บทที่ เก้า
ความรู้ที่ลับสุดยอด
śrī-bhagavān uvāca
idaṁ tu te guhya-tamaṁ
pravakṣyāmy anasūyave
jñānaṁ vijñāna-sahitaṁ
yaj jñātvā mokṣyase ’śubhāt
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
อิทํ ตุ เต คุหฺย-ตมํ
ปฺรวกฺษฺยามฺยฺ อนสูยเว
ชฺญานํ วิชฺญาน-สหิตํ
ยชฺ ชฺญาตฺวา โมกฺษฺยเส ’ศุภาตฺ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัส, อิทมฺ — นี้, ตุ — แต่, เต — แด่เธอ, คุหฺย-ตมมฺ — ลับสุดยอด, ปฺรวกฺษฺยามิ — ข้าพูด, อนสูยเว — กับผู้ที่ไม่อิจฉาริษยา, ชฺญานมฺ — ความรู้, วิชฺญาน — ความรู้แจ้ง, สหิตมฺ — กับ, ยตฺ — ซึ่ง, ชฺญาตฺวา — ทราบ, โมกฺษฺยเส — เธอจะได้รับการปลดเปลื้อง, อศุภาตฺ — จากความเป็นอยู่ทางวัตถุที่เป็นทุกข์นี้
คำแปล
บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัสว่า อรฺชุน ที่รัก เนื่องจากเธอไม่เคยอิจฉาริษยาข้า ข้าจะถ่ายทอดความรู้อันลับสุดยอดและความรู้แจ้งนี้แด่เธอ เมื่อรู้แล้วเธอจะได้รับการปลดเปลื้องจากความทุกข์แห่งความเป็นอยู่ทางวัตถุ
คำอธิบาย
เมื่อสาวกสดับฟังเกี่ยวกับองค์ภควานฺมากขึ้นก็จะได้รับแสงสว่างมากขึ้น วิธีการสดับฟังนี้ได้แนะนำไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ดังนี้ “สาส์นจากบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าเปี่ยมไปด้วยพลัง และพลังเหล่านี้รู้แจ้งได้ถ้าหากประเด็นต่างๆเกี่ยวกับองค์ภควานฺได้มีการสนทนากันในหมู่สาวก สิ่งเหล่านี้เราไม่สามารถที่จะบรรลุได้โดยการไปคบหาสมาคมกับนักคาดคะเนทางจิต หรือนักวิชาการทางโลกเนื่องจากเป็นความรู้แจ้ง”
สาวกปฏิบัติในการรับใช้องค์ภควานฺอยู่เสมอ พระองค์ทรงเข้าใจความรู้สึกนึกคิดและความจริงใจของแต่ละคนที่ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก และพระองค์ทรงให้ปัญญาในการเข้าใจศาสตร์แห่งองค์กฺฤษฺณ ในการคบหาสมาคมกับเหล่าสาวกการสนทนาเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณนั้นมีพลังมาก หากผู้ใดโชคดีมีโอกาสได้คบหาสมาคมเช่นนี้ และพยายามรับความรู้นี้เข้าไว้แน่นอนว่าเขาจะเจริญก้าวหน้าไปสู่ความรู้แจ้งทิพย์เพื่อส่งเสริม อรฺชุน ให้เจริญมากยิ่งขึ้นในการรับใช้อันมีพลังของพระองค์ ในบทที่เก้านี้องค์กฺฤษฺณทรงอธิบายเนื้อหาสาระที่ลับมากยิ่งขึ้นกว่าบทอื่นๆที่ทรงเปิดเผยไว้แล้ว
ในตอนต้นของ ภควัท-คีตา บทที่หนึ่งเป็นการแนะนำเกี่ยวกับหนังสือทั้งเล่ม บทที่สองและบทที่สามอธิบายความรู้ทิพย์เรียกว่าเป็นความลับ ประเด็นที่สนทนากันในบทที่เจ็ดและบทที่แปดสัมพันธ์กับการอุทิศตนเสียสละรับใช้โดยเฉพาะ เนื่องจากจะนำแสงสว่างแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกมาให้จึงเรียกว่าเป็นความลับยิ่งขึ้น แต่เรื่องราวที่อธิบายในบทที่เก้าเกี่ยวกับการอุทิศตนเสียสละที่บริสุทธิ์โดยไม่มีสิ่งใดเจือปนจึงเรียกว่าเป็นความลับสุดยอด ผู้สถิตในความรู้ขั้นลับสุดยอดขององค์กฺฤษฺณเป็นทิพย์โดยธรรมชาติ ดังนั้นจึงไม่มีความเจ็บปวดทางวัตถุใดๆถึงแม้ว่าจะอยู่ในโลกวัตถุก็ตาม ใน ภกฺติ-รสามฺฤต-สินฺธุ ได้กล่าวไว้ว่าแม้ผู้ที่มีความปรารถนาอย่างจริงใจในการถวายการรับใช้ด้วยความรักต่อองค์ภควานฺจะสถิตอยู่ในระดับสภาวะทางวัตถุถือว่าเขาผู้นี้หลุดพ้น ในทำนองเดียวกันใน ภควัท-คีตา บทที่สิบเราจะพบว่าผู้ใดที่ปฏิบัติเช่นนี้เป็นบุคคลที่หลุดพ้นแล้ว
โศลกแรกมีความสำคัญโดยเฉพาะคำว่า อิทํ ชฺญานมฺ (“ความรู้นี้”) หมายถึงการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆเก้าอย่างคือ การสดับฟัง การภาวนา การระลึกถึง การรับใช้ การบูชา การสวดมนต์ การปฏิบัติตาม การรักษามิตรภาพและการศิโรราบทุกสิ่งทุกอย่าง จากการฝึกปฏิบัติเก้าวิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้เราจะพัฒนาไปสู่จิตสำนึกทิพย์คือ กฺฤษฺณจิตสำนึก เมื่อหัวใจของเราใสสะอาดจากมลทินทางวัตถุเราจะสามารถเข้าใจศาสตร์แห่งองค์กฺฤษฺณนี้ได้ เพียงเข้าใจว่าสิ่งมีชีวิตไม่ใช่เป็นวัตถุนั้นไม่เพียงพอ เพราะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นแห่งความรู้แจ้งทิพย์เท่านั้น เราควรรู้ถึงข้อแตกต่างระหว่างกิจกรรมของร่างกาย และกิจกรรมทิพย์นอกเหนือไปจากที่เข้าใจว่าตัวเราไม่ใช่ร่างกาย
ในบทที่เจ็ดได้กล่าวถึงพลังอันมั่งคั่งของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า พลังงานต่างๆของพระองค์ เช่น ธรรมชาติเบื้องต่ำ ธรรมชาติเบื้องสูง และปรากฏการณ์ทางวัตถุนี้ทั้งหมด ในบทที่เก้าจะได้วิเคราะห์ถึงพระบารมีขององค์ภควานฺ
คำสันสกฤต อนสูยเว ในโศลกนี้มีความสำคัญมากเช่นกัน โดยปกติแล้วถึงแม้ว่านักวิจารณ์มีการศึกษาสูงมากแต่ทุกคนมีความอิจฉาริษยาองค์ภควานฺ กฺฤษฺณ แม้แต่นักวิชาการผู้คงแก่เรียนที่สุดยังเขียน ภควัท-คีตา ผิดพลาดเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความอิจฉาริษยาที่มีต่อองค์กฺฤษฺณคำวิจารณ์ของคนพวกนี้จึงไร้ประโยชน์ คำวิจารณ์ของเหล่าสาวกเป็นที่เชื่อถือได้ ไม่มีผู้ใดสามารถอธิบาย ภควัท-คีตา หรือให้ความรู้ขององค์กฺฤษฺณโดยสมบูรณ์ได้หากเขายังมีความอิจฉา ผู้ที่วิจารณ์บุคลิกขององค์กฺฤษฺณโดยไม่รู้จักพระองค์เป็นคนโง่ ดังนั้นคำวิจารณ์เช่นนี้ควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่เข้าใจว่าองค์กฺฤษฺณคือองค์ภควานฺผู้ทรงมีบุคลิกภาพทิพย์และบริสุทธิ์ คำอธิบายจากบทเหล่านี้นั้นจะมีประโยชน์มาก
rāja-vidyā rāja-guhyaṁ
pavitram idam uttamam
pratyakṣāvagamaṁ dharmyaṁ
su-sukhaṁ kartum avyayam
ราช-วิทฺยา ราช-คุหฺยํ
ปวิตฺรมฺ อิทมฺ อุตฺตมมฺ
ปฺรตฺยกฺษาวคมํ ธรฺมฺยํ
สุ-สุขํ กรฺตุมฺ อวฺยยมฺ
ราช-วิทฺยา — ราชาแห่งการศึกษา, ราช-คุหฺยมฺ — เจ้าแห่งความรู้ที่ลับเฉพาะ, ปวิตฺรมฺ — บริสุทธิ์ที่สุด, อิทมฺ — นี้, อุตฺตมมฺ — ทิพย์, ปฺรตฺยกฺษ — ด้วยประสบการณ์โดยตรง, อวคมมฺ — เข้าใจ, ธรฺมฺยมฺ — หลักศาสนา, สุ-สุขมฺ — มีความสุขมาก, กรฺตุมฺ — ปฏิบัติ, อวฺยยมฺ — เป็นอมตะ
คำแปล
ความรู้นี้เป็นราชาแห่งการศึกษา เป็นความลับสุดยอดในความลับทั้งหลาย เป็นความรู้ที่บริสุทธิ์ที่สุด เนื่องจากสำเหนียกได้โดยตรงเกี่ยวกับตนเองด้วยการรู้แจ้ง จึงเป็นความสมบูรณ์แห่งศาสนา เป็นสิ่งนิรันดร และปฏิบัติได้ด้วยความรื่นเริง
คำอธิบาย
ภควัท-คีตา บทนี้เรียกว่า ราชาแห่งการศึกษา เนื่องจากเป็นเนื้อหาสาระของหลักคำสอนและปรัชญาทั้งหมดที่อธิบายไว้ก่อนหน้านี้ ในหมู่นักปราชญ์คนสำคัญๆของประเทศอินเดียมี เคาตม, กณาท, กปิล, ยาชฺญวลฺกฺย, ชาณดิลยะ และไวชวานะระ และในที่สุดมี วฺยาสเทว ผู้เขียน เวทานฺต-สูตฺร ดังนั้นจึงไม่ขาดแคลนความรู้ทางด้านปรัชญาหรือความรู้ทิพย์ บัดนี้องค์ภควานฺตรัสว่าบทที่เก้านี้เป็นราชาแห่งความรู้ที่ว่าทั้งหลาย เนื้อหาสาระของความรู้ทั้งหลายที่ได้รับจากการศึกษาคัมภีร์พระเวทและปรัชญาอื่นๆเป็นความลับสุด เพราะว่าความรู้ที่เป็นความลับหรือความรู้ทิพย์เกี่ยวเนื่องกับการเข้าใจข้อแตกต่างระหว่างดวงวิญญาณและร่างกาย ราชาแห่งความรู้ที่ลับทั้งหลายมาจบลงที่การอุทิศตนเสียสละรับใช้
โดยทั่วไปผู้คนไม่ได้รับการศึกษาในความรู้ที่ลับเฉพาะเช่นนี้เนื่องจากศึกษาความรู้จากภายนอก สำหรับการศึกษาทั่วไปผู้คนไปสัมผัสกับความรู้มากมายหลายสาขา เช่น การเมือง สังคมศึกษา ฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ฯลฯ มีความรู้หลายสาขามากมายทั่วโลกและมีมหาวิทยาลัยใหญ่ๆมากมาย แต่ด้วยความอับโชคไม่มีมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาใดที่สอนศาสตร์แห่งดวงวิญญาณถึงแม้ว่าดวงวิญญาณจะเป็นส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย หากไม่มีดวงวิญญาณร่างกายจะไม่มีคุณค่าอันใดเลย ถึงกระนั้นผู้คนก็ยังเน้นมากเกี่ยวกับความจำเป็นของชีวิตทางร่างกายโดยไม่สนใจต่อดวงวิญญาณซึ่งมีความสำคัญกว่า
ในหนังสือ ภควัท-คีตา โดยเฉพาะจากบทที่สองเป็นต้นมาได้เน้นถึงความสำคัญของดวงวิญญาณ ตอนต้นองค์ภควานฺตรัสว่าร่างกายนี้เสื่อมสลายและวิญญาณไม่เสื่อมสลาย (อนฺตวนฺต อิเม เทหา นิตฺยโสฺยกฺตาห์ ศรีริณห์) นี่คือส่วนลับแห่งความรู้หากเพียงแต่รู้ว่าดวงวิญญาณแตกต่างจากร่างกาย โดยธรรมชาติดวงวิญญาณจะไม่มีการเปลี่ยนรูป ไม่มีวันถูกทำลาย และเป็นอมตะ เช่นนี้ไม่ใช่เป็นการได้ให้ข้อมูลในเชิงบวกเกี่ยวกับดวงวิญญาณ บางครั้งผู้คนจะลืมความรู้สึกว่าดวงวิญญาณแตกต่างจากร่างกายเมื่อร่างกายจบสิ้นลง หรือเมื่อหลุดพ้นจากร่างกายไปแล้วดวงวิญญาณจะอยู่ในความว่างเปล่าและกลายมาเป็นผู้ไม่มีบุคลิกภาพ แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เป็นไปได้อย่างไรที่ดวงวิญญาณซึ่งมีความตื่นตัวมากภายในร่างกายนี้จะไม่มีความตื่นตัวหลังจากหลุดพ้นไปจากร่างกายนี้แล้ว หากดวงวิญญาณเป็นอมตะจะต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ตื่นตัวนิรันดรกิจกรรมต่างๆของเขาในอาณาจักรทิพย์เป็นความรู้ทิพย์ที่ลับที่สุด กิจกรรมต่างๆเหล่านี้ของดวงวิญญาณได้ถูกแสดงไว้ ณ ที่นี้ว่ารวมมาเป็นราชาแห่งความรู้ทั้งหลาย เป็นส่วนลับที่สุดของเหล่าวิชาความรู้ทั้งหมด
ความรู้นี้เป็นรูปแบบที่บริสุทธิ์ที่สุด กิจกรรมทั้งหลายดังที่ได้อธิบายไว้ในวรรณกรรมพระเวท ปทฺม ปุราณ ว่ากิจกรรมบาปของมนุษย์ได้ถูกวิเคราะห์ไว้และปรากฏออกมาเป็นผลแห่งความบาปซ้ำซาก พวกที่ปฏิบัติกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุจะถูกพันธนาการอยู่ในระดับต่างๆกันและก่อร่างมาเป็นผลบาปต่างๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราหว่านเมล็ดพันธุ์ของต้นไม้ชนิดหนึ่ง ต้นไม้จะไม่เจริญเติบโตขึ้นมาในทันทีทันใดแต่จะต้องใช้เวลาก่อนอื่นเป็นต้นเล็กๆจะเป็นหน่อจากนั้นก็ออกมาในรูปของต้นไม้ มีดอก มีผล และเมื่อสมบูรณ์ผู้ที่หว่านเมล็ดพันธุ์ของต้นไม้ก็จะได้รับความสุขจากดอกไม้และผลไม้เหล่านั้น ในทำนองเดียวกันมนุษย์ทำบาปก็เหมือนกับการหว่านเมล็ดพันธุ์ที่ต้องใช้เวลากว่าจะบังเกิดผลหรือให้ปรากฏออกมา ความบาปมีอยู่หลายระดับการทำบาปอาจยุติลงภายในปัจเจกบุคคลแต่ผลบาปนั้นก็ยังจะต้องได้รับ มีความบาปต่างๆซึ่งอยู่ในรูปของเมล็ดพันธุ์มีความบาปที่ปรากฏออกมา และให้ผลแก่เราแล้วซึ่งมาในรูปของความทุกข์และความเจ็บปวด
ดังที่ได้อธิบายไว้ในโศลกที่ยี่สิบแปดของบทที่เจ็ด บุคคลที่จบสิ้นกับผลบาปทั้งปวงและทำแต่กิจกรรมบุญอย่างสมบูรณ์เป็นอิสระจากสิ่งคู่ในโลกวัตถุนี้ ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺ กฺฤษฺณ อีกนัยหนึ่งพวกที่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่องค์ภควานฺจริงๆเป็นผู้ที่ได้รับอิสรภาพจากผลบาปทั้งปวงเรียบร้อยแล้ว คำกล่าวเช่นนี้ได้ยืนยันไว้ใน ปทฺม ปุราณ ดังนี้
อปฺรารพฺธ-ผลํ ปาปํ
กูฏํ พีชํ ผโลนฺมุขมฺ
กฺรเมไณว ปฺรลีเยต
วิษฺณุ-ภกฺติ-รตาตฺมนามฺ
สำหรับพวกที่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่องค์ภควานฺ ผลบาปทั้งหลายนั้นไม่ว่าจะปรากฏออกมาแล้ว เก็บอยู่ในคลัง หรือในรูปของเมล็ดพันธุ์จะค่อยๆสลายไป ดังนั้นอำนาจที่ทำให้บริสุทธิ์จากการอุทิศตนเสียสละรับใช้นั้นมีพลังมากเรียกว่า ปวิตฺรมฺ อุตฺตมมฺ บริสุทธิ์ที่สุด อุตฺตม หมายถึงทิพย์ ตม หมายถึงโลกวัตถุนี้หรือความมืด และ อุตฺตม หมายถึงสิ่งที่เป็นทิพย์เหนือกิจกรรมต่างๆทางวัตถุ กิจกรรมในการอุทิศตนเสียสละไม่ถือว่าเป็นวัตถุถึงแม้ว่าบางครั้งจะปรากฏว่าสาวกปฏิบัติตนเหมือนกับคนธรรมดาทั่วไป ผู้ที่สามารถเห็นและคุ้นเคยกับการอุทิศตนเสียสละรับใช้จะทราบว่ากิจกรรมเหล่านี้มิใช่เป็นวัตถุ กิจกรรมเหล่านี้ทั้งหมดเป็นทิพย์ เป็นการอุทิศตนเสียสละซึ่งไม่มีมลทินจากระดับต่างๆของธรรมชาติวัตถุ
ได้กล่าวไว้ว่าการปฏิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้มีความสมบูรณ์จนเราสามารถสำเหนียกถึงผลลัพธ์ได้โดยตรง ผลลัพธ์โดยตรงนี้สำเหนียกได้อย่างแท้จริง และพวกเราได้รับประสบการณ์จากการปฏิบัติว่าผู้ใดที่สวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร โดยปราศจากอาบัติจะรู้สึกว่ามีความสุขทิพย์ และมีความบริสุทธิ์ขึ้นอย่างรวดเร็วจากมลทินทางวัตถุทั้งปวง เราสามารถเห็นผลเช่นนี้ได้จริง นอกเหนือไปจากนั้นหากผู้ใดปฏิบัติไม่เพียงแค่สดับฟังแต่ยังพยายามเผยแพร่สาส์นแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้นี้ด้วย หรือหากตัวเราเองช่วยในกิจกรรมเพื่อเผยแพร่กฺฤษฺณจิตสำนึกจะรู้สึกว่าเราได้ค่อยๆเจริญก้าวหน้าในวิถีทิพย์ ความเจริญก้าวหน้าในชีวิตทิพย์นี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการศึกษาหรือคุณสมบัติใดๆในอดีตเนื่องจากเป็นวิธีการที่มีความบริสุทธิ์ในตัวเอง เพียงแต่ได้ปฏิบัติเท่านั้นเราก็จะกลายเป็นผู้บริสุทธิ์
ใน เวทานฺต-สูตฺร (3.2.26) ได้อธิบายไว้เช่นกันดังนี้ ปฺรกาศศฺ จ กรฺมณฺยฺ อภฺยาสาตฺ “การอุทิศตนเสียสละรับใช้มีพลังอำนาจมาก เพียงแต่ปฏิบัติในกิจกรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้เราจะได้รับแสงสว่างโดยไม่ต้องสงสัย” ตัวอย่างในเชิงปฏิบัติเช่นนี้พบได้ในอดีตชาติของ นารท ในชาตินั้นเป็นบุตรของคนรับใช้ ท่านไม่มีการศึกษา ไม่ได้เกิดในตระกูลสูงศักดิ์ แต่เมื่อมารดาของท่านปฏิบัติรับใช้สาวกผู้ยิ่งใหญ่ นารท ร่วมรับใช้ด้วย บางครั้งเมื่อมารดาไม่อยู่ท่านก็รับใช้สาวกผู้ยิ่งใหญ่ด้วยตนเอง นารท กล่าวว่า
อุจฺฉิษฺฏ-เลปานฺ อนุโมทิโต ทฺวิไชห์
สกฺฤตฺ สฺม ภุญฺเช ตทฺ-อปาสฺต-กิลฺพิษห์
เอวํ ปฺรวฺฤตฺตสฺย วิศุทฺธ-เจตสสฺ
ตทฺ-ธรฺม เอวาตฺม-รุจิห์ ปฺรชายเต
โศลกนี้จาก ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (1.5.25) นารท อธิบายถึงอดีตชาติให้ศิษย์ วฺยาสเทว ฟังโดยกล่าวว่าระหว่างที่ปฏิบัติตนเป็นเด็กรับใช้สาวกผู้บริสุทธิ์เป็นเวลาสี่เดือน ขณะที่มาพักอาศัยอยู่นั้น นารท ได้คบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์อย่างใกล้ชิด บางครั้งนักปราชญ์เหล่านั้นเหลืออาหารไว้ในจานและเด็กน้อยที่เป็นผู้ล้างจานปรารถนาจะลิ้มรสอาหารที่เหลือจึงขออนุญาตจากสาวกผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อได้รับอนุญาต นารท ก็รับประทานอาหารนั้น ต่อมานาระดะได้หลุดพ้นจากผลบาปทั้งปวง ขณะที่รับประทานไปเรื่อยๆหัวใจค่อยๆบริสุทธิ์ขึ้นเหมือนกับนักปราชญ์เหล่านั้น สาวกผู้ยิ่งใหญ่ดื่มด่ำอยู่กับรสแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺด้วยการสดับฟัง และสวดภาวนาอย่างไม่รู้จักหยุดหย่อน นารท ค่อยๆพัฒนารสชาติเช่นนี้ และได้กล่าวดังนี้
ตตฺรานฺวฺ-อหํ กฺฤษฺณ-กถาห์ ปฺรคายตามฺ
อนุคฺรเหณาศฺฤณวํ มโน-หราห์
ตาห์ ศฺรทฺธยา เม ’นุ-ปทํ วิศฺฤณฺวตห์
ปฺริยศฺรวสฺยฺ องฺค มมาภวทฺ รุจิห์
จากการคบหาสมาคมกับเหล่านักปราชญ์ นารท ได้รับรสในการสดับฟังและสวดภาวนาพระบารมีขององค์ภควานฺ และได้พัฒนาความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ดังที่ได้อธิบายไว้ใน เวทานฺต-สูตฺร ว่า ปฺรกาศศฺ จ กรฺมณฺยฺ อภฺยาสาตฺ หากผู้ใดเพียงแต่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นจะถูกเปิดเผยขึ้นโดยปริยายและเขาจะสามารถเข้าใจ เช่นนี้เรียกว่า ปฺรตฺยกฺษ หรือสำเหนียกโดยตรง
คำว่า ธรฺมฺยมฺ หมายความว่า “วิถีทางแห่งศาสนา” อันที่จริง นารท เป็นบุตรของคนรับใช้ไม่มีโอกาสไปโรงเรียน ท่านเพียงแต่ช่วย มารดาเท่านั้น แต่ด้วยความโชคดีที่มารดาถวายการรับใช้ต่อเหล่าสาวกเด็กน้อย นารท จึงได้รับโอกาสนี้ จากการคบหาสมาคมนี้ทำให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนาทั้งหลาย จุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนาทั้งหมดคือการอุทิศเสียสละรับใช้ ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (ส ไว ปุํสำ ปโร ธรฺโม ยโต ภกฺติรฺ อโธกฺษเช) ผู้มีศาสนาโดยทั่วไปไม่รู้ว่าความสมบูรณ์สูงสุดของศาสนาคือบรรลุถึงการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ดังที่ได้กล่าวไว้ในโศลกสุดท้ายของบทที่แปดว่า (เวเทษุ ยชฺเญษุ ตปห์สุ ไจว) ความรู้พระเวทโดยปกตินั้นจำเป็นต้องรู้แจ้งตนเอง แต่ ณ ที่นี้จะเห็นว่าถึงแม้ นารท ไม่เคยไปโรงเรียนของพระอาจารย์ทิพย์ และไม่ได้รับการศึกษาในหลักธรรมพระเวทท่านยังได้รับผลประโยชน์สูงสุดในการศึกษาคัมภีร์พระเวท วิธีการนี้มีพลังอำนาจมากแม้จะไม่ได้ปฏิบัติตามวิธีการทางศาสนาอย่างสม่ำเสมอ ท่านยังสามารถเจริญก้าวหน้าไปสู่ความสมบูรณ์สูงสุด จะเป็นอย่างนั้นไปได้อย่างไรนั้นวรรณกรรมพระเวทได้ยืนยันไว้เช่นกันว่า อาจารฺยวานฺ ปุรุโษ เวท ผู้ที่คบหาสมาคมกับ อาจารฺย ผู้ยิ่งใหญ่ถึงแม้จะไม่ได้รับการศึกษาหรือไม่เคยศึกษาคัมภีร์พระเวท เขาก็ยังสามารถที่จะคุ้นเคยกับความรู้ทั้งหมดเท่าที่จำเป็นเพื่อความรู้แจ้ง
เพราะเหตุใดวิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้จึงเป็นวิธีที่มีความสุขมาก (สุ-สุขมฺ) การอุทิศตนเสียสละรับใช้ประกอบด้วย ศฺรวณํ กีรฺตนํ วิษฺโณห์ ดังนั้นเราเพียงแต่สดับฟังและสวดภาวนาพระบารมีขององค์ภควานฺ หรือว่าไปสดับฟังปรัชญาเกี่ยวกับความรู้ทิพย์ที่ อาจารฺย ผู้เชื่อถือได้เป็นผู้ให้ เพียงแต่เรานั่งลงเราก็ยังสามารถที่จะเรียนรู้ได้ จากนั้นก็รับประทานอาหารอันเอร็ดอร่อยที่เหลือจากการถวายให้องค์ภควานฺแล้ว ในทุกๆระดับแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้เป็นที่น่ารื่นรมย์ เราสามารถปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้แม้อยู่ในสภาวะที่ยากจนที่สุด องค์ภควานฺตรัสว่า ปตฺรํ ปุษฺปํ ผลํ โตยมฺ พระองค์ทรงพร้อมที่จะรับการถวายทุกสิ่งทุกอย่างจากสาวกไม่ว่าจะเป็นอะไรแม้แต่ใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้เพียงเล็กน้อยหรือน้ำเพียงนิดเดียวซึ่งมีอยู่ทุกที่ทั่วโลก สิ่งของเหล่านี้ใครก็สามารถนำมาถวายให้ได้ไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะสังคมเช่นไร พระองค์จะทรงรับไว้หากถวายด้วยใจรัก มีตัวอย่างมากมายในประวัติศาสตร์ว่าเพียงแต่ลิ้มรสใบทุละสีที่ถวายให้พระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานฺแล้วนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ เช่น สนตฺ - กุมาร ได้กลายเป็นสาวกผู้ยิ่งใหญ่ ฉะนั้นวิธีการอุทิศตนเสียสละเป็นสิ่งที่ดีมากและปฏิบัติได้ด้วยอารมณ์ที่มีความสุข องค์ภควานฺจะรับเฉพาะความรักที่ถวายให้พระองค์ที่มาพร้อมกับเครื่องถวาย
ได้กล่าวไว้ ณ ที่นี้ว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้เช่นนี้มีอยู่ชั่วกัลปวสานซึ่งไม่เหมือนกับที่นักปราชญ์ มายาวาที อ้าง แม้ว่าบางครั้งพวกนี้รับเอาสิ่งที่สมมติว่าเป็นการอุทิศตนเสียสละรับใช้ไปปฏิบัติ แต่แนวความคิดคือตราบเท่าที่ยังไม่หลุดพ้นต้องอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อไป เมื่อในที่สุดหลุดพ้นแล้วพวกเขา “จะกลายมาเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควานฺ” การอุทิศตนเสียสละรับใช้ชั่วครั้งชั่วคราวเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์ การอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่แท้จริงจะทำอย่างต่อเนื่องแม้หลังจากได้รับความหลุดพ้นแล้ว เมื่อสาวกไปยังดาวเคราะห์ทิพย์ในอาณาจักรขององค์ภควานฺก็ยังปฏิบัติการรับใช้พระองค์อยู่ที่นั่น โดยมิบังอาจที่จะกลายไปเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควานฺ
ดังจะได้เห็นใน ภควัท-คีตา ว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่แท้จริงเริ่มต้นหลังจากหลุดพ้นแล้ว หลังจากหลุดพ้นและสถิตในตำแหน่ง พฺรหฺมนฺ แล้ว (พฺรหฺม-ภูต) การอุทิศตนเสียสละรับใช้จึงเริ่มต้นขึ้น (สมห์ สเรฺวษุ ภูเตษุ มทฺ-ภกฺตึ ลภเต ปรามฺ) ไม่มีผู้ใดสามารถเข้าใจองค์ภควานฺได้ด้วยการปฏิบัติ กรฺม-โยค, ชฺญาน-โยค, อษฺฏางฺค-โยค หรือปฏิบัติโยคะอื่นๆโดยเอกเทศ จากวิธีโยคะต่างๆเหล่านี้เขาอาจจะเจริญขึ้นเล็กน้อยไปสู่ ภกฺติ-โยค หากไปไม่ถึงระดับแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้เขาจะไม่สามารถเข้าใจว่าบุคลิกภาพแห่งองค์ภควานฺคืออะไร ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ได้ยืนยันไว้ว่าเมื่อได้รับความบริสุทธิ์จากการปฏิบัติตามวิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้โดยเฉพาะจากการสดับฟัง ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ หรือ ภควัท-คีตา จากดวงวิญญาณผู้รู้แจ้งจึงสามารถเข้าใจศาสตร์แห่งองค์กฺฤษฺณ หรือศาสตร์แห่งองค์ภควานฺ เอวํ ปฺรสนฺน-มนโส ภควทฺ-ภกฺติ-โยคตห์ เมื่อหัวใจบริสุทธิ์ขึ้นจากสิ่งไร้สาระทั้งหลายผู้นั้นจึงสามารถเข้าใจว่าองค์ภควานฺคืออะไร ดังนั้นวิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงเป็นราชาหรือเจ้าแห่งการศึกษาทั้งปวง เป็นราชาแห่งความรู้ที่เป็นความลับทั้งหมด เป็นรูปแบบของศาสนาที่บริสุทธิ์ที่สุด และสามารถปฏิบัติได้ด้วยความรื่นเริงโดยไม่ยากลำบาก ดังนั้นเราจึงควรรับมาปฏิบัติ
aśraddadhānāḥ puruṣā
dharmasyāsya paran-tapa
aprāpya māṁ nivartante
mṛtyu-saṁsāra-vartmani
อศฺรทฺทธานาห์ ปุรุษา
ธรฺมสฺยาสฺย ปรนฺ-ตป
อปฺราปฺย มำ นิวรฺตนฺเต
มฺฤตฺยุ-สํสาร-วรฺตฺมนิ
อศฺรทฺทธานาห์ — พวกที่ไม่มีศรัทธา, ปุรุษาห์ — บุคคลเหล่านี้, ธรฺมสฺย — ไปสู่วิธีแห่งศาสนา, อสฺย — นี้, ปรมฺ-ตป — โอ้ ผู้สังหารศัตรู, อปฺราปฺย — ไม่ได้รับ, มามฺ — ข้า, นิวรฺตนฺเต — กลับมา, มฺฤตฺยุ — ของความตาย, สํสาร — ในความเป็นอยู่ทางวัตถุ, วรฺตฺมนิ — บนวิธีทาง
คำแปล
พวกที่ไม่ศรัทธาในการอุทิศตนเสียสละรับใช้นี้ไม่สามารถบรรลุถึงข้า โอ้ ผู้กำราบศัตรู ดังนั้นพวกเขาจะกลับมาอยู่บนหนทางแห่งการเกิดและการตายในโลกวัตถุนี้อีก
คำอธิบาย
ผู้ที่ไม่ศรัทธาจะไม่สามารถประสบผลสำเร็จกับวิธีการอุทิศตนเสียสละรับใช้นี้ และนี่คือคำอธิบายของโศลกนี้ ความศรัทธาเกิดขึ้นจากการมาคบหาสมาคมกับสาวก คนอับโชคแม้หลังจากสดับฟังตามหลักฐานต่างๆจากบุคลิกภาพผู้ยิ่งใหญ่ ในวรรณกรรมพระเวทก็ยังไม่มีความศรัทธาในองค์ภควานฺ ยังลังเลใจ และไม่สามารถตั้งจิตมั่นอยู่ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อพระองค์ ดังนั้นความศรัทธาเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดเพื่อเจริญก้าวหน้าในกฺฤษฺณจิตสำนึก ใน ไจตนฺย-จริตามฺฤต ได้กล่าวไว้ว่าความศรัทธาคือความมั่นใจอย่างสมบูรณ์ว่าจากการรับใช้องค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณเราจะสามารถบรรลุถึงความสมบูรณ์ทั้งหลายทั้งปวงได้ เช่นนี้เรียกว่าความศรัทธาที่แท้จริง ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (4.31.14)
ยถา ตโรรฺ มูล-นิเษจเนน
ตฺฤปฺยนฺติ ตตฺ-สฺกนฺธ-ภุโชปศาขาห์
ปฺราโณปหาราจฺ จ ยเถนฺทฺริยาณำ
ตไถว สรฺวารฺหณมฺ อจฺยุเตชฺยา
“จากการรดน้ำที่รากของต้นไม้จะทำให้กิ่งก้านสาขาและใบต่างๆทั้งหมดได้รับความพึงพอใจ และจากการส่งอาหารไปที่ท้องจะทำให้ประสาทสัมผัสต่างๆทั้งหมดของร่างกายได้รับความพึงพอใจ ในทำนองเดียวกันจากการปฏิบัติรับใช้ทิพย์ต่อองค์ภควานฺก็จะทำให้เทวดาและสิ่งมีชีวิตอื่นๆทั้งหลายได้รับความพึงพอใจโดยปริยาย” ดังนั้นหลังจากอ่าน ภควัท-คีตา แล้วเราควรมาถึงจุดสรุปของ ภควัท-คีตา ได้ในทันที เราควรยกเลิกการปฏิบัติอื่นๆทั้งหมดและรับเอาวิธีการรับใช้ต่อองค์ภควานฺ กฺฤษฺณมาปฏิบัติ หากมั่นใจเกี่ยวกับปรัชญาชีวิตเช่นนี้ และนี่คือความศรัทธา
การพัฒนาความศรัทธานี้เป็นวิธีการของกฺฤษฺณจิตสำนึก บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกแบ่งออกเป็นสามระดับ ในระดับที่สามคือพวกไม่มีความศรัทธา ถึงแม้ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างเป็นทางการพวกนี้จะไม่สามารถบรรลุถึงระดับแห่งความสมบูรณ์สูงสุด เป็นไปได้อย่างมากว่าหลังระยะเวลาหนึ่งก็จะลื่นไถลตกต่ำลง พวกเขาอาจปฏิบัติรับใช้แต่เนื่องจากไม่มีความมั่นใจและไม่มีความศรัทธาอย่างสมบูรณ์จึงเป็นสิ่งยากมากที่จะปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างต่อเนื่อง เราประสบการณ์ภาคปฏิบัติว่าจากกิจกรรมเพื่อเผยแพร่กฺฤษฺณจิตสำนึกบางคนเข้ามาและปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยแรงกระตุ้นบางอย่างที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในใจ ทันทีที่ฐานะดีขึ้นจะยกเลิกวิธีการปฏิบัตินี้และไปปฏิบัติตามวิถีทางเดิมอีกครั้งหนึ่ง ความศรัทธาเท่านั้นที่จะทำให้บุคคลเจริญก้าวหน้าในกฺฤษฺณจิตสำนึก เกี่ยวกับการพัฒนาความศรัทธานั้นผู้รอบรู้ในวรรณกรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ และบรรลุถึงระดับแห่งความศรัทธาที่มั่นคงเรียกว่าบุคคลชั้นหนึ่งในกฺฤษฺณจิตสำนึก บุคคลชั้นสองคือพวกที่ไม่ค่อยเจริญก้าวหน้าเท่าใดนักในการเข้าใจพระคัมภีร์แห่งการอุทิศตนเสียสละ แต่มีความศรัทธาอย่างมั่นคงว่า กฺฤษฺณ-ภกฺติ หรือการรับใช้องค์กฺฤษฺณเป็นวิถีทางที่ดีที่สุด และด้วยความศรัทธาอันแรงกล้าจึงนำไปปฏิบัติ ดังนั้นพวกนี้ดีกว่าบุคคลชั้นสามที่ไม่มีทั้งความรู้ในพระคัมภีร์อย่างสมบูรณ์และไม่มีความศรัทธา แต่เนื่องจากได้มาคบหาสมาคมและจากความเรียบง่ายจึงพยายามปฏิบัติตาม บุคคลชั้นสามในกฺฤษฺณจิตสำนึกอาจตกลงต่ำแต่บุคคลชั้นสองจะไม่ตกลงต่ำ สำหรับบุคคลชั้นหนึ่งในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่มีโอกาสที่จะตกลงต่ำได้เลย และแน่นอนว่าจะเจริญก้าวหน้าจนบรรลุผลสำเร็จในที่สุด สำหรับบุคคลชั้นสามในกฺฤษฺณจิตสำนึกถึงแม้ว่าจะมีความศรัทธาและมั่นใจว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์กฺฤษฺณเป็นสิ่งที่ดีมาก แต่ยังไม่ได้รับความรู้เกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณจากพระคัมภีร์ เช่น ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ และ ภควัท-คีตา อย่างเพียงพอ บางครั้งบุคคลชั้นสามในกฺฤษฺณจิตสำนึกมีแนวโน้มไปสู่ กรฺม-โยค และ ชฺญาน-โยค บางครั้งพวกนี้รู้สึกหวั่นไหว แต่ทันทีที่โรคร้ายแห่ง กรฺม-โยค หรือ ชฺญาน-โยค ถูกขจัดไปจะกลายมาเป็นบุคคลชั้นสองหรือบุคคลชั้นหนึ่งในกฺฤษฺณจิตสำนึก ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ อธิบายว่าความศรัทธาในองค์กฺฤษฺณแบ่งออกเป็นสามระดับ ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ภาคสิบเอ็ดได้อธิบายถึงความเชื่อมั่นชั้นหนึ่ง ความเชื่อมั่นชั้นสอง และความเชื่อมั่นชั้นสามไว้เช่นกัน บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาแม้หลังจากสดับฟังเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณและความดีเลิศแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ คิดว่าเป็นเพียงถ้อยคำสรรเสริญเท่านั้นจะพบว่าวิถีทางนี้ยากมาก ถึงแม้ดูเหมือนว่าปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้สำหรับบุคคลเช่นนี้มีความหวังเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่จะบรรลุถึงความสมบูรณ์ ดังนั้นความศรัทธาจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้
mayā tatam idaṁ sarvaṁ
jagad avyakta-mūrtinā
mat-sthāni sarva-bhūtāni
na cāhaṁ teṣv avasthitaḥ
มยา ตตมฺ อิทํ สรฺวํ
ชคทฺ อวฺยกฺต-มูรฺตินา
มตฺ-สฺถานิ สรฺว-ภูตานิ
น จาหํ เตษฺวฺ อวสฺถิตห์
มยา — โดยข้า, ตตมฺ — แผ่กระจาย, อิทมฺ — นี้, สรฺวมฺ — ทั้งหมด, ชคตฺ — ปรากฏการณ์ในจักรวาล, อวฺยกฺต-มูรฺตินา — ด้วยรูปที่ไม่ปรากฏ, มตฺ-สฺถานิ — ในข้า, สรฺว-ภูตานิ — มวลสิ่งมีชีวิต, น — ไม่, จ — เช่นกัน, อหมฺ — ข้า, เตษุ — ในพวกเขา, อวสฺถิตห์ — สถิต
คำแปล
ตัวข้าในรูปลักษณ์ที่ไม่ปรากฏทำให้จักรวาลทั้งหมดนี้แผ่กระจายออกไป สิ่งมีชีวิตทั้งหมดอยู่ในข้า แต่ข้าไม่ได้อยู่ในพวกเขา
คำอธิบาย
เราไม่สามารถมองเห็นองค์ภควานฺด้วยประสาทสัมผัสวัตถุที่หยาบ ได้มีการกล่าวไว้ว่า
อตห์ ศฺรี-กฺฤษฺณ-นามาทิ
น ภเวทฺ คฺราหฺยมฺ อินฺทฺริไยห์
เสโวนฺมุเข หิ ชิหฺวาเทา
สฺวยมฺ เอว สฺผุรตฺยฺ อทห์
(ภกฺติ-รสามฺฤต-สินฺธุ 1.2.234)
ประสาทสัมผัสวัตถุของเรานั้นไม่สามารถเข้าใจพระนาม ชื่อเสียง ลีลา และอื่นๆ ขององค์ศฺรี กฺฤษฺณได้ ผู้ที่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างบริสุทธิ์ภายใต้การแนะนำที่ถูกต้องเท่านั้นที่พระองค์จะทรงเปิดเผย ใน พฺรหฺม-สํหิตา (5.38) ได้กล่าวไว้ว่า เปฺรมาญฺชน-จฺฉุริต-ภกฺติ-วิโลจเนน สนฺตห์ สไทว หฺฤทเยษุ วิโลกยนฺติ เราสามารถเห็นองค์ภควานฺ โควินฺท อยู่เสมอทั้งภายในและภายนอกตัวเราหากเราพัฒนาท่าทีแห่งความรักทิพย์ต่อพระองค์ ดังนั้นสำหรับบุคคลโดยทั่วไปจะไม่สามารถมองเห็นพระองค์ ได้กล่าวไว้ ณ ที่นี้ว่าถึงแม้ทรงแผ่กระจายไปทั่ว ปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่งประสาทสัมผัสวัตถุไม่สามารถเห็นพระองค์ได้ ได้แสดงไว้ ณ ที่นี้ด้วยคำพูด อวฺยกฺต-มูรฺตินา แต่อันที่จริงถึงแม้ว่าเราไม่สามารถเห็นพระองค์ได้ทุกสิ่งทุกอย่างก็ยังพำนักอยู่ในพระองค์ ดังที่ได้อธิบายไว้ในบทที่เจ็ดปรากฏการณ์ในจักรวาลวัตถุทั้งหมดเป็นเพียงการผสมผสานของพลังงานทั้งสองของพระองค์คือ พลังงานเบื้องสูงหรือพลังงานทิพย์ และพลังงานเบื้องต่ำหรือพลังงานวัตถุ ดังเช่นแสงอาทิตย์แผ่กระจายไปทั่วจักรวาล พลังงานขององค์ภควานฺทรงแผ่กระจายไปทั่วทั้งการสร้าง และทุกสิ่งทุกอย่างพำนักอยู่ในพลังงานนั้น
ถึงกระนั้นเราไม่ควรสรุปว่าเนื่องจากทรงแผ่กระจายไปทั่วพระองค์จึงทรงสูญเสียความเป็นอยู่ส่วนพระองค์ เพื่อลบล้างข้อถกเถียงนี้องค์ภควานฺตรัสว่า “ข้าอยู่ทุกหนทุกแห่งและทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในข้า แต่ข้าก็ยังปลีกตัวออกห่าง” ตัวอย่างเช่น พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นผู้นำรัฐบาล รัฐบาลเป็นเพียงปรากฏการณ์แห่งพลังงานของพระเจ้าแผ่นดิน กระทรวงต่างๆของรัฐบาลเป็นพลังงานของพระเจ้าแผ่นดิน แต่ละกระทรวงอิงอยู่กับอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินแต่เราก็ไม่คาดหวังว่าพระเจ้าแผ่นดินจะทรงปรากฏอยู่ที่ทุกๆกระทรวงด้วยพระองค์เอง นี่คือตัวอย่างที่เห็นเป็นรูปธรรม ในทำนองเดียวกันปรากฏการณ์ทั้งหลายที่เราเห็นและทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ทั้งในโลกวัตถุนี้ และในโลกทิพย์พำนักอยู่บนพลังงานของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า การสร้างเกิดขึ้นด้วยการแพร่กระจายพลังงานต่างๆของพระองค์ดังที่ ภควัท-คีตา ได้กล่าวไว้ วิษฺฏภฺยาหมฺ อิทํ กฺฤตฺสฺนมฺ พระองค์ทรงปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่งด้วยตัวแทนส่วนพระองค์ นั่นคือพลังงานต่างๆของพระองค์ที่แพร่กระจายไปทั่ว
na ca mat-sthāni bhūtāni
paśya me yogam aiśvaram
bhūta-bhṛn na ca bhūta-stho
mamātmā bhūta-bhāvanaḥ
น จ มตฺ-สฺถานิ ภูตานิ
ปศฺย เม โยคมฺ ไอศฺวรมฺ
ภูต-ภฺฤนฺ น จ ภูต-โสฺถ
มมาตฺมา ภูต-ภาวนห์
น — ไม่เคย, จ — เช่นกัน, มตฺ-สฺถานิ — สถิตในข้า, ภูตานิ — การสร้างทั้งหมด, ปศฺย — จงดู, เม — ของข้า, โยคมฺ ไอศฺวรมฺ — อิทธิฤทธิ์ที่ไม่สามารถมองเห็น, ภูต-ภฺฤตฺ — ผู้บำรุงรักษาสิ่งมีชีวิตทั้งมวล, น — ไม่เคย, จ — เช่นกัน, ภูต-สฺถห์ — ในปรากฏการณ์จักรวาล, มม — ของข้า, อาตฺมา — ตัวข้า, ภูต-ภาวนห์ — แหล่งกำเนิดของปรากฏการณ์ทั้งหลาย
คำแปล
ถึงกระนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่ถูกสร้างขึ้นมามิได้พำนักอยู่ในข้า จงดูอิทธิฤทธิ์ความมั่งคั่งของข้า ถึงแม้ว่าข้าคือผู้บำรุงรักษามวลชีวิต และถึงแม้ว่าข้าอยู่ทุกหนทุกแห่ง ข้าไม่ใช่ส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์ทางจักรวาลนี้ เพราะตัวข้าคือแหล่งกำเนิดของการสร้าง
คำอธิบาย
องค์ภควานฺตรัสว่าทุกสิ่งทุกอย่างพำนักอยู่ที่พระองค์ (มตฺ-สฺถานิ สรฺว-ภูตานิ) เช่นนี้ควรทำความเข้าใจให้ถูกต้อง องค์ภควานฺทรงมิได้เข้ามายุ่งเกี่ยวโดยตรงกับการดำรงรักษาและค้ำจุนปรากฏการณ์ทางธรรมชาตินี้ บางครั้งเราเห็นภาพแอทลาสหรือเทพเจ้ากรีกแบกโลกใบนี้อยู่บนบ่าดูเหมือนว่าท่านเหนื่อยมากที่แบกโลกทั้งโลกอันยิ่งใหญ่นี้ ภาพเช่นนี้ไม่ควรนำมาแสดงในความสัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณ พระองค์ทรงตรัสเกี่ยวกับการค้ำจุนจักรวาลที่สร้างขึ้นมานี้ว่าถึงแม้ทุกสิ่งทุกอย่างพำนักพักพิงอยู่ที่พระองค์ตัวพระองค์เองก็ยังอยู่ห่างออกไป ระบบดาวเคราะห์ต่างๆลอยอยู่ในนภากาศและนภากาศนี้เป็นพลังงานขององค์ภควานฺ แต่พระองค์ทรงแตกต่างไปจากนภากาศและประทับอยู่ที่อื่นฉะนั้นทรงตรัสว่า “ถึงแม้ว่าสิ่งเหล่านี้สถิตอยู่ที่พลังงานอันไม่สามารถมองเห็นได้ของข้าในฐานะที่เป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ข้าก็อยู่ห่างจากสิ่งเหล่านี้” นี่คือความมั่งคั่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ขององค์ภควานฺ
ในพจนานุกรมพระเวท นิรุกฺติ กล่าวว่า ยุชฺยเต ’เนน ทุรฺฆเฏษุ กาเรฺยษุ “องค์ภควานฺทรงแสดงลีลาอันน่าอัศจรรย์ที่ไม่สามารถสำเหนียกได้เพื่อทรงแสดงพลังอำนาจของพระองค์” บุคลิกของพระองค์ทรงเปี่ยมไปด้วยพลังงานนานัปการ และความมุ่งมั่นของพระองค์เป็นสัจจะที่แท้จริงอยู่ในตัว เช่นนี้จึงเข้าใจบุคลิกภาพแห่งองค์ภควานฺได้ เราอาจคิดจะทำบางสิ่งบางอย่างแต่ก็มีอุปสรรคมากมาย บางครั้งเราไม่สามารถทำสิ่งที่เราชอบได้ แต่เมื่อองค์กฺฤษฺณทรงปรารถนาจะทำสิ่งใดพระองค์ทรงเพียงแต่ปรารถนาทุกสิ่งทุกอย่างจะดำเนินไปอย่างสมบูรณ์จนเราไม่สามารถจินตนาการว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร องค์ภควานฺทรงอธิบายสัจธรรมนี้ว่าถึงแม้ว่าทรงเป็นผู้ดำรงรักษาและค้ำจุนปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทั้งหมด พระองค์ทรงมิได้แตะต้องปรากฏการณ์ทางธรรมชาตินี้ เพียงแต่ทรงปรารถนาทุกสิ่งทุกอย่างก็ถูกสร้างขึ้นมา ทุกสิ่งทุกอย่างได้รับการค้ำจุน ทุกสิ่งทุกอย่างได้รับการดำรงรักษา และทุกสิ่งทุกอย่างก็ถูกทำลายลง ไม่มีข้อแตกต่างระหว่างจิตใจและพระวรกายของพระองค์ (เหมือนกับที่มีข้อแตกต่างระหว่างตัวเราและจิตวัตถุปัจจุบันของเรา) เพราะทรงเป็นจิตวิญญาณที่สมบูรณ์พระองค์ทรงปรากฏอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมๆกัน เช่นนี้คนธรรมดาสามัญทั่วไปจึงไม่สามารถเข้าใจว่าทรงปรากฏด้วยพระวรกายของพระองค์เองได้อย่างไร พระองค์ทรงแตกต่างจากปรากฏการณ์ทางวัตถุนี้ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างก็พำนักพักพิงอยู่ที่พระองค์ ได้มีการอธิบายไว้ ณ ที่นี้ว่าเป็น โยคมฺ ไอศฺวรมฺ หรือพลังอิทธิฤทธิ์ขององค์ภควานฺ
yathākāśa-sthito nityaṁ
vāyuḥ sarvatra-go mahān
tathā sarvāṇi bhūtāni
mat-sthānīty upadhāraya
ยถากาศ-สฺถิโต นิตฺยํ
วายุห์ สรฺวตฺร-โค มหานฺ
ตถา สรฺวาณิ ภูตานิ
มตฺ-สฺถานีตฺยฺ อุปธารย
ยถา — เหมือนกับ, อากาศ-สฺถิตห์ — สถิตในท้องฟ้า, นิตฺยมฺ — เสมอ, วายุห์ — ลม, สรฺวตฺร-คห์ — พัดไปทุกแห่ง, มหานฺ — ยิ่งใหญ่, ตถา — ในทำนองเดียวกัน, สรฺวาณิ ภูตานิ — สิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่ถูกสร้างขึ้นมา, มตฺ-สฺถานิ — สถิตในข้า, อิติ — ดังนั้น, อุปธารย — พยายามเข้าใจ
คำแปล
จงเข้าใจว่า เสมือนดั่งพลังของลมที่พัดไปทุกหนทุกแห่งแต่ยังพักพิงอยู่ในท้องฟ้าเสมอ มวลชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นมาก็พักพิงอยู่ในข้า
คำอธิบาย
สำหรับคนธรรมดาทั่วไปเกือบมองไม่เห็นว่าการสร้างทางวัตถุอันมหึมานี้พักพิงอยู่ในองค์ภควานฺได้อย่างไร แต่พระองค์ทรงให้ตัวอย่างซึ่งอาจช่วยให้พวกเราเข้าใจได้ ท้องฟ้าอาจเป็นปรากฏการณ์ใหญ่ที่สุดที่พวกเราสำเหนียกได้ และในท้องฟ้า ลม หรืออากาศเป็นปรากฏการณ์ใหญ่ที่สุดในโลกจักรวาล การเคลื่อนไหวของลมมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของทุกสิ่งทุกอย่าง ถึงแม้ว่าลมนั้นยิ่งใหญ่ก็ยังสถิตภายในท้องฟ้าและลมมิได้อยู่นอกเหนือไปจากท้องฟ้า ในทำนองเดียวกันปรากฏการณ์อันน่าอัศจรรย์ในจักรวาลเกิดขึ้นได้ด้วยความปรารถนาสูงสุดขององค์ภควานฺ และทั้งหมดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาแห่งความปรารถนาสูงสุดของพระองค์ ดังที่พวกเราทั่วไปจะกล่าวว่าแม้แต่ใบหญ้าไม่อาจเคลื่อนไหวได้หากปราศจากซึ่งความปรารถนาขององค์ภควานฺ ดังนั้นจากความปรารถนาของพระองค์ทุกสิ่งทุกอย่างได้รับการดำรงรักษาไว้และทุกสิ่งทุกอย่างถูกทำลายลง ถึงกระนั้นพระองค์ยังทรงอยู่ห่างจากทุกสิ่งทุกอย่างดังเช่นท้องฟ้าอยู่ห่างจากกระแสของลม
ได้กล่าวไว้ใน อุปนิษทฺ ว่า ยทฺ-ภีษา วาตห์ ปวเต “ลมที่พัดไปก็เนื่องมาจากความกลัวองค์ภควานฺ” (ไตตฺติรีย อุปนิษทฺ 2.8.1) ใน พฺฤหทฺ-อารณฺยก อุปนิษทฺ (3.8.9) กล่าวไว้ว่า เอตสฺย วา อกฺษรสฺย ปฺรศาสเน คารฺคิ สูรฺย-จนฺทฺรมเสา วิธฺฤเตา ติษฺฐต เอตสฺย วา อกฺษรสฺย ปฺรศาสเน คารฺคิ ทฺยาวฺ-อาปฺฤถิเวฺยา วิธฺฤเตา ติษฺฐตห์ “โดยคำสั่งสูงสุด ภายใต้การควบคุมขององค์ภควานฺ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ยิ่งใหญ่อื่นๆจึงเคลื่อนไหว” ใน พฺรหฺม-สํหิตา (5.52) กล่าวไว้เช่นกันว่า
ยจฺ-จกฺษุรฺ เอษ สวิตา สกล-คฺรหาณำ
ราชา สมสฺต-สุร-มูรฺติรฺ อเศษ-เตชาห์
ยสฺยาชฺญยา ภฺรมติ สมฺภฺฤต-กาล-จโกฺร
โควินฺทมฺ อาทิ-ปุรุษํ ตมฺ อหํ ภชามิ
นี่คือคำอธิบายเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของดวงอาทิตย์ ได้กล่าวไว้ว่าดวงอาทิตย์ถือว่าเป็นพระเนตรข้างหนึ่งขององค์ภควานฺ และมีพลังอำนาจมหาศาลในการกระจายความร้อนและแสง ถึงกระนั้นดวงอาทิตย์ก็โคจรไปตามหน้าที่ด้วยคำสั่งและความปรารถนาสูงสุดขององค์ โควินฺท ฉะนั้นจากวรรณกรรมพระเวทเราพบหลักฐานว่าปรากฏการณ์ทางวัตถุที่เราเห็นว่าเป็นสิ่งอัศจรรย์และยิ่งใหญ่มากนี้อยู่ภายใต้การควบคุมอันสมบูรณ์ของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า เรื่องนี้จะอธิบายในโศลกต่อๆไปของบทนี้
sarva-bhūtāni kaunteya
prakṛtiṁ yānti māmikām
kalpa-kṣaye punas tāni
kalpādau visṛjāmy aham
สรฺว-ภูตานิ เกานฺเตย
ปฺรกฺฤตึ ยานฺติ มามิกามฺ
กลฺป-กฺษเย ปุนสฺ ตานิ
กลฺปาเทา วิสฺฤชามฺยฺ อหมฺ
สรฺว-ภูตานิ — สิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่ถูกสร้างขึ้นมา, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, ปฺรกฺฤติมฺ — ธรรมชาติ, ยานฺติ — เข้า, มามิกามฺ — ของข้า, กลฺป-กฺษเย — ตอนสิ้นกัป, ปุนห์ — อีกครั้งหนึ่ง, ตานิ — พวกเขาทั้งหมด, กลฺป-อาเทา — ในตอนต้นของกัป, วิสฺฤชามิ — สร้าง, อหมฺ — ข้า
คำแปล
โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี ในตอนสิ้นกัปปรากฏการณ์ทางวัตถุทั้งหมดเข้าไปในธรรมชาติของข้า และในตอนเริ่มต้นของอีกกัปหนึ่ง ข้าสร้างทั้งหมดอีกครั้งด้วยพลังอำนาจของข้า
คำอธิบาย
การสร้าง การบำรุงรักษา และการทำลายปรากฏการณ์ในจักรวาลวัตถุนี้ขึ้นอยู่กับความปรารถนาสูงสุดขององค์ภควานฺโดยสมบูรณ์ “ตอนสิ้นกัป” หมายถึงตอนที่พระพรหมสิ้นชีวิต พระพรหมมีชีวิตอยู่หนึ่งร้อยปี หนึ่งวันของพระพรหมคำนวณได้เท่ากับ 4,300,000,000 ปีของโลกเรา คืนหนึ่งของพระพรหมก็มีระยะเวลายาวเท่ากันนี้ เดือนหนึ่งของพระพรหมประกอบไปด้วยสามสิบวันและสามสิบคืนแบบนี้ และปีหนึ่งของพระพรหมมีสิบสองเดือน หลังจากหนึ่งร้อยปีแบบนี้เมื่อพระพรหมสวรรคตการทำลายล้างก็เกิดขึ้น นี่จึงหมายความว่าพลังงานที่ปรากฏขึ้นโดยองค์ภควานฺจะหวนกลับเข้าไปในพระวรกายของพระองค์อีกครั้งหนึ่ง จากนั้นเมื่อมีความจำเป็นที่จะให้โลกจักรวาลปรากฏออกมา ความปรารถนาของพระองค์ทรงทำให้บังเกิดขึ้น พหุ สฺยามฺ “ถึงแม้ข้าเป็นหนึ่ง ข้าจะกลายเป็นหลากหลาย” นี่คือคำพังเพยของพระเวท (ฉานฺโทคฺย อุปนิษทฺ 6.2.3) พระองค์ทรงแบ่งแยกพระวรกายของพระองค์ไปในพลังงานวัตถุนี้ และปรากฏการณ์ในจักรวาลทั้งหมดจะปรากฏขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
prakṛtiṁ svām avaṣṭabhya
visṛjāmi punaḥ punaḥ
bhūta-grāmam imaṁ kṛtsnam
avaśaṁ prakṛter vaśāt
ปฺรกฺฤตึ สฺวามฺ อวษฺฏภฺย
วิสฺฤชามิ ปุนห์ ปุนห์
ภูต-คฺรามมฺ อิมํ กฺฤตฺสฺนมฺ
อวศํ ปฺรกฺฤเตรฺ วศาตฺ
ปฺรกฺฤติมฺ — ธรรมชาติวัตถุ, สฺวามฺ — ของตัวข้าเอง, อวษฺฏภฺย — เข้าไปข้างใน, วิสฺฤชามิ — ข้าสร้าง, ปุนห์ ปุนห์ — ครั้งแล้วครั้งเล่า, ภูต-คฺรามมฺ — ปรากฏการณ์ทางจักรวาลทั้งหมด, อิมมฺ — เหล่านี้, กฺฤตฺสฺนมฺ — ในทั้งหมด, อวศมฺ — โดยปริยาย, ปฺรกฺฤเตห์ — ด้วยพลังของธรรมชาติ, วศาตฺ — ภายใต้หน้าที่
คำแปล
ปรากฏการณ์ในจักรวาลทั้งหมดอยู่ภายใต้ข้า ด้วยความปรารถนาของข้าปรากฏการณ์จึงเกิดขึ้นโดยปริยายครั้งแล้วครั้งเล่า และด้วยความปรารถนาของข้ามันก็ถูกทำลายลงในตอนจบ
คำอธิบาย
โลกวัตถุนี้เป็นปรากฏการณ์ของพลังงานเบื้องต่ำขององค์ภควานฺได้อธิบายไว้แล้วหลายครั้ง ตอนสร้างพลังงานวัตถุถูกปล่อยออกมาเป็น มหตฺ-ตตฺตฺว ซึ่งองค์ภควานฺในอวตาร ปุรุษ องค์แรกเป็น มหา-วิษฺณุ เสด็จเข้าไป พระองค์ทรงประทับอยู่ในมหาสมุทรแหล่งกำเนิดและทรงหายใจออกมาเป็นจักรวาลจำนวนนับไม่ถ้วน ภายในแต่ละจักรวาลองค์ภควานฺเสด็จเข้าไปเป็น ครฺโภทก-ศายี วิษฺณุ แต่ละจักรวาลถูกสร้างขึ้นมาเช่นนี้ จากนั้นพระองค์ยังทรงปรากฏในรูปของ กฺษีโรทก-ศายี วิษฺณุ และเสด็จเข้าไปในทุกสิ่งทุกอย่างแม้ในละอองอณูที่เล็กที่สุด ความจริงนี้ได้อธิบายไว้ ณ ที่นี้ พระองค์ทรงเสด็จเข้าไปในทุกสรรพสิ่ง
มาบัดนี้สิ่งมีชีวิตต่างๆซึมซับภายในธรรมชาติวัตถุนี้ และด้วยผลกรรมในอดีตแต่ละชีวิตจึงมาอยู่ในสภาวะที่แตกต่างกัน ดังนั้นกิจกรรมของโลกวัตถุจึงเริ่มขึ้น กิจกรรมต่างๆของเผ่าพันธุ์ชีวิตอันหลากหลายเริ่มต้นจากจุดแรกแห่งการสร้าง ไม่ใช่ว่าทั้งหมดเป็นวิวัฒนาการ เผ่าพันธุ์ต่างๆของชีวิตถูกสร้างขึ้นมาทันทีพร้อมกับจักรวาลมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน นก ทุกสิ่งทุกอย่างถูกสร้างขึ้นมาพร้อมๆกัน เพราะว่าทุกสิ่งที่สิ่งมีชีวิตปรารถนาในตอนทำลายล้างครั้งสุดท้ายนั้นจะปรากฏออกมาอีกครั้งหนึ่ง ได้แสดงไว้อย่างชัดเจน ณ ที่นี้ด้วยคำว่า อวศมฺ ว่าสิ่งมีชีวิตไม่เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีนี้ ความเป็นอยู่ในชาติก่อนจากการสร้างในครั้งก่อนจะปรากฏออกมาอีกครั้งหนึ่ง และทั้งหมดนี้เกิดขึ้นด้วยความปรารถนาขององค์ภควานฺ นี่คือพลังงานที่ไม่สามารถมองเห็นได้ของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า และหลังจากสร้างเผ่าพันธุ์ชีวิตต่างๆพระองค์ทรงไม่เกี่ยวข้องกับพวกเขา การสร้างเกิดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกต่อแนวโน้มต่างๆที่สิ่งมีชีวิตปรารถนา ดังนั้นองค์ภควานฺทรงมิได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้
na ca māṁ tāni karmāṇi
nibadhnanti dhanañ-jaya
udāsīna-vad āsīnam
asaktaṁ teṣu karmasu
น จ มำ ตานิ กรฺมาณิ
นิพธฺนนฺติ ธนญฺ-ชย
อุทาสีน-วทฺ อาสีนมฺ
อสกฺตํ เตษุ กรฺมสุ
น — ไม่เคย, จ — เช่นกัน, มามฺ — ข้า, ตานิ — เหล่านี้ทั้งหมด, กรฺมาณิ — กิจกรรมต่างๆ, นิพธฺนนฺติ — ผูกมัด, ธนมฺ-ชย — โอ้ ผู้ชนะความร่ำรวย, อุทาสีน-วตฺ — เป็นกลาง, อาสีนมฺ — สถิต, อสกฺตมฺ — ไม่ยึดติด, เตษุ — สำหรับสิ่งเหล่านั้น, กรฺมสุ — กิจกรรม
คำแปล
โอ้ ธนญฺชย งานทั้งหลายเหล่านี้ไม่สามารถผูกมัดข้า ข้าไม่ยึดติดกับกิจกรรมทางวัตถุทั้งหลายเหล่านี้ สถิตประหนึ่งเป็นกลาง
คำอธิบาย
เกี่ยวกับเรื่องนี้นั้นเราไม่ควรคิดว่าองค์ภควานฺทรงไม่มีอะไรทำ ในโลกทิพย์ของพระองค์ทรงมีกิจกรรมเสมอ ใน พฺรหฺม-สํหิตา (5.6) กล่าวไว้ว่า อาตฺมารามสฺย ตสฺยาสฺติ ปฺรกฺฤตฺยา น สมาคมห์ “องค์ภควานฺทรงเพลิดเพลินอยู่กับกิจกรรมทิพย์อันเป็นอมตะและสุขเกษมสำราญอยู่เสมอ แต่พระองค์ทรงไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางวัตถุเหล่านี้” กิจกรรมทางวัตถุดำเนินไปด้วยพลังงานต่างๆของพระองค์ องค์ภควานฺทรงเป็นกลางในกิจกรรมทางวัตถุของโลกที่ถูกสร้างขึ้นมานี้ ความเป็นกลางที่กล่าวไว้ตรงนี้ด้วยคำว่า อุทาสีน-วตฺ ถึงแม้ว่าทรงควบคุมรายละเอียดต่างๆของกิจกรรมทางวัตถุแต่พระองค์ยังทรงประทับอยู่ประหนึ่งเป็นกลาง ตัวอย่างเช่น ผู้พิพากษาศาลสูงสุดประทับอยู่ที่บัลลังก์ด้วยคำสั่งของท่านหลายสิ่งหลายอย่างบังเกิดขึ้น บางคนถูกแขวนคอ บางคนถูกจับเข้าคุก บางคนได้รับรางวัลมูลค่ามหาศาล แต่ถึงกระนั้นท่านก็ยังเป็นกลางโดยมิได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ลักษณะเดียวกันองค์ภควานฺทรงเป็นกลางอยู่เสมอถึงแม้ว่าพระหัตถ์ของพระองค์ทรงอยู่ในทุกๆอาณาบริเวณของกิจกรรม ใน เวทานฺต-สูตฺร (2.1.34) กล่าวว่า ไวษมฺย-ไนรฺฆฺฤเณฺย น พระองค์ทรงมิได้สถิตในสิ่งคู่ของโลกวัตถุนี้ ทรงเป็นทิพย์เหนือสิ่งคู่เหล่านี้และทรงไม่ยึดติดกับการสร้างและการทำลายของโลกวัตถุนี้ สิ่งมีชีวิตได้รับร่างต่างๆในเผ่าพันธุ์ชีวิตมากมายตามกรรมเก่า และองค์ภควานฺทรงมิได้ไปรบกวนพวกเขา
mayādhyakṣeṇa prakṛtiḥ
sūyate sa-carācaram
hetunānena kaunteya
jagad viparivartate
มยาธฺยกฺเษณ ปฺรกฺฤติห์
สูยเต ส-จราจรมฺ
เหตุนาเนน เกานฺเตย
ชคทฺ วิปริวรฺตเต
มยา — โดยข้า, อธฺยกฺเษณ — โดยผู้อำนวยการ, ปฺรกฺฤติห์ — ธรรมชาติวัตถุ, สูยเต — ปรากฏ, ส — ทั้งสอง, จร-อจรมฺ — เคลื่อนไหวและไม่เคลื่อนไหว, เหตุนา — เพื่อเหตุผล, อเนน — นี้, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, ชคตฺ — ปรากฏการณ์ทางจักรวาล, วิปริวรฺตเต — ทำงาน
คำแปล
ธรรมชาติวัตถุซึ่งเป็นหนึ่งในพลังงานอันหลากหลายของข้านี้ ทำงานภายใต้คำสั่งของข้าได้ผลิตมวลชีวิตทั้งเคลื่อนไหวได้และเคลื่อนไหวไม่ได้ โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี ภายใต้กฎของตัวมันเองนั้น ปรากฏการณ์แห่งการสร้างและการทำลายนี้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า
คำอธิบาย
ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนตรงนี้ว่าองค์ภควานฺนั้นถึงแม้จะทรงอยู่ห่างจากกิจกรรมของโลกวัตถุทั้งหลายเหล่านี้ก็ยังทรงเป็นผู้กำกับสูงสุด ทรงเป็นผู้ปรารถนาสูงสุด และทรงเป็นเบื้องหลังของปรากฏการณ์ทางวัตถุนี้ แต่การบริหารดำเนินไปโดยธรรมชาติวัตถุ องค์กฺฤษฺณก็ทรงตรัสใน ภควัท-คีตา เช่นกันว่าในบรรดามวลชีวิตในรูปร่างและเผ่าพันธุ์ต่างๆนั้น “ข้าคือพระบิดา” พระบิดาให้เมล็ดพันธุ์ไปในครรภ์ของมารดาเพื่อกำเนิดลูกน้อย ในทำนองเดียวกันองค์ภควานฺทรงเพียงแต่ชำเลืองมองก็ทรงส่งสิ่งมีชีวิตทั้งหมดเข้าไปในครรภ์ของธรรมชาติวัตถุ และพวกเขาได้ออกมาในรูปร่างและเผ่าพันธุ์ต่างๆตามความปรารถนาและกิจกรรมในชาติก่อน สิ่งมีชีวิตทั้งหลายเหล่านี้ถึงแม้จะเกิดภายใต้การชำเลืองมองขององค์ภควานฺก็ได้รับร่างต่างๆตามกรรมและความปรารถนาของตนในอดีต ดังนั้นพระองค์ทรงมิได้ยึดติดกับการสร้างทางวัตถุนี้โดยตรงทรงเพียงแต่ชำเลืองมองไปที่ธรรมชาติวัตถุ จากนั้นธรรมชาติวัตถุก็ได้รับการกระตุ้นและทุกสิ่งทุกอย่างได้ถูกสร้างขึ้นมาทันที เนื่องจากที่พระองค์ทรงชำเลืองมองไปที่ธรรมชาติวัตถุจึงมีกิจกรรมในส่วนขององค์ภควานฺอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ทรงไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการสร้างโลกวัตถุโดยตรง ตัวอย่างนี้ได้ให้ไว้ใน สฺมฺฤติ เมื่อมีดอกไม้หอมอยู่ต่อหน้าผู้ใด กลิ่นหอมนั้นได้ถูกสัมผัสโดยพลังในการดมกลิ่นของคนนั้นถึงกระนั้นทั้งกลิ่นและดอกไม้ไม่ได้ติดกัน โลกวัตถุและองค์ภควานฺก็มีความสัมพันธ์ในทำนองเดียวกันนี้ อันที่จริงพระองค์ทรงไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับโลกวัตถุนี้ แต่ทรงสร้างด้วยการชำเลืองมองและการดลบันดาล โดยสรุปคือหากปราศจากการดูแลขององค์ภควานฺแล้วนั้นธรรมชาติวัตถุก็จะทำอะไรไม่ได้เลย ถึงแม้เป็นเช่นนั้นองค์ภควานฺก็ยังทรงอยู่ห่างจากกิจกรรมทางวัตถุทั้งหลายทั้งปวง
avajānanti māṁ mūḍhā
mānuṣīṁ tanum āśritam
paraṁ bhāvam ajānanto
mama bhūta-maheśvaram
อวชานนฺติ มำ มูฒา
มานุษีํ ตนุมฺ อาศฺริตมฺ
ปรํ ภาวมฺ อชานนฺโต
มม ภูต-มเหศฺวรมฺ
อวชานนฺติ — เย้ยหยัน, มามฺ — ข้า, มูฒาห์ — คนโง่, มานุษีมฺ — ในร่างมนุษย์, ตนุมฺ — ร่างกาย, อาศฺริตมฺ — ลงมา, ปรมฺ — ทิพย์, ภาวมฺ — ธรรมชาติ, อชานนฺตห์ — ไม่รู้, มม — ของข้า, ภูต — ของทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็น, มหา-อีศฺวรมฺ — เจ้าของสูงสุด
คำแปล
คนโง่เขลาเย้ยหยันข้าเมื่อข้าลงมาในร่างมนุษย์ พวกเขาไม่รู้ธรรมชาติทิพย์ของข้าในฐานะที่เป็นองค์ภควานฺของสรรพสิ่งทั้งหลาย
คำอธิบาย
จากคำอธิบายของโศลกก่อนๆในบทนี้เป็นที่กระจ่างว่าองค์ภควานฺนั้นถึงแม้ว่าจะทรงปรากฏเหมือนกับมนุษย์แต่ทรงมิใช่มนุษย์ธรรมดา พระองค์ทรงเป็นผู้กำกับการสร้าง การดำรงรักษา และการทำลายล้าง ปรากฏการณ์ในจักรวาลโดยสมบูรณ์จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นมนุษย์ธรรมดา ถึงกระนั้นก็ยังมีคนโง่เขลาหลายคนที่พิจารณาว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นเพียงมนุษย์ผู้มีอำนาจคนหนึ่งเท่านั้น ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้อันที่จริงพระองค์ทรงเป็น ภควานฺ องค์เดิม ดังที่ได้ยืนยันไว้ใน พฺรหฺม-สํหิตา (อีศฺวรห์ ปรมห์ กฺฤษฺณห์) ว่าพระองค์ทรงเป็นองค์ภควานฺ
มี อีศฺวร หรือผู้ควบคุมมากมายบางคนดูเหมือนยิ่งใหญ่กว่าคนอื่น ในการบริหารธรรมดาทั่วไปในโลกวัตถุเราพบว่ามีเจ้าหน้าที่หรือผู้กำกับ เหนือกว่าเขามีเลขานุการ เหนือกว่าเลขานุการมีรัฐมนตรี และเหนือกว่ารัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีแต่ละท่านเป็นผู้ควบคุม แต่คนหนึ่งจะถูกอีกคนหนึ่งควบคุม ใน พฺรหฺม-สํหิตา กล่าวว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้ควบคุมสูงสุด มีผู้ควบคุมมากมายทั้งในโลกวัตถุและโลกทิพย์โดยไม่ต้องสงสัยแต่องค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้ควบคุมสูงสุด (อีศฺวรห์ ปรมห์ กฺฤษฺณห์) และพระวรกายของพระองค์ทรงเป็น สจฺ-จิทฺ-อานนฺท ไม่ใช่วัตถุ
ร่างวัตถุไม่สามารถแสดงกิจกรรมอันน่าอัศจรรย์ดังที่ได้อธิบายไว้ในโศลกก่อนหน้านี้ พระวรกายของพระองค์ทรงเป็นอมตะ มีความสุขเกษมสำราญ และเปี่ยมไปด้วยความรู้ ถึงแม้ทรงไม่ใช่มนุษย์ธรรมดาคนโง่เขลายังเยาะเย้ยพระองค์และพิจารณาว่าพระองค์ทรงเป็นมนุษย์ พระวรกายของพระองค์ได้ถูกเรียก ณ ที่นี้ว่า มานุษีมฺ เพราะทรงแสดงเหมือนกับมนุษย์ เป็นเพื่อนของ อรฺชุน เป็นนักการเมืองที่เกี่ยวข้องในสมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร พระองค์ทรงกระทำตัวเหมือนกับมนุษย์สามัญธรรมดาในหลายๆด้าน แต่อันที่จริงพระวรกายของพระองค์ทรงเป็น สตฺ จิตฺ อานนฺท วิคฺรห สุขเกษมสำราญ เป็นอมตะ และมีความรู้ที่สมบูรณ์ เช่นนี้ได้ยืนยันไว้ในภาษาพระเวทเช่นกันว่า สจฺ-จิทฺ-อานนฺท-รูปาย กฺฤษฺณาย “ข้าขอถวายความเคารพอย่างสูงแด่บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์กฺฤษฺณผู้ทรงมีรูปลักษณ์ที่สุขเกษมสำราญนิรันดรแห่งความรู้” (โคปาล-ตาปนี อุปนิษทฺ 1.1) มีคำพรรณนาอื่นๆในภาษาพระเวทอีกว่า ตมฺ เอกํ โควินฺทมฺ “พระองค์ทรงเป็น โควินฺท ผู้ให้ความสุขแก่ประสาทสัมผัสและฝูงวัว” สจฺ-จิทฺ-อานนฺท-วิคฺรหมฺ “และรูปลักษณ์ของพระองค์ทรงเป็นทิพย์เปี่ยมไปด้วยความรู้ ความสุขเกษมสำราญ และเป็นนิรันดร” (โคปาล-ตาปนี อุปนิษทฺ 1.35)
ถึงแม้ว่าคุณสมบัติทิพย์ต่างๆแห่งพระวรกายขององค์กฺฤษฺณทรงเปี่ยมไปด้วยความสุขเกษมสำราญ และความรู้ก็ยังมีผู้ที่สมมติว่าเป็นนักวิชาการและนักวิจารณ์ ภควัท-คีตา มากมายที่เย้ยหยันว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดา นักวิชาการอาจเกิดมาเป็นมนุษย์พิเศษเนื่องมาจากกรรมดีของตนในอดีต แต่แนวคิดเกี่ยวกับศฺรี กฺฤษฺณเช่นนี้อันเนื่องมาจากด้อยความรู้จึงถูกเรียกว่า มูฒ เพราะคนโง่เขลาเท่านั้นที่พิจารณาว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดา คนโง่เขลาพิจารณาว่าองค์กฺฤษฺณเป็นคนธรรมดาเพราะไม่รู้กิจกรรมส่วนพระองค์และพลังงานอันหลากหลายของพระองค์ พวกเขาไม่รู้ว่าพระวรกายขององค์กฺฤษฺณทรงเป็นเครื่องหมายแห่งความรู้และความสุขเกษมสำราญอย่างสมบูรณ์ พระองค์ทรงเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่และพระองค์ทรงสามารถให้อิสรภาพแด่ทุกคน เนื่องจากไม่รู้ว่าองค์กฺฤษฺณทรงมีคุณสมบัติทิพย์มากมายพวกนี้จึงเย้ยหยันพระองค์
พวกเขาไม่รู้ว่าการปรากฏขององค์ภควานฺในโลกวัตถุนี้เป็นปรากฏการณ์ของพลังงานเบื้องสูงของพระองค์ พระองค์ทรงเป็นเจ้าแห่งพลังงานวัตถุ ดังที่ได้อธิบายไว้แล้วหลายแห่ง (มม มายา ทุรตฺยยา) ทรงอ้างว่าพลังงานวัตถุแม้มีพลังอำนาจมากก็อยู่ภายใต้การควบคุมของพระองค์ ผู้ใดที่ศิโรราบต่อองค์ภควานฺจะสามารถหลุดออกไปจากการควบคุมของพลังงานวัตถุนี้ได้ ถ้าหากดวงวิญญาณที่ศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณจะสามารถหลุดออกไปจากอิทธิพลของธรรมชาติวัตถุ แล้วองค์ภควานฺผู้ทรงเป็นผู้กำกับการสร้างการดำรงรักษาและการทำลายล้างธรรมชาติจักรวาลทั้งหมดจะมีร่างกายวัตถุเหมือนพวกเราได้อย่างไร ฉะนั้นแนวความคิดเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณเช่นนี้เป็นความคิดที่โง่เขลาเบาปัญญาที่สุด อย่างไรก็ดีคนโง่ๆพวกนี้ไม่สามารถสำเหนียกรู้ได้ว่าองค์ภควานฺ กฺฤษฺณผู้ทรงปรากฏเหมือนมนุษย์ธรรมดาจะสามารถเป็นผู้ควบคุมละอองอณูทั้งหมดและปรากฏการณ์อันยิ่งใหญ่แห่งรูปลักษณ์จักรวาลได้อย่างไร ความยิ่งใหญ่ที่สุดและเล็กที่สุดอยู่เหนือแนวความคิดของพวกเขา ดังนั้นจึงไม่สามารถจินตนาการว่ารูปลักษณ์ของมนุษย์เช่นนี้สามารถควบคุมสิ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุดและสิ่งที่เล็กที่สุดในขณะเดียวกันได้อย่างไร อันที่จริงถึงแม้ทรงควบคุมสิ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุดและสิ่งที่เล็กสุดพระองค์ก็ทรงอยู่ห่างจากปรากฏการณ์เหล่านี้ทั้งหมด ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับ โยคมฺ ไอศฺวรมฺ ซึ่งเป็นพลังงานทิพย์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ของพระองค์ว่าทรงสามารถควบคุมสิ่งที่ไม่จำกัด และสิ่งที่เล็กที่สุดพร้อมๆกันและทรงสามารถอยู่ห่างจากสิ่งเหล่านี้ ถึงแม้ว่าคนโง่เขลาไม่สามารถจินตนาการว่าองค์กฺฤษฺณผู้ทรงปรากฏเหมือนมนุษย์ธรรมดาสามารถควบคุมสิ่งที่ไม่มีขอบเขตจำกัดและสิ่งที่เล็กที่สุด สาวกผู้บริสุทธิ์ยอมรับเช่นนี้เพราะทราบดีว่าองค์กฺฤษฺณ คือองค์ภควานฺ ฉะนั้นสาวกจะศิโรราบต่อพระองค์โดยดุษฎีและปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้
มีข้อขัดแย้งระหว่างพวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์และพวกที่เชื่อในรูปลักษณ์เกี่ยวกับการปรากฏขององค์ภควานฺในรูปร่างมนุษย์ แต่หากเรารับคำปรึกษากับ ภควัท-คีตา และ ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ คัมภีร์ที่เชื่อถือได้เพื่อให้เข้าใจศาสตร์แห่งองค์กฺฤษฺณเราก็จะสามารถเข้าใจว่าองค์กฺฤษฺณ คือองค์ภควานฺพระองค์ทรงมิใช่มนุษย์ธรรมดาแม้จะทรงปรากฏบนโลกนี้เหมือนมนุษย์ธรรมดาก็ตาม ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ภาคหนึ่งบทที่หนึ่งเมื่อเหล่านักปราชญ์ที่นำโดย เศานก ถามเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆขององค์กฺฤษฺณโดยกล่าวว่า
กฺฤตวานฺ กิล กรฺมาณิ
สห ราเมณ เกศวห์
อติ-มรฺตฺยานิ ภควานฺ
คูฒห์ กปฏ-มาณุษห์
“องค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณพร้อมทั้ง พลราม ทรงเล่นกันเหมือนมนุษย์ ในบทบาทนี้พระองค์ทรงแสดงกิจกรรมเหนือมนุษย์มากมาย” (ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ 1.1.20) การปรากฏขององค์ภควานฺในฐานะที่เป็นมนุษย์ทำให้คนโง่เขลาสับสน ไม่มีมนุษย์ผู้ใดสามารถกระทำสิ่งอันน่าอัศจรรย์ที่องค์กฺฤษฺณทรงแสดงขณะที่ปรากฏอยู่บนโลกนี้ เมื่อองค์กฺฤษฺณทรงปรากฏต่อหน้าพระบิดาและพระมารดา วสุเทว และ เทวกี พระองค์ทรงปรากฏในรูปสี่กรแต่หลังจากที่พระบิดาและพระมารดาถวายบทมนต์พระองค์ก็ทรงเปลี่ยนร่างมาเป็นเด็กน้อยธรรมดา ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ภาควต (10.3.46) พภูว ปฺรากฺฤตห์ ศิศุห์ พระองค์ทรงกลายมาเป็นเหมือนกับเด็กน้อยธรรมดามนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง ตรงนี้ได้แสดงให้เราเห็นอีกครั้งหนึ่งว่าการปรากฏขององค์ภควานฺในรูปลักษณ์มนุษย์ธรรมดาเป็นลักษณะหนึ่งแห่งร่างทิพย์ของพระองค์ ในบทที่สิบเอ็ดของ ภควัท-คีตา ก็เช่นกันได้กล่าวไว้ว่า อรฺชุน ทรงภาวนาเพื่อให้เห็นรูปลักษณ์สี่กรขององค์กฺฤษฺณ (เตไนว รูเปณ จตุรฺ-ภุเชน) หลังจากที่ได้รับคำขอร้องจาก อรฺชุน องค์กฺฤษฺณทรงเปิดเผยรูปลักษณ์นี้และแล้วทรงกลับคืนมาสู่ร่างเดิมของพระองค์ที่คล้ายมนุษย์ (มานุษํ รูปมฺ) ลักษณะต่างๆขององค์ภควานฺเหล่านี้นั้นไม่เหมือนกับมนุษย์ธรรมดาทั่วไปอย่างแน่นอน
พวกที่เยาะเย้ยองค์กฺฤษฺณและพวกที่ติดเชื้อโรคจากปรัชญา มายาวาที อ้างโศลกนี้จาก ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (3.29.21) เพื่อพิสูจน์ว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาสามัญ อหํภูเตษุ ภูตาตฺมาวสฺถิตห์ สทา “องค์ภควานฺทรงปรากฏอยู่ในทุกๆชีวิต” เราควรสังเกตโศลกนี้โดยเฉพาะจาก ไวษฺณว อาจารฺย เช่น ชีว โก-สวามี และ วิศฺวนาถ จกฺรวรฺตี ฐากุร แทนที่จะไปตามการตีความของบุคคลผู้ไม่น่าเชื่อถือที่เย้นหยันองค์กฺฤษฺณ ชีว โคสฺวามี อธิบายโศลกนี้ด้วยการกล่าวว่าองค์กฺฤษฺณในภาคแบ่งแยกที่สมบูรณ์ของพระองค์ในรูป ปรมาตฺมา สถิตในสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนไหวและไม่เคลื่อนไหวในฐานะที่เป็นอภิวิญญาณ ดังนั้นสาวกนวกะรูปใดที่ให้ความสนใจกับ อรฺจา-มูรฺติ รูปลักษณ์ขององค์ภควานฺในวัดและไม่เคารพสิ่งมีชีวิตอื่นๆได้บูชารูปลักษณ์ของพระองค์ในวัดอย่างไร้ประโยชน์ มีสาวกขององค์ภควานฺอยู่สามระดับ นวกะอยู่ในระดับต่ำสุด สาวกนวกะให้ความสนใจกับพระปฏิมาในวัดมากกว่าสาวกรูปอื่นๆ ดังนั้น วิศฺวนาถ จกฺรวรฺตี ฐากุร เตือนว่าความรู้สึกนึกคิดเช่นนี้ควรแก้ไขปรับปรุง สาวกควรเห็นว่าเนื่องจากองค์กฺฤษฺณทรงปรากฏอยู่ในหัวใจของทุกคนในรูป ปรมาตฺมา ทุกคนจึงเป็นรูปร่างหรือวัดของพระองค์ ดังนั้นเมื่อแสดงความเคารพต่อวัดของพระองค์ก็ควรให้ความเคารพต่อทุกคนอย่างเหมาะสมเพราะ ปรมาตฺมา ทรงประทับอยู่ภายในทุกร่าง เพราะฉะนั้นทุกคนควรได้รับความเคารพอย่างเหมาะสมโดยไม่ควรถูกละเลย
มีผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์มากมายเช่นกันที่เยาะเย้ยการบูชาในวัดโดยกล่าวว่าเนื่องจากพระผู้เป็นเจ้าทรงประทับอยู่ทุกหนทุกแห่งแล้วทำไมจึงต้องจำกัดตัวเองกับการบูชาอยู่ในวัดเท่านั้นเล่า แต่เมื่อทรงอยู่ทุกหนทุกแห่งแล้วพระองค์ทรงมิได้อยู่ในวัดหรือในพระปฏิมาด้วย หรือถึงแม้ว่าผู้เชื่อในรูปลักษณ์และผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์จะถกเถียงกันตลอดเวลา สาวกผู้สมบูรณ์ในกฺฤษฺณจิตสำนึกทราบว่าถึงแม้องค์กฺฤษฺณทรงเป็นองค์ภควานฺพระองค์ทรงแผ่กระจายไปทั่ว ดังที่ได้ยืนยันไว้ใน พฺรหฺม-สํหิตา แม้ว่าพระตำหนักส่วนพระองค์คือ โคโลก วฺฤนฺทาวน และประทับอยู่ที่นั่นตลอดเวลาด้วยปรากฏการณ์ของพลังงานอันหลากหลายและด้วยภาคที่แบ่งแยกอันสมบูรณ์ องค์ภควานฺทรงปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่งในทุกส่วนของการสร้างทั้งวัตถุและทิพย์
moghāśā mogha-karmāṇo
mogha-jñānā vicetasaḥ
rākṣasīm āsurīṁ caiva
prakṛtiṁ mohinīṁ śritāḥ
โมฆาศา โมฆ-กรฺมาโณ
โมฆ-ชฺญานา วิเจตสห์
รากฺษสีมฺ อาสุรีํ ไจว
ปฺรกฺฤตึ โมหินีํ ศฺริตาห์
โมฆ-อาศาห์ — ล้มเหลวในความหวังของพวกเขา, โมฆ-กรฺมาณห์ — ล้มเหลวในกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ, โมฆ-ชฺญานาห์ — ล้มเหลวในความรู้, วิเจตสห์ — สับสน, รากฺษสีมฺ — มาร, อาสุรีมฺ — ผู้ไม่เชื่อในองค์ภควาน, จ — และ, เอว — แน่นอน, ปฺรกฺฤติมฺ — ธรรมชาติ, โมหินีมฺ — สับสน, ศฺริตาห์ — ไปพึ่ง
คำแปล
พวกที่สับสนจะชอบทัศนะคติของมารและทัศนะคติที่ไม่เชื่อในองค์ภควานฺในสภาวะแห่งความหลงนั้น ความหวังเพื่อความหลุดพ้น กิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ และการพัฒนาความรู้ของพวกเขาทั้งหมดล้มเหลว
คำอธิบาย
มีสาวกมากมายที่อ้างตนเองว่าอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกและปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้แต่ในหัวใจไม่ยอมรับองค์กฺฤษฺณบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าว่าเป็นสัจธรรมที่สมบูรณ์ สำหรับพวกนี้จะไม่มีวันได้รับรสจากผลแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้และการกลับคืนสู่องค์ภควานฺ ในทำนองเดียวกันพวกที่ปฏิบัติตนในกิจกรรมเพื่อผลบุญและในที่สุดหวังจะหลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุนี้ก็ไม่มีวันประสบผลสำเร็จเช่นกัน เพราะเยาะเย้ยองค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณ อีกนัยหนึ่งบุคคลผู้หัวเราะเยาะองค์กฺฤษฺณเข้าใจได้ว่าเป็นมารหรือผู้ไม่เชื่อในองค์ภควานฺ ดังที่ได้อธิบายไว้ในบทที่เจ็ดของ ภควัท-คีตา คนมารสารเลวเช่นนี้ไม่มีวันศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณ ดังนั้นการคาดคะเนทางจิตเพื่อหวังที่จะมาถึงซึ่งสัจธรรมจะนำพวกเขาไปถึงจุดสรุปที่ผิดๆว่าสิ่งมีชีวิตธรรมดาทั่วไป และองค์กฺฤษฺณเป็นหนึ่งเดียวกันและเหมือนกัน ด้วยความเชื่อมั่นที่ผิดเช่นนี้พวกเขาจึงคิดว่าร่างกายของมนุษย์ปัจจุบันนี้ถูกปกคลุมด้วยธรรมชาติวัตถุ และทันทีที่หลุดพ้นจากร่างวัตถุนี้จะไม่มีข้อแตกต่างระหว่างองค์ภควานฺและตัวเขา ความพยายามในการที่จะกลายมาเป็นหนึ่งเดียวกับองค์กฺฤษฺณเช่นนี้จะพบกับความล้มเหลวเนื่องจากความหลงผิด การพัฒนาความรู้ทิพย์ของผู้ไม่เชื่อในองค์ภควานฺ และหมู่มารเช่นนี้จะหาประโยชน์ไม่ได้เลยนี่คือจุดที่โศลกนี้แสดงให้เราเห็นสำหรับบุคคลเหล่านี้การพัฒนาความรู้ในวรรณกรรมพระเวท เช่น เวทานฺต-สูตฺร และ อุปนิษทฺ จะพบแต่ความล้มเหลวอยู่เสมอ
ฉะนั้นจึงเป็นข้อผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงที่พิจารณาว่าองค์ภควานฺ กฺฤษฺณทรงเป็นบุคคลธรรมดาสามัญ ผู้ที่คิดเช่นนี้อยู่ในความหลงอย่างแน่นอน เพราะไม่สามารถเข้าใจรูปลักษณ์อมตะขององค์กฺฤษฺณได้ พฺฤหทฺ-วิษฺณุ-สฺมฺฤติ กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า
โย เวตฺติ เภาติกํ เทหํ
กฺฤษฺณสฺย ปรมาตฺมนห์
ส สรฺวสฺมาทฺ พหิษฺ-การฺยห์
เศฺราต-สฺมารฺต-วิธานตห์
มุขํ ตสฺยาวโลกฺยาปิ
ส-เจลํ สฺนานมฺ อาจเรตฺ
“ผู้ใดพิจารณาว่าร่างกายขององค์กฺฤษฺณเป็นวัตถุควรถูกขับไล่ให้ออกไปจากพิธีกรรมและกิจกรรมแห่ง ศฺรุติ และ สฺมฺฤติ ทั้งหมด และเมื่อใดหากใครก็ตามเห็นหน้าคนนี้อีกควรอาบน้ำในแม่น้ำคงคาทันทีเพื่อชะล้างโรคร้ายนี้ให้ออกไป” คนที่เย้ยหยันองค์กฺฤษฺณเนื่องจากความอิจฉาริษยาพระองค์จุดหมายปลายทางของเขาคือต้องเกิดในเผ่าพันธุ์ชีวิตของพวกที่ไม่เชื่อถือในองค์ภควานฺ และพวกมารอีกชาติแล้วชาติเล่าอย่างแน่นอน ความรู้อันแท้จริงของพวกนี้จะยังคงอยู่ภายใต้ความหลงชั่วกัลปวสาน และจะค่อยๆตกต่ำลงไปสู่แหล่งที่มืดมิดที่สุดแห่งการสร้าง
mahātmānas tu māṁ pārtha
daivīṁ prakṛtim āśritāḥ
bhajanty ananya-manaso
jñātvā bhūtādim avyayam
มหาตฺมานสฺ ตุ มำ ปารฺถ
ไทวีํ ปฺรกฺฤติมฺ อาศฺริตาห์
ภชนฺตฺยฺ อนนฺย-มนโส
ชฺญาตฺวา ภูตาทิมฺ อวฺยยมฺ
มหา-อาตฺมานห์ — เหล่าดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่, ตุ — แต่, มามฺ — แด่ข้า, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, ไทวีมฺ — ทิพย์, ปฺรกฺฤติมฺ — ธรรมชาติ, อาศฺริตาห์ — ได้รับเอาเป็นที่พึ่ง, ภชนฺติ — ถวายการรับใช้, อนนฺย-มนสห์ — ปราศจากการเบี่ยงเบนของจิตใจ, ชฺญาตฺวา — รู้, ภูต — ของการสร้าง, อาทิมฺ — เดิม, อวฺยยมฺ — ไม่มีที่สิ้นสุด
คำแปล
โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา เหล่าดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่ที่ไม่อยู่ในความหลงอยู่ภายใต้การปกป้องของธรรมชาติทิพย์ และปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างเต็มที่ เพราะพวกเขาทราบว่าข้าคือภควานองค์เดิมและไม่มีที่สิ้นสุด
คำอธิบาย
ในโศลกนี้อธิบายถึงคำว่า มหาตฺมา อย่างชัดเจน ลักษณะอาการแรกของ มหาตฺมา คือเขาสถิตในธรรมชาติทิพย์เรียบร้อยแล้ว และมิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของธรรมชาติวัตถุ จะเป็นเช่นนี้ได้อย่างไรนั้นได้อธิบายไว้ในบทที่เจ็ดว่าผู้ใดที่ศิโรราบต่อศฺรี กฺฤษฺณบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าจะได้รับอิสรภาพจากการควบคุมของธรรมชาติวัตถุ นี่คือคุณสมบัติ ทันทีที่ดวงวิญญาณศิโรราบต่อองค์ภควานฺนั่นคือสูตรพื้นฐานในฐานะที่เป็นพลังงานพรมแดน ทันทีที่สิ่งมีชีวิตได้รับอิสรภาพจากการควบคุมของธรรมชาติวัตถุเขาจะอยู่ภายใต้การนำทางของธรรมชาติทิพย์ การนำทางของธรรมชาติทิพย์เรียกว่า ไทวี ปฺรกฺฤติ ดังนั้นเมื่อได้รับการส่งเสริมเช่นนี้ด้วยการศิโรราบต่อบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าเขาบรรลุถึงระดับของดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่ มหาตฺมา
มหาตฺมา จะไม่เบี่ยงเบนสมาธิของตนเองไปกับสิ่งอื่นใดนอกจากองค์กฺฤษฺณ เพราะทราบดีว่าองค์กฺฤษฺณคือบุคคลสูงสุดองค์เดิม ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวงโดยไม่มีข้อสงสัย มหาตฺมา หรือดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่นี้พัฒนาจากการมาคบหาสมาคมกับ มหาตฺมา หรือสาวกผู้บริสุทธิ์ เหล่าสาวกผู้บริสุทธิ์จะไม่ยึดติดแม้แต่กับรูปลักษณ์อื่นขององค์กฺฤษฺณ เช่น มหา-วิษฺณุ สี่กร แต่จะยึดมั่นอยู่กับรูปลักษณ์สองกรขององค์กฺฤษฺณเท่านั้น โดยไม่ยึดติดกับรูปลักษณ์อื่นใดของพระองค์และไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับรูปลักษณ์ใดๆของเทวดาหรือมนุษย์ ท่านเพียงแต่ทำสมาธิอยู่ที่องค์กฺฤษฺณ ในกฺฤษฺณจิตสำนึกและปฏิบัติรับใช้โดยตรงต่อพระองค์ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เสมอเท่านั้น
satataṁ kīrtayanto māṁ
yatantaś ca dṛḍha-vratāḥ
namasyantaś ca māṁ bhaktyā
nitya-yuktā upāsate
สตตํ กีรฺตยนฺโต มำ
ยตนฺตศฺ จ ทฺฤฒ-วฺรตาห์
นมสฺยนฺตศฺ จ มำ ภกฺตฺยา
นิตฺย-ยุกฺตา อุปาสเต
สตตมฺ — เสมอ, กีรฺตยนฺตห์ — สวดภาวนา, มามฺ — เกี่ยวกับข้า, ยตนฺตห์ — พยายามอย่างเต็มที่, จ — เช่นกัน, ทฺฤฒ-วฺรตาห์ — ด้วยความมั่นใจ, นมสฺยนฺตห์ — ถวายความเคารพ, จ — และ, มามฺ — ข้า, ภกฺตฺยา — ในการอุทิศตนเสียสละ, นิตฺย-ยุกฺตาห์ — ปฏิบัติชั่วกัลปวสาน, อุปาสเต — บูชา
คำแปล
สวดภาวนาพระบารมีของข้าเสมอ พยายามด้วยความมั่นใจอย่างแน่วแน่ ก้มลงกราบต่อหน้าข้า ดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่เหล่านี้บูชาข้านิรันดรด้วยการอุทิศตนเสียสละ
คำอธิบาย
มหาตฺมา ไม่ใช่ผลิตขึ้นมาด้วยการตีแสตมป์ไปที่คนธรรมดา ลักษณะอาการของ มหาตฺมา ได้อธิบายไว้ดังนี้ มหาตฺมา ปฏิบัติในการสวดภาวนาพระบารมีขององค์ภควานฺ กฺฤษฺณอยู่ตลอดเวลา และไม่มีภาระกิจอื่นใดนอกจากปฏิบัติในการสรรเสริญพระองค์ อีกนัยหนึ่งเขาไม่ใช่ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ เมื่อมีคำถามเกี่ยวกับองค์ภควานฺเขาจะต้องสรรเสริญพระองค์ สรรเสริญพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ รูปลักษณ์อมตะของพระองค์ คุณสมบัติทิพย์ของพระองค์ และลีลาอันน่าอัศจรรย์ของพระองค์ เขาจะต้องสรรเสริญทั้งหมดนี้ ดังนั้น มหาตฺมา จึงยึดมั่นอยู่กับองค์ภควานฺ
ผู้ที่ยึดติดอยู่กับลักษณะอันไร้รูปลักษณ์ขององค์ภควานฺ พฺรหฺม-โชฺยติรฺ นั้นมิได้อธิบายว่าเป็น มหาตฺมา ภควัท-คีตา โศลกต่อไปจะอธิบายถึงความแตกต่าง มหาตฺมา ปฏิบัติในกิจกรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่างๆตลอดเวลา ดังที่ได้อธิบายไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ เช่น การสดับฟังและการสวดภาวนาเกี่ยวกับพระวิษฺณุ ไม่ใช่เกี่ยวกับเทวดาหรือมนุษย์ นั่นคือการอุทิศตนเสียสละ ศฺรวณํ กีรฺตนํ วิษฺโณห์ และ สฺมรณมฺ ระลึกถึงพระองค์ มหาตฺมา ผู้นี้มีความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่เพื่อบรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดในการคบหาสมาคมกับองค์ภควานฺ หนึ่งในห้า รส ทิพย์ เพื่อบรรลุถึงผลสำเร็จนั้นเขาปฏิบัติกิจกรรมทั้งหลายไม่ว่าจะด้วยจิตใจ ร่างกาย และคำพูด ทุกสิ่งทุกอย่างปฏิบัติในการรับใช้องค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณ เช่นนี้เรียกว่า กฺฤษฺณจิตสำนึกโดยสมบูรณ์
ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้มีกิจกรรมบางอย่างที่เรียกว่ามุ่งมั่น เช่น การอดอาหารบางวัน ดังเช่นวันขึ้นสิบเอ็ดค่ำและวันแรมสิบเอ็ดค่ำ ซึ่งเรียกว่าวัน เอกาทศี และวันเสด็จลงมาขององค์ภควานฺ กฎเกณฑ์ทั้งหลายนี้ อาจารฺย ผู้ยิ่งใหญ่ได้ให้ไว้สำหรับพวกที่สนใจที่จะได้รับอนุญาตให้มาอยู่ใกล้ชิดกับบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าในโลกทิพย์อย่างแท้จริง มหาตฺมา ดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่ถือปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทั้งหมดอย่างเคร่งครัด และจะบรรลุถึงผลดังใจปรารถนาอย่างแน่นอน
ดังที่ได้อธิบายไว้ในโศลกสองของบทนี้ว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้นี้ไม่เพียงง่ายเท่านั้น แต่ยังสามารถปฏิบัติได้ด้วยอารมณ์ที่มีความสุขไม่จำเป็นต้องปฏิบัติการบำเพ็ญเพียรและสมถะอย่างเคร่งเครียด เราสามารถใช้ชีวิตนี้ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ซึ่งพระอาจารย์ทิพย์ผู้ชำนาญเป็นผู้นำทาง เราอาจเป็น คฺฤหสฺถ สนฺนฺยาสี หรือ พฺรหฺมจารี ไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพเช่นไรและสถานที่แห่งใดในโลก เราสามารถปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าได้และกลายมาเป็น มหาตฺมา ดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง
jñāna-yajñena cāpy anye
yajanto mām upāsate
ekatvena pṛthaktvena
bahudhā viśvato-mukham
ชฺญาน-ยชฺเญน จาปฺยฺ อเนฺย
ยชนฺโต มามฺ อุปาสเต
เอกเตฺวน ปฺฤถกฺเตฺวน
พหุธา วิศฺวโต-มุขมฺ
ชฺญาน-ยชฺเญน — ด้วยการพัฒนาความรู้, จ — เช่นกัน, อปิ — แน่นอน, อเนฺย — ผู้อื่น, ยชนฺตห์ — บูชา, มามฺ — ข้า, อุปาสเต — บูชา, เอกเตฺวน — ในความเป็นหนึ่ง, ปฺฤถกฺเตฺวน — ในสิ่งคู่, พหุธา — ในพหุภาค, วิศฺวตห์-มุขมฺ — และในรูปลักษณ์จักรวาล
คำแปล
บุคคลอื่นๆปฏิบัติการบูชาด้วยการพัฒนาความรู้ บูชาองค์ภควานในฐานะที่เป็นหนึ่งไม่มีสอง ในฐานะที่เป็นพหุภาค และในรูปลักษณ์จักรวาล
คำอธิบาย
โศลกนี้เป็นบทสรุปของโศลกก่อนๆองค์ภควานฺตรัสแด่ อรฺชุน ว่าผู้ที่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างบริสุทธิ์จะไม่รู้จักสิ่งใดนอกจากองค์กฺฤษฺณ เรียกว่า มหาตฺมา ถึงกระนั้นยังมีบุคคลอื่นๆผู้ไม่อยู่ในตำแหน่ง มหาตฺมา โดยแท้จริงแต่ยังบูชาองค์กฺฤษฺณในวิธีต่างๆ ดังที่ได้อธิบายไว้แล้วว่าบางคนอยู่ในความทุกข์ บางคนขาดแคลนเงิน บางคนชอบถาม และบางคนปฏิบัติในการพัฒนาความรู้แต่ยังมีพวกที่ต่ำกว่าซึ่งแบ่งออกเป็นสามพวกคือ (1) ผู้ที่บูชาตนเองว่าเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควานฺ (2) ผู้ที่อุปโลกคิดรูปลักษณ์ขององค์ภควานฺขึ้นมาและบูชารูปลักษณ์นั้น และ (3) ผู้ที่ยอมรับรูปลักษณ์จักรวาล วิศฺว-รูป ขององค์ภควานฺและบูชารูปลักษณ์นั้น จากที่กล่าวมาทั้งสามกลุ่ม กลุ่มที่บูชาตนเองว่าเป็นองค์ภควานฺถือว่าต่ำสุดที่คิดว่าตนเอง และพระองค์เป็นหนึ่งเดียวกันกลุ่มนี้มีมากที่สุด บุคคลเหล่านี้คิดว่าตนเองเป็นองค์ภควานฺและด้วยความคิดเช่นนี้จึงบูชาตนเอง เช่นนี้ก็เป็นการบูชาพระองค์อีกรูปแบบหนึ่ง เพราะเข้าใจว่าตนเองไม่ใช่ร่างกายวัตถุแต่อันที่จริงเป็นดวงวิญญาณอย่างน้อยที่สุดความรู้สึกนึกคิดแบบนี้เด่นชัดโดยทั่วไปพวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์บูชาองค์ภควานฺแบบนี้ พวกที่สองรวมไปถึงกลุ่มที่บูชาเทวดาโดยใช้จินตนาการพิจารณาว่ารูปลักษณ์ใดๆก็เป็นรูปลักษณ์ขององค์ภควานฺ พวกที่สามรวมไปถึงกลุ่มที่ไม่สามารถสำเหนียกสิ่งใดนอกเหนือไปจากปรากฏการณ์ของจักรวาลวัตถุนี้โดยพิจารณาว่าจักรวาลคือสิ่งมีชีวิตที่สูงสุดและบูชาจักรวาลนี้ จักรวาลก็เป็นรูปลักษณ์ขององค์ภควานฺเช่นเดียวกัน
ahaṁ kratur ahaṁ yajñaḥ
svadhāham aham auṣadham
mantro ’ham aham evājyam
aham agnir ahaṁ hutam
อหํ กฺรตุรฺ อหํ ยชฺญห์
สฺวธาหมฺ อหมฺ เอาษธมฺ
มนฺโตฺร ’หมฺ อหมฺ เอวาชฺยมฺ
อหมฺ อคฺนิรฺ อหํ หุตมฺ
อหมฺ — ข้า, กฺรตุห์ — พิธีกรรมพระเวท , อหมฺ — ข้า, ยชฺญห์ — สฺมฺฤติ การบูชา, สฺวธา — บวงสรวง, อหมฺ — ข้า, อหมฺ — ข้า, เอาษธมฺ — สมุนไพรรักษาโรค, มนฺตฺรห์ — บทมนต์ทิพย์, อหมฺ — ข้า, อหมฺ — ข้า, เอว — แน่นอน, อาชฺยมฺ — เนยที่ละลาย, อหมฺ — ข้า, อคฺนิห์ — ไฟ, อหมฺ — ข้า, หุตมฺ — ถวาย
คำแปล
แต่ข้าคือพิธีบูชา ข้าคือการบูชา ข้าคือเครื่องถวายให้แก่บรรพบุรุษ ข้าคือสมุนไพรรักษาโรค ข้าคือบทมนต์ทิพย์ ข้าคือเนย ข้าคือไฟ และข้าคือเครื่องถวาย
คำอธิบาย
พิธีบูชาพระเวทชื่อว่า โชฺยติษฺโฏม คือองค์กฺฤษฺณเช่นเดียวกัน พระองค์ทรงเป็น มหา-ยชฺญ ที่กล่าวไว้ใน สฺมฺฤติ การบวงสรวงที่ถวายให้ ปิตฺฤโลก การปฏิบัติพิธีบูชาเพื่อให้ ปิตฺฤโลก พึงพอใจพิจารณาว่าเป็นยาชนิดหนึ่งในรูปของเนยใสคือองค์กฺฤษฺณเช่นเดียวกัน บทมนต์ภาวนาสัมพันธ์กันนี้ก็คือองค์กฺฤษฺณเช่นกัน และสิ่งของอื่นๆมากมายที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์นมเพื่อถวายในพิธีบูชาก็คือองค์กฺฤษฺณเช่นเดียวกัน ไฟก็คือองค์กฺฤษฺณ เพราะว่าไฟเป็นหนึ่งในห้าวัตถุธาตุ ดังนั้นจึงอ้างได้ว่าเป็นพลังงานที่แบ่งแยกออกมาจากองค์กฺฤษฺณพิธีบูชาพระเวทที่แนะนำไว้ในภาคของ กรฺม-กาณฺฑ ในคัมภีร์พระเวทรวมทั้งหมดคือ องค์กฺฤษฺณเช่นกัน อีกนัยหนึ่งพวกที่ปฏิบัติถวายการอุทิศตนรับใช้แด่องค์กฺฤษฺณเข้าใจว่าได้ปฏิบัติพิธีการบูชาทั้งหลายที่แนะนำไว้ในคัมภีร์พระเวทเสร็จสิ้นแล้ว
pitāham asya jagato
mātā dhātā pitāmahaḥ
vedyaṁ pavitram oṁ-kāra
ṛk sāma yajur eva ca
ปิตาหมฺ อสฺย ชคโต
มาตา ธาตา ปิตามหห์
เวทฺยํ ปวิตฺรมฺ โอํ-การ
ฤกฺ สาม ยชุรฺ เอว จ
ปิตา — บิดา, อหมฺ — ข้า, อสฺย — ของสิ่งนี้, ชคตห์ — จักรวาล, มาตา — มารดา, ธาตา — ผู้สนับสนุน, ปิตามหห์ — ปู่ ตา, เวทฺยมฺ — อะไรที่ควรรู้, ปวิตฺรมฺ — สิ่งที่บริสุทธิ์, โอํ-การ — พยางค์ โอํ, ฤกฺ — ฤคฺ เวท, สาม — สาม เวท, ยชุห์ — ยชุรฺ เวท, เอว — แน่นอน, จ — และ
คำแปล
ข้าคือบิดา มารดา ผู้ค้ำจุน และบรรพบุรุษของจักรวาลนี้ ข้าคือจุดมุ่งหมายแห่งความรู้ ผู้ทำให้บริสุทธิ์ และคำพยางค์ โอม ข้าคือ ฤคฺ เวท สาม เวท และ ยชุรฺ เวท เช่นเดียวกัน
คำอธิบาย
ปรากฏการณ์ในจักรวาลทั้งหมดทั้งที่เคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่ปรากฏออกมาด้วยกิจกรรมต่างๆแห่งพลังงานขององค์กฺฤษฺณ ในความเป็นอยู่ทางวัตถุเราสร้างความสัมพันธ์ต่างๆกับสิ่งมีชีวิตซึ่งไม่ใช่ใครอื่นแต่เป็นพลังงานพรมแดนขององค์กฺฤษฺณ ภายใต้การสร้างของ ปฺรกฺฤติ บางคนปรากฏเป็นบิดา มารดา คุณปู่ คุณตา ผู้สร้าง ฯลฯ ของเรา แต่อันที่จริงพวกท่านเป็นละอองอณูขององค์กฺฤษฺณ ในโศลกนี้คำว่า ธาตา หมายถึง “ผู้สร้าง” ไม่เพียงแต่บิดาและมารดาของเราเป็นละอองอณูขององค์กฺฤษฺณเท่านั้น แต่ผู้สร้างคุณย่า คุณยาย และคุณปู่ คุณตาก็คือองค์กฺฤษฺณเช่นเดียวกัน อันที่จริงสิ่งมีชีวิตใดๆที่เป็นละอองอณูขององค์กฺฤษฺณก็คือองค์กฺฤษฺณ ดังนั้นคัมภีร์พระเวททั้งหมดตั้งเป้าไปสู่องค์ศฺรี กฺฤษฺณเท่านั้น อะไรก็แล้วแต่ที่เราต้องการรู้ผ่านทางคัมภีร์พระเวทเป็นเพียงความเจริญก้าวหน้าไปสู่ความเข้าใจองค์กฺฤษฺณ ประเด็นที่ช่วยทำให้สถานภาพพื้นฐานของเราบริสุทธิ์ขึ้นคือองค์กฺฤษฺณโดยเฉพาะ ในลักษณะเดียวกันสิ่งมีชีวิตผู้ชอบถามเพื่อให้เข้าใจหลักธรรมคัมภีร์พระเวททั้งหมดก็เป็นละอองอณูขององค์กฺฤษฺณ ดังนั้นคือองค์กฺฤษฺณ เช่นกันใน มนฺตฺร พระเวททั้งหมดคำว่า โอํ เรียกว่า ปฺรณว เป็นคลื่นเสียงทิพย์คือองค์กฺฤษฺณเช่นเดียวกัน และเนื่องจากในบทมนต์ทั้งหมดของพระเวททั้งสี่เล่ม เช่น สาม, ยชุรฺ, ฤคฺ และ อถรฺว ปฺรณว หรือ โอํ-การ โดดเด่นมากเข้าใจกันว่าคือองค์กฺฤษฺณ
gatir bhartā prabhuḥ sākṣī
nivāsaḥ śaraṇaṁ suhṛt
prabhavaḥ pralayaḥ sthānaṁ
nidhānaṁ bījam avyayam
คติรฺ ภรฺตา ปฺรภุห์ สากฺษี
นิวาสห์ ศรณํ สุหฺฤตฺ
ปฺรภวห์ ปฺรลยห์ สฺถานํ
นิธานํ พีชมฺ อวฺยยมฺ
คติห์ — จุดมุ่งหมาย, ภรฺตา — ผู้ค้ำจุน, ปฺรภุห์ — ภควาน, สากฺษี — พยางค์, นิวาสห์ — พระตำหนัก, ศรณมฺ — ร่มโพธิ์ร่มไทร, สุ-หฺฤตฺ — เพื่อนที่ใกล้ชิดที่สุด, ปฺรภวห์ — การสร้าง, ปฺรลยห์ — การทำลาย, สฺถานมฺ — ฟื้น, นิธานมฺ — ที่พัก, พีชมฺ — เมล็ดพันธุ์, อวฺยยมฺ — ไม่มีวันสูญสลาย
คำแปล
ข้าคือจุดมุ่งหมาย ผู้ค้ำจุน อาจารย์ พยาน ตำหนัก ร่มโพธิ์ร่มไทร และเพื่อนที่รักที่สุด ข้าคือการสร้างและการทำลาย พื้นฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง ข้าคือที่พักและเมล็ดพันธุ์นิรันดร
คำอธิบาย
คติ หมายถึงจุดมุ่งหมายที่เราต้องการที่จะไป แต่จุดมุ่งหมายสูงสุดคือองค์กฺฤษฺณถึงแม้ว่าผู้คนไม่จะรู้ ผู้ที่ไม่รู้จักองค์กฺฤษฺณจะถูกนำไปในทางที่ผิดและสิ่งที่สมมติว่าเป็นขบวนการในความเจริญก้าวหน้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งหรือเป็นภาพหลอน มีหลายคนที่มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่เทวดา และจากการปฏิบัติตามวิธีการต่างๆอย่างเคร่งครัดจะบรรลุถึงดาวเคราะห์ต่างๆ เช่น จนฺทฺรโลก, สูรฺยโลก, อินฺทฺรโลก, มหโรฺลก ฯลฯ แต่ โลก หรือดาวเคราะห์ทั้งหลายเหล่านี้เป็นการสร้างขององค์กฺฤษฺณเป็นองค์กฺฤษฺณและไม่เป็นองค์กฺฤษฺณในเวลาเดียวกัน ดาวเคราะห์เหล่านี้เป็นปรากฏการณ์แห่งพลังงานขององค์กฺฤษฺณก็เป็นองค์กฺฤษฺณเช่นเดียวกัน แต่อันที่จริงดาวเคราะห์เหล่านี้ทำหน้าที่เป็นเพียงขั้นบันไดไปสู่ความรู้แจ้งองค์กฺฤษฺณ การเข้าหาพลังงานต่างๆขององค์กฺฤษฺณเป็นการเข้าหาองค์กฺฤษฺณทางอ้อม เราควรเข้าหาองค์กฺฤษฺณโดยตรงเพราะจะประหยัดเวลาและพลังงาน ตัวอย่างเช่น หากเป็นไปได้ที่จะขึ้นไปบนดาดฟ้าของอาคารโดยลิฟท์แล้วทำไมต้องขึ้นไปทางบันไดทีละขั้น ทุกอย่างอิงอยู่ที่พลังงานขององค์กฺฤษฺณ ปราศจากที่พึ่งแห่งองค์กฺฤษฺณจะไม่มีสิ่งใดสามารถอยู่ได้ องค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุดเพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของพระองค์ และทุกสิ่งทุกอย่างอยู่บนพลังงานของพระองค์ องค์กฺฤษฺณทรงสถิตในหัวใจของทุกชีวิต ทรงเป็นพยานสูงสุด ประเทศต่างๆหรือดาวเคราะห์ต่างๆที่เราอาศัยอยู่ก็เป็นองค์กฺฤษฺณเช่นเดียวกัน องค์กฺฤษฺณทรงเป็นจุดมุ่งหมายและที่พึ่งสูงสุด ฉะนั้นเราควรพึ่งองค์ศฺรี กฺฤษฺณเพื่อการปกป้องคุ้มครอง หรือเพื่อทำลายล้างความทุกข์โศก และเมื่อใดที่เราต้องการการปกป้องคุ้มครองเราควรรู้ว่าการปกป้องคุ้มครองของพวกเรานั้นจะต้องเป็นพลังงานชีวิต องค์กฺฤษฺณทรงเป็นชีวิตที่สูงสุดเนื่องจากองค์กฺฤษฺณทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดของพวกเรา หรือเป็นพระบิดาสูงสุด ไม่มีผู้ใดจะเป็นเพื่อนที่ดีไปกว่าองค์กฺฤษฺณ หรือผู้ใดจะมาเป็นผู้ปรารถนาดีที่ดีไปกว่าองค์กฺฤษฺณ องค์กฺฤษฺณทรงเป็นแหล่งกำเนิดเดิมแท้ของการสร้าง และเป็นที่พักพิงขั้นสุดท้ายหลังการทำลายล้าง ดังนั้นองค์ศฺรี กฺฤษฺณจึงทรงเป็นแหล่งกำเนิดนิรันดรของแหล่งกำเนิดทั้งปวง
tapāmy aham ahaṁ varṣaṁ
nigṛhṇāmy utsṛjāmi ca
amṛtaṁ caiva mṛtyuś ca
sad asac cāham arjuna
ตปามฺยฺ อหมฺ อหํ วรฺษํ
นิคฺฤหฺณามฺยฺ อุตฺสฺฤชามิ จ
อมฺฤตํ ไจว มฺฤตฺยุศฺ จ
สทฺ อสจฺ จาหมฺ อรฺชุน
ตปามิ — ให้ความร้อน, อหมฺ — ข้า, อหมฺ — ข้า, วรฺษมฺ — ฝน, นิคฺฤหฺณามิ — ยับยั้ง, อุตฺสฺฤชามิ — ส่งออกไป, จ — และ, อมฺฤตมฺ — อมฤตยู, จ — และ, เอว — แน่นอน, มฺฤตฺยุห์ — ความตาย, จ — เช่นกัน, สตฺ — วิญญาณ, อสตฺ — วัตถุ, จ — และ, อหมฺ — ข้า, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน
คำแปล
โอ้ อรฺชุน ข้าให้ความร้อน และข้าเป็นผู้ยับยั้งและผู้ส่งฝน ข้าคืออมฤตยู และข้าคือมฤตยูด้วยเช่นกัน ทั้งดวงวิญญาณและวัตถุอยู่ในข้า
คำอธิบาย
ด้วยพลังต่างๆขององค์กฺฤษฺณทรงแผ่กระจายความร้อนและแสงผ่านทางผู้แทนเช่นไฟฟ้าและดวงอาทิตย์ ในฤดูร้อนองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้ยับยั้งฝนไม่ให้ตกลงมาจากฟากฟ้า และในฤดูฝนองค์กฺฤษฺณทรงให้ฝนตกลงมาอย่างมากมาย พลังงานที่ค้ำจุนพวกเราด้วยการให้ชีวิตของพวกเราอยู่ยืนยาวคือองค์กฺฤษฺณ และองค์กฺฤษฺณทรงพบพวกเราตอนจบในรูปของความตาย จากการวิเคราะห์พลังงานต่างๆเหล่านี้ทั้งหมดขององค์กฺฤษฺณทำให้มั่นใจได้ว่าสำหรับองค์กฺฤษฺณแล้วทรงไม่มีข้อแตกต่างระหว่างวัตถุและวิญญาณ หรืออีกนัยหนึ่งพระองค์ทรงเป็นทั้งวัตถุและวิญญาณ ดังนั้นในระดับสูงขององค์กฺฤษฺณจิตสำนึกไม่มีการแบ่งแยกจะเห็นแต่องค์กฺฤษฺณในทุกสิ่งทุกอย่างเท่านั้น
เนื่องจากองค์กฺฤษฺณทรงเป็นทั้งวัตถุและวิญญาณ รูปลักษณ์จักรวาลอันมหึมาที่รวมปรากฏการณ์ทางวัตถุเข้าด้วยกันทั้งหมดคือองค์กฺฤษฺณเช่นเดียวกัน และลีลาของพระองค์ในรูปของ ศฺยามสุนฺทร สองกร ทรงขลุ่ยอยู่ที่ วฺฤนฺทาวน ก็เป็นลีลาของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า
trai-vidyā māṁ soma-pāḥ pūta-pāpā
yajñair iṣṭvā svar-gatiṁ prārthayante
te puṇyam āsādya surendra-lokam
aśnanti divyān divi deva-bhogān
ไตฺร-วิทฺยา มำ โสม-ปาห์ ปูต-ปาปา
ยชฺไญรฺ อิษฺฏฺวา สฺวรฺ-คตึ ปฺรารฺถยนฺเต
เต ปุณฺยมฺ อาสาทฺย สุเรนฺทฺร-โลกมฺ
อศฺนนฺติ ทิวฺยานฺ ทิวิ เทว-โภคานฺ
ไตฺร-วิทฺยาห์ — ผู้รู้พระเวททั้งสาม, มามฺ — ข้า, โสม-ปาห์ — พวกที่ดื่มน้ำ โสม, ปูต — บริสุทธิ์ขึ้น, ปาปาห์ — จากความบาป, ยชฺไญห์ — ด้วยการบูชา, อิษฺฏฺวา — การบูชา, สฺวห์-คติมฺ — วิถีทางสู่สวรรค์, ปฺรารฺถยนฺเต — สวดมนต์เพื่อ, เต — พวกเขา, ปุณฺยมฺ — บุญ, อาสาทฺย — บรรลุ, สุร-อินฺทฺร — ของพระอินทร์, โลกมฺ — โลก, อศฺนนฺติ — ความสุข, ทิวฺยานฺ — ชาวสวรรค์, ทิวิ — บนสวรรค์, เทว-โภคานฺ — ความสุขของชาวสวรรค์
คำแปล
พวกที่ศึกษาคัมภีร์พระเวทและดื่มน้ำ โสม แสวงหาโลกสวรรค์ บูชาข้าทางอ้อมเมื่อบริสุทธิ์ขึ้นจากผลบาป และมีบุญไปเกิดบนโลกสวรรค์ของพระอินทร์ซึ่งจะได้รับความสุขสำราญแบบชาวสวรรค์
คำอธิบาย
คำว่า ไตฺร-วิทฺยาห์ หมายถึงคัมภีร์พระเวททั้งสาม สาม, ยชุรฺ และ ฤคฺ พฺราหฺมณ ผู้ศึกษาคัมภีร์พระเวททั้งสามเล่มนี้เรียกว่า ตฺริ-เวที ผู้ใดที่ยึดมั่นกับความรู้ที่มาจากคัมภีร์พระเวททั้งสามเล่มนี้เป็นอย่างมากจะเป็นที่เคารพนับถือในสังคม ด้วยความอับโชคมีนักวิชาการผู้ยิ่งใหญ่ของคัมภีร์พระเวทมากมายที่ไม่รู้จุดมุ่งหมายสูงสุดในการศึกษาพระคัมภีร์ ดังนั้น ณ ที่นี้องค์กฺฤษฺณทรงประกาศว่าตัวพระองค์คือจุดมุ่งหมายสูงสุดของ ตฺริ-เวที ตฺริ-เวที ที่แท้จริงจะมาพึ่งพระบารมีอยู่ภายใต้พระบาทรูปดอกบัวขององค์กฺฤษฺณ และปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยความบริสุทธิ์เพื่อให้องค์ภควานฺทรงพอพระทัย การอุทิศตนเสียสละรับใช้เริ่มจากการสวดภาวนาบทมนต์ หเร กฺฤษฺณ และพยายามเข้าใจองค์กฺฤษฺณตามความเป็นจริงควบคู่กันไป ด้วยความอับโชคที่พวกนักศึกษาคัมภีร์พระเวทอย่างเป็นทางการสนใจแค่พิธีบูชาที่ถวายให้เทวดา เช่น พระอินทร์และพระจันทร์เท่านั้น จากความพยายามเช่นนี้ผู้บูชาเทวดาได้รับความบริสุทธิ์จากมลทินแห่งคุณสมบัติธรรมชาติวัตถุที่ต่ำกว่า จากนั้นก็พัฒนาไปสู่ระบบดาวเคราะห์ที่สูงกว่าหรือโลกสวรรค์ เช่น มหโรฺลก, ชนโลก, ตโปโลก ฯลฯ เมื่อสถิตในระบบดาวเคราะห์ที่สูงกว่าเหล่านี้จะสามารถสนองประสาทสัมผัสของตนเองดีกว่าในโลกนี้เป็นร้อยๆพันๆเท่า
te taṁ bhuktvā svarga-lokaṁ viśālaṁ
kṣīṇe puṇye martya-lokaṁ viśanti
evaṁ trayī-dharmam anuprapannā
gatāgataṁ kāma-kāmā labhante
เต ตํ ภุกฺตฺวา สฺวรฺค-โลกํ วิศาลํ
กฺษีเณ ปุเณฺย มรฺตฺย-โลกํ วิศนฺติ
เอวํ ตฺรยี-ธรฺมมฺ อนุปฺรปนฺนา
คตาคตํ กาม-กามา ลภนฺเต
เต — พวกเขา, ตมฺ — นั้น, ภุกฺตฺวา — ได้รับความสุข, สฺวรฺค-โลกมฺ — สวรรค์, วิศาลมฺ — กว้างใหญ่, กฺษีเณ — หมดลง, ปุเณฺย — ผลบุญ, มรฺตฺย-โลกมฺ — โลกแห่งความตาย, วิศนฺติ — ตกลงมา, เอวมฺ — ดังนั้น, ตฺรยี — จากพระเวททั้งสาม, ธรฺมมฺ — คำสอน, อนุปฺรปนฺนาห์ — ปฏิบัติตาม, คต-อาคตมฺ — การตายและการเกิด, กาม-กามาห์ — ปรารถนาหาความสุขทางประสาทสัมผัส, ลภนฺเต — ได้รับ
คำแปล
หลังจากได้รับความสุขทางประสาทสัมผัสบนสรวงสวรรค์มากมาย และเมื่อผลบุญหมดสิ้นลง พวกเขาจะกลับมายังโลกแห่งความตายนี้อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นผู้ที่แสวงหาความสุขทางประสาทสัมผัสด้วยการปฏิบัติตามหลักธรรมของพระเวททั้งสามเล่มจะได้รับแค่เพียงการเกิดและการตายซ้ำซากเท่านั้น
คำอธิบาย
ผู้ที่ได้รับการส่งเสริมไปถึงระบบดาวเคราะห์ที่สูงกว่าได้รับความสุขอยู่กับชีวิตอันยืนยาวพร้อมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีกว่าในการหาความสุขทางประสาทสัมผัส ถึงกระนั้นก็ไม่ได้รับอนุญาตให้อยู่ที่นั่นชั่วกัลปวสานแต่จะถูกส่งกลับมายังโลกนี้อีกครั้งหนึ่งเมื่อผลบุญหมดสิ้นลง ผู้ที่ไม่บรรลุถึงความรู้ที่สมบูรณ์ดังที่แสดงไว้ใน เวทานฺต-สูตฺร (ชนฺมาทฺยฺ อสฺย ยตห์) หรืออีกนัยหนึ่งผู้ที่ไม่เข้าใจว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง ล้มเหลวในการบรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต ดังนั้นจึงมาอยู่ภายใต้ระเบียบแบบแผนประจำที่ถูกส่งขึ้นไปยังโลกสวรรค์และตกลงมาใหม่ เหมือนกับนั่งอยู่บนชิงช้าสวรรค์ที่บางครั้งขึ้นและบางครั้งลง คำอธิบายคือแทนที่จะเจริญขึ้นไปถึงโลกทิพย์ซึ่งไม่ต้องกลับมาอีกก็ได้แต่เพียงหมุนเวียนอยู่ในวัฏจักรแห่งการเกิดและการตายในระบบดาวเคราะห์ที่สูงกว่าและต่ำกว่าเท่านั้น เราควรไปให้ถึงโลกทิพย์และรื่นเริงกับชีวิตอมตะ เปี่ยมไปด้วยความปลื้มปีติสุขและความรู้ และไม่ต้องกลับมาโลกวัตถุนี้ที่เต็มไปด้วยความทุกข์อีกต่อไป
ananyāś cintayanto māṁ
ye janāḥ paryupāsate
teṣāṁ nityābhiyuktānāṁ
yoga-kṣemaṁ vahāmy aham
อนนฺยาศฺ จินฺตยนฺโต มำ
เย ชนาห์ ปรฺยุปาสเต
เตษำ นิตฺยาภิยุกฺตานำ
โยค-กฺเษมํ วหามฺยฺ อหมฺ
อนนฺยาห์ — ไม่มีเป้าหมายอื่นใด, จินฺตยนฺตห์ — จิตตั้งมั่น, มามฺ — อยู่ที่ข้า, เย — พวกที่, ชนาห์ — บุคคล, ปรฺยุปาสเต — บูชาอย่างถูกต้อง, เตษามฺ — ของพวกเขา, นิตฺย — เสมอ, อภิยุกฺตานามฺ — ตั้งมั่นในการอุทิศตนเสียสละ, โยค — จำเป็นต้องทำ, กฺเษมมฺ — ปกป้อง, วหามิ — ส่ง, อหมฺ — ข้า
คำแปล
แต่พวกที่บูชาข้าอยู่เสมอด้วยการอุทิศตนเสียสละ ทำสมาธิอยู่ที่รูปลักษณ์ทิพย์ของข้า คนเหล่านี้ข้าจะส่งส่วนที่ขาดให้ และรักษาส่วนที่มีอยู่แล้ว
คำอธิบาย
ผู้ที่ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้แม้เพียงเสี้ยววินาทีเดียวหากปราศจากซึ่งกฺฤษฺณจิตสำนึกได้แต่ระลึกถึงองค์กฺฤษฺณวันละยี่สิบสี่ชั่วโมง ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยการสดับฟัง สวดภาวนา ระลึกถึง ถวายบทมนต์ บูชา รับใช้พระบาทรูปดอกบัวของพระองค์ ถวายการรับใช้อื่นๆ เพิ่มพูนมิตรภาพ และศิโรราบโดยดุษฎีต่อองค์ภควานฺ กิจรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็นสิริมงคลและเต็มไปด้วยพลังทิพย์ซึ่งจะทำให้สาวกสมบูรณ์ในความรู้แจ้งแห่งตน ดังนั้นสิ่งเดียวที่ปรารถนาคือมาอยู่ใกล้ชิดกับองค์ภควานฺ สาวกเช่นนี้จะมาถึงองค์ภควานฺโดยไม่ยากลำบากอย่างไม่ต้องสงสัย เช่นนี้เรียกว่าโยคะ ด้วยพระเมตตาของพระองค์สาวกเช่นนี้ไม่มีวันกลับไปสู่สภาวะชีวิตวัตถุอีก กฺเษม หมายถึงการปกป้องคุ้มครองด้วยพระเมตตาขององค์ภควานฺ พระองค์ทรงช่วยสาวกให้บรรลุถึงองค์กฺฤษฺณด้วยโยคะ และเมื่อมีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์องค์ภควานฺจะทรงปกป้องคุ้มครองเราไม่ให้ตกลงไปสู่สภาวะชีวิตที่มีความทุกข์อีกต่อไป
ye ’py anya-devatā-bhaktā
yajante śraddhayānvitāḥ
te ’pi mām eva kaunteya
yajanty avidhi-pūrvakam
เย ’ปฺยฺ อนฺย-เทวตา-ภกฺตา
ยชนฺเต ศฺรทฺธยานฺวิตาห์
เต ’ปิ มามฺ เอว เกานฺเตย
ยชนฺตฺยฺ อวิธิ-ปูรฺวกมฺ
เย — พวกเขาเหล่านี้, อปิ — เช่นกัน, อนฺย — ของผู้อื่น, เทวตา — เหล่าเทวดา, ภกฺตาห์ — เหล่าสาวก, ยชนฺเต — บูชา, ศฺรทฺธยา อนฺวิตาห์ — ด้วยความศรัทธา, เต — พวกเขา, อปิ — เช่นกัน, มามฺ — ข้า, เอว — เท่านั้น, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, ยชนฺติ — พวกเขาบูชา, อวิธิ-ปูรฺวกมฺ — ในวิธีที่ผิด
คำแปล
พวกที่เป็นสาวกของเทวดาองค์อื่นๆ และบูชาเทวดาด้วยความศรัทธา อันที่จริงบูชาข้าเท่านั้น โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี แต่ทำไปในวิธีที่ผิด
คำอธิบาย
องค์กฺฤษฺณตรัสว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติการบูชาเทวดาไม่มีปัญญาเท่าใดนัก ถึงแม้ว่าการบูชาเช่นนี้เป็นการถวายให้ข้าทางอ้อม” ตัวอย่างเช่น เมื่อมนุษย์รดน้ำไปที่ใบไม้และกิ่งก้านสาขาของต้นไม้โดยไม่รดน้ำไปที่ราก เขาทำไปโดยมีความรู้ไม่เพียงพอหรือไม่ปฏิบัติตามหลักการที่กำหนดไว้ ในทำนองเดียวกันวิธีการรับใช้ส่วนต่างๆของร่างกายคือส่งอาหารไปที่ท้อง อันที่จริงเทวดาเป็นเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ต่างๆในรัฐบาลขององค์ภควานฺ เราต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่รัฐบาลเป็นผู้ออกไม่ใช่ปฏิบัติตามกฎหมายที่เจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่เป็นผู้ออก ทำนองเดียวกันผู้ใดที่ถวายการบูชาต่อองค์ภควานฺเพียงผู้เดียวจะทำให้เจ้าพนักงานและเจ้าหน้าที่ต่างๆของพระองค์พึงพอใจโดยปริยาย เจ้าพนักงานและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตนในฐานะที่เป็นผู้แทนของรัฐบาล การให้สินบนกับเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานนั้นผิดกฎหมายได้กล่าวไว้ ณ ที่นี้ว่า อวิธิ-ปูรฺวกมฺ อีกนัยหนึ่งองค์กฺฤษฺณทรงไม่เห็นด้วยกับการบูชาเทวดาโดยไม่จำเป็น
ahaṁ hi sarva-yajñānāṁ
bhoktā ca prabhur eva ca
na tu mām abhijānanti
tattvenātaś cyavanti te
อหํ หิ สรฺว-ยชฺญานำ
โภกฺตา จ ปฺรภุรฺ เอว จ
น ตุ มามฺ อภิชานนฺติ
ตตฺเตฺวนาตศฺ จฺยวนฺติ เต
อหมฺ — ข้า, หิ — แน่นอน, สรฺว — ทั้งหมด, ยชฺญานามฺ — การบูชา, โภกฺตา — ผู้มีความสุข, จ — และ, ปฺรภุห์ — องค์ภควาน, เอว — เช่นกัน, จ — และ, น — ไม่, ตุ — แต่, มามฺ — ข้า, อภิชานนฺติ — พวกเขารู้, ตตฺเตฺวน — ในความจริง, อตห์ — ฉะนั้น, จฺยวนฺติ — ตกลงต่ำ, เต — พวกเขา
คำแปล
ข้าคือผู้มีความสุข และเป็นเจ้าแห่งพิธีบูชาทั้งหลายแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ฉะนั้นพวกที่ไม่รู้ธรรมชาติทิพย์อันแท้จริงของข้าจะตกลงต่ำ
คำอธิบาย
ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน ณ ที่นี้ว่ามีวิธีการปฏิบัติ ยชฺญ มากมายที่แนะนำไว้ในวรรณกรรมพระเวทแต่อันที่จริงทั้งหมดมีไว้เพื่อให้องค์ภควานฺทรงพอพระทัย ยชฺญ หมายถึง พระวิษฺณุ ในบทที่สามของ ภควัท-คีตา กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าเราควรทำงานเพื่อให้ ยชฺญ หรือให้พระวิษฺณุทรงพอพระทัยเท่านั้น รูปแบบอันสมบูรณ์แห่งความเจริญรุ่งเรืองของมนุษย์ชื่อว่า วรฺณาศฺรม-ธรฺม หมายเฉพาะเพื่อให้พระวิษฺณุทรงพอพระทัย ฉะนั้นองค์กฺฤษฺณตรัสในโศลกนี้ว่า “ข้าคือผู้ได้รับความสุขจากพิธีบูชาทั้งปวงเพราะข้าคือเจ้านายสูงสุด” อย่างไรก็ดีผู้ด้อยปัญญาไม่รู้ความจริงนี้บูชาเทวดาเพื่อผลประโยชน์ชั่วคราวบางประการ ดังนั้นพวกเขาตกลงไปในความเป็นอยู่ทางวัตถุและไม่บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ปรารถนาของชีวิต หากผู้ใดมีความปรารถนาทางวัตถุที่ต้องสนองตอบควรสวดภาวนาแด่องค์ภควานฺจะดีกว่า (ถึงแม้ว่าไม่ใช่เป็นการอุทิศตนเสียสละที่บริสุทธิ์) และจะได้รับผลตามใจปรารถนา
yānti deva-vratā devān
pitṝn yānti pitṛ-vratāḥ
bhūtāni yānti bhūtejyā
yānti mad-yājino ’pi mām
ยานฺติ เทว-วฺรตา เทวานฺ
ปิตฺฤๅนฺ ยานฺติ ปิตฺฤ-วฺรตาห์
ภูตานิ ยานฺติ ภูเตชฺยา
ยานฺติ มทฺ-ยาชิโน ’ปิ มามฺ
ยานฺติ — ไป, เทว-วฺรตาห์ — พวกบูชาเทวดา, เทวานฺ — แด่เทวดา, ปิตฺฤๅนฺ — แด่บรรพบุรุษ, ยานฺติ — ไป, ปิตฺฤ-วฺรตาห์ — พวกบูชาบรรพบุรุษ, ภูตานิ — แด่พวกผีและดวงวิญญาณ, ยานฺติ — ไป, ภูต-อิชฺยาห์ — พวกบูชาพวกผีและดวงวิญาณ, ยานฺติ — ไป, มตฺ — ของข้า, ยาชินห์ — เหล่าสาวก, อปิ — แต่, มามฺ — แด่ข้า
คำแปล
พวกที่บูชาเทวดาจะไปเกิดในหมู่เทวดา พวกที่บูชาบรรพบุรุษจะไปหาบรรพบุรุษ พวกที่บูชาภูตผีปีศาจ และดวงวิญาณจะไปเกิดในหมู่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ และพวกที่บูชาข้าจะมาอยู่กับข้า
คำอธิบาย
หากผู้ใดมีความปรารถนาไปยังดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ หรือดาวเคราะห์ดวงใดเขาสามารถบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ประสงค์ด้วยการปฏิบัติตามหลักธรรมพระเวทโดยเฉพาะที่ได้แนะนำไว้เพื่อจุดประสงค์นั้น ดังเช่นวิธีที่มีชื่อทางเทคนิคว่า ทรฺศ-เปารฺณมาส ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนในพระเวทส่วนที่เป็นกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุซึ่งแนะนำการบูชาเทวดาผู้ทรงสถิตบนสรวงสวรรค์โดยเฉพาะ ในทำนองเดียวกันเขาสามารถไปถึงดาวเคราะห์ ปิตา ด้วยการปฏิบัติ ยชฺญ โดยเฉพาะ และเขาสามารถไปยังโลกของภูตผีต่างๆแล้วกลายมาเป็น ยกฺษ, รกฺษ หรือ ปิศาจ การบูชา ปิศาจ เรียกว่า “เวทมนต์ดำ” มีหลายคนที่ฝึกวิชาเวทมนต์ดำนี้และคิดว่าเป็นลัทธิทิพย์นิยมแต่กิจกรรมเหล่านี้เป็นวัตถุโดยสิ้นเชิง สาวกผู้บริสุทธิ์บูชาองค์ภควานฺเพียงองค์เดียว และจะบรรลุถึงดาวเคราะห์ ไวกุณฺฐ และ กฺฤษฺณโลก โดยไม่ต้องสงสัย เป็นที่เข้าใจได้ง่ายมากจากโศลกที่สำคัญนี้ว่าหากด้วยการบูชาเทวดาเขาสามารถไปถึงโลกสวรรค์ หรือจากการบูชา ปิตา บรรลุถึงดาวเคราะห์ ปิตา จากการฝึกปฏิบัติคาถาอาคมมืดก็บรรลุถึงโลกของภูตผีปีศาจ แล้วเหตุไฉนสาวกผู้บริสุทธิ์จะไม่บรรลุถึงดาวเคราะห์ขององค์กฺฤษฺณ หรือวิษฺณุ ด้วยความอับโชคผู้คนมากมายไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับดาวเคราะห์อันประเสริฐเหล่านี้ที่องค์กฺฤษฺณและวิษฺณุทรงประทับอยู่ และเนื่องจากไม่รู้จึงตกต่ำ แม้พวกที่ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ตกต่ำลงมาจาก พฺรหฺม-โชฺยติรฺ ฉะนั้นขบวนการกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงแจกจ่ายข้อมูลอันประเสริฐนี้ให้แก่สังคมมนุษย์มวลรวมด้วยผลลัพธ์ที่ว่าจากการสวดภาวนาบทมนต์ หเร กฺฤษฺณ เราสามารถกลายมาเป็นผู้ที่สมบูรณ์ในชีวิตนี้ และกลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควานฺ
patraṁ puṣpaṁ phalaṁ toyaṁ
yo me bhaktyā prayacchati
tad ahaṁ bhakty-upahṛtam
aśnāmi prayatātmanaḥ
ปตฺรํ ปุษฺปํ ผลํ โตยํ
โย เม ภกฺตฺยา ปฺรยจฺฉติ
ตทฺ อหํ ภกฺตฺยฺ-อุปหฺฤตมฺ
อศฺนามิ ปฺรยตาตฺมนห์
ปตฺรมฺ — ใบไม้, ปุษฺปมฺ — ดอกไม้, ผลมฺ — ผลไม้, โตยมฺ — น้ำ, ยห์ — ผู้ใด, เม — แด่ข้า, ภกฺตฺยา — ด้วยการอุทิศตนเสียสละ, ปฺรยจฺฉติ — ถวาย, ตตฺ — นั้น, อหมฺ — ข้า, ภกฺติ-อุปหฺฤตมฺ — ถวายด้วยการอุทิศตนเสียสละ, อศฺนามิ — ยอมรับ, ปฺรยต-อาตฺมนห์ — จากผู้ที่อยู่ในจิตสำนึกที่บริสุทธิ์
คำแปล
หากผู้ใดถวายใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ หรือน้ำแด่ข้าด้วยความรักและอุทิศตนเสียสละ ข้าจะรับเอาไว้
คำอธิบาย
สำหรับผู้มีปัญญาเป็นสิ่งสำคัญที่จะอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึก ปฏิบัติการรับใช้ด้วยความรักทิพย์ต่อองค์กฺฤษฺณเพื่อบรรลุถึงพระตำหนักอันถาวรด้วยความปลื้มปีติและมีความสุขนิรันดร วิธีการเพื่อบรรลุถึงผลอันเลอเลิศเช่นนี้ง่ายมาก แม้แต่คนที่ยากจนที่สุดในบรรดาคนยากจนก็พยายามปฏิบัติได้โดยไม่คำนึงถึงคุณสมบัติอื่นใดทั้งสิ้น คุณสมบัติเพียงอย่างเดียวที่จำเป็นในงานนี้คือมาเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ขององค์ภควานฺ ไม่สำคัญว่าเขาจะเป็นใครหรืออยู่ที่ไหน วิธีการนั้นง่ายมากแม้แต่ใบไม้ใบเดียว น้ำนิดหน่อย หรือผลไม้ก็สามารถถวายให้พระองค์ด้วยความรักอย่างจริงใจได้ และพระองค์ทรงมีความยินดีรับไว้ ดังนั้นไม่มีผู้ใดถูกขวางกั้นจากกฺฤษฺณจิตสำนึกเพราะว่าเป็นสิ่งที่ง่ายมากและเป็นสากล ใครจะเป็นคนโง่ไม่ต้องการมีกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยวิธีที่ง่ายเช่นนี้ และบรรลุถึงชีวิตที่สมบูรณ์สูงสุดแห่งความเป็นอมตะ ปลื้มปีติสุขและความรู้ องค์กฺฤษฺณทรงปรารถนาเพียงการรับใช้ด้วยความรักเท่านั้น ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้ องค์กฺฤษฺณทรงรับเอาแม้แต่ดอกไม้เล็กๆเพียงดอกเดียวจากสาวกผู้บริสุทธิ์ พระองค์ทรงไม่ปรารถนาเครื่องถวายใดๆจากผู้ที่ไม่ใช่สาวก และทรงไม่มีความจำเป็นที่ต้องการสิ่งใดจากผู้ใดเพราะทรงเป็นผู้มีความเพียงพออยู่ในตัว ถึงกระนั้นพระองค์ทรงรับเครื่องถวายจากสาวกเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรักและความเอ็นดู การพัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึกจึงเป็นความสมบูรณ์สูงสุดของชีวิต ได้กล่าวถึง ภกฺติ สองครั้งในโศลกนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญว่า ภกฺติ หรือการอุทิศตนเสียสละรับใช้เป็นวิถีทางเดียวเท่านั้นที่จะเข้าถึงองค์กฺฤษฺณ ไม่ใช่วิธีอื่น เช่น กลายมาเป็น พฺราหฺมณ หรือพราหมณ์ มาเป็นนักวิชาการผู้คงแก่เรียน มาเป็นเศรษฐี หรือเป็นนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แล้วจะสามารถกระตุ้นให้องค์กฺฤษฺณทรงยอมรับเครื่องถวายได้ หากปราศจากหลักธรรมพื้นฐานของ ภกฺติ จะไม่มีสิ่งใดสามารถกระตุ้นองค์ภควานฺให้ตกลงยอมรับสิ่งใดจากผู้ใด ภกฺติ ไม่ใช่ก่อให้เกิดขึ้น วิธีการนี้เป็นอมตะนิรันดรและเป็นการปฏิบัติรับใช้โดยตรงต่อส่วนที่สมบูรณ์สูงสุด
ณ ที่นี้ องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงสถาปนาว่าพระองค์ทรงเป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญแต่เพียงผู้เดียว ทรงเป็นปฐมองค์เจ้าและทรงเป็นจุดมุ่งหมายอันแท้จริงของการถวายบูชาทั้งหมด ทรงเปิดเผยว่าพระองค์ทรงปรารถนาให้บูชาด้วยอะไร หากผู้ใดปรารถนาปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺเพื่อให้ตนเองบริสุทธิ์ขึ้นและบรรลุถึงจุดมุ่งหมายแห่งชีวิต นั่นคือการรับใช้ด้วยความรักทิพย์ต่อพระองค์ เราควรรู้ว่าองค์ภควานฺทรงปรารถนาอะไรจากตัวเรา ผู้ที่รักองค์กฺฤษฺณจะให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่พระองค์ทรงปรารถนา และจะหลีกเลี่ยงการถวายสิ่งที่พระองค์ไม่ทรงปรารถนาหรือไม่ได้กล่าวไว้ ฉะนั้น เนื้อสัตว์ ปลา และไข่ไม่ควรถวายให้องค์กฺฤษฺณ หากทรงปรารถนาสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องถวายจะทรงตรัสออกมา แต่พระองค์ตรัสอย่างชัดเจนว่า ใบไม้ ผลไม้ ดอกไม้ และน้ำถวายให้พระองค์ และตรัสถึงเครื่องถวายเหล่านี้ว่า “ข้าจะรับไว้” ดังนั้นเราควรเข้าใจว่าองค์กฺฤษฺณทรงไม่รับการถวายเนื้อสัตว์ ปลา และไข่ อาหารที่เหมาะสำหรับมนุษย์คือ ผักและผลไม้ต่างๆ เมล็ดข้าว นม และน้ำ องค์กฺฤษฺณทรงกำหนดว่าสิ่งอื่นใดก็แล้วแต่ที่เรารับประทานไม่สามารถถวายให้พระองค์ได้เนื่องจากทรงไม่รับ ดังนั้นหากเราถวายสิ่งต้องห้ามเราก็มิได้ปฏิบัติในระดับแห่งการอุทิศตนเสียสละด้วยความรัก
ในบทที่สามโศลกสิบสามศฺรี กฺฤษฺณทรงอธิบายว่าส่วนที่เหลือจากการบูชาเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์เหมาะสำหรับพวกที่แสวงหาความเจริญก้าวหน้าในชีวิตนำไปรับประทาน และจะได้รับการปลดเปลื้องจากเงื้อมมือแห่งพันธนาการทางวัตถุ พวกที่ไม่ถวายอาหารนั้นพระองค์ตรัสในโศลกเดียวกันว่ารับประทานแต่ความบาปไปเท่านั้น อีกนัยหนึ่งทุกๆคำที่รับประทานเข้าไปจะทำให้ถลำลึกลงไปในความสลับซับซ้อนของธรรมชาติวัตถุเท่านั้น แต่การตระเตรียมอาหารอย่างดีที่ทำมาจากผักต่างๆแบบง่ายๆและถวายต่อหน้ารูปหรือพระปฏิมาขององค์ศฺรี กฺฤษฺณ ก้มลงกราบและกล่าวบทมนต์ถวายด้วยความถ่อมตนเพื่อให้พระองค์ทรงรับเครื่องถวายนี้เพื่อที่จะให้เราเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงในชีวิต เพื่อให้ร่างกายบริสุทธิ์ และเพื่อสร้างเนื้อเยื่ออันละเอียดอ่อนในสมองซึ่งจะทำให้เรามีความคิดที่โปร่งใส ยิ่งไปกว่านั้นเครื่องถวายควรปรุงด้วยกริยาท่าทีแห่งความรัก องค์กฺฤษฺณทรงไม่มีความจำเป็นกับอาหารเพราะพระองค์ทรงเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ทั้งหมด ถึงกระนั้นพระองค์จะทรงรับเครื่องถวายจากผู้ปรารถนาที่จะทำให้พระองค์ทรงพอพระทัยด้วยวิธีนั้น จุดสำคัญในการเตรียม การจัด และการถวายก็คือต้องทำไปด้วยใจรักต่อองค์กฺฤษฺณ
นักปราชญ์ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ปรารถนายืนกรานว่าสัจธรรมสูงสุดไม่มีประสาทสัมผัสจะไม่สามารถเข้าใจโศลกนี้ของ ภควัท-คีตา ได้สำหรับพวกนี้แล้วนั้นโศลกนี้เป็นเพียงอุปมาหรือข้อพิสูจน์ถึงบุคลิกทางโลกขององค์กฺฤษฺณผู้ตรัส ภควัท-คีตา แต่อันที่จริงองค์ภควานฺ กฺฤษฺณทรงมีประสาทสัมผัส ได้กล่าวไว้ว่าประสาทสัมผัสของพระองค์สับเปลี่ยนกันได้ อีกนัยหนึ่งประสาทสัมผัสหนึ่งสามารถปฏิบัติหน้าที่ของประสาทสัมผัสอื่นๆได้ นี่คือความหมายที่กล่าวไว้ว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้ที่สมบูรณ์ หากปราศจากประสาทสัมผัสจะพิจารณาว่าพระองค์ทรงมีความมั่งคั่งทั้งหมดที่สมบูรณ์ได้ยาก ในบทที่เจ็ดองค์กฺฤษฺณทรงอธิบายว่าพระองค์ทรงทำให้ธรรมชาติวัตถุตั้งครรภ์สิ่งมีชีวิตขึ้นมา และสิ่งนี้ทรงกระทำด้วยเพียงแต่ทรงชำเลืองมองไปที่ธรรมชาติวัตถุ จากตัวอย่างนี้องค์กฺฤษฺณทรงสดับฟังคำพูดของสาวกด้วยความรักในการถวายอาหาร เหมือนกับที่พระองค์ทรงรับประทานและชิมรสจริงๆโดยสมบูรณ์ ประเด็นนี้ควรเน้นเพราะเป็นสภาวะอันสมบูรณ์ขององค์กฺฤษฺณการสดับฟังเหมือนกับการรับประทานและการลิ้มรสของพระองค์ที่เป็นไปอย่างสมบูรณ์ สาวกผู้ยอมรับองค์กฺฤษฺณเท่านั้นดังที่ทรงอธิบายถึงบุคลิกภาพของพระองค์เองโดยไม่มีการตีความ จะสามารถทำให้เข้าใจว่าสัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุดสามารถรับประทานอาหารและมีความสุขกับอาหารเหล่านั้นได้
yat karoṣi yad aśnāsi
yaj juhoṣi dadāsi yat
yat tapasyasi kaunteya
tat kuruṣva mad-arpaṇam
ยตฺ กโรษิ ยทฺ อศฺนาสิ
ยชฺ ชุโหษิ ททาสิ ยตฺ
ยตฺ ตปสฺยสิ เกานฺเตย
ตตฺ กุรุษฺว มทฺ-อรฺปณมฺ
ยตฺ — อะไรก็แล้วแต่, กโรษิ — เธอทำ, ยตฺ — อะไรก็แล้วแต่, อศฺนาสิ — เธอรับประทาน, ยตฺ — อะไรก็แล้วแต่, ชุโหษิ — เธอถวาย, ททาสิ — เธอให้ทาน, ยตฺ — อะไรก็แล้วแต่, ยตฺ — อะไรก็แล้วแต่, ตปสฺยสิ — ความสมถะที่เธอปฏิบัติ, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, ตตฺ — นั้น, กุรุษฺว — ทำ, มตฺ — แด่ข้า, อรฺปณมฺ — เป็นเครื่องถวาย
คำแปล
อะไรก็แล้วแต่ที่เธอทำ อะไรก็แล้วแต่ที่เธอรับประทาน อะไรก็แล้วแต่ที่เธอถวายหรือให้ทาน และความสมถะใดๆที่เธอปฏิบัติ จงทำไปเพื่อถวายแด่ข้า โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี
คำอธิบาย
ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะหล่อหลอมชีวิตของตนเองจนกระทั่งไม่สามารถลืมองค์กฺฤษฺณได้ ไม่ว่าในสถานการณ์ใดๆทุกคนต้องทำงานเพื่อดำรงรักษาร่างกายและดวงวิญญาณให้อยู่ด้วยกัน องค์กฺฤษฺณทรงแนะนำไว้ ณ ที่นี้ว่าเราควรทำงานเพื่อพระองค์ ทุกคนต้องรับประทานอาหารเพื่อประทังชีวิต ดังนั้นเราควรรับส่วนเหลือของอาหารที่ถวายให้องค์กฺฤษฺณ มนุษย์ผู้มีความเจริญต้องปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาบางอย่างองค์กฺฤษฺณทรงแนะนำว่า “จงทำไปเพื่อข้า” เช่นนี้เรียกว่า อรฺจน ทุกคนมีแนวโน้มที่จะให้บางสิ่งบางอย่างเป็นทาน องค์กฺฤษฺณทรงตรัสว่า “จงให้แด่ข้า” เช่นนี้หมายความว่าส่วนเกินของเงินที่สะสมไว้ควรใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่ขบวนการกฺฤษฺณจิตสำนึก ปัจจุบันนี้ผู้คนมีแนวโน้มไปในวิธีการทำสมาธิเป็นอย่างมากซึ่งปฏิบัติกันไม่ได้ในยุคนี้ แต่หากผู้ใดปฏิบัติสมาธิที่องค์กฺฤษฺณวันละยี่สิบสี่ชั่วโมงด้วยการสวดภาวนามหามนต์ หเร กฺฤษฺณ รอบลูกประคำแน่นอนว่าเราจะเป็นนักปฏิบัติสมาธิและเป็นโยคะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ดังที่ได้ยืนยันไว้ในบทที่หกของ ภควัท-คีตา
śubhāśubha-phalair evaṁ
mokṣyase karma-bandhanaiḥ
sannyāsa-yoga-yuktātmā
vimukto mām upaiṣyasi
โมกฺษฺยเส กรฺม-พนฺธไนห์
สนฺนฺยาส-โยค-ยุกฺตาตฺมา
วิมุกฺโต มามฺ อุไปษฺยสิ
ศุภ — จากบุญ, อศุภ — และบาป, ผไลห์ — ผล, เอวมฺ — ดังนั้น, โมกฺษฺยเส — เธอจะเป็นอิสระ, กรฺม — ของงาน, พนฺธไนห์ — จากพันธนาการ, สนฺนฺยาส — ของการเสียสละ, โยค — โยคะ, ยุกฺต-อาตฺมา — มีจิตใจมั่นคงอยู่ที่, วิมุกฺตห์ — หลุดพ้น, มามฺ — แด่ข้า, อุไปษฺยสิ — เธอจะบรรลุ
คำแปล
ในทางนี้เธอจะเป็นอิสระจากพันธนาการของงานรวมทั้งผลบุญและผลบาป ด้วยจิตใจที่ตั้งมั่นอยู่กับข้าในหลักแห่งการเสียสละนี้ เธอจะหลุดพ้นและมาหาข้า
คำอธิบาย
ผู้ปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกภายใต้การแนะนำที่สูงส่งเรียกว่า ยุกฺต ศัพท์ทางเทคนิค ยุกฺต-ไวราคฺย ซึ่ง รูป โคสฺวามี ได้อธิบายดังต่อไปนี้
อนาสกฺตสฺย วิษยานฺ
ยถารฺหมฺ อุปยุญฺชตห์
นิรฺพนฺธห์ กฺฤษฺณ-สมฺพนฺเธ
ยุกฺตํ ไวราคฺยมฺ อุจฺยเต
(ภกฺติ-รสามฺฤต-สินฺธุ 1.2.25)
รูป โคสฺวามี กล่าวว่าตราบใดที่เรายังอยู่ในโลกวัตถุเรายังต้องทำงาน เราไม่สามารถหยุดการกระทำได้ ดังนั้นหากการปฏิบัติงานยังดำเนินต่อไปและผลของงานถวายให้องค์กฺฤษฺณ เรียกว่า ยุกฺต-ไวราคฺย สถิตในการเสียสละอย่างแท้จริง กิจกรรมเช่นนี้จะทำให้กระจกแห่งดวงจิตใสสว่างขึ้น ขณะที่ผู้ปฏิบัติค่อยๆเจริญก้าวหน้าในความรู้แจ้งทิพย์จะศิโรราบโดยสมบูรณ์ต่อองค์ภควานฺและจะเป็นอิสรภาพในที่สุด ซึ่งได้ระบุไว้ว่าเมื่อเป็นอิสระแล้วจะไม่กลายมาเป็นหนึ่งเดียวกับ พฺรหฺม-โชฺยติรฺ แต่จะเข้าไปในโลกขององค์ภควานฺได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน ณ ที่นี้ว่า มามฺ อุไปษฺยสิ “เขามาหาข้า” กลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควานฺ มีความหลุดพ้นที่แตกต่างกันอยู่ห้าระดับ ตรงนี้ระบุว่าสาวกผู้ใช้ชีวิตภายใต้คำสั่งสอนขององค์ภควานฺเสมอ ดังที่ได้กล่าวไว้ว่าได้พัฒนามาจนถึงจุดที่หลังจากออกจากร่างนี้ไปแล้วจะกลับคืนสู่เหย้า และปฏิบัติรับใช้โดยตรงอย่างใกล้ชิดกับองค์ภควานฺ
ผู้ใดที่ไม่มีความสนใจกับสิ่งอื่นใดนอกจากอุทิศชีวิตในการรับใช้องค์ภควานฺเป็น สนฺนฺยาสี ที่แท้จริง บุคคลเช่นนี้คิดว่าตนเองเป็นผู้รับใช้นิรันดร และจะขึ้นอยู่กับความปรารถนาสูงสุดขององค์ภควานฺ เช่นนี้ไม่ว่าทำอะไรเขาจะทำเพื่อประโยชน์ของพระองค์ ไม่ว่าปฏิบัติสิ่งใดเขาจะปฏิบัติเพื่อรับใช้พระองค์ และไม่ให้ความสนใจอย่างจริงจังกับกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุหรือหน้าที่ต่างๆที่กำหนดไว้ในคัมภีร์พระเวท สำหรับบุคคลทั่วไปจะมีข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ในคัมภีร์พระเวท บางครั้งสาวกผู้บริสุทธิ์ปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ในการรับใช้องค์ภควานฺอาจดูเหมือนว่าเขาฝืนต่อหน้าที่ที่กำหนดไว้ในคัมภีร์พระเวทแต่อันที่จริงมิได้เป็นเช่นนั้น
ดังนั้น ไวษฺณว ผู้เชื่อถือได้กล่าวไว้ว่า แม้บุคคลผู้มีปัญญามากที่สุดก็ไม่สามารถเข้าใจแผนและกิจกรรมของสาวกผู้บริสุทธ์คำเฉพาะที่ใช้คือ ตางฺร วากฺย, กฺริยา, มุทฺรา วิชฺเญห นา พุฌย (ไจตนฺย-จริตามฺฤต, มธฺย 23.39) ผู้ที่ปฏิบัติในการรับใช้องค์ภควานฺเสมอ หรือคิดและวางแผนที่จะรับใช้พระองค์อยู่เสมอพิจารณาว่าเป็นผู้ที่มีอิสรภาพโดยสมบูรณ์ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตการกลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควานฺเป็นที่รับประกัน เขาอยู่เหนือการวิจารณ์ทางวัตถุทั้งปวงเสมือนดังองค์กฺฤษฺณที่อยู่เหนือการวิจารณ์ใดๆทั้งหมด
samo ’haṁ sarva-bhūteṣu
na me dveṣyo ’sti na priyaḥ
ye bhajanti tu māṁ bhaktyā
mayi te teṣu cāpy aham
สโม ’หํ สรฺว-ภูเตษุ
น เม เทฺวโษฺย ’สฺติ น ปฺริยห์
เย ภชนฺติ ตุ มำ ภกฺตฺยา
มยิ เต เตษุ จาปฺยฺ อหมฺ
สมห์ — ปฏิบัติเสมอภาค, อหมฺ — ข้า, สรฺว-ภูเตษุ — ต่อมวลชีวิต, น — ไม่มีผู้ใด, เม — แด่ข้า, เทฺวษฺยห์ — เกลียด, อสฺติ — เป็น, น — ไม่, ปฺริยห์ — รัก, เย — พวกที่, ภชนฺติ — ถวายการรับใช้ทิพย์, ตุ — แต่, มามฺ — แด่ข้า, ภกฺตฺยา — ในการอุทิศตนเสียสละ, มยิ — อยู่ในข้า, เต — บุคคลเหล่านี้, เตษุ — ในพวกเขา, จ — เช่นกัน, อปิ — แน่นอน, อหมฺ — ข้า
คำแปล
ข้าไม่อิจฉาผู้ใดและไม่ลำเอียงกับผู้ใด ข้าเสมอภาคต่อมวลชีวิต แต่หากผู้ใดถวายการรับใช้แด่ข้าด้วยการอุทิศตนเสียสละ เขาเป็นเพื่อนของข้าและอยู่ในข้า และข้าก็เป็นเพื่อนของเขา
คำอธิบาย
เราอาจถามตรงที่นี้ได้ว่าหากองค์กฺฤษฺณทรงเสมอภาคกับทุกๆคนไม่มีผู้ใดเป็นเพื่อนพิเศษของพระองค์ แล้วทำไมทรงมีความสนใจกับสาวกผู้ปฏิบัติการรับใช้ทิพย์ต่อพระองค์อยู่เสมอเป็นพิเศษ เช่นนี้มิใช่เป็นการเลือกปฏิบัติแต่เป็นธรรมชาติ บางคนในโลกวัตถุนี้อาจชอบให้ทานมากถึงกระนั้นเขาก็ยังให้ความสนใจกับบุตรธิดาของตนเองเป็นพิเศษ องค์ภควานฺทรงอ้างว่าทุกชีวิตไม่ว่าในรูปใดเป็นบุตรของพระองค์ ดังนั้นทรงให้สิ่งของที่จำเป็นอย่างเพียงพอสำหรับทุกๆชีวิต พระองค์ทรงเหมือนกับหมู่เมฆที่ส่งฝนลงมาทั่วทุกหนทุกแห่งไม่ว่าจะตกลงบนหิน บนดิน หรือในน้ำ แต่สำหรับสาวกพระองค์ทรงมีความสนพระทัยโดยเฉพาะ ได้กล่าว ณ ที่นี้ว่าสาวกเหล่านี้อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเสมอจึงสถิตอยู่ในความเป็นทิพย์กับองค์กฺฤษฺณตลอดเวลา วลี “กฺฤษฺณจิตสำนึก” นี้แสดงให้เห็นว่าพวกที่อยู่ในจิตสำนึกเช่นนี้เป็นนักทิพย์นิยมที่มีชีวิตสถิตอยู่ในพระองค์ องค์ภควานฺตรัส ณ ที่นี้อย่างชัดเจนว่า มยิ เต “พวกเขาอยู่ในข้า” โดยธรรมชาติพระองค์ทรงอยู่ในพวกเขาเช่นกัน นี่คือการสนองตอบซึ่งกันและกัน เช่นนี้ได้อธิบายคำว่า เย ยถา มำ ปฺรปทฺยนฺเต ตำสฺ ตไถว ภชามฺยฺ อหมฺ “ผู้ใดศิโรราบต่อข้าเท่าไร ข้าจะดูแลเขาตามสัดส่วนนั้นๆ” การสนองตอบซึ่งกันและกันแบบทิพย์นี้มีอยู่เพราะว่าทั้งองค์ภควานฺและสาวกเป็นจิตสำนึก เมื่อเพชรฝังอยู่ในแหวนทองคำจะดูสวยงามมากเพราะทำให้ทั้งทองคำและเพชรเปล่งปลั่งเป็นประกายมากยิ่งขึ้น องค์ภควานฺและสิ่งมีชีวิตมีรัศมีอยู่นิรันดร เมื่อสิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มที่จะรับใช้องค์ภควานฺเขาดูเหมือนกับทองคำ และองค์ภควานฺคือเพชร ดังนั้นการรวมกันเช่นนี้ดีมาก สิ่งมีชีวิตในระดับที่บริสุทธิ์เรียกว่า สาวก องค์ภควานฺกลายมาเป็นสาวกของสาวกของพระองค์ หากความสัมพันธ์ในการสนองตอบซึ่งกันและกันไม่มีระหว่างสาวกและองค์ภควานฺก็จะไม่มีปรัชญาของผู้ที่เชื่อในรูปลักษณ์ ในปรัชญาของผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์ไม่มีการสนองตอบซึ่งกัน และกันระหว่างองค์ภควานฺและสิ่งมีชีวิตแต่ในปรัชญาที่เชื่อในรูปลักษณ์มีการสนองตอบ
ตัวอย่างได้ให้ไว้เสมอว่าองค์ภควานฺทรงเหมือนกับต้นกัลปพฤกษ์ อะไรก็แล้วแต่ที่เราปรารถนาจากต้นกัลปพฤกษ์นี้พระองค์จะทรงจัดส่งให้ ได้อธิบายอย่างชัดเจน ณ ที่นี้ว่าองค์ภควานฺทรงลำเอียงต่อสาวกซึ่งเป็นปรากฏการณ์แห่งพระเมตตาพิเศษที่ทรงมีต่อสาวก การสนองตอบของพระองค์ไม่ควรพิจารณาว่าอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม แต่อยู่ในสถานภาพทิพย์ซึ่งองค์ภควานฺและสาวกปฏิบัติกัน การอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อพระองค์มิใช่เป็นกิจกรรมของโลกวัตถุ แต่เป็นส่วนหนึ่งของโลกทิพย์ที่มีความเป็นอมตะความปลื้มปิติสุขและความรู้โดดเด่น
api cet su-durācāro
bhajate mām ananya-bhāk
sādhur eva sa mantavyaḥ
samyag vyavasito hi saḥ
อปิ เจตฺ สุ-ทุราจาโร
ภชเต มามฺ อนนฺย-ภากฺ
สาธุรฺ เอว ส มนฺตวฺยห์
สมฺยคฺ วฺยวสิโต หิ สห์
อปิ — แม้แต่, เจตฺ — หาก, สุ-ทุราจารห์ — เขาปฏิบัติสิ่งที่เลวร้ายที่สุด, ภชเต — ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้, มามฺ — แด่ข้า, อนนฺย-ภากฺ — โดยไม่เบี่ยงเบน, สาธุห์ — นักบุญ, เอว — แน่นอน, สห์ — เขา, มนฺตวฺยห์ — พิจารณาว่า, สมฺยกฺ — สมบูรณ์, วฺยวสิตห์ — สถิตอย่างมั่นคง, หิ — แน่นอน, สห์ — เขา
คำแปล
แม้กระทำในสิ่งที่เลวร้ายที่สุด หากเขาปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้พิจารณาได้ว่าผู้นี้เป็นนักบุญ เนื่องจากเขาสถิตอย่างถูกต้องในความมุ่งมั่นของตนเอง
คำอธิบาย
คำว่า สุ-ทุราจารห์ ในโศลกนี้มีความสำคัญมาก เราควรทำความเข้าใจอย่างถูกต้องเมื่อสิ่งมีชีวิตอยู่ภายใต้สภาวะเงื่อนไข จะมีกิจกรรมอยู่สองอย่างคือกิจกรรมหนึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไข และอีกกิจกรรมหนึ่งเป็นพื้นฐานเดิมแท้ สำหรับการปกป้องร่างกายหรืออยู่ภายใต้กฎของสังคมและรัฐนั้นแน่นอนจะว่ามีกิจกรรมต่างๆ แม้สำหรับสาวกที่สัมพันธ์กับชีวิตภายใต้สภาวะเงื่อนไขกิจกรรมเหล่านี้เรียกว่าอยู่ภายใต้เงื่อนไข นอกจากนี้ชีวิตผู้สำนึกอย่างสมบูรณ์ในธรรมชาติทิพย์ของตนปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกหรืออุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺมีกิจกรรมที่เรียกว่าเป็นทิพย์ กิจกรรมเหล่านี้ปฏิบัติไปในสถานภาพเดิมแท้ของตนเอง เรียกทางเทคนิคว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ตอนนี้ที่อยู่ในระดับที่อยู่ภายใต้สภาวะที่มีเงื่อนไขนั้น บางครั้งกิจกรรมในการอุทิศตนเสียสละรับใช้และการรับใช้ที่มีเงื่อนไขสัมพันธ์กับร่างกายจะไปด้วยกันได้ แต่บางครั้งไปด้วยกันไม่ได้ สาวกจะระวังมากเพื่อไม่ทำสิ่งใดให้ไปทำลายสภาวะอันบริสุทธิ์ของตนเองเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยทราบดีว่าความสมบูรณ์ในกิจกรรมขึ้นอยู่กับความรู้แจ้งมากยิ่งขึ้นในกฺฤษฺณจิตสำนึก อย่างไรก็ดีบางครั้งอาจพบว่าบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกปฏิบัติในสิ่งที่เลวร้ายที่สุดทางสังคมหรือทางการเมือง แต่การตกลงต่ำชั่วคราวเช่นนี้มิได้ตัดสิทธิ์ของเขา ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ กล่าวว่าหากผู้ที่ตกลงต่ำแต่ปฏิบัติตนอย่างหมดหัวใจในการรับใช้ทิพย์ต่อองค์ภควานฺ พระองค์ผู้ทรงประทับภายในหัวใจจะทำให้เขาบริสุทธิ์ขึ้นและให้อภัยจากสิ่งเลวร้ายนั้น มลพิษทางวัตถุนั้นรุนแรงมาก แม้โยคีปฏิบัติในการรับใช้พระองค์อย่างสมบูรณ์บางครั้งยังตกหลุมพราง แต่กฺฤษฺณจิตสำนึกมีพลังมาก การตกลงต่ำชั่วครั้งชั่วคราวเช่นนี้จะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องโดยทันที ฉะนั้นวิธีการอุทิศตนเสียสละรับใช้จึงมีผลสำเร็จอยู่เสมอ ไม่มีผู้ใดควรเยาะเย้ยสาวกในการที่ตกลงต่ำจากวิถีทางอันประเสริฐอันเนื่องจากอุบัติเหตุดังจะอธิบายในโศลกต่อไป การตกลงต่ำชั่วคราวเช่นนี้จะยุติลงในเวลาต่อมาทันทีที่สาวกสถิตอย่างสมบูรณ์ในกฺฤษฺณจิตสำนึก
ดังนั้นบุคคลผู้สถิตในกฺฤษฺณจิตสำนึกและปฏิบัติด้วยความมุ่งมั่นในวิธีการสวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร / หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร ควรพิจารณาว่าอยู่ในสถานภาพทิพย์ถึงแม้จะด้วยความบังเอิญหรือเป็นอุบัติเหตุที่พบว่าเขาตกลงต่ำ คำว่า สาธุรฺ เอว “เขาเป็นนักบุญ” นั้นได้มีการเน้นมาก มีคำเตือนสำหรับผู้ไม่ใช่สาวกว่าเนื่องจากการตกลงต่ำด้วยอุบัติเหตุสาวกไม่ควรถูกเยาะเย้ย และควรพิจารณาว่าเขายังเป็นนักบุญแม้ตกลงต่ำโดยอุบัติเหตุ และคำว่า มนฺตวฺยห์ ยิ่งเน้นขึ้นไปอีก หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามกฎนี้และเยาะเย้ยสาวกในการตกลงต่ำโดยอุบัติเหตุเท่ากับผู้นี้ไม่เชื่อฟังคำสั่งขององค์ภควานฺ คุณสมบัติเดียวของสาวกคือปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างมุ่งมั่นเท่านั้น
ใน นฺฤสึห ปุราณ มีข้อความดังต่อไปนี้
ภควติ จ หราวฺ อนนฺย-เจตา
ภฺฤศ-มลิโน ’ปิ วิราชเต มนุษฺยห์
น หิ ศศ-กลุษ-จฺฉพิห์ กทาจิตฺ
ติมิร-ปราภวตามฺ อุไปติ จนฺทฺรห์
ความหมายคือ แม้ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างสมบูรณ์ต่อองค์ภควานฺบางครั้งพบว่าบุคคลปฏิบัติในกิจกรรมที่น่ารังเกียจ กิจกรรมเหล่านี้ควรพิจารณาว่าเหมือนกับจุดต่างๆที่รวมกันเป็นรูปกระต่ายบนดวงจันทร์ จุดเหล่านี้ไม่ได้กลายมาเป็นอุปสรรคในการส่องแสงของดวงจันทร์ ในทำนองเดียวกันการตกลงต่ำโดยอุบัติเหตุของสาวกจากวิถีทางของบุคลิกนักบุญไม่ได้ทำให้เขาน่ารังเกียจ
อีกด้านหนึ่งเราไม่ควรเข้าใจผิดว่าสาวกที่อยู่ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ทิพย์สามารถปฏิบัติในสิ่งที่น่ารังเกียจต่างๆได้ โศลกนี้พาดพิงถึงเฉพาะอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากพลังอันแข็งแกร่งที่มาสัมผัสกับวัตถุเท่านั้น การอุทิศตนเสียสละรับใช้เหมือนกับการประกาศสงครามกับพลังงานแห่งความหลง ตราบเท่าที่เรายังไม่แข็งแรงพอที่จะต่อสู้กับพลังงานแห่งความหลงอาจตกลงต่ำโดยอุบัติเหตุได้ แต่เมื่อแข็งแรงพอเราก็จะไม่อยู่ภายใต้อำนาจแห่งการตกลงต่ำเช่นนี้อีกต่อไป ดังที่ได้อธิบายแล้วว่าไม่ควรมีผู้ใดฉวยประโยชน์จากโศลกนี้ไปกระทำสิ่งเหลวไหลและคิดว่าตนเองยังเป็นสาวก หากไม่พัฒนาบุคลิกของตนให้ดีขึ้นด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้พึงเข้าใจไว้ว่าเราไม่ใช่สาวกระดับสูง
kṣipraṁ bhavati dharmātmā
śaśvac-chāntiṁ nigacchati
kaunteya pratijānīhi
na me bhaktaḥ praṇaśyati
กฺษิปฺรํ ภวติ ธรฺมาตฺมา
ศศฺวจฺ-ฉานฺตึ นิคจฺฉติ
เกานฺเตย ปฺรติชานีหิ
น เม ภกฺตห์ ปฺรณศฺยติ
กฺษิปฺรมฺ — เร็วๆนี้, ภวติ — กลายมาเป็น, ธรฺม-อาตฺมา — คุณธรรม, ศศฺวตฺ-ศานฺติมฺ — ความสงบยั่งยืน, นิคจฺฉติ — บรรลุ, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, ปฺรติชานีหิ — ประกาศ, น — ไม่เคย, เม — ของข้า, ภกฺตห์ — สาวก, ปฺรณศฺยติ — ทำลาย
คำแปล
เขากลายมาเป็นผู้มีคุณธรรมและบรรลุถึงความสงบอย่างถาวรโดยรวดเร็ว โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี จงประกาศอย่างกล้าหาญว่าสาวกของข้าจะไม่มีวันถูกทำลาย
คำอธิบาย
สิ่งนี้ไม่ควรมีการเข้าใจผิด ในบทที่เจ็ดนั้นองค์ภควานฺได้ตรัสว่าผู้ปฏิบัติในกิจกรรมที่ไม่ดีจะไม่สามารถมาเป็นสาวกได้ และผู้ไม่ใช่สาวกขององค์ภควานฺไม่มีคุณสมบัติที่ดีอันใดเลย จากนั้นมีคำถามว่าแล้วทำไมบุคคลที่ปฏิบัติในกิจกรรมอันน่ารังเกียจไม่ว่าจะด้วยอุบัติเหตุหรือด้วยความตั้งใจมาเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ได้ คำถามนี้มีเหตุผล ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทที่เจ็ดว่าคนสารเลวที่ไม่เคยมาถึงการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺไม่มีคุณสมบัติดีเลย ดังที่กล่าวไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ โดยทั่วไปสาวกปฏิบัติกิจกรรมเก้าวิธีในการอุทิศตนเสียสละเป็นวิธีการชะล้างมลทินทางวัตถุทั้งปวงให้ออกจากหัวใจ และให้บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงประทับอยู่ภายในหัวใจ ดังนั้นมลทินบาปทั้งปวงจะถูกชะล้างออกไปโดยธรรมชาติ การระลึกถึงองค์ภควานฺอยู่ตลอดเวลาทำให้เขาบริสุทธิ์ขึ้นโดยธรรมชาติ ตามคัมภีร์พระเวทมีกฎเกณฑ์บางประการว่าหากตกลงต่ำจากสถานภาพที่สูงส่งเขาต้องปฏิบัติตามพิธีทางศาสนาเพื่อให้ตนเองบริสุทธิ์ขึ้น แต่ ณ ที่นี้ไม่มีเงื่อนไขเช่นนี้เพราะกรรมวิธีเพื่อความบริสุทธิ์อยู่ภายในหัวใจของสาวกแล้วเนื่องจากเขาระลึกถึงองค์ภควานฺอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นการสวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร / หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร ควรดำเนินต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง เช่นนี้จะปกป้องสาวกจากอุบัติเหตุตกลงต่ำทั้งหมด ดังนั้นเขาจะเป็นอิสระจากมลทินทางวัตถุทั้งปวงชั่วกัลปวสาน
māṁ hi pārtha vyapāśritya
ye ’pi syuḥ pāpa-yonayaḥ
striyo vaiśyās tathā śūdrās
te ’pi yānti parāṁ gatim
มำ หิ ปารฺถ วฺยปาศฺริตฺย
เย ’ปิ สฺยุห์ ปาป-โยนยห์
สฺตฺริโย ไวศฺยาสฺ ตถา ศูทฺราสฺ
เต ’ปิ ยานฺติ ปรำ คติมฺ
มามฺ — ของข้า, หิ — แน่นอน, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, วฺยปาศฺริตฺย — มีที่พึ่งโดยเฉพาะ, เย — พวกเขา, อปิ — เช่นกัน, สฺยุห์ — เป็น, ปาป-โยนยห์ — เกิดในครอบครัวต่ำ, สฺตฺริยห์, ไวศฺยาห์ — พ่อค้า, ตถา — เช่นกัน, ศูทฺราห์ — คนชั้นต่ำ, เต อปิ — แม้พวกเขา, ยานฺติ — ไป, ปรามฺ — ถึงองค์ภควาน, คติมฺ — จุดมุ่งหมาย
คำแปล
โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา พวกที่มาพึ่งข้า ถึงแม้ว่าเกิดมาต่ำ เช่น สตรี ไวศฺย (พ่อค้า) และ ศูทฺร (ผู้ใช้แรงงาน) สามารถบรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดได้
คำอธิบาย
ณ ที่นี้องค์ภควานฺทรงประกาศอย่างชัดเจนว่าในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ไม่มีข้อแบ่งแยกระหว่างชนชั้นต่ำและชนชั้นสูง ในแนวคิดแห่งชีวิตทางวัตถุมีการแบ่งแยกเช่นนี้ แต่สำหรับผู้ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ทิพย์ต่อองค์ภควานฺจะไม่มีการแบ่งแยก ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะไปถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดได้ ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (2.4.18) กล่าวไว้ว่า แม้พวกที่ต่ำสุดเรียกว่า จณฺฑาล (คนกินสุนัข) สามารถที่จะทำให้บริสุทธิ์ขึ้นมาได้ด้วยการมาคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์ ฉะนั้นการอุทิศตนเสียสละรับใช้และการนำทางของสาวกผู้บริสุทธิ์มีพลังอำนาจมากจนไม่มีการเลือกปฏิบัติระหว่างชนชั้นที่ต่ำกว่าและชนชั้นที่สูงกว่า ทุกๆคนสามารถนำไปปฏิบัติได้ คนที่เรียบง่ายที่สุดมาพึ่งสาวกผู้บริสุทธิ์สามารถทำให้บริสุทธิ์ขึ้นได้จากการนำทางที่ถูกต้องตามระดับต่างๆของธรรมชาติวัตถุ มนุษย์แบ่งอยู่ในระดับแห่งความดี (พฺราหฺมณ) ระดับแห่งตัณหา (กฺษตฺริย หรือผู้บริหาร) ระดับผสมกันระหว่างตัณหาและอวิชชา (ไวศฺย หรือพ่อค้า) และระดับแห่งอวิชชา (ศูทฺร หรือผู้ใช้แรงงาน) พวกที่ต่ำไปกว่านี้เรียกว่า จณฺฑาล ที่เกิดในครอบครัวบาปโดยทั่วไปการคบหาสมาคมกับผู้ที่เกิดในครอบครัวบาปชนชั้นสูงรับไม่ได้ แต่วิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้มีพลังอำนาจมาก สาวกผู้บริสุทธิ์ขององค์ภควานฺสามารถทำให้คนในชั้นต่ำทั้งหมดบรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุดแห่งชีวิตได้เป็นเช่นนี้ได้เมื่อเราพึ่งองค์กฺฤษฺณเท่านั้น ดังที่ได้แสดงไว้ ณ ที่นี้ด้วยคำว่า วฺยปาศฺริตฺย เราต้องมาพึ่งองค์กฺฤษฺณโดยสมบูรณ์แล้วจะกลายมาเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่กว่า ชฺญานี และ โยคีผู้ยิ่งใหญ่
kiṁ punar brāhmaṇāḥ puṇyā
bhaktā rājarṣayas tathā
anityam asukhaṁ lokam
imaṁ prāpya bhajasva mām
กึ ปุนรฺ พฺราหฺมณาห์ ปุณฺยา
ภกฺตา ราชรฺษยสฺ ตถา
อนิตฺยมฺ อสุขํ โลกมฺ
อิมํ ปฺราปฺย ภชสฺว มามฺ
กิมฺ — เท่าไร, ปุนห์ — อีกครั้งหนึ่ง, พฺราหฺมณาห์ — พฺราหฺมณ, ปุณฺยาห์ — บุญ, ภกฺตาห์ — เหล่าสาวก, ราช-ฤษยห์ — กษัตริย์ผู้ทรงธรรม, ตถา — เช่นกัน, อนิตฺยมฺ — ชั่วคราว, อสุขมฺ — เต็มไปด้วยความทุกข์, โลกมฺ — โลก, อิมมฺ — นี้, ปฺราปฺย — ได้รับ, ภชสฺว — ปฏิบัติในการรับใช้ด้วยความรัก, มามฺ — แด่ข้า
คำแปล
แล้วจะเป็นเช่นนี้อีกมากเพียงใด สำหรับ พฺราหฺมณ ผู้มีบุญ เหล่าสาวก และกษัตริย์ผู้ทรงธรรม ฉะนั้นเมื่อมาอยู่ในโลกแห่งความทุกข์ที่ไม่ถาวรนี้จงปฏิบัติรับใช้ข้าด้วยความรัก
คำอธิบาย
ในโลกนี้มีการแบ่งชั้นสำหรับผู้คนแต่ในที่สุดโลกนี้ไม่ใช่สถานที่ที่มีความสุขสำหรับผู้ใด ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน ณ ที่นี้ว่า อนิตฺยมฺ อสุขํ โลกมฺ โลกนี้ไม่ถาวรเต็มไปด้วยความทุกข์ และไม่ใช่ที่อยู่อาศัยของสุภาพบุรุษผู้มีสติสัมปชัญญะที่ดี บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงประกาศว่าโลกนี้ไม่ถาวรและเต็มไปด้วยความทุกข์ นักปราชญ์บางท่านโดยเฉพาะนักปราชญ์ มายาวาที กล่าวว่าโลกนี้ไม่จริง แต่เราสามารถเข้าใจได้จาก ภควัท-คีตา ว่าโลกนี้มิใช่ว่าไม่จริงแต่ไม่ถาวร มีข้อแตกต่างระหว่างความไม่ถาวรและความไม่จริง โลกนี้ไม่ถาวรแต่มีอีกโลกหนึ่งที่ถาวร โลกนี้มีความทุกข์แต่มีอีกโลกหนึ่งเป็นอมตะและมีความปลื้มปีติสุข
อรฺชุน ประสูติในราชวงศ์ กฺษตฺริย ผู้ทรงธรรม องค์ภควานฺตรัสต่อ อรฺชุน เช่นกันว่า “จงรับเอาการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อข้าไปปฏิบัติและกลับคืนสู่องค์ภควานฺคืนสู่เหย้าโดยเร็ว” ไม่มีผู้ใดควรจมปรักอยู่ในโลกที่ไม่ถาวรนี้ซึ่งเต็มไปด้วยความทุกข์ ตามความเป็นจริงทุกคนควรซบตนเองอยู่ที่พระอุระ (หน้าอก) ของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าเพื่อที่จะได้มีความสุขนิรันดร การอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺเป็นวิถีทางเดียวเท่านั้นที่ปัญหาทั้งหมดของชนทุกชั้นสามารถได้รับการแก้ไข ดังนั้นทุกคนควรรับเอากฺฤษฺณจิตสำนึกมาปฏิบัติและทำให้ชีวิตของตนสมบูรณ์
man-manā bhava mad-bhakto
mad-yājī māṁ namaskuru
mām evaiṣyasi yuktvaivam
ātmānaṁ mat-parāyaṇaḥ
มนฺ-มนา ภว มทฺ-ภกฺโต
มทฺ-ยาชี มำ นมสฺกุรุ
มามฺ เอไวษฺยสิ ยุกฺไตฺววมฺ
อาตฺมานํ มตฺ-ปรายณห์
มตฺ-มนาห์ — ระลึกถึงข้าอยู่เสมอ, ภว — มาเป็น, มตฺ — ของข้า, ภกฺตห์ — สาวก, มตฺ — ของข้า, ยาชี — ผู้บูชา, มามฺ — แด่ข้า, นมสฺ-กุรุ — ถวายความเคารพ, มามฺ — แด่ข้า, เอว — อย่างสมบูรณ์, เอษฺยสิ — เธอจะมา, ยุกฺตฺวา — ซึมซาบ, เอวมฺ — ดังนั้น, อาตฺมานมฺ — วิญญาณของเธอ, มตฺ-ปรายณห์ — อุทิศแด่ข้า
คำแปล
ให้จิตใจของเธอระลึกถึงข้าอยู่เสมอ มาเป็นสาวกของข้า ถวายความเคารพต่อข้าบูชาข้า และซึมซาบอยู่ในข้าอย่างสมบูรณ์ แน่นอนว่าเธอจะมาหาข้า
คำอธิบาย
โศลกนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ากฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นวิถีทางเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งเราให้ออกจากเงื้อมมือของโลกวัตถุที่มีมลทินนี้ได้ บางครั้งนักบรรยายผู้ไม่มีคุณธรรมบิดเบือนความหมายซึ่งกล่าวไว้อย่างชัดเจนตรงนี้ว่า การอุทิศตนเสียสละรับใช้ทั้งหมดควรถวายให้องค์ภควานฺ กฺฤษฺณด้วยความอับโชคนักบรรยายผู้ไม่มีคุณธรรมชักจูงจิตใจของผู้อ่านให้หันเหไปในหนทางที่เป็นไปไม่ได้ นักบรรยายเหล่านี้ไม่รู้ว่าไม่มีข้อแตกต่างระหว่างจิตใจขององค์กฺฤษฺณและพระวรกายของพระองค์ องค์กฺฤษฺณทรงไม่ใช่มนุษย์ปุถุชนธรรมดา พระองค์ทรงเป็นสัจธรรมสูงสุด พระวรกายของพระองค์ จิตใจของพระองค์ และพระองค์เองเป็นหนึ่งเดียวกันและสมบูรณ์สูงสุด ได้กล่าวไว้ใน กูรฺม ปุราณ ดังที่ ภกฺติสิทฺธานฺต สรสฺวตี โคสฺวามี ได้อ้างอิงในคำบรรยาย อนุภาษฺย ของหนังสือ ไจตนฺย-จริตามฺฤต (บทที่ห้า อาทิ-ลีลา โศลก41-48) เทห-เทหิ-วิเภโท ’ยํ เนศฺวเร วิทฺยเต กฺวจิตฺ หมายความว่า ในองค์ภควานฺ กฺฤษฺณนั้นไม่มีข้อแตกต่างระหว่างพระองค์เองและพระวรกายของพระองค์ เนื่องจากนักบรรยายไม่รู้ศาสตร์แห่งองค์กฺฤษฺณจึงซ่อนองค์กฺฤษฺณ และแบ่งแยกบุคลิกภาพของพระองค์จากจิตใจหรือจากพระวรกายของพระองค์ แม้ว่านี่เป็นเพียงอวิชชาในศาสตร์แห่งองค์กฺฤษฺณโดยแท้ แต่บางคนยังทำผลกำไรจากการชักนำผู้คนไปในทางที่ผิด
มีบางคนที่เป็นมารก็คิดถึงองค์กฺฤษฺณเช่นเดียวกันนี้ แต่ด้วยความอิจฉาเหมือนกับ กฺษตฺริย กํส พระมาตุลาขององค์กฺฤษฺณซึ่งคิดถึงองค์กฺฤษฺณเสมอเช่นเดียวกัน แต่ความคิดของ กํส เป็นศัตรูและอยู่ในความวิตกกังวลเสมอว่าเมื่อไรองค์กฺฤษฺณจะมาสังหารตน ความคิดเช่นนี้จะไม่ช่วยเรา เราควรคิดถึงองค์กฺฤษฺณในการอุทิศตนเสียสละด้วยความรักนั่นคือ ภกฺติ เราควรพัฒนาความรู้แห่งองค์กฺฤษฺณอย่างต่อเนื่องการพัฒนาที่อำนวยประโยชน์นั้นคืออะไร คือการเรียนรู้จากครูผู้เชื่อถือได้ องค์กฺฤษฺณ คือองค์ภควานฺได้อธิบายไว้หลายครั้งแล้วว่าพระวรกายของพระองค์ไม่ใช่วัตถุแต่ทรงเป็นอมตะ มีความปลื้มปีติสุข และความรู้ การสนทนาเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณเช่นนี้จะช่วยให้เรามาเป็นสาวก การเข้าใจองค์กฺฤษฺณว่าเป็นอย่างอื่นโดยเรียนรู้จากแหล่งที่ผิดจะพิสูจน์ให้เห็นว่าเราจะไม่ได้รับผลประโยชน์อันใดเลย
ฉะนั้นเราควรให้จิตใจจดจ่ออยู่ที่รูปลักษณ์อมตะ รูปลักษณ์เดิมแท้ขององค์กฺฤษฺณ ด้วยความมุ่งมั่นในหัวใจว่าองค์กฺฤษฺณ คือองค์ภควานฺและเราควรปฏิบัติในการบูชา มีวัดเป็นร้อยๆพันๆวัดในประเทศอินเดียที่บูชาองค์กฺฤษฺณและปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ เมื่อมีการปฏิบัติเช่นนี้เราต้องถวายความเคารพต่อองค์กฺฤษฺณ ก้มศีรษะต่อหน้าพระปฏิมา ใช้จิตใจ ร่างกาย กิจกรรมและทุกสิ่งทุกอย่างปฏิบัติรับใช้ เช่นนี้จะทำให้ซึมซาบอยู่ในองค์กฺฤษฺณอย่างสมบูรณ์โดยไม่เบี่ยงเบนและจะช่วยย้ายเราไปยัง กฺฤษฺณโลก เราควรระวังไม่ให้นักบรรยายผู้ไม่มีคุณธรรมมาบิดเบือน และต้องปฏิบัติในวิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้เก้าวิธี เริ่มจากการสดับฟังและการสวดภาวนาเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณ การอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์คือจุดมุ่งหมายสูงสุดของสังคมมนุษย์
บทที่เจ็ดและบทที่แปดของ ภควัท-คีตา อธิบายถึงการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์แด่องค์ภควานฺโดยปราศจากความรู้ จากการคาดคะเน อิทธิฤทธิ์ของโยคะ และกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุ พวกที่ยังไม่ทำให้ตนเองบริสุทธิ์ขึ้นอาจยึดติดอยู่กับลักษณะต่างๆขององค์ภควานฺ เช่น พฺรหฺม-โชฺยติรฺ ที่ไร้รูปลักษณ์ และ ปรมาตฺมา ในหัวใจของทุกคน แต่สาวกผู้บริสุทธิ์ปฏิบัติตนรับใช้องค์ภควานฺโดยตรง
มีบทกวีอันสวยงามเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณที่กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าผู้ใดปฏิบัติในการบูชาเทวดาเป็นผู้ที่ด้อยปัญญาที่สุด และไม่สามารถได้รับรางวัลสูงสุดจากองค์ภควานฺไม่ว่าในเวลาใด ในตอนต้นนั้นบางครั้งสาวกอาจตกต่ำลงจากมาตรฐานแต่ควรพิจารณาว่าสูงส่งกว่านักปราชญ์และโยคีทั้งหลาย ผู้ที่ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เสมอควรเข้าใจว่าเป็นนักบุญโดยสมบูรณ์ กิจกรรมที่ไม่ใช่การอุทิศตนเสียสละซึ่งเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุจะลดน้อยลง และเขาจะสถิตในความสมบูรณ์บริบูรณ์โดยเร็วอย่างไม่ต้องสงสัย สาวกผู้บริสุทธิ์ไม่มีโอกาสที่จะตกลงต่ำจริงเพราะว่าองค์ภควานฺทรงดูแลสาวกผู้บริสุทธิ์ด้วยตัวพระองค์เอง ฉะนั้นผู้มีปัญญาควรรับเอาวิธีแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกมาปฏิบัติโดยตรง และใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความสุขในโลกวัตถุนี้แล้วจะได้รับรางวัลสูงสุดจากองค์กฺฤษฺณในอนาคต
ดังนั้นได้จบคำอธิบายโดย ภักดีเวดานตะ บทที่เก้า ของหนังสือ ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา ในหัวข้อเรื่อง ความรู้ที่ลับสุดยอด