ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบเจ็ด

ระดับแห่งความศรัทธา

SIMPLE

โศลก 1

arjuna uvāca
ye śāstra-vidhim utsṛjya
yajante śraddhayānvitāḥ
teṣāṁ niṣṭhā tu kā kṛṣṇa
sattvam āho rajas tamaḥ
อรฺชุน อุวาจ
เย ศาสฺตฺร-วิธิมฺ อุตฺสฺฤชฺย
ยชนฺเต ศฺรทฺธยานฺวิตาห์
เตษำ นิษฺฐา ตุ กา กฺฤษฺณ
สตฺตฺวมฺ อาโห รชสฺ ตมห์
อรฺชุนห์ อุวาจอรฺชุน ตรัส, เย — พวกซึ่ง, ศาสฺตฺร-วิธิมฺ — กฎเกณฑ์ของพระคัมภีร์, อุตฺสฺฤชฺย — ยกเลิก, ยชนฺเต — บูชา, ศฺรทฺธยา — เต็มศรัทธา, อนฺวิตาห์ — เป็นเจ้าของ, เตษามฺ — ของพวกเขา, นิษฺฐา — ศรัทธา, ตุ — แต่, กา — อะไร, กฺฤษฺณ — โอ้ กฺฤษฺณ, สตฺตฺวมฺ — ในความดี, อาโห — หรืออย่างอื่น, รชห์ — ในตัณหา, ตมห์ — ในอวิชชา

คำแปล

อรฺชุน ทรงถามว่า โอ้กฺฤษฺณ สถานการณ์ของพวกที่ไม่ปฏิบัติตามหลักธรรมของพระคัมภีร์ แต่บูชาตามจินตนาการของตนเองเป็นอย่างไร พวกเขาอยู่ในความดี ตัณหา หรืออวิชชา

คำอธิบาย

ในบทที่สี่ โศลกสามสิบเก้าได้กล่าวไว้ว่า ผู้มีความศรัทธาในการบูชาบางสิ่งบางอย่างจะค่อยๆพัฒนามาถึงระดับแห่งความรู้ และบรรลุถึงระดับความสมบูรณ์สูงสุดแห่งความสงบและความเจริญรุ่งเรือง ในบทที่สิบหกสรุปว่าผู้ไม่ปฏิบัติตามหลักธรรมที่วางไว้ในพระคัมภีร์เรียกว่า มาร หรือ อสุร และผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระคัมภีร์ด้วยความศรัทธาเรียกว่า เทพ หรือ เทว หากบุคคลปฏิบัติตามกฎต่างๆด้วยความศรัทธาซึ่งไม่ได้สอนไว้ในพระคัมภีร์สถานภาพของเขาจะเป็นเช่นไร องค์กฺฤษฺณจะทรงทำให้ข้อสงสัยของ อรฺชุน กระจ่างขึ้น พวกที่สร้างพระเจ้าบางองค์ขึ้นมาด้วยการคัดเลือกมนุษย์ และให้ความศรัทธาต่อผู้นั้นบุคคลเหล่านี้บูชาในความดี ตัณหา หรือวิชชา และจะบรรลุถึงระดับแห่งความสมบูรณ์ในชีวิตหรือไม่ เป็นไปได้หรือไม่ที่พวกนี้สถิตในความรู้ที่แท้จริงและพัฒนาตนเองไปถึงระดับแห่งความสมบูรณ์สูงสุด พวกที่ไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของพระคัมภีร์แต่มีความศรัทธาต่อบางสิ่งบางอย่าง บูชาเทพเจ้า เทวดา และมนุษย์จะบรรลุถึงความสำเร็จในความพยายามของพวกตนหรือไม่ อรฺชุน ทรงตั้งคำถามเหล่านี้ต่อองค์กฺฤษฺณ

โศลก 2

śrī-bhagavān uvāca
tri-vidhā bhavati śraddhā
dehināṁ sā svabhāva-jā
sāttvikī rājasī caiva
tāmasī ceti tāṁ śṛṇu
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
ตฺริ-วิธา ภวติ ศฺรทฺธา
เทหินำ สา สฺวภาว-ชา
สาตฺตฺวิกี ราชสี ไจว
ตามสี เจติ ตำ ศฺฤณุ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัส, ตฺริ-วิธา — สามชนิด, ภวติ — มาเป็น, ศฺรทฺธา — ความศรัทธา, เทหินามฺ — ของร่างกาย, สา — นั้น, สฺว-ภาว-ชา — ตามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุของตน, สาตฺตฺวิกี — ในระดับความดี, ราชสี — ในระดับตัณหา, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, ตามสี — ในระดับอวิชชา, — และ, อิติ — ดังนั้น, ตามฺ — นั้น, ศฺฤณุ — สดับฟังจากข้า

คำแปล

บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงตรัสว่า ตามระดับแห่งธรรมชาติที่ดวงวิญญาณในร่างได้รับมาความศรัทธาของเขามีสามระดับ คือ ในความดี ในตัณหา หรือในอวิชชา บัดนี้จงฟัง

คำอธิบาย

พวกที่รู้กฎเกณฑ์ของพระคัมภีร์แต่ด้วยความเกียจคร้านหรือชอบอยู่นิ่งเฉยยกเลิกการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านี้ ถูกระดับต่างๆของธรรมชาติวัตถุควบคุมตามกรรมของตนในอดีตซึ่งอาจอยู่ในระดับความดี ตัณหา หรืออวิชชา พวกเขาได้รับธรรมชาติซึ่งมีคุณลักษณะโดยเฉพาะ สิ่งมีชีวิตมาคบหาสมาคมกับระดับต่างๆของธรรมชาติ และจะดำเนินไปชั่วกัลปวสาน เนื่องจากสิ่งมีชีวิตมาสัมผัสกับธรรมชาติวัตถุจึงได้รับความรู้สึกนึกคิดต่างๆตามที่มาใกล้ชิดกับระดับต่างๆของวัตถุ แต่ธรรมชาตินี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากมาคบหาสมาคมกับพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ ให้เชื่อฟังกฎระเบียบของท่าน และกฎระเบียบของพระคัมภีร์ แล้วจะค่อยๆเปลี่ยนสถานภาพจากอวิชชามาเป็นความดี หรือจากตัณหามาเป็นความดี ข้อสรุปคือ การเชื่ออย่างงมงายในระดับของธรรมชาติโดยเฉพาะจะไม่ช่วยให้พัฒนามาสู่ระดับแห่งความสมบูรณ์ได้ เราต้องพิจารณาสิ่งต่างๆด้วยความระมัดระวัง ด้วยสติปัญญา ด้วยการมาคบหาสมาคมกับพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ จากนั้นเราจะสามารถเปลี่ยนสถานภาพของตนเองมาสู่ระดับแห่งธรรมชาติที่สูงกว่า

โศลก 3

sattvānurūpā sarvasya
śraddhā bhavati bhārata
śraddhā-mayo ’yaṁ puruṣo
yo yac-chraddhaḥ sa eva saḥ
สตฺตฺวานุรูปา สรฺวสฺย
ศฺรทฺธา ภวติ ภารต
ศฺรทฺธา-มโย ’ยํ ปุรุโษ
โย ยจฺ-ฉฺรทฺธห์ ส เอว สห์
สตฺตฺว-อนุรูปา — ตามความเป็นอยู่, สรฺวสฺย — ของทุกคน, ศฺรทฺธา — ความศรัทธา, ภวติ — มาเป็น, ภารต — โอ้ โอรสแห่ง ภรต, ศฺรทฺธา — ความศรัทธา, มยห์ — เต็มไปด้วย, อยมฺ — นี้, ปุรุษห์ — สิ่งมีชีวิต, ยห์ — ผู้ซึ่ง, ยตฺ — ซึ่งมี, ศฺรทฺธห์ — ความศรัทธา, สห์ — ดังนั้น, เอว — แน่นอน, สห์ — เขา

คำแปล

โอ้ โอรสแห่ง ภรต ตามความเป็นอยู่ภายใต้ระดับต่างๆของธรรมชาติ เขาวนเวียนอยู่กับความศรัทธาบางชนิด กล่าวว่าสิ่งมีชีวิตอยู่ในความศรัทธาบางชนิด ตามระดับที่เขาได้รับมา

คำอธิบาย

ทุกคนมีความศรัทธาบางอย่างไม่ว่าจะเป็นใคร แต่ความศรัทธาพิจารณาว่าอยู่ในความดี ตัณหา หรืออวิชชา ตามธรรมชาติที่ตนได้รับมา ดังนั้นตามความศรัทธาโดยเฉพาะนี้เราจึงมาคบหากับบุคคลบางประเภทดังที่ได้กล่าวไว้ในบทที่สิบห้า ความจริงคือทุกๆชีวิตเดิมทีเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ ฉะนั้นเดิมทีตัวเราเป็นทิพย์อยู่เหนือระดับแห่งธรรมชาติวัตถุทั้งหลาย แต่เมื่อลืมความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า และมาสัมผัสกับธรรมชาติวัตถุในพันธชีวิต เขาสร้างจุดยืนของตัวเองด้วยการมาคบหาสมาคมกับธรรมชาติวัตถุระดับต่างๆ ผลแห่งความศรัทธาและความเป็นอยู่ที่ผิดธรรมชาติเป็นเพียงวัตถุเท่านั้น ถึงแม้อาจปฏิบัติตามความรู้สึกว่าประทับใจบางอย่างหรือตามแนวคิดชีวิตบางอย่าง เดิมทีตัวเราเป็น นิรฺคุณ หรือเป็นทิพย์ ดังนั้นเราต้องชะล้างมลทินทางวัตถุที่ครอบงำตัวเราเพื่อจะได้รับความสัมพันธ์ที่มีต่อองค์ภควานฺกลับคืนมา ซึ่งเป็นวิถีทางเดียวที่จะกลับคืนไปโดยไม่มีความกลัว และนั่นคือกฺฤษฺณจิตสำนึก หากสถิตในกฺฤษฺณจิตสำนึกวิถีทางนี้รับประกันได้ในการพัฒนาไปสู่ระดับแห่งความสมบูรณ์ หากเราไม่ปฏิบัติตามวิธีเพื่อการรู้แจ้งแห่งตนนี้แน่นอนว่าเราจะต้องประพฤติตนภายใต้อิทธิพลของระดับต่างๆแห่งธรรมชาติ

คำว่า ศฺรทฺธา หรือ “ศรัทธา” มีความสำคัญมากในโศลกนี้ ศฺรทฺธา หรือความศรัทธาเดิมทีออกมาจากระดับความดี ความศรัทธาของเราอาจมีอยู่ในเทวดาในพระเจ้าบางองค์ที่สร้างขึ้นมา หรือในการคาดคะเนทางจิตบางอย่าง ความศรัทธาอันแน่วแน่ถือว่าเป็นผลผลิตของระดับความดีทางวัตถุ แต่ในสภาวะชีวิตวัตถุไม่มีงานใดที่มีความบริสุทธิ์โดยสมบูรณ์ มันจะเป็นการผสมผสานซึ่งไม่ใช่ความดีบริสุทธิ์ ความดีบริสุทธิ์เป็นทิพย์ ในความดีบริสุทธิ์เราสามารถเข้าใจธรรมชาติอันแท้จริงของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ตราบใดที่ความศรัทธาไม่อยู่ในความดีบริสุทธิ์อย่างสมบูรณ์ ความศรัทธาก็อาจอยู่ภายใต้มลทินจากหนึ่งในระดับของธรรมชาติวัตถุ ระดับอันเป็นมลทินของธรรมชาติวัตถุแผ่ขยายไปถึงหัวใจ ฉะนั้นตามสถานภาพของหัวใจในการที่มาสัมผัสกับระดับแห่งธรรมชาติวัตถุโดยเฉพาะของตนความศรัทธาจึงมั่นคง ควรเข้าใจว่าหากหัวใจอยู่ในระดับความดีความศรัทธาของเราก็อยู่ในระดับความดีเช่นกัน หากหัวใจอยู่ในระดับตัณหาความศรัทธาของเราก็อยู่ในระดับตัณหาเช่นกัน และหากหัวใจอยู่ในระดับความมืด ความหลง ความศรัทธาของเราก็เป็นมลทินเช่นเดียวกัน ดังนั้นเราพบความศรัทธาต่างๆในโลกนี้ และมีศาสนาต่างๆเนื่องมาจากความศรัทธาที่แตกต่างกัน หลักธรรมอันแท้จริงของความศรัทธาแห่งศาสนาสถิตในระดับความดีบริสุทธิ์ แต่เนื่องจากหัวใจที่แปดเปื้อนเราจึงพบหลักธรรมศาสนาที่แตกต่างกัน ดังนั้นตามความศรัทธาในระดับต่างๆจึงมีการบูชาที่แตกต่างกัน

โศลก 4

yajante sāttvikā devān
yakṣa-rakṣāṁsi rājasāḥ
pretān bhūta-gaṇāṁś cānye
yajante tāmasā janāḥ
ยชนฺเต สาตฺตฺวิกา เทวานฺ
ยกฺษ-รกฺษำสิ ราชสาห์
เปฺรตานฺ ภูต-คณำศฺ จาเนฺย
ยชนฺเต ตามสา ชนาห์
ยชนฺเต — บูชา, สาตฺตฺวิกาห์ — พวกที่อยู่ในระดับความดี, เทวานฺ — เหล่าเทวดา, ยกฺษ-รกฺษำสิ — เหล่ามาร, ราชสาห์ — พวกที่อยู่ในระดับตัณหา, เปฺรตานฺ — ดวงวิญญาณของผู้ตาย, ภูต-คณานฺ — ภูตผี, — และ, อเนฺย — สิ่งอื่นๆ, ยชนฺเต — บูชา, ตามสาห์ — ในระดับอวิชชา, ชนาห์ — ผู้คน

คำแปล

มนุษย์ในระดับความดีบูชาเทวดา พวกที่อยู่ในระดับตัณหาบูชามาร และพวกที่อยู่ในระดับอวิชชาบูชาภูตผีและดวงวิญญาณ

คำอธิบาย

โศลกนี้บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงอธิบายผู้บูชาต่างๆตามกิจกรรมภายนอก ตามคำสั่งสอนของพระคัมภีร์บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้นที่ควรได้รับการบูชา แต่พวกที่ไม่ศรัทธาหรือไม่รอบรู้คำสั่งสอนของพระคัมภีร์มากนักจะบูชาสิ่งต่างๆตามสถานภาพโดยเฉพาะของตนในระดับต่างๆของธรรมชาติวัตถุ พวกที่สถิตในความดีโดยทั่วไปบูชาเทวดารวมทั้งพระพรหม พระศิวะ และองค์อื่นๆเช่น พระอินทร์ พระจันทร์ และพระอาทิตย์ มีเทวดามากมาย พวกที่อยู่ในความดีบูชาเทวดาเฉพาะองค์เพื่อจุดมุ่งหมายโดยเฉพาะ พวกที่อยู่ในระดับตัณหาบูชามาร เราคงจำได้ว่าระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ชายผู้หนึ่งที่กัลกัตตาบูชาฮิตเลอร์ด้วยความรู้สึกขอบคุณสงครามที่ทำให้เขาร่ำรวยมหาศาลกับการทำธุรกิจในตลาดมืด ในทำนองเดียวกันพวกที่อยู่ในระดับตัณหาและอวิชชาโดยทั่วไปจะเลือกมนุษย์ผู้มีอำนาจเป็นพระเจ้า โดยคิดว่าบูชาผู้ใดในฐานะที่เป็นพระเจ้าก็ได้แล้วจะบรรลุผลเช่นเดียวกัน

ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนตรงนี้ว่า พวกที่อยู่ในระดับตัณหาบูชาและสร้างเทพเหล่านี้ พวกที่อยู่ในระดับอวิชชา ในความมืดบูชาดวงวิญญาณที่ตายไปแล้ว บางครั้งผู้คนบูชาสุสานของคนตาย การบริการทางเพศพิจารณาว่าอยู่ในระดับความมืดเช่นเดียวกัน ในทำนองเดียวกันหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลในประเทศอินเดียมีคนบูชาภูตผี เราพบว่าในประเทศอินเดียชนชั้นที่ต่ำบางครั้งไปในป่าและหากรู้ว่ามีผีอยู่ในต้นไม้ก็จะบูชาต้นไม้และถวายเครื่องสังเวย การบูชาต่างๆเหล่านี้ไม่ใช่เป็นการบูชาองค์ภควานฺที่แท้จริง การบูชาองค์ภควานฺมีไว้สำหรับบุคคลที่สถิตในระดับทิพย์อยู่ในความดีบริสุทธิ์ ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (4.3.23) กล่าวไว้ว่า สตฺตฺวํ วิศุทฺธํ วสุเทว-ศพฺทิตมฺ “เมื่อมนุษย์สถิตในความดีบริสุทธิ์เขาจะบูชา วาสุเทว คำแปลคือ พวกที่บริสุทธิ์จากระดับแห่งธรรมชาติวัตถุโดยสมบูรณ์และสถิตในระดับทิพย์จะบูชาองค์ภควานฺ

พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์ถือว่าสถิตในระดับความดีและบูชาเทวดาห้าประเภทคือ บูชาองค์วิษฺณุที่ไร้รูปลักษณ์ในรูปของโลกวัตถุซึ่งรู้กันในชื่อปรัชญา วิษฺณุ พระวิษฺณุทรงเป็นภาคแบ่งแยกขององค์ภควานฺ แต่พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์เพราะสุดท้ายก็ไม่เชื่อในบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า จินตนาการว่ารูปลักษณ์ของพระวิษฺณุก็เหมือนอีกมุมหนึ่งของ พฺรหฺมนฺ ที่ไร้รูปลักษณ์ ในทำนองเดียวกันพวกนี้จะจินตนาการว่าพระพรหมก็ไร้รูปลักษณ์และอยู่ในระดับตัณหาทางวัตถุ บางครั้งพวกเขาอธิบายถึงเทพห้าประเภทที่บูชาได้ แต่เนื่องจากคิดว่าสัจธรรมคือ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์จึงกำจัดรูปบูชาออกทั้งหมดในตอนจบ ข้อสรุปคือ คุณลักษณะต่างๆของระดับแห่งธรรมชาติวัตถุสามารถทำให้บริสุทธิ์ได้จากการมาคบหาสมาคมกับบุคคลผู้อยู่ในธรรมชาติทิพย์

โศลก 5-6

aśāstra-vihitaṁ ghoraṁ
tapyante ye tapo janāḥ
dambhāhaṅkāra-saṁyuktāḥ
kāma-rāga-balānvitāḥ
อศาสฺตฺร-วิหิตํ โฆรํ
ตปฺยนฺเต เย ตโป ชนาห์
ทมฺภาหงฺการ-สํยุกฺตาห์
กาม-ราค-พลานฺวิตาห์
karṣayantaḥ śarīra-sthaṁ
bhūta-grāmam acetasaḥ
māṁ caivāntaḥ śarīra-sthaṁ
tān viddhy āsura-niścayān
กรฺษยนฺตห์ ศรีร-สฺถํ
ภูต-คฺรามมฺ อเจตสห์
มำ ไจวานฺตห์ ศรีร-สฺถํ
ตานฺ วิทฺธฺยฺ อาสุร-นิศฺจยานฺ
อศาสฺตฺร — ไม่อยู่ในพระคัมภีร์, วิหิตมฺ — ชี้นำ, โฆรมฺ — เป็นภัยต่อผู้อื่น, ตปฺยนฺเต — ปฏิบัติ, เย — เขาเหล่านั้น, ตปห์ — สมถะ, ชนาห์ — บุคคล, ทมฺภ — ด้วยความยโส, อหงฺการ — และอหังการ, สํยุกฺตาห์ — ปฏิบัติ, กาม — ราคะ, ราค — และยึดติด, พล — ด้วยพลัง, อนฺวิตาห์ — มนต์สะกด, กรฺษยนฺตห์ — ทรมาน, ศรีร-สฺถมฺ — สถิตภายในร่างกาย, ภูต-คฺรามมฺ — การรวมตัวกันของธาตุวัตถุ, อเจตสห์ — มีความคิดที่นำไปในทางที่ผิด, มามฺ — ข้า, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, อนฺตห์ — ภายใน, ศรีร-สฺถมฺ — สถิตในร่างกาย, ตานฺ — พวกเขา, วิทฺธิ — เข้าใจ, อาสุร-นิศฺจยานฺ — เหล่ามาร

คำแปล

พวกที่ปฏิบัติสมถะและบำเพ็ญเพียรอย่างเคร่งครัดโดยที่ไม่ได้แนะนำไว้ในพระคัมภีร์ ปฏิบัติด้วยความยโส และมีอหังการ ผู้อยู่ภายใต้มนต์สะกดของราคะ และการยึดติด ผู้ที่โง่เขลา และทรมานธาตุวัตถุของร่างกาย พร้อมทั้งทรมานองค์อภิวิญญาณผู้ทรงประทับอยู่ภายใน จงรู้ว่าพวกนี้เป็นมาร

คำอธิบาย

มีบุคคลผู้ผลิตวิธีปฏิบัติสมถะและบำเพ็ญเพียรซึ่งไม่ได้กล่าวไว้ในคำสอนของพระคัมภีร์ ตัวอย่างคือ การอดอาหารเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างอื่น เพื่อให้ได้ตำแหน่งทางการเมืองซึ่งไม่แนะนำไว้ในคำสอนของพระคัมภีร์ แต่แนะนำให้อดอาหารเพื่อความเจริญก้าวหน้าในวิถีทิพย์ ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองหรือจุดมุ่งหมายทางสังคม ผู้ที่ปฏิบัติสมถะเช่นนี้ตาม ภควัท-คีตา ถือว่าเป็นมารอย่างแน่นอน การกระทำของเขาฝ่าฝืนคำสั่งสอนของพระคัมภีร์ และจะไม่เป็นประโยชน์สำหรับผู้คนโดยทั่วไป อันที่จริงพวกนี้ปฏิบัติด้วยความยโส มีอหังการ มีราคะ และยึดติดกับความรื่นเริงทางวัตถุจากกิจกรรมเหล่านี้ไม่เพียงแต่การรวมตัวกันของธาตุวัตถุ ซึ่งได้สร้างร่างกายนี้ขึ้นมาถูกรบกวน แต่องค์ภควานฺผู้ทรงประทับอยู่ภายในร่างกายเองก็ถูกรบกวนเช่นกัน การอดอาหารหรือการปฏิบัติสมถะที่ไม่น่าเชื่อถือเช่นนี้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง แน่นอนว่าจะทำให้ผู้อื่นเดือนร้อนเป็นอย่างมากซึ่งไม่ได้แนะนำไว้ในวรรณกรรมพระเวท คนมารอาจคิดว่าสามารถบังคับศัตรูของตนหรือพรรคอื่นให้ทำตามความปรารถนาของตนด้วยวิธีนี้ แต่บางครั้งตัวเองอาจจะตายจากการอดอาหาร การกระทำเช่นนี้บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าไม่ทรงอนุญาต พระองค์ตรัสว่าพวกที่กระทำเช่นนี้เป็นมาร การแสดงเช่นนี้เป็นการดูหมิ่นองค์ภควานฺ เพราะเกี่ยวเนื่องกับการไม่เชื่อฟังตามคำสั่งสอนของคัมภีร์พระเวท คำว่า อเจตสห์ มีความสำคัญในประเด็นนี้ บุคคลผู้มีสภาวะทางจิตปกติต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนของพระคัมภีร์ พวกที่ไม่อยู่ในสภาวะเช่นนี้ปฏิเสธและไม่เชื่อฟังพระคัมภีร์ ผลิตวิธีสมถะและบำเพ็ญเพียรของตนเองขึ้นมา เราควรจำจุดมุ่งหมายสูงสุดของพวกมารไว้เสมอดังที่ได้อธิบายในบทก่อนหน้านี้ องค์ภควานฺทรงบังคับพวกเขาให้เกิดในครรภ์ของมาร ดังนั้นจึงใช้ชีวิตตามหลักมารชาติแล้วชาติเล่า โดยไม่รู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า อย่างไรก็ดีถ้าหากบุคคลเหล่านี้โชคดีพอที่ได้รับคำชี้นำจากพระอาจารย์ทิพย์ผู้สามารถนำพาให้ไปสู่วิถีทางแห่งปัญญาพระเวท พวกเขาจะสามารถออกจากพันธนาการนี้ และในที่สุดบรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุด

โศลก 7

āhāras tv api sarvasya
tri-vidho bhavati priyaḥ
yajñas tapas tathā dānaṁ
teṣāṁ bhedam imaṁ śṛṇu
อาหารสฺ ตฺวฺ อปิ สรฺวสฺย
ตฺริ-วิโธ ภวติ ปฺริยห์
ยชฺญสฺ ตปสฺ ตถา ทานํ
เตษำ เภทมฺ อิมํ ศฺฤณุ
อาหารห์ — การกิน, ตุ — แน่นอน, อปิ — เช่นกัน, สรฺวสฺย — ของทุกคน, ตฺริ-วิธห์ — ของสามประเภท, ภวติ — มี, ปฺริยห์ — ชอบ, ยชฺญห์ — การบูชา, ตปห์ — สมถะ, ตถา — เช่นกัน, ทานมฺ — การให้ทาน, เตษามฺ — ของพวกเขา, เภทมฺ — ข้อแตกต่าง, อิมมฺ — นี้, ศฺฤณุ — สดับฟัง

คำแปล

แม้แต่อาหารที่แต่ละคนชอบก็มีอยู่สามประเภทตามสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ และการบูชา ความสมถะ และการให้ทานก็เช่นเดียวกัน บัดนี้จงฟังข้อแตกต่างเหล่านี้

คำอธิบาย

เกี่ยวกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันในระดับต่างๆของธรรมชาติวัตถุ มีข้อแตกต่างในลักษณะการรับประทาน และการปฏิบัติพิธีบูชา ความสมถะ และการให้ทาน ผู้คนไม่ได้ปฏิบัติในระดับเดียวกัน บุคคลผู้เข้าใจในเชิงวิเคราะห์ว่าการปฏิบัติเช่นไรจะอยู่ในระดับไหนของธรรมชาติวัตถุเป็นผู้ที่มีปัญญาโดยแท้จริง พวกที่พิจารณาว่าพิธีบูชา อาหาร หรือการให้ทานทั้งหมดเหมือนกันโดยไม่สามารถแยกแยะได้ บุคคลเหล่านี้โง่เขลา มีพวกนักสอนศาสนาที่ประกาศว่าเราสามารถทำอะไรก็ได้ตามใจชอบแล้วจะบรรลุถึงความสมบูรณ์ การแนะนำโง่ๆเช่นนี้มิได้เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระคัมภีร์ พวกนี้ผลิตวิธีการขึ้นมาเองและนำผู้คนโดยทั่วไปไปในทางที่ผิด

โศลก 8

āyuḥ-sattva-balārogya-
sukha-prīti-vivardhanāḥ
rasyāḥ snigdhāḥ sthirā hṛdyā
āhārāḥ sāttvika-priyāḥ
อายุห์-สตฺตฺว-พลาโรคฺย-
สุข-ปฺรีติ-วิวรฺธนาห์
รสฺยาห์ สฺนิคฺธาห์ สฺถิรา หฺฤทฺยา
อาหาราห์ สาตฺตฺวิก-ปฺริยาห์
อายุห์ — อายุของชีวิต, สตฺตฺว — เป็นอยู่, พล — พลัง, อาโรคฺย — สุขภาพ, สุข — ความสุข, ปฺรีติ — และความพึงพอใจ, วิวรฺธนาห์ — เพิ่มพูน, รสฺยาห์ — ชุ่มฉ่ำ, สฺนิคฺธาห์ — มีไขมัน, สฺถิราห์ — ทนทาน, หฺฤทฺยาห์ — เป็นที่ชื่นชอบของหัวใจ, อาหาราห์ — อาหาร, สาตฺตฺวิก — ของผู้ที่อยู่ในความดี, ปฺริยาห์ — เอร็ดอร่อย

คำแปล

อาหารซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของผู้อยู่ในระดับความดี ทำให้อายุยืน ความเป็นอยู่บริสุทธิ์ขึ้น ให้พลัง ทำให้สุขภาพดี มีความสุข และเกิดความพึงพอใจ อาหารประเภทนี้ชุ่มฉ่ำ มีไขมัน เหมาะแก่สุขภาพ และเป็นที่ชื่นชอบของหัวใจ

โศลก 9

kaṭv-amla-lavaṇāty-uṣṇa-
tīkṣṇa-rūkṣa-vidāhinaḥ
āhārā rājasasyeṣṭā
duḥkha-śokāmaya-pradāḥ
กฏฺวฺ-อมฺล-ลวณาตฺยฺ-อุษฺณ-
ตีกฺษฺณ-รูกฺษ-วิทาหินห์
อาหารา ราชสเสฺยษฺฏา
ทุห์ข-โศกามย-ปฺรทาห์
กฏุ — ขม, อมฺล — เปรี้ยว, ลวณ — เค็ม, อติ-อุษฺณ — เผ็ดมาก, ตีกฺษฺณ — ฉุน, รูกฺษ — แห้ง, วิทาหินห์ — เผาไหม้, อาหาราห์ — อาหาร, ราชสสฺย — ของผู้อยู่ในระดับตัณหา, อิษฺฏาห์ — เอร็ดอร่อย, ทุห์ข — ความทุกข์, โศก — ความโศก, อามย — เชื้อโรค, ปฺรทาห์ — ก่อให้เกิด

คำแปล

อาหารที่มีรสชาติเหล่านี้มากเกินไป เช่น ขม เปรี้ยว เค็ม เผ็ด ฉุน แห้ง และเผาไหม้ เป็นที่ชื่นชอบของพวกที่อยู่ในระดับตัณหา อาหารเช่นนี้ก่อให้เกิดความทุกข์ ความโศก และโรคภัยไข้เจ็บ

โศลก 10

yāta-yāmaṁ gata-rasaṁ
pūti paryuṣitaṁ ca yat
ucchiṣṭam api cāmedhyaṁ
bhojanaṁ tāmasa-priyam
ยาต-ยามํ คต-รสํ
ปูติ ปรฺยุษิตํ จ ยตฺ
อุจฺฉิษฺฏมฺ อปิ จาเมธฺยํ
โภชนํ ตามส-ปฺริยมฺ
ยาต-ยามมฺ — อาหารที่ปรุงสามชั่วโมงก่อนรับประทาน, คต-รสมฺ — ไม่มีรสชาติ, ปูติ — กลิ่นเหม็น, ปรฺยุษิตมฺ — เน่า, — เช่นกัน, ยตฺ — ที่ซึ่ง, อุจฺฉิษฺฏมฺ — อาหารที่ผู้อื่นกินเหลือ, อปิ — เช่นกัน, — และ, อเมธฺยมฺ — ไม่น่าแตะต้อง, โภชนมฺ — การกิน, ตามส — ของผู้ที่อยู่ในระดับความมืด, ปฺริยมฺ — ชื่นชอบ

คำแปล

อาหารที่ปรุงเกินกว่าสามชั่วโมงก่อนรับประทาน อาหารที่ไม่มีรสชาติ เน่า และบูด อาหารที่ประกอบไปด้วยของเหลือ และสิ่งที่ไม่ควรแตะต้อง เป็นที่ชื่นชอบของพวกที่อยู่ในระดับแห่งความมืด

คำอธิบาย

จุดมุ่งหมายของอาหารคือ ทำให้อายุยืน จิตใจบริสุทธิ์ขึ้น และช่วยให้ร่างกายมีพลัง สิ่งเหล่านี้คือจุดมุ่งหมายหลัก ในอดีตเหล่าผู้ใหญ่ที่เชื่อถือได้ได้คัดเลือกอาหารว่าดีที่สุดในการช่วยให้สุขภาพดีและทำให้อายุยืนนั่นคือ ผลิตภัณฑ์นม น้ำตาล ข้าวสาลีแท้ ผลไม้ และผักต่างๆ อาหารเหล่านี้เป็นที่ชื่นชอบมากของพวกที่อยู่ในระดับความดี อาหารอื่นๆ เช่น ข้าวโพดอบ และกากน้ำตาล ไม่อร่อยมากนักในตัวมันเอง แต่สามารถทำให้เป็นที่ชื่นชอบได้เมื่อผสมกับนมหรืออาหารอื่นๆ ก็อยู่ในระดับความดีด้วยเช่นกัน สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดบริสุทธิ์โดยธรรมชาติ แตกต่างจากสิ่งที่ไม่ควรแตะต้อง เช่น เนื้อสัตว์ และสุรา อาหารที่มีไขมัน ดังที่ได้กล่าวไว้ในโศลกแปดไม่เกี่ยวข้องกับไขมันสัตว์ที่ได้มาจากการฆ่าสัตว์ ไขมันสัตว์หาได้ในรูปของนมซึ่งเป็นอาหารที่อัศจรรย์ที่สุดในบรรดาอาหารทั้งหลาย นม เนย ชีส และผลิตภัณฑ์ในประเภทเดียวกันนี้ให้ไขมันสัตว์ในรูปที่ไม่จำเป็นต้องไปฆ่าสิ่งมีชีวิตผู้บริสุทธิ์ ด้วยจิตใจที่เหี้ยมโหดแท้ๆที่ทำให้การเข่นฆ่าเช่นนี้ดำเนินต่อไป วิธีที่ศิวิไลในการได้มาซึ่งไขมันที่จำเป็นคือ จากนม การฆ่าสัตว์เป็นวิธีของพวกที่ต่ำกว่ามนุษย์ โปรตีนมีอยู่มากมายในถั่วกะเทาะ ดาล (ถั่วเหลือง) ข้าวสาลีแท้ (โฮลวีท )ฯลฯ

อาหารในระดับตัณหาซึ่งขมจัด เค็มจัด เผ็ดจัด หรือผสมกับพริกแดงมากเกินไปทำให้เกิดความทุกข์ เนื่องจากลดน้ำย่อยในกระเพาะ และนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บ อาหารในระดับอวิชชาหรือความมืดส่วนใหญ่เป็นจำพวกที่ไม่สด อาหารที่ปรุงนานกว่าสามชั่วโมงก่อนรับประทาน (ยกเว้นพระสาดัมอาหารที่ถวายให้องค์กฺฤษฺณแล้ว) พิจารณาว่าอยู่ในระดับความมืด เพราะว่าเน่า บูด อาหารเหล่านี้ส่งกลิ่นเหม็นซึ่งผู้คนในระดับนี้ชอบ แต่เป็นที่น่ารังเกียจของผู้ที่อยู่ในระดับความดี

อาหารเหลือที่ถวายให้องค์กฺฤษฺณแล้ว หรือถวายให้นักบุญ หรือโดยเฉพาะพระอาจารย์ทิพย์รับประทานได้ นอกนั้นอาหารเหลือถือว่าอยู่ในระดับความมืดจะทำให้ป่วยเป็นโรค อาหารเหล่านี้ถึงแม้เป็นที่ชื่นชอบมากสำหรับบุคคลในระดับความมืด พวกที่อยู่ในระดับความดีจะไม่ชอบและไม่แตะต้อง อาหารที่ดีที่สุดคือ อาหารที่เหลือหลังจากถวายให้บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ใน ภควัท-คีตา องค์ภควานฺทรงตรัสว่า พระองค์จะทรงรับอาหารที่ปรุงมาจากผัก แป้ง และนม เมื่อถวายด้วยการอุทิศตนเสียสละ ปตฺรํ ปุษฺปํ ผลํ โตยมฺ แน่นอนว่าการอุทิศตนเสียสละและความรักเป็นสิ่งสำคัญที่บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงยอมรับ แต่ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า ปฺรสาทมฺ มีวิธีปรุงโดยเฉพาะ อาหารที่ปรุงตามคำสั่งสอนของพระคัมภีร์และถวายให้บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้ารับประทานได้ แม้จะปรุงไว้นานแล้วเพราะเป็นอาหารทิพย์ ฉะนั้นการทำให้อาหารปลอดเชื้อโรคและเป็นที่เอร็ดอร่อยสำหรับทุกๆคน เราควรถวายอาหารนั้นแด่บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าก่อนที่เราจะรับประทาน

โศลก 11

aphalākāṅkṣibhir yajño
vidhi-diṣṭo ya ijyate
yaṣṭavyam eveti manaḥ
samādhāya sa sāttvikaḥ
อผลากางฺกฺษิภิรฺ ยชฺโญ
วิธิ-ทิษฺโฏ ย อิชฺยเต
ยษฺฏวฺยมฺ เอเวติ มนห์
สมาธาย ส สาตฺตฺวิกห์
อผล-อากางฺกฺษิภิห์ — โดยพวกที่ปราศจากความปรารถนาผล, ยชฺญห์ — การบูชา, วิธิ-ทิษฺฏห์ — ตามคำแนะนำของพระคัมภีร์, ยห์ — ซึ่ง, อิชฺยเต — ปฏิบัติ, ยษฺฏวฺยมฺ — ต้องปฏิบัติ, เอว — แน่นอน, อิติ — ดังนั้น, มนห์ — จิตใจ, สมาธาย — ตั้งมั่น, สห์ — มัน, สาตฺตฺวิกห์ — ในระดับความดี

คำแปล

เกี่ยวกับการบูชานั้น การบูชาที่ปฏิบัติตามคำแนะนำของพระคัมภีร์ ทำไปตามหน้าที่โดยไม่ปรารถนารางวัล อยู่ในธรรมชาติแห่งความดี

คำอธิบาย

แนวโน้มโดยทั่วไปจะถวายการบูชาด้วยมีจุดมุ่งหมายบางอย่างอยู่ในใจ แต่ตรงนี้ได้กล่าวไว้ว่า การบูชาควรปฏิบัติโดยไม่มีความปรารถนาเช่นนี้ การบูชาควรปฏิบัติไปตามหน้าที่ ตัวอย่างเช่น การปฏิบัติพิธีต่างๆในวัดหรือในโบสถ์โดยทั่วไปปฏิบัติด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุ นั่นไม่ใช่ระดับความดี เราควรไปวัดหรือไปโบสถ์ตามหน้าที่เพื่อถวายความเคารพแด่บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ถวายดอกไม้ และภัตตาหาร ทุกคนจะคิดว่าไม่มีประโยชน์ในการไปวัดเพียงเพื่อบูชาองค์ภควานฺ แต่การบูชาเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไม่ได้แนะนำไว้ในคำสอนของพระคัมภีร์ เราควรไปวัดหรือไปโบสถ์เพียงเพื่อถวายความเคารพแด่พระปฏิมา เช่นนี้จะสถิตเราให้อยู่ในระดับความดี เป็นหน้าที่ของมนุษย์ผู้มีความศิวิไลทุกคนที่ต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนของพระคัมภีร์ และถวายความเคารพแด่บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า

โศลก 12

abhisandhāya tu phalaṁ
dambhārtham api caiva yat
ijyate bharata-śreṣṭha
taṁ yajñaṁ viddhi rājasam
อภิสนฺธาย ตุ ผลํ
ทมฺภารฺถมฺ อปิ ไจว ยตฺ
อิชฺยเต ภรต-เศฺรษฺฐ
ตํ ยชฺญํ วิทฺธิ ราชสมฺ
อภิสนฺธาย — ความปรารถนา, ตุ — แต่, ผลมฺ — ผล, ทมฺภ — ความยโส, อรฺถมฺ — เพื่อประโยชน์ของ, อปิ — เช่นกัน, — และ, เอว — แน่นอน, ยตฺ — นั้นซึ่ง, อิชฺยเต — ปฏิบัติ, ภรต-เศฺรษฺฐ — โอ้ ผู้นำแห่ง ภารต, ตมฺ — นั้น, ยชฺญมฺ — การบูชา, วิทฺธิ — รู้, ราชสมฺ — ในระดับตัณหา

คำแปล

การบูชาทำไปเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุบางประการ หรือทำไปด้วยความยโส โอ้ ผู้นำแห่ง ภารต เธอควรรู้ว่าอยู่ในระดับตัณหา

คำอธิบาย

บางครั้งการบูชาและพิธีบวงสรวงปฏิบัติเพื่อพัฒนาไปสู่อาณาจักรสวรรค์ หรือเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุบางอย่างในโลกนี้ การปฏิบัติพิธีบูชาหรือบวงสรวงเช่นนี้ พิจารณาว่าอยู่ในระดับตัณหา

โศลก 13

vidhi-hīnam asṛṣṭānnaṁ
mantra-hīnam adakṣiṇam
śraddhā-virahitaṁ yajñaṁ
tāmasaṁ paricakṣate
วิธิ-หีนมฺ อสฺฤษฺฏานฺนํ
มนฺตฺร-หีนมฺ อทกฺษิณมฺ
ศฺรทฺธา-วิรหิตํ ยชฺญํ
ตามสํ ปริจกฺษเต
วิธิ-หีนมฺ — ปราศจากการชี้นำจากพระคัมภีร์, อสฺฤษฺฏ-อนฺนมฺ — ไม่มีการแจกจ่าย ปฺรสาทมฺ, มนฺตฺร-หีนมฺ — ไม่มีการสวดบทมนต์พระเวท, อทกฺษิณมฺ — ไม่มีการทำบุญให้นักบวช, ศฺรทฺธา — ความศรัทธา, วิรหิตมฺ — ปราศจาก, ยชฺญมฺ — การบูชา, ตามสมฺ — ในระดับอวิชชา, ปริจกฺษเต — พิจารณาว่า

คำแปล

การบูชาใดๆที่ทำไปโดยไม่คำนึงถึงคำแนะนำจากพระคัมภีร์ ไม่มีการแจก ปฺรสาทมฺ (อาหารทิพย์) ไม่มีการสวดบทมนต์พระเวท ไม่ทำบุญให้นักบวช และไม่มีความศรัทธา พิจารณาว่าอยู่ในระดับอวิชชา

คำอธิบาย

ความศรัทธาในระดับความมืดหรืออวิชชาอันที่จริงคือ ความไม่ศรัทธา บางครั้งผู้คนบูชาเทวดาบางองค์เพียงเพื่อหาเงิน และใช้เงินนั้นไปเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจโดยไม่สนใจกับคำสั่งสอนของพระคัมภีร์ พิธีกรรมทางศาสนาที่แสดงออกมาเช่นนี้ไม่ยอมรับว่ามีความจริงใจ พวกเขาทั้งหมดอยู่ในระดับความมืด ผลิตแนวคิดมารออกมาและไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคมมนุษย์

โศลก 14

deva-dvija-guru-prājña-
pūjanaṁ śaucam ārjavam
brahmacaryam ahiṁsā ca
śārīraṁ tapa ucyate
เทว-ทฺวิช-คุรุ-ปฺราชฺญ-
ปูชนํ เศาจมฺ อารฺชวมฺ
พฺรหฺมจรฺยมฺ อหึสา จ
ศารีรํ ตป อุจฺยเต
เทว — ขององค์ภควาน, ทฺวิช พฺราหฺมณ, คุรุ — พระอาจารย์ทิพย์, ปฺราชฺญ — และบุคคลผู้ควรบูชา, ปูชนมฺ — บูชา, เศาจมฺ — ความสะอาด, อารฺชวมฺ — ความเรียบง่าย, พฺรหฺมจรฺยมฺ — พรหมจรรย์, อหึสา — ไม่เบียดเบียน, — เช่นกัน, ศารีรมฺ — เกี่ยวกับร่างกาย, ตปห์, อุจฺยเต — กล่าวว่าเป็น

คำแปล

ความสมถะของร่างกายประกอบด้วย การบูชาองค์ภควานฺ บูชา พฺราหฺมณ บูชาพระอาจารย์ทิพย์ และบูชาบุพการี เช่น บิดา มารดา มีความสะอาด เรียบง่าย ถือพรหมจรรย์ และไม่เบียดเบียน

คำอธิบาย

ที่นี้ องค์ภควานฺทรงอธิบายถึงความสมถะและการบำเพ็ญเพียรต่างๆ ข้อแรกทรงอธิบายถึงการปฏิบัติสมถะและการบำเพ็ญเพียรของร่างกายว่า เราควรถวายหรือเรียนรู้ในการถวายความเคารพต่อองค์ภควานฺหรือต่อเทวดา พฺราหฺมณ ผู้ทรงคุณวุฒิที่สมบูรณ์ และพระอาจารย์ทิพย์ พร้อมทั้งบุพการี เช่น บิดา มารดา หรือบุคคลผู้เชี่ยวชาญในความรู้พระเวท บุคคลเหล่านี้ควรได้รับความเคารพอย่างเหมาะสม เราควรปฏิบัติทำความสะอาดตนเองทั้งภายนอกและภายใน และควรเรียนรู้ให้เป็นคนที่มีความประพฤติเรียบง่าย ไม่ควรทำในสิ่งที่คำสอนของพระคัมภีร์ไม่อนุญาต และไม่ควรปล่อยอารมณ์ไปในเพศสัมพันธ์ที่นอกเหนือไปจากชีวิตสมรส เนื่องจากพระคัมภีร์อนุญาตเพศสัมพันธ์ให้เฉพาะคู่สมรสเท่านั้น เช่นนี้เรียกว่าถือพรหมาจรรย์ สิ่งเหล่านี้คือ การบำเพ็ญเพียร และความสมถะสำหรับร่างกาย

โศลก 15

anudvega-karaṁ vākyaṁ
satyaṁ priya-hitaṁ ca yat
svādhyāyābhyasanaṁ caiva
vāṅ-mayaṁ tapa ucyate
อนุเทฺวค-กรํ วากฺยํ
สตฺยํ ปฺริย-หิตํ จ ยตฺ
สฺวาธฺยายาภฺยสนํ ไจว
วางฺ-มยํ ตป อุจฺยเต
อนุเทฺวค-กรมฺ — ไม่เร่าร้อน, วากฺยมฺ — คำพูด, สตฺยมฺ — สัจจะ, ปฺริย — รัก, หิตมฺ — เป็นประโยชน์, — เช่นกัน, ยตฺ — ซึ่ง, สฺวาธฺยาย — ของการศึกษาพระเวท, อภฺยสนมฺ — ปฏิบัติ, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, วากฺ-มยมฺ — ของเสียง, ตปห์ — ความสมถะ, อุจฺยเต — กล่าวว่าเป็น

คำแปล

ความสมถะในการพูดประกอบด้วย คำพูดที่เป็นสัจจะ รื่นหู เป็นประโยชน์ ไม่ทำให้ผู้อื่นเร่าร้อน และท่องวรรณกรรมพระเวทสม่ำเสมอ

คำอธิบาย

เราไม่ควรพูดสิ่งที่จะทำให้จิตใจของผู้อื่นเร่าร้อน แน่นอนว่าเมื่อครูพูดท่านสามารถพูดความจริงเพื่อสั่งสอนศิษย์ แต่ครูไม่ควรพูดกับผู้ที่ไม่ใช่ศิษย์ของตนหากจะทำให้จิตใจของพวกเขาเร่าร้อน นี่คือการบำเพ็ญเพียรในการพูด นอกจากนั้นเราไม่ควรพูดสิ่งที่ไร้สาระ วิธีการพูดในสังคมทิพย์คือ พูดสิ่งที่พระคัมภีร์สนับสนุน เราควรอ้างอิงพระคัมภีร์ที่เชื่อถือได้ในทันทีเพื่อสนับสนุนสิ่งที่ได้พูดไป ในขณะเดียวกันการสนทนาควรให้เป็นที่รื่นหู จากการสนทนากันเช่นนี้เราอาจได้รับผลประโยชน์สูงสุดและจะช่วยพัฒนาสังคมมนุษย์ มีวรรณกรรมพระเวทมากมายมหาศาลที่ควรศึกษา เช่นนี้เรียกว่าเป็นการบำเพ็ญเพียรในการพูด

โศลก 16

manaḥ-prasādaḥ saumyatvaṁ
maunam ātma-vinigrahaḥ
bhāva-saṁśuddhir ity etat
tapo mānasam ucyate
มนห์-ปฺรสาทห์ เสามฺยตฺวํ
เมานมฺ อาตฺม-วินิคฺรหห์
ภาว-สํศุทฺธิรฺ อิตฺยฺ เอตตฺ
ตโป มานสมฺ อุจฺยเต
มนห์-ปฺรสาทห์ — ความพึงพอใจของจิต, เสามฺยตฺวมฺ — ไม่ตีสองหน้ากับผู้อื่น, เมานมฺ — ความจริงจัง, อาตฺม — ของตัวเขา, วินิคฺรหห์ — ควบคุม, ภาว — ธรรมชาติของตน, สํศุทฺธิห์ — ความบริสุทธิ์, อิติ — ดังนั้น, เอตตฺ — นี้, ตปห์ — ความสมถะ, มานสมฺ — ของจิต, อุจฺยเต — กล่าวว่าเป็น

คำแปล

มีความพึงพอใจ เรียบง่าย จริงจัง ควบคุมตนเองได้ และมีความบริสุทธิ์ในชีวิตความเป็นอยู่ เป็นความสมถะของจิตใจ

คำอธิบาย

การทำให้จิตใจมีความสมถะคือ ไม่ให้จิตใจไปยึดติดกับการสนองประสาทสัมผัส จิตใจควรได้รับการฝึกฝนจนสามารถคิดถึงการทำดีต่อผู้อื่นอยู่เสมอ วิธีการฝึกฝนจิตใจที่ดีที่สุดคือ มีความจริงจังในความคิด ไม่ควรเบี่ยงเบนจากกฺฤษฺณจิตสำนึก และต้องหลีกเลี่ยงการสนองประสาทสัมผัสอยู่เสมอ การทำให้ธรรมชาติของตนเองบริสุทธิ์คือ มีกฺฤษฺณจิตสำนึก ความพึงพอใจของจิตบรรลุได้ด้วยเพียงแต่นำจิตใจออกห่างจากความคิดเพื่อรื่นรมย์ทางประสาทสัมผัส หากเราคิดถึงแต่ความรื่นรมย์ทางประสาทสัมผัสมากเท่าไรจิตใจก็จะไม่มีความพึงพอใจมากเท่านั้น ในยุคปัจจุบันเราใช้จิตใจไปในหลายๆทางเพื่อสนองประสาทสัมผัสโดยไม่จำเป็น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จิตใจจะมีความพึงพอใจ วิธีที่ดีที่สุดคือ หันเหจิตใจมาที่คัมภีร์พระเวทซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าพึงพอใจ ใน ปุราณ และ มหาภารต เราจะได้รับประโยชน์จากความรู้นี้และกลายมาเป็นผู้บริสุทธิ์ จิตใจของเราควรหลีกเลี่ยงความไม่ซื่อตรง และควรคิดถึงประโยชน์สุขของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ความนิ่งเงียบหมายความว่า เราคิดถึงความรู้แจ้งแห่งตนเสมอ บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกถือปฏิบัติความนิ่งเงียบอย่างสมบูรณ์ด้วยเหตุผลนี้ การควบคุมจิตใจหมายถึง ไม่ให้จิตใจยึดติดอยู่กับความรื่นเริงทางประสาทสัมผัส เราควรเป็นคนตรงไปตรงมาในการสัมพันธ์กับผู้อื่นและทำให้ชีวิตความเป็นอยู่บริสุทธิ์ คุณสมบัติทั้งหลายเหล่านี้รวมกันเป็นองค์ประกอบแห่งความสมถะทางจิตใจ

โศลก 17

śraddhayā parayā taptaṁ
tapas tat tri-vidhaṁ naraiḥ
aphalākāṅkṣibhir yuktaiḥ
sāttvikaṁ paricakṣate
ศฺรทฺธยา ปรยา ตปฺตํ
ตปสฺ ตตฺ ตฺริ-วิธํ นไรห์
อผลากางฺกฺษิภิรฺ ยุกฺไตห์
สาตฺตฺวิกํ ปริจกฺษเต
ศฺรทฺธยา — ด้วยความศรัทธา, ปรยา — ทิพย์, ตปฺตมฺ — ปฏิบัติ, ตปห์ — ความสมถะ, ตตฺ — นั้น, ตฺริ-วิธมฺ — ของสามประเภท, นไรห์ — โดยมนุษย์, อผล-อากางฺกฺษิภิห์ — ผู้ไม่ปรารถนาผลประโยชน์, ยุกฺไตห์ — ปฏิบัติ, สาตฺตฺวิกมฺ — ในระดับความดี, ปริจกฺษเต — เรียกว่า

คำแปล

ความสมถะทั้งสามส่วนนี้ มนุษย์ผู้ไม่หวังผลประโยชน์ทางวัตถุแต่ปฏิบัติด้วยความศรัทธาในวิถีทิพย์เพื่อองค์ภควานเท่านั้น เรียกว่า ความสมถะในระดับความดี

โศลก 18

satkāra-māna-pūjārthaṁ
tapo dambhena caiva yat
kriyate tad iha proktaṁ
rājasaṁ calam adhruvam
สตฺการ-มาน-ปูชารฺถํ
ตโป ทมฺเภน ไจว ยตฺ
กฺริยเต ตทฺ อิห โปฺรกฺตํ
ราชสํ จลมฺ อธฺรุวมฺ
สตฺ-การ — เคารพ, มาน — เกียรติยศ, ปูชา — และบูชา, อรฺถมฺ — เพื่อ, ตปห์ — ความสมถะ, ทมฺเภน — ด้วยความยโส, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, ยตฺ — ซึ่ง, กฺริยเต — ปฏิบัติ, ตตฺ — นั้น, อิห — ในโลกนี้, โปฺรกฺตมฺ — กล่าวว่า, ราชสมฺ — ในระดับตัณหา, จลมฺ — ชั่ววูบเดียว, อธฺรุวมฺ — ไม่ถาวร

คำแปล

การบำเพ็ญเพียรที่ทำด้วยความยโส ทำไปเพื่อให้ได้รับการเคารพบูชา และเกียรติยศชื่อเสียง กล่าวว่าอยู่ในระดับตัณหา จึงไม่ยั่งยืนถาวร

คำอธิบาย

บางครั้งการบำเพ็ญเพียรและความสมถะปฏิบัติไปเพื่อเรียกความสนใจจากผู้อื่น ทำให้ตนเองได้รับเกียรติยศ ความเคารพ และบูชา บุคคลในระดับตัณหาจะตระเตรียมเพื่อให้บริวารมากราบไหว้บูชา ถวายทรัพย์สินเงินทอง พร้อมทั้งล้างเท้าให้ผู้บำเพ็ญเพียรที่เตรียมการอันผิดธรรมชาติ เช่นนี้พิจารณาว่าอยู่ในระดับตัณหา ผลที่ได้รับจะไม่ถาวร อาจทำต่อเนื่องได้ช่วงเวลาหนึ่ง แต่จะไม่ยั่งยืน

โศลก 19

mūḍha-grāheṇātmano yat
pīḍayā kriyate tapaḥ
parasyotsādanārthaṁ vā
tat tāmasam udāhṛtam
มูฒ-คฺราเหณาตฺมโน ยตฺ
ปีฑยา กฺริยเต ตปห์
ปรโสฺยตฺสาทนารฺถํ วา
ตตฺ ตามสมฺ อุทาหฺฤตมฺ
มูฒ — โง่, คฺราเหณ — ด้วยความพยายาม, อาตฺมนห์ — ของตัวเขา, ยตฺ — ซึ่ง, ปีฑยา — ด้วยการทรมาน, กฺริยเต — ปฏิบัติ, ตปห์ — การบำเพ็ญเพียร, ปรสฺย — ผู้อื่น, อุตฺสาทน-อรฺถมฺ — เพื่อสร้างความหายนะ, วา — หรือ, ตตฺ — นั้น, ตามสมฺ — ในระดับความมืด, อุทาหฺฤตมฺ — กล่าวว่าเป็น

คำแปล

การบำเพ็ญเพียรทำไปด้วยความโง่ ด้วยการทรมานตนเอง มุ่งเพื่อทำลาย หรือทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ กล่าวว่าอยู่ในระดับอวิชชา

คำอธิบาย

มีตัวอย่างของการบำเพ็ญเพียรอย่างโง่เขลาที่เหล่ามารปฏิบัติ เช่น หิรณฺยกศิปุ ผู้บำเพ็ญเพียรอย่างเคร่งครัดเพื่อให้กลายมาเป็นผู้อยู่ยงคงกระพันและสามารถสังหารเทวดา เขาสวดภาวนาต่อพระหรพมเพื่อสิ่งเหล่านี้ แต่ในที่สุดตนเองได้ถูกองค์ภควานฺสังหาร การบำเพ็ญเพียรเพื่อบางสิ่งที่เป็นไปไม่ได้แน่นอนว่าอยู่ในระดับอวิชชา

โศลก 20

dātavyam iti yad dānaṁ
dīyate ’nupakāriṇe
deśe kāle ca pātre ca
tad dānaṁ sāttvikaṁ smṛtam
ทาตวฺยมฺ อิติ ยทฺ ทานํ
ทียเต ’นุปการิเณ
เทเศ กาเล จ ปาเตฺร จ
ตทฺ ทานํ สาตฺตฺวิกํ สฺมฺฤตมฺ
ทาตวฺยมฺ — มีคุณค่าในการให้, อิติ — ดังนั้น, ยตฺ — ซึ่ง, ทานมฺ — การให้ทาน, ทียเต — ให้, อนุปการิเณ — ไม่คำนึงถึงสิ่งตอบแทน, เทเศ — ในสถานที่เหมาะสม, กาเล — เวลาที่เหมาะสม, — เช่นกัน, ปาเตฺร — แก่บุคคลผู้เหมาะสม, — และ, ตตฺ — นั้น, ทานมฺ — การให้ทาน, สาตฺตฺวิกมฺ — ในระดับความดี, สฺมฺฤตมฺ — พิจารณา

คำแปล

การให้ทานที่ทำไปตามหน้าที่โดยไม่หวังผลตอบแทน ถูกกาลเทศะ และให้แก่บุคคลผู้ควรค่า พิจารณาว่าอยู่ในระดับความดี

คำอธิบาย

ในวรรณกรรมพระเวทแนะนำให้บริจาคทานแก่บุคคลที่ปฏิบัติกิจกรรมทิพย์ ไม่แนะนำให้บริจาคทานโดยขาดวิจารณญาณ ความสมบูรณ์ในวิถีทิพย์ต้องใช้วิจารณญาณเสมอ ดังนั้นได้แนะนำให้บริจาคทาน สถานที่เคารพทางศาสนา และในช่วงจันทรคราส สุริยคราสตอนปลายเดือน ให้แก่ พฺราหฺมณ (พราหมณ์) หรือ ไวษฺณว (สาวก) ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือในวัด การให้ทานเช่นนี้ควรให้โดยไม่หวังผลตอบแทน การให้ทานแก่คนจนบางครั้งให้ไปด้วยความเมตตา แต่หากคนจนไม่ควรค่าให้ทานไปก็ไม่ทำให้เจริญก้าวหน้าในวิถีทิพย์ อีกนัยหนึ่งการให้ทานโดยขาดวิจารณญาณไม่แนะนำไว้ในวรรณกรรมพระเวท

โศลก 21

yat tu pratyupakārārthaṁ
phalam uddiśya vā punaḥ
dīyate ca parikliṣṭaṁ
tad dānaṁ rājasaṁ smṛtam
ยตฺ ตุ ปฺรตฺยุปการารฺถํ
ผลมฺ อุทฺทิศฺย วา ปุนห์
ทียเต จ ปริกฺลิษฺฏํ
ตทฺ ทานํ ราชสํ สฺมฺฤตมฺ
ยตฺ — ซึ่ง, ตุ — แต่, ปฺรติ-อุปการ-อรฺถมฺ — เพื่อได้รับสิ่งตอบแทน, ผลมฺ — ผล, อุทฺทิศฺย — ปรารถนา, วา — หรือ, ปุนห์ — อีกครั้งหนึ่ง, ทียเต — ให้, — เช่นกัน, ปริกฺลิษฺฏมฺ — ไม่เต็มใจ, ตตฺ — นั้น, ทานมฺ — การให้ทาน, ราชสมฺ — ในระดับตัณหา, สฺมฺฤตมฺ — เข้าใจว่าเป็น

คำแปล

แต่การให้ทานที่ให้ไปเพื่อหวังผลตอบแทนบางอย่าง หรือปรารถนาผลประโยชน์ทางวัตถุ หรือให้ด้วยอารมณ์ที่ไม่เต็มใจ กล่าวว่าเป็นการให้ทานในระดับตัณหา

คำอธิบาย

การให้ทานบางครั้งทำไปเพื่อพัฒนาไปสู่อาณาจักรสวรรค์ บางครั้งมีปัญหามากมายและรู้สึกเสียใจภายหลังว่า “ทำไมฉันต้องจ่ายเงินมากมายเพียงนี้” การให้ทานบางครั้งให้ไปภายใต้พันธกรณีที่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้อาวุโสขอร้อง การให้ทานเช่นนี้กล่าวว่าอยู่ในระดับตัณหา

มีมูลนิธิการกุศลมากมายที่ให้ของขวัญแก่สถาบันซึ่งมีการสนองประสาทสัมผัสดำเนินอยู่ การให้ทานเช่นนี้คัมภีร์พระเวทไม่แนะนำ คัมภีร์พระเวทแนะนำการให้ทานเฉพาะในระดับความดีเท่านั้น

โศลก 22

adeśa-kāle yad dānam
apātrebhyaś ca dīyate
asat-kṛtam avajñātaṁ
tat tāmasam udāhṛtam
อเทศ-กาเล ยทฺ ทานมฺ
อปาเตฺรภฺยศฺ จ ทียเต
อสตฺ-กฺฤตมฺ อวชฺญาตํ
ตตฺ ตามสมฺ อุทาหฺฤตมฺ
อเทศ — ณ สถานที่ที่ไม่บริสุทธิ์, กาเล — และเวลาที่ไม่บริสุทธิ์, ยตฺ — นั้นซึ่ง, ทานมฺ — การให้ทาน, อปาเตฺรภฺยห์ — แก่บุคคลไม่ควรค่า, — เช่นกัน, ทียเต — ให้, อสตฺ-กฺฤตมฺ — ไม่มีความเคารพ, อวชฺญาตมฺ — ไม่เอาใจใส่อย่างเหมาะสม, ตตฺ — นั้น, ตามสมฺ — ในระดับความมืด, อุทาหฺฤตมฺ — กล่าวว่าเป็น

คำแปล

และการให้ทานแก่สถานที่ที่ไม่บริสุทธิ์ ในเวลาที่ไม่เหมาะสม ให้แก่บุคคลที่ไม่ควรค่า หรือไม่เอาใจใส่ และไม่แสดงความเคารพอย่างเหมาะสม กล่าวว่าอยู่ในระดับอวิชชา

คำอธิบาย

การบริจาคเพื่อจุดประสงค์ในสิ่งเสพติดและการพนันไม่ส่งเสริม ที่นี้ การบริจาคเช่นนั้นอยู่ในระดับอวิชชา การให้ทานเช่นนี้ไม่เป็นประโยชน์แต่ไปส่งเสริมคนทำบาป ในทำนองเดียวกันหากให้ทานแก่บุคคลที่เหมาะสมแต่ไม่มีความเคารพและไม่เอาใจใส่ การให้ทานเช่นนั้นก็กล่าวไว้ว่าอยู่ในระดับแห่งความมืด

โศลก 23

oṁ tat sad iti nirdeśo
brahmaṇas tri-vidhaḥ smṛtaḥ
brāhmaṇās tena vedāś ca
yajñāś ca vihitāḥ purā
โอํ ตตฺ สทฺ อิติ นิรฺเทโศ
พฺรหฺมณสฺ ตฺริ-วิธห์ สฺมฺฤตห์
พฺราหฺมณาสฺ เตน เวทาศฺ จ
ยชฺญาศฺ จ วิหิตาห์ ปุรา
โอํ — แสดงถึงองค์ภควาน, ตตฺ — นั้น, สตฺ — อมตะ, อิติ — ดังนั้น, นิรฺเทศห์ — แสดง, พฺรหฺมณห์ — ขององค์ภควานฺ, ตฺริ-วิธห์ — สามคำรพ, สฺมฺฤตห์ — พิจารณาว่า, พฺราหฺมณาห์พฺราหฺมณ, เตน — ด้วยสิ่งนั้น, เวทาห์ — วรรณกรรมพระเวท, — เช่นกัน, ยชฺญาห์ — การบูชา, — เช่นกัน, วิหิตาห์ — ใช้, ปุรา — ในอดีต

คำแปล

จากจุดเริ่มต้นแห่งการสร้างได้ใช้คำสามคำ โอํ ตตฺ สัท แสดงถึงสัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุด สามคำนี้เป็นสัญลักษณ์ตัวแทนที่พราหมณ์ใช้ขณะสวดภาวนาบทมนต์พระเวท และระหว่างพิธีบูชา เพื่อให้องค์ภควานฺทรงพอพระทัย

คำอธิบาย

ได้อธิบายว่าการบำเพ็ญเพียร พิธีบูชา การให้ทาน และอาหาร แบ่งออกเป็นสามระดับคือ ระดับความดี ตัณหา และอวิชชา ไม่ว่าจะเป็นชั้นหนึ่ง ชั้นสอง หรือชั้นสาม ทั้งหมดนั้นอยู่ในสภาวะที่มีมลทินด้วยระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ แต่เมื่อมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่องค์ภควานฺ โอํ ตตฺ สตฺ หรือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าผู้ทรงเป็นอมตะ สิ่งเหล่านี้กลายมาเป็นหนทางเพื่อความเจริญในวิถีทิพย์ ในคำสั่งสอนของพระคัมภีร์นั้นจุดมุ่งหมายนี้ได้แสดงไว้โดยเฉพาะ โอํ ตตฺ สตฺ สามคำนี้แสดงถึงสัจธรรม หรือองค์ภควานฺ เราจะพบคำว่า โอํ ในบทมนต์พระเวทเสมอ

ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของพระคัมภีร์จะไม่บรรลุถึงสัจธรรม เขาจะได้รับผลชั่วคราวแต่ไม่ใช่จุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต ข้อสรุปคือ การให้ทาน พิธีบูชา และการบำเพ็ญเพียรต้องกระทำในระดับความดี หากทำในระดับตัณหาหรืออวิชชาแน่นอนว่าคุณภาพจะต่ำกว่า คำสามคำ โอํ ตตฺ สตฺ เปล่งออกมาร่วมกับพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานฺ ตัวอย่างเช่น โอํ ตทฺ วิษฺโณห์ เมื่อใดที่บทมนต์พระเวท หรือพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ถูกเปล่งออกมาจะรวมคำว่า โอํ เข้าไปด้วย ซึ่งวรรณกรรมพระเวทได้แสดงไว้ สามคำนี้นำมาจากบทมนต์พระเวท โอํ อิตฺยฺ เอตทฺ พฺรหฺมโณ เนทิษฺฐํ นาม (เวท) แสดงถึงจุดมุ่งหมายแรก จากนั้น ตตฺ ตฺวมฺ อสิ (ฉานฺโทคฺย อุปนิษทฺ 6.8.7) แสดงถึงจุดมุ่งหมายที่สองและ สทฺ เอว เสามฺย (ฉานฺโทคฺย อุปนิษทฺ 6.2.1) แสดงถึงจุดมุ่งหมายที่สาม เมื่อรวมกันกลายมาเป็น โอํ ตตฺ สตฺ ในอดีตเมื่อพระพรหมชีวิตแรกที่ถูกสร้างขึ้นมาทรงทำพิธีบูชา และทรงแสดงถึงบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าด้วยสามคำนี้ ฉะนั้นหลักการเดียวกันนี้ ปรมฺปรา ปฏิบัติตามเสมอมา ดังนั้นบทมนต์นี้มีความสำคัญอันยิ่งใหญ่ ภควัท-คีตา แนะนำว่างานใดที่กระทำควรทำไปเพื่อ โอํ ตตฺ สตฺ หรือเพื่อบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า เมื่อบำเพ็ญเพียร ให้ทาน และประกอบพิธีบูชาด้วยสามคำนี้เท่ากับปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก กฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นการปฏิบัติเชิงวิทยาศาสตร์ในกิจกรรมทิพย์ ซึ่งสามารถนำเราให้กลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควานฺ การปฏิบัติในวิถีทิพย์เช่นนี้จะไม่มีการสูญเสียพลังงานไป

โศลก 24

tasmād oṁ ity udāhṛtya
yajña-dāna-tapaḥ-kriyāḥ
pravartante vidhānoktāḥ
satataṁ brahma-vādinām
ตสฺมาทฺ โอํ อิตฺยฺ อุทาหฺฤตฺย
ยชฺญ-ทาน-ตปห์-กฺริยาห์
ปฺรวรฺตนฺเต วิธาโนกฺตาห์
สตตํ พฺรหฺม-วาทินามฺ
ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, โอํ — เริ่มต้นด้วย โอํ, อิติ — ดังนั้น, อุทาหฺฤตฺย — แสดง, ยชฺญ — ของการบูชา, ทาน — การให้ทาน, ตปห์ — การบำเพ็ญเพียร, กฺริยาห์ — ปฏิบัติ, ปฺรวรฺตนฺเต — เริ่มต้น, วิธาน-อุกฺตาห์ — ตามกฎเกณฑ์พระคัมภีร์, สตตมฺ — เสมอ, พฺรหฺม-วาทินามฺ — นักทิพย์นิยม

คำแปล

ดังนั้นนักทิพย์นิยมปฏิบัติพิธีบูชา ให้ทาน และบำเพ็ญเพียรตามกฎเกณฑ์ของพระคัมภีร์ ซึ่งเริ่มต้นด้วยคำว่า โอํ เสมอ เพื่อบรรลุถึงองค์ภควาน

คำอธิบาย

โอํ ตทฺ วิษฺโณห์ ปรมํ ปทมฺ (ฤคฺ เวท 1.22.20) พระบาทรูปดอกบัวขององค์วิษฺณุทรงเป็นระดับแห่งการอุทิศตนเสียสละที่สูงสุด ผู้ที่ปฏิบัติทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า แน่นอนว่ากิจกรรมของเขาทั้งหมดสมบูรณ์

โศลก 25

tad ity anabhisandhāya
phalaṁ yajña-tapaḥ-kriyāḥ
dāna-kriyāś ca vividhāḥ
kriyante mokṣa-kāṅkṣibhiḥ
ตทฺ อิตฺยฺ อนภิสนฺธาย
ผลํ ยชฺญ-ตปห์-กฺริยาห์
ทาน-กฺริยาศฺ จ วิวิธาห์
กฺริยนฺเต โมกฺษ-กางฺกฺษิภิห์
ตตฺ — นั้น, อิติ — ดังนั้น, อนภิสนฺธาย — ไม่ปรารถนา, ผลมฺ — ผลทางวัตถุ, ยชฺญ — แห่งการบูชา, ตปห์ — และการบำเพ็ญเพียร, กฺริยาห์ — กิจกรรม, ทาน — ของการให้ทาน, กฺริยาห์ — กิจกรรม, — เช่นกัน, วิวิธาห์ — ต่างๆ, กฺริยนฺเต — ปฏิบัติไป, โมกฺษ-กางฺกฺษิภิห์ — โดยพวกที่ปรารถนาความหลุดพ้นอย่างแท้จริง

คำแปล

เขาควรปฏิบัติพิธีบูชา บำเพ็ญเพียร และให้ทานต่างๆโดยไม่ปรารถนาผลประโยชน์ทางวัตถุ ด้วยคำว่า ตตฺ จุดมุ่งหมายของกิจกรรมทิพย์เหล่านี้ก็เพื่อให้เป็นอิสระจากพันธนาการทางวัตถุ

คำอธิบาย

เพื่อพัฒนาไปสู่สถานภาพทิพย์เราไม่ควรปฏิบัติเพื่อผลกำไรทางวัตถุใดๆ แต่ควรทำไปเพื่อผลประโยชน์สูงสุดในการย้ายไปยังอาณาจักรทิพย์ คืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควานฺ

โศลก 26-27

sad-bhāve sādhu-bhāve ca
sad ity etat prayujyate
praśaste karmaṇi tathā
sac-chabdaḥ pārtha yujyate
สทฺ-ภาเว สาธุ-ภาเว จ
สทฺ อิตฺยฺ เอตตฺ ปฺรยุชฺยเต
ปฺรศเสฺต กรฺมณิ ตถา
สจฺ-ฉพฺทห์ ปารฺถ ยุชฺยเต
yajñe tapasi dāne ca
sthitiḥ sad iti cocyate
karma caiva tad-arthīyaṁ
sad ity evābhidhīyate
ยชฺเญ ตปสิ ทาเน จ
สฺถิติห์ สทฺ อิติ โจจฺยเต
กรฺม ไจว ตทฺ-อรฺถียํ
สทฺ อิตฺยฺ เอวาภิธียเต
สตฺ-ภาเว — ในความรู้สึกแห่งธรรมชาติขององค์ภควานฺ, สาธุ-ภาเว — ในความรู้สึกแห่งธรรมชาติของสาวก, — เช่นกัน, สตฺ — คำว่า สตฺ, อิติ — ดังนั้น, เอตตฺ — นี้, ปฺรยุชฺยเต — ใช้, ปฺรศเสฺต — ในความจริงใจ, กรฺมณิ — กิจกรรม, ตถา — เช่นกัน, สตฺ-ศพฺทห์ — เสียง สตฺ, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, ยุชฺยเต — ใช้, ยชฺเญ — ในการบูชา, ตปสิ — ในการบำเพ็ญเพียร, ทาเน — ในการให้ทาน, — เช่นกัน, สฺถิติห์ — สถานการณ์, สตฺ — องค์ภควานฺ, อิติ — ดังนั้น, — และ, อุจฺยเต — ออกเสียง, กรฺม — งาน, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, ตตฺ — เพื่อสิ่งนั้น, อรฺถียมฺ — หมายความว่า, สตฺ — องค์ภควานฺ, อิติ — ดังนั้น, เอว — แน่นอน, อภิธียเต — แสดงไว้

คำแปล

สัจธรรมที่สมบูรณ์คือ จุดมุ่งหมายของพิธีบูชาด้วยการอุทิศตนเสียสละและแสดงไว้ด้วยคำว่า สัท ผู้ปฏิบัติพิธีบูชาเช่นนี้เรียกว่า สัท เช่นกัน เหมือนกับงานทั้งหมดในพิธีบูชา การบำเพ็ญเพียร และการให้ทาน ซึ่งเป็นธรรมชาติที่สมบูรณ์โดยแท้จริง ปฏิบัติไปเพื่อให้องค์ภควานฺทรงพอพระทัย โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา

คำอธิบาย

คำว่า ปฺรศเสฺต กรฺมณิ หรือ “หน้าที่ที่กำหนดไว้” แสดงว่ามีกิจกรรมหลายอย่างที่อธิบายไว้ในวรรณกรรมพระเวทซึ่งเป็นวิธีการเพื่อความบริสุทธิ์ เริ่มจากจุดปฏิสนธิจนถึงจุดจบของชีวิต วิธีการเพื่อความบริสุทธิ์เหล่านี้ได้แนะนำให้กล่าวคำว่า โอํ ตตฺ สตฺ คำว่า สทฺ-ภาเว และ สาธุ-ภาเว แสดงถึงสถานภาพทิพย์ การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเรียกว่า สตฺตฺว ผู้ที่รู้สำนึกอย่างสมบูรณ์ในกิจกรรมแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกเรียกว่า สาธุ ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (3.25.25) กล่าวไว้ว่า เรื่องราวทิพย์จะกระจ่างขึ้นในการมาคบหาสมาคมกับสาวก คำที่ใช้คือ สตำ ปฺรสงฺคาตฺ หากปราศจากการคบหากัลยาณมิตรเราจะไม่สามารถบรรลุถึงความรู้ทิพย์ได้ เมื่อบุคคลได้รับการอุปสมบทหรือได้รับสายมงคลจะเปล่งคำว่า โอํ ตตฺ สตฺ ในทำนองเดียวกันการปฏิบัติ ยชฺญ ทั้งหมดจุดมุ่งหมายคือองค์ภควานฺ โอํ ตตฺ สตฺ คำว่า ตทฺ-อรฺถียมฺ ยังหมายถึงถวายการรับใช้ต่อทุกสิ่ง ซึ่งเป็นผู้แทนขององค์ภควานฺรวมทั้งการบริการรับใช้ เช่น การปรุงอาหาร ช่วยงานในวัดของพระองค์หรืองานใดๆที่เผยแพร่พระบารมีของพระองค์ดังนั้นคำสูงสุด โอํ ตตฺ สตฺ ใช้ในหลายๆทางเพื่อให้กิจกรรมทั้งหลายสมบูรณ์และทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างบริบูรณ์

โศลก 28

aśraddhayā hutaṁ dattaṁ
tapas taptaṁ kṛtaṁ ca yat
asad ity ucyate pārtha
na ca tat pretya no iha
อศฺรทฺธยา หุตํ ทตฺตํ
ตปสฺ ตปฺตํ กฺฤตํ จ ยตฺ
อสทฺ อิตฺยฺ อุจฺยเต ปารฺถ
น จ ตตฺ เปฺรตฺย โน อิห
อศฺรทฺธยา — ไม่มีศรัทธา, หุตมฺ — ถวายในการบูชา, ทตฺตมฺ — ให้, ตปห์ — การบำเพ็ญเพียร, ตปฺตมฺ — จัดการ, กฺฤตมฺ — ปฏิบัติ, — เช่นกัน, ยตฺ — ซึ่ง, อสตฺ — ผิด, อิติ — ดังนั้น, อุจฺยเต — กล่าวว่าเป็น, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, — ไม่เคย, — เช่นกัน, ตตฺ — นั้น, เปฺรตฺย — หลังจากตายไป, น อุ — ก็ไม่เช่นกัน, อิห — ในชาตินี้

คำแปล

สิ่งใดที่กระทำไปเพื่อบูชา ให้ทาน หรือบำเพ็ญเพียร โดยปราศจากความศรัทธาในองค์ภควานฺ โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา จะไม่ถาวร เรียกว่า อสตฺ และไม่มีประโยชน์ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า

คำอธิบาย

สิ่งใดที่กระทำไปโดยไม่มีจุดมุ่งหมายทิพย์ ไม่ว่าจะเป็นการบูชา การให้ทาน หรือการบำเพ็ญเพียรจะไร้ประโยชน์ ดังนั้นโศลกนี้กล่าวว่ากิจกรรมเหล่านี้น่ารังเกียจ ทุกสิ่งทุกอย่างควรทำเพื่อองค์ภควานฺในกฺฤษฺณจิตสำนึก หากปราศจากความศรัทธาเช่นนี้และปราศจากคำแนะนำที่ถูกต้องจะไม่ได้รับผลประโยชน์อันใด คัมภีร์พระเวททั้งหมดแนะนำความศรัทธาแห่งองค์ภควานฺในการค้นหาคำสั่งสอนของพระเวททั้งหมด จุดมุ่งหมายสูงสุดคือ การเข้าใจองค์กฺฤษฺณ ไม่มีผู้ใดสามารถประสบความสำเร็จได้โดยไม่ปฏิบัติตามหลักการนี้ ฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ ทำงานจากจุดเริ่มต้นในกฺฤษฺณจิตสำนึกภายใต้การนำของพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ นั่นคือวิธีการที่จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างประสบความสำเร็จ

ในพันธสภาวะผู้คนหลงติดอยู่กับการบูชาเทวดา บูชาภูตผี หรือ ยกฺษ เช่น กุเวร ระดับความดีดีกว่าระดับตัณหาและอวิชชา แต่ผู้ปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรงเป็นทิพย์อยู่เหนือสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุทั้งหมด ถึงแม้ว่าจะมีวิธีการค่อยๆพัฒนาการคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์ และปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรงเป็นวิธีที่ดีที่สุดซึ่งแนะนำไว้ในบทนี้ เพื่อให้ประสบความสำเร็จเช่นนี้ก่อนอื่นเราต้องแสวงหาพระอาจารย์ทิพย์ที่ดี และได้รับการฝึกฝนภายใต้การแนะนำของท่าน เราจึงจะสามารถบรรลุถึงความศรัทธาในองค์ภควานฺ เมื่อความศรัทธานั้นแกร่งกล้าขึ้นตามกาลเวลาจนมาถึงจุดที่เรียกว่า ความรักแห่งองค์ภควานฺ ความรักนี้คือ จุดมุ่งหมายสูงสุดของสิ่งมีชีวิต ดังนั้นเราควรปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรง นั่นคือสาส์นของบทที่สิบเจ็ดนี้

ดังนั้นได้จบคำอธิบายโดย ภักดีเวดานตะ บทที่สิบเจ็ดของหนังสือ ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา ในหัวข้อเรื่อง ระดับแห่งความศรัทธา