทฺฤฒมฺ — ดื้อรั้น, ตสฺย — ของมัน, อหมฺ — ข้า, นิคฺรหมฺ — ปราบ, มเนฺย — คิด, วาโยห์ — ของลม, อิว — เหมือน, สุ-ทุษฺกรมฺ — ยาก
คำแปล
เพราะว่าจิตใจไม่สงบนิ่ง พลุกพล่าน ดื้อรั้น และมีพลังมาก โอ้ กฺฤษฺณ และในการปราบปรามมันข้าพเจ้าคิดว่ายากยิ่งกว่าการควบคุมลม
คำอธิบาย
จิตใจมีพลังมากและดื้อรั้นซึ่งบางครั้งก็เอาชนะปัญญา ถึงแม้ว่าจิตใจควรอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของปัญญา สำหรับบุคคลผู้อยู่ในโลกแห่งการปฏิบัติที่ต้องต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามมากมายแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ยากมากในการควบคุมจิตใจ เขาอาจทำใจให้เป็นกลางอย่างผิดธรรมชาติระหว่างเพื่อนกับศัตรู แต่ในที่สุดไม่มีผู้ใดในโลกสามารถทำได้ สำหรับการกระทำเช่นนั้นมันยากยิ่งกว่าการควบคุมลมพายุที่พัดมาอย่างแรง ในวรรณกรรมพระเวท (กฐ อุปนิษทฺ 1.3.3-4) กล่าวไว้ว่า
อาตฺมานํ รถินํ วิทฺธิ
ศรีรํ รถมฺ เอว จ
พุทฺธึ ตุ สารถึ วิทฺธิ
มนห์ ปฺรคฺรหมฺ เอว จ
อินฺทฺริยาณิ หยานฺ อาหุรฺ
วิษยำสฺ เตษุ โคจรานฺ
อาตฺเมนฺทฺริย-มโน-ยุกฺตํ
โภกฺเตตฺยฺ อาหุรฺ มนีษิณห์
“ปัจเจกวิญญาณเป็นผู้โดยสารในพาหนะแห่งร่างวัตถุ ปัญญาเป็นผู้ขับ จิตใจเป็นคันบังคับ และประสาทสัมผัสเป็นม้า ตัวเขาจะได้รับความสุขหรือความทุกข์นั้นเกิดจากการมาคบหาสมาคมกับจิตใจและประสาทสัมผัส จึงเป็นที่เข้าใจโดยนักคิดผู้ยิ่งใหญ่” ปัญญาควรเป็นผู้สั่งจิตใจแต่จิตใจมีพลังอำนาจมาก และดื้อรั้นจนส่วนใหญ่เอาชนะแม้กระทั่งปัญญาของตนเอง เหมือนกับโรคปัจจุบันทันด่วนที่ดื้อยา จิตใจที่มีพลังมากเช่นนี้ควรถูกควบคุมด้วยการฝึกปฏิบัติโยคะ แต่การฝึกเช่นนี้ปฏิบัติไม่ได้แม้สำหรับบุคคลทางโลก เช่น อรฺชุน จึงไม่จำเป็นต้องพูดถึงคนในยุคสมัยนี้ คำอุปมาที่ให้ไว้ ณ ที่นี้เหมาะสมดีว่า เราไม่สามารถจับกุมลมที่พัดมาแรงได้ฉันใดก็เป็นการยากยิ่งไปกว่าที่จะจับกุมจิตใจที่พลุกพล่านได้ฉันนั้น องค์ ไจตนฺย ทรงแนะนำวิธีที่ง่ายที่สุดด้วยความถ่อมตนอย่างยิ่งในการควบคุมจิตใจ คือ การร้องเพลงสวดมนต์ภาวนา “หเร กฺฤษฺณ” ซึ่งเป็นบทมนต์อันยิ่งใหญ่เพื่อการจัดส่ง ได้อธิบายวิธีไว้ดังนี้ ส ไว มนห์ กฺฤษฺณ-ปทารวินฺทโยห์ เราต้องใช้จิตใจอย่างเต็มที่ในองค์กฺฤษฺณ ด้วยวิธีนี้เท่านั้นจึงจะไม่มีกิจกรรมอื่นใดทำให้จิตใจวุ่นวาย
śrī-bhagavān uvāca
asaṁśayaṁ mahā-bāho
mano durnigrahaṁ calam
abhyāsena tu kaunteya
vairāgyeṇa ca gṛhyate
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
อสํศยํ มหา-พาโห
มโน ทุรฺนิคฺรหํ จลมฺ
อภฺยาเสน ตุ เกานฺเตย
ไวราเคฺยณ จ คฺฤหฺยเต
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — องค์ภควานตรัส, อสํศยมฺ — อย่างไม่สงสัย, มหา-พาโห — โอ้ ยอดนักรบ, มนห์ — จิตใจ, ทุรฺนิคฺรหมฺ — ยากที่จะดัด, จลมฺ — ว้าวุ่น, อภฺยาเสน — ด้วยการปฏิบัติ, ตุ — แต่, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, ไวราเคฺยณ — ด้วยการไม่ยึดติด, จ — เช่นกัน, คฺฤหฺยเต — สามารถควบคุมได้
คำแปล
องค์ศฺรี กฺฤษฺณตรัสว่า โอ้ ยอดนักรบโอรสพระนาง กุนฺตี การดัดจิตใจที่ไม่สงบนิ่งเป็นสิ่งที่ยากมากโดยไม่ต้องสงสัย แต่เป็นไปได้ด้วยการฝึกปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสม และด้วยการไม่ยึดติด
คำอธิบาย
ความยากลำบากในการควบคุมจิตใจที่ดื้อรั้นดังที่ อรฺชุน ทรงดำรินั้นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงยอมรับ แต่ในขณะเดียวกันพระองค์ทรงแนะนำว่าการฝึกปฏิบัติและการไม่ยึดติดเป็นไปได้ การฝึกปฏิบัตินั้นคืออะไร ในยุคปัจจุบันไม่มีใครสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบอันเคร่งครัดในการที่จะให้ตนเองไปอยู่ยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และตั้งสมาธิจิตอยู่ที่องค์อภิวิญญาณ หักห้ามประสาทสัมผัสและจิตใจ ถือเพศพรหมจรรย์ หรืออยู่อย่างสันโดษได้ อย่างไรก็ดีด้วยการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกในเก้าวิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺ วิธีแรกและสำคัญมากในการปฏิบัติอุทิศตนเสียสละคือ การสดับฟังเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณ ซึ่งเป็นวิถีทิพย์ที่ทรงพลังอำนาจมากในการขจัดข้อสงสัยทั้งหลายให้ออกไปจากจิตใจ ผู้ที่สดับฟังเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณได้มากเท่าไรก็จะมีความรู้แจ้ง และไม่ยึดติดกับทุกสิ่งทุกอย่างที่นำพาจิตใจให้ออกห่างจากองค์กฺฤษฺณได้มากเท่านั้น จากการไม่ยึดติดจิตใจอยู่กับกิจกรรมที่ไม่อุทิศตนเสียสละให้พระองค์เขาจะสามารถเรียนรู้ ไวราคฺย ได้อย่างง่ายดาย ไวราคฺย หมายถึงการไม่ยึดติดกับวัตถุและให้จิตใจปฏิบัติอยู่กับดวงวิญญาณ การไม่ยึดติดในวิถีทิพย์ของพวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์ยากยิ่งกว่าการยึดมั่นจิตใจอยู่กับกิจกรรมขององค์กฺฤษฺณ เช่นนี้ปฏิบัติได้เพราะจากการสดับฟังเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณจะทำให้ยึดมั่นกับดวงวิญญาณสูงสุดโดยปริยาย การยึดมั่นเช่นนี้เรียกว่า ปเรศานุภว ความพึงพอใจทิพย์ คล้ายๆกับความรู้สึกพึงพอใจกับอาหารทุกคำที่คนกำลังหิวได้รับประทาน ขณะที่กำลังหิวเมื่อได้รับประทานมากเท่าไรก็จะรู้สึกพึงพอใจและมีพลังงานเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น ในทำนองเดียวกันจากการปฏิบัติรับใช้ด้วยการอุทิศตนเสียสละเขามีความรู้สึกพึงพอใจทิพย์ในขณะที่จิตใจไม่ยึดติดกับจุดมุ่งหมายทางวัตถุ เหมือนกับการรักษาโรคด้วยวิธีที่ชำนาญและโภชนาการที่เหมาะสม ดังนั้นการสดับฟังกิจกรรมทิพย์ขององค์ศฺรี กฺฤษฺณจึงเป็นวิธีรักษาที่มีความชำนาญสำหรับจิตใจที่บ้าคลั่ง และการรับประทานภัตตาหารที่ถวายให้องค์กฺฤษฺณ คือโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับคนไข้ที่กำลังมีความทุกข์ การรักษาเช่นนี้คือวิธีของกฺฤษฺณจิตสำนึก
asaṁyatātmanā yogo
duṣprāpa iti me matiḥ
vaśyātmanā tu yatatā
śakyo ’vāptum upāyataḥ
อสํยตาตฺมนา โยโค
ทุษฺปฺราป อิติ เม มติห์
วศฺยาตฺมนา ตุ ยตตา
ศโกฺย ’วาปฺตุมฺ อุปายตห์
อสํยต — หักห้ามไม่ไหว, อาตฺมนา — ด้วยจิตใจ, โยคห์ — การรู้แจ้งแห่งตน, ทุษฺปฺราปห์ — ยากที่จะบรรลุ, อิติ — ดังนั้น, เม — ของข้า, มติห์ — ความเห็น, วศฺย — ควบคุม, อาตฺมนา — ด้วยจิตใจ, ตุ — แต่, ยตตา — ขณะที่พยายาม, ศกฺยห์ — ปฏิบัติได้, อวาปฺตุมฺ — บรรลุ, อุปายตห์ — ด้วยวิธีที่เหมาะสม
คำแปล
สำหรับผู้ที่หักห้ามจิตใจของตนเองไม่ได้ การรู้แจ้งแห่งตนเป็นงานที่ยาก แต่ผู้ที่ควบคุมจิตใจตนเองได้ และมีความพยายามในวิถีทางที่ถูกต้องจะประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน นี่คือความเห็นของข้า
คำอธิบาย
บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงประกาศว่าผู้ที่ไม่ยอมรับการรักษาที่ถูกต้องที่จะให้จิตใจไม่ยึดติดกับการปฏิบัติทางวัตถุจะบรรลุผลสำเร็จในการรู้แจ้งแห่งตนได้ยากมาก การพยายามฝึกปฏิบัติโยคะในขณะที่จิตใจใฝ่หาความสุขทางวัตถุเปรียบเสมือนกับการพยายามจุดไฟในขณะที่ราดน้ำลงไป การฝึกปฏิบัติโยคะโดยไม่ควบคุมจิตใจเป็นการเสียเวลา การอวดวิธีการปฏิบัติโยคะเช่นนี้อาจได้รับผลกำไรงามทางวัตถุแต่ว่าไร้ประโยชน์ในการรู้แจ้งแห่งดวงวิญญาณ ฉะนั้นเขาต้องควบคุมจิตใจโดยให้จิตใจปฏิบัติรับใช้ด้วยความรักทิพย์แด่องค์ภควานฺอยู่เสมอ นอกจากว่าเราจะปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกมิฉะนั้นแล้วเราจะไม่สามารถควบคุมจิตใจได้อย่างมั่นคง บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกบรรลุผลแห่งการปฏิบัติโยคะได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องพยายามนอกเหนือไปจากนี้ แต่ผู้ฝึกปฏิบัติโยคะไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จได้หากปราศจากกฺฤษฺณจิตสำนึก
arjuna uvāca
ayatiḥ śraddhayopeto
yogāc calita-mānasaḥ
aprāpya yoga-saṁsiddhiṁ
kāṁ gatiṁ kṛṣṇa gacchati
อรฺชุน อุวาจ
อยติห์ ศฺรทฺธโยเปโต
โยคาจฺ จลิต-มานสห์
อปฺราปฺย โยค-สํสิทฺธึ
กำ คตึ กฺฤษฺณ คจฺฉติ
อรฺชุนห์ อุวาจ — อรฺชุน ตรัส, อยติห์ — นักทิพย์นิยมผู้ไม่ประสบผลสำเร็จ, ศฺรทฺธยา — ด้วยความศรัทธา, อุเปตห์ — ปฏิบัติ, โยคาตฺ — จากการเชื่อมสัมพันธ์ที่เร้นลับ, จลิต — เบี่ยงเบน, มานสห์ — ผู้มีจิตใจเช่นนี้, อปฺราปฺย — ล้มเหลวในการบรรลุ, โยค-สํสิทฺธิมฺ — ความสมบูรณ์สูงสุดในโยคะ, กามฺ — ซึ่ง, คติมฺ — จุดมุ่งหมาย, กฺฤษฺณ — โอ้ กฺฤษฺณ, คจฺฉติ — บรรลุ
คำแปล
อรฺชุน ตรัสว่า โอ้ กฺฤษฺณ นักทิพย์นิยมผู้ไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งในตอนแรกรับเอาวิถีทางเพื่อความรู้แจ้งแห่งตนมาปฏิบัติด้วยความศรัทธา แต่ต่อมาได้ยกเลิกการปฏิบัติอันเนื่องมาจากจิตใจมาฝักใฝ่ทางโลก ดังนั้นจึงไม่บรรลุความสมบูรณ์ในโยคะ จุดหมายปลายทางของบุคคลเช่นนี้อยู่ที่ใหน
คำอธิบาย
วิถีทางเพื่อความรู้แจ้งแห่งตนหรือระบบโยคะได้อธิบายใน ภควัท-คีตา หลักธรรมพื้นฐานเพื่อความรู้แจ้งแห่งตนคือความรู้ที่ว่าสิ่งมีชีวิตไม่ใช่ร่างกายวัตถุนี้แต่ว่าแตกต่างไปจากร่างวัตถุ และความสุขของเขาอยู่ในชีวิตอมตะ เปี่ยมไปด้วยความปลื้มปีติสุข และความรู้ สิ่งเหล่านี้เป็นทิพย์อยู่เหนือทั้งร่างกายและจิตใจ ความรู้แจ้งแห่งตนค้นพบได้ด้วยวิถีแห่งความรู้ ด้วยการฝึกปฏิบัติแปดระบบหรือด้วย ภกฺติ-โยค ในแต่ละวิธีนี้จะต้องรู้แจ้งสถานภาพพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับองค์ภควานฺ กิจกรรมซึ่งทำให้เขาสามารถสถาปนาความสัมพันธ์ที่สูญหายไปให้กลับมาอีกครั้ง และบรรลุถึงระดับสมบูรณ์สูงสุดแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึก การปฏิบัติตามทางใดทางหนึ่งในสามวิธีที่กล่าวไว้ข้างต้นแน่นอนว่าจะต้องบรรลุเป้าหมายสูงสุดในไม่ช้าก็เร็ว องค์ภควานฺทรงยืนยันไว้เช่นนี้ในบทที่สองว่าแม้ความพยายามเพียงเล็กน้อยบนวิถีทิพย์จะให้ความหวังอย่างสูงเพื่อการจัดส่ง จากสามวิธีนี้วิธีของ ภกฺติ-โยค เหมาะสมโดยเฉพาะสำหรับยุคนี้ เพราะเป็นวิธีตรงที่สุดเพื่อความรู้แจ้งองค์ภควานฺ เพื่อให้มั่นใจยิ่งขึ้นไปอีก อรฺชุน ทรงถามองค์กฺฤษฺณเพื่อให้ทรงยืนยันคำดำรัสที่เคยกล่าวไว้ เราอาจยอมรับวิธีเพื่อความรู้แจ้งอย่างจริงใจแต่วิธีแห่งการเพิ่มพูนความรู้ การฝึกปฏิบัติของระบบโยคะแปดระดับโดยทั่วไปเป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับยุคนี้ ฉะนั้นแม้จะพยายามอย่างสม่ำเสมอแต่อาจประสบความล้มเหลวเนื่องจากเหตุผลมากมาย ประการแรกเขาอาจไม่มีความจริงจังเพียงพอในการปฏิบัติตามวิธี การก้าวเดินไปบนวิถีทิพย์คล้ายกับการประกาศสงครามกับพลังงานแห่งความหลง ฉะนั้นเมื่อไรที่เราพยายามที่จะหนีไปจากเงื้อมมือของพระนางมายา พระนางจะพยายามเอาชนะผู้ฝึกปฏิบัติด้วยการหลอกล่อให้หลงมากมาย พันธวิญญาณถูกหลอกล่อให้หลงอยู่แล้วด้วยระดับแห่งพลังงานวัตถุ จึงเป็นไปได้เสมอที่จะถูกหลอกล่อให้หลงอีกครั้งหนึ่ง แม้ขณะฝึกปฏิบัติตามระเบียบวินัยทิพย์เช่นนี้เรียกว่า โยคาจฺ จลิต-มานสห์ การเบี่ยงเบนจากวิถีทิพย์ อรฺชุน ทรงตั้งคำถามเพื่อให้ทราบถึงผลแห่งการเบี่ยงเบนจากวิถีเพื่อความรู้แจ้งแห่งตน
kaccin nobhaya-vibhraṣṭaś
chinnābhram iva naśyati
apratiṣṭho mahā-bāho
vimūḍho brahmaṇaḥ pathi
กจฺจินฺ โนภย-วิภฺรษฺฏศฺ
ฉินฺนาภฺรมฺ อิว นศฺยติ
อปฺรติษฺโฐ มหา-พาโห
วิมูโฒ พฺรหฺมณห์ ปถิ
กจฺจิตฺ — ไม่ว่า, น — ไม่, อุภย — ทั้งสอง, วิภฺรษฺฏห์ — เบี่ยงเบนจาก, ฉินฺน — ขาด, อภฺรมฺ — เมฆ, อิว — เหมือน, นศฺยติ — สูญสิ้น, อปฺรติษฺฐห์ — ไม่มีตำแหน่ง, มหา-พาโห — โอ้ กฺฤษฺณ ยอดนักรบ, วิมูฒห์ — สับสน, พฺรหฺมณห์ — แห่งความเป็นทิพย์, ปถิ — บนวิถีทาง
คำแปล
โอ้ กฺฤษฺณ ยอดนักรบ ผู้สับสนบนวิถีทิพย์ไม่ประสบผลสำเร็จทั้งในวิถีทิพย์และวิถีวัตถุจะแตกดับเสมือนดั่งก้อนเมฆที่สูญสลายหายไป โดยไม่มีตำแหน่งที่จะยืนอยู่ไม่ว่าในอาณาจักรใดใช่หรือไหม
คำอธิบาย
มีอยู่สองทางในความเจริญก้าวหน้า พวกวัตถุนิยมไม่สนใจในวิถีทิพย์ดังนั้นจึงสนใจในความก้าวหน้าทางวัตถุด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจ หรือการส่งเสริมให้ไปอยู่บนดาวเคราะห์ที่สูงกว่าจากการปฏิบัติที่เหมาะสม เมื่อบุคคลรับเอาวิถีทิพย์มาปฏิบัติเราต้องหยุดกิจกรรมทางวัตถุทั้งปวง และถวายสิ่งที่เรียกว่าความสุขทางวัตถุทุกรูปแบบ หากผู้ที่ปรารถนาวิถีทิพย์ล้มเหลวในเรื่องนี้ดูเหมือนว่าจะสูญเสียทั้งสองทาง อีกนัยหนึ่งเขาไม่สามารถได้รับทั้งความสุขทางวัตถุหรือความสำเร็จในวิถีทิพย์ เขาไม่มีตำแหน่ง เหมือนกับก้อนเมฆที่สูญสลายหายจากกันไป ก้อนเมฆในท้องฟ้าบางครั้งแยกออกจากเมฆก้อนเล็กและไปรวมตัวกับเมฆก้อนใหญ่ได้แล้วถูกลมพัดพาไปจนไม่เหลือบุคลิกของตนเองในท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ พฺรหฺมณห์ ปถิ คือวิถีทิพย์ซึ่งรู้แจ้งผ่านทางความรู้ที่ว่าตัวเขาคือดวงวิญญาณโดยเนื้อแท้และเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ ผู้ทรงปรากฏมาในรูปของ พฺรหฺมนฺ ปรมาตฺมา และ ภควานฺ องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็นปรากฏการณ์ที่สมบูรณ์แห่งสัจธรรมอันสมบูรณ์สูงสุด ดังนั้นผู้ที่ศิโรราบแด่องค์ภควานฺจึงเป็นนักทิพย์นิยมที่ประสบผลสำเร็จ การบรรลุถึงเป้าหมายความรู้แจ้งแห่งชีวิตนี้โดยผ่านทาง พฺรหฺมนฺ และ ปรมาตฺมา จะใช้เวลาหลายต่อหลายชาติ (พหูนำ ชนฺมนามฺ อนฺเต) ฉะนั้นวิถีทางสูงสุดแห่งการรู้แจ้งทิพย์คือ ภกฺติ-โยค หรือกฺฤษฺณจิตสำนึกซึ่งเป็นวิธีโดยตรง
etan me saṁśayaṁ kṛṣṇa
chettum arhasy aśeṣataḥ
tvad-anyaḥ saṁśayasyāsya
chettā na hy upapadyate
เอตนฺ เม สํศยํ กฺฤษฺณ
เฉตฺตุมฺ อรฺหสฺยฺ อเศษตห์
ตฺวทฺ-อนฺยห์ สํศยสฺยาสฺย
เฉตฺตา น หฺยฺ อุปปทฺยเต
เอตตฺ — นี่คือ, เม — ของข้า, สํศยมฺ — ข้อสงสัย, กฺฤษฺณ — โอ้ กฺฤษฺณ, เฉตฺตุมฺ — ปัดเป่า, อรฺหสิ — พระองค์ได้รับการขอร้อง, อเศษตห์ — อย่างสมบูรณ์, ตฺวตฺ — กว่าพระองค์, อนฺยห์ — ผู้อื่น, สํศยสฺย — แห่งความสงสัย, อสฺย — นี้, เฉตฺตา — เคลื่อนออก, น — ไม่เคย, หิ — แน่นอน, อุปปทฺยเต — ค้นพบ
คำแปล
โอ้ กฺฤษฺณ นี่คือข้อสงสัย ข้าพเจ้าขอให้พระองค์ทรงช่วยขจัดข้อสงสัยนี้ไปให้หมดสิ้น นอกจากพระองค์แล้วจะไม่มีผู้ใดสามารถขจัดข้อสงสัยนี้ได้
คำอธิบาย
องค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้รู้อดีต ปัจจุบัน และอนาคตอย่างสมบูรณ์ ในตอนต้นของ ภควัท-คีตา องค์ภควานฺตรัสว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายมีความเป็นปัจเจกในอดีต เป็นปัจเจกในปัจจุบัน และจะยังคงมีบุคลิกลักษณะเป็นปัจเจกสืบต่อไปในอนาคต แม้หลังจากที่หลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุแล้ว ฉะนั้นพระองค์ทรงให้ความกระจ่างเกี่ยวกับคำถามของปัจเจกชีวิตในอนาคตเรียบร้อยแล้ว มาบัดนี้ อรฺชุน ทรงปรารถนาที่จะทราบถึงอนาคตของนักทิพย์นิยมผู้ไม่ประสบความสำเร็จ ไม่มีผู้ใดเทียบเท่าหรือเหนือกว่าองค์กฺฤษฺณ ผู้ที่เรียกว่านักบวชและนักปราชญ์ยิ่งใหญ่ทั้งหลายที่ได้รับพระเมตตาจากธรรมชาติวัตถุไม่สามารถเทียบเท่าองค์ภควานฺได้ ดังนั้นคำตัดสินขององค์กฺฤษฺณถือว่าเป็นคำตอบสุดท้ายและสมบูรณ์ต่อข้อสงสัยทั้งมวล เพราะทรงทราบอดีต ปัจจุบัน และอนาคตอย่างสมบูรณ์ แต่ไม่มีผู้ใดทราบถึงพระองค์ (องค์กฺฤษฺณ) และสาวกผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่านั้นที่ทราบว่าอะไรคืออะไร
śrī-bhagavān uvāca
pārtha naiveha nāmutra
vināśas tasya vidyate
na hi kalyāṇa-kṛt kaścid
durgatiṁ tāta gacchati
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
ปารฺถ ไนเวห นามุตฺร
วินาศสฺ ตสฺย วิทฺยเต
น หิ กลฺยาณ-กฺฤตฺ กศฺจิทฺ
ทุรฺคตึ ตาต คจฺฉติ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัส, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, น เอว — ไม่เคยเป็นเช่นนั้น, อิห — ในโลกวัตถุนี้, น — ไม่เคย, อมุตฺร — ในชาติหน้า, วินาศห์ — ทำลาย, ตสฺย — ของเขา, วิทฺยเต — เป็นอยู่, น — ไม่เคย, หิ — แน่นอน, กลฺยาณ-กฺฤตฺ — ผู้ปฏิบัติกิจกรรมอันเป็นมงคล, กศฺจิตฺ — ผู้ใด, ทุรฺคติมฺ — ตกต่ำลง, ตาต — สหายข้า, คจฺฉติ — ไป
คำแปล
องค์ภควานตรัสว่า โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา นักทิพย์นิยมผู้ปฏิบัติกิจกรรมอันเป็นมงคลจะไม่พบกับความหายนะ ไม่ว่าในโลกนี้หรือในโลกทิพย์ สหายของข้า! คนทำดีจะไม่มีวันถูกความชั่วครอบงำ
คำอธิบาย
ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (1.5.17) ศฺรี นารท มุนิ กล่าวสอน วฺยาสเทว ดังต่อไปนี้
ตฺยกฺตฺวา สฺว-ธรฺมํ จรณามฺพุชํ หเรรฺ
ภชนฺนฺ อปโกฺว ’ถ ปเตตฺ ตโต ยทิ
ยตฺร กฺว วาภทฺรมฺ อภูทฺ อมุษฺย กึ
โก วารฺถ อาปฺโต ’ภชตำ สฺว-ธรฺมตห์
“หากผู้ใดยกเลิกความมุ่งหวังทางวัตถุทั้งปวงและรับเอาองค์ภควานฺเป็นที่พึ่งอย่างสมบูรณ์จะไม่สูญเสียหรือตกต่ำลงไม่ว่าในทางใด อีกด้านหนึ่งผู้ไม่ใช่สาวกอาจปฏิบัติหน้าที่ในสายอาชีพของตนอย่างสมบูรณ์แต่จะไม่ได้รับประโยชน์อันใดเลย” สำหรับความมุ่งหวังทางวัตถุมีกิจกรรมมากมายทั้งตามพระคัมภีร์และตามประเพณี นักทิพย์นิยมควรยกเลิกกิจกรรมทางวัตถุทั้งมวลเพื่อความเจริญก้าวหน้าแห่งชีวิตทิพย์หรือกฺฤษฺณจิตสำนึก เขาอาจเถียงว่ากฺฤษฺณจิตสำนึกบรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุดได้หากปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ แต่ถ้าหากว่าไม่บรรลุถึงระดับสมบูรณ์นี้จะสูญเสียทั้งทางวัตถุและทางจิตวิญญาณ ได้กล่าวไว้ในพระคัมภีร์ว่าเขาต้องรับทุกข์จากผลกรรมที่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ ฉะนั้นผู้ที่ไม่ปฏิบัติกิจกรรมทิพย์อย่างเหมาะสมจะได้รับผลกรรมเหล่านี้ ภาควต ได้ยืนยันว่านักทิพย์นิยมผู้ไม่ประสบผลสำเร็จไม่จำเป็นต้องวิตกกังวล ถึงแม้อาจได้รับผลกรรมที่ปฏิบัติตามหน้าที่อย่างสมบูรณ์ก็ไม่สูญเสียอะไร เพราะกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นสิริมงคลจะไม่มีวันถูกลืม และผู้ได้ปฏิบัติเช่นนี้จะปฏิบัติต่อไปแม้หากเขาเกิดมาต่ำต้อยในชาติหน้า อีกด้านหนึ่งหากบุคคลปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดแต่ไม่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่ได้รับผลอันเป็นมงคล
คำอธิบายเข้าใจได้ดังต่อไปนี้ มนุษยชาติอาจแบ่งออกได้เป็นสองพวก คือพวกมีกฎเกณฑ์ และพวกที่ไม่มีกฎเกณฑ์ พวกที่เพียงแต่ปฏิบัติตนเพื่อสนองประสาทสัมผัสเยี่ยงสัตว์เดรัจฉานโดยปราศจากความรู้ของชาติหน้า หรือความหลุดพ้นแห่งดวงวิญญาณเป็นพวกที่ไม่กฎเกณฑ์ ส่วนพวกที่ปฏิบัติตามหลักธรรมแห่งหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระคัมภีร์เป็นพวกที่มีกฎเกณฑ์ พวกไม่มีกฎเกณฑ์ทั้งศิวิไลและไม่ศิวิไล มีการศึกษาและด้อยการศึกษา แข็งแรงและอ่อนแอทั้งหมดเต็มไปด้วยนิสัยสัตว์เดรัจฉาน กิจกรรมของพวกนี้ไม่เคยเป็นมงคล เพราะขณะที่เพลิดเพลินกับนิสัยเยี่ยงสัตว์เดรัจฉานในการกิน นอน ป้องกันตัว และเพศสัมพันธ์ พวกเขาจะยังคงมีความเป็นอยู่ทางวัตถุชั่วกัลปวสานซึ่งมีแต่ความทุกข์ อีกด้านหนึ่งพวกมีกฎเกณฑ์ตามคำสั่งสอนของพระคัมภีร์จะค่อยๆเจริญขึ้นมาสู่กฺฤษฺณจิตสำนึกชีวิตจะเจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอน
พวกที่ปฏิบัติตามวิธีอันเป็นมงคลแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ (1) กลุ่มที่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของพระคัมภีร์และได้รับความสุขจากความมั่งคั่งทางวัตถุ (2) กลุ่มที่พยายามค้นหาเสรีภาพสูงสุดจากความเป็นอยู่ทางวัตถุ และ (3) กลุ่มที่เป็นสาวกในกฺฤษฺณจิตสำนึก กลุ่มที่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของพระคัมภีร์เพื่อความสุขทางวัตถุอาจแบ่งต่อไปอีกได้เป็นสองกลุ่มย่อย คือ กลุ่มที่ทำงานเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุ และกลุ่มที่ไม่ปรารถนาผลทางวัตถุเพื่อสนองประสาทสัมผัส พวกที่ปรารถนาผลทางวัตถุเพื่อสนองประสาทสัมผัสอาจพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้นจนกระทั่งไปถึงดาวเคราะห์ที่สูงกว่า แต่ถึงกระนั้นเนื่องจากมิได้เป็นอิสระจากความเป็นอยู่ทางวัตถุเพื่อสนองประสาทสัมผัสอาจพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้นจนกระทั่งไปถึงดาวเคราะห์ที่สูงกว่า ถึงกระนั้นเนื่องจากมิได้เป็นอิสระจากความเป็นอยู่ทางวัตถุจึงไม่ได้ปฏิบัติตามวิถีทางอันเป็นมงคลอย่างแท้จริง กิจกรรมอันเป็นมงคลคือกิจกรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้นเท่านั้น กิจกรรมใดๆที่ไม่มุ่งไปที่ความรู้แจ้งแห่งตนหรือความหลุดพ้นจากแนวคิดชีวิตทางวัตถุในที่สุดจะไม่เป็นมงคลเลย กิจกรรมในกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นกิจกรรมเดียวที่เป็นมงคล และผู้ใดอาสายอมรับความไม่สะดวกสบายทางร่างกายทั้งมวลเพื่อความเจริญก้าวหน้าบนวิถีแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกสามารถเรียกได้ว่าเป็นนักทิพย์นิยมที่สมบูรณ์ภายใต้ความสมถะอย่างเคร่งครัด เพราะระบบโยคะแปดระดับจะนำมาสู่ความรู้แจ้งแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกในที่สุด การฝึกปฏิบัติเช่นนี้เป็นมงคลเช่นกัน ผู้ใดที่พยายามอย่างดีที่สุดในเรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องกลัวตกลงต่ำ
prāpya puṇya-kṛtāṁ lokān
uṣitvā śāśvatīḥ samāḥ
śucīnāṁ śrīmatāṁ gehe
yoga-bhraṣṭo ’bhijāyate
ปฺราปฺย ปุณฺย-กฺฤตำ โลกานฺ
อุษิตฺวา ศาศฺวตีห์ สมาห์
ศุจีนำ ศฺรีมตำ เคเห
โยค-ภฺรษฺโฏ ’ภิชายเต
ปฺราปฺย — หลังจากได้รับ, ปุณฺย-กฺฤตามฺ — ของพวกทำบุญ, โลกานฺ — ดาวเคราะห์, อุษิตฺวา — หลังจากอาศัยอยู่, ศาศฺวตีห์ — หลายๆ, สมาห์ — ปี, ศุจีนามฺ — แห่งบุญ, ศฺรี-มตามฺ — แห่งความรุ่งเรือง, เคเห — ในบ้าน, โยค-ภฺรษฺฏห์ — ผู้ตกลงจากวิถีความรู้แจ้งแห่งตน, อภิชายเต — เกิด
คำแปล
หลังจากมีความสุขหลายๆปีบนดาวเคราะห์ของสิ่งมีชีวิตผู้มีบุญ โยคีผู้ไม่ประสบความสำเร็จจะเกิดในตระกูลของคนที่มีคุณธรรม หรือเกิดในตระกูลสูงที่ร่ำรวย
คำอธิบาย
โยคีที่ไม่ประสบผลสำเร็จแบ่งออกเป็นสองพวก พวกหนึ่งตกลงมาหลังจากความเจริญก้าวหน้าเพียงเล็กน้อย อีกพวกหนึ่งตกลงมาหลังจากการฝึกปฏิบัติโยคะเป็นเวลายาวนาน โยคีที่ตกลงมาหลังจากการฝึกปฏิบัติในระยะเวลาสั้นจะไปยังดาวเคราะห์ที่สูงกว่าที่อนุญาตให้สิ่งมีชีวิตผู้มีบุญไปอยู่ หลังจากมีชีวิตอันยืนยาวอยู่ที่นั่นจะถูกส่งกลับมายังโลกนี้อีกครั้งหนึ่งโดยมาเกิดในตระกูล พฺราหฺมณ ไวษฺณว ผู้มีคุณธรรม หรือในตระกูลพ่อค้าวานิชที่ร่ำรวย
จุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการฝึกปฏิบัติโยคะคือ การบรรลุความสมบูรณ์สูงสุดแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึก ดังที่ได้อธิบายไว้ในโศลกสุดท้ายของบทนี้ แต่พวกที่ไม่มีความเพียรพยายามมากเช่นนี้และตกลงต่ำเพราะไปลุ่มหลงทางวัตถุจะได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์กับนิสัยชอบทางวัตถุอย่างเต็มที่ด้วยพระเมตตาขององค์ภควานฺ หลังจากนั้นก็จะได้รับโอกาสให้ไปใช้ชีวิตมั่งคั่งในตระกูลที่มีคุณธรรมหรือตระกูลสูง พวกที่เกิดในตระกูลเช่นนี้อาจฉวยประโยชน์จากสิ่งเอื้ออำนวยต่างๆ และพยายามพัฒนาตนเองให้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์
atha vā yoginām eva
kule bhavati dhīmatām
etad dhi durlabha-taraṁ
loke janma yad īdṛśam
อถ วา โยคินามฺ เอว
กุเล ภวติ ธีมตามฺ
เอตทฺ ธิ ทุรฺลภ-ตรํ
โลเก ชนฺม ยทฺ อีทฺฤศมฺ
อถ วา — หรือ, โยคินามฺ — ของนักทิพย์นิยมผู้มีความรู้, เอว — แน่นอน, กุเล — ในครอบครัว, ภวติ — เกิด, ธี-มตามฺ — ของพวกมีปัญญาสูง, เอตตฺ — นี้, หิ — แน่นอน, ทุรฺลภ-ตรมฺ — หายากมาก, โลเก — ในโลกนี้, ชนฺม — เกิด, ยตฺ — ที่ซึ่ง, อีทฺฤศมฺ — เหมือนเช่นนี้
คำแปล
หรือ (หากไม่ประสบผลสำเร็จหลังจากฝึกปฏิบัติโยคะไปเป็นเวลานาน) เขาจะเกิดในครอบครัวของนักทิพย์นิยมผู้ที่เปี่ยมไปด้วยปัญญาอย่างแน่นอน และเป็นจริงที่ว่าการเกิดเช่นนี้เป็นสิ่งที่หาได้ยากในโลกนี้
คำอธิบาย
การเกิดในตระกูลของโยคีหรือนักทิพย์นิยมผู้ที่เปี่ยมไปด้วยปัญญาได้รับการสรรเสริญไว้ ณ ที่นี้ว่า เด็กที่เกิดในตระกูลเช่นนี้ได้รับแรงกระตุ้นทางจิตวิญญาณตั้งแต่แรกเริ่มของชีวิตโดยเฉพาะในกรณีของตระกูล อาจารฺย หรือ โคสฺวามี ตระกูลเช่นนี้มีความรู้มากและอุทิศตนเสียสละตามประเพณีและการฝึกปฏิบัติ ดังนั้นพวกท่านจึงกลายมาเป็นพระอาจารย์ทิพย์ ในประเทศอินเดียมีตระกูล อาจารฺย เช่นนี้มากมาย แต่ปัจจุบันเสื่อมทรามลงเนื่องจากการศึกษาและการฝึกปฏิบัติไม่เพียงพอ ด้วยพระเมตตาขององค์ภควานฺจึงยังมีครอบครัวที่อุปถัมภ์นักทิพย์นิยมมาหลายชั่วคน แน่นอนว่าเป็นบุญมหาศาลที่ได้เกิดในตระกูลเช่นนี้ เป็นความโชคดีที่ทั้งพระอาจารย์ทิพย์ของเรา โอํ วิษฺณุปาท ศฺรี ศฺรีมทฺ ภกฺติสิทฺธานฺต สรสฺวตี โคสฺวามี มหาราช และตัวอาตมาเองได้มีโอกาสเกิดในตระกูลเช่นนี้ ด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺเราทั้งสองคนได้รับการฝึกฝนในการอุทิศตนเสียสละรับใช้พระองค์ตั้งแต่แรกเริ่มของชีวิต ต่อมาเราได้มาพบกันตามคำสั่งแห่งระบบทิพย์
tatra taṁ buddhi-saṁyogaṁ
labhate paurva-dehikam
yatate ca tato bhūyaḥ
saṁsiddhau kuru-nandana
ตตฺร ตํ พุทฺธิ-สํโยคํ
ลภเต เปารฺว-เทหิกมฺ
ยตเต จ ตโต ภูยห์
สํสิทฺเธา กุรุ-นนฺทน
ตตฺร — จากนั้น, ตมฺ — นั้น, พุทฺธิ-สํโยคมฺ — ฟื้นฟูจิตสำนึก, ลภเต — ได้รับ, เปารฺว-เทหิกมฺ — จากร่างก่อน, ยตเต — เขาพยายาม, จ — เช่นกัน, ตตห์ — หลังจากนั้น, ภูยห์ — อีกครั้ง, สํสิทฺเธา — เพื่อความสมบูรณ์, กุรุ-นนฺทน — โอ้ โอรสแห่งคุรุ
คำแปล
การเกิดเช่นนี้ทำให้ได้ฟื้นฟูจิตสำนึกทิพย์ของเขาจากชาติปางก่อน และพยายามเพื่อความเจริญก้าวหน้าอีกครั้งในการบรรลุถึงความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ โอ้ โอรสแห่ง กุรุ
คำอธิบาย
กฺษตฺริย ภารต ทรงประสูติในตระกูลพราหมณ์ที่ดี เป็นตัวอย่างในการเกิดที่ดีเพื่อฟื้นฟูจิตสำนึกทิพย์ ในอดีตพระราชา ภารต ทรงเป็นจักรพรรดิ์แห่งโลกและนับตั้งแต่นั้นมาโลกนี้มีชื่อเรียกในหมู่เทวดาว่า ภารต-วรฺษ ในอดีตมีชื่อว่า อิลาวฺฤต-วรฺษ เมื่อยังทรงพระเยาว์จักรพรรดิ์ทรงสละราชบัลลังก์เพื่อความสมบูรณ์ในวิถีทิพย์แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ในชาติต่อมาประสูติในตระกูล พฺราหฺมณ ที่ดีมีพระนามว่า ชฑ ภรต เนื่องจากทรงอยู่ในที่สันโดษเสมอและไม่พูดกับผู้ใด ในเวลาต่อมา กฺษตฺริย รหูคณ ทรงพบว่า ชฑ ภรต เป็นนักทิพย์นิยมผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด จากชีวิตของ กฺษตฺริย ภรต นี้ทำให้เข้าใจได้ว่าความพยายามในวิถีทิพย์หรือการฝึกปฏิบัติโยคะไม่เคยสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ด้วยพระเมตตาขององค์ภควานฺนักทิพย์นิยมจะได้รับโอกาสอีกครั้งเพื่อความสมบูรณ์บริบูรณ์ในกฺฤษฺณจิตสำนึก
pūrvābhyāsena tenaiva
hriyate hy avaśo ’pi saḥ
jijñāsur api yogasya
śabda-brahmātivartate
ปูรฺวาภฺยาเสน เตไนว
หฺริยเต หฺยฺ อวโศ ’ปิ สห์
ชิชฺญาสุรฺ อปิ โยคสฺย
ศพฺท-พฺรหฺมาติวรฺตเต
ปูรฺว — ในอดีต, อภฺยาเสน — ด้วยการฝึกปฏิบัติ, เตน — เช่นนั้น, เอว — แน่นอน, หฺริยเต — รัก, หิ — แน่นอน, อวศห์ — โดยปริยาย, อปิ — เช่นกัน, สห์ — เขา, ชิชฺญาสุห์ — ถาม, อปิ — แม้แต่, โยคสฺย — เกี่ยวกับโยคะ, ศพฺท-พฺรหฺม — หลักพิธีกรรมของพระคัมภีร์, อติวรฺตเต — อยู่เหนือ
คำแปล
ด้วยบุญบารมีแห่งจิตสำนึกทิพย์จากชาติปางก่อน จิตใจของเขาจะชื่นชอบหลักธรรมของโยคะโดยปริยาย ถึงแม้จะไม่ได้แสวงหา นักทิพย์นิยมที่ชอบถามผู้นี้จะยืนอยู่เหนือหลักพิธีกรรมของพระคัมภีร์เสมอ
คำอธิบาย
โยคีผู้ที่เจริญแล้วจะไม่ติดใจอยู่กับพิธีกรรมของพระคัมภีร์ แต่จะชื่นชอบหลักธรรมของโยคะโดยปริยายซึ่งสามารถพัฒนาให้ไปถึงกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ หรือความสมบูรณ์สูงสุดแห่งโยคะ ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (3.33.7) การที่นักทิพย์นิยมผู้เจริญแล้วไม่สนใจพิธีกรรมทางพระเวทได้อธิบายไว้ดังนี้
อโห พต ศฺว-ปโจ ’โต ครียานฺ
ยชฺ-ชิหฺวาเคฺร วรฺตเต นาม ตุภฺยมฺ
เตปุสฺ ตปสฺ เต ชุหุวุห์ สสฺนุรฺ อารฺยา
พฺรหฺมานูจุรฺ นาม คฺฤณนฺติ เย เต
“โอ้ องค์ภควานฺที่รัก บุคคลผู้สวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์แม้จะเกิดในตระกูลคนกินสุนัขก็มีความเจริญในชีวิตทิพย์มาก ผู้ที่สวดภาวนาเช่นนี้ได้ปฏิบัติความสมถะและการบูชาทุกชนิดโดยไม่ต้องสงสัย ได้อาบน้ำในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทุกแห่ง และได้เสร็จสิ้นการศึกษาพระคัมภีร์ทั้งหมดแล้ว”
องค์ ศฺรี ไจตนฺย ทรงให้ตัวอย่างสาวกที่มีชื่อเสียงเช่นนี้ไว้ด้วยการยอมรับ ฐากุร หริทาส ว่าเป็นหนึ่งในสาวกที่สำคัญที่สุดของพระองค์ ถึงแม้ ฐากุร หริทาส ได้เกิดในตระกูลมุสลิมแต่ได้พัฒนามาจนองค์ ศฺรี ไจตนฺย ทรงให้ฉายาว่า นามาจารฺย เนื่องจาก ฐากุร หริทาส รับเอาหลักการสวดภาวนาอย่างเคร่งครัดถึงสามแสนพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานฺทุกวัน หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร ท่านสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์อยู่เสมอ เข้าใจว่าในอดีตชาติท่านต้องผ่านการปฏิบัติตามพิธีกรรมของพระเวททั้งหลายที่เรียกว่า ศพฺท-พฺรหฺม ดังนั้นนอกจากจะมีความบริสุทธิ์ มิฉะนั้นก็จะไม่สามารถรับหลักธรรมของกฺฤษฺณจิตสำนึก หรือปฏิบัติการสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานฺ หเร กฺฤษฺณ ได้
prayatnād yatamānas tu
yogī saṁśuddha-kilbiṣaḥ
aneka-janma-saṁsiddhas
tato yāti parāṁ gatim
ปฺรยตฺนาทฺ ยตมานสฺ ตุ
โยคี สํศุทฺธ-กิลฺพิษห์
อเนก-ชนฺม-สํสิทฺธสฺ
ตโต ยาติ ปรำ คติมฺ
ปฺรยตฺนาตฺ — ด้วยการฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง, ยตมานห์ — ความพยายาม, ตุ — และ, โยคี — นักทิพย์นิยมเช่นนี้, สํศุทฺธ — ชะล้าง, กิลฺพิษห์ — ความบาปทั้งมวล, อเนก — หลังจากหลายต่อหลาย, ชนฺม — การเกิด, สํสิทฺธห์ — บรรลุความสมบูรณ์, ตตห์ — หลังจากนั้น, ยาติ — ได้รับ, ปรามฺ — สูงสุด, คติมฺ — จุดมุ่งหมาย
คำแปล
และเมื่อโยคีปฏิบัติตนด้วยความพยายามอย่างจริงใจในความเจริญก้าวหน้าขึ้นไปอีก ชะล้างมลทินทั้งหมด และในที่สุดบรรลุถึงความสมบูรณ์ หลังจากฝึกปฏิบัติมาหลายต่อหลายชาติ เขาจะบรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุด
คำอธิบาย
บุคคลผู้เกิดในตระกูลสูงและมีคุณธรรมหรือตระกูลที่ใฝ่ศาสนาโดยเฉพาะรู้สำนึกถึงสภาวะที่เอื้ออำนวยในการฝึกปฏิบัติโยคะ ดังนั้นด้วยความมั่นใจจึงเริ่มทำงานที่ยังคั่งค้างอยู่และชะล้างตัวเขาจากมลทินทางวัตถุทั้งมวลให้บริสุทธิ์อย่างสมบูรณ์ ในที่สุดเมื่อเป็นอิสระจากมลทินทั้งมวลเขาจะบรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุด หรือกฺฤษฺณจิตสำนึก กฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นระดับที่สมบูรณ์ในการเป็นอิสระจากมลทินทั้งมวล ได้ยืนยันไว้ใน ภควัท-คีตา (7.28)
เยษำ ตฺวฺ อนฺต-คตํ ปาปํ
ชนานำ ปุณฺย-กรฺมณามฺ
เต ทฺวนฺทฺว-โมห-นิรฺมุกฺตา
ภชนฺเต มำ ทฺฤฒ-วฺรตาห์
“หลังจากหลายต่อหลายชาติในการสะสมบุญ เมื่อเป็นอิสระอย่างสมบูรณ์จากมลทินทั้งปวงจากความหลงกับสิ่งคู่ทั้งหลาย เขาจะมาปฏิบัติในการรับใช้ทิพย์ด้วยความรักต่อองค์ภควานฺ”
tapasvibhyo ’dhiko yogī
jñānibhyo ’pi mato ’dhikaḥ
karmibhyaś cādhiko yogī
tasmād yogī bhavārjuna
ตปสฺวิโภฺย ’ธิโก โยคี
ชฺญานิโภฺย ’ปิ มโต ’ธิกห์
กรฺมิภฺยศฺ จาธิโก โยคี
ตสฺมาทฺ โยคี ภวารฺชุน
ตปสฺวิภฺยห์ — กว่านักพรต, อธิกห์ — ยิ่งใหญ่กว่า, โยคี — โยคี, ชฺญานิภฺยห์ — กว่านักปราชญ์, อปิ — เช่นกัน, มตห์ — พิจารณา, อธิกห์ — ยิ่งใหญ่กว่า, กรฺมิภฺยห์ — กว่าผู้ทำงานเพื่อผลทางวัตถุ, จ — เช่นกัน, อธิกห์ — ยิ่งใหญ่กว่า, โยคี — โยคี, ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, โยคี — นักทิพย์นิยม, ภว — จงมาเป็น, อรฺชุน — โอ้ อารจุนะ
คำแปล
โยคียิ่งใหญ่กว่านักพรต ยิ่งใหญ่กว่านักปราชญ์ และยิ่งใหญ่กว่าผู้ทำงานเพื่อผลทางวัตถุ ฉะนั้น โอ้ อรฺชุน ในทุกๆสถานการณ์เธอจงเป็นโยคี
คำอธิบาย
เมื่อเราพูดถึงโยคะเราหมายถึงการเชื่อมสัมพันธ์จิตสำนึกของเรากับสัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุด วิธีการปฏิบัตินี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามแนวทางของนักปฏิบัติ เมื่อวิธีการเชื่อมสัมพันธ์เน้นที่กิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุมีชื่อเรียกว่า กรฺม-โยค เมื่อเน้นที่ปรัชญามีชื่อเรียกว่า ชฺญาน-โยค เมื่อเน้นความสัมพันธ์ในการอุทิศตนเสียสละต่อองค์ภควานฺมีชื่อเรียกว่า ภกฺติ-โยค ภกฺติ-โยค หรือกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นความสมบูรณ์สูงสุดแห่งโยคะทั้งหลาย ดังจะอธิบายในโศลกต่อไป องค์ภควานฺทรงยืนยันในที่นี้ถึงความยิ่งใหญ่แห่งโยคะ แต่ทรงมิได้กล่าวว่ามีอะไรดีไปกว่า ภกฺติ-โยค ภกฺติ-โยค เป็นความรู้ทิพย์ที่สมบูรณ์เช่นนี้จึงไม่มีอะไรที่เหนือกว่า ระบบนักพรตโดยปราศจากความรู้แห่งตนไม่สมบูรณ์ ความรู้ทางปรัชญาโดยปราศจากการศิโรราบต่อองค์ภควานฺก็ไม่สมบูรณ์ และการทำงานเพื่อผลทางวัตถุโดยปราศจากกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นการเสียเวลา ฉะนั้นการปฏิบัติโยคะที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญอย่างสูงสุด ณ ที่นี้คือ ภกฺติ-โยค และจะอธิบายให้กระจ่างกว่านี้ในโศลกต่อไป
yoginām api sarveṣāṁ
mad-gatenāntar-ātmanā
śraddhāvān bhajate yo māṁ
sa me yukta-tamo mataḥ
โยคินามฺ อปิ สเรฺวษามฺ
มทฺ-คเตนานฺตรฺ-อาตฺมนา
ศฺรทฺธาวานฺ ภชเต โย มำ
ส เม ยุกฺต-ตโม มตห์
โยคินามฺ — ของโยคี, อปิ — เช่นกัน, สเรฺวษามฺ — ทุกชนิด, มตฺ-คเตน — มีข้าเป็นสรณะ, ระลึกถึงข้าอยู่เสมอ, อนฺตห์-อาตฺมนา — ภายในตัวเขา, ศฺรทฺธา-วานฺ — เปี่ยมไปด้วยศรัทธา, ภชเต — ปฏิบัติรับใช้ด้วยความรักทิพย์, ยห์ — ผู้ซึ่ง, มามฺ — แด่ข้า (องค์ภควาน), สห์ — เขา, เม — โดยข้า, ยุกฺต-ตมห์ — โยคีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด, มตห์ — พิจารณาว่า
คำแปล
ในบรรดาโยคีทั้งหลายผู้ที่เปี่ยมไปด้วยความศรัทธา มีข้าเป็นสรณะอยู่เสมอ ระลึกถึงข้าอยู่ภายใน ปฏิบัติรับใช้ข้าด้วยความรักทิพย์ โยคีผู้นี้อยู่ร่วมกับข้าในโยคะอย่างใกล้ชิดที่สุด และเป็นบุคคลสูงสุด นี่คือความคิดเห็นของข้า
คำอธิบาย
คำว่า ภชเต มีความสำคัญ ณ ที่นี้ ภชเต มีรากศัพท์มาจากคำกริยา ภชฺ ซึ่งใช้คำนี้เมื่อมีความจำเป็นในการรับใช้ คำว่า “บูชา” ไม่สามารถใช้ในความหมายเดียวกันกับคำว่า ภชฺ ได้ บูชาหมายความถึงการเคารพหรือแสดงความนับถือและให้เกียรติต่อผู้ที่ทรงเกียรติ แต่การรับใช้ด้วยความรักและศรัทธาหมายถึงองค์ภควานฺเท่านั้น เราอาจหลีกเลี่ยงการบูชาผู้ที่เคารพนับถือหรือเทวดาได้แล้วจะถูกเรียกว่าเป็นคนไม่มีมารยาท แต่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการรับใช้องค์ภควานฺได้โดยไม่ถูกตำหนิอย่างรุนแรง ทุกๆชีวิตเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ ดังนั้นทุกๆชีวิตมีไว้เพื่อรับใช้พระองค์ตามสถานภาพพื้นฐานของตนเอง หากไม่ทำเช่นนี้จะทำให้ตกต่ำลง ภาควต (11.5.3) ได้ยืนยันไว้ดังต่อไปนี้
ย เอษำ ปุรุษํ สากฺษาทฺ
อาตฺม-ปฺรภวมฺ อีศฺวรมฺ
น ภชนฺตฺยฺ อวชานนฺติ
สฺถานาทฺ ภฺรษฺฏาห์ ปตนฺตฺยฺ อธห์
“ผู้ใดที่ไม่ปฏิบัติรับใช้องค์ภควานฺ ผู้ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของมวลชีวิต และละเลยหน้าที่ของตนจะตกลงต่ำจากสถานภาพพื้นฐานของตนอย่างแน่นอน”
ในโศลกนี้คำว่า ภชนฺติ ได้นำมาใช้เช่นเดียวกัน ฉะนั้นคำว่า ภชนฺติ ใช้ได้เฉพาะกับองค์ภควานฺเท่านั้น ในขณะที่คำว่า “บูชา” สามารถใช้ได้กับเทวดาหรือสิ่งมีชีวิตธรรมดาทั่วไป คำว่า อวชานนฺติ ที่ใช้ในโศลกของ ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ นี้ก็พบใน ภควัท-คีตา เช่นกัน อวชานนฺติ มำ มูฒาห์ “คนโง่และเลวทรามเท่านั้นที่เย้ยหยันองค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณ” พวกคนโง่เช่นนี้เขียนคำอธิบาย ภควัท-คีตา ด้วยตัวเองโดยปราศจากท่าทีแห่งการรับใช้องค์ภควานฺ ดังนั้นพวกนี้ไม่สามารถแยกได้อย่างถูกต้องระหว่างคำว่า ภชนฺติ และคำว่า “บูชา”
การฝึกปฏิบัติโยคะทั้งหลายไปถึงจุดสุดยอดที่ ภกฺติ-โยค โยคะรูปแบบอื่นทั้งหลายเป็นเพียงวิถีทางเพื่อให้มาถึงจุด ภกฺติ ใน ภกฺติ-โยค อันที่จริงโยคะหมายถึง ภกฺติ-โยค โยคะรูปแบบอื่นทั้งหมดเป็นขั้นบันไดเพื่อให้มาถึงจุดหมายปลายทางแห่ง ภกฺติ-โยค นี้ จากการเริ่มต้นของ กรฺม-โยค มาจนจบลงที่ ภกฺติ-โยค เป็นหนทางอันยาวไกลเพื่อความรู้แจ้งแห่งตน กรฺม-โยค โดยปราศจากผลทางวัตถุเป็นจุดเริ่มต้นแห่งวิถีทางนี้เมื่อ กรฺม-โยค พัฒนาความรู้และการเสียสละระดับนี้เรียกว่า ชฺญาน-โยค เมื่อ ชฺญาน-โยค พัฒนาการทำสมาธิที่อภิวิญญาณด้วยวิธีการทางสรีระร่างกายต่างๆนานาและตั้งสมาธิจิตอยู่ที่พระองค์เรียกว่า อษฺฏางฺค-โยค เมื่อข้ามพ้น อษฺฏางฺค-โยค และมาถึงจุดแห่งบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์ศฺรี กฺฤษฺณเรียกว่า ภกฺติ-โยค ซึ่งเป็นจุดสุดยอด อันที่จริง ภกฺติ-โยค เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดแต่เพื่อเป็นการวิเคราะห์ ภกฺติ-โยค อย่างละเอียดถี่ถ้วนเราต้องเข้าใจโยคะอื่นๆเหล่านี้ ฉะนั้นโยคะที่เจริญก้าวหน้าจะอยู่บนวิถีทางแห่งความโชคดีนิรันดรอย่างแท้จริง ผู้ที่ยึดติดอยู่กับจุดหนึ่งจุดใดโดยเฉพาะ และไม่สร้างความเจริญก้าวหน้าขึ้นไปอีกมีชื่อเรียกเฉพาะนั้นๆว่า กรฺม-โยคี, ชฺญาน-โยคี หรือ ธฺยาน-โยคี, ราช-โยคี, หฐ-โยคี ฯลฯ หากผู้ใดโชคดีพอที่มาถึงจุดแห่ง ภกฺติ-โยค เข้าใจได้ว่าได้ข้ามพ้นโยคะอื่นๆทั้งหลาย ดังนั้นการมีกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงเป็นระดับสูงสุดแห่งโยคะ เฉกเช่นเมื่อเราพูดถึง หิมาลย (หิมาลัย) เราหมายถึงเทือกเขาที่สูงที่สุดในโลก ภูเขาหิมาลัยที่มียอดสูงสุดจึงพิจารณาว่าเป็นจุดสุดยอด
ด้วยโชคอันมหาศาลที่เราได้มาถึงกฺฤษฺณจิตสำนึกบนหนทางแห่ง ภกฺติ-โยค และสถิตอย่างดีตามคำแนะนำของคัมภีร์พระเวท โยคีที่ดีเลิศตั้งสมาธิอยู่ที่องค์กฺฤษฺณ ผู้ทรงมีพระนามว่า ศฺยามสุนฺทร ผู้ทรงมีสีสันสวยงามดั่งก้อนเมฆ ทรงมีพระพักตร์คล้ายรูปดอกบัว ทรงมีรัศมีเจิดจรัสดั่งดวงอาทิตย์ ทรงมีพระอาภรณ์สว่างไสวไปด้วยอัญมณี และทรงมีพระวรกายประดับด้วยมาลัยดอกไม้ รัศมีอันงดงามของพระองค์เจิดจรัสไปทั่วทุกสารทิศมีชื่อว่า พฺรหฺม-โชฺยติรฺ พระองค์ทรงอวตารมาในรูปลักษณ์ต่างๆ เช่น พระราม, นฺฤสึห, วราห และ กฺฤษฺณ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าพระองค์เสด็จลงมาเยี่ยงมนุษย์ ทรงเป็นโอรสของพระนาง ยโศทา และมีพระนามว่า กฺฤษฺณ, โควินฺท และ วาสุเทว พระองค์ทรงเป็นโอรส เป็นพระสวามี เป็นพระสหาย และเป็นพระอาจารย์ที่สมบูรณ์ และพระองค์ยังเปี่ยมไปด้วยความมั่งคั่งและคุณสมบัติทิพย์ทั้งหลาย หากผู้ใดรักษาจิตสำนึกอย่างเต็มเปี่ยมเกี่ยวกับลักษณะเหล่านี้ขององค์ภควานฺจะได้ชื่อว่าเป็นโยคีที่สูงสุด
ระดับแห่งความสมบูรณ์สูงสุดในโยคะนี้สามารถบรรลุได้ด้วย ภกฺติ-โยค เท่านั้น ดังที่ได้ยืนยันไว้ในวรรณกรรมพระเวททั้งหลายว่า
ยสฺย เทเว ปรา ภกฺติรฺ
ยถา เทเว ตถา คุเรา
ตไสฺยเต กถิตา หฺยฺ อรฺถาห์
ปฺรกาศนฺเต มหาตฺมนห์
“ดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่ที่มีความศรัทธาอย่างเปี่ยมล้นทั้งในองค์ภควานฺและพระอาจารย์ทิพย์เท่านั้นที่สาระสำคัญทั้งหลายแห่งความรู้พระเวทจะถูกเปิดเผยโดยปริยาย” (เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ 6.23)
ภกฺติรฺ อสฺย ภชนํ ตทฺ อิหามุโตฺรปาธิ-ไนราเสฺยนามุษฺมินฺ มนห์-กลฺปนมฺ, เอตทฺ เอว ไนษฺกรฺมฺยมฺ “ภกฺติ หมายถึงการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺ ซึ่งมีอิสระเสรีจากความปรารถนาเพื่อผลกำไรทางวัตถุ ไม่ว่าในชาตินี้หรือในชาติหน้าปราศจากซึ่งแนวโน้มเช่นนี้เขาควรให้จิตใจซึมซาบอย่างบริบูรณ์ในองค์ภควานฺ นั่นคือจุดมุ่งหมายของ ไนษฺกรฺมฺย” (โคปาล-ตาปนี อุปนิษทฺ 1.15)
เหล่านี้คือวิถีทางบางประการในการปฏิบัติ ภกฺติ หรือ กฺฤษฺณจิตสำนึกซึ่งเป็นระดับสมบูรณ์สูงสุดแห่งระบบโยคะ
ดังนั้นได้จบคำอธิบายโดย ภักดีเวดานตะ บทที่หก ของหนังสือ ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา ในหัวข้อเรื่อง ธฺยาน-โยค