ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ แปด

การบรรลุถึงองค์ภควานฺ

SIMPLE

โศลก 1

arjuna uvāca
kiṁ tad brahma kim adhyātmaṁ
kiṁ karma puruṣottama
adhibhūtaṁ ca kiṁ proktam
adhidaivaṁ kim ucyate
อรฺชุน อุวาจ
กึ ตทฺ พฺรหฺม กิมฺ อธฺยาตฺมํ
กึ กรฺม ปุรุโษตฺตม
อธิภูตํ จ กึ โปฺรกฺตมฺ
อธิไทวํ กิมฺ อุจฺยเต
อรฺชุนห์ อุวาจอรฺชุน ตรัส, กิมฺ — อะไร, ตตฺ — นั้น, พฺรหฺมพฺรหฺมนฺ, กิมฺ — อะไร, อธฺยาตฺมมฺ — ตัวเรา, กิมฺ — อะไร, กรฺม — กิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ, ปุรุษ-อุตฺตม — โอ้ บุคคลสูงสุด, อธิภูตมฺ — ปรากฏการณ์ทางวัตถุ, — และ, กิมฺ — อะไร, โปฺรกฺตมฺ — เรียกว่า, อธิไทวมฺ — เหล่าเทวดา, กิมฺ — อะไร, อุจฺยเต — เรียกว่า

คำแปล

อรฺชุน ตรัสถามว่า โอ้ องค์ภควานฺของข้า โอ้ บุคคลสูงสุด พฺรหฺมนฺ คืออะไร ตัวชีวิตคืออะไร กิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุคืออะไร ปรากฏการณ์ทางธรรมชาตินี้คืออะไร และเหล่าเทวดาคือใคร ได้โปรดกรุณาอธิบายให้ข้าพเจ้าด้วย

คำอธิบาย

ในบทนี้องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงตอบหลายคำถามของ อรฺชุน เริ่มต้นด้วย “อะไรคือ พฺรหฺมนฺ พระองค์ทรงอธิบายถึง กรฺม (กิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ) การอุทิศตนเสียสละรับใช้ หลักธรรมโยคะ และการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในรูปแบบที่บริสุทธิ์ ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ อธิบายว่าสัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุดที่รู้กันว่าเป็น พฺรหฺมนฺ ปรมาตฺมา และ ภควานฺ นอกจากนั้นสิ่งมีชีวิตที่เป็นปัจเจกวิญญาณก็เรียกว่า พฺรหฺมนฺ เช่นเดียวกัน อรฺชุน ยังถามเกี่ยวกับ อาตฺมา ซึ่งหมายถึงร่างกายวิญญาณและจิตใจ ตามพจนานุกรมพระเวท อาตฺมา หมายถึงจิตใจ วิญญาณ ร่างกาย และประสาทสัมผัสด้วย

อรฺชุน เรียกองค์ภควานฺว่า ปุรุโษตฺตม หรือบุคคลสูงสุดซึ่งหมายความว่าคำถามเหล่านี้ไม่ใช่ถามกับเพื่อนเท่านั้น แต่ถามกับบุคคลสูงสุดโดยทราบว่าพระองค์คือผู้น่าเชื่อถือได้สูงสุดที่สามารถให้คำตอบที่แน่นอนชัดเจน

โศลก 2

adhiyajñaḥ kathaṁ ko ’tra
dehe ’smin madhusūdana
prayāṇa-kāle ca kathaṁ
jñeyo ’si niyatātmabhiḥ
อธิยชฺญห์ กถํ โก ’ตฺร
เทเห ’สฺมินฺ มธุสูทน
ปฺรยาณ-กาเล จ กถํ
ชฺเญโย ’สิ นิยตาตฺมภิห์
อธิยชฺญห์ — พระเจ้าแห่งการบูชา, กถมฺ — อย่างไร, กห์ — ผู้ซึ่ง, อตฺร — ที่นี่, เทเห — ในร่างกาย, อสฺมินฺ — นี้, มธุสูทน — โอ้ มธุสูทน, ปฺรยาณ-กาเล — ขณะกำลังตาย, — และ, กถมฺ — อย่างไร, ชฺเญยห์ อสิ — รู้ถึงพระองค์, นิยต-อาตฺมภิห์ — ด้วยการควบคุมตนเอง

คำแปล

ใครคือพระเจ้าแห่งการบูชา พระองค์ทรงประทับอยู่ในร่างกายได้อย่างไร โอ้ มธุสูทน และขณะที่กำลังจะตายพวกที่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้จะสามารถรู้ถึงพระองค์ได้อย่างไร

คำอธิบาย

“พระจ้าแห่งการบูชา” อาจหมายถึงพระอินทร์หรือพระวิษฺณุก็ได้ พระวิษฺณุทรงเป็นประธานของเหล่าปฐมเทวดารวมทั้งพระพรหมและพระศิวะ พระอินทร์ทรงเป็นประธานของเหล่าเทวดาผู้บริหาร ทั้งพระอินทร์และพระวิษฺณุได้รับการบูชาในพิธีบูชา ยชฺญ แต่ตรงที่นี้ อรฺชุน ทรงถามว่าใครคือพระเจ้าแห่ง ยชฺญ (พิธีบูชา) อย่างแท้จริง และองค์ภควานฺทรงประทับอยู่ภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตได้อย่างไร

อรฺชุน ทรงเรียกพระองค์ว่า มธุสูทน เนื่องจากครั้งหนึ่งองค์กฺฤษฺณเคยสังหารมารชื่อ มธุ อันที่จริงคำถามเหล่านี้เป็นธรรมชาติแห่งความสงสัยซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นในจิตใจของ อรฺชุน เพราะทรงเป็นสาวกผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึก ดังนั้นความสงสัยเหล่านี้เหมือนกับมารเนื่องจากองค์กฺฤษฺณทรงมีความชำนาญมากในการสังหารมาร ที่นี้ อรฺชุน ทรงเปล่งพระนามขององค์กฺฤษฺณว่า มธุสูทน เพื่อว่าองค์กฺฤษฺณอาจสังหารมารแห่งความสงสัยที่ปรากฏขึ้นภายในใจของ อรฺชุน ได้

คำว่า ปฺรยาณ-กาเล ในโศลกนี้มีความสำคัญมาก เพราะว่าอะไรก็แล้วแต่ที่เราทำในชีวิตจะได้รับการทดสอบขณะตาย อรฺชุน ทรงมีความกระตือรือร้นมากที่จะทราบถึงบุคคลที่ปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เสมอว่าควรอยู่ในสภาวะเช่นไรในวินาทีสุดท้าย ขณะกำลังจะตายการปฏิบัติหน้าที่ทั้งหมดของร่างกายจะกระเจิง และจิตใจจะไม่อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม เมื่อถูกรบกวนจากสภาวะทางร่างกายเราอาจไม่สามารถระลึกถึงองค์ภควานฺได้ มหาราช กุลเศขร ผู้เป็นสาวกที่ยิ่งใหญ่ภาวนาว่า “องค์ภควานฺที่รักปัจจุบันนี้ข้ามีสุขภาพดีให้ข้าตายในทันทีจะดีกว่าเพื่อหงส์แห่งจิตใจของข้าจะได้ซุกไซ้เข้าไปในก้านแห่งพระบาทรูปดอกบัวของพระองค์” การใช้อุปมานี้เนื่องจากหงส์เป็นนกที่อยู่ในน้ำและชื่นชมยินดีในการซุกไซ้เข้าไปในดอกบัว มันชอบซุกไซ้เข้าไปในดอกบัวเหมือนกับการเล่นกีฬา มหาราช กุลเศขร ตรัสต่อองค์ภควานฺว่า “ปัจจุบันนี้จิตใจข้าไม่ถูกรบกวนและยังมีสุขภาพดีหากตายกะทันหันแล้วคิดถึงพระบาทรูปดอกบัวของพระองค์ก็มั่นใจได้ว่าการปฏิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อพระองค์ประสบผลสำเร็จอย่างสมบูรณ์ แต่หากรอจนกระทั่งถึงเวลาตายตามธรรมชาติก็ไม่แน่ใจว่าอะไรจะเกิดขึ้น เพราะว่าในขณะนั้นการทำหน้าที่ต่างๆของร่างกายจะกระเจิดกระเจิง คอของฉันอาจจะสำลักและไม่ทราบว่าจะสามารถสวดภาวนาพระนามของพระองค์ได้หรือไม่ ดังนั้นให้ข้าตายโดยทันทีจะดีกว่า” อรฺชุน ทรงถามว่าบุคคลจะตั้งมั่นจิตใจอยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวขององค์กฺฤษฺณในวิกฤติกาลเช่นนี้ได้อย่างไร

โศลก 3

śrī-bhagavān uvāca
akṣaraṁ brahma paramaṁ
svabhāvo ’dhyātmam ucyate
bhūta-bhāvodbhava-karo
visargaḥ karma-saṁjñitaḥ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
อกฺษรํ พฺรหฺม ปรมํ
สฺวภาโว ’ธฺยาตฺมมฺ อุจฺยเต
ภูต-ภาโวทฺภว-กโร
วิสรฺคห์ กรฺม-สํชฺญิตห์
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — องค์ภควานฺตรัส, อกฺษรมฺ — ไม่มีวันถูกทำลาย, พฺรหฺมพฺรหฺมนฺ, ปรมมฺ — ทิพย์, สฺวภาวห์ — ธรรมชาติอมตะ, อธฺยาตฺมมฺ — ตัวชีวิต, อุจฺยเต — เรียกว่า, ภูต-ภาว-อุทฺภว-กรห์ — ผลิตร่างวัตถุของสิ่งมีชีวิต, วิสรฺคห์ — การสร้าง, กรฺม — กิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ, สํชฺญิตห์ — เรียกว่า

คำแปล

องค์ภควานตรัสว่า ดวงชีวิตทิพย์ที่ไม่มีวันถูกทำลายเรียกว่า พฺรหฺมนฺ และธรรมชาตินิรันดรของเขาเรียกว่า อธฺยาตฺม หรือดวงชีวิต กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาร่างกายวัตถุของสิ่งมีชีวิตเรียกว่ากรรม (กรฺม) หรือกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ

คำอธิบาย

พฺรหฺมนฺ ไม่มีวันถูกทำลายและเป็นอยู่ชั่วกัลปวสาน สถานภาพเดิมแท้ของเขาไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าในขณะใด แต่เหนือไปจาก พฺรหฺมนฺ ยังมี ปร-พฺรหฺมนฺ พฺรหฺมนฺ หมายถึงสิ่งมีชีวิต และ ปร-พฺรหฺมนฺ หมายถึงองค์ภควานฺ สถานภาพพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตแตกต่างไปจากสถานภาพที่เขาได้รับในโลกวัตถุ ในวัตถุจิตสำนึกธรรมชาติคือพยายามเป็นเจ้าแห่งวัตถุ แต่ในจิตสำนึกทิพย์หรือกฺฤษฺณจิตสำนึกสถานภาพของเขาคือเป็นผู้รับใช้องค์ภควานฺ เมื่อสิ่งมีชีวิตอยู่ในวัตถุจิตสำนึกจะต้องได้รับร่างกายต่างๆในโลกวัตถุเช่นนี้เรียกว่ากรรม (กรฺม) หรือการสร้างอันหลากหลายด้วยการบังคับของจิตสำนึกวัตถุ

ในวรรณกรรมพระเวทสิ่งมีชีวิตเรียกว่า ชีวาตฺมา และ พฺรหฺมนฺ แต่ไม่เคยถูกเรียกว่า ปร-พฺรหฺมนฺ สิ่งมีชีวิต (ชีวาตฺมา) ได้รับสถานภาพต่างๆบางครั้งกลืนเข้าไปในธรรมชาติวัตถุอันมืดมนและสำคัญตนเองกับวัตถุ และบางครั้งสำคัญตนเองกับสิ่งที่สูงกว่าคือธรรมชาติทิพย์ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตจึงได้ชื่อว่าเป็นพลังงานพรมแดนขององค์ภควานฺ ตามที่สำคัญตนเองกับธรรมชาติวัตถุหรือธรรมชาติทิพย์จึงได้รับร่างวัตถุหรือร่างทิพย์ ในธรรมชาติวัตถุเขาอาจได้รับร่างกายจากหนึ่งใน 8,400,000 เผ่าพันธุ์ชีวิตแต่ในธรรมชาติทิพย์จะมีเพียงร่างเดียว ในธรรมชาติวัตถุบางครั้งปรากฏเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นนก ฯลฯ ตามกรรมของตน เพื่อบรรลุถึงดาวเคราะห์วัตถุบนสรวงสวรรค์และได้รับความสุขกับสิ่งอำนวยความสะดวก บางครั้งเขาปฏิบัติพิธีบูชา (ยชฺญ) แต่เมื่อผลบุญหมดลงจะกลับมาในโลกนี้อีกครั้งในร่างมนุษย์ วิธีกรรมเช่นนี้เรียกว่ากรรมหรือ (กรฺม)

ฉานฺโทคฺย อุปนิษทฺ อธิบายวิธีการทำพิธีบูชาทางพระเวทที่แท่นพิธีบูชามีการถวายสิ่งของห้าอย่างไปในไฟห้าชนิด ไฟห้าชนิดก่อขึ้นจากดาวเคราะห์สวรรค์ เมฆ โลก ชาย และหญิง และสิ่งถวายในพิธีบูชาห้าอย่างคือ ความศรัทธา ผู้มีความสุขบนดวงจันทร์ ฝน เมล็ดข้าว และอสุจิ

ในพิธีการบูชาสิ่งมีชีวิตทำพิธีบูชาโดยเฉพาะเพื่อบรรลุถึงสรวงสวรรค์และก็บรรลุถึงจริงในเวลาต่อมา เมื่อผลบุญแห่งการบูชาหมดสิ้นลงสิ่งมีชีวิตตกลงมาบนโลกในรูปของฝน จากนั้นมาอยู่ในรูปของเมล็ดข้าว และมนุษย์รับประทานเมล็ดข้าวกลายเป็นอสุจิซึ่งทำให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตได้รับร่างมนุษย์อีกครั้งหนึ่งเพื่อปฏิบัติพิธีบูชาและวนเวียนอยู่ในวัฏจักรนี้ สิ่งมีชีวิตจึงวนเวียนบนวิถีทางวัตถุชั่วกัลปวสาน อย่างไรก็ดีบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกหลีกเลี่ยงการบูชาเขาจึงปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรง ดังนั้นจึงเตรียมตัวกลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควานฺ

นักวิจารณ์ ภควัท-คีตา ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์คิดว่า พฺรหฺมนฺ รับเอารูปของ ชีว ในโลกวัตถุอย่างไร้เหตุผล และเพื่อสนับสนุนประเด็นนี้พวกเขาได้อ้างอิงบทที่สิบห้าโศลก 7 ของ คีตา แต่ในโศลกนี้องค์ภควานฺยังตรัสอีกว่าสิ่งมีชีวิตเป็น “ละอองอณูนิรันดรของตัวข้า” สิ่งมีชีวิตเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ และอาจตกลงมาในโลกวัตถุแต่องค์ภควานฺ (อจฺยุต) ไม่มีวันตกลงต่ำ ดังนั้นข้อสรุปที่ว่า พฺรหฺมนฺ สูงสุดรับเอารูปของ ชีว จึงยอมรับไม่ได้ มีความสำคัญที่ควรจำไว้ว่าในวรรณกรรมพระเวท พฺรหฺมนฺ (สิ่งมีชีวิต) แตกต่างจาก ปร-พฺรหฺมนฺ (องค์ภควานฺ)

โศลก 4

adhibhūtaṁ kṣaro bhāvaḥ
puruṣaś cādhidaivatam
adhiyajño ’ham evātra
dehe deha-bhṛtāṁ vara
อธิภูตํ กฺษโร ภาวห์
ปุรุษศฺ จาธิไทวตมฺ
อธิยชฺโญ ’หมฺ เอวาตฺร
เทเห เทห-ภฺฤตำ วร
อธิภูตมฺ — ปรากฏการณ์ทางวัตถุ, กฺษรห์ — เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ, ภาวห์ — ธรรมชาติ, ปุรุษห์ — รูปลักษณ์จักรวาลรวมทั้งเทวดาทั้งหลาย เช่น เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์และดวงจันทร์, — และ, อธิไทวตมฺ — เรียกว่า อธิไทว, อธิยชฺญห์ — อภิวิญญาณ, อหมฺ — ข้า (กฺฤษฺณ) , เอว — แน่นอน, อตฺร — ในนี้, เทเห — ร่างกาย, เทห-ภฺฤตามฺ — ของรูปร่าง, วร — โอ้ ผู้ยอดเยี่ยม

คำแปล

โอ้ ผู้ยอดเยี่ยมในบรรดาดวงชีวิต ธรรมชาติวัตถุที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเรียกว่า อธิภูต (ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ) รูปลักษณ์จักรวาลขององค์ภควานซึ่งรวมถึงเทวดาทั้งหลาย เช่น เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เรียกว่า อธิไทว และข้าองค์ภควานสูงสุดซึ่งมีอภิวิญญาณผู้ประทับอยู่ภายในหัวใจของทุกชีวิตเป็นผู้แทนเรียกว่า อธิยชฺญ (พระเจ้าแห่งการบูชา)

คำอธิบาย

ธรรมชาติวัตถุเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยทั่วไปร่างวัตถุจะต้องผ่านหกขั้นตอนคือ การเกิด เจริญเติบโต คงอยู่ชั่วระยะหนึ่ง สืบพันธุ์ หดตัวลง และจากนั้นก็สูญสิ้นไป ธรรมชาติวัตถุนี้เรียกว่า อธิภูต ถูกสร้างขึ้นมา จุดหนึ่งและจะถูกทำลายไปอีกจุดหนึ่ง แนวคิดที่ว่ารูปลักษณ์จักรวาลขององค์ภควานฺซึ่งรวมถึงเหล่าเทวดาพร้อมดาวเคราะห์เรียกว่า อธิไทวต ผู้ที่ปรากฏในร่างกายควบคู่ไปกับปัจเจกวิญญาณคืออภิวิญญาณ ซึ่งเป็นผู้แทนที่สมบูรณ์ขององค์ศฺรี กฺฤษฺณ อภิวิญญาณเรียกว่า ปรมาตฺมา หรือ อธิยชฺญ ทรงสถิตในหัวใจคำว่า เอว มีความสำคัญโดยเฉพาะในเนื้อหาของโศลกนี้ เพราะว่าคำนี้องค์ภควานฺทรงเน้นว่า ปรมาตฺมา ไม่แตกต่างไปจากพระองค์อภิวิญญาณ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงประทับอยู่เคียงข้างปัจเจกวิญญาณ ทรงเป็นพยานในกิจกรรมต่างๆ และทรงเป็นแหล่งกำเนิดแห่งจิตสำนึกของปัจเจกวิญญาณ อภิวิญญาณทรงเปิดโอกาสแก่ปัจเจกวิญญาณให้ทำอะไรโดยเสรี ทรงเป็นพยานในกิจกรรมต่างๆของเขา สำหรับสาวกผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกที่บริสุทธิ์และปฏิบัติการรับใช้ทิพย์แด่องค์ภควานฺหน้าที่แห่งปรากฏการณ์ทั้งหลายขององค์ภควานฺจะกระจ่างขึ้นโดยปริยาย รูปลักษณ์จักรวาลอันมหึมาของพระองค์เรียกว่า อธิไทวต ซึ่งนวกะผู้ไม่สามารถเข้าพบองค์ภควานฺในปรากฏารณ์ของพระองค์ในรูปอภิวิญญาณจะเพ่งพิจารณาดู นวกะจึงได้รับคำแนะนำให้เพ่งพิจารณาดูรูปลักษณ์จักรวาลหรือ วิราฏฺ-ปุรุษ ซึ่งพระเพลาพิจารณาว่าเป็นหมู่ดาวเคราะห์เบื้องต่ำ พระเนตรของพระองค์พิจารณาว่าเป็นดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ และพระเศียรของพระองค์พิจารณาว่าเป็นระบบดาวเคราะห์เบื้องสูง

โศลก 5

anta-kāle ca mām eva
smaran muktvā kalevaram
yaḥ prayāti sa mad-bhāvaṁ
yāti nāsty atra saṁśayaḥ
อนฺต-กาเล จ มามฺ เอว
สฺมรนฺ มุกฺตฺวา กเลวรมฺ
ยห์ ปฺรยาติ ส มทฺ-ภาวํ
ยาติ นาสฺตฺยฺ อตฺร สํศยห์
อนฺต-กาเล — ในบั้นปลายของชีวิต, — เช่นกัน, มามฺ, เอว — แน่นอน, สฺมรนฺ — ระลึก ถึง, มุกฺตฺวา — ยกเลิก, กเลวรมฺ — ร่างกาย, ยห์ — เขาผู้ซึ่ง, ปฺรยาติ — ไป, สห์ — เขา, มตฺ-ภาวมฺ — ธรรมชาติของข้า, ยาติ — บรรลุ, — ไม่, อสฺติ — มี, อตฺร — ที่นี่, สํศยห์ — ข้อสงสัย

คำแปล

และผู้ใดที่ในบั้นปลายชีวิต ออกจากร่างกายโดยระลึกถึงข้าเพียงผู้เดียวจะบรรลุถึงธรรมชาติของข้าโดยทันทีอย่างไม่ต้องสงสัย

คำอธิบาย

โศลกนี้ได้เน้นถึงจุดสำคัญของกฺฤษฺณจิตสำนึก ผู้ใดที่วิญญาณออกจากร่างในขณะที่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจะถูกย้ายไปยังธรรมชาติทิพย์ขององค์ภควานฺทันที องค์ภควานฺทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ที่สุดในหมู่ผู้บริสุทธิ์ ฉะนั้นผู้ใดที่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เสมอจะเป็นผู้บริสุทธิ์ที่สุดในหมู่ผู้บริสุทธิ์เช่นเดียวกัน คำว่า สฺมรนฺ (“ระลึกถึง”) มีความสำคัญ การระลึกถึงองค์กฺฤษฺณจะเป็นไปไม่ได้สำหรับจิตวิญญาณผู้ไม่บริสุทธิ์ที่ไม่ได้ปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ดังนั้นเราควรที่จะปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกตั้งแต่เริ่มแรกของชีวิต หากเราปรารถนาความสำเร็จในบั้นปลายชีวิต วิธีการระลึกถึงองค์กฺฤษฺณเป็นหัวใจสำคัญ ดังนั้นเราควรสวดภาวนามหามนต์ หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร / หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร อยู่เสมอโดยไม่มีวันหยุด องค์ไจตนฺย ทรงแนะนำให้เรามีความอดทนเหมือนกับต้นไม้ (ตโรรฺ อปิ สหิษฺณุนา) อาจมีอุปสรรคมากมายสำหรับผู้ที่สวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ อย่างไรก็ดีเราต้องอดทนต่ออุปสรรคทั้งหลายเหล่านี้ และภาวนา หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร / หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร อย่างต่อเนื่องเพื่อในบั้นปลายชีวิตเราสามารถได้รับประโยชน์โดยสมบูรณ์จากกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 6

yaṁ yaṁ vāpi smaran bhāvaṁ
tyajaty ante kalevaram
taṁ tam evaiti kaunteya
sadā tad-bhāva-bhāvitaḥ
ยํ ยํ วาปิ สฺมรนฺ ภาวํ
ตฺยชตฺยฺ อนฺเต กเลวรมฺ
ตํ ตมฺ เอไวติ เกานฺเตย
สทา ตทฺ-ภาว-ภาวิตห์
ยมฺ ยมฺ — อะไรก็แล้วแต่, วา อปิ — ทั้งหมด, สฺมรนฺ — ระลึกถึง, ภาวมฺ — ธรรมชาติ, ตฺยชติ — ยกเลิก, อนฺเต — บั้นปลาย, กเลวรมฺ — ร่างนี้, ตมฺ ตมฺ — ในทำนองเดียวกัน, เอว — แน่นอน, เอติ — ได้รับ, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, สทา — เสมอ, ตตฺ — นั้น, ภาว — สภาวะจิต, ภาวิตห์ — จำ

คำแปล

ไม่ว่าจิตสำนึกระลึกถึงอะไรขณะที่ออกจากร่าง โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี เขาจะได้รับสิ่งนั้นอย่างแน่นอน

คำอธิบาย

วิธีการเปลี่ยนธรรมชาติของเราในช่วงวิกฤตการณ์แห่งความตายได้อธิบายไว้ ที่นี้ ในบั้นปลายชีวิตบุคคลออกจากร่างและคิดถึงองค์กฺฤษฺณจะได้รับธรรมชาติทิพย์แห่งองค์ภควานฺ ไม่เป็นความจริงที่บุคคลคิดถึงอย่างอื่นนอกจากองค์กฺฤษฺณแล้วจะบรรลุถึงระดับทิพย์ได้ ประเด็นนี้เราควรพึงสังเกตด้วยความระมัดระวัง เราจะสามารถตายในสภาวะจิตที่ถูกต้องได้อย่างไร มหาราช ภารต แม้จะเป็นบุคลิกภาพผู้ยิ่งใหญ่ทรงคิดถึงกวางในบั้นปลายของชีวิตชาติต่อมาจึงถูกย้ายเข้าไปในร่างกวาง แม้เป็นกวางท่านก็ยังระลึกถึงกรรมในอดีตได้จึงต้องยอมรับร่างสัตว์นั้น แน่นอนว่าความคิดในขณะที่เรามีชีวิตอยู่สะสมและมีอิทธิพลต่อความคิดของเราในขณะที่ตาย ดังนั้นชีวิตนี้จึงปูทางไว้สำหรับชาติหน้า หากปัจจุบันเราใช้ชีวิตในระดับแห่งความดีและคิดถึงองค์กฺฤษฺณเสมอเป็นไปได้ที่เราจะระลึกถึงองค์กฺฤษฺณในบั้นปลายของชีวิต เช่นนี้จะช่วยย้ายเราไปสู่ธรรมชาติทิพย์แห่งองค์กฺฤษฺณ หากมีความซึมซาบอยู่ในระดับทิพย์ในการรับใช้องค์กฺฤษฺณร่างต่อไปของเราจะเป็นทิพย์ไม่ใช่วัตถุ ดังนั้นการสวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร / หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร เป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อความสำเร็จในการเปลี่ยนระดับจิตสำนึกในบั้นปลายของชีวิตเรา

โศลก 7

tasmāt sarveṣu kāleṣu
mām anusmara yudhya ca
mayy arpita-mano-buddhir
mām evaiṣyasy asaṁśayaḥ
ตสฺมาตฺ สเรฺวษุ กาเลษุ
มามฺ อนุสฺมร ยุธฺย จ
มยฺยฺ อรฺปิต-มโน-พุทฺธิรฺ
มามฺ เอไวษฺยสฺยฺ อสํศยห์
ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, สเรฺวษุ — ตลอด, กาเลษุ — เวลา, มามฺ — ข้า, อนุสฺมร — ระลึกถึงเรื่อยๆ, ยุธฺย — ต่อสู้, — เช่นกัน, มยิ — แด่ข้า, อรฺปิต — ศิโรราบ, มนห์ — จิตใจ, พุทฺธิห์ — ปัญญา, มามฺ — แด่ข้า, เอว — แน่นอน, เอษฺยสิ — เธอจะได้รับ, อสํศยห์ — เหนือความสงสัย

คำแปล

ฉะนั้น โอ้ อรฺชุน เธอควรระลึกถึงข้าในรูปลักษณ์องค์กฺฤษฺณอยู่เสมอ และในขณะเดียวกันก็ปฏิบัติหน้าที่ในการต่อสู้ที่ได้กำหนดไว้โดยอุทิศกิจกรรมต่างๆของเธอแด่ข้า จิตใจและปัญญาตั้งมั่นอยู่ที่ข้า เธอจะบรรลุถึงข้าโดยไม่ต้องสงสัย

คำอธิบาย

คำสั่งสอนที่ให้แก่ อรฺชุน นี้มีความสำคัญมากสำหรับมวลมนุษย์ที่ปฏิบัติอยู่ในกิจกรรมทางวัตถุ องค์ภควานฺมิได้ตรัสว่าควรยกเลิกหน้าที่หรือการปฏิบัติที่กำหนดไว้สำหรับเรา เรายังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปแต่ในขณะเดียวกันระลึกถึงองค์กฺฤษฺณด้วยการสวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ เช่นนี้จะทำให้เราเป็นอิสระจากมลทินทางวัตถุ และทำให้จิตใจและปัญญาของเราอยู่กับองค์กฺฤษฺณ จากการสวดภาวนาพระนามต่างๆขององค์กฺฤษฺณเราจะถูกย้ายไปยังดาวเคราะห์สูงสุด กฺฤษฺณโลก โดยไม่ต้องสงสัย

โศลก 8

abhyāsa-yoga-yuktena
cetasā nānya-gāminā
paramaṁ puruṣaṁ divyaṁ
yāti pārthānucintayan
อภฺยาส-โยค-ยุกฺเตน
เจตสา นานฺย-คามินา
ปรมํ ปุรุษํ ทิวฺยํ
ยาติ ปารฺถานุจินฺตยนฺ
อภฺยาส-โยค — จากการปฏิบัติ, ยุกฺเตน — ปฏิบัติสมาธิ, เจตสา — ด้วยจิตใจและปัญญา, น อนฺย-คามินา — โดยปราศจากการเบี่ยงเบน, ปรมมฺ — สูงสุด, ปุรุษมฺ — บุคลิกภาพแห่งพระเจ้า, ทิวฺยมฺ — ทิพย์, ยาติ — เขาบรรลุ, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, อนุจินฺตยนฺ — คิดถึงอยู่เสมอ

คำแปล

ผู้ทำสมาธิอยู่ที่ข้าในฐานะองค์ภควานฺ จิตใจระลึกถึงข้าอยู่ตลอดเวลาโดยไม่เบี่ยงเบนจากวิถีทาง โอ้ ปารฺถ เขาจะมาถึงข้าอย่างแน่นอน

คำอธิบาย

โศลกนี้องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเน้นถึงความสำคัญในการระลึกถึงพระองค์ความจำถึงองค์กฺฤษฺณของเราจะฟื้นฟูขึ้นด้วยการสวดภาวนามหามนต์ หเร กฺฤษฺณ จากการปฏิบัติสวดภาวนาและสดับฟังคลื่นเสียงแห่งองค์ภควานฺนี้ หู ลิ้น และจิตใจของได้ทำหน้าที่ การทำสมาธิอันน่าอัศจรรย์นี้เป็นการปฏิบัติที่ง่ายมากและจะช่วยให้เราบรรลุถึงองค์ภควานฺ ปุรุษมฺ หมายถึงผู้มีความสุขเกษมสำราญ ถึงแม้ว่าสิ่งมีชีวิตเป็นพลังงานพรมแดนขององค์ภควานฺ พวกเขาอยู่ในมลทินทางวัตถุคิดว่าตนเองเป็นผู้ที่มีความสุขเกษมสำราญ แต่อันที่จริงมิใช่เป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญสูงสุด ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนตรงที่นี้ว่าผู้มีความสุขเกษมสำราญสูงสุดคือองค์ภควานฺในรูปลักษณ์ที่ปรากฏต่างๆ รวมทั้งภาคแบ่งแยกที่สมบูรณ์ของพระองค์เช่น นารายณ วาสุเทว ฯลฯ

สาวกสามารถคิดถึงองค์ภควานฺอยู่เสมอในรูปลักษณ์ที่ตนบูชา เช่น นารายณ, กฺฤษฺณ, ราม เป็นต้น ด้วยการสวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ การปฏิบัติเช่นนี้จะทำให้เราบริสุทธิ์เพราะสวดภาวนาอยู่เสมอ ในบั้นปลายชีวิตเราจะถูกย้ายไปยังอาณาจักรแห่งองค์ภควานฺ การปฏิบัติโยคะคือการทำสมาธิที่องค์อภิวิญญาณภายใน ในทำนองเดียวกันการสวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ เรานั้นตั้งจิตมั่นอยู่ที่องค์ภควานฺตลอดเวลา จิตใจจะโลเลไม่แน่นอน ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องให้จิตใจปฏิบัติด้วยการบังคับให้คิดถึงองค์กฺฤษฺณ มีตัวอย่างที่ให้ไว้บ่อยๆว่าตัวดักแด้คิดถึงว่ามันจะกลายมาเป็นผีเสื้อ ดังนั้นมันจึงเปลี่ยนรูปมาเป็นผีเสื้อในชีวิตเดียวกันนี้ ในลักษณะเดียวกันหากเราคิดถึงองค์กฺฤษฺณอยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าในบั้นปลายชีวิตเราจะมีร่างกายที่มีองค์ประกอบเหมือนกับองค์กฺฤษฺณ

โศลก 9

kaviṁ purāṇam anuśāsitāram
aṇor aṇīyāṁsam anusmared yaḥ
sarvasya dhātāram acintya-rūpam
āditya-varṇaṁ tamasaḥ parastāt
กวึ ปุราณมฺ อนุศาสิตารมฺ
อโณรฺ อณียำสมฺ อนุสฺมเรทฺ ยห์
สรฺวสฺย ธาตารมฺ อจินฺตฺย-รูปมฺ
อาทิตฺย-วรฺณํ ตมสห์ ปรสฺตาตฺ
กวิมฺ — ผู้ที่รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, ปุราณมฺ — อาวุโสที่สุด, อนุศาสิตารมฺ — ผู้ควบคุม, อโณห์ — กว่าละอองอณู, อณียำสมฺ — เล็กว่า, อนุสฺมเรตฺ — คิดถึงอยู่เสมอ, ยห์ — ผู้ซึ่ง, สรฺวสฺย — ของทุกสิ่ง, ธาตารมฺ — ผู้ดำรงรักษา, อจินฺตฺย — ไม่สามารถมองเห็น, รูปมฺ — รูปลักษณ์ของพระองค์, อาทิตฺย-วรฺณมฺ — เจิดจรัสเหมือนดวงอาทิตย์, ตมสห์ — ความมืด, ปรสฺตาตฺ — ทิพย์

คำแปล

เราควรทำสมาธิที่องค์ภควานฺในฐานะที่ทรงเป็นผู้รอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง ทรงเป็นผู้อาวุโสที่สุด ทรงเป็นผู้ควบคุม ทรงเล็กกว่าสิ่งที่เล็กที่สุด ทรงเป็นผู้ดำรงรักษาทุกสิ่งทุกอย่าง ทรงอยู่เหนือแนวคิดทางวัตถุทั้งปวง ไม่สามารถมองเห็นได้ และทรงเป็นบุคคลอยู่เสมอ พระองค์ทรงเจิดจรัสเหมือนดวงอาทิตย์ และทรงเป็นทิพย์เหนือธรรมชาติวัตถุ

คำอธิบาย

วิธีการคิดถึงองค์ภควานฺได้กล่าวไว้ในโศลกนี้ จุดสำคัญที่สุดคือพระองค์ทรงไม่ได้ไร้รูปลักษณ์หรือว่างเปล่า เราไม่สามารถทำสมาธิอยู่ที่บางสิ่งบางอย่างที่ไม่มีรูปลักษณ์หรือว่างเปล่าได้เพราะเป็นสิ่งที่ยากมาก อย่างไรก็ดีวิธีการคิดถึงองค์กฺฤษฺณนั้นง่ายมาก ได้กล่าวไว้ ที่นี้ว่าก่อนอื่นพระองค์ทรงเป็น ปุรุษ หรือบุคคล เราคิดถึงรูปลักษณ์พระรามและรูปลักษณ์องค์กฺฤษฺณไม่ว่าเราจะคิดถึงพระรามหรือองค์กฺฤษฺณ พระองค์ทรงเป็นเช่นไรนั้นได้อธิบายในโศลกนี้ของ ภควัท-คีตา องค์ภควานฺทรงเป็น กวิ หมายความว่าพระองค์รู้อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ดังนั้นพระองค์ทรงรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นผู้อาวุโสที่สุดเพราะว่าเป็นแหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกสิ่งทุกอย่างกำเนิดมากจากพระองค์พระองค์ยังเป็นผู้ควบคุมจักรวาลสูงสุด ทรงเป็นผู้ดำรงรักษาและผู้สอนมนุษยชาติ ทรงเล็กว่าสิ่งที่เล็กที่สุด สิ่งมีชิวิตมีขนาดเศษหนึ่งส่วนหมื่นของปลายเส้นผม แต่องค์ภควานฺเล็กจนมองไม่เห็นและเสด็จเข้าไปอยู่ในหัวใจของละอองอณูนี้ ดังนั้นพระองค์ถูกเรียกว่าเล็กกว่าสิ่งที่เล็กที่สุด ในฐานะที่เป็นองค์ภควานฺพระองค์ทรงสามารถเสด็จเข้าไปในละอองอณูและเข้าไปในหัวใจของสิ่งที่เล็กที่สุด และควบคุมเขาในฐานะที่เป็นอภิวิญญาณ แม้จะเล็กขนาดนี้พระองค์ยังแผ่กระจายไปทั่วและดำรงรักษาทุกสิ่งทุกอย่าง ทรงเป็นผู้ค้ำจุนระบบดาวเคราะห์ต่างๆทั้งหมดนี้ เราประหลาดใจอยู่เสมอว่าดาวเคราะห์อันมหึมาเหล่านี้ลอยอยู่ในอากาศได้อย่างไร ได้กล่าวไว้ ที่นี้ว่า ด้วยพลังอำนาจอันมองไม่เห็นขององค์ภควานฺพระองค์ทรงค้ำจุนดาวเคราะห์มหึมาทั้งหลายเหล่านี้รวมทั้งระบบต่างๆของหมู่ดวงดาว คำว่า อจินฺตฺย (“ไม่สามารถมองเห็น”) มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกันนี้ พลังงานขององค์ภควานฺอยู่เหนือขอบเขตวิศัยทัศน์ของพวกเรา ดังนั้นจึงเรียกว่าไม่สามารถมองเห็น (อจินฺตฺย) ผู้ใดจะสามารถถกเถียงประเด็นนี้ได้ พระองค์ทรงแผ่กระจายในโลกวัตถุนี้ถึงกระนั้นก็อยู่เหนือโลกวัตถุนี้ เราไม่สามารถเข้าใจแม้แต่โลกวัตถุซึ่งไม่มีความสำคัญอันใดเลยเมื่อเปรียบเทียบกับโลกทิพย์แล้วเราจะเข้าใจสิ่งที่สูงไปกว่านี้ได้อย่างไร อจินฺตฺย หมายความว่าโลกวัตถุซึ่งข้อถกเถียงตามตรรกวิทยาและการคาดคะเนทางปรัชญาของเราไม่สามารถสัมผัสสิ่งที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ ฉะนั้นบุคคลผู้มีปัญญาจะหลีกเลี่ยงการถกเถียงและการคาดคะเนที่ไร้ประโยชน์ และยอมรับสิ่งที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์ เช่น คัมภีร์พระเวท ภควัท-คีตา และ ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ และปฏิบัติตามหลักการที่วางไว้ เช่นนี้จะนำเราไปสู่ความเข้าใจ

โศลก 10

prayāṇa-kāle manasācalena
bhaktyā yukto yoga-balena caiva
bhruvor madhye prāṇam āveśya samyak
sa taṁ paraṁ puruṣam upaiti divyam
ปฺรยาณ-กาเล มนสาจเลน
ภกฺตฺยา ยุกฺโต โยค-พเลน ไจว
ภฺรุโวรฺ มเธฺย ปฺราณมฺ อาเวศฺย สมฺยกฺ
ส ตํ ปรํ ปุรุษมฺ อุไปติ ทิวฺยมฺ
ปฺรยาณ-กาเล — ขณะตาย, มนสา — ด้วยใจ, อจเลน — ปราศจากการเบี่ยงเบน, ภกฺตฺยา — อุทิศตนเสียสละอย่างสมบูรณ์, ยุกฺตห์ — ปฏิบัติ, โยค-พเลน — ด้วยพลังแห่งอิทธิฤทธิ์โยคะ, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, ภฺรุโวห์ — คิ้วทั้งสองข้าง, มเธฺย — ระหว่าง, ปฺราณมฺ — ลมปราณชีวิต, อาเวศฺย — ตั้งมั่น, สมฺยกฺ — สมบูรณ์, สห์ — เขา, ตมฺ — นั้น, ปรมฺ — ทิยพ์, ปุรุษมฺ — องค์ภควานฺ, อุไปติ — บรรลุ, ทิวฺยมฺ — ในอาณาจักรทิพย์

คำแปล

คนที่ขณะตายตั้งมั่นลมปราณชีวิตอยู่ระหว่างคิ้วทั้งสอง และด้วยพลังแห่งโยคะ พร้อมทั้งจิตใจที่ไม่เบี่ยงเบน ปฏิบัติการระลึกถึงองค์ภควานฺด้วยการอุทิศตนเสียสละอย่างสมบูรณ์นั้น แน่นอนว่าจะบรรลุถึงบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า

คำอธิบาย

โศลกนี้ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าในขณะกำลังตายนั้นจิตใจต้องตั้งมั่นในการอุทิศตนเสียสละต่อบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า สำหรับพวกที่ฝึกปฏิบัติโยคะได้แนะนำไว้ว่าให้กำหนดพลังแห่งชีวิตให้มาอยู่ระหว่างคิ้วทั้งสอง (ที่ อาชฺญา-จกฺร) การปฏิบัติ ษฏฺ-จกฺร-โยค เกี่ยวเนื่องกับการทำสมาธิที่ จกฺร ทั้งหกซึ่งเกริ่นไว้ ที่นี้ สาวกผู้บริสุทธิ์มิได้ฝึกปฏิบัติโยคะเช่นนี้ แต่เพราะท่านปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เสมอขณะที่กำลังจะตายด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์กฺฤษฺณจะทำให้สามารถระลึกถึงองค์ภควานฺได้ ดังจะอธิบายในโศลกสิบสี่

การใช้คำว่า โยค-พเลน มีความสำคัญในโศลกนี้ เพราะหากปราศจากการปฏิบัติโยคะไม่ว่าจะเป็น ษฏฺ-จกฺร-โยค หรือ ภกฺติ-โยค เราจะไม่สามารถไปถึงระดับทิพย์นี้ได้ในขณะที่กำลังจะตาย ขณะตายไม่มีใครสามารถระลึกถึงองค์ภควานฺขึ้นมาได้ในทันที เราจึงต้องฝึกปฏิบัติระบบโยคะบางอย่าง โดยเฉพาะระบบ ภกฺติ-โยค เนื่องจากจิตใจของเราขณะที่กำลังจะตายจะสับสนมาก เราจึงควรฝึกปฏิบัติวิถีทิพย์ผ่านระบบโยคะในระหว่างที่เรายังมีชีวิตอยู่

โศลก 11

yad akṣaraṁ veda-vido vadanti
viśanti yad yatayo vīta-rāgāḥ
yad icchanto brahma-caryaṁ caranti
tat te padaṁ saṅgraheṇa pravakṣye
ยทฺ อกฺษรํ เวท-วิโท วทนฺติ
วิศนฺติ ยทฺ ยตโย วีต-ราคาห์
ยทฺ อิจฺฉนฺโต พฺรหฺม-จรฺยํ จรนฺติ
ตตฺ เต ปทํ สงฺคฺรเหณ ปฺรวกฺเษฺย
ยตฺ — ซึ่ง, อกฺษรมฺ — พยางค์โอม, เวท-วิทห์ — บุคคลผู้ชำนาญในคัมภีร์พระเวท, วทนฺติ — กล่าว, วิศนฺติ — เข้า, ยตฺ — ในที่ซึ่ง, ยตยห์ — ปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่, วีต-ราคาห์ — ในชีวิตสละโลก, ยตฺ — ซึ่ง, อิจฺฉนฺตห์ — ต้องการ, พฺรหฺม-จรฺยมฺ — พรหมจรรย์, จรนฺติ — ปฏิบัติ, ตตฺ — นั้น, เต — แด่เธอ, ปทมฺ — สถิต, สงฺคฺรเหณ — โดยสรุป, ปฺรวกฺเษฺย — ข้าจะอธิบาย

คำแปล

บุคคลผู้รอบรู้คัมภีร์พระเวทเปล่งเสียง โอํ-การ และเป็นนักปราชญ์ยิ่งใหญ่ในระดับชีวิตสละโลก บรรลุถึง พฺรหฺมนฺ ด้วยปรารถนาความสมบูรณ์เช่นนี้ เขาประพฤติพรหมจรรย์ บัดนี้ข้าจะอธิบายแด่เธอถึงวิธีการโดยสรุปที่เขาอาจบรรลุถึงความหลุดพ้น

คำอธิบาย

องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงแนะนำ อรฺชุน ให้ฝึกปฏิบัติ ษฏฺ-จกฺร-โยค ซึ่งต้องกำหนดลมปราณชีวิตระหว่างคิ้วทั้งสอง สมมติว่า อรฺชุน อาจไม่รู้ว่าการปฏิบัติ ษฏฺ-จกฺร-โยค ว่าเป็นเช่นไร องค์กฺฤษฺณจะทรงอธิบายถึงวิธีการในโศลกต่อๆไปโดยตรัสว่า พฺรหฺมนฺ ถึงแม้ว่าเป็นหนึ่งไม่มีสอง มีปรากฎการณ์และลักษณะต่างกันโดยเฉพาะสำหรับพวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์ อกฺษร หรือ โอํ-การ คำว่า โอํ เหมือนกับ พฺรหฺมนฺ ที่นี้องค์กฺฤษฺณทรงอธิบายถึง พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ซึ่งนักปราชญ์ผู้อยู่ในระดับสละโลกบรรลุถึง

ในระบบแห่งความรู้พระเวทจากจุดเริ่มต้นนักศึกษาถูกสอนให้เปล่งเสียง โอํ และเรียนรู้ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์สูงสุดด้วยการอยู่กับพระอาจารย์ทิพย์ ถือเพศพรหมจรรย์โดยสมบูรณ์จึงรู้แจ้งสองลักษณะของ พฺรหฺมนฺ การปฏิบัติเช่นนี้มีความสำคัญมากสำหรับนักศึกษาที่จะเจริญก้าวหน้าในชีวิตทิพย์ แต่ในปัจจุบันนั้นชีวิต พฺรหฺมจารี (ผู้ถือเพศพรหมจรรย์ไม่สมรส) เป็นไปไม่ได้เลย โครงสร้างทางสังคมในโลกเปลี่ยนแปลงไปมากจึงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะถือเพศพรหมจรรย์จากจุดเริ่มต้นของชีวิตนักศึกษา มีสถาบันในสาขาวิชาต่างๆมากมายทั่วโลกแต่ไม่มีสถาบันใดสอนนักศึกษาในหลักธรรม พฺรหฺมจารี ให้เป็นที่รู้จักกัน นอกจากเสียว่าเราจะประพฤติพรหมจรรย์มิฉะนั้นแล้วความเจริญก้าวหน้าในชีวิตทิพย์จะเป็นสิ่งที่ยากมาก ดังนั้นองค์ไจตนฺย ทรงประกาศตามคำสั่งสอนในพระคัมภีร์สำหรับกลียุคนี้ว่า ในยุคนี้ไม่มีวิถีทางในการรู้แจ้งถึงองค์ภควานฺนอกจากการสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของศฺรี กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร

โศลก 12

sarva-dvārāṇi saṁyamya
mano hṛdi nirudhya ca
mūrdhny ādhāyātmanaḥ prāṇam
āsthito yoga-dhāraṇām
สรฺว-ทฺวาราณิ สํยมฺย
มโน หฺฤทิ นิรุธฺย จ
มูรฺธฺนฺยฺ อาธายาตฺมนห์ ปฺราณมฺ
อาสฺถิโต โยค-ธารณามฺ
สรฺว-ทฺวาราณิ — ประตูทั้งหมดของร่างกาย, สํยมฺย — ควบคุม, มนห์ — จิตใจ, หฺฤทิ — ในหัวใจ, นิรุธฺย — ขอบเขต, — เช่นกัน, มูรฺธฺนิ — บนศีรษะ, อาธาย — ตั้งมั่น, อาตฺมนห์ — ของวิญญาณ, ปฺราณมฺ — ลมปราณชีวิต, อาสฺถิตห์ — สถิต, โยค-ธารณามฺ — สภาวะโยคะ

คำแปล

สภาวะโยคะ คือ การไม่ยึดติดกับการปฏิบัติทางประสาทสัมผัสทั้งหมด ปิดประตูประสาทสัมผัสทั้งหมด ตั้งจิตมั่นอยู่ที่หัวใจ และกำหนดลมปราณชีวิตอยู่ที่บนศีรษะ เขาสถิตตนเองอยู่ในโยคะ

คำอธิบาย

การปฏิบัติโยคะได้แนะนำไว้ ที่นี้ ก่อนอื่นเราต้องปิดประตูเพื่อความสุขทางประสาทสัมผัสทั้งหมด การปฏิบัติเช่นนี้เรียกว่า ปฺรตฺยาหาร หรือการถอนประสาทสัมผัสต่างๆให้ออกจากอายตนะภายนอก อวัยวะประสาทสัมผัสเพื่อรับความรู้ เช่น ตา หู จมูก ลิ้น และสัมผัสควรถูกควบคุมอย่างสมบูรณ์ ไม่ควรปล่อยให้ไปปฏิบัติเพื่อสนองประสาทสัมผัสของตน เช่นนี้จิตใจจดจ่ออยู่ที่อภิวิญญาณภายในหัวใจ และพลังชีวิตยกสูงขึ้นไปด้านบนของศีรษะ วิธีนี้ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดในบทที่หก ซึ่งกล่าวไว้ว่าการปฏิบัติเช่นนี้ไม่เหมาะสมสำหรับยุคนี้ วิธีที่ดีที่สุดคือ กฺฤษฺณจิตสำนึก หากเราสามารถตั้งจิตมั่นอยู่ที่องค์กฺฤษฺณในการอุทิศตนเสียสละรับใช้อยู่เสมอจะเป็นการง่ายมากที่จะคงอยู่ในความสงบที่ไม่หวั่นไหวหรือยู่ใน สมาธิ

โศลก 13

oṁ ity ekākṣaraṁ brahma
vyāharan mām anusmaran
yaḥ prayāti tyajan dehaṁ
sa yāti paramāṁ gatim
โอํ อิตฺยฺ เอกากฺษรํ พฺรหฺม
วฺยาหรนฺ มามฺ อนุสฺมรนฺ
ยห์ ปฺรยาติ ตฺยชนฺ เทหํ
ส ยาติ ปรมำ คติมฺ
โอํ — การผสมอักษรโอม (โอํ-การ) , อิติ — ดังนั้น, เอก-อกฺษรมฺ — หนึ่งพยางค์, พฺรหฺม — สมบูรณ์, วฺยาหรนฺ — เปล่งเสียง, มามฺ — ข้า (กฺฤษฺณ) , อนุสฺมรนฺ — ระลึกถึง, ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, ปฺรยาติ — จาก, ตฺยชนฺ — ออกจาก, เทหมฺ — ร่างนี้, สห์ — เขา, ยาติ — บรรลุ, ปรมามฺ — สูงสุด, คติมฺ — จุดหมายปลายทาง

คำแปล

หลังจากสถิตในการปฏิบัติโยคะนี้และเปล่งเสียงอันศักดิ์สิทธิ์ โอํ ซึ่งเป็นการผสมอักษรที่สูงสุด หากเขาคิดถึงบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า และออกจากร่างนี้ไป แน่นอนว่าจะบรรลุถึงดาวเคราะห์ทิพย์

คำอธิบาย

ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน ที่นี้ว่าคำ โอํ, พฺรหฺมนฺ และองค์ศฺรี กฺฤษฺณไม่แตกต่างกัน เสียงที่ไร้รูปลักษณ์ขององค์กฺฤษฺณ คือ โอํ แต่เสียง หเร กฺฤษฺณ บรรจุโอมอยู่ด้วย การสวดภาวนาบทมนต์ หเร กฺฤษฺณ ได้แนะนำไว้อย่างชัดเจนสำหรับยุคนี้ ดังนั้นหากผู้ใดออกจากร่างนี้ในบั้นปลายชีวิตและสวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร / หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร แน่นอนว่าจะบรรลุถึงหนึ่งในดาวเคราะห์ทิพย์ตามระดับที่ผู้นั้นปฏิบัติ สาวกขององค์กฺฤษฺณจะเข้าไปในดาวเคราะห์ กฺฤษฺณ โคโลก วฺฤนฺทาวน สำหรับผู้เชื่อในรูปลักษณ์มีดาวเคราะห์อื่นๆอีกมากมายเช่นเดียวกันเรียกว่าดาวเคราะห์ ไวกุณฺฐ ในท้องฟ้าทิพย์ ขณะที่ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์จะคงอยู่ใน พฺรหฺม-โชฺยติรฺ

โศลก 14

ananya-cetāḥ satataṁ
yo māṁ smarati nityaśaḥ
tasyāhaṁ su-labhaḥ pārtha
nitya-yuktasya yoginaḥ
อนนฺย-เจตาห์ สตตํ
โย มำ สฺมรติ นิตฺยศห์
ตสฺยาหํ สุ-ลภห์ ปารฺถ
นิตฺย-ยุกฺตสฺย โยคินห์
อนนฺย-เจตาห์ — จิตใจไม่เบี่ยงเบน, สตตมฺ — เสมอ, ยห์ — ผู้ใดที่, มามฺ — ข้า (คริขณะ), สฺมรติ — ระลึกถึง, นิตฺยศห์ — อยู่เสมอ, ตสฺย — สำหรับเขา, อหมฺ — ข้าเป็น, สุ-ลภห์ — บรรลุถึงโดยง่ายดาย, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, นิตฺย — สม่ำเสมอ, ยุกฺตสฺย — ปฏิบัติ, โยคินห์ — สำหรับสาวก

คำแปล

สำหรับผู้ที่ระลึกถึงข้าอยู่ตลอดเวลาโดยไม่เบี่ยงเบนจะบรรลุถึงข้าโดยง่ายดาย เนื่องจากเขาปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้อยู่เสมอ โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา

คำอธิบาย

โศลกนี้อธิบายถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดโดยเฉพาะของสาวกผู้ไร้มลทินที่รับใช้องค์ภควานฺใน ภกฺติ-โยค นั้นจะบรรลุถึง โศลกก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึงสาวกสี่ประเภทคือ ผู้มีความทุกข์ ผู้ใคร่รู้ ผู้แสวงหาผลกำไรทางวัตถุ และนักปราชญ์ผู้คาดคะเน ได้อธิบายหลายวิธีเพื่อความหลุดพ้นด้วย เช่น กรฺม-โยค, ชฺญาน-โยค และ หฐ-โยค หลักธรรมของระบบโยคะเหล่านี้มี ภกฺติ รวมอยู่บ้าง แต่โศลกนี้กล่าวถึง ภกฺติ-โยค ที่บริสุทธิ์โดยเฉพาะโดยไม่มีการผสมของ ชฺญาน, กรฺม หรือ หฐ ด้วยการใช้คำว่า อนนฺย-เจตาห์ ใน ภกฺติ-โยค ที่บริสุทธ์ สาวกไม่ปรารถนาสิ่งอื่นใดนอกจากองค์กฺฤษฺณ สาวกผู้บริสุทธิ์ไม่ปรารถนาที่จะได้รับการส่งเสริมให้ไปโลกสวรรค์ หรือปรารถนามาเป็นหนึ่งเดียวกับ พฺรหฺม-โชฺยติรฺ ความหลุดพ้นหรือเป็นอิสระจากพันธนาการทางวัตถุสาวกผู้บริสุทธิ์ไม่ต้องการสิ่งใดๆทั้งสิ้น ใน ไจตนฺย-จริตามฺฤต สาวกผู้บริสุทธิ์เรียกว่า นิษฺกาม หมายความว่าท่านไม่ปรารถนาผลประโยชน์เพื่อตนเอง ความสงบอันสมบูรณ์เป็นของท่านโดยเฉพาะ ไม่ใช่พวกที่ดิ้นรนเพื่อผลประโยชน์แห่งตน ในขณะที่ ชฺญาน-โยคี, กรฺม-โยคี หรือ หฐ-โยคี มีผลประโยชน์ส่วนตัว สาวกผู้สมบูรณ์ไม่มีความปรารถนาอื่นใดนอกจากทำให้บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงมีความชื่นชมยินดี ดังนั้นองค์ภควานฺตรัสว่าผู้ใดที่อุทิศตนเสียสละแด่พระองค์ด้วยความแน่วแน่มั่นคงจะบรรลุถึงพระองค์โดยง่ายดาย

สาวกผู้บริสุทธิ์ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละต่อองค์กฺฤษฺณด้วยการรับใช้หนึ่งในรูปลักษณ์อันหลากหลายของพระองค์อยู่เสมอ องค์กฺฤษฺณมีภาคแบ่งแยกและอวตารที่สมบูรณ์มากมาย เช่น ราม และ นฺฤสึห สาวกเลือกที่จะตั้งจิตมั่นในการรับใช้ด้วยความรักแด่หนึ่งในรูปลักษณ์ทิพย์ขององค์ภควานฺเหล่านี้ สาวกผู้นี้จะไม่ประสบปัญหาที่ระบาดในหมู่ผู้ปฏิบัติโยคะอื่นๆ ภกฺติ-โยค ง่ายมากทั้งบริสุทธิ์และปฏิบัติได้ง่าย เราสามารถเริ่มต้นด้วยเพียงแต่สวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ องค์ภควานฺทรงมีพระเมตตาต่อทุกชีวิตดังที่ได้อธิบายไว้แล้ว ทรงมีใจเอนเอียงโดยเฉพาะกับผู้ที่รับใช้พระองค์อยู่เสมอโดยไม่เบี่ยงเบน ทรงช่วยสาวกเหล่านี้ในวิธีต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์พระเวท (กฐ อุปนิษทฺ 1.2.23) ยมฺ เอไวษ วฺฤณุเต เตน ลภฺยสฺ / ตไสฺยษ อาตฺมา วิวฺฤณุเต ตนุํ สฺวามฺ ผู้ที่ศิโรราบโดยดุษฎีและปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่องค์ภควานฺจึงเข้าใจพระองค์ตามความเป็นจริง ได้กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา (10.10) ว่า ททามิ พุทฺธิ-โยคํ ตมฺ องค์ภควานฺทรงให้ปัญญาแด่สาวกผู้นี้เพียงพอเพื่อในที่สุดเขาจะได้บรรลุถึงพระองค์ในอาณาจักรทิพย์

คุณสมบัติพิเศษของสาวกผู้บริสุทธิ์คือ จะคิดถึงองค์กฺฤษฺณอยู่ตลอดเวลาโดยไม่เบี่ยงเบนและโดยไม่คำนึงถึงเวลาและสถานที่ จึงไม่มีอุปสรรคใดๆทั้งสิ้น ท่านปฏิบัติรับใช้ในทุกสถานที่และทุกเวลา บางท่านกล่าวว่าสาวกควรอยู่ในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ เช่น วฺฤนฺทาวน หรือเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ที่องค์ภควานฺเคยประทับอยู่ แต่สาวกผู้บริสุทธิ์สามารถอยู่ที่ใดก็ได้และสร้างบรรยากาศแห่ง วฺฤนฺทาวน ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ศฺรี อไทฺวต กล่าวกับองค์ไจตนฺย ว่า “ไม่ว่าพระองค์ทรงอยู่ที่ไหน โอ้ องค์ภควานฺที่นั่นคือ วฺฤนฺทาวน

ได้แสดงไว้ด้วยคำพูด สตตมฺ และ นิตฺยศห์ ซึ่งหมายความว่า “ตลอดไป” “สม่ำเสมอ” หรือ “ทุกๆวัน” สาวกผู้บริสุทธิ์ระลึกถึงองค์กฺฤษฺณและทำสมาธิอยู่ที่พระองค์เสมอ สิ่งเหล่านี้คือคุณสมบัติของสาวกผู้บริสุทธิ์ที่จะบรรลุถึงองค์ภควานฺง่ายที่สุด ภกฺติ-โยค เป็นระบบที่ คีตา แนะนำซึ่งเหนือระบบอื่นใดทั้งหมด โดยทั่วไป ภกฺติ-โยคี ปฏิบัติได้ห้าวิธีคือ (1) ศานฺต-ภกฺต ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยความเป็นกลาง (2) ทาสฺย-ภกฺต ปฏิบัติในการอุทิศตนรับใช้ในฐานะผู้รับใช้ (3) สขฺย-ภกฺต ปฏิบัติในฐานะเป็นเพื่อน (4) วาตฺสลฺย-ภกฺต ปฏิบัติในฐานะเป็นผู้ปกครอง และ (5) มาธุรฺย-ภกฺต ปฏิบัติในฐานะเป็นคู่รักขององค์ภควานฺ ไม่ว่าวิธีใดสาวกผู้บริสุทธิ์จะปฏิบัติการรับใช้ด้วยความรักทิพย์แด่องค์ภควานฺเสมอโดยไม่มีวันลืมพระองค์ดังนั้นการบรรลุถึงพระองค์จึงเป็นสิ่งง่ายดาย สาวกผู้บริสุทธิ์จะไม่ลืมองค์ภควานฺแม้เสี้ยววินาทีเดียว ในทำนองเดียวกันองค์ภควานฺก็ไม่สามารถลืมสาวกผู้บริสุทธิ์ของพระองค์แม้เสี้ยววินาทีเดียวเช่นกัน นี่คือพรอันประเสริฐของวิธีปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยการสวดภาวนามหามนต์ หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร / หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร

โศลก 15

mām upetya punar janma
duḥkhālayam aśāśvatam
nāpnuvanti mahātmānaḥ
saṁsiddhiṁ paramāṁ gatāḥ
มามฺ อุเปตฺย ปุนรฺ ชนฺม
ทุห์ขาลยมฺ อศาศฺวตมฺ
นาปฺนุวนฺติ มหาตฺมานห์
สํสิทฺธึ ปรมำ คตาห์
มามฺ — ข้า, อุเปตฺย — บรรลุ, ปุนห์ — อีกครั้งหนึ่ง, ชนฺม — เกิด, ทุห์ข-อาลยมฺ — สถานที่แห่งความทุกข์, อศาศฺวตมฺ — ชั่วคราว, — ไม่เคย, อาปฺนุวนฺติ — ได้รับ, มหา-อาตฺมานห์ — จิตวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่, สํสิทฺธิมฺ — สมบูรณ์, ปรมามฺ — สูงสุด, คตาห์ — บรรลุ

คำแปล

หลังจากบรรลุถึงข้าแล้วบรรดาดวงวิญญาณยิ่งใหญ่ผู้เป็นโยคีแห่งการอุทิศตนเสียสละจะไม่กลับมายังโลกที่ไม่ถาวรนี้อีก ซึ่งเต็มไปด้วยความทุกข์นานัปการเพราะพวกเขาบรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุด

คำอธิบาย

เนื่องจากโลกวัตถุที่ไม่ถาวรนี้เต็มไปด้วยความทุกข์แห่งการเกิด การแก่ โรคภัยไข้เจ็บ และการตาย โดยธรรมชาติผู้ที่บรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุดและบรรลุถึงดาวเคราะห์สูงสุด กฺฤษฺณโลก โคโลก วฺฤนฺทาวน จะไม่ปรารถนากลับมาอีก ดาวเคราะห์สูงสุดได้อธิบายไว้ในวรรณกรรมพระเวทว่าเป็น อวฺยกฺต และ อกฺษร และ ปรมา คติ คือ ดาวเคราะห์นั้นอยู่เหนือวิสัยทัศน์วัตถุของเราและอธิยายไม่ได้แต่เป็นจุดหมายปลายทางสูงสุด สำหรับ มหาตฺมา (ดวงวิญญาณยิ่งใหญ่) มหาตฺมา ได้รับข้อมูลทิพย์จากสาวกผู้รู้แจ้ง และค่อยๆพัฒนาการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึก ซึมซาบในการอุทิศตนเสียสละรับใช้เป็นอย่างมากจนกระทั่งไม่ปรารถนาจะพัฒนาไปสู่ดาวเคราะห์วัตถุใดๆ และไม่ปรารถนาที่จะย้ายไปยังดาวเคราะห์ทิพย์ดวงอื่นใดเพียงแต่ปรารถนาถึงองค์กฺฤษฺณ และใกล้ชิดกับพระองค์เท่านั้น นั่นคือความสมบูรณ์สูงสุดของชีวิต โศลกนี้กล่าวถึงบรรดาสาวกผู้เชื่อในรูปลักษณ์ขององค์ภควานฺ กฺฤษฺณโดยเฉพาะ สาวกในกฺฤษฺณจิตสำนึกบรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุดในชีวิต บุคคลเหล่านี้คือดวงวิญญาณสูงสุด

โศลก 16

ā-brahma-bhuvanāl lokāḥ
punar āvartino ’rjuna
mām upetya tu kaunteya
punar janma na vidyate
อา-พฺรหฺม-ภุวนาลฺ โลกาห์
ปุนรฺ อาวรฺติโน ’รฺชุน
มามฺ อุเปตฺย ตุ เกานฺเตย
ปุนรฺ ชนฺม น วิทฺยเต
อา-พฺรหฺม-ภุวนาตฺ — ขึ้นไปถึงดาวเคราะห์ พฺรหฺมโลก, โลกาห์ — ระบบดาวเคราะห์ต่างๆ, ปุนห์ — อีกครั้งหนึ่ง, อาวรฺตินห์ — กลับมา, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน, มามฺ — แดข้า, อุเปตฺย — มาถึง, ตุ — แต่, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, ปุนห์ ชนฺม — เกิดอีกครั้ง, — ไม่เคย, วิทฺยเต — เกิดขึ้น

คำแปล

จากดาวเคราะห์สูงสุดในโลกวัตถุลงไปถึงดาวเคราะห์ต่ำสุด ทั้งหมดเป็นสถานที่แห่งความทุกข์ที่มีการเกิดและการตายซ้ำซาก แต่ผู้ที่บรรลุถึงพระตำหนักของข้า โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี จะไม่กลับมาเกิดอีก

คำอธิบาย

โยคะทั้งหมด เช่น กรฺม, ชฺญาน, หฐ ฯลฯ ในที่สุดต้องมาถึงความสมบูรณ์แห่งการอุทิศตนเสียสละใน ภกฺติ-โยค หรือ กฺฤษฺณจิตสำนึก ก่อนที่จะไปถึงพระตำหนักทิพย์ของศฺรี กฺฤษฺณและไม่ต้องกลับมา พวกที่บรรลุถึงดาวเคราะห์วัตถุสูงสุดต่างๆของเทวดายังจะต้องกลับมาเกิดและตายครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนกับบุคคลในโลกนี้ที่พัฒนาขึ้นไปสู่ดาวเคราะห์ที่สูงกว่า ผู้คนในดาวเคราะห์ที่สูงกว่า เช่น พฺรหฺมโลก, จนฺทฺรโลก และ อินฺทฺรโลก ตกลงมาบนโลก การปฏิบัติบูชาเรียกว่า ปญฺจาคฺนิ-วิทฺยา แนะนำไว้ใน ฉานฺโทคฺย อุปนิษทฺ ช่วยให้บรรลุถึง พฺรหฺมโลก หากอยู่ที่ พฺรหฺมโลก แล้วไม่เจริญในกฺฤษฺณจิตสำนึกเขาต้องกลับมาบนโลกอีก พวกที่พัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึกบนดาวเคราะห์สูงจะพัฒนาสูงขึ้นไปเรื่อยๆ และเมื่อถึงเวลาแห่งการทำลายล้างจักรวาลจะถูกย้ายไปยังอาณาจักรทิพย์อมตะ วิทฺยาภูษณ วิทฺยาภูษณ อธิบายใน ภควัท-คีตา ของท่านโดยอ้างโศลกนี้

พฺรหฺมณา สห เต สเรฺว
สมฺปฺราปฺเต ปฺรติสญฺจเร
ปรสฺยานฺเต กฺฤตาตฺมานห์
ปฺรวิศนฺติ ปรํ ปทมฺ
“เมื่อมีการทำลายล้างจักรวาลวัตถุ พระพรหมและสาวกของท่านทั้งหมดที่ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เสมอจะถูกย้ายไปยังจักรวาลทิพย์ และไปยังดาวเคราะห์ทิพย์โดยเฉพาะตามที่ตนปรารถนา”

โศลก 17

sahasra-yuga-paryantam
ahar yad brahmaṇo viduḥ
rātriṁ yuga-sahasrāntāṁ
te ’ho-rātra-vido janāḥ
สหสฺร-ยุค-ปรฺยนฺตมฺ
อหรฺ ยทฺ พฺรหฺมโณ วิทุห์
ราตฺรึ ยุค-สหสฺรานฺตำ
เต ’โห-ราตฺร-วิโท ชนาห์
สหสฺร — หนึ่งพัน, ยุค — ยุค, ปรฺยนฺตมฺ — รวมทั้ง, อหห์ — วัน, ยตฺ — ซึ่ง, พฺรหฺมณห์ — ของพระพรหม, วิทุห์ — พวกเขารู้, ราตฺริมฺ — กลางคืน, ยุค — ยุค, สหสฺร-อนฺตามฺ — ในทำนองเดียวกัน, จบลงหลังหนึ่งพัน, เต — พวกเขา, อหห์-ราตฺร — กลางวันและกลางคืน, วิทห์ — ผู้เข้าใจ, ชนาห์ — ผู้คน

คำแปล

จากการคำนวณของมนุษย์ หนึ่งพันรอบรวมกันเป็นหนึ่งวันของพระพรหม และระยะเวลาเดียวกันนี้ก็เป็นหนึ่งคืนของพระพรหม

คำอธิบาย

เวลาในจักรวาลวัตถุมีจำกัดและปรากฏในรอบของกัปหรือ กลฺป หนึ่ง กลฺป เป็นหนึ่งวันของพระพรหม หนึ่งวันของพระพรหมประกอบไปด้วยหนึ่งพันรอบของสี่ยุคคือ สตฺย ยุค, เตฺรตา ยุค, ทฺวาปร ยุค และ กลิ ยุค ลักษณะของ สตฺย ยุค คือมีความดี มีปัญญา และมีศาสนา โดยทั่วไปยุคนี้จะไม่มีอวิชชาและความชั่ว ยุคนี้มีระยะเวลา 1,728,000 ปี ใน เตฺรตา ยุค ความชั่วเริ่มเข้ามา ยุคนี้มีระยะเวลา 1,296,000 ปี ใน ทฺวาปร ยุค ความดีและศาสนาจะเสื่อมลงมาก ความชั่วแผ่ขยาย ยุคนี้มีระยะเวลา 864,000 ปี ท้ายสุดในกลียุค (ยุคที่เรามีประสบการณ์มากว่า 5,000 ปี) จะมีการทะเลาะวิวาท ต่อสู้ อวิชชา ไร้ศาสนา และความชั่วแพร่หลายมาก ความดีที่แท้จริงเกือบหาไม่พบเลย ยุคนี้มีระยะเวลา 432,000 ปี ในกลียุคความชั่วแผ่ไพศาลไปจนถึงปลายยุคและองค์ภควานฺเสด็จลงมาเองในรูปของ กลฺกิ อวตาร เพื่อขจัดเหล่ามารและช่วยสาวกไว้ จากนั้นก็เริ่มต้น สตฺย ยุค ใหม่แล้ววิธีการเดียวกันนี้ดำเนินต่อไปอีกครั้ง สี่ยุคนี้หมุนเวียนเปลี่ยนไปหนึ่งพันครั้งรวมกันเป็นหนึ่งวันของพระพรหม และจำนวนเดียวกันนี้ก็รวมกันเป็นหนึ่งคืน พระพรหมมีอายุขัยหนึ่งร้อยปี จากนั้นพระพรหมจะอายุไข “หนึ่งร้อยปี”นี้จากการคำนวณทางโลกนั้นรวมกันเป็น 311 ล้านล้าน 40 พันล้านปีของโลก เมื่อการคำนวณชีวิตของพระพรหมดูเหมือนยืนยาวไม่มีวันสิ้นสุด แต่ถ้ามองจากมุมความเป็นอมตะก็เป็นเพียงแค่ชั่วแวบเดียวเหมือนสายฟ้าแลบ ในมหาสมุทรแหล่งกำเนิดมีพระพรหมจำนวนนับไม่ถ้วนเกิดขึ้นมา และจากไปเหมือนกับฟองน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติค พระพรหมและการสร้างของท่านทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาลวัตถุ ดังนั้นบรรดาพระพรหมจึงผ่านไปเรื่อยๆ

ในจักรวาลวัตถุแม้แต่พระพรหมยังไม่เป็นอิสระจากกรรมวิธีแห่งการเกิดความแก่ โรคภัยไข้เจ็บ และความตาย อย่างไรก็ดีพระพรหมทรงปฏิบัติในการรับใช้องค์ภควานฺโดยตรงด้วยการบริหารจักรวาลนี้ ฉะนั้นท่านจึงบรรลุความหลุดพ้นทันที สนฺนฺยาสี ผู้เจริญก้าวหน้าจะได้รับการส่งเสริมไปที่ดาวเคราะห์โดยเฉพาะของพระพรหมชื่อ พฺรหฺมโลก ซึ่งเป็นดาวเคราะห์สูงสุดในจักรวาลวัตถุที่มีอายุยืนยาวกว่าดาวเคราะห์สวรรค์ทั้งหลายในระดับชั้นที่สูงกว่าของระบบดาวเคราะห์ แต่พระพรหมรวมทั้งผู้อาศัยอยู่ที่ พฺรหฺมโลก ทั้งหมดต้องพบกับความตายตามกาลเวลาซึ่งเป็นไปตามกฎแห่งธรรมชาติวัตถุ

โศลก 18

avyaktād vyaktayaḥ sarvāḥ
prabhavanty ahar-āgame
rātry-āgame pralīyante
tatraivāvyakta-saṁjñake
อวฺยกฺตาทฺ วฺยกฺตยห์ สรฺวาห์
ปฺรภวนฺตฺยฺ อหรฺ-อาคเม
ราตฺรฺยฺ-อาคเม ปฺรลียนฺเต
ตไตฺรวาวฺยกฺต-สํชฺญเก
อวฺยกฺตาตฺ — จากที่ไม่ปรากฏ, วฺยกฺตยห์ — สิ่งมีชีวิต, สรฺวาห์ — ทั้งหมด, ปฺรภวนฺติ — ปรากฏออกมา, อหห์-อาคเม — ในตอนเริ่มต้นของวัน ราตฺริ-อาคเม — ตกตอนกลางคืน, ปฺรลียนฺเต — ถูกทำลาย, ตตฺร — ในนั้น, เอว — แน่นอน, อวฺยกฺต — ไม่ปรากฏ, สํชฺญเก — ซึ่งเรียกว่า

คำแปล

ในตอนเริ่มต้นวันของพระพรหมสิ่งมีชีวิตทั้งหลายปรากฏออกมาจากสภาวะที่ไม่ปรากฏ หลังจากนั้นเมื่อตกตอนกลางคืนพวกเขาก็กลืนเข้าไปในการไม่ปรากฏอีกครั้งหนึ่ง

โศลก 19

bhūta-grāmaḥ sa evāyaṁ
bhūtvā bhūtvā pralīyate
rātry-āgame ’vaśaḥ pārtha
prabhavaty ahar-āgame
ภูต-คฺรามห์ ส เอวายํ
ภูตฺวา ภูตฺวา ปฺรลียเต
ราตฺรฺยฺ-อาคเม ’วศห์ ปารฺถ
ปฺรภวตฺยฺ อหรฺ-อาคเม
ภูต-คฺรามห์ — การรวมกันของมวลชีวิต, สห์ — เหล่านี้, เอว — แน่นอน, อยมฺ — นี้, ภูตฺวา ภูตฺวา — เกิดแล้วเกิดอีก, ปฺรลียเต — ถูกทำลาย, ราตฺริ — ของเวลากลางคืน, อาคเม — เข้า มา, อวศห์ — โดยปริยาย, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, ปฺรภวติ — ปรากฏออกมา, อหห์ — เวลากลางวัน, อาคเม — เข้ามา

คำแปล

เมื่อเวลากลางวันของพระพรหมมาถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหมดก็ปรากฏครั้งแล้วครั้งเล่า และเมื่อตอนกลางคืนของพระพรหมมาถึงพวกเขาก็ถูกทำลายไปอย่างช่วยไม่ได้

คำอธิบาย

คนด้อยปัญญาพยายามจะอยู่ภายในโลกวัตถุนี้และอาจพัฒนาไปถึงดาวเคราะห์ที่สูงกว่า จากนั้นต้องกลับลงมาที่โลกนี้อีกครั้งหนึ่ง ในเวลากลางวันของพระพรหมพวกเขาสามารถทำกิจกรรมต่างๆในดาวเคราะห์เบื้องสูงและเบื้องต่ำภายในโลกวัตถุนี้ แต่เมื่อเวลากลางคืนของพระพรหมมาถึงทั้งหมดก็จะถูกทำลาย ในเวลากลางวันพวกเขาได้รับร่างกายต่างๆเพื่อทำกิจกรรมทางวัตถุ และในตอนกลางคืนจะไม่มีร่างกายแต่จะอัดกันอยู่ในร่างของพระวิษณุ จากนั้นก็จะปรากฏออกมาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเวลากลางวันของพระพรหมมาถึง ภูตฺวา ภูตฺวา ปฺรลียเต ในตอนกลางวันปรากฏและในตอนกลางคืนถูกทำลายลงอีก ในที่สุดเมื่อชีวิตของพระพรหมจบสิ้นลงทั้งหมดถูกทำลาย และจะไม่ปรากฏเป็นเวลาล้านล้านปี และเมื่อพระพรหมเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในอีกยุคหนึ่งพวกเขาก็ปรากฏขึ้นใหม่ เช่นนี้สิ่งมีชีวิตถูกทำให้หลงด้วยมนต์ขลังแห่งโลกวัตถุ แต่ผู้มีปัญญาจะรับเอากฺฤษฺณจิตสำนึกมาปฏิบัติและใช้เวลาของชีวิตมนุษย์อย่างเต็มที่ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺ ด้วยการสวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร / หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร ดังนั้นแม้ในชีวิตนี้พวกเขาจะย้ายตนเองไปยังดาวเคราะห์ทิพย์ขององค์กฺฤษฺณ และมีความปลื้มปีติสุขชั่วกัลปวสาน ที่นั้นโดยไม่ถูกบังคับให้กลับมาเกิดอีก

โศลก 20

paras tasmāt tu bhāvo ’nyo
’vyakto ’vyaktāt sanātanaḥ
yaḥ sa sarveṣu bhūteṣu
naśyatsu na vinaśyati
ปรสฺ ตสฺมาตฺ ตุ ภาโว ’โนฺย
’วฺยกฺโต ’วฺยกฺตาตฺ สนาตนห์
ยห์ ส สเรฺวษุ ภูเตษุ
นศฺยตฺสุ น วินศฺยติ
ปรห์ — ทิพย์, ตสฺมาตฺ — นั้น, ตุ — แต่, ภาวห์ — ธรรมชาติ, อนฺยห์ — อีกอันหนึ่ง, อวฺยกฺตห์ — ไม่ปรากฏ, อวฺยกฺตาตฺ — แด่ที่ไม่ปรากฏ, สนาตนห์ — อมตะ, ยห์ สห์ — ซึ่ง, สเรฺวษุ — ทั้งหมด, ภูเตษุ — ปรากฏการณ์, นศฺยตฺสุ — ถูกทำลาย, — ไม่เคย, วินศฺยติ — ถูกทำลาย

คำแปล

ถึงกระนั้นยังมีอีกธรรมชาติหนึ่งที่ไม่ปรากฏ เป็นอมตะ และเป็นทิพย์ อยู่เหนือวัตถุที่ปรากฏและไม่ปรากฏนี้ เป็นสถานที่สูงสุด และไม่มีวันถูกทำลาย เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ถูกทำลายส่วนนั้นยังคงเหมือนเดิม

คำอธิบาย

พลังงานทิพย์ที่สูงกว่าขององค์กฺฤษฺณเป็นทิพย์และเป็นอมตะอยู่เหนือการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดของธรรมชาติวัตถุที่ปรากฏออกมาในเวลากลางวัน และจะถูกทำลายในเวลากลางคืนของพระพรหม พลังเบื้องสูงขององค์กฺฤษฺณมีคุณสมบัติตรงกันข้ามกับธรรมชาติวัตถุโดยสิ้นเชิง ธรรมชาติที่สูงกว่าและธรรมชาติที่ต่ำกว่านี้ได้อธิบายไว้ในบทที่เจ็ด

โศลก 21

avyakto ’kṣara ity uktas
tam āhuḥ paramāṁ gatim
yaṁ prāpya na nivartante
tad dhāma paramaṁ mama
อวฺยกฺโต ’กฺษร อิตฺยฺ อุกฺตสฺ
ตมฺ อาหุห์ ปรมำ คติมฺ
ยํ ปฺราปฺย น นิวรฺตนฺเต
ตทฺ ธาม ปรมํ มม
อวฺยกฺตห์ — ไม่ปรากฏ, อกฺษรห์ — ไม่มีผิดพลาด, อิติ — ดังนั้น, อุกฺตห์ — กล่าวไว้ว่า, ตมฺ — นั้น, อาหุห์ — รู้, ปรมามฺ — สูงสุด, คติมฺ — จุดมุ่งหมาย, ยมฺ — ซึ่ง, ปฺราปฺย — ได้รับ, — ไม่เคย, นิวรฺตนฺเต — กลับมา, ตตฺ — นั้น, ธาม — ตำหนัก, ปรมมฺ — สูงสุด, มม — ของข้า

คำแปล

สถานที่ซึ่ง เวทานฺติสฺตฺ (ผู้รู้พระเวท) อธิบายว่าไม่ปรากฏ ไม่มีข้อผิดพลาด และเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุด สถานที่ซึ่งเมื่อไปถึงแล้วเขาจะไม่กลับมาอีก นั่นคือพระตำหนักสูงสุดของข้า

คำอธิบาย

พระตำหนักสูงสุดขององค์กฺฤษฺณ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าได้อธิบายไว้ใน พฺรหฺม-สํหิตา ว่าเป็น จินฺตามณิ-ธาม สถานที่ที่ความปรารถนาทั้งหมดได้รับการตอบสนอง พระตำหนักสูงสุดขององค์ศฺรี กฺฤษฺณมีชื่อว่า โคโลก วฺฤนฺทาวน ซึ่งเต็มไปด้วยราชวังที่ทำด้วยมณีทิพย์มีต้นไม้เรียกว่า“ต้นสมใจนึก” ที่ให้ผลทุกชนิดตามความต้องการ มีฝูงวัวชื่อ สุรภิ ที่ให้ปริมาณน้ำนมอย่างไม่จำกัด ที่พระตำหนักนี้มีเทพธิดาแห่งโชคลาภ (ลกฺษฺมี) เป็นร้อยๆพันๆองค์คอยรับใช้ และองค์ภควานฺทรงมีพระนามว่า โควินฺท พระปฐมองค์เจ้าผู้ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง ทรงเคยชินอยู่กับการทรงขลุ่ย (เวณุํ กฺวณนฺตมฺ) รูปลักษณ์ทิพย์ของพระองค์มีเสน่ห์สูงสุดในทั่วทุกโลก พระเนตรของพระองค์คล้ายกลีบดอกบัว สีผิวคล้ายสีเมฆ ทรงมีเสน่ห์มากจนความสง่างามของพระองค์นั้นล้ำเลิศเกินกว่ากามเทพเป็นพันๆองค์พระองค์ทรงอาภรณ์สีส้ม มีพวงมาลัยคล้องคอ และมีหางนกยูงประดับอยู่บนพระเศียร ใน ภควัท-คีตา องค์กฺฤษฺณทรงเกริ่นเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับพระตำหนักส่วนพระองค์โคโลก วฺฤนฺทาวน ซึ่งเป็นดาวเคราะห์สูงสุดในโลกทิพย์ พฺรหฺม-สํหิตา ได้พรรณนาไว้อย่างชัดเจนวรรณกรรมพระเวท (กฐ อุปนิษทฺ 1.3.11) กล่าวว่าไม่มีสิ่งอื่นใดเหนือไปกว่าพระตำหนักขององค์ภควานฺ และพระตำหนักนั้นคือจุดมุ่งหมายสูงสุด (ปุรุษานฺ ปรํ กิญฺจิตฺ สา กาษฺฐา ปรมา คติห์) เมื่อผู้ใดบรรลุถึงจะไม่กลับมาในโลกวัตถุนี้อีก พระตำหนักสูงสุดขององค์กฺฤษฺณและพระวรกายขององค์กฺฤษฺณไม่มีข้อแตกต่าง เพราะมีคุณสมบัติเหมือนกัน ในโลกนี้ วฺฤนฺทาวน อยู่ห่างจากรุงเดลี ไปทางตะวันออกเฉียงใต้เก้าสิบไมล์ ซึ่งเป็นรูปจำลองของ โคโลก วฺฤนฺทาวน สูงสุดจากท้องฟ้าทิพย์ เมื่อองค์กฺฤษฺณเสด็จมาบนโลกนี้พระองค์ทรงเล่นกีฬาบนแผ่นดินที่มีชื่อว่า วฺฤนฺทาวน โดยเฉพาะซึ่งมีเนื้อที่ประมาณแปดสิบสี่ตารางไมล์ในจังหวัดมถุรา ประเทศอินเดีย

โศลก 22

puruṣaḥ sa paraḥ pārtha
bhaktyā labhyas tv ananyayā
yasyāntaḥ-sthāni bhūtāni
yena sarvam idaṁ tatam
ปุรุษห์ ส ปรห์ ปารฺถ
ภกฺตฺยา ลภฺยสฺ ตฺวฺ อนนฺยยา
ยสฺยานฺตห์-สฺถานิ ภูตานิ
เยน สรฺวมฺ อิทํ ตตมฺ
ปุรุษห์ — บุคลิกภาพสูงสุด, สห์ — เขา, ปรห์ — องค์ภควานฺซึ่งไม่มีผู้ใดยิ่งใหญ่ไปกว่า, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, ภกฺตฺยา — ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้, ลภฺยห์ — สามารถบรรลุถึง, ตุ — แต่, อนนฺยยา — มีมีสิ่งใดเจือปน, ไม่บ่ายเบี่ยง, ยสฺย — ผู้ซึ่ง, อนฺตห์-สฺถานิ — ภายใน, ภูตานิ — ปรากฏการณ์ทางวัตถุทั้งหมด, เยน — โดยผู้ซึ่ง, สรฺวมฺ — ทั้งหมด, อิทมฺ — อะไรก็แล้วแต่ที่เราสามารถเห็น, ตตมฺ — แผ่กระจาย

คำแปล

บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าผู้ที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกๆคน บรรลุถึงได้ด้วยการอุทิศตนเสียสละที่บริสุทธิ์ แม้ว่าทรงประทับอยู่ที่พระตำหนักของพระองค์พระองค์ยังทรงแผ่กระจายไปทั่วและทุกสิ่งทุกอย่างสถิตในพระองค์

คำอธิบาย

ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน ที่นี้ว่าจุดมุ่งหมายสูงสุด สถานที่ซึ่งไปถึงแล้วจะไม่ต้องกลับมาคือพระตำหนักขององค์กฺฤษฺณ องค์ภควานฺ พฺรหฺม-สํหิตา ได้อธิบายพระตำหนักสูงสุดนี้ว่าเป็น อานนฺท-จินฺมย-รส สถานที่ที่ทุกสิ่งทุกอย่างเปี่ยมไปด้วยความปลื้มปีติสุขทิพย์ ความหลากหลายแตกต่างทั้งหมดที่ปรากฏอยู่ที่นั่นมีคุณสมบัติแห่งความปลื้มปีติสุขทิพย์ ไม่มีสิ่งใดเป็นวัตถุ ความหลากหลายแผ่ขยายออกไปดังเช่นการแผ่ขยายทิพย์ขององค์ภควานฺเอง เพราะว่าปรากฏการณ์ที่นั่นมาจากพลังงานทิพย์ล้วนๆดังได้อธิบายไว้ในบทที่เจ็ด สำหรับโลกวัตถุนี้แม้ว่าองค์ภควานฺทรงประทับอยู่ที่พระตำหนักสูงสุดของพระองค์เสมอก็ยังทรงแผ่กระจายไปทั่วด้วยพลังงานวัตถุ ดังนั้นด้วยพลังงานทิพย์และพลังงานวัตถุขององค์กฺฤษฺณพระองค์จึงทรงปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่งทั้งในจักรวาลวัตถุและในจักรวาลทิพย์ ยสฺยานฺตห์-สฺถานิ หมายความว่าทุกสิ่งทุกอย่างได้รับการค้ำจุนอยู่ภายในพระองค์ไม่ว่าภายในพลังงานทิพย์หรือภายในพลังงานวัตถุของพระองค์องค์ภควานฺทรงแผ่กระจายไปทั่วด้วยพลังงานทั้งสองนี้

การบรรลุถึงพระตำหนักสูงสุดขององค์กฺฤษฺณ หรือดาวเคราะห์ ไวกุณฺฐ ที่นับจำนวนไม่ถ้วนเป็นไปได้ด้วย ภกฺติ หรือการอุทิศตนเสียสละเท่านั้น ดังที่ได้แสดงไว้อย่างชัดเจน ที่นี้ด้วยคำว่า ภกฺตฺยา ไม่มีวิธีอื่นใดสามารถช่วยเราให้บรรลุถึงพระตำหนักสูงสุดนั้นได้ คัมภีร์พระเวท (โคปาล-ตาปนี อุปนิษทฺ 1.21) ได้อธิบายถึงพระตำหนักสูงสุดและบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าไว้เช่นกันว่า เอโก วศี สรฺว-คห์ กฺฤษฺณห์ ในพระตำหนักนั้นมีบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าเพียงพระองค์เดียวเท่านั้นผู้ทรงพระนามว่า กฺฤษฺณ พระองค์ทรงเป็นพระปฏิมาผู้มีพระเมตตาสูงสุด ถึงแม้จะทรงสถิตอยู่ ที่นั้นเป็นหนึ่งเดียวแต่ยังทรงแบ่งภาคของพระองค์เองนับจำนวนล้านๆพระองค์คัมภีร์พระเวทเปรียบเทียบองค์ภควานฺเหมือนกับต้นไม้ที่ยืนอยู่นิ่งๆแต่มีผลไม้ดอกไม้และการสลับสับเปลี่ยนใบอย่างหลากหลายมากมาย ภาคที่แบ่งแยกโดยสมบูรณ์ขององค์ภควานฺผู้ทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าสูงสุดแห่งดาวเคราะห์ ไวกุณฺฐ ต่างๆทรงมีสี่กร และทรงมีพระนามต่างๆกัน เช่น ปุรุโษตฺตม, ตฺริวิกฺรม, เกศว, มาธว, อนิรุทฺธ, หฺฤษีเกศ, สงฺกรฺษณ, ปฺรทฺยุมฺน, ศฺรีธร, วาสุเทว, ทาโมทร, ชนารฺทน, นารายณ, วามน, ปทฺมนาภ ฯลฯ

พฺรหฺม-สํหิตา (5.37) ได้ยืนยันไว้ว่าถึงแม้ว่าองค์ภควานฺทรงประทับอยู่ที่พระตำหนักสูงสุด โคโลก วฺฤนฺทาวน เสมอ พระองค์ทรงแผ่กระจายไปทั่วเพื่อทุกสิ่งทุกอย่างจะได้ดำเนินไปด้วยดี (โคโลก เอว นิวสตฺยฺ อขิลาตฺม-ภูตห์) ดังที่ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์พระเวท (เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ 6.8) ปราสฺย ศกฺติรฺ วิวิไธว ศฺรูยเต / สฺวาภาวิกี ชฺญาน-พล-กฺริยา พลังงานต่างๆของพระองค์ทรงแผ่กระจายไปทั่วจนทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างในปรากฏการณ์ทางจักรวาลดำเนินไปอย่างเป็นระบบและปราศจากข้อบกพร่อง ถึงแม้ว่าองค์ภควานฺจะทรงประทับอยู่ไกลแสนไกล

โศลก 23

yatra kāle tv anāvṛttim
āvṛttiṁ caiva yoginaḥ
prayātā yānti taṁ kālaṁ
vakṣyāmi bharatarṣabha
ยตฺร กาเล ตฺวฺ อนาวฺฤตฺติมฺ
อาวฺฤตฺตึ ไจว โยคินห์
ปฺรยาตา ยานฺติ ตํ กาลํ
วกฺษฺยามิ ภรตรฺษภ
ยตฺร — ที่ซึ่ง, กาเล — กาลเวลา, ตุ — และ, อนาวฺฤตฺติมฺ — ไม่กลับมา, อาวฺฤตฺติมฺ — กลับมา, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, โยคินห์ — โยคีประเภทต่างๆ, ปฺรยาตาห์ — ล่วงลับไปแล้ว, ยานฺติ — บรรลุ, ตมฺ — นั้น, กาลมฺ — กาลเวลา, วกฺษฺยามิ — ข้าจะอธิบาย, ภรต-ฤษภ — โอ้ ผู้ยอดเยี่ยมในหมู่บาระทะ

คำแปล

โอ้ ผู้ยอดเยี่ยมแห่ง ภารต บัดนี้ข้าจะอธิบายแด่เธอถึงช่วงเวลาต่างๆซึ่งเมื่อล่วงลับไปจากโลกนี้โยคีจะกลับหรือไม่กลับมาอีก

คำอธิบาย

เหล่าสาวกผู้บริสุทธิ์ขององค์ภควานฺผู้เป็นดวงวิญญาณที่ศิโรราบโดยดุษฎีไม่สนใจว่าเมื่อใดจะออกจากร่างนี้หรือจะไปด้วยวิธีใด ท่านปล่อยให้ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในพระหัตถ์ขององค์กฺฤษฺณ ดังนั้นจึงกลับคืนสู่องค์ภควานฺได้อย่างง่ายดายและมีความสุข แต่พวกที่ไม่ใช่สาวกผู้บริสุทธิ์ต้องขึ้นอยู่กับวิธีต่างๆแห่งการรู้แจ้งทิพย์ เช่น กรฺม-โยค, ชฺญาน-โยค และ หฐ-โยค และต้องออกจากร่างนี้ไปในเวลาที่เหมาะสมจึงมั่นใจว่าจะกลับหรือไม่กลับมาในโลกแห่งการเกิดและการตายนี้อีก

หากโยคีมีความสมบูรณ์เขาสามารถเลือกเวลาและสภาวะในการออกจากโลกวัตถุนี้ไปได้ แต่หากว่าไม่มีความชำนาญเพียงพอความสำเร็จก็ขึ้นอยู่การจากไปโดยไม่ได้ตั้งใจในเวลาที่เหมาะสม เวลาที่เหมาะสมขณะจากไปและจะไม่กลับมานั้นองค์ภควานฺทรงอธิบายไว้ในโศลกต่อไป จาก อาจารฺย วิทฺยาภูษณ คำสันสกฤต กาล ที่ใช้ ที่นี้หมายถึงพระปฏิมาผู้ทรงเป็นประมุขแห่งกาลเวลา

โศลก 24

agnir jyotir ahaḥ śuklaḥ
ṣaṇ-māsā uttarāyaṇam
tatra prayātā gacchanti
brahma brahma-vido janāḥ
อคฺนิรฺ โชฺยติรฺ อหห์ ศุกฺลห์
ษณฺ-มาสา อุตฺตรายณมฺ
ตตฺร ปฺรยาตา คจฺฉนฺติ
พฺรหฺม พฺรหฺม-วิโท ชนาห์
อคฺนิห์ — ไฟ, โชฺยติห์ — แสง, อหห์ — กลางวัน, ศุกฺลห์ — ปักษ์ขาว, ษฏฺ-มาสาห์ — หกเดือน, อุตฺตร-อยนมฺ — เมื่อพระอาทิตย์ผ่านไปทางทิศเหนือ, ตตฺร — ที่นั่น, ปฺรยาตาห์ — พวกที่จากไป, คจฺฉนฺติ — ไป, พฺรหฺม — สัจธรรม, พฺรหฺม-วิทห์ — ผู้รู้สัจธรรม, ชนาห์ — บุคคลเหล่านั้น

คำแปล

พวกที่รู้ พฺรหฺมนฺ สูงสุดบรรลุถึงจุดสูงสุดนั้นด้วยการออกไปจากโลกในระหว่างช่วงเวลาที่เจ้าแห่งไฟมีอิทธิพล ในแสงสว่าง ในเวลาที่เป็นมงคลแห่งวัน ระหว่างปักษ์ข้างขึ้น หรือระหว่างหกเดือนเมื่อดวงอาทิตย์โคจรไปทางทิศเหนือ

คำอธิบาย

เมื่อไฟ แสง วัน และปักษ์ของดวงจันทร์ได้ถูกกล่าวไว้เข้าใจได้ว่าทั้งหมดต่างมีพระปฏิมาผู้ทรงเป็นประมุขและจัดเตรียมเพื่อการเดินทางของดวงวิญญาณ ในขณะที่กำลังตายจิตใจจะนำพาเขาไปบนวิถีทางแห่งชีวิตใหม่ หากออกจากร่างตามเวลาที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นไม่ว่าด้วยอุบัติเหตุหรือด้วยการจัดเตรียมเป็นไปได้ที่เขาจะบรรลุถึง พฺรหฺม-โชฺยติรฺ ที่ไร้รูปลักษณ์ พวกโยคีที่เจริญก้าวหน้าในการฝึกปฏิบัติโยคะสามารถตระเตรียมเวลาและสถานที่ในการออกจากร่าง ผู้อื่นที่ไม่สามารถควบคุมได้หากบังเอิญที่ทำให้ออกจากร่างในเวลาที่เป็นมงคลก็จะไม่ต้องกลับมาในวัฎจักรแห่งการเกิดและการตาย มิฉะนั้นเป็นไปได้อย่างสูงว่าพวกเขาต้องกลับมาอีก อย่างไรก็ดีสำหรับสาวกผู้บริสุทธิ์ในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่มีความกลัวในการกลับมาไม่ว่าออกจากร่างนี้ไปในเวลาที่เป็นมงคลหรือไม่เป็นมงคล จะด้วยความบังเอิญหรือด้วยการเตรียมการก็ตาม

โศลก 25

dhūmo rātris tathā kṛṣṇaḥ
ṣaṇ-māsā dakṣiṇāyanam
tatra cāndramasaṁ jyotir
yogī prāpya nivartate
ธูโม ราตฺริสฺ ตถา กฺฤษฺณห์
ษณฺ-มาสา ทกฺษิณายนมฺ
ตตฺร จานฺทฺรมสํ โชฺยติรฺ
โยคี ปฺราปฺย นิวรฺตเต
ธูมห์ — ควัน, ราตฺริห์ — กลางคืน, ตถา — เช่นกัน, กฺฤษฺณห์ — ปักษ์ของเดือนมืด, ษฏฺ-มาสาห์ — หกเดือน, ทกฺษิณ-อยนมฺ — เมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปทางทิศใต้, ตตฺร — ที่นั่น, จานฺทฺรมสมฺ — ดวงจันทร์, โชฺยติห์ — แสง, โยคี — โยคี, ปฺราปฺย — ได้รับ, นิวรฺตเต — กลับมา

คำแปล

โยคีผู้จากโลกนี้ไปในเวลากลางคืนระหว่างที่มีควัน ในปักษ์ข้างแรมหรือในหกเดือนที่ดวงอาทิตย์ผ่านไปทางทิศใต้โคจรไปทางดวงจันทร์จะต้องกลับมาอีก

คำอธิบาย

ในภาคสามของ ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ กปิล มุนิ ทรงกล่าวถึงผู้ที่มีความชำนาญในกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ และวิธีการบูชาต่างๆในโลกเพื่อบรรลุถึงดวงจันทร์หลังจากตายไป วิญญาณผู้เจริญเหล่านี้อยู่ที่ดวงจันทร์ประมาณ 10,000 ปี (จากการคำนวณของเทวดา) และมีชีวิตอยู่กับความสุขด้วยการดื่ม โสม-รส ในที่สุดพวกเขาจะกลับมาในโลกนี้อีก เช่นนี้หมายความว่าบนดวงจันทร์มีสิ่งมีชีวิตระดับที่สูงกว่า ถึงแม้ไม่อาจสำเหนียกได้ด้วยประสาทสัมผัสที่หยาบ

โศลก 26

śukla-kṛṣṇe gatī hy ete
jagataḥ śāśvate mate
ekayā yāty anāvṛttim
anyayāvartate punaḥ
ศุกฺล-กฺฤษฺเณ คตี หฺยฺ เอเต
ชคตห์ ศาศฺวเต มเต
เอกยา ยาตฺยฺ อนาวฺฤตฺติมฺ
อนฺยยาวรฺตเต ปุนห์
ศุกฺล — แสงสว่าง, กฺฤษฺเณ — และความมืด, คตี — วิธีการจากไป, หิ — แน่นอน, เอเต — ทั้งสอง, ชคตห์ — ของโลกวัตถุ, ศาศฺวเต — ของคัมภีร์พระเวท , มเต — ในความเห็น, เอกยา — ของผู้หนึ่ง, ยาติ — ไป, อนาวฺฤตฺติมฺ — ไม่มีการกลับ, อนฺยยา — ของอีกผู้หนึ่ง, อาวรฺตเต — กลับมา, ปุนห์ — อีกครั้งหนึ่ง

คำแปล

ตามความเห็นของคัมภีร์พระเวทมีวิธีในการจากโลกนี้ไปสองวิธี วิธีที่หนึ่งจากไปในแสงสว่าง และอีกวิธีหนึ่งจากไปในความมืด เมื่อผู้ใดจากไปในแสงสว่างเขาไม่ต้องกลับมา แต่เมื่อผู้ใดจากไปในความมืดเขาจะกลับมา

คำอธิบาย

เกี่ยวกับการจากไปและการกลับมานี้ อาจารฺย วิทฺยาภูษณ ได้อ้างอิงจาก ฉานฺโทคฺย อุปนิษทฺ (5.10.3-5) ว่าพวกที่ทำงานเพื่อผลทางวัตถุและพวกที่คาดคะเนทางปรัชญาจะไปๆมาๆอยู่เสมอตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ อันที่จริงพวกนี้ไม่บรรลุถึงความหลุดพ้นสูงสุดเพราะว่าไ่ม่ได้ศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณ

โศลก 27

naite sṛtī pārtha jānan
yogī muhyati kaścana
tasmāt sarveṣu kāleṣu
yoga-yukto bhavārjuna
ไนเต สฺฤตี ปารฺถ ชานนฺ
โยคี มุหฺยติ กศฺจน
ตสฺมาตฺ สเรฺวษุ กาเลษุ
โยค-ยุกฺโต ภวารฺชุน
— ไม่เคย, เอเต — ทั้งสอง, สฺฤตี — วิถีทางต่างกัน, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, ชานนฺ — ถึงแม้ว่าเขารู้, โยคี — สาวกขององค์ภควานฺ, มุหฺยติ — สับสน, กศฺจน — ผู้ใด, ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, สเรฺวษุ กาเลษุ — เสมอ, โยค-ยุกฺตห์ — ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก, ภว — เพียงแต่มาเป็น, อรฺชุน — โอ้ อารจุนะ

คำแปล

ถึงแม้สาวกทราบสองวิธีนี้ โอ้ อรฺชุน พวกเขาไม่สับสน ดังนั้นจงตั้งมั่นตลอดเวลาอยู่ในการอุทิศตนเสียสละ

คำอธิบาย

ที่นี้ องค์กฺฤษฺณทรงแนะนำ อรฺชุน ว่าไม่ควรวิตกกับวิถีทางต่างๆที่ดวงวิญญาณจะเดินทางไปขณะออกจากโลกวัตถุ สาวกขององค์ภควานฺไม่ควรกังวลว่าจะจากไปด้วยการตระเตรียมหรือด้วยอุบัติเหตุ แต่ควรสถิตอย่างมั่นคงในกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยสวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ และควรรู้ว่าการวิตกกังวลในทั้งสองวิถีทางนี้มีแต่ปัญหา วิธีที่ดีที่สุดคือซึมซาบอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกและประสานทุกสิ่งทุกอย่างในการรับใช้พระองค์เช่นนี้จะทำให้วิถีทางที่จะไปสู่อาณาจักรทิพย์ปลอดภัยแน่นอน และคำว่า โยค-ยุกฺต มีความสำคัญอย่างยิ่งในโศลกนี้โดยตรง ผู้ที่มีความมั่นคงในโยคะจะปฏิบัติกิจกรรมทั้งหมดในกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เสมอ ศฺรี รูป โคสฺวามี แนะนำว่า อนาสกฺตสฺย วิษยานฺ ยถารฺหมฺ อุปยุญฺชตห์ เราไม่ควรยึดติดอยู่ในภารกิจทางวัตถุและทำทุกสิ่งทุกอย่างในกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยระบบที่เรียกว่า ยุกฺต-ไวราคฺย นี้ เราจะบรรลุถึงความสมบูรณ์ ดังนั้นสาวกไม่ควรวิตกกับคำอธิบายเหล่านี้เพราะทราบว่าการที่จะไปยังพระตำหนักสูงสุดรับประกันด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้

โศลก 28

vedeṣu yajñeṣu tapaḥsu caiva
dāneṣu yat puṇya-phalaṁ pradiṣṭam
atyeti tat sarvam idaṁ viditvā
yogī paraṁ sthānam upaiti cādyam
เวเทษุ ยชฺเญษุ ตปห์สุ ไจว
ทาเนษุ ยตฺ ปุณฺย-ผลํ ปฺรทิษฺฏมฺ
อเตฺยติ ตตฺ สรฺวมฺ อิทํ วิทิตฺวา
โยคี ปรํ สฺถานมฺ อุไปติ จาทฺยมฺ
เวเทษุ — ในการศึกษาคัมภีร์พระเวท, ยชฺเญษุ — ในการปฏิบัติ ยชฺญ, การบูชา, ตปห์สุ — ในการปฏิบัติสมถะวิธีต่างๆ, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, ทาเนษุ — ในการให้ทาน, ยตฺ — ซึ่ง, ปุณฺย-ผลมฺ — ผลบุญ, ปฺรทิษฺฏมฺ — แสดง, อเตฺยติ — ข้ามพ้น, ตตฺ สรฺวมฺ — เหล่านี้ทั้งหมด, อิทมฺ — นี้, วิทิตฺวา — รู้, โยคี — สาวก, ปรมฺ — สูงสุด, สฺถานมฺ — พระตำหนัก, อุไปติ — บรรลุ, — เช่นกัน, อาทฺยมฺ — เดิม

คำแปล

บุคคลผู้รับเอาวิถีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้มาปฏิบัติจะไม่สูญเสียผลที่ได้รับจากการศึกษาคัมภีร์พระเวท ปฏิบัติพิธีบูชา ปฏิบัติความเพียร ให้ทาน หรือแสวงหาปรัชญาความรู้และกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ เพียงแต่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้เขาจะบรรลุถึงสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด และในที่สุดจะบรรลุถึงพระตำหนักนิรันดรสูงสุด

คำอธิบาย

โศลกนี้เป็นการสรุปบทที่เจ็ดและบทที่แปดซึ่งพูดถึงกฺฤษฺณจิตสำนึกและการอุทิศตนเสียสละรับใช้โดยเฉพาะ เราต้องศึกษาคัมภีร์พระเวทภายใต้การนำของพระอาจารย์ทิพย์ ปฏิบัติสมถะ และบำเพ็ญเพียรอย่างมากในขณะที่อยู่ภายใต้การดูแลของพระอาจารย์ ผู้เป็น พฺรหฺมจารี (เณร)จะต้องอยู่ในบ้านของพระอาจารย์ทิพย์เหมือนเป็นผู้รับใช้และต้องออกไปภิกขาจารตามบ้าน นำสิ่งของมาให้พระอาจารย์ รับประทานอาหารตามคำสั่งของพระอาจารย์เท่านั้น หากพระอาจารย์ละเลยไม่เรียกศิษย์มารับประทาน ศิษย์ก็จะต้องอดอาหารในวันนั้น สิ่งเหล่านี้คือหลักธรรมพระเวทบางประการที่ พฺรหฺมจรฺย ฝึกปฏิบัติ

หลังจากศิษย์ศึกษาคัมภีร์พระเวทอยู่กับพระอาจารย์ จากอายุห้าปีจนถึงอายุยี่สิบปีเขาอาจกลายมาเป็นสุภาพบุรุษผู้มีบุคลิกที่สมบูรณ์ การศึกษาคัมภีร์พระเวทมิใช่เป็นการพักผ่อนหย่อนใจเหมือนนักคาดคะเนที่นั่งบนเก้าอี้นวม แต่เป็นไปเพื่อการเปลี่ยนแปลงบุคลิก หลังจากได้รับการฝึกฝนเช่นนี้ พฺรหฺมจารี จะได้รับอนุญาตให้ไปแต่งงานและใช้ชีวิตคฤหัสถ์ เมื่อเป็นคฤหัสถ์เขาต้องปฏิบัติการบูชาต่างๆเพื่อบรรลุถึงความรู้แจ้งยิ่งขึ้น และต้องให้ทานตามกาลเวลา สถานที่ และตามผู้ปรารถนา โดยรู้จักแยกแยะระหว่างการให้ทานในความดี ในตัณหา และอวิชชาดังที่ได้อธิบายไว้ใน ภควัท-คีตา หลังจากเกษียณจากชีวิตคฤหัสถ์เมื่อรับเอาระดับของ วานปฺรสฺถ มาปฏิบัติ เขาจะบำเพ็ญเพียรอย่างเคร่งครัดไปอยู่ในป่า นุ่งห่มด้วยใบไม้ ไม่โกนหนวดเครา เป็นต้น จากการรับเอาระดับ พฺรหฺมจรฺย, คฤหัสถ์, วานปฺรสฺถ และในที่สุด สนฺนฺยาส มาปฏิบัติเขาจะพัฒนาไปสู่ระดับชีวิตที่สมบูรณ์ บางคนพัฒนาไปยังอาณาจักรสวรรค์ และเมื่อเจริญมากยิ่งขึ้นจะได้รับอิสรภาพในท้องฟ้าทิพย์อาจอยู่ใน พฺรหฺม-โชฺยติรฺ ที่ไร้รูปลักษณ์ ในดาวเคราะห์ ไวกุณฺฐ หรือใน กฺฤษฺณโลก นี่คือวิถีทางที่วรรณกรรมพระเวทได้กำหนดไว้

อย่างไรก็ดีความสวยงามของกฺฤษฺณจิตสำนึกคือ จากการกระทำเพียงสิ่งเดียวด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้ เราสามารถข้ามพ้นพิธีกรรมต่างๆรวมทั้งระดับชีวิตต่างๆทั้งหมด

คำว่า อิทํ วิทิตฺวา แสดงให้เห็นว่าเราควรเข้าใจคำสั่งสอนที่ศฺรี กฺฤษฺณทรงให้ไว้ในบทนี้และบทที่เจ็ดของ ภควัท-คีตา เราควรพยายามเข้าใจบทเหล่านี้มิใช่แบบวิชาการหรือแบบคาดคะเนทางจิต แต่จากการสดับฟังในการคบหาสมาคมกับเหล่าสาวก บทที่หกถึงบทที่สิบสองเป็นสาระสำคัญของ ภควัท-คีตา หกบทแรกและหกบทสุดท้ายเหมือนกับปกหน้าและปกหลังที่ห่อหุ้มหกบทกลาง ซึ่งองค์ภควานฺทรงเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองโดยเฉพาะ หากใครโชคดีพอที่เข้าใจ ภควัท-คีตา โดยเฉพาะในหกบทกลางนี้ด้วยการคบหาสมาคมกับเหล่าสาวก ชีวิตของเขาจะได้รับการสรรเสริญเหนือการบำเพ็ญเพียร การทำพิธีบูชา การให้ทาน การคาดคะเนทั้งหลายทั้งปวง เป็นต้น เพราะเขาสามารถบรรลุถึงผลแห่งกิจกรรมเหล่านี้ทั้งหมดด้วยเพียงแต่ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่านั้น

ผู้ที่มีความศรัทธาบ้างใน ภควัท-คีตา ควรเรียนรู้ ภควัท-คีตา จากสาวก เพราะในตอนต้นของบทที่สี่ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าเหล่าสาวกเท่านั้นที่สามารถเข้าใจ ภควัท-คีตา ไม่มีผู้ใดเข้าใจจุดมุ่งหมายของ ภควัท-คีตา อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นเราควรเรียนรู้ ภควัท-คีตา จากสาวกขององค์กฺฤษฺณมิใช่จากนักคาดคะเนทางจิต นี่คือลักษณะแห่งความศรัทธา หลังจากแสวงหาสาวกและในที่สุดได้มาคบสมาคมกับสาวกเมื่อนั้นจึงเริ่มต้นการศึกษาและเข้าใจ ภควัท-คีตา อย่างแท้จริง จากความเจริญก้าวหน้าในการไปคบหาสมาคมกับสาวกเขาถูกวางตัวในการอุทิศตนเสียสละ และการรับใช้นั้นจะปัดเป่าความสงสัยทั้งหลายที่ตนเองมีอยู่เกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณ หรือองค์ภควานฺเกี่ยวกับกิจกรรม รูปลักษณ์ ลีลา พระนาม และสิ่งอื่นๆขององค์กฺฤษฺณ หลังจากความสงสัยทั้งหลายเหล่านี้ได้ถูกทำให้กระจ่างขึ้นโดยสมบูรณ์เขาตั้งมั่นในการศึกษา จากนั้นจะได้รับรสในการศึกษา ภควัท-คีตา และบรรลุถึงระดับแห่งความรู้สึกอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเสมอ ในระดับที่เจริญมากขึ้นเขาจะอยู่ในความรักกับองค์กฺฤษฺณโดยสมบูรณ์ ระดับแห่งความสมบูรณ์สูงสุดของชีวิตนี้สาวกจะย้ายไปยังพระตำหนักทิพย์ขององค์กฺฤษฺณในท้องฟ้าทิพย์ โคโลก วฺฤนฺทาวน สถานที่ที่สาวกมีความสุขนิรันดร

ดังนั้นได้จบคำอธิบายโดย ภักดีเวดานตะ บทที่แปด ของหนังสือ ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตาในหัวข้อเรื่อง การบรรลุถึงองค์ภควาน